ก็ไม่มีอะไรมากค่ะ ก็แค่ทำใจ มันก็จบเรื่อง
โดนแกล้ง ทำอย่างไรดีคะ
เบื่อจังค่ะโดนแกล้ง เหนื่อยค่ะ แต่ก็ต้องเกี่ยวข้องด้วย
โดย : [DT06659] 5 ก.ค. 2551 19:42 น.
............................
บำเพ็ญศีลบารมี ขอรับ ศีลตรงกับภาษาบาลีว่า สีล ตามศัพท์
แปลว่า ปกติ หมายความว่า คนที่มีจิต
เป็นปกติ ไม่ถูก โลภะ โทสะ โมหะ
ครอบงำ และชักไปทำชั่วทำผิด จิต
เป็นปกติ เมื่อจะทำอะไรทางกายด้วยจิต
ที่เป็นปกติ ก็ไม่ทำกายทุจริต เมื่อจะ
พูดอะไรทางวาจา ก็ไม่พูดวจีทุจริต
เมื่อคิดเรื่องราวอะไรทางใจ หรือทาง
มนะ ก็ไม่คิดเป็นมโนทุจริต, เพราะ
ฉะนั้น ใจจึงเป็นศีล, ทำทางกาย กาย
ก็เป็นศีล, ทำทางวาจา วาจาก็เป็นศีล,
คิดทางมนะ มนะก็เป็นศีล, แต่ถ้า โลภะ
โทสะ โมหะ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
ครอบงำจิต ก็ทำให้คิดอยากได้ ให้คิด
ล้างผลาญ ให้หลงงมงาย ทีนี้เสียปกติ
จิตก็วิปริต เสียศีลภายในทางใจ เมื่อ
ศีลทางใจเสียไปแล้ว ทำอะไรทางกาย
ด้วยอำนาจ พูดทางวาจาก็เป็นวจีทุจริต
คิดทางมนะก็เป็นมโนทุจริต โดยตรงเป็น
เช่นนี้. แต่เมื่อมุ่งเอาอาการที่ปรากฏ
ก็คือทางกาย ทางวาจา, เพราะทางใจ
คนอื่นรู้ด้วยไม่ได้ รู้ได้แต่ตัวเอง. คน
ที่เว้นจากทำชั่วทางกายก็เป็นศีลทางกาย,
เว้นชั่วทางวาจา ก็เป็นศีลทางวาจา, คน
ที่รักษาศีลกันอยู่โดยมาก รักษาศีลทาง
กายวาจาไม่ถึงใจ แต่ถึงเช่นนั้นก็ยังดีกว่า
ไม่มีเสียเลย, ถึงใจจะไม่เป็นปกติเป็นศีล
แท้ แต่กายก็ไม่ทำทุจริต วาจาไม่พูด
ทุจริต ยังดีกว่าทำกายทุจริต พูดวจีทุจริต,
เมื่อรักษาศีลทางกาย ทางวาจา ไปจน
เตือนใจ สกิดใจ ให้ใจสงบจาก โลภะ
โทสะ โมหะ ได้ แม้ชั่วครู่ชั่วขณะ นี่เป็น
ศีลทางใจ เป็นศีลแท้. ( โอ. ๑/๑๔๖-๑๔๗ ).
อีกนัยหนึ่ง เจตนาที่รักษากายกรรม
วจีกรรม ให้ตั้งเป็นปกติดี เว้นจากประ-
พฤติชั่วทุจริต ชื่อว่า ศีล. ศีลในทาง
ปกครอง คือการประพฤติตามกฎหมาย
จารีตประเพณีอันดีงาม, ในทางพระพุทธ
ศาสนาอย่างต่ำคือศีล ๕ อันชนทั่วไปพึง
สมาทานรักษา, กล่าวรวมกันคือ ( ปาณา-
ติปาตา เวรมณี ) เว้นจากผลาญชีวิตกัน
และกัน ( ทางศาสนาเว้นตลอดถึงสัตว์
มีชีวิต ) ( อทินฺนาทานา เวรมณี ) เว้น
จากถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ยินยอมให้,
( กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี ) เว้นจาก
ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, ( มุสาวาทา
เวรมณี ) เว้นจากพูดเท็จ, ( สุราเมรย-
มชฺชปมาทฏฺ€านา เวรมณี ) เว้นจากดื่ม
น้ำเมา คือสุราเมรัย อันเป็นฐานะแห่ง
ความประมาท, ศีล ๕ ประการนี้มีมาเก่า
ก่อนพุทธกาล ท่านแสดงว่าพระเจ้าจักร-
พรรดิ ผู้เป็นพระราชาเอกแห่งแผ่นดิน
ได้ทรงสนทนารักษา และทรงประกาษ
แนะนำให้กฎหมายในทางปกครองของ
พระเจ้าจักรพรรดิ, แม้ในบัดนี้ ถึงาี
กฎหมายอยู่มากแล้ว ก็ยังต้องอาศัยศีล
อุปการะ แต่บัญญัติผ่อนลงตามที่เห็น
สมควร, ราษฎรจึงจะอยู่เป็นสุขสงบ.
ผู้ปกครองที่ไม่ตั้งอยู่ในศีล ย่อม
ประพฤติทุจริต ทำผู้อยู่ในปกครองให้
เดือดร้อนด้วยอธรรม ปราศจากเมตตา
กรุณา, ฝ่ายผู้อยู่ในปกครองที่ปราศจากศีล
ก็ทำตนให้เป็นคนชั่วเป็นผู้ร้าย ก่อความ
เดือดร้อนต่าง ๆ ทั้งแก่ผู้อยู่ในปกครอง
ด้วยกันทั้งแก่ผู้ปกครองไม่เป็นอันประกอบ
อาชีพให้เจริญ, เพราะฉะนั้น ศีลจึงจำ
ปรารถนาสำหรับคนผู้รวมกันเป็นหมวดหมู่
ทุกฝ่าย ถ้าต่างตั้งมั่นอยู่ในศีล บ้านเมือง
ก็จักถึงความสงบสุขราบคาบปราศจาก
โจรภัย และทุจริตทั้งปวง. ( วชิร. ๒๗๑).
ศีล แยกออกได้เป็น ๒ คือ เป็น
อาการอย่างหนึ่ง เป็นตัวศีลอย่างหนึ่ง.
อาการคือ เมื่อตั้งใจรักษา ระวังไม่ให้
ประพฤติล่วง นี่เรียกว่ารักษาอาการของ
ศีล, ตั้งใจรักษาอาการของศีลจนไม่คิด
ประพฤติล่วง จิตสงบเป็นปกติ หรือ
เห็นโทษของการล่วงศีล แล้วจิตสงบเป็น
ปกติไม่คิดล่วง นี่ได้ชื่อว่าตัวศีล เพราะ
ศีลหรือศีละ แปลว่าปกติ ควรหมาย
เอาใจที่สงบเป็นปกติ ไม่คิดประพฤติล่วง
ตามชั้นนั้น ๆ, เพราะฉะนั้น การตั้งใจ
รักษาอาการไม่ให้ประพฤติชั่ว เป็นอาการ
ของศีล ตั้งใจรักษาไปจนจิตเป็นปกติ
ไม่คิดล่วงเป็นตัวศีล สมาธิหรือสมถะ
ก็แยกเป็น ๒ คือ เมื่อตั้งใจจะประพฤติ
ปฏิบัติทำจิตให้แน่วแน่มั่นคง หัดปฏิบัติ
ในชั้นต้น นี่เป็นอาการที่ปฏิบัติ, เมื่อยัง
อยู่ในอาการที่ปฏิบัติ ก็ได้บ้างเสียบ้าง,
หัดปฏิบัติไปจนจิตสงบระงับมีอารมณ์เป็น
อันเดียวกัน นั่นเป็นตัวสมาธิหรือเป็นตัว
สมถะ, เมื่อหัดทำ ชั้นต้นยังทำอาการอยู่
จึงเป็นแต่เพียงรักษาอาการหรือทำอาการ
เมื่อจิตสงบระงับแน่วแน่มีอารมณ์เป็นอัน
เดียว นั่นเป็นตัวสมาธิ. ปัญญาก็เหมือนกัน
ในชั้นต้นหัดพิจารณาเพื่อให้รู้เห็นตามเป็น
จริง นั่นเป็นอาการ, การทำให้มี ให้เป็น
ให้เกิด พิจารณาไป หัดไป ทำไป จน
รู้จริงเห็นจริงขึ้น นั่นเป็นตัวปัญญาแท้,
แต่ตัวปัญญาแท้จะปรากฏได้ก็ต้องเพราะ
อาการ คือหัดพิจารณาไป ถ้าพิจารณา
ยังไม่ได้ที่ ไม่ถึงรู้จริงเห็นจริง ก็ยังหัด
ทำหัดพิจารณา เป็นแต่ทำอาการของ
ปัญญา. พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ก็สอน
ได้แต่เรื่องหรืออาการของ ศีล สมาธิ
ปัญญา, แต่บุคคลนั่นแหละถ้ามุ่งหมาย
ทำปฏิบัติให้เกิดขึ้น. นั่นเป็นเรื่องบุคคล
จะพึงทำตาม, พระพุทธเจ้าไม่สามารถ
เอาศีลแท้ ๆ มายัดให้คนได้ ไม่สามารถ
จะเอาสมาธิความสงบระงับมายัดให้คน
ได้ ไม่สามารถจะเอาปัญญาความรู้จริง
เห็นจริงมายัดให้คนได้ เพียงแต่ทรง
บอกหนทางหรือบอกเรื่องราว บอก
อาการเท่านั้น, ส่วนการประพฤติปฏิบัติ
เป็นเรื่องของคน, ชั้นก็ทำอาการปฏิบัติ
อาการดูก่อน จนถึงตัวจริงดังที่แสดงมา
แล้ว นั่นจึงจะปรากฏรสด้วยตัวเอง.
( โอ. ๒/๕๕-๕๖ ).
มีสองข้อรองทำดูนะค่ะเพื่อช่วยได้
(1) โดนแกล้งทำไงดีก็ยิ้มสู้ไงค่ะคนเลวมักตายถ้าเจอคนที่ดีจริงถ้าเราดีจริงไม่ต้องหาทางคิดแกล้งเขายิ้มอย่างเดียวอีกหน่อยเขาก็เบื่อขี้เกรียจไปเองคิดให้กำลังใจตนเองไว้ว่าเขาแกล้งก็ยังดีกว่าทำร้ายเราทำร้ายเราก็ดีกว่าถูกเขาฆ่ายังมีอะไรอีกมากที่แย่ไปกว่าการถูกแกล้งเขาไม่ดีมาจงใช้ความดีเข้าแก้ไขเขาร้ายมาอย่าร้ายตอบคนพูดเหลวไหลเอาความจริงใจเข้าไปสนทนา.
(2)ถ้ามีอะไรที่คุณไม่สบอารมณ์เปลี่ยนแปลงซะ ถ้าเปลี่ยนไม่ได้ก็ต้องเปลี่ยนทัศนะคติของตัวเองอย่าบ่นค่ะ
ถ้าสองข้อนี้ช่วยไม่ได้เลยก็ไม่ทราบค่ะว่าทำยังไงเมื่อโดนแกล้ง
อยู่ที่สติอย่างเดียวครับ ถ้าสติเข้มแข็งจิตใจอดทนก็จะรู้เองว่าต้องทำอย่างไร ให้คนอื่นแนะนำทั้งหมดไม่ได้ครับ เพราะความคิดความเห็นแต่ละคนไม่เหมือนกัน วิธีและกระบวนการในการคิดแก้ปัญหาก็ไม่เหมือนกัน ถึงจะเป็นคนดีเหมือนกันก็ตาม
เพราะเราต้องคิดด้วยตัวของเราเองครับ ถ้ามัวแต่รอจะคิดเหมือนคนอื่นๆ ใจก็จะสับสนต้องใช้ตัวเองเป็นหลักครับฝึกทำสมาธิให้เข้มแข็ง มั่นใจอย่างไรก็คิดแก้ปัญหาไปอย่างนั้น ถ้ากระทบกระเทือนเรื่องงานก็ต้องบอกเจ้านายครับอย่าวางเฉยรอให้งานเสีย เกิดความเสียหายแก่บริษัทเพราะคนสองคนทะเลาะกันครับ