วิปัสสนา

เรื่องที่ ๑ : ศิลปะในการดำเนินชีวิต ด้วยวิปัสสนา ( ๑ )
โดย : ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า


วิปัสสนา คืออะไร ? และ วิปัสสนาจะช่วยให้เราพ้นจากความทุกข์ในชีวิตประจำวันได้ อย่างไร ? ความทุกข์ที่เกิดจากการมีชีวิตอยู่ และ ความทุกข์ที่เกิดจากความตาย เราทุกคน ล้วนแต่ต้องการหลีกหนีจากความทุกข์ และต้องการมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย แต่เรามักไม่รู้ว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ และมีชีวิตที่มีความสุขอย่างแท้จริง

การตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้ได้ทรงค้นพบสัจธรรม ที่เกี่ยวกับ ความทุกข์เหตุแห่ง ทุกข์ และความดับแห่งทุกข์ ในสมัยของพระพุทธองค์ก็เช่นเดียวกับสมัย ปัจจุบัน ที่มีการปฏิบัติภาวนาในรูปแบบต่างๆมากมายหลายวิธี โดยเชื่อกันว่า วิธีปฏิบัติภาวนา ต่างๆเหล่านั้น จะเป็นวิธีที่สามารถดับทุกข์ได้ ซึ่งในสมัยนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงทดลอง ปฏิบัติตามวิธีการต่างๆเหล่านี้ แต่ก็ทรงพบว่า หาใช่เป็นหนทางดับทุกข์อย่างแท้จริงไม่ จึง ทรงค้นหาวิธีการ ที่จะดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง ด้วยพระองค์เอง และได้ทรงพบว่า วิธีการ ปฏิบัติวิปัสสนานี้ เป็นวิธีที่สามารถขจัดความทุกข์ทั้งมวลออกจากชีวิตของพระองค์ได้ และ ส่งผลให้ได้ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ

มีวิธีปฏิบัติภาวนาหลายวิธี ที่ให้ผลเพียงชั่วครั้งชั่วคราว โดยทำให้เกิดความรู้สึกเสมือนหนึ่ง ว่า เราได้หลุดพ้น จากความทุกข์แล้ว แต่ความเป็นจริงนั้น เราหาได้หลุดพ้นจากความทุกข์ อย่างแท้จริงไม่ในชีวิตประจำวันของท่านทั้งหลาย ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติธรรม แต่ท่านก็ปรารถนา ที่จะหลุดพ้น จากความทุกข์เช่นกัน ดังนั้น เมื่อใดที่ท่านมีทุกข์ ท่านก็จะ พยายาม หันเหความสนใจไปยังสิ่งอื่นๆ เพื่อหลบลี้จากความทุกข์นั้นๆ

เมื่อท่านมีความทุกข์เกิดขึ้นในชีวิต มีความเดือดเนื้อร้อนใจ จนไม่อาจจะทนทุกข์อยู่ต่อไปได้ ท่านก็อยากจะ หนีทุกข์นั้นไปเสียให้พ้น โดยท่านอาจจะไปดูหนัง ดูละคร หรือไปสถานบันเทิง ต่างๆ หรืออาจจะไปดื่มดับทุกข์แต่สิ่งเหล่านี้ ก็ช่วยให้ท่านหลบลี้ไปจากความทุกข์ได้เพียงชั่ว ครั้งชั่วคราวเท่านั้น

ท่านทำได้แค่เพียง หันเหความสนใจของท่าน ไปจากความทุกข์เป็นการชั่วคราว แล้วก็นึกเอา เองว่า ท่านได้พ้นจากความทุกข์นั้นแล้วแต่ความเป็นจริงนั้น ท่านหาได้หลุดพ้นจากความทุกข์ ไปไม่ ในทางตรงกันข้าม ความทุกข์ของท่านกลับจะ เพิ่มพูนขึ้น การหลีกหนีไปจากความทุกข์ จึงมิใช่เป็นการแก้ปัญหา

พระพุทธองค์ทรงสอนให้เรากล้าเผชิญหน้ากับปัญหา เผชิญกับความเป็นจริง แทนที่จะหลบ ลี้ไปจากความจริง ทรงพบว่า การปฏิบัติภาวนาวิธีต่างๆเหล่านั้น เป็นแต่เพียงการหันเหจิตใจ จากความทุกข์เฉพาะหน้า ไปสู่สิ่งอื่นเท่านั้นในส่วนลึกของจิตนั้น เรายังคงรู้สึกถึงความทุกข์นั้น อยู่ และยังสร้างสังขาร หรือ ความคิดปรุงแต่งของจิต ให้เกิดโลภะ โทสะ หรือ โมหะ เพิ่ม ขึ้นมาอีก ทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานมากขึ้น

จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติภาวนา จึงมิใช่การสร้างสิ่งสมมติ แต่ควรจะเป็นการสังเกตสภาวะ ธรรม ตามความเป็นจริง หรือ ยถาภูตา

ตถตา ซึ่งหมายถึงความจริงในลักษณะที่มันเป็นเช่นนั้นเอง เราควรสังเกตความจริงที่ปรากฏ อยู่ในเวลานั้น ความจริงที่เราประสบอยู่ภายในกายของเราเอง ในการปฏิบัติวิปัสสนา เราจะ ต้องค้นหาความจริงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเราเอง ทั้งทางร่างกาย และทางจิตใจ ซึ่งเรามัก ยึดถือเอาว่าเป็นตัวเรา ของเรา ตลอดจนสร้างความผูกพัน ที่เรามีต่อสิ่งที่เราเรียกว่าเป็นตัวตน ของเรานั้น จนกลายเป็นความทุกข์

การสังเกตความจริงที่เกี่ยวข้องกับใจและกายของเรา หรือที่เรียกกันว่านามและรูปนั้น ผู้ปฏิบัติ ควรจะได้ รู้แจ้งด้วยตัวเอง ถึงลักษณะพื้นฐานของนามและรูป จึงจะทำให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญา ที่จะเกิดขึ้นนั้น ก็อาจจะเป็นได้ทั้งสุตมยปัญญา หรือ จินตามยปัญญา หรือ ภาวนามยปัญญา









จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย