มวยไทย ประเพณีวัฒนธรรมไทย

 lovethailand2019    29 ส.ค. 2566

หากกล่าวถึง "มวยไทย" เชื่อว่าคนไทยต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นศิลปะการต่อสู้อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติมาอย่างยาวนาน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติไทยปรากฏศิลปะการต่อสู้ชนิดนี้ทั่วทุกภูมิภาคและมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป อาทิ มวยท่เสาของภาคเหนือ มวยไชยาของภาคใต้มวยโคราชของภาคอีสาน รวมถึงมวยลพบุรีและมวยพระนครของภาคกลาง จนมีคำกล่าวว่า "หมัดหนักโคราชฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา ไวกว่าท่าเสา"

ท่าของการใช้ศิลปะมวยไทยที่สำคัญ เรียกว่า "แม่ไม้มวยไทย" จัดว่าเป็นท่าพื้นฐานของการชกมวยไทย ซึ่งผู้ฝึกมวยไทยต้องเรียนรู้และต้องปฏิบัติให้ได้ก่อนขึ้นสู่สังเวียน ซึ่งบูรพาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมวยไทย ได้จัดแบ่งแม่ไม้มวยไทยออกเป็น 15 ไม้ ได้แก่ สลับฟันปลา ปักษาแหวกรัง ชวาซัดหอก อิเหนาแทงกริชยอเขาพระสุเมรุ ตาเถรค้ำฝึก มอญยันหลัก ปีกลูกทอย จระเข้ฟาดหาง หักงวงไอยรา นาคาบิดหาง วิรุฬหกกลับดับชวาลา ขุนยักษ์จับลิง และหักคอเอราวัณ นอกจากนั้นยังมีท่ของการใช้ศิลปะวยไทยที่แยกย่อยออกมาจากแม่ไม้ เรียกว่า "ลูกไม้มวยไทย" ซึ่งผู้ฝึกฝนจะต้องผ่านการฝึกท่าแม่ไม้มวยไทยให้ได้เสียก่อน แบ่งออกเป็น 15 ไม้ เช่น เอราวัณเสยงา บาทาลูบพักตร์ เป็นต้น

นอกจากนี้สิ่งที่ขาดไม่ได้ของการชกมวยไทย นั่นก็คือ "การร่ายรำไหว้ครูมวยไทย" ซึ่งถือเป็นประเพณีที่สำคัญของมวยไทย เป็นพิธีการอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่จะได้รับการฝึกฝนให้เป็นนักมวยจะต้องมีการขึ้นครูเสียก่อน เปรียบเสมือนการมอบตนเองให้อยู่ภายใต้การอบรมสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ฝากเนื้อฝากตัวกับครูต้องเคารพและเทิดทูนครู เพื่อศึกษาวิทยาการต่าง ๆ ให้เป็นนักมวยที่หาญกล้า

การชกมวยไทยที่ดี มีหลักสำคัญ คือ มีการป้องกัน ด้วยการยืน มั่นคง เข้มแข็ง สูงเด่น การตั้งแขนป้องกัน (การการ์ดมวย) และการเก็บคาง เปรียบเสมือนป้อมปราการ เท้าหน้า จรดชี้ไปข้างหน้าวางน้ำหนักครึ่งฝ่าเท้า เท้าหลัง วางทแยงเฉียงกว้างกว่าหัวไหล่วางน้ำหนักเศษหนึ่งส่วนสี่ไว้ที่อุ้งนิ้วหัวแม่โป้ง ขยับก้าวด้วยการลากเท้าหลังตามพร้อมที่จะหลอกล่อ ขยับเข้า ออก ตั้งรับและโจมตีตอบโต้




 4,099 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย