อยากทราบความสำคัญในการสมาทานศีล5ศีล8ครับ

 ช่าง พอ MBK    

-ช่วงเข้าพรรษานี้ตั้งใจจะรักษาศีลอุโบศลครับอยากทราบว่าต้องสมาทานไหมครับ
-ส่วนตัวคิดว่าถ้าสมาทานแล้วจะได้บุญมากกว่าเพระครบถ้วนกว่าคิดตั้งใจเฉยเฉย จริงไหมครับ
-วันแรกสมาทานเองคนเดียวไม่รู้จะทำถูกหรือไม่ แต่มีความจำเป็นทำให้ศีลต้องขาดไป
จะบาปไหมครับ
-บ้างท่านว่าถ้าสมาทานแล้วศีลขาด(ศีล8)จะบาปกว่าไม่สมาทานแล้วขาดชี้แนะด้วยครับ

ขอทุกท่านจงมีส่วนในบุญของผมนะครับ




คำว่า สมาทาน หมายถึง ถือเอา..ถือเอาด้วยการเห็นประโยชน์ของศีล และโทษ
ของการล่วงศีล จึงถือเอาด้วยการประพฤติปฏิบัติตาม ด้วยการมีเจตนาที่จะงด
เว้น ย้ำอีกครั้งครับ เจตนาที่จะงดเว้นเพราะเห็นโทษของการล่วงศีล ดังนั้นเมื่อ
สมาทานแล้ว ก็ชื่อว่าเป็นผู้เห็นโทษของการล่วงศีลจึงถือเอาด้วยดี

เมื่อตั้งเจตนาดังนี้แล้วย่อมเป็นไปกับกุศลครับ การสมาทานสามารถทำได้ด้วยตนเองลำพังคนเดียวครับไม่มีข้อกำหนดว่าต้องผ่านพิธีกรรมใดๆ

ส่วนเมื่อล่วงศีลไปแล้วก็ให้ตั้งใจที่จะประพฤติศีลนั้นๆให้มั่นคงยิ่งขึ้นแล้วสำรวมระวังต่อไป หากเห็นว่าไม่สามารถประพฤติศีลนั้นได้ก็ไม่ควรสมาทานแล้วล่วงซ้ำ จะเป็นการสั่งสม อุปนิสัยโลเลไม่มั่นคงต่อไปอันเป็นความเสียหายแก้ตนเอง เพราะคนเช่นนี้แม้จะทำการใดๆก็สำเร็จได้โดยยากครับ

สิ่งใดพลาดไปแล้ว ไม่พึงนำมาเดือดร้อนใจต่อเนื่องยาวนาน แต่ให้ถือเป็นข้อเตือนสติว่าจะแก้ไขใหม่ดีกว่าครับ

ขออนุโมทนาครับ




สาธุกับท่านทั้งสองครับ มีความเห็นมาให้อ่านครับ
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=8899&PHPSESSID=c7d476878766ff694b5a4c2cd5fefd2e


อนุโมทนาครับท่าน 8q


การสมาทานสามารถทำได้ด้วยตนเองลำพังคนเดียวครับไม่มีข้อกำหนดว่าต้องผ่านพิธีกรรมใดๆ

ddman DT07247 [9 ก.ค. 2552 17:55 น.] คำตอบที่ 1

สาธุ เจ้าค่ะ





ดูกรมหานาม
อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล

อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร
มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

ดูกรมหานามอย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.




สำรวม ระวังไว้ ทั้ง กาย วาจา ใจ ตลอดเวลา เป็นสิ่งสำคัญ
จะสมาทานหรือไม่ ไม่ใช่นัยที่สำคัญเจ้าค่ะ

ที่สำคัญคือ มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
นี่แหล่ะค่ะคือสิ่งที่สำคัญ ต้องระมัดระวัง อย่ามองข้าม แม้เพียงสิ่งที่คิดว่าเล็กน้อย


เจริญในธรรมเจ้าค่ะ




ศีลและรักษาศีล ท่านแบ่งไว้ ๔ แบบ คือ

- สมาทานวิรัติ ๑
- เจตนาวิรัติ ๑
- สัมปัตตวิรัติ ๑
- สมุทเฉจวิรัติ ๑

สมาทานวิรัติ หมายถึง การตั้งสัจจะต่อหน้าพระสงฆ์ กรณีขอศีลจากพระสงฆ์ว่า ข้าพเจ้าจะงดเว้น ในศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีล ๑๐ เหมาะสำหรับท่านที่ ศรัทธาอ่อน ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ต้องอาศัยพระสงฆ์เป็นพยาน

เจตนาวิรัติ คือ ตั้งสัจจะกับตัวเองว่า จะรักษาศีลให้ครบถ้วน ให้บริบูรณ์ อย่างนี้สำหรับผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีศรัทธาแก่กล้ามากขึ้น

สัมปัตตวิรัติ หมายถึง ศีลเกิดขึ้นโดยธรรม แต่เป็นครั้งเป็นคราว ไม่สม่ำเสมอ ไม่ต่อเนื่องกัน เช่น คนที่เคยยิงนก ตกปลา พอเห็นนกเห็นปลาติดอวนติดแห ก็เกิดความสงสาร จึงปล่อยนกปล่อยปลานั้นไป อย่างนี้เรียกว่า ศีลเกิดขึ้นโดยธรรม

สมุทเฉจวิรัติ คือศีลของบรรดาท่านพระอริยะเจ้า เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องสมาทาน ไม่ต้องกำหนด เกิดขึ้นโดยธรรมและสม่ำเสมอ ไม่ด่างพร้อย ไม่เศร้าหมอง คงอยู่ตลอดชีวิต

อนิสงค์ของศีล ที่ว่า สีเลน สุคติงฺยันฺติ สีเลนโภคสัมปทา....
นั้นเกิดจากการรักษาศีล ไม่ได้เกิดจากการสมาทานศีล


เพราะเหตุนั้นจะสมาทานหรือไม่สมาทาน หากท่านงดเว้น
ตามข้อห้ามของศีล ก็เรียกว่าท่านได้บุญ ได้อานิสงส์เสมอกัน

เจริญธรรม




สำรวม ระวังไว้ ทั้ง กาย วาจา ใจ ตลอดเวลา เป็นสิ่งสำคัญ
จะสมาทานหรือไม่ ไม่ใช่นัยที่สำคัญเจ้าค่ะ


สาธุๆครับ คุณแม่หิ่งห้อยน้อย กราบอนุโมทนาด้วยความเคารพยิ่งครับ

อนุโมทนาท่าน มิตรตัวน้อยด้วยครับ


ขอบคุณสำหรับทุกทุกคำตอบครับได้ประโยชน์และสบายใจขึ้นมากครับ
ตอนนี้ผมอยู่ที่วัดจะตั้งใจรักษาศีลและจะปฏิบัตให้ดีครับ ขอทุกท่านมีส่วนในบุญของผมนะครับ
มีอีกคำถามครับช่อยเข้าไปชี้แนะด้วยครับ


อนุโมทนา สาธุครับ ... ^_^ ...




บทสวดสมาทานศีล 5 และคำแผ่เมตตาโดยแม่ชีทศพร

บทสวดมนต์ก่อนการนั่งสมาธิ
และก่อนนอน ต้องอาราธนาศีล 5
และสมาทานศีล 5 โดยเริ่มจาก

คำบูชาพระ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง พุทธัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ

คำนมัสการพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อภิวาเทมิ(กราบ)
สะวาขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมังนะมัสสามิ(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ(กราบ)

คำอาราธนาศีล 5
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะ สีลานิยาจามะ

คำนมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

ไตรสรณคมณ์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ศีล 5
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

หัดทำไปทุกวัน ทุกเช้าและก่อนนอน หากใครกลัวว่า
ทำไปแล้วเราก็ต้องออกไปผิดศีลอยู่ดี แนะนำให้ทำก่อนนอน
เพราะเราไม่ต้องไปเจอสังคม
ไปต้องไปผิดกับใครจึงทำให้เกิดกุศลมากที่สุด



 4,131 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย