ยมบาล ท่านจะถามหรือเปล่า???

 guggig    1 ต.ค. 2555

ยมบาล

จริงหรือเปล่าค่ะ ที่ว่ากันว่า เมื่อเราตายไป
หากเจอกับ"ยมบาล"

ท่านจะถามเราว่าเคยทำความดีอะไร?? เคยทำชั่วอะไร??

แล้วถ้าใครทำชั่ว ท่านก็ส่งไปใช้เวรกรรม
แต่ถ้าใครทำดี ท่านก็ให้ไปตามกรรมดี

แล้วจะผิดไหมค่ะ ถ้าหนูจะเขียนบรรทึกความดีส่วนตัว
ว่าเราเคยทำบุญทำทาน อะไรมาบ้าง

เผื่อท่านถามเราจะได้ตอบได้....



.... หรือมันเป็นความคิดที่ผิด โปรดช่วยชี้แนะด้วยค่ะ


ที่มา : แม่ถามว่า ถ้ายมบาลถามว่าเคยทำดีอะไรบ้าง??


อยากรู้หมือนกันคับ


ขออภัยคุณเจ้าของกระทู้ด้วยครับ จำไม่ได้แล้วจริงๆ ตายและเกิดใหม่มานานแล้ว

แต่มันก็แปลกๆนะ ลองคิดดูซิครับ ยมบาลเป็นเทพในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา(ชั้นต่ำสุด)
แต่สามารถตัดสินให้ใครไปสู่สวรรค์ชั้นสูงๆกว่า เช่น ดาวดึงส์ ยามา ดุสิตา นิมานนรดี ปรนิมิตวสวัตตีได้ ไปพรหมโลก 16 ชั้นก็ได้ ไปอรูปพรหม 4 ชั้นก็ได้ เหมือนผู้ใหญ่บ้านตัดสินว่าคุณควรจะเป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ (และสิทธิ์ขาดอยู่ที่ผู้ใหญ่บ้านท่านนี้แต่เพียงผู้เดียว ไม่ต้องลงประชา เอ๊ย นรกมติ) แต่ที่เรียนมาเค้าบอกว่าเมื่อจุติจิตเกิดขึ้นแล้วปฏิสนธิจิตจะเกิดต่อทันทีไม่มีระหว่างคั่น ถ้าเป็นเทพชั้นต่ำ หรือ เปรต ก็จะจำและยึดติดในอัตภาพเดิมได้ เรื่องที่คุณถามก็มีเหมือนกัน ในรายที่เกือบๆน่ะ ท่านเลยเตือนความจำให้ประเภทเคยเห็นคน เกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือไม่ เห็นแล้วคิดยังไงรู้สึกยังไง(ไม่ควรตอบว่ารู้สึกดีหรือเฉยๆนอกจากสิ่งที่เป็นความจริง) สรุปคือ ตอบตามแบบที่เคยอ่านมาได้แต่จริงๆไม่รู้หรอกเรื่องพวกนี้เป็นวิสัยพระพุทธญาณ แต่พระองค์ได้ทรงทราบ ทรงทอดพระเนตมาแล้วทรงสอนให้ทำความดีไม่เบียดเบียนชีวิตอื่นทั้งทางกาย วาจา ใจ คำว่าชีวิตก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่คน หมู แมว ยุง หอยแครง ฯลฯ ทั้งนั้นเลย ถ้าทั้งชีวิตคุณทำแต่ความดี ทำในสิ่งที่พระพุทธองค์สอน คุณสูงกว่าพญายมอยู่แล้วถ้าท่านมาถามคุณอาจไม่พอใจก็ได้เพราะ นรกไม่ใช่สถานที่สำหรับคนอย่างคุณเลย มีแต่สวรรค์ชั้นไหนเท่านั้นเอง

ส่วนการเขียนบันทึกความดีความชั่ว จะทำก็ได้ แล้วอ่านสิ่งที่เป็นความดีบ่อยๆอ่านแล้วก็ชื่นใจ นึกถึงทีไรก็ได้บุญเพิ่ม ความชั่วนั้นเขียนไว้เตือนความจำครั้งเดียวพอว่าคุณจะไม่กลับไปทำสิ่งนั้นอีกหรือจะปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น อย่าอ่านบ่อย เพราะหากคิดบ่อยเรื่องมันจะตามหลอนแล้วจะเสมือนว่าเราได้ย้อนกลับไปทำบาปนั้นๆอีกทั้งๆที่ไม่ได้ทำ(เหมือนไปอนุโมทนาบาปก็ได้บาป) ถ้าเป็นอนุโมทนาบุญเห็นคนทำบุญแล้วจิตใจยินดีไม่มัวอิจฉาว่าทำไมเราไม่รวยหรือมีโอกาสทำบุญเช่นนี้บ้าง ก็จะได้บุญเช่นกันแม้ไม่ได้ทำเช่นนั้นเลย จึงเป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ10
ข้ออนุโมทนามัยไงครับ เรื่องมันอยู่ที่จิตใจน่ะครับ



ขอขยายความนิดนึงนะครับ จุติจิตเกิดหมายถึงตายน่ะครับ
ถ้าปฏิสนธิจิตเกิดก็หมายถึงเกิดใหม่แล้ว

ทั้งหมดจึงหมายถึงตายแล้วเกิดเลยน่ะครับ

รายละเอียดลองหาดูในพระอภิธรรมนะครับ อย่าคิดว่ายากเลย เพราะถ้าทำในสิ่งที่ยากไม่ได้ ฝืนกระแสไม่อยู่ก็รักษาศีลได้ยากและจะมีอบายภูมิเป็นที่ไปอ่ะครับ ยอมเสียเวลาแต่คุ้มค่าไปทุกภพทุกชาตินะครับ กับความสุขทางสายตา(ดูเว็บอื่น) เบื้องหน้าแค่ชั่วครู่อาจนำความเสียใจมาให้อย่างใหญ่หลวงเมื่อเวลาผ่านไปนะครับ อีกอย่าง ผมว่ากระแสสังคมในทุกวันนี้เอื้อให้คนรักษาศีลได้ยาก ถ้าฝืนความต้องการเล็กๆน้อยๆเพียงชั่วครู่ของตัวเองไม่ได้ก็ไหลตามน้ำออกทะเลไปแบบไม่มีทิศทางหางเสือในชีวิตแน่เลย


ท้าวพญายมราชท่านเป็นเวมานิกเปรต บางขณะท่านก็เสวยสุขวิมาน บางขณะก็ต้องเสวยวิบากประสบเห็นสิ่งที่เป็นอนิษฐารมย์คือสิ่งที่ไม่น่าพอใจ เช่น เห็นภาพสัตว์นรก ท่านไม่ได้มีหน้าที่ตัดสินใครไปนรกไปสวรรค์ แต่ท่านมีจิตกรุณาตักเตือนผู้ที่กำลังจะตกนรกว่า เมื่อตอนเป็นมนุษย์เคยเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตายบ้างไหม ท่านเคยระลึกบุญกุศลใดที่เคยทำไว้ในสมัยนั้นบ้างหรือไม่ ถ้าสัตว์นรกตนใดระลึกกุศลที่ตนทำไว้ในสมัยนั้นๆได้ กุศลจิตของผู้นั้นนั่นเองย่อมผ่องใสและมีสุคติเป็นที่หมาย ถ้าระลึกไม่ได้ก็เป็นเพราะสัตว์นั้นมืดบอดไม่อาจสามารถกำหนดระลึกได้ด้วยเพราะไม่ได้เจริญกุศลบ่อยๆให้เป็นอจินนกรรม เขาย่อมไปนรกเพราะกรรมของเขาเอง บุคคลจะไปนรกหรือไปสวรรค์ท้าวพญายมราชไม่ได้มีหน้าที่ตัดสิน แต่อยู่ที่กรรมดีกรรมชั่วของผู้นั่นเอง ท้าวพญายมราชกรุณาหวังดีเตือนสติให้สัตว์นั้นระลึกกุศล หน้าที่การระลึกได้หรือไม่ได้ก็อยู่ที่คนนั้นๆ...ส่วนผู้ที่ไปพบท้าวพญายมราชแท้จริงคือคนที่ทำบุญและทำบาปใกล้เคียงกัน คนที่ทำดีมากๆจิตก่อนใกล้ตายเป็นกุศลอยู่แล้วโดยมากไปเกิดในสวรรค์ทันทีไม่ต้องมาพบท้าวพญายมราช หรือคนที่ทำกรรมชั่วมากๆบางทีก็ตกนรกทันทีโดยไม่ต้องพบท้าวพญายมราชก็มีมาก


อนุโมทนาสาธุครับ คุณศร

ขอนำความจาก ปรมัตถโชติกะ
มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา
วิถีมุตตสังคหะ

มาแสดงประกอบไว้นะครับ

-----------------------------------------------

ยมราชและนิรยบาล

ยมราชนั้น เป็นเจ้าแห่งเวมานิกเปรต บางทีก็ได้เสวยความสุขคือได้อยู่ในวิมาน มีต้นกัลปพฤกษ์ มีสวนทิพย์ มีนางฟ้าฟ้อนรำขับร้องเป็นบริวาร บางทีก็ได้เสวยความทุกข์ที่เป็นผลของกรรมอันมีอยู่ในนรกนั้นเอง

ดังสาธบาลีมัมาในอุปริปัณณาสอัฏฐกถา และติกังคุตตรอัฏฐกถาว่า ยมราชานาม เวมานิกเปตราชา เอกสฺมึ กาเล ทิพฺพวิมานทิพฺพกปฺปรุกฺขทิพฺพอุยฺยานทิพฺพนาฏกทิพฺพสมฺปตฺตึ อนุภวติ เอกสฺมึ กาเล กมฺมวิปํ.

คำว่า ผลของกรรมนั้น คือ ผลของอกุศลกรรมนั้นเอง ความพิสดารมีว่า เจ้าแห่งเวมานิกเปรตนี้ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ได้เป็นผู้กระทำอกุศลกรรมบ้าง กุศลกรรมบ้าง ครั้นตายก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นจาตุมหาราชืกา เป็นสุคติอเหตุกปฏิสนธิก็มีเป็นทุเหตุกปฏิสนธิก็มี และเป็นตเหตุกปฏิสนธิก็มี เช่นดัยวกันกับวินิปาติกะเทวดา

(หน้าที่ 9)

ทั้งหลาย ทั้งนี้ก็เพราะด้วยอำนาจของกุศลกรรม เจ้าแห่งเวมานิกเปรตเหล่านี้จึงมีโอกาสที่จะได้มรรคผล ส่วนในปวัตติกาลนั้น บางคราวก็ได้เสวยผลของกุศล บางคราวก็ได้เสวยผลของอกุศล ตามสมควรแห่งกรรมที่ตนได้กระทำไว้ เจ้าแห่งเวมานิกเปรตองค์ใดได้อริยมรรค เจ้าแห่งเวมานิกเปรตองค์นั้นก็ได้เสวยรวามสุขของกุศลตลอดไปนับแต่เวลาที่ได้อริยมรรคเป็นต้นมา ขอให้นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบดังนี้

ดังสาะกบาลี มีมาในปุปริปัณณาสฎกา และติกังคุตตรฎกา ว่า กมฺมวิปากนฺติ อกุสลกมฺมวิปากํ เวมานิกเปตา หิ กณฺหสุกกวเสน มิสฺสกกมฺมํ กตฺวา วินิปาติกเทวตา วิย สฺเกน กมฺมุนา ปฏิสนธึ คณฺหนฺติ. ตถา หิ เต มคฺคผลภาคิโน โหนฺติ, ปวตฺติยํ ปน กมฺมานุรูปํ กทาจิ ปุญฺญผลํ กทาจิ อปุญฺญผลํ ปจฺจายภวนฺติ. เยสํ ปน อริยมคฺโค อุปฺปชฺชติ, เตสํ มคฺคาธิคมต ปฏฐาย ปุญฺญผลเมว อุปฺปชฺชตีติ ทฏฺฐพฺพํ.

ในมหานรกขุมหนึ่งๆ มิใช่มียมราชองค์เดียว ความจริงมีอยู่ ๔ องค์ คือ ประตูละ ๑ องค์ ๔ ประตูเป็น ๔ องค์ ฉะนั้น เมื่อรวมแล้วมียมราช ๓๒ องค์

ดังสาธกบาลี มีมาในอุปริปัณณาสอัฏฐกถา และติกังคุตตรอัฏฐกถา ว่า น เจส เอโกว โหติ, จตูสุ ปน ทฺวาเรสุ จตฺตาโร ชนา โหนฺติ.

ในบรรดามกานรก ๘ ขุมนั้น ขุมหนึ่งๆ มีประตู รวมเป็น ๓๒ ประตู ในประตูหนึ่งๆ ๔ ขุม รวมเป็นอุสสทนรก ๑๒๘ ขุม ในประตูหนึ่งๆ มียมราชประตูละ ๑ องค์ รวมเป็นยมราช ๓๒ องค์

ดังสาธกบาลี มีมาในสุตตสังคหอัฏฐกถา และเทวทูตสูตรอัฏฐกถา ว่า ตตฺถ เอเกกสฺส จตฺตาริ จตฺตาริ ทฺวารานิ โหนฺติ, เอกสฺมึ ทฺวาเร จตฺตาโร จตฺตาโร จตฺตาโร อุสฺสทนิรยา เอเกโก จ ยมราชา.

(หน้าที่ 10)

นายนิรยบาลนั้นมิใช่เป็นสัตว์นรก เพราะการเกิดของนายนิรยบาล มิได้เกิดจากอกุศลกรรม หากแต่เกิดจากมหากุศลกรรมชั้นต่ำ เป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามีชาติเป็นรากษส

ดังสาธกบาลี มีมาในอุปริปัณณาสฎีกา และกถาวัตถุอนุฎีกา ว่า อเนรยิกา นิรยปาลา อนิรยคติสํวตฺตนิยกมฺมนิพฺพตฺติโต, นิรยูปปตฺติสํวตฺตนิยกมฺมโต หิ อญฺเญเนว กมฺมุนา เต นิพฺพตฺตนฺติ รกฺขสชาติกตฺตา.

หากมีผู้ถามว่า นายนิรยบาลทั้งหลายไม่ใช่สัตว์นรก แต่เกิดในนิรยภูมินั้น เพราะเหตุใด ? แก้ว่า นายนิรยบาลเหล่านี้ที่ต้องไปเกดอยู่ในนิรยภูมินั้น ก็เพราะในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ในมนุษยโลก มีแต่ความยินดีพอในในการที่จะเบียดเบียนหรือฆ่าสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น แม้ว่าจะมีการบำเพ็ญบุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็ตาม สำหรับจิตใจนั้นก็ยังคงมีความยินดีพอใจอยู่แต่ในหน้าที่ที่มีการเบียดเบียน ทรมาน ลงโทษผู้อื่น สัตว์อื่นอยู่มิได้รู้สึกเบื่อหน่ายเลย ฉะนั้น กุศลกรรมชั้นต่ำที่เจือด้วยนิกกันติตัณหาตำแหน่งหน้าที่ดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ จึงทำให้เกิดในนิรยภูมิเป็นนายนิรยบาล มีร่างกายใหญ่โตเหมาะสมที่จะทำการลงโทษเบียดเบียนพวกสัตว์นรก ฉะนั้น นายนิรยบาลเหล่านี้จึงร่างกายใหญ่โต กำยำ มีกำลังมากกว่าสัตว์นรกทั้งหลาย และมีการแสดงกิริยาอาการดุร้ายมาก สามารถให้สัตว์นรกสะดุ้งตกใจกลัว พวกกาและสุนัข เป็นต้น ที่เกิดอยู่ในนิรยภูมินี้ ก็มีรูปร่างสัณฐานใหญ่โตน่ากลัวทำนองเดียวกัน นักศึกษาทั้งหลายพึงทราบตามสาธากบาลี ที่มีมาในอุปริปัณณาสฎีกา และกถาวัตถุอนุฎีกาว่า

ยํ ปน วทนฺติ “อเนรยิกานํ เตสํ กถํ ตตฺถ สมฺภโว” ติ เนรรยิกานํ ฆาตกภาวโต, เนรยิกสตฺตฆาตนาโยคฺคํ ห อตฺตภาวํ นิพฺพตฺเตนฺติ กมฺมํ ตาทิสนิกนฺติวินามิตํ นิรยฏฺฐาเนเยว นิพฺพตฺเตติ, เต จ เนรยิเกหิ อธิกตรพลาโรหปริณาหา อติวิย ภยานกสนฺตาสกุรูรตรปโยคา จ โหนฺติ, เอเตเนว ตตฺถ กากสุนขาทีนํปิ นิพฺพตฺติ สํวณฺณิตาติ ทฏฺฐพฺพํ.

(หน้าที่ 11)

พวกนกแร้ง กา เหยี่ยว สุนัขที่อยู่ในนรกเหล่านั้น พึงทราบว่า ได่แก่ นกแรง ยักษ์ กายักษ์ เหยี่ยวยักษ์ และสุนัขยักษ์นั้นเอง ส่วนนกแร้งเป็นต้นที่เป็นดรัจฉานธรรมดาย่อมไม่สามารถที่จะมีร่างกาย และการแสดงกิริยาอาการที่โหดร้ายน่ากลัวเหล่านี้ไม่สามารถปรากฏขึ้นได้แก่ ดังสาธกบาลี มีมาในจตุตถปาราชิกกัณฑอัฎฐกถาว่า คิชฺฌาปิ กากาปิ กุลลาปีติ เอเตปิ ยกฺขคิชฌา เจว ยกฺขกากา จ ยกฺขกุลลา จ ปจฺเจตพฺพา, ปากติกานํ ปน คิชฺฌาทีนํ อาปาถมฺปิ เอตํ รูปํ นาคจฺฉติ.

เทวทูต ๕ จำพวก
ที่มาในพระบาลีอุปริปัณณาสและอัฏฐกถา
บรรดาบุคคลทั้งหลายที่กำลังเป็นไปในโลกทุกวันนี้ ย่อมมีอัธยาศัยจิตใจยิ่งหย่อนกว่ากัน และกันในความประพฤติดีและไม่ดี มากบ้างน้อยบ้าง มากมายหลายประการแต่เฉพาะ ณ ที่นี้จะ ได้กล่าวโดยย่อๆ พอสมควรแก่ความประพฤติของบุคคลทั้งหลายเหล่านั้นเพียง ๔ ประเภท คือ
๑ บุคคลบางคน ในโลกนี้ มีอัธยาศัยชอบบำเพ็ญกุศลมาก
๒ บางคนมีอัธยาศัยชอบบำเพ็ญกุศลและก่ออกุศลเท่าๆน
๓ บางคนชอบก่ออกุศลมากกว่ากุศล
๔ บางคนชอบก่ออกุศลฝ่ายเดียว

บรรดาบุคคลทั้ง ๔ ประเภทนี้ บุคคลประเภทที่หนึ่ง ในขณะใกล้จะตายย่อมระลึกนึกถึงกุศลได้มาก ฉะนั้น บุคคลจำพวกนี้ย่อมจะพ้นจากการไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔

ส่วนบุคคลประเภทที่ ๒ นั้น ถ้าตัวเองพยายามระลึกถึงกุศลให้มาก หรือมิฉะนั้น ญาติคนใดคนหนึ่ง มาช่วยเตือนสติระลึกนึกถึงกุศล ก็สามารถช่วยให้พ้นจาก

(หน้าที่ 12)

การไปอบายได้เหมือนกัน เว้นไว้แต่ตัวเองก็ไม่พยายามระลึกถึงกุศลที่ตนได้ กระทำไว้และก็ญาติคนใดที่จะคอยเตือนสติให้ คงเหลือแต่ความกลุ้มใจเสียใจ และห่วงใยในทรัพย์สมบัติ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็ไม่มีหนทางที่จะพ้นจากอบายไปได้

ส่วนบุคคลที่อยู่ประเภทที่ ๓ นั้น อกุศลอาจิณณกรรมมากกว่ากุศล ลำพังตัวเองแล้วย่อมไม่สามารถนึกถึงกุศลนั้นได้ ยกเสียแต่จะได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นเท่านั้น ถึงกระนั้น การช่วยเหลือโดยการเตือนสติจากผู้อื่นนั้น ต้องเป็นการช่วยเหลือเป็นพิเศษจึงจะพ้นจากอบายได้ ถ้าเป็นการช่วยเหลืออย่างสามัญพรรมดาแล้ว ผู้นั้นก็ยังไม่สามารถที่จะกลับใจมารับอารมณ์ที่เป็นกุศลนั้นๆ ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลจำพวกนี้ย่อมจะต้องไปสู่อบายโดยแน่นอน

ส่วนบุคคลประเภทที่ ๔ นั้น ย่อมไม่พ้นจากการไปสู่อบายได้เลย นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อัครสาวก และมกาสาวกเท่านั้น ที่จะช่วยเหลือได้ ลากรที่จะได้รับความช่วยเหลือ จากท่านเหล่านี้ ผู้นั้นก็จะต้องมีกุศลอปราปริยกรรมที่มีกำลังมากคือได้แก่กุศลที่ตนได้ เคยสร้างไว้แล้วในชาติก่อนๆ

ฉะนั้น ถ้าบุคคลจำพวกนี้ไปสู่นรกแล้ว ก็ไปสู่นรกโดยตรง ไม่มีโอกาสที่จะได้พบกับยมราชเพื่อทำการไต่ถาม

ส่วนบุคคลประเภทที่ ๒ และที่ ๓ ถ้าต้องไปสู่นรกแล้ว ก็มีโอกาสได้พบกับยมราช เพื่อทำการไต่สวนและสอบถามถึงเรื่องเทวทูต ๕ จำนวนมากเสียก่อน แล้วจึงจะได้ไปเสวยทุกข์ในนรกนั้นๆ ภายหลัง เมื่อบุคคลผู้นั้นได้มาสู่นรก นายนิรยบาลทั้งหลายต่างก็นำตัวผู้ที่ต้องมาสู่นรกนั้น มาหาพญายมราช

คำถามของยมราชอันได้แก่เทวทูต ๕ จำพวกนั้น ดังนี้
เทวทูตที่หนึ่ง คือ ความเกิด อันได้แก่ ทารกแรกเกิด
เทวทูตที่สอง คือ ความแก่ อันได้แก่ คนชรา
เทวทูตที่สาม คือ พยาธิ อันได้แก่ ผู้ป่วยไข้
เทวทูตที่สี่ คือ ผู้ที่ถูกลงโทษตามกฎหมาย อันได้แก่ คนต้องราชทัณฑ์
เทวทูตที่ห้า คือ มรณะ อันได้แก่ คนตาย

(หน้าที่ 13)

เมื่อยมราชได้เห็นบุคคลเหล่านั้น จึงกล่าวขึ้นว่า “นี่แน่ะเจ้า ! บัดนี้เราจะถามเจ้าว่า เมื่อเจ้ายังอยู่ในมนุษยโลกนั้น ได้เคยเห็นเด็กแรกเกิดบ้างหรือเปล่า ?

สัตว์นรกกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเคยเห็น”

ยมราชจึงถามต่อไปว่า ในขณะที่เจ้าได้เห็นเด็กแรกเกิดนั้น เจ้าเคยนึกถึงตัวของเจ้าบ้างไหมว่า ตัวของเจานี้ก็จะต้องเกิดอีกเช่นเดียวกัน และเคยพยายามสร้างทาน ศีล ภาวนา เพื่อจะได้เป็นหนทางที่จะช่วยตัวเองในพ้นไปจากความเกิดอันเป็นชาติทุกข์บ้างไหม ?

สัตว์นรกได้ฟังคำถามของยมราชเช่นนี้แล้ว ถ้าระลึกถึงกุศลได้ในขณะนั้นก็จะพ้นจากนรกโดยทันที ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดา ถ้าขณะนั้นระลึกถึงกุศลไม่ได้ในก็กล่าวตอบว่าข้าพเจ้าเคยเห็นเด็กแรกเกิดก็จริง แต่ก็ไม่มีความนึกคิดอะไร คงมีแต่ความยินดี พอใจเพลิดเพลินสนุกสนาน ไปตามวิสัยธรรมดาของชาวโลกเท่านั้น

ยมราชจึงกล่าวต่อไปว่า ถ้าเช่นนั้น ความประมาทของเจ้าก็ดี ความเพลิดเพลินสนุกสนานต่างๆของเจ้าที่ได้กระทำไปแล้วก็ดี ล้วนแต่เป็นความประมาทเพลิดเพลินที่เกิดจากตัวของเจ้าทั้งนั้น ไม่ใช่บิดามารดา บุตรภรรยา มิตรสหาย พี่น้อง ครูบาอาจารย์ หรือเทวดาทั้งหลายมากระทำให้เจ้า ฉะนั้น เจ้าก็ต้องได้รับผลที่เจ้าเคยกระทำไว้แล้วนั้นด้วยตนเอง ไม่มีผู้ใดจะมารับโทษแทนเจ้าได้ ตัวเจ้าได้ทำไว้อย่างไรเจ้าก็ต้องเป็นผู้ได้รับผลอย่างนั้น

แล้วยมราชก็ถามต่อไปอีกว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าเคยเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนต้องราชทัณฑ์ และคนตายบ้างไหม ? สัตว์นรกก็กล่าวตอบว่า “ข้าพเจ้าเคยเห็น”

ยมราชจึงกล่าวถามต่อไปว่า ในขณะที่เจ้าเห็นคนแก่ คนเจ็บ และคนต้องราชทัณฑ์ หรือ คนตายอยู่นั้น เจ้าเคยนึกถึงตัวของเจ้าบ้างไหมว่า ตัวเจ้านี้ก็ต้องมีความแก่ ความเจ็บ ต้องเป็นคนต้องราชทัณฑ์ และมีความตายเป็นธรรมดา เช่นเดียวกันกุบบุคคลที่เจ้าได้เป็นอยู่นั้น แล้ว พยายามสร้างทาน ศีล ภาวนา อันเป็นกุศลกรรเพื่อจะได้เป็นที่พึ่งแก่ตนเอง และสามารถช่วยตนให้พ้นจากทุกข์โทษต่างๆบ้างหรือเปล่า ในเมื่อเจ้ายังมีชีวิตอยู่ในมนุษยโลก

(หน้าที่ 14)

เมื่อสัตว์นรกได้ฟัง คำถาม ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม ครั้งที่สี่ และครั้งที่ห้า ถาระลึกถึงกุศลได้ก็ย่อมพ้นไปจากนรก ถ้าระลึกถึงกุศลไม่ได้ ก็กล่าวตอบแก่ยมราชอย่างเดียวกันกับที่ได้กล่าวไว้แล้วในเทวทูตที่หนึ่ง

เมื่อเป็นเช่นนั้น ยมราชก็พยายามช่วยให้ระลึกให้ว่า สัตว์นรกผู้นี้ได้สร้างกุศลอะไรไว้บ้าง เพราะตามธรรมดาคนที่สร้างกุศลนั้นย่อมแผ่ส่วนกุศลนั้นๆ ให้แก่ยมราช ฉะนั้น ถ้าบุคคลใดสร้างทาน ศีล ภาวนา แล้วได้อุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่ยมราช ยมราชก็ย่อมจะระลึกนึกถึงกุศลนั้นได้ เพราะตนเคยได้รับส่วนบุญจากบุคคลนั้นๆ ถ้าบุคคลใดสร้างทาน ศีล ภาวนาแล้ว แต่ยังไม่ได้อุทิศส่วนบุญให้แก่ยมราช ยมราชก็ไม่สามารถที่จะระลึกถึงกุศลของบุคคลนั้นได้ ถ้ายมราชช่วยระลึกให้ไม่ได้ก็นิ่งเสีย เมื่อเป็นเช่นนี้นายนิรยบาลทั้งหลายก็จะนำสัตว์นรกนั้นออกไปลงโทษ ตามแต่อกุศลกรรมของสัตว์นรกนั้นได้กระทำมา

ถ้าหากว่ายมราบระลึกถึงกุศลกรรมของสัตว์นรกผู้นั้นได้ ก็ช่วยบอกให้ เมื่อสัตว์นรกนั้นได้ฟังคำบอกเล่าของยมราชแล้วก็ระลึกได้ว่า เรานี้ก็ได้เคยสร้างทาน ศีล ภาวนา ไว้อย่างนี้ๆ เมื่อระลึกถึงกุศลกรรมของตนได้เช่นนี้ ในขณะนั้นก็พ้นไปจากนรก

ฉะนั้น การช่วยเตือนสติให้ระลึกนึกถึงกุศลกรรมของยมราชจึงเป็นเหตุ ส่วนการระลึกได้ในกุศลกรรมของสัตว์นรกเอง เป็นผล และการระลึกถึงกุศลกรรมของตนได้ เป็นเหตุ การพ้นจากนรกเป็นผล



คุณมหาวิหาร เพียรพยายามมากถึงปานนี้ ..สาธุ


เมื่อเป็นเช่นนั้น ยมราชก็พยายามช่วยให้ระลึกให้ว่า สัตว์นรกผู้นี้ได้สร้างกุศลอะไรไว้บ้าง เพราะตามธรรมดาคนที่สร้างกุศลนั้นย่อมแผ่ส่วนกุศลนั้นๆ ให้แก่ยมราช ฉะนั้น ถ้าบุคคลใดสร้างทาน ศีล ภาวนา แล้วได้อุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่ยมราช ยมราชก็ย่อมจะระลึกนึกถึงกุศลนั้นได้ เพราะตนเคยได้รับส่วนบุญจากบุคคลนั้นๆ ถ้าบุคคลใดสร้างทาน ศีล ภาวนาแล้ว แต่ยังไม่ได้อุทิศส่วนบุญให้แก่ยมราช ยมราชก็ไม่สามารถที่จะระลึกถึงกุศลของบุคคลนั้นได้ ถ้ายมราชช่วยระลึกให้ไม่ได้ก็นิ่งเสีย เมื่อเป็นเช่นนี้นายนิรยบาลทั้งหลายก็จะนำสัตว์นรกนั้นออกไปลงโทษ ตามแต่อกุศลกรรมของสัตว์นรกนั้นได้กระทำมา

ถ้าหากว่ายมราบระลึกถึงกุศลกรรมของสัตว์นรกผู้นั้นได้ ก็ช่วยบอกให้ เมื่อสัตว์นรกนั้นได้ฟังคำบอกเล่าของยมราชแล้วก็ระลึกได้ว่า เรานี้ก็ได้เคยสร้างทาน ศีล ภาวนา ไว้อย่างนี้ๆ เมื่อระลึกถึงกุศลกรรมของตนได้เช่นนี้ ในขณะนั้นก็พ้นไปจากนรก

ฉะนั้น การช่วยเตือนสติให้ระลึกนึกถึงกุศลกรรมของยมราชจึงเป็นเหตุ ส่วนการระลึกได้ในกุศลกรรมของสัตว์นรกเอง เป็นผล และการระลึกถึงกุศลกรรมของตนได้ เป็นเหตุ การพ้นจากนรกเป็นผล

............................................................................................

ขอบพระคุณทุก Comment
และทุกความรู้ ที่เป็นธรรมทาน~

ดิฉันขอนำความรู้ที่ได้ ไปใช้เพื่อชี้แนวทางธรรม

ดิฉันมีโอกาสได้อ่าน หนังสือ ภารกิจ Delete กรรม ของคุณเจน ญาณทิพย์
ดิฉันก็พบทางสว่างหนึ่ง เหมือนเช่น"คุณคืนถิ่น"กล่าว
การระลึกถึงคุณงามความดีที่ได้ทำ จะทำให้ใจเปรมปรีด์ อิ่มบุญอยู่ร่ำไป~
กรรมชั่ว ให้ระลึกสำนึกผิด.จากใจจริง และอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร ให้อโหสิกรรมต่อกัน~

...ธรรมดาคนที่สร้างกุศลนั้นย่อมแผ่ส่วนกุศลนั้นๆให้แก่ยมราช.....
ข้อความที่ได้อ่าน เตือนสติ
ให้ดิฉันได้แผ่บุญกุศล ให้ถึงแก่ยมราชบ้าง บางขณะ

^___________________________^


https://www.youtube.com/watch?v=kVPvlVkzLgo
ฟังนาทีที่17เป็นต้นไปครับ



 4,147 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย