เมื่อจิตมันนิ่ง มันผ่องใสแล้ว มันถึงจะปรากฏ ปัญญา ขึ้นมาในที่นั่น
แล้วเห็นกิเลสชัดเจน ชำระกิเลสลงไปได้ ละวางได้
www.thewayofdhamma.org/page3_1_1/page4.htm
จิตที่นิ่งไมมีจริงในโลกเจ้าค่ะ
ท่านกำลังใช้ภาษาธรรมะในพระพุทธศาสนาไม่ถูกต้องเจ้าค่ะ
ที่ถูกต้องต้องใช้คำว่า
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ปัญญาญาณจึงเกิดได้
ใช้อย่างนี้จึงจะถูกต้องเจ้าค่ะ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
จิตเป็นสมาธิ เป็นอย่างไรครับ? ขอความรู้หน่อยนะครับ ท่านน้ำเค็ม
จิตคือวิญญาณขันธ์ ที่เกิดร่วมเกิดพร้อมกับเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์
ขันธ์ทั้ง 4 นี้กิดร่วมเกิดพร้อมกันเสมอเจ้าค่ะ ขันธ์เหล่านี้มีลักษณะคือเกิดเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ดับไป แปรเปลี่ยน ทนอยู่ไม่ได้เจ้าค่ะ
จิตจึงนิ่งอยู่ไม่ได้ จิตนิ่งตามที่คุณกล่าวมาจึงไม่มีจริงเจ้าค่ะ
ต้องเกิดและดับไปตลอดเวลา
จิตของมนุษย์ธรรมดามี 2 ชนิด ๆ ละ 2 อย่าง คือ
1.กามาวจรกุศลจิต(เหตุ) และกามาวจรกุศลวิบากจิต(ผล)
2.อกุศลจิต(เหตุ) และกุศลวิบากจิต(ผล)
ในมนุษย์ธรรมดามีจิต 2 ชนิด 4 อย่างเหล่านี้เกิดสลับหมุนเวียนกันไปตลอดเวลา
จิตที่นิ่งจึงไม่มี
จิตเหล่านี้มีสมาธิด้วยเช่นกัน แต่เป็นสมาธิอันเกิดจากกามสัญญา มีนวรณ์ 5 ครอบงำ
ปัญญาญาณที่มีจึงไม่บริบูรณ์ ไม่รู้ซึ่งพระสัทธรรม
มนุษย์จึงต้องกำจัด กามสัญญาและนิวรณ์ 5 เสียก่อน
เพื่อเข้าสู่ รูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต และโลกุตตรกุศลจิต
สมาธิในจิตเหล่านี้เรียกว่าเป็นจิตที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
สมาธิในจิตเหล่านี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่มี ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างเกิดขึ้นได้ เป็นปัญญาญาณเพื่อการตรัสรู้ จิตแบบนี้จึงจะเห็นกิเลสชัด และทำลายกิเลสได้
การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุสัมมาสมาธิเช่น รูปฌาน 4 ปฏิบัติอย่างนี้เจ้าค่ะ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
ขอบคุณครับ ..จิตกับสติ อันเดียวกันหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ ..จิตกับสติ อันเดียวกันหรือเปล่าครับ ...ขอเป็นกำลังใจ
*********************
จิตอย่างหนึ่ง
สติก็อีกอย่างหนึ่ง
จิตคือวิญญาณขันธ์
สติคือสังขารขันธ์
แต่สติเกิดในจิต เกิดร่วมเกิดพร้อมกับจิตที่เป็นกุศล
ในจิตที่เป็นอกุศลไม่มีองค์ธรรมที่ชื่อว่าสติ
สติมี 4 สภาวะคือ
1.กามาวจรสติ เป็นสติที่ทำหน้าที่ระลึกถึงกุศลที่เกิดจากกามสัญญา ได้แก่สติของมนุษย์ธรรมดาทั่วไปในชีวิตประจำวัน
2.รูปาวจรสติ เป็นสติที่ทำหน้าที่ระลึกถึงกุศลที่เกิดจาก รูปสัญญา ได้แก่สติของรูปฌาน 4 ของผู้ปฏิบัติธรรม
3.อรูปาวจรสติ เป็นสติที่ทำหน้าที่ระลึกถึงกุศลที่เกิดจาก อรูปสัญญา ได้แก่สติของ อรูปฌาน 4 ของผู้ปฏิบัติธรรม
4.โลกุตตระสติ เป็นสติที่ทำหน้าที่ระลึกถึงกุศลที่เกิดจาก การเจริญอริยสัจ 4 มีฌาน 4 เป็นบาท ได้แก่สติของผู้เจริญ โสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และอรหัตตมัคค ของผู้ปฏิบัติธรรม สติในข้อ 4 นี้เป็นสติของพระอริยเจ้า เป็นสติที่เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
ขอโมทนา สาธุ
ทรงแสดงฌาน ๔ และวิชชา ๓
ภ. เราก็เหมือนอย่างนั้นแล พราหมณ์ เมื่อประชาชนผู้ตกอยู่ในอวิชชา เกิดในฟองอันกระเปาะฟองหุ้มห่อไว้ ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลายกระเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลกเพราะความเพียรของเราที่ปรารภแล้วแล ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=01&A=0&Z=164
"จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง" หมายถึง จิตนิ่ง จิตสงบ จิตเป็นสมาธิ หรือเปล่าครับ สาธุ
"จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง" หมายถึง จิตนิ่ง จิตสงบ จิตเป็นสมาธิ หรือเปล่าครับ สาธุ ....ขอเป็นกำลังใจ
จิตตั้งมั่น หมายถึง องค์ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย มากกว่า 60 อย่าง เกิดร่วมเกิดพร้อม ตั้งมั่นอยู่ในจิต เกิดพร้อมกันดับไปพร้อมกัน ดับพร้อมกันแล้วเกิดขึ้นใหม่พร้อมกันอีก อย่างนี้เรียกว่าจิตตั้งมั่น
มีอารมณ์เป็นหนึ่ง หมายถึง องค์ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย มากกว่า 60 อย่างเหล่านั้น เกิดร่วมเกิดพร้อม ตั้งมั่นอยู่ในจิต หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันไม่แยกจากกันในจิต
จิตที่นิ่งไม่มีเจ้าค่ะ เพราะองค์ธรรมทั้งหลายเกิดดับด้วย เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันแล้ะกันด้วยเจ้าค่ะ มีทั้งที่เกิดก่อน และดับก่อนในจิตดวงเดียวกัน
จิตที่สงบ ไม่ได้หมายความว่านิ่ง แต่หมายถึงสงบจากราคะ สงบจากโทสะ สงบจากโมหะ ซึ่งจิตไม่นิ่งก็สงบได้เจ้าค่ะ
จิตเป็สมาธิ หมายถึง จิตที่ปราศจากนิวรณ์ 5 และ/หรือ สังโยชน์
1.จิตบรรลุ รูปาวจรกุศลจิต คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
2.จิตบรรลุ อรูปาวจรกุศลจิต คือ อากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
3.จิตบรรลุโลกุตตรกุศลจิต คือ โสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และอรหัตตมัคค
เหล่านี้เรียกว่า จิตเป็นสมาธิเจ้าค่ะ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
เห็นด้วยครับ
"ซึ่งจิตไม่นิ่งก็สงบได้เจ้าค่ะ"
ขอความหมาย นิ่ง ไม่นิ่ง สงบ หน่อยครับ สาธุ
ขอความหมาย นิ่ง ไม่นิ่ง สงบ หน่อยครับ สาธุ......ขอเป็นกำลังใจ
ตอบตามความหมายในพระพุทธศาสนาเท่านั้นนะเจ้าค่ะ
และตอบตามคุณสมบัติของจิต หรือขันธ์ เท่านั้นนะเจ้าค่ะ
นิ่ง คือคงที่ คงสภาเดิม ไม่แปรเปลี่ยน ไม่เกิด ไม่ดับ
ไม่นิ่ง คือไม่คงที่ ไม่อาจคงสภาพเดิม แปรเปลี่ยน เกิดดับ
...จิต หรือ ขันธ์ และองค์ธรรมต่าง ๆ ในจิต หรือ ขันธ์ เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง และเป็นอนัตตา....จิต หรือขันธ์ จึงไม่นิ่ง เพราะเกิดดับตามกาล
สงบ คือ วิเวก สงัด
[๓๓] คำว่า นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก มีความว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓
อย่าง คือ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก.
กายวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ คือ เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งอยู่ในที่เร้นลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียว เที่ยว อยู่ เปลี่ยนอริยาบถ ประพฤติ รักษาเป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก.
จิตตวิเวกเป็นไฉน?
ภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์
บรรลุทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกและวิจาร
บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ
บรรลุจตุตตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์
บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา
(เมื่อภิกษุนั้น) เป็นโสดาบันบุคคล มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้น
เป็นสกทาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่างหยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกันกามราคสังโยชน์อย่างหยาบเป็นต้นนั้น
เป็นอนาคามีบุคคล มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น
เป็นอรหันตบุคคลมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก.
อุปธิวิเวกเป็นไฉน? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ. อมตะ นิพพาน
เรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกไปจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก.
ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดียิ่งในเนกขัมมะ
จิตตวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง
อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร.
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ..
ขออนุญาติครับ
"จิตตั้งมั่น หมายถึง องค์ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย มากกว่า 60 อย่าง เกิดร่วมเกิดพร้อม ตั้งมั่นอยู่ในจิต เกิดพร้อมกันดับไปพร้อมกัน ดับพร้อมกันแล้วเกิดขึ้นใหม่พร้อมกันอีก อย่างนี้เรียกว่าจิตตั้งมั่น
มีอารมณ์เป็นหนึ่ง หมายถึง องค์ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย มากกว่า 60 อย่างเหล่านั้น เกิดร่วมเกิดพร้อม ตั้งมั่นอยู่ในจิต หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันไม่แยกจากกันในจิต"
แสดงว่า จิตตั้งมั่นกับจิตเป็นหนึ่ง ไม่เหมือนกัน ทำอย่างไร จิตจึงจะตั้งมั่นหรือจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งครับ
ขออนุญาติครับ
"จิตตั้งมั่น หมายถึง องค์ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย มากกว่า 60 อย่าง เกิดร่วมเกิดพร้อม ตั้งมั่นอยู่ในจิต เกิดพร้อมกันดับไปพร้อมกัน ดับพร้อมกันแล้วเกิดขึ้นใหม่พร้อมกันอีก อย่างนี้เรียกว่าจิตตั้งมั่น
มีอารมณ์เป็นหนึ่ง หมายถึง องค์ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลาย มากกว่า 60 อย่างเหล่านั้น เกิดร่วมเกิดพร้อม ตั้งมั่นอยู่ในจิต หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันไม่แยกจากกันในจิต"
แสดงว่า จิตตั้งมั่นกับจิตเป็นหนึ่ง ไม่เหมือนกัน ทำอย่างไร จิตจึงจะตั้งมั่นหรือจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งครับ .....ใบไผ่
มีแต่จิตตั้งมั่นกับจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเจ้าค่ะ ที่เหมือนกัน
จิตที่ตั้งมั่นย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่งเสมอเจ้าค่ะ
เมื่อละความลังเลสงสัยเสียได้ จิตย่อมตั้งมั่นและจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเจ้าค่ะ
เจริญในรรมเจ้าค่ะ.
"...จิต หรือ ขันธ์ และองค์ธรรมต่าง ๆ ในจิต หรือ ขันธ์ เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง และเป็นอนัตตา....จิต หรือขันธ์ จึงไม่นิ่ง เพราะเกิดดับตามกาล "
เราจะทำให้ ตั้งมั่นเป็นหนึ่งได้อย่างไร เมื่อบอกว่าจิตเป็น ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดดับอยู่ตลอดเวลา สาธุ
"...จิต หรือ ขันธ์ และองค์ธรรมต่าง ๆ ในจิต หรือ ขันธ์ เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง และเป็นอนัตตา....จิต หรือขันธ์ จึงไม่นิ่ง เพราะเกิดดับตามกาล "
เราจะทำให้ ตั้งมั่นเป็นหนึ่งได้อย่างไร เมื่อบอกว่าจิตเป็น ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดดับอยู่ตลอดเวลา สาธุ.....ขอเป็นกำลังใจ ..
พระพุทธศาสนาเป็นของยาก และยากมาก
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอันประณีต สุขุม เพราะฉะนั้นต้องทำความเข้าใจให้ดีเจ้าค่ะ
สัจจะที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับขันธ์หรือจิต มี 4 สัจจะด้วยกัน
1.สัจจะแห่งกาลเวลา
2.สัจจะโดยอริยะสัจจ 4
3.สัจจะโดยปฏิจจสมุปบาท
4.สัจจะโดยไตรลักษณ์
1.สัจจะแห่งกาลเวลา
ได้แก่ปัจจุบันขณะที่จิตหรือขันธ์ ดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป
คำว่าจิตหรือจิตตั้งมั่น มุ่งหมายเอาว่าจิตหรือขันธ์ตั้งมั่นในช่วงของปัจจุบันขณะนี้เท่านั้น
2.สัจจะโดยอริยะสัจจ 4
ได้แก่ความเป็นเหตุและผลของจิตหรือขันธ์ เมื่อทำเหตุให้ตั้งมั่น จิตหรือขันธ์นั้นย่อมตั้งมั่นโดยเหตุนั้น สัจจะโดยอริยสัจ 4 จึงเที่ยงและให้ผลแน่นนอน
เช่นทำเหตุดีได้ผลดี ทำเหตุชั่วได้ผลชั่วเที่ยงแท้แน่นอน
ดังนั้นทำเหตุให้ตั้งมั่นจิตหรือขันธ์ย่อมตั้งมั่นตามเหตุนั้นแน่นอน
3.สัจจะโดยปฏิจจสมุปบาท
ได้แก่เหตุและปัจจัยที่ทำให้องค์ธรรมต่าง ๆ ในจิตหรือขันธ์เกิดขึ้นและดับไป
เช่น
..ความลังเลเป็นเหตุปัจจัยให้องค์ธรรมอื่นๆ ในจิตหรือขันธ์ไม่ตั้งมั่น
..วิชชาเป็นเหตุและปัจจัยให้องค์ธรรมอื่น ๆ ในจิตหรือขันธ์นั้นตั้งมั่น
4.สัจจะโดยไตรลักษณ์
ได้แก่ความเป็นอยู่แห่งขันธ์ หรือจิตนั้น เป็นอยู่ด้วยความเกิดดับ เป็นอยู่ด้วยความแปรเปลี่ยน และเป็นอยู่ด้วยความไม่ใช่ตัวตน
จิตหรือขันธ์ทั้งหลายทั้งหมด จะเป็นเหตุก็ตาม เป็นผลก็ตาม อดีตก็ตาม ปัจจุบันก็ตาม อนาคตก็ตาม กุศล หรือ อกุศล หรือวิบากก็ตาม สุข หรือ ทุกข์ก็ตาม อุเบกขาก็ตาม จิตหรือขันธ์เหล่านั้น เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา
เมื่อเรากล่าวถึงความตั้งมั่นแห่งจิตหรือขันธ์ เรากล่าวโดยสัจจะ 3 เท่านั้นได้แก่
1.สัจจะแห่งกาลเวลา
2.สัจจะโดยอริยะสัจจ 4
3.สัจจะโดยปฏิจจสมุปบาท
ไม่ได้กล่าวโดยสัจจะที่ 4 คือ ไตรลักษณ์เจ้าค่ะ
หวังว่าคงพอจะเข้าใจนะเจ้าคะ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
อ่านแล้วก็งง เหมือนจิตเป็นไตรลักษณ์บ้าง ไม่เป็นบ้าง
ถามอีกนิดนะครับ จิตนี้ใช้ทำอะไรได้บ้างครับ สาธุ
อ่านแล้วก็งง เหมือนจิตเป็นไตรลักษณ์บ้าง ไม่เป็นบ้าง
ถามอีกนิดนะครับ จิตนี้ใช้ทำอะไรได้บ้างครับ สาธุ ...ขอเป็นกำลังใจ
ใช่เจ้าค่ะ ของยากเจ้าค่ะ อ่านแล้วย่อมงงเป็นธรรมดา
จิตไม่ได้เป็นไตรลักษณ์ เจ้าค่ะ
ไตรลักษณ์ก็ไม่ใช่จิตเจ้าค่ะ
แต่จิตมีลักษณะของไตรลักษณ์
คือเกิดขึ้นแล้วดับไป
แปรเปลี่ยน ทนอยู่ไม่ได้
และไม่ใช่ตัวตน
จิตใช้ทำอะไรได้บ้าง
1.อกุศล เป็นเหตุให้สัตว์จุติและปฏิสนธิเสวยอกุศลวิบาก ในทุคติอบายภพ คือสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน และมนุษย์ส่วนที่ชั่ว
2.กามาวจรกุศล เป็นเหตุให้สัตว์จุติและปฏิสนธิเสวยกามาวจรกุศลวิบาก ในสุคติภพ คือโลกมนุษย์และสวรรค์ 6 ชั้น
3.รูปาวจรกุศลจิต เป็นเหตุให้สัตว์จุติและปฏิสนธิเสวย รูปาวจรกุศลวิบาก ในสุคติภพ คือรูปพรหม และอสัญญีสัตว์
นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้ง ของดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เพื่อบรรลุอภิญญาต่าง ๆ และบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นไป
4.อรูปาวจรกุศลจิต เป็นเหตุให้สัตว์จุติและปฏิสนธิเสวย อรูปาวจรกุศลวิบาก ในสุคติภพ คือ อรูปพรหม
นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้ง ของดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เพื่อบรรลุอภิญญาต่าง ๆ และบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นไป
5.โสดาปัตติมัคคจิต เป็นเหตุให้บรรลุโสดาปัตติผล ละสังโยชน์ 3 ได้ ปิดประตูอบาย เวียนตายเวียนเกิดในสุคติภพ คือมนุษย์ เทวดา พรหม อีกไม่เกิน 7 ชาติ ก็ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์
นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้ง ของดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เพื่อบรรลุอภิญญาต่าง ๆ และบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นไป
6.สกทาคามีมัคคจิต เป็นเหตุให้บรรลุสกทาคามีผล ละสังโยชน์ 3 ได้และสามารถทำกามราคะและพยาบาทให้บางเบาได้ เวียนตายเวียนเกิดในสุคติภพ คือมนุษย์ หรือเทวดา หรือพรหม อีกเพียงชาติเดียว ก็ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์
นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้ง ของดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เพื่อบรรลุอภิญญาต่าง ๆ และบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นไป
7.อนาคามีมัคคจิต เป็นเหตุให้บรรลุอนาคามีผล ละสังโยชน์ได้ 5 ไม่กลับมาเกิดในกามภพ คือไม่เป็นมนุษย์และเทวดากันอีก ไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาสเท่านั้น และตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ในพรหมโลกชั้นสุทธาวาสนั้น
นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้ง ของดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เพื่อบรรลุอภิญญาต่าง ๆ และบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นไป
8.อรหัตตมัคคจิต เป็นเหตุให้บรรลุอรหัตตผล ละสังโยชน์ 10 ได้หมดสิ้น ดับขันธ์ปรินิพพานกันในชาตินี้ ไม่เกิดอีก พระอรหันต์ที่ดับขันธ์ปรินิพพานสุขที่สุด เพราะไม่มีขันธ์มาให้ทุกข์อีก
นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้ง ของดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เพื่อบรรลุอภิญญาต่าง ๆ ได้แก่สัมมาสัมโพธิญาณ หรือปัจเจกโพธิ์ญาณ หรือสาวกญาณ บรรลุ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 อภิญญา 6 วิชชา 3
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ .
"...จิต หรือ ขันธ์ และองค์ธรรมต่าง ๆ ในจิต หรือ ขันธ์ เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง และเป็นอนัตตา....จิต หรือขันธ์ จึงไม่นิ่ง เพราะเกิดดับตามกาล "
จิตไม่ได้เป็นไตรลักษณ์ เจ้าค่ะ
ไตรลักษณ์ก็ไม่ใช่จิตเจ้าค่ะ
แต่จิตมีลักษณะของไตรลักษณ์
คือเกิดขึ้นแล้วดับไป
แปรเปลี่ยน ทนอยู่ไม่ได้
และไม่ใช่ตัวตน
=======
อ่านแล้วมึนตึบ ขอบคุณนะครับ สาธุ
"...จิต หรือ ขันธ์ และองค์ธรรมต่าง ๆ ในจิต หรือ ขันธ์ เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง และเป็นอนัตตา....จิต หรือขันธ์ จึงไม่นิ่ง เพราะเกิดดับตามกาล "
จิตไม่ได้เป็นไตรลักษณ์ เจ้าค่ะ
ไตรลักษณ์ก็ไม่ใช่จิตเจ้าค่ะ
แต่จิตมีลักษณะของไตรลักษณ์
คือเกิดขึ้นแล้วดับไป
แปรเปลี่ยน ทนอยู่ไม่ได้
และไม่ใช่ตัวตน
=======
อ่านแล้วมึนตึบ ขอบคุณนะครับ สาธุ ...ขอเป็นกำลังใจ
ขออภัยนะเจ้าค่ะ ที่ภาษาไทยทำให้คุณงง เข้าใจภาษาไม่ตรงกัน
ข้อความที่ว่า. "...จิต หรือ ขันธ์ และองค์ธรรมต่าง ๆ ในจิต หรือ ขันธ์ เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง และเป็นอนัตตา....จิต หรือขันธ์ จึงไม่นิ่ง เพราะเกิดดับตามกาล "
น้ำเค็มเข้าใจว่าคุณเป็นคนไทยน่าจะเข้าใจการใช้ภาษาไทยเจ้าค่ะ
คำว่าจิตหรือขันธ์ เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็ยอนัตตา
นี่ใช้แบบสั้น คนไทยน่าจะเข้าใจความหมายกันได้
แต่ข้อความนี้มีความหมายที่สมบูรณ์อย่างนี้เจ้าค่ะ
1.คำว่าจิตหรือขันธ์ เป็นอนิจจัง หมายถึงจิตหรือขันธ์มีลักษณะเป็นอนิจจัง แต่จิตหรือขันธ์ไม่ได้เป็นตัวอนิจจัง
2.คำว่าจิตหรือขันธ์ เป็นทุกขัง หมายถึงจิตหรือขันธ์มีลักษณะเป็นทุกขัง แต่จิตหรือขันธ์ไม่ได้เป็นตัวทุกขัง
3.คำว่าจิตหรือขันธ์ เป็นอนัตตา หมายถึงจิตหรือขันธ์มีลักษณะเป็นอน้ตตา แต่จิตหรือขันธ์ไม่ได้เป็นตัวอนตตา
เช่นคนไทยกล่าวถึงสถานะของน้ำด้วยภาษาสั้น ๆ ว่า น้ำเป็นของแข็ง น้ำเป็นของเหลว น้ำเป็นก๊าซ
ความหมายของวลีเหล่านี้คือ
น้ำมีลักษณะเป็นของแข็ง น้ำมีลักษณะเป็นของเหลว น้ำมีลักษณะเป็นก๊าซ
แต่น้ำไม่ได้เป็นตัวสถานะที่แข็ง หรือเหลว หรือก๊าซ
คนนิยมพูดสั้น ๆ เจ้าค่ะ
ข้อความที่ 2 จึงกล่าวว่า.
จิตไม่ได้เป็นไตรลักษณ์ เจ้าค่ะ
ไตรลักษณ์ก็ไม่ใช่จิตเจ้าค่ะ
แต่จิตมีลักษณะของไตรลักษณ์
คือเกิดขึ้นแล้วดับไป
แปรเปลี่ยน ทนอยู่ไม่ได้
และไม่ใช่ตัวตน
ข้อความนี้นำมาอธิบายคำปรารภของคุณที่ว่า.
อ่านแล้วก็งง เหมือนจิตเป็นไตรลักษณ์บ้าง ไม่เป็นบ้าง
ลองอ่านทำความเข้าใจ คำว่า เป็น ใหม่นะเจ้าค่ะ
ว่าเมื่ออยู่ตรงไหน มีความหมายว่าอย่างไร ??
ขอให้เข้าใจนะเจ้าคะ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
"รำไม่ดี โทษปี่โทษกลอง"
ต้องขออภัยนะเจ้าค่ะ
ที่ธรรมทานของน้ำเค็ม
ไม่อาจทำให้คุณเข้าใจได้
คงรำไม่ดีจริง ๆ
ต่อไปคงต้องดูคุณรำบ้างเจ้าค่ะ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
เมื่อจิตมันนิ่ง มันผ่องใสแล้ว มันถึงจะปรากฏ ปัญญา ขึ้นมาในที่นั่น
แล้วเห็นกิเลสชัดเจน ชำระกิเลสลงไปได้ ละวางได้
www.thewayofdhamma.org/page3_1_1/page4.htm
จากข้อความนี้ของคุณ
ขอถามเพื่อความรู้ด้วยนะเจ้าคะ
ว่าคุณทำให้จิตนิ่งได้อย่างไร โดยไม่เกิดไม่ดับ ??
ลักษณะที่นิ่งเป็นอย่างไร ??
นิ่งนานแค่ไหนจึงเรียกว่านิ่ง ??
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ..
เป็นคำสอนของครูบาอาจารย์ ผมไม่อาจหาญไปชี้แจงแทนท่านได้ ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อไม่เป็นปัญหา
คำถามอื่นดีกว่านะครับ ถ้ารู้ก็ยินดีตอบถ้าไม่ทราบก็ขอผ่านและพร้อมรับคำแนะนำ สาธุ
ที่ยกมาในหัวข้อข้างต้นสุด มาจากคำสอนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ซึ่งก็เพียงแต่ตัดทอนมาจากบริบททั้งหมด
ที่คุณน้ำเค็ม บอกในความเห็นแรกนั้น ก็เป็นแค่เรื่องของการเลือกใช้คำที่ต่างกันแค่นั้น คือบางคนไปเข้าใจว่า "จิตนิ่ง" คือจิตไม่มีการขยับอะไรเลย ทั้งๆที่คำว่า "จิตนิ่ง" ในความหมายของหลวงปู่เทสก์ (หรือของนาย ก. นาย ข. นายอะไรๆก็ตาม) ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องหมายความตามที่เราเข้าใจเสมอไป เพราะแต่ละคนเข้าใจคำพูดเดียวกันไม่เหมือนกัน
จิตนิ่ง จิตตั้งมั่น จิตเป็นสมาธิ เป็นไวพจน์ของกันและกัน แล้วแต่จะใช้งาน ถ้าพูดกับฝรั่งก็ใช้อีกภาษาไปเลย แล้วแต่จะปรุงแต่งตั้งชื่อขึ้นมา เพื่อเรียกอาการอย่างนั้น
ถ้าถามพระพุทธเจ้า ก็จะเป็นอย่างนี้แทนว่า
สมาหิโต ภิกฺขเว ภิกฺขุ ยถาภูตํ ปชานาติ ฯ