จิต คือวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์ เป็นธาตุรู้
(ตามปริยัติธรรม เพราะยังไม่บรรลุธรรม เลยบอกตามปริยัติ ยังไม่ปฏิเวธ)
จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย และรู้สึกนึกคิดทางใจ จิตนี้ไม่ว่าจะเกิดแก ่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา หรือพรหมก็ตาม ย่อมมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ เหมือนกันทั้งสิ้น
จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ไม่มีรูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะใด ๆ แต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริงๆ เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ ไปอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกฎของธรรมชาติ
อำนาจของจิตมีอยู่มากมาย เช่น มีอำนาจในการกระทำ การพูด การคิด การสั่งสมกรรมดี กรรมชั่ว นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการสร้างฤทธิ์ ทำสมาธิ ทำฌาน ทำอภิญญา และอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมหัศจรรย์
จิต จะเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียว จิตจะมีการเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ คือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้ง (หนึ่งล้านล้านครั้ง) จึงเป็นการยากที่บุคคลจะรู้เท่าทันได้
สถานที่เกิดของจิต มีอยู่ด้วยกัน ๖ แห่ง คือ
. ที่ตา เพื่อทำหน้าที่เห็นรูป
ที่ปรากฏทางตา
จิตนี้มีชื่อว่า จักขุวิญญาณ (จักขุ = ตา)
. ที่หู เพื่อทำหน้าที่ได้ยินเสียง
ที่ปรากฏทางหู
" โสตวิญญาณ (โสต = หู)
. ที่จมูก เพื่อทำหน้าที่รู้กลิ่น
ที่ปรากฏทางจมูก
" ฆานวิญญาน (ฆาน = จมูก)
. ที่ลิ้น เพื่อทำหน้าที่รู้รส
ที่ปรากฏทางลิ้น
" ชิวหาวิญญาณ (ชิวหา = ลิ้น)
. ที่กาย เพื่อทำหน้าที่รับความรู้สึก
ต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย
" กายวิญญาณ
. ที่ใจ เพื่อทำหน้าที่ รู้สึก
นึก คิด ทางใจ
" มโนวิญญาณ (มโน = ใจ)
ดังนั้น จิต หรือ วิญญาณ จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน นอกจากนี้ จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น หทัย, ปัญฑระ, มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ, วิญญาณขันธ์, มนายตนะ เป็นต้น จึงขอให้เข้าใจว่า แม้จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านั้นก็คือ จิต นั่นเอง
http://www.buddhism-online.org/Section02A_03.htm
สาธุครับ ท่านพญามาร และท่าน*8q*
สาธุครับ ขอบคุณครับ
ขอถามต่อนะครับ
คำว่า อารมณ์ คืออะไร ...... ใช่ เวทนาขันธ์หรือไม่ ?
อารมณ์กับจิต เกี่ยวข้องกันอย่างไรครับ ?
ขอบคุณครับ
จิตกับอารมณ์
จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่รู้อารมณ์
อารมณ์ เป็นธรรมชาติที่ถูกจิตรู้ ถ้าจิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นคืออารมณ์
หากกล่าวโดยสรุปก็คือ จิต เป็นผู้รู้ อารมณ์ เป็นสิ่งที่ถูกรู้
คำว่า อารมณ์ ในที่นี้หมายถึง เครื่องยึดหน่วงจิต อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ ตลอดจนเรื่องราวต่าง ๆ ที่คิดนึก มิได้มีความหมายดังที่ใช้กันทั่วไป เช่น อารมณ์ดี อารมณ์เสีย หรือมิได้หมายถึงสภาพนิสัยใจคอ เช่น อารมณ์เย็น อารมณ์ร้อน อารมณ์โรแมนติก อารมณ์ขัน เป็นต้น
จิตที่เกิดแต่ละขณะ จะรับอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เช่น ในขณะที่เราดูโทรทัศน์ จิตที่เห็นภาพทางตา กับจิตที่ได้ยินเสียงทางหู เป็นคนละขณะกัน ขณะที่เห็นภาพ ก็จะไม่ได้ยินเสียง ขณะที่ได้ยินเสียงก็จะ ไม่เห็นภาพ แต่เพราะจิตเกิดดับสลับกันเร็วมาก จึงทำให้เราแยกไม่ออก และเข้าใจผิดว่า การเห็นและการได้ยินนั้นเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน จริง ๆ แล้วจิตแต่ละขณะ จะรับอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
เพื่อความชัดเจน ในเรื่องจิตกับอารมณ์ ขอให้พิจารณาการรับอารมณ์ของจิต ทางทวาร หรือประตู หรือช่องทางที่จิต
จิต ออกมารับอารมณ์ทั้ง ๖ ช่องทาง ดังนี้
ทางตา จิตทำหน้าที่เห็น สิ่งที่เห็น คืออารมณ์ของจิต
ทางหู จิตทำหน้าที่ได้ยิน เสียงที่ได้ยิน คืออารมณ์ของจิต
ทางจมูก จิตทำหน้าที่รู้กลิ่น กลิ่นที่ได้รับ คืออารมณ์ของจิต
ทางลิ้น จิตทำหน้าที่รู้รส คืออารมณ์ของจิต
ทางกาย จิตทำหน้าที่รู้การสัมผัสถูกต้อง สภาพเย็นร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง ที่สัมผัสถูกต้อง คืออารมณ์ของจิต
ทางใจ จิตทำหน้าที่รู้สึก, คิด, นึก สิ่งต่างๆ เรื่องราวต่าง ๆ ที่รู้สึก คิด นึก คืออารมณ์ของจิต
จิตจะว่างจากอารมณ์ไม่ได้ เมื่อจิตเกิดขึ้นทุกครั้ง จะต้องมีอารมณ์ให้รู้เสมอ จิตคือตัวรู้ อารมณ์คือตัวถูกรู้ ถ้าไม่มีตัวถูกรู้ ตัวรู้ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อมีการรู้ ก็ย่อมจะต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ อยู่ควบคู่กันด้วยเสมอไป
จิตและอารมณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละทวาร มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ ดังนี้
ทวารทั้ง ๖ ชื่อของจิตที่เกิด
ทางแต่ละทวาร ชื่อของอารมณ์ที่ปรากฏทางแต่ละทวาร
จักขุทวาร = ตา จักขุวิญญาณ รูปารมณ์ = สิ่งที่เห็น
โสตทวาร = หู โสตวิญญาณ สัททารมณ์ = เสียงที่ได้ยิน
ฆานทวาร = จมูก ฆานวิญญาณ
คันธารมณ์ = กลิ่นที่ได้รับ
ชิวหาทวาร = ลิ้น ชิวหาวิญญาณ รสารมณ์ = รสที่ได้รับ
กายทวาร = กาย กายวิญญาณ โผฏฐัพพารมณ์ = สภาพเย็นร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง ที่สัมผัสถูกต้อง
มโนทวาร = ใจ มโนวิญญาณ ธัมมารมณ์ = สิ่งต่าง ๆ หรือ เรื่องราว ต่าง ๆ ที่ปรากฏทางใจ
รูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อารมณ์ ๖ ทวาร ๖ วิญญาณ ๖
สภาพรู้ทั้งหลายมี จิต เป็นผู้รู้ แต่ปุถุชนทั่วไปจะเข้าใจผิดว่า เราเห็น,เราได้ยิน,เรารู้กลิ่น,เรารู้รส, เราเย็น, เราร้อน, เรารู้สึก, เราคิดนึก ทั้ง ๆ ที่จริงแล้ว สภาพรู้ทั้งหลายนี้เป็นจิต ไม่ใช่เรา เป็นเพียงสภาวธรรม ที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว หาแก่นสาร หาเจ้าของ หาตัวตนมิได้เลย มีแต่ จิต กับ อารมณ์ เท่านั้น ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป เพราะไม่รู้ความจริงเช่นนี้ จึงหลงผิดคิดว่าเป็นเรามาตลอดเวลา ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย และเพราะมีเรานี่แหละ จึงได้มีแต่ความทุกข์อยู่ตลอด เพราะมี เรา นี่แหละจึงมีความรู้สึก เหมือนกับแบกโลกไว้ทั้งโลก ถ้าเอา เรา ออกเสียได้ก็จะรู้สึก เหมือนกับว่ากำลังยืนอยู่เหนือโลก
http://www.buddhism-online.org/Section02A_04.htm
สาธุครับท่าน *8q*
ได้ความชัดเจนมาก ขอเจริญในธรรมทุกท่านครับ
ขอบคุณ คุณ *8q* มากๆครับ
จิต คือที่สะสมของ กุศล และ อกุศล ๛