เราจะทราบได้อย่างไรว่าสิ่งที่เราคิดและตัดสินใจทำนั้นถูกหรือผิด
ถ้าความคิดที่เป็นเหตุตรงกับความคิดที่เป็นผล ความคิดนั้นถูกต้องครับ
เจริญในธรรมครับ
แก่นไม้
ถ้าคิดแบบโลกียะธรรมก็ทำเหตุและผลแบบโลกียะให้ตรงกัน ใช้มรรคมีองค์ 8 ไม่ได้ผล
เพราะถ้าใช้มรรคมีองค์ 8 ก็จะไม่ใช่เรื่องของโลกียะธรรมของชาวโลกผู้ปุถุชน
ถ้าคิดเพื่อโลกุตตระธรรมแบบพระอริยเจ้าให้บรรลุมัคค 4 ผล 4 และนิพพาน นั่นจึงจะต้องใช้มรรคมีองค์ 8
ต้องการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ต้องเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ฯลฯ
ต้องการธรรมอันเป็นโลกุตตระ นั่นจึงต้องเรียนมรรคมีองค์ 8 และอริยะสัจ 4
ทำขนมหวานนั้นใช้น้ำตาล
ฝึกฌานต้องบำเพ็ญตบะ
เจริญฌานเป็นโลกุตตระต้องใช้อริยะสัจ 4
ต้องใช้เหตุให้ตรงกับผลตามสภาวะธรรมที่เป็นจริงครับ
เจริญในธรรมครับ
แก่นไม้
203.113.111.157 ....
ท่านกล่าวถึง อนุปัสสนา
ท่านกล่าวถึง วิปัสสนา
เช่นนั้น สงสัยซะแล้ว
กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธรรมานุปัสสนา ไม่ได้เป็นความรู้ที่เป็นโลกกุตตระ อย่างไร หนออออออ
ท่าน 203.113.111.157 กรุณา แสดงให้เช่นนั้น เข้าใจ หนอออออออ ได้กระมัง
เจริญธรรม
ถ้าความคิดที่เป็นเหตุตรงกับความคิดที่เป็นผล ความคิดนั้นถูกต้องครับ
เจริญในธรรมครับ
แก่นไม้
ความคิดที่เป็นเหตุเราย่อมรู้ถ้าดูจากปัจจุบัน แต่ผลเป็นเรื่องอนาคต เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผลจะเกิดอะไรขึ้น ถ้ารู้ผลเราคงควบคุมอนาคตได้ แล้วจะเป็นสิ่งไม่เที่ยงได้อย่างไร หรือว่าดูจากเหตุและผลเที่ยงได้
รบกวนวิสัชชนา
เช่นนั้น สงสัยซะแล้ว
กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธรรมานุปัสสนา ไม่ได้เป็นความรู้ที่เป็นโลกกุตตระ อย่างไร หนออออออ
ท่าน 203.113.111.157 กรุณา แสดงให้เช่นนั้น เข้าใจ หนอออออออ ได้กระมัง
เจริญธรรม
เช่นนั้น DT03623 [16 เม.ย. 2551 00:22 น.] คำตอบที่ 16
การละอภิชฌาและโทมมนัสในโลกเสียได้เป็นความรู้ที่เป็นโลกุตตระหนอออ
อ่านพระไตรปิฎกกันเสียบ้างหนอออออ
แง่คิดสกิดหลวงพ่อปราโมทย์และสาวกพระพม่าทั้งหลาย
หนอออออ
ไทยพุทธ
ท่านไทยพุทธ ข้าพเจ้าไม่รู้จักหลวงพ่อปราโมทย์ หากท่านรู้จักโปรดช่วยแนะนำด้วย
แล้วท่านมีศีลข้อไหนที่ด่างพร้อย และผิดพระวินัยข้อไหน ร้ายแรงขนาดไหน
เมื่อท่านเป็นผู้เจนจบพระไตรปิฏกคงสามารถ นำพระวินัยปิฏกมาตัดสินได้
หากพระปราโมทย์ ผิดศีล ผิดวินัยจริง ท่านคงให้ความกระจ่างแก่ผู้ที่ไม่รู้อย่างกระผมด้วย
หากท่านปราโมทย์เป็นทอง คงไม่เกรงกลัวไฟ
หากท่านไทยพุทธเป็นไฟ คงไม่กลัวเกรงทอง
อนุโมทนาสิ่งบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่ท่านได้ทำครับ
ข้าพเจ้าได้เคยได้ยินผู้ใหญ่บางท่านกล่าวว่า
ศาสนาพุทธสอนให้ละอัตตา ตัวตน
ถึง บัวที่ยังไม่พ้นน้ำ [222.123.80.166]
ข้อเสนอนี้ไม่ได้เกียวกับใครนะคะ เป็นสิ่งที่ได้ทำอยู่และใช้ได้กับตัวเอง เราอาศัยหลักของตัวเองง่ายนิดเดียวนะคะว่า ถ้าความคิดของเรา ขัดกับใจ (จิตใจด้านดี)ของเราแล้ว เราก็ยังไม่ทำเพื่อความปลอดภัย และความไม่ประมาท แล้วค่อยไปถามผู้ที่มีปัญญากว่าเรา แล้วกลับมาพิจารณาอีกทีว่า ตรงกับใจด้านดีของเราไหม ถ้าตรง ก็ทำได้เลย และถ้าความคิดที่ได้จากสมองของเรา ตรงกับใจด้านดีของเราแล้ว ก็ลุยเลยคะไม่ต้องถามใครแล้ว ^^
การจะพบว่าอะไรถูกหรือผิดนั้น
หรือพูดให้ชัดว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรถูกผิดในพระพุทธศาสนา
ท่านให้หลักเราไว้ 3 ประการคือ
ปริยัติ - เรียนทฤษฏีให้เหมาะกับที่จะนำไปใช้
ปฏิบัติ - เอาทฤษฏีหรือแผนที่นั้น มาลงมือปฏิบัติ
ปฏิเวธ คือความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ เป้นความรู้แจ้งแบบหมดสงสัย
เช่น มีคนบอกว่า เป๊บซี่รสชาดใหม่ อร่อยมาก อร่อยที่สุด
เราก็ต้องลงมือไปซื้อมาชิมเอง จึงจะเข้าใจรสชาดนั้นอย่างถ่องแท้ไม่คลาดเคลื่อน
นี่คือเกิดปฏิเวธในรสชาดเปีบซี่อย่างถ่องแท้ โดยแทบไมต้องให้ใครมาอธิบายมากมาย
แต่ถ้าเราไม่ชิมนะ เราก้จะได้แต่คิดไปว่าเปีบซี่เป้นอย่างนั้นอย่างนี้
บางทีเราฟังมามากเลยล่ะ ฟังคนเป้นพันๆคนที่เล่าถึงรสชาดที่เขาได้กิน
มันก้จะพิศดารไปตามความรู้สึกและความสามารถในการสื่อภาษา
สัจจะธรรมคือความจริงต่างๆที่ปรากฏขึ้นในจิตใจของคน
เราเพียงแต่พยามอธิบายมันออกมาให้เป้นภาษาคน
การอธิบายรสชาดเปีบซี่ด้วยภาษาคน มันอธิบายกันไม่จบ
แล้วแต่ละคนก็พูดถูกทั้งนั้น ไม่มีใครพูดผิดเลย
แต่เราฟังไปเท่าไหร่ มันก็ไม่เท่ากับชิมสักอึกหนึ่ง
คนที่ชิมเปีบซี่แล้ว จะรู้ได้ทันทีว่าใครพูดผิด ใครพูดถูก
เราจะจำแนกแนกแยะได้เอง
ดังนั้น เวลาศึกษาพระธรรมทั้งปวงนั้น
ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป้นทึ่สุด เป้นความจริง
ควรจะนำไปปฏิบัติให้มันกระจ่างแจ้งสิ้นสงสัย
อะไรที่ทำไม่ได้ก็ต้องพักไว้จนกว่าจะเกิดปฏิเวธเอง
ไม่ใช่ว่าต้องต่อสู้ตีรันฟันแทงให้มันเด็ดขาดกันไปเลยว่าใครผิด
เป๊บซี่นี่คือตัวอย่างนะครับ
ก่อนจะพิสุจน์อะไร ควรถามตัวเองด้วยว่า เป้นไปเพื่อความพ้นทุกข์หรือไม่
อย่างเรื่องเป๊บซี่ ไม่จัดว่าเป้นขอบเขตในกำมือพระพุทธเจ้า
เพราะการรู้จักรสชาดเป๊ปซี่หรือไม่อย่างไรนั้น ไม่ช่วยให้พ้นทุกข์