มีปัญหาเรื่องการนั่งสมาธิคะ อาจารย์ผู้รู้ช่วยตอบด้วยนะคะ

     

เวลาที่นั่งสมาธิ ทำไมรู้สึกตึงๆ ที่หน้าฝาก บริเวณตรงกลางระหว่างคิ้วคะ ถามใครก็ไม่เคยได้คำตอบที่ดีสักครั้ง คือตัวของหนูเองในสายตาของผู้ที่เขาอยู่ในวงการพุทธศาสนาที่หนูเข้าไปเขาจะมองว่าเราก็ยังเด็กมั้ง เลยได้คำตอบที่ออกจะดูถูกเราบ้างว่าเราอ่านหนังสือมาบอกหรือเปล่า บอกว่าปรุงแต่งมั่งละ แบบว่าไม่ค่อยจะเชื่อ หนูก็อยากรู้ว่าไอ้อาการที่หนูเป็น มันมีในหนังสือด้วยหรือคะ ถ้ามีหนูจะได้ไปอ่านมั้ง จะได้รู้ว่าตัวเองทำถูกหรือทำผิด แล้วไอ้ที่เป็นอยู่มันดีหรือไม่ดี มันถูกหรือผิดทาง แบบว่าหนูตั้งใจนะเนี่ย แต่กลับตอบกันแบบขำๆ หนูก็ไม่ได้ติดใจอะไรหรอกคะที่เล่าให้ฟังเพราะไม่อยากให้คิดว่าเราทำเล่นๆ เหตุที่ตั้งใจและสนใจในการนั่นสมาธิเพราะว่าหนูอยากเป็นคนที่มีเมตตา อยากเป็นคนที่มีบุญมาก จะได้แบ่งบุญของเราให้คนอื่นๆ ไม่ใช่เกิดมาเพื่อขอบุญจากใคร หนูศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า และไม่ใช่เพียงเชื่อเพราะอ่านหรือฟังมา แต่เชื่อเพราะได้ลองปฏิบัติ เรามีเมตตาขึ้นได้จริงๆ ใครว่าอะไรก็ไม่แสดงอาการโกรธ สงสารผู้อื่นมากขึ้น แม้แต่คนที่ทำร้ายเรา ไม่คิดอยากจะอิจฉาใคร มีแต่ยินดีกับเขาเมื่อเขาดีขึ้นกว่าเรา และสิ่งนี้ทำให้เรามีความสุขได้ทุกวัน วันไหนยิ่งได้ทำบุญก็ยิ่งมีความสุข เหมือนมีพลัง คนที่อยู่ใกล้เราเขาก็มีความสุขเราก็ยิ่งมีความสุขใหญ่เลย ตอนนี้ก็มีความสุข อยู่ที่ไหนก็สุขคะ ^^
เข้าเรื่องดีกว่าเดี๋ยวจะเบื่อกันนะคะ หนูต้องขอเท้าความการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพราะคิดว่าน่าจะมีผลต่อการวิเคราะห์ของผู้รู้ผู้ปฏิบัติ และผู้มีเมตตาจิตที่จะตอบคำถามของหนูเพื่อไม่ให้เขาลำบากในการวิเคราะห์ หลายปีก่อนตอนอยู่มัธยมต้นหนูเคยได้ไปบวชที่วัดของหลวงพ่อจรัญ (เขียนชื่ออ้างจะเป็นไรไหมคะ ถ้าไม่ดีขอโทษนะคะ) วันนั้นคนแน่นมากเพราะเป็นวันขึ้นปีใหม่ หนูต้องไปนั่งอยู่ในห้องเก็บของคนเดียวเพราะไม่มีที่จะนั่น แต่ยังได้ยินเสียงหลวงพ่ออยู่นะคะ เราก็เริ่มนั่นสมาธิฟังหลวงพ่อ วันนั้นเป็นวันแรกที่หนูนั่งได้ 3 ชั่วโมงครึ่ง โดยไม่ขยับเลย ตอนแรกนั่นไปก็สงบดี นั่งไปสักพักหนูก็รู้สึกปวดขามาก ปวดไปถึงกระดูดเหมือนกระดูดจะแตกเลยคะ แต่ก็คิดถึงคำสอนของหลวงพ่อได้ว่า “ไม่เคยมีใครตายเพราะธรรมฐาน” เราเลยลุยสู้ตาย นั่งแบบไม่สนใจใยดีกับขาที่ปวด พอสักพักขาที่รู้สึกปวดก็เหมือนจะเป็นน้ำแข็งแล้วก็แตกออกรู้สึกสบายมากเลยคะ ตัวเบามากเลยรู้สึกมีความสุขอย่างบอกไม่ถูก แล้วน้ำตาก็ไหลเพราะความสุขนั้น ต่อมาก็ได้มีโอการไปนั่งที่วัดหินกอง ก็นั่งได้ 3 ชั่งโมงครึ่งอีก อาการก็เป็นเหมือนเดิมอีก จากนั้นก็ไปเดินจงกรมที่วัดสังฆทาน ก็รู้สึกเบาสบายมีความสุขแบบกลั้นไม่อยู่น้ำตาไหลอีกแล้ว แต่มีความสุขจริงๆ นะคะ แต่ตอนที่เดินไม่ได้กำหนดหรือเพ่งไปที่เท้า ปลอดใจสบายๆ แค่รู้ตัวว่าเดินอยู่เท่านั้น มันเบา หลังจากนั้นก็เริ่มมานั่นเองที่บ้าน มีอยู่คืนหนึ่ง (แต่หนูนั่งได้วันละไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมงนะคะ เฉลี่ยแล้วประมาณวันละ 45 นาทีเป็นส่วนใหญ่) แต่ตอนนี้นั่งน้อยลงแล้วเพราะมีผู้ใหญ่ รวมทั้งคุณแม่เรา บอกว่าไม่ให้นั่งนาน เดี๋ยวเป็นโรคจิต เดี๋ยวจะประสาทมั่ง บอกว่าเราจะเร่งทำไมของอย่างนี้ต้องคนมีบุญมากพอทำมากเดี๋ยวเป็นโรคประสาทหรอก เพราะเขาบอกว่าเคยมีคนนั่งนานแล้วบ้าไปเลย ในใจหนูไม่เชื่อหรอก และหนูก็ไม่ได้เร่งอะไร ทำแบบสบายๆ อย่างที่ใจอยากทำ ไม่ได้ฝืนใจหรือบังคับใจตัวเองเลย แต่ไม่เถียงผู้ใหญ่ก็ฟังเอาไว้ เพราะเขาก็หวังดีกับเรา หนูคิดว่าคนที่นั่งแล้วบ้าต้องทำอะไรผิด เช่นศีลหรือผิดคำพูดอะไรสักอย่างที่เขาอธิฐานไว้ก่อนปฏิบัติ หรืออาจจะคิดอะไรไม่ดีนอกรีดก็ได้นะคะหนูก็ไม่ทราบ แต่ใจหนูก็ไม่คิดว่านั่งแล้วจะทำให้บ้าหรอกนะคะ หนูว่าการนั่งสมาธิกลับทำให้มีสมาธิมากขึ้นซะอีก ท่องศัพท์จำได้เยอะขึ้นอีกด้วยนะคะ (รู้งี้นั่งนานแล้วละจะได้เรียนเก่งๆ ^^ ) และมีเมตตามากขึ้น เห็นใจผู้อื่นมากขึ้น แต่หนูว่ามันยังไม่มากพอ บางครั้งก็ต้องแอบนั่งนะคะ บางทีเขาถามว่านั่งได้กี่นาทีเราก็ต้องตอบแบบโกหกว่าไม่กี่นาทีหรอก กลัวเขาหาว่าบ้าหนะ (แปลกเนอะทำดีก็ต้องกลัวอีก)
เดี๋ยวนี้นะคะหนูไม่ได้ภาวนาคำว่า พุทธ โธ แล้วคะ เพราะตอนที่เราดูลมหายใจ (หนูใช้คำว่าดูจริงๆ ไม่ได้ตามลมหายใจ) เหมือนว่าลมหายใจละเอียดขึ้น มากๆ จนหนูรู้สึกว่าตอนที่หายใจออกมันเริ่มยาวขึ้น นานขึ้น จนไม่รู้สึกว่าหายใจเลยคะ เงียบไปเลย หนูก็เลยไม่ได้ภาวนาไงคะ ^^ หนูก็แปลกใจเหมือนกันแต่ก็นั่งไปเรื่อยๆ ครั่งต่อไปหนูก็รู้สึกแบบเดิมแต่หนูก็เลยเพ่งไปตรงกลางเหมือนมีอะไรบางอย่างบอกว่าถ้าไม่รู้จะเอาอะไรยึดจิตแล้ว ก็ให้เพ่งไปตรงกลางไกลๆ หนูก็ทำ และสักพักก็รู้สึกตึงๆ ที่หน้าฝาก บริเวณตรงกลางระหว่างคิ้วคะ มันจะเริ่มเกิดขึ้นจากบริเวณรอบๆ สันจมูกแล้วเลื่อนไปรวมที่บริเวณตรงกลางระหว่างคิ้ว บางครั่งก็รู้สึกตึงเฉยๆ บางครั้งก็รู้สึกว่ามันเริ่มเล็กลง และขณะเดียวกันก็รู้สึกว่ามันเหมือนตึงมากขึ้นหรืออะไรสักอย่างที่จะลึกลงไปตรงกลางนั้น แต่หนูไม่ได้รูสึกปวดหัวนะ ก็โอเคดี ไม่ได้สุขมากจนร้องไหออกมา แบบว่ารู้สึกเฉยๆ เรื่อยๆคะ แต่ก็ไม่รู้สึกรำคาญหรือ หงุดหงิดเลย ใช้คำว่าอะไรดีละ หนูใช้คำว่าปกติแล้วกันคะ จากนั้นหนูก็เลยไปเพ่งที่ตรงนั้น มันเหมือนมีลักษณะเป็นคลื่นวงๆ รอบจุดกึ่งกลางที่เพ่งลงไป แล้วเราก็ส่งคลื่นนั้นออกไปรวมกับที่จุดๆหนึ่ง ลักษณะเหมือนคลื่นน้ำเวลาที่เรา เอานิ้วแตะที่ผิวน้ำและมันจะเกิดคลื่นกระจายออกไปเป็นวง แต่คลื่นของหนูต่างออกไปตรงที่มันเป็นคลื่นที่รวมเข้าหาจุดศูนย์กลางที่เราเพ่งนะคะ คนที่บอกว่าหนูคิดปรุงแต่งหนะเขาถามว่าเหมือนว่าหัวของเราสว่างจ้าเลยใช่ไหม หนูก็บอกว่าไม่ใช่ เพราะหนูไม่ได้มองเห็นหัวตัวเองเลยไม่รู้ว่ามันสว่างหรือเปล่า หนูเพียงแค่มองไปข้างหน้า แล้วเห็นแสงเป็นกลุ่ม อืม.. ลักษณะเหมือนดอกกระถินที่บานแล้ว แต่มันก็ไม่ได้สว่างจ้าอะไรขนาดนั้น แต่มันก็สว่างบ้างแต่ไม่ชัดเจนนะคะ ประมาณนั้น หนูตอบตามความจริง เขาบอกว่าทั้งหมดนี่มาจากหนังสือทั้งนั้น หนูถามว่าเล่มไหนละคะ เขาก็บอกว่ามีทั่วไป ถ้ามีทั่วไปแล้วทำไมไม่มีใครตอบได้ละว่าที่มันตึงๆ เพราะอะไร เขาบอกแต่ว่าอย่าไปปรุงแต่ง แล้วเขาก็หัวเราะแบบว่าหนูคิดไปเอง หนูก็บอกได้แต่คำว่า “คะ” และ “ขอบคุณคะ” แต่ก็ไม่ได้คำตอบอยู่ดี
หนูเป็นอย่างนี้มาหลายเดือนแล้วคะ และเป็นทุกครั้งที่นั่งด้วย ตอนนี้หนูก็กำลังเรียนพระสุตตันตปิฏก และก็วิสุทธิมรรค ด้วยนะคะ (เพิ่งเริ่มเรียนได้ 3 วันเองคะ) เพื่อว่ามันจะมีคำตอบให้บ้าง หนูทราบดีว่าเราไม่ควรสนใจมันอย่าไปยึดติดกับมัน แต่หนูอยากทราบว่าอาการนี้เรียกว่าอะไร และที่สำคัญหนูมาถูกทางหรือเปล่า และหนูจะพัฒนาจิตให้มีเมตตาสูงขึ้น และเจริญปัญญาหาทางดับทุกข์ได้ด้วยวิธีนี้หรืเปล่าคะ อ้อ หนูลืมบอกว่าตอนนี้เวลานั้นสมาธิหนูก็จะนั่งขัดสมาธิเพชรนะคะเพราะว่า ตอนที่นั่งแบบธรรมดา แบบขวาทับซ้ายมันไม่รู้สึกถึงอาการเจ็บปวดอะไรแล้วคะนั่งได้สบายเลย นั่งได้หลายชั่วโมงด้วย แบบว่านั่งโยกไปมาก็ไม่มี (ตอนแรกๆ ที่ฝึกใหม่ๆ ก็มีบาง แต่น้อยมาก แต่ตอนนี้ไม่เคยเป็นเลยคะ) หนูเลยรู้สึกว่ามันสบายมากไป หนูเห็นหลวงปู่สิมสอนให้นั่งขัดสมาธิเพชร ท่านบอกว่าดี พระพุทธเจ้าก็นั่งแบบนี้ (ขอไม่เขียนอธิบายนะคะมีในหนังสือของหลวงปูสิมคะ) สำหรับหนูรู้สึกว่าดีมากๆ เลยนะคะ แต่มันจะเจ็บกว่านั่งแบบธรรมดาในตอนแรกๆ และทำให้เราเข้าสมาธิได้เร็วมากขึ้นด้วยนะคะ เพราะทำให้หนูทราบว่า ถึงกายจะเจ็บแต่จิตของเราสบายมันแยกจากกันอย่างเห็นได้ชัดว่า มันไม่ได้เป็นส่วยหนึ่งส่วนใดกัน มันแยกกันอยู่จริงๆ แล้วความเจ็บก็จะหายไป ทำให้เรานั่งได้เป็นชั่วโมงๆ แบบว่าทรมารตัวเองเล็ก ไม่ให้สบายมากเกินไป คนที่เห็นก็ถามว่าทำไมถึงนั่งแบบนี้ เราก็บอกไปตามนั้น เขาก็บอกว่า ไม่เห็นจำเป็นเลย พระพุทธเจ้าบอกว่าการทรมารตนไม่ใช่หนทางดับทุกข์ หนูก็ว่าคุณน้าคนนั้นเขาก็พูดถูกนะ แต่หนูว่าอันนั้นหมายถึงทรมารมากไปมั่ง การที่หนูนั่งแบบนี้ มันเป็นการสร้างอุบายอย่างหนึ่งของหนูเพื่อให้รู้ว่าจิตแยกออกจากกาย และมันทำให้จิตเป็นอิสระจากกายได้เร็วขึ้นคนเราไม่จำเป็นต้องมีวิธีที่เหมือนกันก็ได้ไม่ใช้หรือคะ เขาดูที่ผลที่ได้มากกว่ามั่ง แต่หนูก็ไม่ได้เถียงผู้ใหญ่ หนูก็พูดว่า “เหรอคะ” แต่ไม่ได้อธิบายอะไร เพราะเขาไม่ได้สนใจในผลที่เราได้ อธิบายไปก็ไม่จบ เพราะผู้ใหญ่บางคน อัตตาสูงมาก น่าสงสารนะคะ หนูก็ไม่ได้ไปว่าคนที่เขานั่งแบบปกติว่าไม่ดีนะ มันก็เป็นความถนัดของเขาจะให้เขาทำเหมือนเราได้ไง เขานั่งแบบนั้นอาจดีอยู่แล้วก็ได้ บางทีอาจได้อะไรมากกว่าเรา หรือค้นพบทางดับทุกข์ได้เร็วกว่าเราเป็นไหนๆ ก็ได้นิ เอาเป็นว่าวิธีนี้ถูกกับจริตของหนูก็แล้วกันนะคะ
มาเข้าเรื่องต่อดีกว่า ตอนนี้เวลานั่งหนูไม่ได้เริ่มที่การดูลมหายใจแล้วนะคะ แต่จะเริ่มส่งคลื่นที่ว่านี่ไปตรงกลางนั่นเลย คนที่เขาอ่านหนังสือมาหรือเรียนทฤษฎีมา เขาบอกว่าไม่ได้ต้องเริ่มจากขั้นหนึ่งทุกครั้งคือดูที่ลมหายใจก่อน คือหนูทำแล้วรู้สึกขัดใจคะ อยากไปตรงนั้นเลย นี่หนูทำผิดวิธีหรือเปล่าคะ หนูต้องเริ่มที่ลมหายใจก่อนทุกครั้ง ไปเพ่งตรงนั้นเลยไม่ได้เหรอคะ มันจะไม่ดีใช่หรือเปล่าคะ แล้วจริงๆ มันต้องทำไง อ๋อถึงเราไม่ไปเพ่งแบบส่งคลื่นที่หนูเขียนไว้ข้างต้น ปล่อยว่างๆ หน้าฝากก็ตึงอยู่ดีนะคะ ไม่ทราบว่ามันเกิดอะไรขึ้นที่หน้าฝาก ไม่เห็นมีคนอื่นเขาเป็นเลย หนูทำผิดหรือเปล่าคะ ใครมีความรู้หรือเคยปฏิบัติมาช่วยบอกหนูหน่อยนะคะ ติดอยู่ตรงนี้นานแล้ว พอทำสมาธิได้ดีๆ ที่ไร ตึงที่หน้าผากทุกที มาคู่กันทุกครั้งเลยคะ




อาการตึงๆที่หน้าผากเกิดจาก 2 กรณี คือ 1 สมาธิมากเกินอินทรีย์อื่น 2 เกิดจากจิตไปยึดอาการนั้น


หากคุณเด็กมือใหม่ ต้องการสนทนาเรื่องนี้กันโดยตรง เรียนเชิญ ไปตั้งคำถามที่บอร์ดนี้ได้เลยจ้า

http://www.free-webboard.com/index.php?user=vipassanatipani




เวลาที่นั่งสมาธิ ทำไมรู้สึกตึงๆ ที่หน้าฝาก บริเวณตรงกลางระหว่างคิ้วคะ

.............................................

วิธีอานาปานสติ

ตั้งกายตรง สติดำรงไว้ตรงหน้า (ขณะนี้แหละ ที่จะรู้สึกตรึงที่หน้า เพราะสติไปจับอยู่)

หายใจเข้า ให้รู้ว่าหายใจเข้า (คราวนี้จะรู้สึกตรึงๆ ที่ จมูก เพราะสติไปจับที่จมูก )


ส่วนการรู้สึกว่าตรึงหน้าฝาก คือ เอาสติไปจับที่หน้าฝาก

จัดเป็น เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน แต่ไม่นิยมทำแบบนี้

ในเมื่อจริตเป็นแบบนี้ก็ใช้แบบนี้ไปเลย

เมื่อจิตเริ่มนิ่งจดจ่ออยู้บริเวรหน้าฝาก ไม่ว็อกแว็ก

น่าจะใช้dรรมฐานแบบอาโลกสิณเจริญต่อจากนั้น

เมื่อจิตเข้าอุปจารสมาธิ คือจะเห็นแสงเหมื่อนที่เห็นใน วินโดว์ มีเดียร์ เพล์เยอ คือ แสงบิดๆเบี้ยวๆ

จากนั้นก็ย้ายจิตมาจับที่แสง

เราเปลียน สติ สัมปชัญญะมาจับที่แสงแทนหน้าฝาก โดยพยายามทำให้แสงนั้นนิ่ง และกลม ให้ได้




อย่ากลับไปสนใจที่หน้าฝากอีก

คือเมื่อ แสงเริ่มจะนิ่ง ก็อย่าสงสัยว่า เอะอาการตรึงหน้าฝากหายไปไหน(นิวรณ์ ลังเลสังสัยเข้าแทรก) จิตจะไหลออกจากฌาน กลับไปจับที่หน้าฝาก

พยายามให้แสงกลมอย่างเดียว อย่าบังคับ อย่าเร่งรีบ ค่อยๆเป็นค่อยๆไป

พอจิตนิ่งไปอีกระดับเดี๋ยวมันกลมเอง

..................................

พอมันกลม ลองจับ โยกซ้าย โยกขวา ขึ้น ลง ทำให้เล็ก ทำให้ใหญ่ ตรงนี้แหละมโนมยิทธิ แต่เป็นแบบ เบสิค


ฟังจากที่เล่ามาให้ฟัง ท่านน่าจะเคยทำมาบ้างแล้ว

ตรงนี้ ไม่ฌาน ๒ ก็ ๓ แล้วแหละ

ไม่ต้องสมใจว่าฌานอะไร เดียวจะกลายเป็นนิวรณ์

แล้วท่านก็เสพติดรูปราคะ สังโยชน์ตัวที่ ๖ เข้าไปแล้ว

5 5 5


ใช่เลย 118.174.2.73 คุณ คำตอบที่ 3 และ 4
นี่แหละเป็นคำตอบที่ตรงใจที่สูดดดด เลยคะ อธิบายได้ตรงใจที่สุด นี้แหละสิ่งที่เราเป็นอยู่ ขอบคุณมากๆ เลยนะคะที่ให้ความกระจ่าง ก็ขอให้คุณมักผลได้ในเร็ววันนะคะ ส่วนคำถามสำคัญคะ แล้ว "มันทำให้เจริญปัญญาได้หรือเปล่าคะ" ได้ณานอะไรก็ไม่สำคัญแต่ได้แล้วมีประโยชน์อะไร ตรงนี้สำคัญมากด้วยนะคะ แต่เราก็ไม่อยากติดใน รูปราคะ สังโยชน์ตัวที่ ๖ อะไรนี่ด้วย ฟังแล้วดูจะไม่หลุดพ้นเลยเนอะ


และต้องขอขอบพระคุณในความเมตตากรุณาที่อ่านข้อความที่ยาวขนาดนี้ได้จบ ขอบคุณจริงๆ คุณเป็นคนที่มีเมตตามากเลย เก่ง และก็รู้จริงด้วย ไม่รู้จะตอบแทนยังไง คืนนี้จะสวดมนต์ให้ทุกคนแล้วกันนะคะ มีความสุขมากเลยคะได้รู้หนทางสร้างบุญต่อแล้ว จงอย่าลืมว่าความกว้าหน้าของดิฉันที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า คุณก็เป็นส่วนหนึ่งในบุญนั้นด้วยนะคะ ^^


ส่วนคำถามสำคัญคะ แล้ว "มันทำให้เจริญปัญญาได้หรือเปล่าคะ" ได้ณานอะไรก็ไม่สำคัญ แต่ได้แล้วมีประโยชน์อะไร ตรงนี้สำคัญมากด้วยนะคะ
..........

หากการปฏิบัติเป็นสัมมาทิฏฐิตั้งแต่ต้น ปัญญาก็เกิดต่อจากสมาธิ ตามปัจจัยสัมพันธ์ขององค์ธรรม

แต่....เมื่อผู้ปฏิบัติมีเจตนาเบี่ยงเบนสมาธิไปทางอื่น ก็แปลว่า สมาธินั้นเปลี่ยนทิศทางเป็นอื่นแล้ว ก็จึงไม่เป็นไปเพื่อปัญญา


หากการปฏิบัติเป็นสัมมาทิฏฐิตั้งแต่ต้น ปัญญาก็เกิดต่อจากสมาธิ ตามปัจจัยสัมพันธ์ขององค์ธรรม

แต่....เมื่อผู้ปฏิบัติมีเจตนาเบี่ยงเบนสมาธิไปทางอื่น ก็แปลว่า สมาธินั้นเปลี่ยนทิศทางเป็นอื่นแล้ว ก็จึงไม่เป็นไปเพื่อปัญญา

....................

แล้วอย่างนี้ทำไงดีละคะ ไม่ได้เจตนาเบี่ยงเบนสมาธิไปทางอื่น หรอกนะคะ เพราะไม่รู้ว่าต้องไปแบบไหนมากกว่า คิดว่ามันทำแบบนี้แล้วถนัดเลยทำ เรามาผิดทางแล้วหรอ เศร้าจัง :( แต่ไม่เป็นไรคะ เอาใหม่ก็ได้ :) เราไม่ท้อหรอก แต่เวลาเหลือน้อยแล้วละ เดี๋ยวก็จะตายแล้ว ต้องรีบหน่อย ^^

แล้วถ้าเริ่มไปกำหนดที่ลมหายใจใหม่ เวลาที่ลมหายใจหาย หรือขาดไป หรือรู้สึกว่าไม่ได้หายใจแล้ว จะต้องทำไงต่อดีละคะ ช่วยหน่อยเถอะเวลาเรามีน้อยเหลือเกิน ^^

น่าอิจฉา (เป็นเพียงคำพูดน้อยใจนะคะไม่ได้อิจฉาจริงๆ) คนที่เขามีครูบาอาจารย์สอนเนอะคะ แต่ไม่เป็นไรเราก็มีผู้อ่านทุกท่านเป็นครูเราไง ^^

ขอบคุณในความมีเมตตามากนะคะ




" ความรู้เรื่องสมาธิ และปัญญา "


สมาธิเป็นชื่อของจิตประเภทหนึ่ง มีหลายลักษณะ มีหลายคุณภาพแตกต่างกัน


สมาธินั้นมี 2 อย่าง

1.มิจฉาสมาธิ คือสภาวะของจิตปุถุชน ที่ยังพัวพันอยู่ในกามหรือยังประกอบอยู่ด้วยอกุศลธรรม
2.สัมมาสมาธิ คือสภาวะที่จิตนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

เรียกจิตที่เป็นสัมมาสมาธินี้ว่า จิตพรหมจรรย์


1.มิจฉาสมาธิ ไม่ได้หมายถึงสมาธิที่ไม่ดีเสมอไป เป็นสมาธิที่ดีก็มีเช่นสมาธิในการเขียนหนังสือตัวบรรจง สมาธิในการขับรถ สมาธิในการทำงานของปุถุชน สมาธิในการร้องเพลง สมาธิในการอ่านหนังสือ...ฯลฯ..

สมาธิเหล่านี้เป็นสมาธิที่ดีของปุถุชน มีประโยชน์ต่อปุถุชน แต่จิตนั้นยังประกอบด้วยกามยังประกอบด้วยอกุศลธรรมคือราคะ โทสะ โมหะ จึงจัดเป็นมิจฉาสมาธิ เพราะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ที่จะต้องเวียนตายเวียนเกิด



2.สัมมาสมาธิ หรือจิตพรหมจรรย์ คือสภาวะที่จิตนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
ได้แก่ฌานสมาบัติ 8 และมัคค 4 ผล 4

สัมมามสมาธินั้นมี 2 อย่าง

2.1.สัมมาสมาธิที่เป็นเหตุ เรียกว่ากุศล
สัมมาสมาธิที่เป็นเหตุ ก็แบ่งเป็น 2 อย่าง
2.1.1.สัมมาสมาธิที่เป็นเหตุ ที่เป็นโลกียะ
ได้แก่รูปาวจรกุศลจิต ในจตุถฌาน หรือปัญจมฌาน
และอรูปาวจรกุศลจิต ในอรูปฌาน 4
แม้รูปฌาน และอรูปฌานจะได้ชื่อว่าโลกียะก็จริงอยู่ แต่คุณสมบัติของจิตเหล่านั้นเป็นจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงเป็นจิตพรหมจรรย์

2.1.2.สัมมาสมาธิที่เป็นเหตุ ที่เป็นโลกุตตระ
คือกุศลจิตหรือสมาธิจิตอันประกอบด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์
ได้แก่ โสดาปัตติมัคค สกทาคามีมัคค อนาคามีมัคค และอรหัตตมัคค
อริยมัคคทั้ง 4 นี้ เป็นสภาวะธรรมที่จิตประกอบด้วยองค์ฌานเดียวกันแต่ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสต่างกัน

โสดาปัตติมัคค ประกอบด้วยปฐมฌาน ( หรือฌาน 1-4 )และปัญญารู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ 4 ในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาส

สกทาคามีมัคค ประกอบด้วยปฐมฌาน ( หรือฌาน 1-4 ) และปัญญารู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ 4 ในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส และความสามารถในการ ทำกามราคะและพยาบาทให้บางเบา

อนาคามีมัคค ประกอบด้วยปฐมฌาน ( หรือฌาน 1-4 ) และปัญญารู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ 4 ในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส กามราคะและ ปฏิฆะ ได้หมดสิ้น

อรหัตตมัคค ประกอบด้วยปฐมฌาน ( หรือฌาน 1-4 ) และปัญญารู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ 4 ในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาได้หมดสิ้น

สัมมาสมาธิในมรรคมีองค์ 8 ในฌาน 1 - 4 คือสัมมาสมาธิที่เป็นเหตุ และเป็นโลกุตตระฌาน โลกุตตระกุศล


การบรรลุธรรมโดยไม่เอาฌาน ไม่เอาเหตุ ไม่ทำจิตให้สงัดจากกาม จิตไม่สงัดจากอกุศลธรรม ไม่ปฏิบัติไปตามแนวทางแห่งมรรคมีองค์ 8 ให้ครบถ้วน แล้วกล่าวว่าตนบรรลุธรรมย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะองค์ธรรมคือปัญญาต้องเกิดร่วมเกิดพร้อมกับสัมมาสมาธิคือฌานเท่านั้น

ปัญญาวิมุติก็ต้องมีฌานเป็นบาทฐาน เช่นเดียวกันกับเจโตวิมุติ



2.2.สัมมาสมาธิที่เป็นผล เรียกว่ากุศลวิบาก
สัมมาสมาธิที่เป็นผล ก็แบ่งเป็น 2 อย่าง

2.2.1.สัมมาสมาธิที่เป็นผล ที่เป็นโลกียะ
ได้แก่ผลจากการบรรลุจตุตตถฌาน หรือปัญจมฌาน ในรูปฌาน เรียกว่า รูปาวจรกุศลวิบาก
และผลจากการบรรลุอรูปฌาน 4 เรียกว่า อรูปาวจรกุศลวิบาก


2.2.2.สัมมาสมาธิที่เป็นผล ที่เป็นโลกุตตระ

ได้แก่ โสดาปัตติผล สกทาคามีผล อนาคามีผล และอรหัตตผล
อริยผลทั้ง 4 นี้ เป็นสภาวะธรรมที่จิตประกอบด้วยองค์ฌาน ต่างกันแต่ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เหมือนกัน

โสดาปัตติผล ประกอบด้วยปฐมฌานหรือ ทุติยฌานหรือ ตติยฌานหรือ จตุตถฌานหรือ (ฌาน 1 - 5 )ในปัญจมฌาน ฌานใดฌานหนึ่งก็ได้เป็นบาท แต่มีปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาสได้เหมือนกัน

สกทาคามีผล ประกอบด้วยปฐมฌานหรือ ทุติยฌานหรือ ตติยฌานหรือ จตุตถฌานหรือ (ฌาน 1 - 5 )ในปัญจมฌาน ฌานใดฌานหนึ่งก็ได้เป็นบาท แต่มีปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาสและความสามารถในการ ทำกามราคะและพยาบาทให้บางเบาได้เหมือนกัน

อนาคามีผล ประกอบด้วยปฐมฌานหรือ ทุติยฌานหรือ ตติยฌานหรือ จตุตถฌานหรือ (ฌาน 1 - 5 )ในปัญจมฌาน ฌานใดฌานหนึ่งก็ได้เป็นบาท แต่มีปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาส กามราคะและ ปฏิฆะ ได้หมดสิ้นได้เหมือนกัน

อรหัตตผล ประกอบด้วยปฐมฌานหรือ ทุติยฌานหรือ ตติยฌานหรือ จตุตถฌานหรือ (ฌาน 1 - 5 )ในปัญจมฌาน ฌานใดฌานหนึ่งก็ได้เป็นบาท แต่มีปัญญาในการละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาได้หมดสิ้นได้เหมือนกัน



คนที่บรรลุธรรมก็คือคนที่จิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมคือราคะ โทสะ โมหะ
จิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมคือราคะ โทสะ โมหะ ก็เรียกว่าจิตนั้นเป็นสัมมาสมาธิและเป็นฌานตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปเป็นบาทฐาน

การเจริญวิปัสสนาให้ได้ปัญญาญาณต่าง ๆ จึงต้องใช้สัมมาสมาธิคือฌานเป็นเหตุหรือเป็นบาท
เพราะปัญญาญาณย่อมเกิดในจิตที่เป็นกุศลเท่านั้นและเป็นจิตพรหมจรรย์ด้วย
ถ้าไม่เป็นฌานไม่เป็นสัมมาสมาธิญาณปัญญาทางธรรมย่อมไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้.



มีหลาย ๆ คนที่ปฏิบัติธรรมผิดแนวทางสืบ ๆ กันมา โดยไม่ได้เรียนปริยัติควบคู่กันไปด้วย เพราะ

1.เชื่อผิดเข้าใจผิดคิดว่าสมาธิไม่ใช่ฌาน ฌานไม่ใช่สมาธิ
แต่ความจริงสมาธิคือชื่อเรียก รวม ๆ ของฌาน ฌานเป็นความละเอียดอ่อนที่แตกต่างกันของสมาธิแต่ละชั้นแต่ละระดับนั่นเอง
เหมือนกับคำว่า ป.1 ป.2 เป็นชื่อของความต่างของเด็ก นักเรียนเป็นชื่อรวมของเด็กที่ได้รับการศึกษาชั้นต่าง ๆ

2.เชื่อผิดเข้าใจผิดคิดว่าสมาธิ ไม่ใช่คุณภาพจิตที่เปลี่ยนแปลงไป ตามหลักไตรลักษณ์
แต่เข้าผิดคิดว่าสมาธิ คือสภาวะธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องมีการเข้าการออก

ความจริงคือ สมาธิคือคุณภาพจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นจิตที่เป็นกุศลหรือกุศลวิบาก

การออกจากสมาธิ ก็คือการเปลี่ยนคุณภาพจิตที่เป็นกุศลให้กลับมาสู่จิตที่เลวคือพัวพันในกามหรือพัวพันในอกุศลธรรม ซึ่งสอนขัดแย้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่า....
จงละบาปอกุศลทั้งปวง
จงยังกุศลให้ถึงพร้อม
จงทำจิตใจให้ผ่องแผ้วจากกิเลส

เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ได้ฌานแล้ว เป็นกุศลแล้วต้องรักษาเอาอย่าให้เสื่อมเพราะกุศลจิตนั้นเป็นสมบัติอันล้ำค่าที่จะต้องรักษาเอาไว้

ส่วนการออกจากสมาธิของพระอริยเจ้านั้นหมายถึง การออกจากสมาธิชั้นละเอียดมาทรงอยู่ในสมาธิระดับหยาบคือฌาน 1 - 2 เท่านั้น

3.ต้องการบรรลุธรรมโดยไม่ปฏิบัตติไปในแนวทางแห่งมรรคมีองค์ 8
เช่น ไม่เอาฌานในสัมมาสมาธิ ไม่ทำจิตให้ตั้งในกุศล ไม่ทำจิตให้สงัดจากกาม และอกุศลธรรม
แต่คิดค้นวิธีปฏิบัติธรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาตามความเชื่อความเห็นของตน ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมบรรลุธรรมจริง ๆ ไม่ได้


ปฏิบัติไปด้วยศึกษาพระไตรปิฎกไปด้วยควบคู่กันไปก็ไม่เสียเวลามามายอะไรหรอกครับ
แล้วท่านจะได้รู้จักเหตุที่ถูกต้อง และผลที่ถูกต้องว่าเป็นอย่างไร


เจริญในธรรมครับ

....................................................................................................................................
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.

น้ำเค็ม






อาการตึงที่หน้าผากเพราะที่กลางหว่างคิ้วมีเส้นเลือดใหญ่ มีเส้นประสาทมาก การสัมผัสทางกายจึงปรากฏชัดเจนมากกว่าบริเวณอื่นเจ้าค่ะ

กายสัมผัสที่เราไปรับรู้ขณะเจริญสมาธิจัดเป็นกามสัญญา
การกำหนดจดจำในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์ เป็นกามสัญญา
การกำหนดจดจำในรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ก็เป็นกามสัญญา


การเจริญสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิให้ละทิ้งความยินดียินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์ ตลอดจนการกำหนดจดจำในรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่เป็นกามสัญญาอันก่อให้เกิดสักกายทิฏฐินั้นเสีย

แล้วเจริญฌานเป็นโลกุตตระอันประกอบด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสสังโยชน์ ไม่มีนิมิตไม่มีเครื่องหมาย กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกทั้งหลายเสียได้
คือ อนิมิตตะสมาธิ หรือ อัปปณิหิตตะสมาธิ หรือ สุญญตะสมาธิ

ขณะนั่ง นอน ยืน และเดินจงกรมก็เพียรยังโลกุตตระฌานให้เกิดขึ้น เมื่อโลกุตตระฌานนั้นเกิดขึ้นแล้วก็รักษาผลสมาบัตินั้นเอาไว้ให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์



เจริญในธรรมเจ้าค่ะ



จ้า..

วันนี้จะกลับไปลองทำดู ของคุณคุณครูทุกคนมากนะคะ ถ้าเวลาที่ลมหายใจหาย หรือขาดไป หรือรู้สึกว่าไม่ได้หายใจแล้ว จะลองปล่อยวางเฉยไปแล้วกันนะคะ สู้ๆ


ส่วนคำถามสำคัญคะ แล้ว "มันทำให้เจริญปัญญาได้หรือเปล่าคะ" ได้ณานอะไรก็ไม่สำคัญ แต่ได้แล้วมีประโยชน์อะไร ตรงนี้สำคัญมากด้วยนะคะ
honey [28 เม.ย. 2551 22:13 น.] คำตอบที่ 5

..........

คำถามของน้อง honey [28 เม.ย. 2551 22:13 น.] คำตอบที่ 5 เป็นคำถามจากใจชัดเจนอยู่แล้วว่าไม่ต้องการฌาน (= สมาธิ) หนึ่ง สอง สาม สี่ แต่ต้องการปัญญาเพื่อดับทุกข์ ถึงกระนั้นการเจริญปัญญาก็ต้องอาศัยสมาธิบ้างตามสมควร จะตัดขาดเสียทีเดียวไม่ได้
แต่ถึงกับว่านั่งย่อขยายนิมิตให้เล็กให้ใหญ่ นั่นแปลว่า เบี่ยงเบนสมาธิแล้ว
เจตนาพี่ต้องการสื่ออย่างนี้



น้อง honey เป็นคนจริงจังมากๆ ฝากว่าค่อยๆทำค่อยๆสังเกตความคิดไปนะครับ ไม่ต้องรีบร้อน สังเกตความคิด สังเกตอาการทุกอย่างที่เกิดขึ้น ไม่มีสิ่งใดที่ได้ดังใจเราหรอก ให้สังเกตดูความไม่แน่นอนของสิ่งกล่าว
แหม...พูดยังกะว่าจะตายวันนี้พรุ่งนี้งั้นแหละ


ถ้าเวลาที่ลมหายใจหาย หรือขาดไป หรือรู้สึกว่าไม่ได้หายใจแล้ว จะลองปล่อยวางเฉยไปแล้วกันนะคะ สู้ๆ
honey - 58.8.144.142 [29 เม.ย. 2551 16:09 น.] คำตอบที่ 11

…………….

หากรู้สึกว่าลมหายใจละเอียดจนถึงกะรู้สึกสึกว่า ไม่หายใจ ...น้องก็ยึดเอาอารมณ์ที่เด่นชัดในร่างกายตรงไหนก็ได้ เป็นอารมณ์กรรมฐานภาวนาไป เมื่อลมคืนแล้วค่อยกลับไปที่ลมใหม่



แหม...พูดยังกะว่าจะตายวันนี้พรุ่งนี้งั้นแหละ

........................

5555 อารมณ์ขันดีเนอะ ชอบๆ ขอบคุณนะคะที่เป็นห่วง (คิดเอง อิอิ) น้อมรับคำเตือนคะ

ด้วยความสงสัยและด้วยความเคารพ

แล้วถ้าลมหายใจกลับมาอีก ไม่ได้แสดงว่าฌานที่เรากำลังได้อยู่ เลื่อนขึ้นๆ ลงๆ หรือคะ แบบว่าเดี๋ยวก็รู้สึกถึงลมหายใจ เดี๋ยวก็ไม่รู้สึก มันยังอยู่ในฌานเดิมหรือเปล่า แล้วเราจะบังคับว่าจะเข้าออกฌานนี้ ฌานนี้นั้น ไม่ได้หรอคะคุณครู




อานาปานสติกรรมฐาน
ใช้สัญญาลมหายใจเข้า สัญญาลมหายใจออก เป็นที่ตั้งของสติเพื่อให้จิตสงบจากนิวรณ์
เพื่อให้สำรวมกายวาจาใจ(อินทรีย์สังวร)

ไม่ใช่ทำให้อานาปาสติเป็นตัวนิวรณ์
ดังนั้น honey ควรพิจารณา คห.ที่ 9 และ10 เพื่อการเจริญปัญญาเพื่อจิตอันเป็นกุศล

เจริญธรรม


(คุณน้อง honey พิจารณาตัวอย่างการเจริญอานาปานสติของคนๆหนึ่ง

พอยึดเป็นแบบเทียบเคียงได้ พี่ตัดเอาแต่สาระมา ดังนี้ ครับ)

ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆจังๆเลย จนกระทั่งไม่นานมานี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่งที่ญี่ปุ่น

ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ ท่านก็ไม่ตอบอะไร ยื่นหนังสือของท่านให้สามเล่ม เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางในอานาปานสติสูตร แล้วผมก็กราบลาท่านมา

ผมก็อ่านแค่เล่มแรกก่อน ใจความในเล่มแรก คือ ให้กำหนดรู้ลมหายใจให้ตลอด
ในชีวิตประจำวัน จะทำกิจกรรมอะไรก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วย ยกเว้นเวลาขับรถ หรือเวลาอ่านหนังสือ แต่ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรอยู่
ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้

หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน เวลาเดิน ก็รู้สึกดีครับ รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ
หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน
ฯลฯ
รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว กายขยายไปทุกทิศจนรู้สึกว่ากายหายไป เวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปีติ มีแต่ความสุขไปหมด จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า

"มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก(ส่วนใหญ่)มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ
คน(ส่วนใหญ่)ในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้นผมก็สังเกตลมหายใจก็รู้สึกว่า ลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่า ลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่า คือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปีติ คือปีติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้นเลยนะครับ แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่

จากนั้นผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ"

จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล) ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

แต่หลังจากนั้นมา ผมก็ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะดังกล่าวได้อีกเลย คือทำได้มากสุด ก็แค่ทำปีติให้เกิดขึ้นแวบหนึ่งเท่านั้น (แต่ก็สามารถทำให้เกิดได้ตลอดเวลา ตามที่ต้องการทันที)
แต่ไม่สามารถทำให้เกิดค้างไว้ จนรู้สึกเหมือนจุ่มลงในปีติ แล้วมีลมหายใจละเอียดแบบครั้งแรกได้




เราทำงาน คือ นึกถึงงานคือกรรมฐานที่ทำ (อานาปานสติ) มีสติสัมปชัญญะอยู่กับงาน มิใช่นึกถึงฌานนั้นฌานนี้ หรือนึกถึงอะไรๆ นึกถึงงาน คือ ลมหายใจเข้าออก มันหายก็รู้ว่าหายไป แล้วก็ดูอารมณ์อื่นที่ชัดแทนลมไปก่อน มันมาก็รู้ว่ามันมา ก็ดูลมเข้าออกต่อไป ประคองจิตให้อยู่กับงานนั้น





คำว่าองค์ฌาน หมายถึงองค์ธรรม ที่ประกอบร่วมอยู่เป็นประจำในฌานขั้นนั้นๆ
และเป็นเครื่องกำหนดแยกฌานแต่ละขั้นออกจากกันให้รู้ว่าในกรณีนั้นเป็นฌานขั้นที่เท่าใดเท่านั้น มิใช่หมายความว่าในฌานมีองค์ธรรมทั้งหมดอยู่เพียงเท่านั้น
ความจริงองค์ธรรมอื่นๆ ที่ประกอบร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเรียกว่าสัมปยุตธรรม แต่เกิดขึ้นประจำบ้าง
ไม่ประจำบ้าง และไม่ใช่เป็นตัวกำหนดแบ่งขั้นของฌาน ยังมีอีกเป็นอันมาก เช่น สัญญา เจตนา ฉันทะ วิริยะ สติ มนสิการ เป็นต้น



(การฝึกจิตในเมื่องไทย ณ ปัจจุบันนี้มีมากหลากหลายนักน้อง honey ที่เห็นว่าไม่ควรเอาอย่าง ได้แก่ การเข้าฌานแบบที่เขาถาม-ตอบกันนี้)


ถาม...อยากให้ อ. ศิริพงษ์แนะนำหลักนั่งกรรมฐานค่ะ กำลังตั้งครรภ์ นั่งได้มั้ยคะ

ตอบ....สามารถนั่งฌาน ได้ค่ะ แต่ตอนสั่นที่ ฌาน 2 ก็ให้สั่นเบาๆ พอให้ตัวสะเทือนไปทั่วตัว ขอย้ำว่าให้เบาๆ นะคะ


ถาม....สงสัยมากเลยครับ ออกฌาน ยังไงถึงไม่ติดฌานครับ อ่านแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจ กลัวติดฌาน

ตอบ....ให้ขึ้นและลงจากฌานตามลำดับค่ะ อย่าข้ามขั้นตอน ส่วนฌาน 2 ขาลงให้สั่นมากๆ เพื่อสลัดฌานออก ถ้าพบว่ายังมึนๆ ศีรษะหรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ให้ลองเข้าฌานและออกใหม่อีกครั้งเพื่อสลัดออกในฌาน 2 อีกครั้ง รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดศึกษาในซีดีคอร์สที่ 1 นะคะ



ถึงคุณเด็กมือใหม่ การนั่งสมาธิไม่ใช่ว่าปุ๊ปปั๊ปก็นั่งเลยก่อนที่จะน่งเราสำรวจตนเองก่อนว่าใจของเราสบายหรือยังงานที่เราทำหนักมั้ยเดินทางใกล้หรือไกลอากาศเป็นอย่างไรปัดจัยเหล่านี้ก็สำคัญมากและเวลาออกจากการนั่งสมาธิแล้วทำใจให้ติดกับสมาธิที่เรานั่งอยู่เวาลาทำอะไรให้หยุดนิ่ง1นาที/1ชั่วโมงครับเท่านี้ก็สามารถทำได้ต่อเนื่องและตลอดเวลาครับ


สวัสดีครับ.

เท่าที่น้องได้เล่ามานั้น เมื่อก่อนผมก็เคยเป็นอย่างนี้แหละครับ ขอตอบตรงจุดเลยครับ
อาการที่รู้สึกตึงที่หน้าผากนั้น เกิดจากการที่เราเอาความรู้สึกไปเพ่งมัน ถ้าเราตั้งใจไปเพ่งตรงไหนก็จะรู้สึกตรงนั้นแหละครับ ถ้าให้ผมเสนอ ผมก็ว่าไม่ควรเลยที่จะไปเพ่งมัน เราควรที่จะดู รู้เท่าทัน กาย และใจ อยู่เสมอๆ ในทุกอริยาบทครับ ให้รู้เท่าทันการเกิดขึ้นของความคิด และการดับไปของมันครับ

ส่วนที่ว่ารู้ลมหายใจ หรือไม่รู้ว่าลมหายใจมีอยู่เลยนั้น ในตอนนั่งสมาธิ มันก็มีอาการอย่างนั้นแหละครับ คือพอเราดูลมนานๆเข้าจิตมันก็เริ่มที่จะตั่งมั่นขึ้นมาบ้าง พอมันตั่งมั่นมากๆเข้า มันก็จะจับอาการทางกายไม่ค่อยได้ จิตก็เลยไปดูอาการทางเวทนาแทน คือจะรู้สึกตัวเบามั่ง มีปิติ มีความสุขบ้าง พอดูอาการทางเวทนาจนจิตตั่งมั่นแน่วแน่ มันก็จะไม่มีความรู้สึกว่ามีลมอยู่เลย หรือมีการอยู่เลย มันจะมีการรับรู้ที่แน่วแน่อยู่เป็นหนึ่งอย่างนั้นแหละครับ

แต่เมื่อมันเป็นอยู่อย่างนี้แล้ว น้องก็กลับไปเพ่งที่ร่างกายหรืออะไรก็แล้วแต่ ที่น้องไปเพ่งนั้น ผมคิดว่า น้องไม่รู้ว่าจะเอาความรู้สึกที่มันนิ่งๆ เฉยๆอยู่ ทำอย่างไรต่ออีก ถึงจะให้เกิดปัญญา รู้ตามความเป็นจริงได้ ใช่ไหมครับ

ส่วนที่ทำแล้วจะดูลมก่อน หรือไม่ดูนั้น ไม่สำคัญเท่าไหล่หรอกครับสำหรับน้อง เพราะว่าผมเชื่อได้เลย ว่าน้องนั้นสามารถที่จะเข้าไปโดย ตั่งมั่นแน่วแน่ได้เลยครับ แล้วผมว่าน้องก็จะรู้สึกตัวเบา สบายๆ ตอนออกจากสมาธิแล้วอีกต่างหากโดยที่น้องไม่ต้องนั่งสมาธิเลย เพราะว่าน้องทำสมาธิจนมีความชำนาน ตั่งใจมั่น

ส่วนที่จะต้องแก้ไข ให้ใช้ปัญญา หรือวิสสนาในการเจริญสติครับ ตั่งใจดูในสมาธิก็ได้ หรือเวลาออกจากสมาธิก็ได้ครับ ให้รู้เท่าทันจิตที่คิดไปต่างๆครับ รู้ตามเป็นจริงครับโดยเราไม่ต้องไปก่าวก่ายมันเลยครับ

แต่ถ้าถามว่าเวลารู้เฉยๆ เป็นหนึ่งอยู่แล้วจะทำอะไรต่อนั้น ผมว่าน้องก็ลองย้อนกลับมาดูที่อาการของเวทนาดูอีกครับ คือดูความเปลี่ยนแปลงไปของขันต์ทั้ง5 ครับ อาการที่ทำล้วนแต่เป็นสมาถะครับ แต่ผมว่าน้องก็สมารถเข้าอรูปณาณได้อีกต่อนะครับ ไว้ผมมีโอกาสเข้ามาจะเล่าให้ฟังต่อครับ แต่ที่สุดแล้วทุกสิ่งทุกอย่างไม่ความยึดติดอะไรเลย ไม่ควรที่จะ กังวน หรือต้องการไปใส่มันเลยครับ ปล่อยวาง เบิกบาน ไม่ต้องรับภาระอันหนักอึ่งในการแบก ยึดมันไว้เลยครับ

ถ้าน้องไม่เข้าใจหรือมีความสงสัยอะไรก็เมลมาหาผมได้ครับ. เพราะว่าผมนานๆก็จะเข้ามาอ่านเล่นสักครั้งหนึ่งครับ เมลผมครับ s_boonsan@hotmail.com ครับ ผมก็สนใจจิตที่มีความนุ่มนวลควรแก่งาน เพราะว่าสามารถทำที่สุดแห่งความไม่มีทุกข์อีกเลยได้ครับ

เจริญในธรรมครับ.


ผู้หวังดี - 118.173.237.206 [1 พ.ค. 2551 21:48 น.] คำตอบที่ 22
ส่วนที่ทำแล้วจะดูลมก่อน หรือไม่ดูนั้น ไม่สำคัญเท่าไหล่หรอกครับสำหรับน้อง เพราะว่าผมเชื่อได้เลย ว่าน้องนั้นสามารถที่จะเข้าไปโดย ตั่งมั่นแน่วแน่ได้เลยครับ แล้วผมว่าน้องก็จะรู้สึกตัวเบา สบายๆ ตอนออกจากสมาธิแล้วอีกต่างหากโดยที่น้องไม่ต้องนั่งสมาธิเลย เพราะว่าน้องทำสมาธิจนมีความชำนาน ตั่งใจมั่น
.........................

ใช่คะบางครั้ง ก็รู้สึกแปลกๆ คือหลังจากออกจากสมาธิแล้ว จะรู้สึกตัวเบา สบายๆ เหมือนขณะมีสมาธิอยู่ สมองโปร่งโล่งสบาย พอนอนก็เหมือนไม่ได้หลับ เหมือนยังนั่งสามธิอยู่ทั้งคืน (เหมือนอยู่ในสมาธิค่ะ) พอตื่นขึ้นมาก็ไม่รู้สึกเพลียอะไรเลยนะคะ ไม่ง่วงด้วย สมองเบาสบายอีกต่างหาก ตัวเองก็สงสัยว่านี่เป็นอะไรไป แต่ไม่มีใครบอกได้เหมือนกัน คุณกล่าวได้ถูกต้องเลยคะ แสดงว่าเคยเป็นเหมือนกัน ดีใจมากคะที่ได้เจอผู้รู้ทุกท่าน ถือเป็นบุญของผู้เขียนอย่างยิ่ง



ถึงคุณ 125.24.212.75 และ คุณ 202.91.19.192

คุณเป็นคนมีน้ำใจมากเลยนะคะ ผู้อ่านซึ่งใจมากเลยที่พยายามเขียนอธิบายให้เข้าใจ ผู้เขียนได้อะไรเยอะมากจากผู้อ่าน และจะนำไปปฏิบัติคะ ไม่ทำให้เสียแรงที่เขียนแนนอนคะ ส่วนคุณ 202.91.19.192 ขอแนะนำที่กล่าวมาน่าคิดและควรที่จะนำมาพิจารณาอย่างยิ่งคะ ถึงจะเป็นข้อความไม่ยาวแต่เป็นสิ่งที่ควรฝึก และพิจารณามาก ยังไงก็ขอขอบพระคุณมากนะคะ ขอให้มีสุขภาพแข็งแรงนะคะ ^^

เจริญในธรรมคะ


น้ำเค็ม DT02176, เช่นนั้น DT03623

..........................

ได้ copy ไปไว้อ่านทำความเข้าใจแล้วคะ ไม่เคยได้อ่านจากที่ไหนเลยคะ เป็นความรู้ที่สำคัญมากจะเก็บเอาไว้พิจารณาบ่อยๆ นะคะ ไม่ให้เสียแรงที่พิมพ์แน่นอนคะ ^^ ขอให้คุณมีสุขภาพแข็งแรง รักษาสุขภาพด้วยนะคะ ^^

เจริญในธรรมคะ


อนุโมทนา กับคุณ เช่นนั้น และ คุณ น้ำเค็ม
เป็นคำตอบที่ให้แนวทางในการปฏิบัติเพื่อความเจริญอย่างแท้จริง
ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ท่าน
อนุโมทนา ครับ


การทำสมาธิจิตต้องแน่วแน่ โดยมีสติรู้อยู่ว่า นี่สติ นี่สมาธิ นี่อารมณ์ มีไตรลักษณ์ควบคุมอยู่ตลอด สมาธิมี 3 อย่างคือ
1. ขณิกสมาธิ เป็นอาการที่จิตเข้ารวมอยู่ในจุดเดียว แต่รวมอยู่เป็นพักๆ แล้วหายไป
2. อุปจารสมาธิ เป็นอาการที่จิตเข้าสู่อัปปนา จินไม่ฟุ้งซ่านออกไปภายนอก ยึดเอาอารมณ์เป็นเครื่องยึดถือ
3. อัปปนาสมาธิ เป็นอาการที่จิตถอนสละออกจากความยึดมั่นถือมั่น ควบเข้ากับกำลังสติ สมาธิ และปัญญา
เราจะสังเกตได้ง่าย ก็คือ ลมหายใจไม่มี เพราะเกิดจากการวางอุปาทานในรูป สัญญา และเวทนาดับหมด บางคนนั่งอยู่ได้ถึง 7 วัน แต่ไม่ให้ยึดถือตรงนั้น จิตจึงดิ่งลงสู่ภวังค์ เป็นลักษณะอาการไม่ยอมออกมารับอารมณ์ภายนอก แต่เสวยอารมณ์อยู่ภายในใจเอง จะมีอาการคล้ายๆ กับอารมณ์ภายนอก ภวังค์เป็นชื่อภพของจิต เมื่อจิตมาถือปฏิสนธิในกายนี้ และกายนี้ยังมีอยู่ จิตที่ถูกอบรมให้ถอนอุปาทานได้แล้ว ก็จะเข้าไปรวมเป็นภวังค์ตั้งอยู่ในภูมิของตนโดยเฉพาะ ลักษณะของภวังค์ยังไม่มีปัญญาพอจะเห็นซึ่งไตรลักษณ์ให้เห็นชัดแจ้งในอริยสัจ 4 ได้ จึงไม่ใช่หนทางแห่งการสิ้นภพสิ้นชาติ ทำให้นักปฏิบัติหลายๆ ท่านติด ส่วนสมาธิเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเป็นไปอย่างเรียบๆ เพราะมีสติคอยกำกับอยู่ และยึดเอาไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ทำให้จิตไม่หลงลืม ได้แล้วไม่ค่อยเสื่อมเป็นโลกุตตระธรรม บางคนอาจไม่รู้สึกตื้นเต้นในขณะที่ได้สมาธิ เพราะไม่ได้คำนึงถึงอาการที่ปรากฏออกมา แต่ตั้งหน้าจะทำสมาธินั้นให้มั่นและละเอียดอย่างเดียว เมื่อจิตรวมเป็นหนึ่งเดียวได้ให้ระวังอย่าให้จิตยึดเอาอารมณ์ใดๆ อันเกิดจากสุขภายในของใจ แต่พยายามให้มีการงานทำเพื่อให้ลืมอารมณ์ความสุขสงบลง ถ้าเรายึดจิตจนสำคัญว่าเป็นผู้วิเศษ มีทิฏฐิคือชั้นไม่ยอมฟังเสียงใครๆ เลย เมื่อถึงขึ้นนี้ก็ยากที่แก้ไขได้ กลายเป็นคนวิกลจริต หรือกลายเป็นคนอหังการ อย่างนี้อันตรายมาก และในระหว่างที่นั่งสมาธิ ถ้าเกิดจิตเข้าไปยึดในเบญจขันธ์ เบญจขันธ์นั้นประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ถ้าจิตของผู้ใดยึดในเบญจขันธ์จิตของผู้นั้นจะรู้สึกว่าหนักเหลือทน แต่ถ้าพิจารณาด้วยปัญญาจะเห็นว่า กายกับจิต เป็นคนละส่วนกัน ไม่ใช่อันเดียวกัน ถอนความยึดมั่นถือมั่นในกายออก เพราะว่ารูปขันธ์ นามขันธ์นี้ โดยเฉพาะรูปขันธ์ที่เราสามารถสัมผัสทางสายตา ควรพิจารณาให้เห็นชัดว่ารูปขันธ์อาศํยธาตุ 4 เป็นตัวควบคุมอยู่ มีอาการแปรปรวนไปและแตกสลายไปที่สุด เราไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามอำนาจของเราได้ เมื่อเราเข้ายึดถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ก็ได้รับความเจ็บปวด และเดือดร้อน จะต้องละจิตออกจากรูปขันธ์นั้นเสีย แล้วใช้วิปัสสนาพิจารณาให้เห็นชัดแจ้งว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยง หรือเราเรียกว่า ไตรลักษณ์ คือ เห็น อนิจจัง คือสิ่งทั้งปวงเปลี่ยนแปลงเรื่อยไปไม่มีอะไรที่คงที่ ทุกขัง คือสิ่งทั้งปวงมีลักษณะทนอยู่ไม่ได้ มีอันจะต้องแตกดับในตัวมันเอง ให้เราพิจารณาว่าเป็นสิ่งที่น่าเกลียดน่าเบื่อหน่ายน่าระอา อนัตตา คือ เห็นสิ่งทั้งปวงไม่มีอะไรที่จิตควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเอา หรือเป็นของๆ เรา ถ้าไปยึดก็เจ็บปวด เดือดร้อนอีก

ในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านได้วางหลักไว้ว่า จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฏของธรรมชาติ คือเห็นสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นอยู่จริง ท่านวางหลักไว้ 3 ประการ คือ ทรงสอนให้ละความชั่วทั้งปวง ทรงสอนให้บำเพ็ญความดีทุกอย่าง และทรงสอนให้ชำระใจของตนให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะหลัก 3 ประการนี้จะเป็นพื้นฐานให้จิตใจหลุดพ้นจากความชั่วหรืออกุศลทั้งหลาย เมื่อพระพุทธองค์ทรงวางหลัก 3 ประการนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงวางแนวการสอนทำให้เข้าถึง 3 หลักนั้นไว้ 5 ประการ หรือที่เรียกว่า อนุปุพพีกถา เป็นการสอนให้ผู้ทำตามเปลี่ยนชีวิตจิตใจของตนให้เลื่อนชั้นดีขึ้นตามลำดับ คือ
1 ทานกถา รู้จักสละทรัพย์สมบัติของตนเพื่อเฉลี่ยความสุขแก่คนอื่น ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว เป็นการแสดงจิตเมตตากรุณา แก่ผู้อื่นตามฐานะ
2. สีลกถา คือการรักษาศีลให้รู้จักปรับปรุงตนเอง ให้เป็นคนมีกิริยา วาจาสุภาพเรียบร้อย
3. สัคคกถา คือเป็นการบำเพ็ญความดีในทาน ศีล ของตน จนจิตอิ่มตัวเกิดความสุข ปิติเกิดขึ้น
4. กามาทีนวกถา เป็นการพรรณนาถึงโทษของกามเป็นของไม่ยั่งยืน และประกอบด้วยความคับแค้น
5. เนกขัมมานิสังสกถา เป็นการพรรณนาถึงอานิสงส์แห่งการออกจากกาม เพื่อให้รู้จักฟอกจิตให้ออกห่างจากความยินดีในกาม เพื่อมิให้เกิดเชื้อซึ่งก่อให้เกิดภพชาติไม่มีที่สิ้นสุด
ในหลักคำสอน 3 ข้อแรก คือสอนให้ละความชั่วตั้งตนอยู่ในความดี ส่วน 2 ข้อหลังสอนให้ชำระใจที่เศร้าหมองให้เป็นใจบริสุทธิ์ผุดผ่อง

ดิฉันขอยกคำกล่าวของหลวงปู่เทสรังสี ไว้ว่า

"เนื่องด้วยเญยยธรรมเป็นของละเอียดลึกซึ้งสุขุมมาก อันเกิดจากใจบริสุทธิ์ของท่าน ผู้ที่ได้อบรมฝึกฝนมาดีแล้ว จึงยากที่ปุถุชนคนธรรมดา อย่างพวกเราทั้งหลาย ที่จะตามเข้าไปพิสูจน์และเข้าถึงอรรถรสของเญยธรรมนั้นได้ทั่วถึง เพราะเญยยธรรมเป็นวิชชานอกเหนือไปจากปรัชญา และตำราใดๆ ทั้งหมด ธรรมและวินัยบางอย่างจะมาพิสูจน์ด้วยวัตถุธาตุย่อมไม่ได้ ต้องพิสูจน์ด้วยมโนธาตุที่บริสุทธิ์เท่านั้น จึงจะรู้ได้ด้วยภาษาใจ แล้วก็เป็นความรู้เฉพาะตน (ปัจจัตตัง) อีกด้วยแม้ถึงกระนั้นก็ตาม พระองค์ก็ยังได้ทรงบัญญัติไว้ด้วยภาษาคำพูดให้พวกเราได้รู้ และได้ปฏิบัติตามจนกระทั่งบัดนี้ จึงนับว่าเป็นบุญแก่พวกเรามิใช่น้อย ฉะนั้นผู้ที่มีการศึกษามากหรือการศึกษาน้อยก็ดี ปฏิบัติมามากหรือปฏิบัตมาน้อยก็ดี เมื่อชำระจิตของตนยังไม่บริสุทธิ์พอจะเป็นพื้นฐานรับรองของเญยยธรรมแล้ว จะมาพิสูจนฺ์ซึ่งเญยยธรรมด้วยตัวหนังสือหรือการเทียบในหลักปรัชญานั้นๆ หาได้ไม่ ดีไม่ดีอาจเกิดเป็นมิจฉาทิฏฐิขึ้นมาก็ได้ การพิสูจน์นั้นหากไปตรงกับเญยธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ดีไป หากไม่ไปตรงเข้าก็อย่า พึงคัดค้านหรือยกโทษคำสอนของพระองค์ก่อนเลยจะเป็นบาปเปล่า จงทำตนเป็นคนเถรตรงศึกษาจดจำ และนำไปปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ทำตนให้เป็นเหมือนตู้ทึบเก็บพระไตรปิฏกของพระองค์ไว้ เพื่อประโยชน์ความสุขแก่โลกและอนุชนภายหลังก็ยังจะดีกว่า"




ขออนุโมทนากับคุณ เช่นนั้น และ คุณ น้ำเค็ม แบบยำ้ๆ
เพื่อเตือนใจให้สติแก่ตนเองและผู้อ่านที่ปราถนาปัญญา
ให้รู้ถูก เข้าใจถูก ไม่หลงปฏิบัตินอกลู่นอกทางครับ


"ถึงกายจะเจ็บแต่จิตของเราสบายมันแยกจากกันอย่างเห็นได้ชัดว่า มันไม่ได้เป็นส่วยหนึ่งส่วนใดกัน มันแยกกันอยู่จริงๆ แล้วความเจ็บก็จะหายไป ทำให้เรานั่งได้เป็นชั่วโมงๆ แบบว่าทรมารตัวเองเล็ก ไม่ให้สบายมากเกินไป คนที่เห็นก็ถามว่าทำไมถึงนั่งแบบนี้ เราก็บอกไปตามนั้น เขาก็บอกว่า ไม่เห็นจำเป็นเลย พระพุทธเจ้าบอกว่าการทรมารตนไม่ใช่หนทางดับทุกข์ หนูก็ว่าคุณน้าคนนั้นเขาก็พูดถูกนะ แต่หนูว่าอันนั้นหมายถึงทรมารมากไปมั่ง การที่หนูนั่งแบบนี้ มันเป็นการสร้างอุบายอย่างหนึ่งของหนูเพื่อให้รู้ว่าจิตแยกออกจากกาย และมันทำให้จิตเป็นอิสระจากกายได้เร็วขึ้นคนเราไม่จำเป็นต้องมีวิธีที่ เหมือนกันก็ได้ไม่ใช้หรือคะ"
โดย : เด็กมือใหม่ [58.8.142.235] 28 เม.ย. 2551 13:27 น.

ขอแสดงความคิดเห็นตามความรู้ที่มีเพียงเล็กน้อยครับ ปํญญาจะเกิดจากจุดที่คุณกล่าวถึงข้างบนนี้ครับให้พิจารณาตรงนี้ให้ดี ถ้าพิจารณาให้ดี กาย เวทนากาย จิตจะแยกออกเป็นสาม ๑ หรือ กาย เวทนากาย หายไป เหลือแต่จิต ๑ พิจารณาตรงจุดนี้ครับพิจารณาให้ดี ถ้ามัวแต่เล่นกับฌาณอยู่อาจทำให้เนิ่นช้าไปนะครับ ฌาณก็เสื่อมได้ แต่นิพพานเที่ยงครับ


 4,133 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย