ช่วงนี้พบเรื่องที่น่าเสร้า 2 เรื่อง แต่มีลักษณะคล้ายๆกัน เมื่อเริ่มปฎิบัติทำให้เกิดความสงสัยว่าสิ่งนี้เป็นอนิจัง และทุกขังจริงๆเรื่องมีอยู่ว่ามีเพื่อน 2 คน
คนที่หนึ่ง อายุราว 54-55 ปี ประสบอุบัติเหตุ ศรีษะได้รับความกระทบกระเทือน หลับไป โดยที่ยังหายใจอยู่ปัจจุบันยังรักษาตัวอยู่ที่รพ.ในจังหวัดเชียงใหม่
คนที่สอง อายุประมาณ 40 ปีเศษสัปดาห์ก่อนเกิดอาการวูบไป เพื่อนๆพาส่งรพ. สภาพปัจจุบันชาด้านขวา(ทั้งครึ่งตัว) เสันรโลหิตในสมองตีบ ไปเยี่ยมเขามองเห็น เขารู้สึกตัว แต่ไม่มีการรับรู้ ไม่ตอบสนองการสื่อสารทั้งหมด ปัจจุบันพักรักษาตัวที่รพ.ศิริราช ซึ่งญาติๆบอกว่าต้องรักษานานเป็นเดือน
จากอาการของเพื่อนทั้ง 2 คน จิตของเขาไปอยู่ที่ไหน ไม่อยู่กับตัวของเขาและจิตไปอยู่ไหน โดยลักษณะของจิตเท่าท่ีรู้ว่าจิตนี้จะไม่มีการดับสูญไป ร่างกายเท่านั้นที่เสื่อมสลายตามสภาพ ทั้งที่ร่างกายยังคงทำหน้าที่ของตนเอง คนที่หนึ่งพอเข้าใจและมักจะได้รู้อาการเช่นนี้ได้ ที่เรียกกันว่า"เจ้่าชายนิทรา" แต่คนที่สองนี่เขามองเห็นเราไม่พูด ไม่เขียน เราติดต่อเขาไม่ได้ ผมอยากจะช่วยเพื่อนทั้งสอง แต่ยังไม่มีความสามารถ ขอความกรณุท่านอาจารย์ทั้งหลายช่วยชี้แนะด้วยว่าเราควรทำอย่างไร เพื่อให้เขากลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม
กายกับใจ (จิต) เป็นของคู่กัน ทำงานร่วมโดยธรรมชาติของมัน
เมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งบกพร่อง สูญเสียสมดุล ธรรมชาตินี้ก็ทำหน้าไม่สำเร็จ
(อาศัยกันและกันทรงสภาวะไว้)
จิตจะทำหน้าที่ของตนได้สำเร็จ ก็ต้องอาศัยร่างกายที่ปกติ มีเลือดเนื้อมีเส้นประสาท มีสมอง ฯลฯ ที่สมบูรณ์ไม่บกพร่อง จึงจะแล่นไปรับรู้สิ่งที่มากระทบทางอายตนะนั้นๆได้
เมื่อร่างกายสูญเสียสิ่งดังกล่าวไปจึงขาดการติดต่อส่งสัญญาณออกออกมาทางกายไม่ได้ เหมือนสายไฟขาดใน แม้มีไฟๆ ก็แล่นมาสุดเท่าที่ขาด แล่นไปถึงปลายสายฉะนั้น
เพราะฉะนั้นดูแลธรรมชาติคือกายใจนี้ให้ดีเท่าที่สามารถ
อนุโมทนาครับ และขอถือปัญญาท่านเป็นครู
เป็นการอธิบายที่เกิดจากการพิจารณาแท้จริง ขอบคุณอย่างยิ่งและขออวยพรให้ท่านสำเร็จในสิ่งที่หวังในปัจจุบันชาติ อนุโมทนาบุญครับ
ขอเอาใจฝากไปคารวะ
**เพื่อนของคุณนั้น ยังรับรู้ได้ครับ ตราบใดที่สังขารคือร่างกายยัง
ทำงานยังไม่ตาย จิตของเขาก็อยู่กับร่างนั้นครับ
**อายตนะที่มีอยู่เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย(สัมผัส)ที่เสื่อมสภาพ หรือชำรุดทรุดไป
อย่างไรอย่างหนึ่ง จนไม่สามารถรับรู้ผัสสะที่มากระทบรอบๆกายได้
แต่ผัสสะทาง ใจ(จิต)นั้นยังทำงานอยู่ครับ เพียงแต่ร่างกายทุรพลจึงไม่สามารถตอบสนอง
ตามที่จิต(เจตนา)สั่ง
..หรือกำลังของจิตบางคนที่เคยทำเหตุปัจจัย(ทั้งในอดีตหรือปัจจุบันเคยฝึกสมาธิ)
ทำให้มีกำลังของจิต(ที่เขาอาจจะเคยสั่งสมมาบ้าง) ก็อาจจะทำให้เขารับรู้สิ่งที่อยู่ภายนอก
ทั้งใกล้-ไกลๆได้ครับ
**รูป(ร่างกาย) .. นาม(จิต) ถ้าจะบอกว่าแยกกันได้ ก็ไม่ใช่
ถ้าจะบอกว่า แยกกันไม่ได้ ก็ไม่ใช่
ทั้งหมดต่างก็เป็นเหตุปัจจัยของกันครับ จึงส่งผลให้เกิดขึ้นครับ
**ดังนั้น ถึงแม้เขาจะแสดงกริยาสนองตอบตามความต้องการ(เจตนา)ไม่ได้ ก็ไม่ได้
หมายความว่า เขารับรู้เรื่องอื่นๆไม่ได้เลยนะครับ
**ถ้าญาติพี่น้อง ลูกหลานอันเป็นที่รักของเขาอยู่ใกล้ชิด ไม่ทอดทิ้ง คอยพูดปลอบ
ประโลมสม่ำเสมอ จิตเขาจะมีกำลังมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการรักษาที่เหมาะสม
แล้วมีบุญทั้งในอดีตและปัจจุบัน(จิตเป็นกุศลของเขาขณะนั้นๆ เช่น ญาติพี่น้องคอย
ให้กำลังใจ เมื่อไปทำบุญทำกุศลที่ไหน ก็ให้เขาได้รับรู้และให้เขาตั้งจิตอนุโมทนา
บุญ) ก็อาจจะมีโอกาสทำให้เขาค่อยๆดีขึ้น หรือจนเป็นปกติได้ครับ
ขณะที่เขากำลังนอนป่วยอยู่ การเปิดซีดีธรรมะใกล้ๆ หรืออ่านหนังสือธรรมะให้เขา
รับรู้(ผัสสะทางใจ) ถึงแม้เขาจะฟื้นหรือไม่ฟื้น(เพราะวิบากกรรมเก่ามีกำลังส่งผลอยู่)ก็ตาม
ก็นับว่าเป็นบุญเป็นกุศลติดตัว(จิต)ของเขาแล้ว และเป็นบุญเป็นกุศลของผู้เปิดให้
เขาด้วยครับ
**ผมขอแนะนำให้หาหัวข้อธรรมเรื่อง อริยะสัจ๔ ให้เขาได้รับฟังและทำความเข้าใจ
เพราะขณะนี้เป็นโอกาสเหมาะที่เขาได้เห็นกองทุกข์อย่างชัดเจนครับ..
@ ทุกข์ (เป็นสิ่งควรกำหนดรู้)
@ สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรละ)
@ นิโรธ (ความดับทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง)
@ มรรค (ทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์ คือมรรคมีองค์๘ เป็นสิ่งที่ควรจะเจริญ
ส่วนที่ว่า ถ้าเขาฟื้นขึ้นได้ จะจำได้มากน้อย อยู่ที่สัญญา(ความจำได้หมายรู้)ของแต่
ละคนครับ เหมือนๆเรานี่หละครับ เวลาฝันบางคนก็จำได้แม่นจำ บางคนก็จำไม่ได้
หรือ เวลาเราทำอะไรไว้ หรือพูดอะไรไว้บ้าง บางครั้งก็จำได้ บางครั้งก็ลืม
อยู่ที่กำลังสติของคนๆนั้นครับ
ขันธ์ ๕ คือ
รูปขันธ์ ....หมายถึง ร่างกาย อันประกอบด้วยธาตุทั้ง๔คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
นามขันธ์.. หมายถึงจิต อันประกอบด้วย เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์ในที่นี้ หมายถึง สภาวะรู้อารมณ์อันเกิดจากอายตนะ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เมื่อตากระทบรูปที่เห็น เรียกว่า จักขุวิญญาณ
เมื่อหูกระทบเสียง เรียกว่าโสตวิญญาณ
เมื่อลิ้นกระทบรส เรียกว่าชิวหาวิญญาณ
เมื่อจมูกกระทบกลิ่นเรียกว่าฆานะวิญญาณ
เมื่อกายกระทบ(สัมผัส) เรียกว่ากายวิญญาณ
เมื่อใจ(ตัวจิตเอง)กระทบธัมมารมณ์ เรียกว่ามโนวิญญาณ
ส่วนวิญญาณ ที่มักเรียกตามกันในภาษาปัจจุบันว่า เจตภูมิบ้าง ผีบ้าง นั้น
ก็คือ คนที่ตายขณะที่จิตเป็นอกุศล ทำให้จิตนั้นไปผุด(เกิด)เป็น เปรต บ้าง
เป็นอสุรกาย บ้าง
***
คำว่า "อนัตตา" นั้น มิได้หมายถึง ไม่มีตัวตน
แต่หมายถึง ไม่ใช่ตัวตน
กล่าวคือ สรรพสิ่งนั้นเป็นอนัตตา หมายถึง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมิได้อาศัยตัวมันเอง
อย่างเดียวที่เกิดขึ้น หรืออยู่อย่างเดี่ยวๆได้ แต่อาศัยเหตุ ปัจจัย ประกอบขึ้น
ยกตัวอย่างง่ายๆชัดเจนที่มักจะพูดกันบ่อยๆ เช่น โต๊ะ โต๊ะนี่ประกอบด้วยเหตุปัจจัย
หลายประการคือ ช่าง ไม้ ตะปู เหล่านี้ประกอบเป็นโต๊ะตัวหนึ่ง มีขาโต๊ะ พื้นไม้ปูโต๊ะ
หากเราเอาขาโต๊ะออก เหลือแต่ตะปู กะพื้นปูโต๊ะ ก็ไม่ได้เรียกว่า โต๊ะ
หรือ รถยนต์ ต้องอาศัยเหตุ ปัจจัยหลายอย่างที่ประกอบเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดรถยนต์ มองอย่างง่ายๆ ช่างยนต์ เหล็ก ยาง น้ำมันหล่อลื่น ไฟฟ้า (ถ้าไล่ขึ้นไป ก็ไปถึงคนคิดค้นการทำรถยนต์ให้วิ่งได้โน้นไปเลย) แล้วทำให้มี ตัวรถ เครื่องยนต์ ล้อ พวงมาลัย ฯลฯ
ถ้ารถนั้นเอาล้อออก ก็ไม่ใช่รถ .. ถ้าเอาตัว(ถัง)รถออก ก็ไม่เรียกว่า รถ
รูปขันธ์ของคน .. หากขาดดิน(ที่เจริญจากอาหารด้วยข้าว) หากขาดน้ำ(ที่เจริญด้วย
น้ำ)มาเป็นเลือด ....หากขาดลมหายใจ หากขาดการสันดาบให้เกิดความอบอุ่นในร่างกาย อย่างไรอย่างหนึ่ง ก็เท่ากับ ตายเป็นศพ... จะเรียกว่า คนไหม?
นามขันธ์ หมายถึง จิต..หากไม่ประกอบด้วยเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างไร
อย่างหนึ่ง ก็ไม่ใช่ จิต เพราะสี่อย่างนี้ถึงแม้จะต่างทำหน้าที่ของมัน แต่เกิดร่วมเกิด
พร้อมกัน
ทุกสรรพสิ่งจึงต้องอาศัยเหตุปัจจัยประกอบกัน อยู่เดี่ยวๆไม่ได้
เกิดขึ้นด้วยตัวมันเองไม่ได้
อย่างพอคล้าวๆ แบบนี้
******
ส่วนคำว่า อัตตา ไม่ได้หมายความว่า จะตรงกันข้ามกับ อนัตตา ซักที่เดียวหรอกนะ
อัตตา นั้นเป็นสิ่งที่ จิต (ทั้งสัตว์ มนุษย์ เทวดา ฯ) เขายึดมั่นถือมั่นว่า มีตน(โดยตน)
มีของตน หรือที่มักเปรียบภาษาง่ายๆว่า "ตัวกู" "ของกู"
คือการที่จิต หลงไปยึดมั่นถือมั่นในตน และสิ่งภายนอก นี่เรียกว่า "อุปาทาน"
หากยึดใน รูปขันธ์ นามขันธ์ ก็เป็น "อุปาทานขันธ์๕" ซึ่งตัวนี่หละที่เป็นตัว "ทุกข์"
ดังนั้นจึงจะเห็นว่า "สรรพสิ่งเป็นอนัตตา" ส่วน "อัตตาคือจิตที่เขาไปยึดมั่นถือมั่น"
งง ไหม? ค่อยๆทำความเข้าใจไปนะ
****
อ้อ ..ที่ถามว่า "ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" ก็หมายถึง "จิต นั้นแหละก็เป็นอนัตตา"
ความเห็นครับ....ผมมองว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ไม่ได้เปนส่วนประกอบของจิต แต่ เปน ที่เกิดขึ้นในจิต หลังจากเห็น รูป หรือ สิ่งที่เรา สัมผัสได้จาก อานัตตยะ หรือ อยู่ๆ ก้เกิด เองได้เช่น สัญญา ตาม สภาพของจิต... ที่เราท่องไปใน วัฏสงสาร อยู่ที่ว่าท่องแบบไหน ละ ...ท่องแบบ ผู้รู้ และเปน อิสระ ก็ไม่เศร้า ไม่ ติดข้อง ไม่หวั่นไหว หรือ ท่องวัฏสงสาร แบบผู้ ทะยานอยาก ผุ้ติดใน โลกธรรม 8ไม่เข้าใจ ใน ไตรลักษณ์
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนากับท่านทั้งหลายที่กรุณาบรรยายธรรมให้กระจ่างขึ้น(ตั้งแต่ท่าน-125,ท่านscikhuanและท่านteam2)
ขอแจ้งข่าวเพิ่มเติมว่า
เื่พื่อนคนแรกได้เสียชิวิตแล้วตั้งแต่ค่ำว้นที่9/4/2551
ส่วนเพื่อนคนที่2 เริ่มมีสติแล้วบางส่วน หมอกำลังให้การรักษาอยู่
ขอขอบพระคุณ
สุภโพธิ
11/4/2551
คุณsombat DT04029 [11 เม.ย. 2551 12:38 น.] คำตอบที่ 9
ของแสดงความเสียใจกับเพื่อนคนแรกด้วย
และขอให้คุณลองคลิ๊กเข้าไปอ่านใน ลิ๊งค ที่ผมทำไว้ข้างล่างนี้.....
ตอบคุณPrasit5000 DT05578 [10 เม.ย. 2551 13:01 น.] คำตอบที่ 7
การสอนของท่านเกจิอาจารย์ทั้งหลาย ท่านสอนโดยใช้ภาษาปัจจุบัน
ให้ผู้เริ่มสนใจเบื้องต้นทำความเข้าใจ หากอ่านภาษาธรรมในพระไตรปิฎกแล้ว
จะละเอียดปราณีตลึกซึ้งกว่านี้มาก
การที่กล่าวว่า อนัตตา แล้วฟันธงว่า "ไม่มีตัวตน" นั้น
หากกล่าวเช่นนี้เขาเรียกว่าเป็นทิฏฐิข้างที่เป็นสุดโต่ง (มีมาแต่สมัยพุทธกาลแล้ว)
และถ้าฟันธงว่า "มีตัวตน" นั้นเป็นทิฏฐข้างสุดโต่งเหมือนกัน
อนัตตา ถ้าบอกว่า ไม่มีตัวตน.. แล้วที่เขาระลึกชาติได้ว่า หรือตอนที่พระพุทธองค์
ระลึกชาติได้ว่า ชาติก่อนโน้นๆๆๆๆ(วัฏฏะสงสาร)ได้เป็นนั้นเป็นนี่เล่า?
แบบนี้ ก็ งงแล้ว
คำว่า อนัตตา จึงหมายถึง ไม่ใช่ตัวตน อย่างที่อธิบาย ลองอ่านทบทวน
ส่วนที่ยกตัวอย่างเรื่องโต๊ะ เรื่องรถ นั้น เพียงเปรียบเทียบเน้นในเรื่องของ
การมีเหตุ มีปัจจัยที่ทำให้เกิดสิ่งนี้มา
ถ้าเข้าใจคำจำกัดความในคำสอนไม่ถูกต้อง ไขว้เขว
เมื่ออ่านพระธรรม(พุทธพจน์) คุณก็ตีความหมายอย่าง งง และสับสน
(เหมือนได้สูตรเลขผิด เห็นโจทย์เลข ทำ ก็ได้คำตอบผิด)
การที่จะไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์๕ได้ ก็เพราะมาจากการปฏิบัติ(มรรคมีองค์๘)
เกิดมรรค๔(โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค)
เกิดผล๔(โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหันต์ผล) ตามมา คือเกิด
ความไม่ยึดมั่นถือมั่นเกิดรู้ขึ้นในจิตเรานั้นเอง
ถ้าไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติยังไม่ถึงขั้นที่จะเห็นแจ้งได้ ก็เป็น
เพียงสัญญา(การจดจำจากที่เคยอ่าน)แล้วคิดเอง ไม่ใช่สภาพวะที่เกิดรู้ขึ้นในจิตจริงๆ
เราจึงมีหน้าที่นำขันธ์๕นี้หละ มาปฏิบัติให้ได้อย่างนั้น
มีคำถามแบบที่คุณถามมากในเว็บบอร์ดนี้ หาให้คุณเข้าไปอ่านทบทวน
ค่อยๆทำความเข้าใจ
ป่วยอยู่ห้องไอซียู
http://www.dhammathai.org/webboard/view.php?No=6490
วิญญาณ
http://www.dhammathai.org/webboard/view.php?No=6757
อนัตตา(ในไตรลักษณ์)
http://www.dhammathai.org/webboard/view.php?No=8142
วัฏฏะสังสาร
http://www.dhammathai.org/webboard/view.php?No=903
ผมขอลบทุกถ้อยความที่ได้ถามไป (เพราะผมถือว่าทุกถ้อยคำที่กล่าวคือคำถามผู้รู้ไม่ใช่คำสอน)
เพราะเกรงว่าจะทำให้ท่านไม่พอใจ
ผมจะศึกษาเอาเองดีกว่าที่จะถาม เพราะเรื่อง อัตตา อนัตตา เรื่องจะเอาอะไรไปเกิด
นี้เป็นเรื่องปรัชญา ซึ่งลึกกว่าศิลธรรม
การถามอาจจะเป็นเรื่องโต้แย้งมันไม่ดี
ท่านผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่านถ้าเห็นว่าผมกล่าวไม่ถูกต้องก็ขออภัยในคำที่ไม่รู้แล้วล่วงเกินด้วย
จะได้ไม่ขุ่นข้องหมองใจกัน
เอาเรื่องสบายใจดีกว่าครับ
อะโหสิกรรมด้วยครับ
Prasit5000 DT05578 [17 เม.ย. 2551 12:30 น.] คำตอบที่ 13
คุณPrasit5000 ท่านกล่าวว่าจิตเป็นอัตตา
ศาสนาพุทธ ไม่มีอะไรที่เป็น อัตตา ครับ โปรดเข้าใจด้วย
ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง โดยท่านใช้คำว่า แสดงว่า แสดงว่า แล้วก็แสดงว่า
อย่าไปนึกคิดแสดงว่าเอาเองเลยครับ หากเราไม่รู้จริง มันก็จะทำให้ผู้อื่นสับสนไปด้วยนะครับ