นั่งสมาธิภาวนา "พุทโธ" กับ "ยุบ-พอง" ต่างกันอย่างไรครับ

 ชชวิน    

ธรรมสวัสดีครับเพื่อนนักปฏิบัติธรรมทุกท่าน...ผมมีข้อสงสัยอย่างนี้ครับ ...การเข้าสมาธิโดยภาวนาคำว่า "พุทโธ กับยุบหนอ พองหนอ ต่างกันอย่างไร...ผมเคยทำทั้งสองอย่าง มีประสบการณ์จะเล่านะครับ...ไม่รู้ทุกท่านจะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เราลองมาแลกเปลี่ยนกันนะครับ...สำหรับผมได้ฝึกนั่งสมาธิมาโดยภาวนา พุทโธ มานานแล้วครับ และก็เข้าสมาธิได้ระดับหนึ่ง แต่ว่า ปี 2550 ผมได้เริ่มภาวนา "ยุบหนอ-พองหนอ นะครับ ท่านอาจารย์บอกว่า ให้จับไปที่อาการยุบ-พองของท้องตอนหายใจเข้าออก แต่ผมมักจะหายใจเข้าข้างบน (ลมมันตีขึ้นข้างบน) ไม่ใช่ที่สะดือเหมือนที่พระอาจารย์บอก แต่ก็พยายามเต็มที่ครับ ปีนั้น ก็ไม่ได้อะไรมาก ปีนี้ (2551) ก็ไปอีกครั้ง นานกว่าเดิมครับ ก็พอเข้าใจอะไรมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้อะไรมากเหมือนเดิม เข้าใจมากขึ้นนะครับ แต่ปฏิบัติยังไม่ได้เพิ่ม ยุบ-พองก็พอได้ แต่พอจะตัดเวทนา มันยาก..ความคิด ฟุ้งซ่าน อะไรนี่ตัดได้หมดเลยครับ ที่ตัดไม่ได้คือ ง่วง กับปวด พยายามอย่างเต็มที่เลย...ไม่รู้เป็นอะไร ทรมาน แต่ตอนที่ผมภาวนา "พุทโธ" มันตัดได้หมด มันโล่งไปหมด...นี่เป็นประสบการณ์ของผม ท่านใดมีประสบการณ์ดี ๆ ช่วยเล่าสู่กันฟังหน่อยนะครับ...ธรรมสวัสดีครับ   




ไม่ต่างครับ

จะใช้คำอะไรก็ได้ที่ไม่ทำให้จิตมันขุ่นเคือง

เช่น รวยโวีย รวยโว๊ย
สู้โว๊ย สู้โว๊ย
หิวโว๊ย หิวโว๊ย
คำพวกนี้ที่ความเป้น +/- อยู่ในตัว
พูดไป คิดไป มันไม่ดี มันชวนว๊าวุ่น


แต่พุทธโธ หรือ ยุบหนอ พองหนอ
เป็นคำที่กลางๆ ไม่บวก ไม่ลบ ไม่ชวนให้คิด ไม่ชวนให้ขุ่นเคืองใจ


การท่องนั้น เราอาศัยคำแหล่านี้ให้ใจมีงานทำ ไม่วอกแวก
เพราะปกติใจเรามันอยู่เฉยๆโดยไม่คิดไม่ได้ ธรรรมชาติของจิตมันต้องคิด
เราเลยหางานให้มันทำ หาคำให้ใจมันท่องไว้ แทนที่จะปล่อยความคิดไปตามนิสัยหรือตามสถานการณ์
เราเลยหาอุบาย คือเอาคำเหล่านี้ มาล่อให้ใจเราคิดตาม

โดยเอาคำเหล่านี้ไปจับกับกายด้วย
กล่าวคือ ใจก้ไม่คิดวอกแวก แถมเอาใจมาจับที่ท้องด้วย
ได้ประโยชน์สองต่อ

จิตตานุปัสนา และกายานุปัสนา ไปพร้อมๆกัน




• การปฏิบัติธรรม - เข้าใจทิศ6

• สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ สันโดษ (คือความพอใจ) ชื่อว่าเป็นทรัพย์อย่างยอด

• วัดเศวตฉัตร วรวิหาร

• ความรัก เป็นสิ่งที่ผูกพันไม่มีที่สิ้นสุด

• หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ (2125 - 2225)

• นี้แหละคือการศึกษา อานาปานสติ ภาค 1/3 โดย พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย