ความรัก มักเกิดขึ้นได้กับคนทุกชนชั้นวรรณะ ปราศจากสิ่งใดใดมาปิดกั้นความรู้สึกแห่งรักนั้นได้ ท่านผู้เจริญทั้งในทางโลกและทางธรรมทั้งหลาย ช่วยไขข้อข้องใจให้กับผู้เขลาปัญญาเช่นข้าพเจ้านี้ด้วยเถิด ว่าเพราะเหตุใด สมณะผู้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเสมือนต้นกล้าแห่งพระพุทธศาสนานั้น ใยท่านยังปล่อยความรู้สึกรักนั้นให้เข้าครอบงำและผูกมัดจิตใจตัวเอง และจะผิดหรือถูกอย่างไร มีสิ่งใดเป้นเครื่องตัดสิน...นั้นหรือ
ขออภัยเป็นทาน หากความขุ่นข้องใจที่กล่าวมาข้างต้น ขัดต่อความรู้สึกของบางท่าน ข้าพเจ้ามิมีเจตนา หากแต่ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
สมณะ มี 4 คือ
1. โสดาบัน
2. สกทาคามี
3. อนาคามี
4. อรหันต์
นี้เรียกว่า "สมณะ"
ปุถุชน หรือ พระปุถุชน ไม่เรียกว่าเป็น สมณะ ครับ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะโทสะโมหะอันใด
อันนี้เราเรียกว่าประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
...ความรักปนกิเลสตัณหา อย่างที่ท่านว่ามา ไม่มีทางเข้าครอบงำผู้เป็นสมณะหรอกครับ
ผู้สำเร็จชั้นพระโสดา ท่านกล่าวไว้ว่า ละสังโยชน์ได้สาม คือ สักกายทิฏฐิหนึ่ง วิจิกิจฉาหนึ่ง สีลัพพตปรามาสหนึ่ง สักกายะทิฏฐิที่แยกออกตามอาการของขันธ์มี่ยี่สิบ โดยตั้งขันธ์ห้าแต่ละขันธ์ ๆ เป็นหลักของอากการนั้น ๆ ดังนี้ ความเห็นกายเป็นเรา เห็นเราเป็นกาย คือเห็นรูปกายของเรานี้เป็นเรา เห็นเราเป็นรูปกายอันนี้ เห็นรูปกายอันนี้มีในเรา เห็นเรามีในรูปกายอันนี้ รวมเป็นสี่ เห็นเวทนาเป็นเรา เห็นเราเป็นเวทนา เห็นเวทนามีในเรา เห็นเรามีในเวทนา นี่ก็รวมเป็นสี่เหมือนกันกับกองรูป แม้สัญญาสังขารวิญญาณก็มีนัยสี่ อย่างเดียวกัน โปรดเทียบกันตามวิธีที่กล่าวมา คือขันธ์ห้าแต่ละขันธ์มีนัยเป็นสี่ สี่ ห้าครั้งเป็นยี่สิบ เป็น สักกายทิฏฐิยี่สิบ มีตามท่านกล่าวไว้ว่าละได้โดยเด็ดขาด แต่ทางด้านปฏิบัติ รู้สึกจะคลาดเคลื่อนไปบ้าง เฉพาะสักกายทิฏฐิยี่สิบ นอกนั้นไม่มีข้อข้องใจในด้านปฏิบัติ จึงเรียนตามความเห็นแทรกไว้บ้าง เมื่อเห็นว่าไม่ใช่ทางปลดเปลื้องตามนัยของสวากขาตธรรมแล้วก็กรุณาผ่านไป อย่าได้ถือเป็นอารมณ์ข้อข้องใจ
ผู้ละสักกายทิฏฐิยี่สิบได้เด็ดขาดนั้น เมื่อสรุปแล้วก็พอได้ความว่า ผู้มิใช่เห็นขันธ์ห้าเป็นเรา เห็นเราเป็นขันธ์ห้า เห็นขันธ์ห้ามีในเรา เห็นเรามีในขันธ์ห้า คิดว่าคงเป็นบุคคลประเภทไม่ควรแสวงหาครอบครัว ผัว-เมีย เพราะการมีครอบครัวเป็นเรื่องของขันธ์ห้า ซึ่งเป็นรวงรังของสักกายทิฏฐิที่ยังละไม่ขาดอยู่โดยดี ส่วนผู้ละสักกายทิฏฐิได้โดยเด็ดขาดแล้ว รูปกายก็หมดความหมายในทางกามารมณ์ เวทนาไม่เสวยกามารมณ์ สัญญาไม่จำหมายเพื่อกามารมณ์ สังขารไม่คิดปรุงแต่งเพื่อกามารมณ์ วิญญาณไม่รับทราบเพื่อกามารมณ์ ขันธ์ทั้งห้าของผู้นั้นไม่เป็นไปเพื่อกามารมณ์
ผู้ละสักกายทิฏฐิได้โดยเด็ดขาด คิดว่าเป็นเรื่องของพระอนาคามีบุคคลเพราะเป็นผู้หมดความเยื่อใยในทาง กามารมณ์ดังกล่าวแล้ว ส่วนพระโสดาบันบุคคลเทียบกันได้กับโยคาวจร ภาวนาพิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายชัดเจนด้วยปัญญาในขณะนั้นแล้ว จิตปล่อยวางจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หยั่งเข้าสู่ความสงบหมดจดโดยเฉพาะ ไม่มีความสัมพันธ์กับขันธ์ทั้งหลายเลย และขณะนั้นขันธ์ทั้งห้าไม่ทำงานประสานกับจิต คือ ต่างอันต่างอยู่ จิตได้ทรงตัวอยู่ในความสงบสุขชั่วระยะกาล แล้วจึงถอนขึ้นมา พอจิตถอนขึ้นมาจากที่นั่นแล้ว ขันธ์กับจิตก็เข้าประสานกันตามเดิม แต่หลักความเชื่อมั่นว่าจิตได้หยั่งลงถึงแดนแห่งความสงบอย่างเต็มที่หนึ่ง ขันธ์ทั้งห้าคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ได้แยกจากจิตโดยเด็ดขาดในเวลานั้นหนึ่ง ขณะจิตที่ทรงตัวอยู่ในความสงบเป็นจิตที่อัศจรรย์ยิ่งหนึ่ง ความเชื่อนี้ไม่มีวันถอนตลอดกาล เพราะเป็นความเชื่อประเภทอจลศรัทธา และเป็นความเชื่อมั่นประจำนิสัยของโยคาวจรผู้นั้นจากประสบการณ์นั้นแล้ว แต่ยังไม่สามารถทำใจให้ขาดจากความซึมซาบของขันธ์ได้โดยสิ้นเชิงเท่านั้น (คือพระโสดาบันบุคคลท่านละสักกายทิฏฐิได้ชั่วขณะเท่านั้น ไม่ได้ละสักกายทิฏฐิได้โดยเด็ดขาดดังพระอนาคามีบุคลล) ดังนั้นการที่พระโสดาบันบุคคล มีครอบครัว ผัว-เมี่ย ก็ไม่ขัดข้องต่อประเพณีของผู้ละสักกายทิฏฐิยี่สิบอันเป็นรวงรังของกามารมณ์ ยังไม่ได้เด็ดขาด สักกายทิฏฐิยี่สิบก็ไม่เป็นอุปสรรคแก่พระโสดาบันในทางครอบครัวเพราะเป็นคนละ ชั้น
วิจิกิจฉา คือความสงสัย โดยสงสัยว่า ตายแล้วเกิด หรือตายแล้วสูญ ถ้าตายแล้วเกิด แต่จะเกิดในภพชาติที่เคยเกิดหรือไม่ หรือจะเกิดเป็นอะไรในภพต่อไป คนตายแล้วเปลี่ยภพชาติเกิดเป็นสัตว์ หรือสัตว์ตายแล้วเปลี่ยนภพชาติเกิดเป็นคนได้หรือไม่ คนตายสัตว์ตายไปอยู่ที่ไหนกัน กรรมดีกรรมชั่วมีจริงไหม และที่ทำลงไปแล้วให้ผลหรือไม่ ภพหน้าชาติหน้ามีจริงไหม นรกสวรรค์มีจริงไหม มรรคผลนิพพานมีจริงไหม ทั้งนี้อยู่ในข่ายแห่งความสงสัยทั้งนั้น พระโสดาบันบุคคล คิดว่าท่านละได้เพราะท่านรู้เห็นหลักความจริงประจำใจ ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาทั้งมวลที่กล่าวมา และยังเชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างฝังใจแบบถอนไม่ขึ้น ทั้งเชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าและพระธรรมว่าเป็นสวากขาตธรรมและเป็น นิยยานิกธรรม สามารถนำผู้ปฏิบัติตามให้ถึงความพ้นทุกข์ได้โดยลำดับ อย่างฝังใจอีกเช่นเดียวกัน
สีลัพพตปรามาส พระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน แม้จะเป็นฆราวาส ก็เป็นผู้แน่วแัน่ในศีลที่ตนรักษาอยู่ ไม่รับศีลแล้วรับศีลเล่าเหมือนสามัญชน เพราะท่านเชื่อเจตนาของตนและรักษาศีลด้วยความระมัดระวัง ไม่ยอมให้ศีลขาดด่างพร้อยด้วยเจตนาล่วงเกิน แม้จะเป็นผู้นำของหมู่ชน(ในการรับศีลจากพระ) ก็เพียงรับเป็นจารีตของผู้เป็นหัวหน้าเท่านั้น แต่เจตนาจะรับเพราะเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีศีลขาดหรือด่างพร้อยนั้น ไม่มีในพระโสดาบันบุคคลเลย
สมณะผู้ทรงปัญญาแต่เหตุไฉนจึงได้อ่อนแอต่อ"ความรัก"
อารมณ์...เป็นเรื่องของธรรมชาติ....เข้าสู่ใจใครห็เป็นเช่นนั้นเอง....
แม้เป็นพระอริยะบุคคลก็ไม่ยกเว้น...เพียงแต่ท่านสามารถกำจัดได้้รวดเร็ว
ตามภูมิธรรมของแต่ละท่าน...เช่น พระอรหันต์ ขจัดได้รวดเร็วปานสายฟ้าแลบ...
ไม่มีอะไรมากไปกว่า การฝึก ครับ
ได้ยินว่า ความรักเกิดด้วยเหตุสองประการคือ เคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อน และ เกื้อกูลกันในชาติปัจจุบัน
ตามความหมายเช่นนั้น ความรักเป็นบ่วง แต่ก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ไม่สมควร ความรักอาจจะเป็นสิ่งที่สมควรจะมีก็ได้ครับ