ขอความกรุณาด้วยค่ะ

 piano    

คือหนูอยากทราบว่าพวก เกย์ ตุ๊ด ทอม ดี้ พวกนี้ตายไปแล้วตกนรกหรือเปล่าคะ คือหนูเคยได้ยินมาว่าตกนรกน่ะคะ หนูยังแปลกใจอยู่เลยว่าทำไมถึงตก เพราะพวกเขาก็ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนนี่คะ
ที่ถามนี่ไม่ใช่เพราะหนูเป็นหรอนะคะแค่อยากรู้เฉยๆ


ขอบคุณสำหรับคำตอบที่มอบให้กับผู้ไม่รู้น่ะค่ะ




สวัสดี ผู้ถาม
การจะเข้าสู่อบายหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับว่าใครจะเป็นตุ๊ด เย์ ทอม ดี้
หากแต่ว่า ใครก็ตาม ที่ทำบาปกรรมไว้ ทุกคติ พึงหวังได้ทุกคนครับ

เจริญธรรม



พระพุทธองค์ ทรงสั่งสอนว่า กรรมเกิดจากผลของการกระทำ หากเขาเหล่านั้นทำกรรมดี
เขาก็จะได้รับสิ่งที่ดี หากเขาเหล่านั้นทำกรรมชั่ว ก็จะได้รับผลตามที่เขาเหล่านั้นได้ทำไว้


กรรมกับกิจก็ศัพท์เดียวกัน แต่
ลงปัจจัยต่างกัน ความก็อย่างเดียวกัน
คือการงานที่สัตว์ทำลงไป, ทำทางกายก็
เรียกว่า กายกรรม, ทำทางวาจาคือพูด
ก็เรียกว่า วจีกรรม, ทำทางมนะ คือคิด
ก็เรียกว่า มโนกรรม, ว่าจำเพาะมนุษย์.
มนุษย์เราเคยทำกรรมเหล่านี้กันมาด้วย
กันทุกคน ทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง
ทางใจบ้าง. กรรมเหล่านั้น ถ้าว่าตาม
พระสูตรแยกเป็น ๒ คือ เป็นกุศลส่วน
ดีกับเป็นอกุศลส่วนชั่ว, ถ้าตามอภิธรรม
เติม อัพยากต อีกอย่างหนึ่ง แต่ท่าน
เรียกว่าธรรม ดังที่เคยแสดงมาแล้ว.
อัพยากตหรืออัพยากฤต อย่างหนึ่งท่าน
ว่า เป็นแต่อุปการะ, ส่วนที่จะให้ผล
ต้องเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม.
กรรมที่ให้ผลโดยนัยหนึ่งท่านแสดงว่า
คนสามัญรู้ไม่ได้ ได้แก่คาดคะเนเอา.
ถูกหรือผิดก็ไม่แน่, ส่วนที่คนรู้ได้ ไม่ใช่
กรรมให้ผล เป็น ปัจจัย ให้ผล เช่นคน
กินเข้าก็ได้ผลคืออิ่ม, คนเรียนหนังสือก็
ได้ผล คืออ่านหนังสือออกหรือรู้หนังสือ
นี่ท่านว่าไม่ใช่กรรม เป็นปัจจัย, แต่ที่ว่า
เป็นปัจจัยนี้ก็ไม่เคยพบในพระบาลี เป็น
แต่พระอาจารย์ท่านแสดงไว้อย่างนั้น.
กรรมที่ให้ผลว่าตามกาลคือคราว
แยกเป็น ๔ คือ :-
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม, ทิฏฐธรรม
หมายเอาปัจจุบัน เวทนียะ หมายเอาเสวย
หรือพึงเสวย, กรรม ก็กรรม. ทิฏฐธรรม
เวทนียกรรม กรรมที่พึงเสวยในปัจจุบัน
เมื่อคนทำกรรมอะไรลงไปแล้ว แล้วก็ได้
ผลในชาตินี้ ทั้งส่วนดีทั้งส่วนชั่ว นี่อย่าง
หนึ่ง.
อุปปัชชเวทนียกรรม, อุปปัชช
แปลว่า เข้าถึง ซึ่งหมายความว่าเกิด,
อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมที่พึงเสวยใน
ภพที่เกิด หมายความว่าชาติหน้าต่อจาก
ชาตินี้ไป, กรรมอันใดที่ทำไว้ทั้งส่วนดี
ทั้งส่วนชั่ว ยังไม่ให้ผลในชาตินี้ แต่จะ
ให้ผลต่อจากชาตินี้ไป เรียกว่า อุปปัชช-
เวทนียกรรม, นี่อย่างหนึ่ง.
อปราปรเวทนียกรรม, อปราปร
หมายความว่าสืบต่อ ๆ กันไป, อปราปร-
เวทนียกรรม กามเป็นที่พึงเสวยในภพ
สืบ ๆ ต่อไป หมายความว่า กรรมที่จะให้
ผลต่อจากชาติหน้าไป ไม่กำหนดว่าเมื่อ
ไรแล้วแต่จะเหมาะ เหมาะเมื่อไรก็ให้ผล
เมื่อนั้น นี่อย่างหนึ่ง.
อโหสิกรรม, อโหสิ ได้มีแล้วหรือ
ได้เป็นแล้ว, อโหสิกรรม แปลว่า กรรม
ที่ได้มีแล้วหรือได้เป็นแล้ว หมายความว่า
กรรมที่ให้ผลเสร็จแล้ว หรือให้ผลไม่ทัน
เช่นท่านอ้างว่า พระองคุลิมาลฆ่าคนมา
มาก, ถ้าว่าตายกรรมแล้ว ท่านจะต้องไป
ตกนรกมากมาย แต่นี่เพราะท่านได้บรรลุ
พระอรหัตเป็นพระอรหันต์เสียในชาติ
นั้น, กรรมนั้นตามไม่ทันจึงเป็นอโหสิ-
กรรม, หรือกรรมที่ให้ผลเสร็จแล้ว เช่น
ทำกรรมดีให้ผลดีเสร็จแล้ว กรรมนั้นก็
เป็นอโหสิกรรม, ทำกรรมชั่วให้ผลชั่ว
เสร็จแล้ว กรรมนั้นก็เป็นอโหสิกรรม นี่
อีกอย่างหนึ่ง.
รวมเป็น ๔ คือ ทิฏฐธรรมเวทนีย-
กรรม กรรมที่ให้ผลในชาตินี้ อุปปัชช-
เวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า,
อปราปรเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลใน
ชาติต่อจากชาติหน้าไป ไม่กำหนดว่า
เมื่อไร อโหสิกรรม กรรมที่ได้มีแล้ว ได้
เป็นแล้ว.
กรรมอีกหมวดหนึ่ง ให้ผลตามชนิด
หรือตามกิจของตน แยกเป็น ๔ คือ :-
ชนกกรรม กรรมนำให้เกิด คือ
กรรมดีก็นำให้เกิดในภพชาติที่ดี กรรมชั่ว
ก็นำให้เกิดในภพชาติที่ชั่ว เรียกว่า ชนก-
กรรม, ชนก แปลว่า พ่อก็ได้.
อุปถัมภกกรรม กรรมที่อุดหนุน
หมายความว่า อุดหนุนกรรมเดิม หรือ ถ้า
ชนกกรรมเป็นกรรมดี นำให้เกิดดี อุป-
ถัมภกกรรมก็หนุนให้ดีเรื่อยไป, ถ้าชนก-
กรรม เป็นกรรมชั่ว ในให้เกิดชั่ว อุป-
ถัมภกกรรมก็หนุนให้ชั่วเรื่อยไป.
อุปปีฬกกรรม กรรมที่บีบคั้นกรรม
เดิม คือทำกรรมเดิมให้อ่อนลงไปทั้งใน
ส่วนดี ทั้งในส่วนชั่ว, เช่น ชนกกรรมนำ
ให้เกิดดีควรจะดีเรื่อยไป แต่มีกรรมชั่ว
มาบีบคั้นกรรมเดิมทำให้อ่อนลงไป, หรือ
ชนกกรรมนำให้เกิดชั่ว ควรจะชั่วเรื่อยไป
แต่ว่ามีกรรมดีมาบีบคั้นกรรมเดิม ทำให้
ชั่วน้อยเบาบางไป.
อุปฆาตกกรรม กรรมที่เข้าไปฆ่า
หรือ อุปัจเฉทกกรรม กรรมที่เข้าไปตัด
หมายความว่า กรรมที่เข้าไปฆ่าหรือตัด
กรรมเดิม เช่นกรรมเดิมที่ดีนำให้เกิดดี,
แต่มีอุปฆาตกกรรม หรือ อุปัจเฉทกกรรม
เข้าไปตัดเสียไม่ให้ดี, หรือชนกกรรมนำ
ให้เกิดชั่ว แต่อุปฆาตกกรรม หรือ อุปัจ-
เฉทกกรรมเข้าไปตัดเสียไม่ให้ชั่ว รวม
เป็น ๔.
อีกหมวดหนึ่ง กรรมที่ให้ผลตาม
กำลัง แยกเป็น ๔ คือ :-
กรรมที่มีกำลังมากเรียกว่า ครุกรรม
แปลว่ากรรมหนัก, กรรมมีกำลังมากใน
ฝ่ายดีท่านว่าได้แก่ ฌาน, คนที่ทำฌานให้
เกิดขึ้นและไม่เสื่อม ถ้าตายไปก็ไปเกิด
เป็นพรหม, คนที่ทำกรรมชั่วอย่างหนักที่
เรียกว่า อนันตริยกรรม ถึงจะทำกรรมดี
เท่าไรก็แก้กันไม่ได้ เมื่อตายลงต้องไปตก
นรก จึงเรียกว่า อนันตริยกรรม กรรมไม่
มีระหว่าง และเรียกว่า ครุกรรม คือ
กรรมหนัก.
อีกอย่างหนึ่ง พหุลกรรม หรือ
อาจิณณกรรม กรรมที่ทำเสมอ ๆ แม้ไม่
เป็นกรรมหนัก แต่ว่าทำมาก ๆ คราว ทำ
เสมอ ๆ, ถ้ามุ่งถึงทำมาก ๆ คราว ก็เรียก
ว่า พหุลกรรม, ถ้ามุ่งถึงทำเสมอ ๆ ก็เรียกว่า
อาจิณณกรรม ทั้งส่วนดีส่วนชั่ว
ถ้าไม่มีครุกรรมให้ผลก็เป็นหน้าที่ของพหุล
กรรม หรืออาจิณณกรรม ถ้าเป็นส่วนดี
ก็ให้ผลดี ถ้าเป็นส่วนชั่วก็ให้ผลชั่ว.
อ่อนลงมาก็ กตัตตากรรม กรรมที่
สักว่าทำ ไม่ใช่ตั้งอกตั้งใจจะทำจริงจัง แต่
ว่าพลอย ๆ ไปกับเขาเท่านั้น เพียงสักแต่
ว่าทำทั้งส่วนดีทั้งส่วนชั่ว, ถ้าไม่มีพหุล-
กรรม หรืออาจิณณกรรมที่จะให้ผล ก็
เป็นหน้าที่ของ กตัตตากรรม กรรมที่สัก
แต่ว่าทำจะให้ผล.
อีกอย่างหนึ่ง อาสันนกรรม กรรม
ใกล้ กรรมที่จวนแจ หมายความว่าใน
เวลาที่ใกล้จะตาย ถ้าทำอะไรที่ดี กรรมดี
ก็ให้ผลก่อน, ถ้าทำอะไรที่ชั่ว กรรมชั่วก็
ให้ผลก่อน, ท่านแสดงตัวอย่างเช่นพระ-
นางมัลลิกา พระมเหษีของพระเจ้าโกศล
ทำบุญทำกุศลไว้มา แต่ว่าเมื่อจะตายไป
นึกถึงกรรมชั่วก็ต้องไปตกนรกเสีย ๗ วัน
เมื่อพ้นจากนรกแล้วจึงขึ้นไปสวรรค์, หรื
อเพชฌฆาต คือคนฆ่านักโทษมามากตามที่
สมควร ตายไปจะต้องไปตกนรก แต่ว่า
เวลาจวนตายเขานึกถึงบุญกุศล แล้วตาย
ลงในขณะนั้น, บุญกุศลก็นำให้ไปเกิดใน
สุคติภพที่ดี, เพราะเหตุนี้แหละคนไทยที่
ถือพระพุทธศาสนา ทั้งคนถือศาสนาอื่น
ด้วย เมื่อจะตาย สำหรับคนไทย จึงบอก
กรอกหูว่า อรหํ ๆ ๆ เพื่อให้ระลึกถึง
อรหํ จะได้เป็น อาสันนกรรม จะได้
เป็นบุญเป็นกุศลให้ได้ไปสู่สุคติ, แต่การ
ทำเช่นนั้นจะดีหรือไม่ ยังไม่รู้แน่ เพราะ
ถ้าคนผู้นั้นใจดีก็อาจจะดีได้, แต่ถ้าใจไม่
ดีอาจจะตกใจเกิดกลัวตายขึ้นมาจะทำให้
เป็นอกุศลก็ได้.
รวมเข้าก็เป็นกรรม ๑๒ อย่าง ถ้า
ยกอโหสิกรรมเสียก็เหลือ ๑๑. ( โอ. ๒/
๑๔๓-๑๔๗ ).


อบาย

ภาษาบาลีเรียกว่า อปายะ ที่
เคยแสดงมาแล้ว, อป กัน อายะ เป็น
อปายะปราศจากความเจริญ, ท่านมุ่งถึง
คติที่ไป หรือภพที่เป็นอยู่ อันปราศจาก
ความเจริญ แยกเป็น ๔ คือ นิรยะ ไม่
มีความเจริญ อรรถคือความก็ตรงกับ
อปายะ แต่ท่านใช้เป็นส่วนที่แยกออก
ไปเสีย อย่างหนึ่ง, ติรัจฉานะ คือ
สัตว์ดิรัจฉาน อย่างหนึ่ง, ปิตติวิสยะ,
วิสยะ แปลว่า แดน หรือ ถิ่น, ปิตติ
เปรต, ปิตติวิสยะ แดนหรือถิ่นของ
เปรตอย่างหนึ่ง, อสุรกาย ที่อยู่ของสัตว์
ที่มีกายไม่กล้า อีกอย่างหนึ่ง, รวมเป็น ๔.
ข้อต้น ภาษาบาลี เรียก นิรยะ
เป็นพื้น, ภาษาสันสกฤต ก็เรียกนิรยะ
แล้วก็แจกออกไปมาก: เช่น คูถนิรยะ
นรกคูถ หมายความว่า หลุมคูถที่ใหญ่
โต สัตว์ที่ต้องตกไปในนรกนั้น ก็ต้อง
ไปจมอยู่ในคูถ, อวีจินิรยะ อวีจิหมาย
เอาที่ ๆ มีไฟลุกโพลงอยู่เสมอ เราเรียก
กันว่า อเวจี, และมีชื่ออย่างอื่น ๆ อีก
มาก.
ติรัจฉานะ ก็สัตว์ดิรัจฉานที่เรารู้กัน
อยู่นี้.
เปรต มาจากศัพท์ว่า เปตะ ใน
ภาษาบาลี, ในภาษาสันสกฤต เป็น
เปรตะ หมายความต่างกันอยู่บ้าง. คน
ที่ตายจากโลกนี้ไปแล้วเรียกว่า เปตะ หรือ
เปรต แปลว่าผู้ละไปแล้ว จะไปนรก
สวรรค์หรือที่ไหนก็ตาม เรียกว่า เปตะ
หรือ เปรต ทั้งหมด นี่อย่างหนึ่ง, อีก
อย่างหนึ่งหมายเอา เปตะ หรือ เปรต
คือผู้ที่ตายไปเป็นเปรตอย่างที่เราเข้าใจ ตัว
สูงเท่าไร ๆ บางทีหัวเป็นอย่างหนึ่ง ตัว
เป็นอย่างหนึ่ง.
อสุรกาย กายไม่กล้า สัตว์ที่มีกายไม่
กล้า, เข้าใจกันว่าสัตว์ชนิดที่เป็นผี คือ
ไม่มีกายที่จะปรากฏในคนธรรมดาเห็นได้
ง่าย ๆ จะเห็นได้เพียงบางครั้งบางคราว
จนพึงเป็นปัญหาเถียงกันอยู่ว่า ผีมี ผีไม่มี
แต่ศัพท์ว่า อสุระ ตรงกันข้ามกับ สุระ,
สุระ แปลว่ากล้า, อสุระ แปลว่าไม่กล้า,
สุระ หมายถึงกล้าหาญ อสุระ ไม่กล้าหาญ
ท่านเรียกเทวดาว่า สุระ แปลว่า ผู้กล้า
เพราะรบชนะพวกยักษ์, พวกยักษ์แพ้
เทวดา จึงเป็น อสุระ แปลว่า ไม่กล้า
คือไม่กล้าหาญ, แต่ อสุรกาย หมายถึง
สัตว์ที่มีกายไม่กล้า คือ คนธรรมดาไม่
สามารถจะเห็นได้ ดูความจะไม่ตรงต่อ
ศัพท์.
ถ้าจะเทียบกับคนที่เป็นมนุษย์อยู่ด้วย
กันแล้ว ก็พอจะเทียบได้คนจำพวกที่
ทุกข์ยากลำบากหรือติดเรือนจำ, ถิ่นที่
คนจำพวกนั้นอยู่เรียกว่า นิรยะ ของผู้
ทุกข์ยากและของผู้ต้องโทษ, ดิรัจฉานก็
ปน ๆ อยู่กับมนุษย์เรานี่แหละ แต่ว่า
คติภพของเขาเป็นชนิดหนึ่งไม่เหมือน
คน, เปรต ก็หมายความถึงคนยากจน
ค่นแค้น มีความลำบาก หิวอยู่เสมอ,
อสุรกายก็เทียบกับขโมย ซ่อนตัวไป
เที่ยวลักของเขาไม่แสดงตัวให้ปรากฏ,
อีกประเภทหนึ่ง มีพระบาลีแสดง
ไว้ ๔ อย่างเหมือนกัน แต่ชื่อต่างกัน
บ้างคือ อบาย ทุคติ วินิบาต นิรยะ.
( โอ. ๒/๘๖-๘๘ ).


การศึกษาพระธรรม หากไม่เข้าใจศัพย์
ทางบาลีไม่เป็นผลดีเลยขอรับ



 3,969 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย