อุบายระงับความเศร้าโศก

 ambass99    

 อุบายระงับความเศร้าโศก 
****************

 เรื่องอภัยราชกุมาร

ข้อความเบื้องต้น 

***********

 พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภอภัยราชกุมาร

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ " เป็นต้น. 



 พระกุมารได้รับพระราชทานราชสมบัติ 
*************************

 ได้ยินว่า เมื่ออภัยราชกุมารนั้น ทรงปราบปรามปัจจันตชนบทให้ สงบมาแล้ว

พระเจ้าพิมพิสารผู้พระบิดา ทรงพอพระทัยแล้ว พระราชทาน

หญิงฟ้อนคนหนึ่ง ผู้ฉลาดในการฟ้อนและการขับแล้ว ได้พระราชทาน

ราชสมบัติสิ้น ๗ วัน. อภัยราชกุมารนั้น ไม่เสด็จออกภายนอกพระราช-

มนเฑียรเลย. เสวยสิริแห่งความเป็นพระราชาสิ้น ๗ วัน เสด็จไปสู่ท่า

แม่น้ำในวันที่ ๘ ทรงสรงสนานแล้ว เสด็จเข้าไปสู่พระอุทยาน ประทับ

นั่งทอดพระเนตรการฟ้อนและการขับของหญิงนั้น ดุจสันตติมหาอำมาตย์.

ในขณะนั้นเอง แม้นางนั้นได้ทำกาละ ด้วยอำนาจกองลมกล้าดุจศัสตรา

ดุจหญิงฟ้อนของสันตติมหาอำมาตย์ พระกุมารมีความโศกเกิดขึ้นแล้ว

เพราะกาลกิริยาของหญิงฟ้อนนั้น ทรงดำริว่า " ผู้อื่น เว้นพระศาสดาเสีย

จักไม่อาจเพื่อให้ความโศกนี้ของเราดับได้ " ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้า

พระศาสดากราบทูลว่า

" พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงให้ความโศกของข้าพระองค์ดับเถิด. " 



 อุบายระงับความโศก 
*************

 พระศาสดา ทรงปลอบพระกุมารนั้นแล้วตรัสว่า " กุมาร ก็ประมาณ

แห่งน้ำตาทั้งหลาย ที่เธอร้องไห้อยู่ในกาลแห่งหญิงนี้ตายแล้ว อย่างนี้

นี่แลให้เป็นไปแล้ว ย่อมไม่มีในสงสาร ซึ่งมีที่สุดอันใคร ๆ รู้ไม่ได้ "

ทรงทราบความที่ความโศกเป็นภาพเบาบาง เพราะเทศนานั้นแล้วจึง

ตรัสว่า " กุมาร เธออย่าโศกเลย, ข้อนั้นเป็นฐานะเป็นที่จมลงของชน

พาลทั้งหลาย ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :- 



 " เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ จิตฺตํ ราชรถูปมํ

ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ. 


 " ท่านทั้งหลายจงมาดูโลก(โลกธรรม)นี้ อันตระการ ดุจดังราชรถ,

ที่พวกคนเขลา(คนพาล)หมกมุ่นมัวเมาอยู่, (แต่)ผู้รู้ทั้งหลาย(บัณฑิต)

ย่อมไม่ติดใจข้องเกี่ยวอยู่(กับโลกธรรมนั้น)." 




 อธิบายความ..."พระพุทธพจน์." 
*******************

 บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เอถ ปสฺสถ พระศาสดาตรัสหมาย

เอาพระราชกุมารนั่นเอง, สองบทว่า อิมํ โลกํ ได้แก่ อัตภาพ

กล่าวคือขันธโลกเป็นต้นนี้. บทว่า จิตฺตํ ความว่า อันวิจิตรด้วยเครื่องประดับ

มีเครื่องประดับคือผ้าเป็นต้น ดุจราชรถอันวิจิตรด้วยเครื่องประดับมีเเก้ว

๗ ประการเป็นอาทิ. สองบทว่า ยตฺถ พาลา ความว่า พวกคนเขลา

เท่านั้นหมกอยู่ในอัตภาพใด. บทว่า วิชานตํ ความว่า แต่สำหรับพวก

ผู้รู้คือบัณฑิตทั้งหลาย หามีความข้องในกิเลสเครื่องข้อง คือราคะเป็นต้น

แม้อย่างหนึ่งในอัตภาพนั้นไม่.

ในเวลาจบเทศนา พระราชกุมารตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว,

พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้เเก่ผู้ประชุมกัน ดังนี้แล. 


 เรื่องอภัยราชกุมาร จบ. 
***************

 @ หมายเหตุ:- ที่มาของเรื่อง...ธัมมปทัฏฐกถา โลกวรรควรรณนา๔. เรื่องอภัยราชกุมาร 

****************************************
   




ชัยชนะของผู้รู้ตื่นเบิกบาน รู้จักอนัตตาไม่มีตัวตน
*******************************

จงหมั่นฝึกให้เป็นผู้มีการเสียสละปล่อยวาง รู้จักฝึกให้มีชัยชนะเหนือทุกข์
เหนือกิเลสอยู่รื่อยๆ ด้วยการไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวในตน เพราะถ้าไม่หมั่นกดหัวกู
ตัวกูลงไปบ้างก็จะเดือดร้อนกันจริงๆ

เพราะไม่ว่าใคร ก็มีตัวกูด้วยกันทั้งนี้น แต่ต้องรู้จักข่มขี่ทรมาน ละพยศร้ายของตัวกู

การทำดีทำถูก ให้มันดีมันถูกไปตามธรรมชาติ ไม่ยึดว่าตัวเราดี ตัวเราถูก การยึดถือ
ตัวเราดีนี้ ก่อให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นขึ้นมามากมาย ถ้าตัวดี ตัวเด่นยังตระหง่านอยู่
มันหาเรื่องเก่ง ถ้าไม่ข่มขี่ตัวนี้ลงไปก็ยังเดินไม่ถูกทาง

ที่หลงยึดมั่นถือมั่นเป็นความโง่ ถ้ามีความรู้ถูกต้องขึ้นมา จะเห็นโลกโดยความเป็น
ของว่าง

เรื่องดีๆ ชั่วๆ ตัวเรา ตัวเขา ล้วนเป็นของหลอกๆ ถึงเราจะไปหมายอะไรข้างหน้า หรือ
หมายยึดมั่นในเรื่องอดีตที่ผ่านมาแล้ว และมาจับปรุงในขณะปัจจุบัน ก็เป็นเรื่องลม ๆ
แล้งๆ เหมือนกัน ไม่มีอะไรเป็นตัวจริงเลย ทำไป พูดไป คิดไป ดับเรื่อยไป ไม่มีอะไร
เหลือ ถ้าไปยึดมั่นถือมั่นก็ทุกข์ไปเปล่าๆ

การยกหูชูหาง การต้องการอะไรเพื่อตน ก็เรื่องของกิเลสทั้งนั้น วุ่นวายไปตามอำนาจ
ของความยึดมั่นถือมั่น การทำด้วยความมีตัวตนเข้ามาเกี่ยวข้องมันทั้งเหนื่อย ทั้งหนัก
ทั้งร้อน ทั้งวุ่น

ถ้าทำด้วยจิตที่ว่างจากตัวตน จะได้ความเบา ได้ความสบาย ได้ความเย็น ได้ความสุข
หลายอย่าง เป็นการใช้หนึ้ธรรมชาติไปในตัว และไม่ต้องการอะไรตอบแทน

ถ้ารู้สึกตัวขึ้นมาได้ จิตใจจะเป็นอิสระ ว่างจากสิ่งรบกวนได้เรื่อยๆ แม้จะมีเครื่องกระทบ
ก็ไม่เอาใจใส่ คงเฉยและปล่อยวางออกไปได้ ในที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะ


*********************************



• ปฏิบัติธรรมในกาลวิสาขบูชา (๑๙-๒๓ พ.ค. ๒๕๖๗)

• เล่ห์กลลวงนายพราน (ติปัลลัตถมิคชาดก)

• โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ หนฺติ อญฺเญว อตฺตานํ คนมีปัญญาทรามย่อมฆ่าตนเสียเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะอยากได้โภคท

• ความฝัน ๕ เรื่องของพระบรมโพธิสัตว์

• -:- มาเตรียมเสบียง และที่พักข้างหน้ากันเถอะค่ะ -:-

• แก้ที่เขาไม่ได้ก็จริง แต่เราแก้ที่ตัวเราได้

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย