Toggle navigation
พระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ปางพระพุทธรูป
ภาพพระพุทธประวัติ
ทศชาติชาดก
ชาดก ๕๐๐ ชาติ
พระธรรม
พุทธวจนในธรรมบท
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
หนังสือธรรมะ
คลังแสงแห่งธรรม
มิลินทปัญหา
พุทธศาสนสุภาษิต ๖๒๑
พระสงฆ์
พระพุทธสาวก
พระสังฆราชไทย
ประวัติพระสงฆ์ไทย
พุทธบริษัท ๔
ปริวาสกรรม
ศาสนาคืออะไร
ลักษณะเด่นของพุทธศาสนา
นิกายสำคัญของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาในไทย
การเผยแผ่ศาสนา
ธรรมศึกษา
ศีล
ทาน
สมาธิ
วิปัสสนา
บทสวดมนต์
เสียงบทสวดมนต์
ธรรมะบรรยาย
ธรรมะปฏิบัติ
กรรม
แนะนำสถานปฏิบัติธรรม
คอร์สปฏิบัติธรรม
กรรมฐานประจำวันเกิด
การปฏิบัติธรรม
เสียงธรรม
ธรรมะทั่วไป
คติธรรม
คติธรรม
เพลงธรรมะ,ฝึกสมาธิ,ฟื้นฟูร่างกาย
สถานีเพลงธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
นิทานธรรมะบันเทิง
กวีธรรมะ
ละคร/นิทานธรรมะ
ธรรมะจากหลวงพ่อ
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธสุภาษิต
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
พุทธวจนในธรรมบท
พระคาถา
ศาสนสถาน
วัดประจำรัชกาล
พระอารามหลวง
ทำเนียบวัดไทย
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
วัดไทยในต่างประเทศ
ศ า ส น วั ต ถุ
พระพุทธรูปสำคัญของไทย
พระพุทธรูปประจำวันเกิด
พระพุทธรูปประจำเดือนเกิด
พระพุทธรูปประจำปีเกิด
ศาสนพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
ศาสนพิธี (สงฆ์)
ปริวาสกรรม
อุปสมบทพิธี ( การบวชนาค )
การบวชชี
การถืออุโบสถศีล
ศาสนพิธีของชาวพุทธ
งานบุญประจำปี
ประเพณี
ประเพณีสงกรานต์
ประเพณีสารทไทย
ประเพณีลอยกระทง
งานบุญประจำปี
เทศกาลวัฒนธรรมประเพณีทั่วไทย
ฮีต ๑๒ คอง ๑๔
บอกบุญ
บอกบุญ
ข่าวสาร
ธรรมะในสวน
มูลนิธิรัศมีแห่งธรรม
เทศกาลงานวัดช่วยชาติ
งานบุญประจำปี
มุมสมาชิก
สมัครสมาชิกเว็บธรรมะไทย
เข้าสู่ระบบ (login)
เกี่ยวกับธรรมะไทย
ติดต่อธรรมะไทย
รับบริจาค/Donation
English
หน้าแรก
ประชาสัมพันธ์-ข่าวสารทั่วไป
อานาปานสติ : วิถีแห่งความสุข
อานาปานสติ : วิถีแห่งความสุข
แชร์
หัวหอม
26 พ.ค. 2554
อานาปานสติ : วิถีแห่งความสุข
อานะ (อัสสาสะ) คือ ลมหายใจเข้า
อาปานะ (ปัสสาสะ) คือ ลมหายใจออก
อานะ + อาปานะ = อานาปานะ คือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
สติ คือ ความระลึกรู้ การกำหนดรู้ในปัจจุบัน ไม่ใช่การคิด จำเอา
อานาปานสติ คือ การกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ในปัจจุบันแต่ละขณะ
ถ้าเราสามารถมีสติระลึกรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าในแต่ละขณะ หมายความว่าเราสามารถอยู่กับปัจจุบันแต่ละขณะได้
เราจะไม่ติดอารมณ์ เราจะไม่เก็บความรู้สึกเก่าๆ ที่เคยสร้างความขุ่นเคืองเศร้าหมองแก่จิตใจของเราเอาไว้ รวมทั้งไม่เก็บความจำที่เคยทำให้เรามีความสุขจนเราไม่อยากพลัดพรากจากความสุขนั้น
พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า
การระลึกรู้ลมหายใจเข้า ออกนี้มีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้บำเพ็ญอานาปานสติมาหลายภพหลายชาติ ในพระชาติสุดท้าย เมื่อครั้งที่พระองค์ยังทรงเป็นพระกุมาร ประทับใต้ร่มต้นหว้า ในคราวที่พระพุทธบิดาทรงประกอบพิธีแรกนาขวัญ ทรงกำหนดลมหายใจออก ลมหายใจเขา และได้บรรลุปฐมฌานในครั้งนั้น
ในวันที่ทรงตรัสรู้เป็นพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงประทับใต้ร่มศรีมหาโพธิ์ ก็ทรงอาศัยอานาปานสติเป็นพื้นฐาน
หลังจากตรัสรู้ก็ทรงใช้อานาปานสติเป็นวิหารธรรม ได้ทรงสอนลูกศิษย์ว่า ถ้ามีใครถามว่า พระสมณโคดมอยู่อย่างไรในพรรษา ให้ตอบว่า ท่านอยู่ด้วยอานาปานสติเป็นส่วนใหญ่
นิวรณ์5 : คบคนพาล พาลพาใจไม่สงบ
เราพยายามสร้างความพอใจที่จะอยู่กับกาย อยู่กับลมหายใจนี้ พยายามสำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และพยายามไม่ให้จิตนี้คิดออกไปภายนอก คือไม่ส่งจิตออกนอก
เมื่อใดก็ตามที่เราเกิดความรู้สึกไม่สงบ แสดงว่ามีเพื่อนเก่าแวะเข้ามาเยี่ยมเยียนเราแล้ว เพื่อนกลุ่มนี้มีชื่อว่า นิวรณ์5 ซึ่งก็คือความ ไม่สงบ คำเดียวนี่แหละ
นิวรณ์5 มีอะไรบ้าง
1.กามฉันทะ คือ ความชอบใจ พอใจ รักใคร่ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
2.พยาบาท คือ ความคิดที่จะทะเลาะกัน ความขัดเคืองแค้นใจ ไม่ชอบสิ่งนี้ ไม่ชอบคนนี้ ความคิดปองร้ายอาฆาตพยาบาท
3.ถีนะมิทธะ คือ ความหดหู่ เซื่องซึม ง่วงเหงาหาวนอน ความขี้เกียจ
4.อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความคิดฟุ้งซ่าน ความรำคาญใจ คิดไปสารพัดอย่าง
5.วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย จะทำอะไรก็ทำไม่ได้เพราะทำไปได้นิดหน่อยก็เกิดความสงสัยขึ้นมา
เจริญอานาปานสติ : การเลือกคบกัลยาณมิตร ทำให้ไม่ติดอารมณ์
เมื่อเราได้ยินได้ฟังธรรมแล้ว ได้รู้จักเพื่อนใหม่ เป็นกัลยาณมิตร เป็นเพื่อนที่ดีจริงๆ คือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของตัวเราเองนี่แหละ
ลมหายใจอยู่กับเราตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้าน อยู่ที่ทำงาน หรือไปเที่ยวที่ไหน ขึ้นเขาหรืออยู่ในถ้ำคนเดียว ตราบใดที่เรายังมีชีวิตอยู่กัลยาณมิตรท่านนี้อญู่กับเราตลอด แต่เราจะคบไม่คบขึ้นกับเราเอง
ในชีวิตประจำวันของเรา เมื่อทำงานเราก็ทำงานตามปกติ เราต้องพูด ต้องทำงาน ต้องสั่งงาน ลักษณะสับสนวุ่นวาย ต้องรีบทำงาน ทำอะไรหลายๆอย่าง ในกรณีเช่นนั้นก็ไม่ต้องนั่งกำหนดลมหายใจ ให้ตั้งใจทำในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ ทำงานป็นปกติ ให้จิตอยู่กับปัจจุบัน อดีตก็ไม่สำคัญอนาคตก็ไม่ต้องห่วง ปัจจุบันนี่สำคัญ หลักอานาปานสติคือหลักปัจจุบันธรรม
ถ้าอยู่ด้วยอานาปานสติแล้วอย่างน้อยก็รักษาสุขภาพใจได้ดี สุขภาพกายก็ช่วยได้มาก แต่อย่างน้อยที่สุดก็รักษาสุขภาพใจตลอดไป ถึงแม้จะตายก็ตายด้วยใจดี นี่เป็นอานิสงส์ของการเจริญอานาปานสติ มีประโยชน์ขณะที่ตาย มีประโยชน์ต่อชาติหน้า หลายภพหลายชาติ
หายใจเข้าลึก ลึกกก หายใจออกยาว ยาววว หายใจเข้าสบาย หายใจออกสบาย กลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น ให้ร่างกายได้รับโอโซนอย่างเต็มที่ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สมองแจ่มใส ให้ลมหายใจเข้าและออกมีความต่อเนื่องกัน ติดต่อกัน ค่อยๆปรับปรุงลมหายใจให้เข้าออกสบายๆเป็นธรรมชาติ
อกขาตาโร ตถาคตา
พระตถาคต เป็นแต่เพียงผู้บอก ผู้ชี้แนวทาง
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
หมายความว่า ผู้ปฏิบัติจะเป็นผู้รู้ เป็นผู้ได้ลิ้มรสชาติของการปฏิบัติเอง เราชิมรส สัมผัสพระธรรมแทนกันไม่ได้ ไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ เช่น ถ้าเราได้ลิ้มรสผลไม้ที่มาจากต่างประเทศ อร่อยที่สุด เราจะอธิบายให้เพื่อนฟัง เราก็ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร ถึงจะอธิบายเท่าไร คนฟังก็เข้าใจไม่ได้ จึงต้องต่างคนต่างปฏิบัติ ต่างคนต่างสัมผัสด้วยตัวเอง จึงจะรู้ว่า อ้อ เช่นนี้เอง จึงจะหายสงสัยได้
คัดลอกจากบางส่วนของหนังสือ "อานาปานสติ : วิถีแห่งความสุข" พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
การเจริญอานาปานุสติ
ที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก เป็นไฉน ?? .
อานาปานสติที่ถูกต้องเจริญดังนี้เจ้าค่ะ
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ??
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
ธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก
ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก
ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้
ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ??
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด
เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้
ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้
ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก
ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก
ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น
ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้
ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว
ไม่เผลอเรอในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง
ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่
ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
เมื่อเธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่
ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง
ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้นวิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
ปีติปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว
ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ
ระงับได้ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุขย่อมตั้งมั่น
ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี
ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้
ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย
..ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
... ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์
... ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.
4,124
แสดงความคิดเห็น
• อามิสทาน
• สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ ความดี คนชั่วทำได้ยาก
• พัฒนาจิตตามหลักไตรสิกขา
• ขอเชิญร่วมบุญสร้างอุโบสถเจดีย์วัดป่าประเสริฐอุดมธรรมมาราม (สาขาหลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย) บ้านท่าสาย ต.ท่าสาย อ.เมือง จ.เชียงราย
• สรุปเรื่องธรรมทาน
• ระฆังธรรม
RELATED STORIES
ขอความช่วยเหลือพระพิการ
วันรุ่น
ศูนย์เผยแผ่ธรรมะออนไลน์กัณฑกะ ตอนความกตัญญู
รับรองได้ว่าเป็น พ ร ะ อ น า ค า มี แน่นอน
เหรียญที่ระลึก156ปีชาตกาล หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร รุ่นเดิมบันดาลทรัพย์ เพื่อบูรณะศาลาการเปรียญวัดหนองหลวง
วิบากกรรม จาก อาชีพ ปานาติบาต เรื่องจริง ที่สะท้อน ภาพสะเทือน ใจ หดหู่ และ น่าสลด
ทัวร์ ดินแดนต้นกำเนิดพุทธศาสนา
วันมาฆบูชา วันแห่งความรัก
Go To Top
หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
มุมสมาชิกธรรมะไทย
Donation
เทศกาลงานวัดช่วยชาติ
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
ข่าวธรรมะ
การเผยแผ่ศาสนา
ประเพณีไทย
พุทธศาสนสุภาษิต ๖๒๑
บอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
คอร์สปฏิบัติธรรม
ธรรมะจากหลวงพ่อ
เว็บบอร์ด
ธรรมะกับเยาวชน
นิทานธรรมะบันเทิง
ธรรมะบรรยาย
บทความธรรมะ
กวีธรรมะ
คติธรรม คำคม โดนใจ
กรรม
ศีล
ทาน
สมาธิ
วิปัสสนา
ปริวาสกรรม
ฟังสวดมนต์
พระพุทธศาสนา
พระไตรปิฏก
หัวข้อธรรม
พจนานุกรมพุทธศาสน์
มิลินทปัญหา
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
สถานีเพลงธรรมะ
MV เพลงธรรมะ
ธรรมะปฏิบัติ
คลังแสงแห่งธรรม
คลังหนังสือธรรมะ
บทสวดมนต์
หลักธรรมนำสุขฯ
กรรมฐานประจำวันเกิด
ฮีต ๑๒ คอง ๑๔
งานบุญประจำปี
ประเพณีทั่วไทย
พระพุทธเจ้า
ภาพพระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
ปางพระพุทธรูป
พระพุทธรูปสำคัญ
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
พระอารามหลวง
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
Eng
ธรรมะไทย