อนุโมทนาสาธุครับคุณตรงประเด็น
แนวทางแห่ง"สุทธวิปัสสนายานิก" บังเกิดอริยมรรคสมังคีไหม???
เคยได้รับทราบแนวทาง"ปัญญาวิมุติ"ของทางพม่า มีหลักการดังนี้
***ปัญญาวิมุติอรหันต์ ได้แก่ ท่านที่บำเพ็ญ"วิปัสสนาล้วนๆ" ไม่ได้บำเพ็ญสมถภาวนามาก่อนเลย เมื่ออรหัตตมรรคอุบัติขึ้นนั้น ฌานก็ไม่มีเกิดร่วมด้วย***
ที่ถามดังนี้ เพราะว่า ในพระสูตรที่ตรัสถึงอริยมรรคสมังคี กล่าวว่า
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=31&start_byte=109458
[๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วย โลกุตตรฌาน ที่เกิดแล้ว
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน
บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์
ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้งฉันใด
ถ้าเมื่อเห็นแจ้ง ก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดีฉันนั้น
สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่
จากพระสูตรนี้ และ อีกหลายพระสูตรที่ตรัสถึงสัมมาสมาธิว่า เป็นเอกัคตารมณ์(รูปฌานหนึ่ง ถึง สี่)ที่ห้อมล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ด
และ ที่ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ท่านกล่าวไว้ว่า ถึงแม้นจะเจริญมรรคโดยใช้วิปัสสนานำหน้า... สัมมาสมาธิ หรือ โลกุตรฌาน ก็ต้องบังเกิดขึ้นเช่นกัน
มันเลยไม่ตรงกัน
ระหว่าง แนวคิด"สุทธวิปัสสนายานิก" กับ "การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า" ในพระสูตร???
ไม่ทราบว่า ท่านใด พอจะอธิบาย ตรงจุดนี้ได้ไหมครับ
ท่าน อ.แนบ ท่านเคยกล่าวเอาไว้ว่า
ที่ ห้ามไม่ให้ทำให้จิตสงบ เพราะอะไร
เพราะจิตที่เป็นสมาธินี้น่ะ ถ้าผู้ที่ยังไม่เกิดปัญญาแล้ว ต้องเป็นที่อาศัยของตัณหาและทิฏฐิ ต้องเป็นที่อาศัยของกิเลสแน่นอน เมื่อกิเลสเข้าอาศัยความสงบนั้นแล้ว ก็ต้องปิดบังความจริง
แต่ ปกติ
ตามหลักการแห่งไตรสิกขา ย่อมกล่าวไว้ว่า
"สมาธิที่อบรมดีแล้ว ย่อมมีปัญญาเป็นผลใหญ่"
และ ในมหาจัตตารีสกสูตร ที่กล่าวไว้ว่า
"เพราะมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะ"
ซึ่ง ถ้าว่าตามหลักนี้แล้ว ปัญญาญาณที่แท้จริง ย่อมต้องมี สัมมาสมาธิ เป็นบาทเป็นพื้นฐาน
จะไปรอให้ เกิดสัมมาญาณะ(ซึ่งเป็นผล)เสียก่อน แล้วจึงค่อยให้สัมมาสมาธิ(ซึ่งเป็นเหตุ)มาเกิดตามทีหลัง...
มันจะไม่กลายเป็น
ให้ผลไปเกิดก่อนเหตุ หรือครับ...
มีข้อมูลเพิ่มเติม
จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ปัญญาวิมุต ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา
หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็จด้วยบำเพ็ญวิปัสสนาโดยมิได้อรูปสมาบัติมาก่อน
ปัญญาวิมุต จากที่ท่านเจ้าคุณๆประมวลมานี้
ไม่ได้"อรูปสมาบัติ"(อรูปฌาน) เท่านั้น
หาใช่ว่า ต้องปราศจากรูปสมาบัติ(รูปฌาน) แต่อย่างใด
เพราะ สัมมาสมาธิในหลายพระสูตรก็กล่าวถึงสมาธิที่มีกำลังในระดับรูปฌานหนึ่ง ถึง สี่(โลกุตรฌาน)
จึงนำข้อมูลมาลงเปรียบเทียบ กับ ปัญญาวิมุติ ในความหมายของทางพม่า
ปัจจุบัน จะได้ยินการกล่าวถึง คำกล่าวในลักษณะที่ว่า
"เวลาภาวนา ต้องระวังไม่ให้จิตเป็นสมถะ...ถ้าจิตเป็นสมถะเข้า จะไม่สามารถรู้เห็นธรรมได้... เพราะ สมถะ จะไปขัดขวางการเจริญวิปัสสนาเข้า"
กันบ่อยๆ มากขึ้น เรื่อยๆ ในสังคมชาวพุทธของไทย
ซึ่งในเนื้อแท้ของคำกล่าวนี้ ก็คือ แนวคิดแห่ง"สุทธวิปัสสนายานิก"นั่นเอง
ผมลองประมวล
คำว่า "สมถะ" ในความหมายที่ชาวไทยพุทธในปัจจุบันกล่าวกันนั้น ครอบคลุมความหมายต่างๆ ดังนี้
๑ องค์ธรรมที่ไม่ใช่สมถะ หรือ สมาธิ แต่ถูกเข้าใจว่าเป็นสมาธิ เช่น
อาการตื้อตันมึนงงเวลาภาวนา แต่จิตไม่สงบเบิกบาน เข้าใจว่า บังเกิดเพราะจิตเป็นสมถะ(ความจริงแล้ว นี่คือ นิวรณ์ประเภทถีนมิทธะ)
การตั้งใจมากเกินไปในการภาวนา จนเกร็ง สูญเสียสภาพอันอ่อนควรแก่การงานของจิต เข้าใจว่า ติดสมถะ (ความจริงแล้ว นี่คือวิริยะทางใจแรงไป ซึ่งต้องปรับด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์)
๒ มิจฉาสมาธิ เช่น การติดสุขจากสมาธิ หรือ การหลงในนิมิต หรือ ญาณทัศนะ ต่างๆ
๓ เป็นสมาธิ... ที่ไม่ใช่มิจฉาสมาธิ แต่ยังไม่ถึงขั้นของ สัมมาสมาธิ ...คือ มาถูกทางแล้ว แต่ ยังไม่ถึงจุดหมาย
๔ สัมมาสมาธิ หรือ สมาธิสัมโพชฌงค์ หรือ โลกุตรฌาน หรือ สมถะในอริยมรรคสมังคี อันเป็นจุดหมายที่แท้จริงของสมถะ
อนึ่ง คำว่า สมถะ ที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆนั้น นับเพียงเฉพาะในข้อ๓ และ ข้อ๔ เท่านั้น
สมถะ ที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ จึงสื่อถึงองค์ประกอบแห่งอริยมรรค "ที่พึงเจริญ".....
หาใช่ เป็นสิ่งที่"พึงระวัง" หรือ "พึงระแวง" เลย
ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ท่านกล่าวไว้ดังนี้
จาก พุทธธรรม หน้า 331
"....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1) เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...."
โดย : ตรงประเด็น [DT06651] 28 ต.ค. 2551 21:44 น.
ท่านกำลังแสดงธรรมไม่ถูกต้อง
1.สมถะกับวิปัสสนาเป็นองค์ธรรมที่เกิดขึ้นในจิตดวงเดียวกัน ไม่ได้แยกจากกัน
2.ขณิกสมาธิและอุปจาระสมาธินั้นไม่มีจริง เพราะไม่อาจจัดเป็นประเภทของจิตชนิดใดได้
3.ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ท่านกล่าวไว้จาก พุทธธรรม หน้า 331 ขัดแย้งกันเองกับบทธรรมหน้าอื่น ๆ หัวข้ออื่น ๆ ที่ท่านได้แสดงไว้ในหนังสือเล่มเดียวกัน หนังสือเล่มนี้จึงเชื่อถือไม่ได้ตามที่ท่านตรงประเด็น DT06651 นำมาอ้างอิง
.
เคยได้รับทราบแนวทาง"ปัญญาวิมุติ"ของทางพม่า มีหลักการดังนี้
***ปัญญาวิมุติอรหันต์ ได้แก่ ท่านที่บำเพ็ญ"วิปัสสนาล้วนๆ" ไม่ได้บำเพ็ญสมถภาวนามาก่อนเลย เมื่ออรหัตตมรรคอุบัติขึ้นนั้น ฌานก็ไม่มีเกิดร่วมด้วย***
ตรงประเด็น DT06651 [29 ต.ค. 2551 09:51 น.] คำตอบที่ 2
แนวทาง"ปัญญาวิมุติ"ของทางพม่า เป็นแนวทางการปฏิบัติที่ผิดแนวทางแห่งมรรคมีองค์ 8
เพราะ"ปัญญาวิมุติ" เกิดที่จิตเนื่องด้วยจิต จิตจึงต้องมีสมาธิเกิดพร้อมเสมอ
พระพม่าต้นแบบไม่เข้าใจคำว่า "วิปัสสนาล้วนๆ"
"วิปัสสนาล้วนๆ"พระพม่าเข้าใจว่า เป็นการเจริญมัคคผลโดยไม่มีสมาธิ ซึ่งพระพม่าเข้าใจผิดจากความจริง เพราะจิตทุกดวงเกิดขึ้นโดยปราศจากสมาธิย่อมเป็นไปไม่ได้
แต่คำว่า "วิปัสสนาล้วนๆ" ที่ถูกต้องหมายถึงการเจริญสมณะธรรมโดยอาศัยฌาน แต่ไม่ได้อาศัยอภิญญาจิต เช่นไม่สามารถระลึกชาติ ไม่สามารถรู้จุติและปฏิสนธิ
ซึ่ง ถ้าว่าตามหลักนี้แล้ว ปัญญาญาณที่แท้จริง ย่อมต้องมี สัมมาสมาธิ เป็นบาทเป็นพื้นฐาน
จะไปรอให้ เกิดสัมมาญาณะ(ซึ่งเป็นผล)เสียก่อน แล้วจึงค่อยให้สัมมาสมาธิ(ซึ่งเป็นเหตุ)มาเกิดตามทีหลัง...
มันจะไม่กลายเป็น ให้ผลไปเกิดก่อนเหตุ หรือครับ...
ตรงประเด็น DT06651 [29 ต.ค. 2551 10:02 น.] คำตอบที่ 3
ท่านตรงประเด็น DT06651 ยังไม่เข้าใจเรื่องเหตุและผลที่ดีพอ
การกล่าวถึงเหตุและผลต้องกล่าวแยกแยะใน 2 นัย
1.เหตุและผล ที่เป็นองค์ธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยในจิตดวงเดียวกัน เกิดร่วมเกิดพร้อมกันทั้งจิตที่เป็นเหตุและจิตที่เป็นผล
2.เหตุและผล ในจิตที่เหตุ ( กุศลจิตหรือ อกุศลจิต )อย่างหนึ่ง ในจิตที่เป็นผล ( กุศลวิบากหรือ อกุศลวิบาก )อย่างหนึ่ง อย่างนี้เป็นเหตุที่เป็นผลโดยสภาวะของจิต
สัมมาสมาธิและสัมมาญาณะสามารถเกิดได้ทั้งในจิตที่เป็นเหตุและจิตที่เป็นผล นี่คือสิ่งที่จะต้องแยกแยะและต้องเข้าใจให้ดี
ตรงประเด็น DT06651 [29 ต.ค. 2551 14:23 น.] คำตอบที่ 5
สิ่งที่ท่านต้องเข้าใจให้ถูกต้องคือ
1.สมถะหรือสมาธิ หรือสัมมาสมาธิ เป็นองค์ธรรมที่เป็นกุศลในจิตได้ทั้งจิตที่เป็นเหตุและจิตที่เป็นผล ทำให้จิตนั้นเป็นกุศลหรือกุศลวิบาก และทำให้จิตนั้นเป็นอกุศลหรือ อกุศลวิบาก
2.สมถะและวิปัสสนาเป็นองค์ธรรมที่เป็นกุศลมีอุปการะมากแก่อาสาวขยญาณ วิชชา 3 อภิญญา 6 ปฏิสัมภิทา 4 และวิโมกข์ 8 จึงต้องไปด้วยกันไม่อาจแยกจากกัน.
******ได้เคยอ่านหนังสือพุทธธรรม โดยเฉพาะในเรื่องของ สมาธิ (ฌาน)
เห็นว่าเนื้อหานั้นคัดง้างกันอยู่ในเล่มเดียวกัน แต่ก็กลับล้วนมีที่อ้างอิงได้
บางเนื้อหาอ้างถึง พระไตรปิฎก บางเนื้อหาได้อ้างถึงอรรถกถาในปริเฉท9 ตำราพม่า
บางเนื้อหาได้อ้างถึงวิสุทธิมรรค
หากจะจับประเด็นใด หรือชี้ไปที่บรรทัดใด ก็พอสรุปได้ เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น
แต่พออ่านๆไป บทอื่น กลายเป็นขัดแย้งอันเดิมอย่างสิ้นเชิง ???
เมื่ออ่านแล้วไม่ได้ความเข้าใจ และทำความกระจ่างได้เลย
จึงต้องหันมาอ่านพระไตรปิฎกล้วนๆ ****