สมมุติว่านาย ก. ทำกรรมดีมาตลอดทั้งชาติก่อๆๆและชาตินี้ สรุปทุกอย่างดีหมด ยกเว้นก่อนจิตจะดับหรือก่อนตายเกิดมีลูกหลานมาร้องห่มร้องไห้ ทำให้นาย ก.เกิดความห่วงและเศร้าหมองก่อนจะตานนั้น แน้เองทั้งๆที่หมดกรรมแล้ว สมมุติกรรมเก่าก็ใช้หมดแล้ว และกรรมใหม่ก็เป็นกรรมดีทั้งนั้น สงสัยว่าแค่ก่อนจิตจะดับแค่นั้นเองทำไมต้องไปเกิดในภพที่ไม่ดี ถ้าอย่างนี้แสดงว่าไม่ใช่เพราะกรรม แต่เป็นเพราะแค่จิตเศร้าหมองก่อนตายเท่านั้นเองใช่หรือไม่
สมมุติว่านาย ก. ทำกรรมดีมาตลอดทั้งชาติก่อๆๆและชาตินี้ สรุปทุกอย่างดีหมด
เป็นไปไม่ได้ครับ ยกเว้นเป็นอรหันต์แล้ว
สรุปทุกอย่างดีหมด ยกเว้นก่อนจิตจะดับหรือก่อนตายเกิดมีลูกหลานมาร้องห่มร้องไห้ ทำให้นาย ก.เกิดความห่วงและเศร้าหมองก่อนจะตานนั้น
จิตเศร้าหมองเป็นกุศลหรืออกุศลครับ พุทธศาสนาสอนเรื่องเหตุกับผล ที่ตรงกันคือถ้าเหตุเป็นอกุศลผลที่ได้รับจะเป็นกุศลไม่ได้ดอกครับ
สมมุติกรรมเก่าก็ใช้หมดแล้ว
ไม่มีใครใช้กรรมหมดได้ดอกครับ เพราะเราทำกรรมเกือบตลอดเวลายกเว้นตอนหลับสนิท กรรมคืออะไร คือเจตนาครับ ถามว่าตอนกินข้าวเป็นกรรมใหมครับ เป็นแน่นอนเพราะมีเจตนากิน
กรรมใหม่ก็เป็นกรรมดีทั้งนั้น สงสัยว่าแค่ก่อนจิตจะดับแค่นั้นเองทำไมต้องไปเกิดในภพที่ไม่ดี ถ้าอย่างนี้แสดงว่าไม่ใช่เพราะกรรม แต่เป็นเพราะแค่จิตเศร้าหมองก่อนตายเท่านั้นเองใช่หรือไม่
ใช่แล้วครับ อย่าลืมว่าเหตุกับผลต้องสอดคล้องกันครับ ถ้าจิตดีเป็นกุศล สุขคติเป็นที่หวังได้ ถ้าไม่ดีก็ไปอบายก่อน ในทำนองเดียวกัน แม้ทำชั่วมาตลอดชีวิตแต่เกิดคิดถึงกุศลได้ก่อนตาย ก็ได้เกิดในสุขคติภูมิ
เพราะฉนั้นการรักษาจิตก่อนตายจึงสำคัญมากครับ
ปัจจัยนำให้ไปเกิด ผู้ที่ต้องเกิดอีกมีสาเหตุมาจากอะไร ในทางพุทธศาสนาได้กล่าวถึงสาเหตุไว้ ๓ ประการ คือ
๑. กัมมัง เขตตัง มีกรรม คือการกระทำทางกาย วาจา และใจ เป็นเสมือนเนื้อนาหรือดินไว้เพาะพืชพันธุ์ต่างๆ
๒. วิญญาณัง พีชัง มีวิญญาณ คือความรู้สึกนึกคิด เสวยอารมณ์ต่างๆ ที่เรียกว่า จิตหรือใจ เปรียบเสมือนเมล็ดหรือหน่อพืช
๓. ตัณหา สิเนหัง กิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น เปรียบเหมือนยางเหนียวที่อยู่ในเมล็ดพืชนั้น
การ ที่เมล็ดพืชจะงอกใหม่ได้ ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งคือ ยางเหนียวที่มีอยู่ในเมล็ดพืชนั้น ได้แก่ ตัณหา หรือกิเลสทั้งหลาย เมื่อมีกิเลสตัณหาจึงสร้างกรรมซึ่งเป็นเสมือนเนื้อนาที่มีธาตุอินทรีย์อุดม สมบูรณ์ให้พืชพันธุ์ต่างๆ งอกงามต่อไป เพราะฉะนั้น การตัดยางเหนียวคือตัณหาออกเสียได้ คือการตัดต้นเหตุของการเกิดได้โดยแท้จริง เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเป็นปฐมพุทธพจน์ หลังจากตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ๆ ว่า "เราเมื่อแสวงหาช่างผู้ทำเรือนคืออัตภาพ เมื่อไม่พบได้ท่องเที่ยวไปแล้ว สิ้นสงสาร นับด้วยชาติมิใช่น้อย ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์
ดูกรช่างผู้ ทำเรือน คือ อัตภาพ เราพบท่านแล้ว ท่านจะทำเรือน คืออัตภาพของเราอีกไม่ได้ โครงบ้านของท่านทั้งหมด เราทำลายแล้วยอดแห่งเรือนคืออวิชชาเรารื้อแล้ว จิตของเราถึงพระนิพพานแล้วเพราะเราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาทั้งหลาย แล้ว"
นิมิตปรากฏก่อนตาย
ก่อนที่จะถึงวาระสุดท้ายของ ชีวิต จิตที่เรียกว่าจุติจิตหรือตายนั้น จะมีอาสันนกรรม คือ กรรมที่ทำในเวลาจวนเจียนใกล้ตายมาปรากฏ ถ้าเป็นฝ่ายกุศลก็ไปสู่สุคติ ถ้าเป็นอกุศลก็ไปทุคติ ท่านอุปมาอาสันนกรรมเหมือนโค แม้จะทุพพลภาพ แต่อยู่ใกล้ประตูคอก เมื่อเจ้าของโคเปิดประตูคอก โคตัวนั้นก็ออกได้ก่อนตัวอื่น คตินี้คนไทยได้ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่โบราณว่า เมื่อเห็นปูชนียบุคคลของตนเช่น พ่อ แม่ ป่วยหนัก ท่าจะไม่รอดแน่ ลูกหลานก็จะหาดอกไม้ ธูป เทียน มาใส่ไว้ในซองมือแล้วบอกเตือนสติให้ท่านนึกถึงบุญกุศลคุณความดีที่เคยสร้าง หรือให้ภาวนาว่า อรหังๆ หรือ พุทโธๆ แล้วแต่กรณี แต่ปัจจุบันนี้ คนส่วนมากมักตายในห้องไอซียู ไม่ได้อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ แต่อยู่ท่ามกลางแพทย์และพยาบาล ซึ่งไม่ได้รู้จักมักคุ้นกันมาก่อนและไม่ได้บอกทางสวรรค์ให้ บุคคลเหล่านี้เพียงแต่คอยดูแลช่วยปั๊มหัวใจให้ออกซิเจนหรืออื่นๆ ตามวิธีรักษาของเขา ก็ไม่แน่ใจว่าผู้ที่ตายเช่นนี้จะมีสติระลึกถึงกรรมที่เป็นฝ่ายกุศลได้หรือ ไม่ โดยอารมณ์ของคนที่ใกล้จะตายจะมีนิมิตมาปรากฏทางมโนทวาร ๓ อย่าง ดังนี้
๑. กรรมารมณ์ เคยทำกรรมอะไรมาเป็นประจำ ทั้งดีหรือไม่ดี จิตก็จะเหนี่ยวนึกเอาสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ หรือจะเรียกว่าอาสันนกรรม คือกรรมที่จวนเจียนใกล้ตายกำลังให้ผลก็ได้ ภาษาพระท่านเรียกวิถีจิตตอนนี้ว่า มรณาสันนชวนะ คือกระแสจิตที่แล่นไปสู่ความตาย
๒. กรรมนิมิตตารมณ์ เมื่อจิตไปยึดเกาะกรรมใดมาเป็นอารมณ์แล้วจะเกิดนิมิตหรือภาพเกี่ยวกับกรรม นั้นให้เห็นทางมโนทวารในลำดับต่อมา เช่น เคยฆ่าคน ฆ่าสัตว์หรือทรมานสัตว์ ภาพเหล่านั้นจะมาปรากฏหรืออาจจะเห็นคนหรือสัตว์ที่ถูกฆ่าเหล่านั้นมาทวงเอา ชีวิตไป ส่วนกรรมดี เช่นเคยทำบุญ ให้ทาน รักษาศีลหรือฟังธรรม เป็นต้น ภาพเหล่านั้นจะมาปรากฏทำให้จิตแช่มชื่นเบิกบานแจ่มใส
๓. คตินิมิตตารมณ์ ลำดับจิตขั้นตอนนี้จะเห็นคติ คือ ภพหรือภูมิที่จะไปเกิดว่าจะไปสู่สุคติหรือทุคติ อาจจะเห็นเป็นรูปวิมาน เป็นนรก เป็นเหว เป็นไฟนรก เป็นต้น ซึ่งผู้ที่เคยอยู่ใกล้ชิดคนตายจะเคยเห็นอาการของคนใกล้จะตายแตกต่างกัน ตามอารมณ์ที่ปรากฏแก่จิต ผู้จะตายในขณะนั้นๆ บางคนแสดงถึงความทุกข์ทรมาน หวาดกลัว ประหวั่นพรั่นพรึงให้ปรากฏก่อนจิตจะดับ บางคนก็ตายด้วยอาการอันสงบใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส
อารมณ์ทั้ง ๓ นี้ จะเกิดทางมโนทวาร คือ เฉพาะทางใจของผู้ที่ใกล้จะตายเท่านั้น บุคคลอื่นจะไม่เห็นนิมิตที่ปรากฏทางใจของเขา เช่น ในครั้งพุทธกาล ท่านธรรมิกอุบาสกก่อนจะดับจิตฟังพระสวดมหาสติปัฎฐานสูตรอยู่ นิมิตตารมณ์ที่ปรากฏแก่ท่าน คือ เทวดานำราชรถมารอรับท่านไปสู่วิมานสวรรค์ ท่านเกรงว่าจะรบกวนพิธีที่พระกำลังเจริญพระพุทธมนต์อยู่จึงห้ามเทวดาว่า หยุดก่อนๆ พวกลูกๆ ของท่านเข้าใจว่าพ่อตัวเองคงจะเพ้อ พระยังสวดไม่จบจะให้หยุดทำไม ธรรมิกอุบาสกบอกว่า พ่อไม่ได้เพ้อ แต่เป็นเพราะเทวดาเอาราชรถมารอรับพ่ออยู่ พ่อจึงห้ามไว้รอให้พระสวดจบก่อนแล้วจึงค่อยไปแล้วชี้ให้ลูกดูราชรถที่จอดรอ อยู่บนอากาศ พวกลูกไม่เห็น ท่านจึงให้ลูกโยนพวงมาลัยไปบนอากาศ พวงมาลัยนั้นไปคล้องที่ปลายงอนราชรถแขวนอยู่บนอากาศอย่างนั้นพวกลูก ๆ จึงเชื่อ
เมื่อตายแล้วเกิดทันทีหรือล่องลอยเป็นสัมภเวสีหาที่เกิดอยู่
ตาม ความรู้สึกของคนทั่วไปมักเชื่อว่า คนที่ตายแล้ววิญญาณออกจากร่างและวิญญาณนั้นจะล่องลอยไป เพื่อแสวงหาที่เกิดใหม่ ในระหว่างนี้เรียกว่าเป็นสัมภเวสี ต่อเมื่อเวลาล่วงไปได้ ๗ วัน จึงจะได้เกิด ตามความเชื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าจะว่ากันตามหลักพุทธศาสนาแล้ว ช่องว่างระหว่างจุติจิตกับปฏิสนธิจิตนั้น เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ตามธรรมชาติของวิถีจิตมันเป็นเช่นนั้น จึงเท่ากับว่าคนที่ตายแล้วจะต้องเกิดทันที ส่วนจะเกิดเป็นอะไรนั้นขึ้นอยู่กับกรรมที่จะเป็นชนกกรรมอยู่ในจุติจิตจะชัก นำไปเกิด ส่วนคำว่า สัมภเวสี นั้น แปลว่า ผู้แสวงหาภพ หมายถึง สัตว์ที่รอคอยการปฏิสนธิอันแน่นอน โดยเฉพาะคือ บุคคลและสัตว์ทั่วไป จนถึงพระอนาคามีบุคคลเป็นที่สุด โดยมีคำอธิบายเป็น ๒ นัย ดังนี้
๑. หมายเอาคน สัตว์ เทวดา เป็นต้น จนถึงพระอนาคามี ซึ่งท่านเหล่านี้ยังต้องเกิดอีกจะน้อยหรือนานเพียงไหนขึ้นอยู่กับการละกิเลส ที่แต่ละคนละได้เพียงไร
๒. หมายเอาสัตว์ที่ตายแล้ว ไปเกิดในภูมิใดภูมิหนึ่ง เช่น เป็นสัตว์นรกเสวยวิบากกรรมจนครบแล้ว กำลังรอคอยการเกิดใหม่ เช่น จะไปเกิดเป็นสัตว์ แต่ยังไม่ถึงฤดูที่สัตว์เหล่านั้นผสมพันธุ์ ปฏิสนธิวิญญาณดวงนั้นก็ยังไม่เกิด จนกว่าจะได้ปัจจัยพร้อมมูลจึงได้เกิด
ลักษณะกำเนิดของสัตว์
ไม่ ว่ามนุษย์หรือสัตว์โดยทั่วไป เมื่อตายหรือละสังขารจากอัตภาพนั้นๆ แล้ว หากมีปัจจัยที่จะต้องเกิดก็ต้องไปเกิดในภพใดภพหนึ่งในกำเนิดทั้ง ๔ คือ
๑. ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ เช่น คนหรือสัตว์บางประเภท
๒. อัณฑชะ เกิดในไข่ เช่น ไก่ นก เป็ด เป็นต้น
๓. สังเสทชะ เกิดในของสกปรก เช่น หนอนบางชนิด
๔. โอปปาติกะ เกิดโดยผุดขึ้นเป็นตัวตนเลย เช่น เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือ พรหม เป็นต้น
ภูมิที่จะไปเกิด
คราว นี้มาถึงประเด็นสำคัญของคำถามที่ว่า ตายแล้วไปไหน หากไม่ตอบเล่นสำนวนเหมือนที่พูดกันว่า "ตายแล้วก็ไปวัดนะซี" ก็ต้องขอยกเอาพระพุทธพจน์ที่ตรัสเกี่ยวกับการเกิดของสัตว์มาอ้าง ดังนี้ "ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ย่อมเกิดในครรภ์ บางจำพวกทำกรรมลามก ย่อมเกิดในนรก บางจำพวกทำกรรมดีแล้ว ย่อมเกิดในเทวโลก ส่วนผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน" ดังจะขอแยกประเภทของภพภูมิใหญ่ๆ ที่สัตว์จะไปเกิดให้เห็นชัดๆ คือ
๑. นรก ไปเกิดเพราะอำนาจของโทสะ
๒. เปรตและอสุรกาย ไปเกิดเพราะอำนาจของโลภะ
๓. สัตว์เดรัจฉาน ไปเกิดเพราะอำนาจของโมหะ
๔. มนุษย์ ไปเกิดเพราะรักษาศีล ๕ และกุศลกรรมบถ ๑๐
๕. เทวดา ไปเกิดเพราะมหากุศลจิต ๘ ดวง อันประกอบด้วย หิริ และโอตตัปปะ เป็นต้น เช่น การบริจาคทาน การฟังธรรม หรือการสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ เป็นต้น
๖. พรหม ไปเกิดเพราะการเจริญฌาน ในอารมณ์ของกรรมฐาน ๔๐ มีการเพ่งกสิณ เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์
การ ที่จะทราบว่าคนที่ตายจากอัตภาพนี้ไปเกิดในภูมิไหนนั้น จึงขึ้นอยู่กับชนกกรรมในขณะจุติจิต เช่น จิตประกอบด้วยโทสะก็ไปนรก ประกอบด้วยโลภะก็ไปเป็นเปรต อสุรกาย เป็นต้น โดยมีพุทธพจน์รองรับเกี่ยวกับวาระจิตขณะจุติจิตเกิดขึ้นว่า จิตเต สังกิลิฏเฐทุคคติ ปาฏิกังขา เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นที่หวังได้ และจิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคคติ ปาฏิกังขา เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติภพเป็นที่หวังได้ เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่ก่อนจะตายว่าจิตเศร้าหมองหรือผ่องใส จึงไม่แน่นอนเสมอไปว่า คนที่สร้างกรรมดีมาจะไปสู่สุคติ หรือคนที่สร้างกรรมชั่วจะไปทุคติสถานเดียว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวาระจิตก่อนจะดับเป็นเกณฑ์ว่า เศร้าหมองหรือผ่องใส ถึงกระนั้น คนที่สร้างกรรมดีมามากแม้จะตายด้วยจิตที่เศร้าหมองแล้วไปทุคติ ก็อาจไปเสวยทุกข์ไม่นาน ผลแห่งกรรมดีย่อมให้ผลเป็นสุคติภพในภายหลัง และหลักความจริงอีกอย่างหนึ่งคือว่า เมื่อจิตเคยเสพคุ้นคุณความดีอย่างใดมาตลอดชั่วชีวิตก็อาจเป็นแรงชักนำไปใน ทางดีหรือปิดกั้นอกุศลอื่นๆ มิให้เกิดขึ้นได้ ส่วนผู้ที่สร้างความชั่วพึงทราบในทางตรงข้าม
ขออนุโมทนาคุณ ddman