วิญญาณัญจายตนะ ?

 mwuser    

สวัสดีครับท่าน

เ็ป็นความคิดวูปหนึ่งผ่านเข้ามา ในมุมของพหูสูตร
คือ ที่ว่าเพ่ิงวิญญาณ ในวิญญาณัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ ?

จะไม่พูดถึงการพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนา)
... มาลองนึกภาพ การเพ่งวิญญาณ
----> ขันธ์ใน (อัชฌัตต)
---------------------> ขันธ์นอก (พหิทธ)

คำถาม คือว่า
วิญญาณ ดังกล่าว
เป็น วิญญาณภายในในแง่ขันธ์ หรือ ?
หรือว่า เป็นวิญญาณภายนอก (จากขันธ์)
ที่มีอยู่ ทั่ว ๆ ไปในวิญญาณฐิติทั้งสิ้น

ท่านใดมีมุมมองเด็ด ๆ เรื่องนี้บ้่างครับ

ขอขอบคุณ




คำถาม คือว่า
วิญญาณ ดังกล่าว .....คือตัวรู้ล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับ เจตสิกของจิต
เป็น วิญญาณภายในในแง่ขันธ์ หรือ ?.....เป็นวิญญาณ หรือ ตัวรู้อยู่แล้ว
หรือว่า เป็นวิญญาณภายนอก (จากขันธ์)....ตัวรู้นอกขันธ์....วิญญาณยังอ่อน ทำเรื่องนี้ไม่ได้
ที่มีอยู่ ทั่ว ๆ ไปในวิญญาณฐิติทั้งสิ้น....วิญญาณ(ตัวรู้)...มีสองแบบ คือแบบที่ยังไม่ได้ขันธ์ห้าครบ...หมายถึงวิญญาณเพิ่งเริ่มพัตนาตนเอง....กำลังอาศัยความอยากสร้างบ้านให้ ส่วนวิญญาณ(ตัวรู้)...ที่พัตนาแล้ว...จะมีขันธ์ห้าบริบูรณ์

ท่านใดมีมุมมองเด็ด ๆ เรื่องนี้บ้่างครับ...จงรู้ให้พอเหมาะพอดีกับภูมิธรรมของตนที่มี

ขอขอบคุณ

โดย : mwuser [DT0574] 7 มิ.ย. 2551 14:14 น.


ตกล่น...

เป็น วิญญาณภายในในแง่ขันธ์ หรือ ?.....ใช่...เป็นวิญญาณ...ในขันธ์ห้า


คำว่า ( อชฺฌตฺตํ )
ภายใน, ( พหิทฺธา ) ภายนอก, และ
( อชฺฌตฺตพหิทฺธา ) ทั้งภายในทั้งภาย
นอกนั้น ถือเอาความไม่สู้ลงกัน. ท่าน
ที่ถือเอาความตามอรรถกถานัย แสดง
ว่า ภายในคือที่ตนเอง ภายนอกคือที่
คนอื่น. ทั้งภายในทั้งภายนอก ก็คือ
ทั้งที่ตนทั้งที่คนอื่น. บางท่านไม่เห็นด้วย
และแสดงว่า การกำหนดลมหายใจ
จะกำหนดที่คนอื่นอย่างไรได้, และการ
ระลึกรู้ตัวในเวลาที่ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ
ในอิริยาปถปัพพะ กับการระลึกรู้ตัว
ในเวลาที่ทำอะไร ๆ ในสัมปชัญญะ
ปัพพะ มิต้องไปเที่ยวตามดูเขาทุกฝีก้าว
หรือ จะเป็นไปได้อย่างไร. ท่านก็แก้ว่า
ไม่ใช่ต้องไปเที่ยวตามดูเขา เป็นแต่
ระลึกรู้อยู่ที่ตัว และน้อมไปถึงคนอื่นว่า
ก็คงเป็นเช่นเดียวกัน. แต่การที่ทำเช่น
นั้นใจจะสงบอยู่ที่อย่างไรได้ และจะมี
ประโยชน์อย่างไร. อนึ่งในสีวถิกาปัพพะ
ข้อที่กำหนดด้วยพิจารณาซากศพ ที่ให้
ระลึกถึง และน้อมเข้ามาเทียบกับตนว่า
" ถึงกายนี้ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา เป็น
อย่างนี้ไม่ล่วงพ้นอย่างนี้ " นี้มีความ
ปรากฏอยู่ว่า ให้ระลึกถึงซากศพเหล่านั้น
และน้อมมาเทียบกับตน, ส่วนในปัพพะ
อื่น ๆ หาได้แสดงความเช่นนี้ไม่. บาง
ท่านแสดงว่า คำบาลีใช้ " วา " ศัพท์ ที่
แปลว่า " บ้าง " ก็ได้, แปลว่า " หรือ "
ก็ได้ เข้าต่อ, เช่น " อชฺฌตฺตํ วา
พหิทฺธา วา, อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา "
แปลว่า " ภายในบ้าง ภายนอกบ้าง ทั้ง
ภายในทั้งภายนอกบ้าง " ก็ได้, หรือจะ
แปลว่า " ภายในหรือภายนอก หรือทั้ง
ภายในทั้งภายนอก " ก็ได้, หมายความ
ว่า ระลึกแต่ภายในก็ได้ แต่ภายนอกก็ได้
ทั้งภายในทั้งภายนอกก็ได้ ตามควรแก่
ความที่พึงระลึก, ไม่ได้หมายความว่าจำ
ต้องระลึกภายในด้วย ภายนอกด้วย ทั้ง
ภายในทั้งภายนอกด้วย ทุก ๆ ปัพพะ,
คำนี้พอฟัง. บางท่านแสดงว่า ภายนอก
คืออารมณ์ที่เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู
เป็นต้น ตามธรรมดา, ส่วนภายในนั้น
คือที่ปรากฏขึ้นเห็นได้ด้วยใจอย่างเดียว.
แต่ข้อความจะควรอย่างไรแน่ ขอท่าน
นักธรรมจงพิจารณาดูตามควร. ( สติ.
ปัพพ ).



โวการมาจาก โว ต่ำ, การ ทำ,
โวการ ทำต่ำหรือทำลง แต่แปลดังนี้
ไม่ได้ความ, โวการ ท่านว่าเป็นเชื่อของ
ขันธ์ ปฺจโวการ ขันธ์ ๕, เอกโวการ
ขันธ์ ๑ จตุโวการ ขันธ์ ๔, ถ้าว่าถึง
สัตว์ก็คือ ปฺจโวการ มีขันธ์ ๕,
เอกโวการ มีขันธ์ ๑, จตุโวการ มี
ขันธ์ ๔, สัตว์มีขันธ์ ๕ ก็ได้แก่กามา-
พจรสัตว์, สัตว์มีขันธ์ ๑ ท่านว่า ได้แก่
รูปสัตว์ สัตว์ที่มีแต่รูป จะเป็นก้อนหิน
หรืออะไรไม่ทราบ ไม่มี เวทนา สัญญา
สังขาร ที่เรียกว่ารูปพรหม, จตุโวการ
สัตว์ที่มีขันธ์ ๔ มีแต่วิญญาณ เวทนา
สัญญา สังขาร ไม่มีรูป จะอยู่ที่
ไหนไม่ทราบ แต่ท่านจัดไว้อย่างนั้น.
แต่ว่าถ้าพิจารณาดูตามเค้าความก็พอจับ
เค้าได้.
ปฺจโวการ มีขันธ์ ๕ นี่ไม่แปลก
เราก็มีขันธ์ ๕ อยู่แล้ว.
พวก เอกโวการ มีขันธ์ ๑ คือพวก
ทำกัมมัฏฐานมุ่งจิตใจให้แน่วแน่อยู่ในรูป
นิมิต ไม่ใช่รูปหยาบ ๆ ที่ตาเห็น, รูป
ที่ปรากฏขึ้นทางใจ เรียกว่า รูปนิมิต,
ติดแน่วแน่อยู่ในรูปนิมิตเช่นนั้น ไม่
เกี่ยวข้องกับอะไรอื่นหมด นับเป็นเอก
โวการติดอยู่กับรูปนิมิต.
ท่านพวกที่เจริญฌานจนล่วงจากรูป
เลื่อนไปถึงว่าง. มีผู้หญิงคนหนึ่งอยู่
พระปฐม ชื่อยายน้อย เล่าว่า เรียน
กัมมัฏฐานกับพระธุดงค์ ท่านสอนให้
พิจารณาอสุภะ คือร่างกายของคนตาย,
แกพยายามเพ่งพิจารณาอยู่ ๕ ปีล่วงไป
แล้ว จึงปรากฏรูปนิมิตขึ้น แรก ๆ ก็
ปรากฏเป็นท่อน ๆ ไม่เต็ม ต่อไปพอ
ชำนาญเข้าเห็นเต็มตัว, แกพอใจนึกขึ้น
มาเมื่อไรก็เห็นเมื่อนั้น มุ่งติดอยู่กับรูป
นิมิตนี่ตอนหนึ่ง ต่อไปแกเล่าว่า ทีนี้
รูปนิมิตไม่อยู่ คือรูปหาย ไปถึงว่าง,
แกก็ไม่ชอบใจ แกว่าไม่มีที่พึ่งหวังยึด
รูปนิมิตเป็นที่พึ่ง แต่ผ่านไปหาว่าง
เสมอ, พิจารณาดูตามอาการว่างที่ผ่าน
รูปไปถึงนั้น น่าจะเรียกว่า อากาสา-
นัญจายตนะ ละเอียดกว่ารูป. พิจารณา
ตามอรรถสืบขึ้นไป น่าจะสันนิษฐานว่า
เมื่อเพ่งอากาศว่างเช่นนั้นอยู่ จะรู้สึกว่า
มีความรู้สึกอยู่ถึงอารมณ์ที่เห็นเป็นว่าง,
ความรู้สึกนั้นเป็นวิญญาณ, ถ้าไปมุ่งอยู่
กับความรู้สึก ดูความรู้สึกอยู่ ก็น่าจะ
เป็น วิญญาณัญจายตนะ นี่อีกคั่นหนึ่ง.
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ดูความรู้สึกนั้นว่าอยู่
ี่ไหน หาไปก็ไม่เห็นว่าอยู่ที่ไหน ไม่เห็น
มีอะไร, พิจารณาว่าไม่มีอะไร น่าจะ
เป็น อากิญจัญญายตนะ เพ่งอยู่ที่ไม่มี
อะไร. แต่เมื่อเพ่งอยู่เช่นนั้นแล้ว ก็อาจ
รู้สึกได้ว่า มีสัญญาความจำหมายอยู่ที่ตรง
ไม่มีอะไรนั้น, ครั้นดูสัญญาความจำหมาย
ก็ไม่เห็น แต่ก็มีอยู่เพ่งพิจารณาดูอยู่เช่น
นี้เป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะ. เพ่ง
พิจารณาตั้งแต่ว่างขึ้นไป คือ ว่าง
( อากาศ ) รู้สึก ( วิญญาณ ) ไม่มีอะไร
( นตฺถิกิฺจิ ) มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มี
สัญญาก็ไม่ใช่ ( เนวสฺานาสฺา )
ท่านเรียกว่า อรูป ฌาน, ท่านผู้บำเพ็ญ
ฌานตั้งแต่อากาศ ว่างขึ้นไปเป็น ๔ ชั้น
จึงเรียกว่า จตุโวการ มีขันธ์ ๔ จะเป็นอัน
ใดอันหนึ่งก็ได้.
เอกโวการ ก็ติดอยู่ที่รูปนิมิต, ปัญจ-
โวการ ก็สามัญชนเรานี่เอง. ( โอ. ๒/๑๔๙
-๑๕๑ ).



ที่เคยศึกษามา เป็นเช่นนั้น ...
ความคิดผมมาพันอยู่ตรงที่
อย่าง อากาสา
ช่องว่าง ไร้ที่สุด ไร้ที่สุด ...
เป็นช่องว่างภายในขันธ์
หรือว่า เป็นช่องว่างปกติ ที่เรียกกันว่าอากาศทั่วไป
ใจหนึ่งก็ว่า
ถ้าภายในขันธ์ ก็พอจะมีที่สุด แต่ถ้าเป็น
ภายนอก แล้วละก็ หาที่สุดไม่ได้จริง ๆ

มาถึง วิญญาณา
ก็คล้ายกับอันบน
แต่มาเทียบกับคำพูดที่เคยได้
ยินได้ฟังว่า ทุกกระเบียด ที่เรา
เคลื่อนไหวอยู่ มีวิญญาณเต็มไปหมด
ถ้ามองวิญญาณ (ในขันธ์) ผมคิดว่า
ก็ถูก แต่นักปฏิบัติทุกศาสนา มีแนวคิด
ไม่เหมือนกัน ในพุทธ์ มองวิญญาณแบบ
ขันธ์ว่า วุ่นวายไปหมด ถ้าใช้สติมองดูจริง ๆ
จะโกลาหลมาก วุ่นวาย ไร้สาระ เดี๋ยวก็นี่
เดี๋ยวก็นั่น รอคิวก็เพียบ ไม่รู้มาจากไหน
ซึ่งจะให้จบก็ต้องภูมิธรรมที่สี่ เป็นอนุปาทินนกะ เท่านั้น

ถ้ามองวิญญาณในภายนอก
ตอนนั้น ก็น่าจะใช่ เพราะดวงจิต
สัมผัสกับกายทิพย์ได้แล้ว และไปพ้อง
กับจุตูปปาตญาณ ซึ่งนำมาเทียบได้อีกมุม

ผมตั้งกระทู้ เพียงหวังในมุมกรณีศึกษาเฉย ๆ ครับ
ต้องลองต่อไป


การบัญญัติความสุขในพระพุทธศาสนา


"ดูก่อนอานนท์ กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน ? กามคุณ ๕ คือรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ (สิ่งที่พึงถูกต้องได้) ที่พึงรู้แจ้งทางหู, จมูก, ลิ้น และกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. ดูก่อนอานนท์ นี้แล คือกามคุณ ๕. ดูก่อนอานนท์ ความสุขกายสุขใจอันใด ที่เกิดขึ้นเพระอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ ความสุขกายสุขใจนี้ เรียกว่ากามสุข. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใยอันมีอยู่นั้น นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุขนั้น."


"ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (กามสุข) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าสู่ฌานที่ ๑ อันมีความตรึก (วิตก) ความตรอง (วิจาร) มีความอิ่มใจและความสุข (ปีติสุข) อันเกิดแต่ความสงัดอยู่. นี้แล อานนท์ คือ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุขนั้น (กามสุข). ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นัน (สุขในฌานที่ ๑) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่า ความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้น."


"ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสงบความตรึก ความตรอง (วิตก วิจาร) ได้ จึงเข้าฌานที่ ๒ อันมีความผ่องใสภายใน มีภาวะแห่งจิต มีอารมณ์เป็นหนึ่งเกิดขึ้น ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง มีความอิ่มใจ และความสุข (ปีติสุข) อันเกิดแต่สมาธิอยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๒) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้น."


"ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะคลายความอิ่มใจจึงเป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอเสวยความสุขด้วยนามกาย เข้าสู่ฌานที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุ ให้พระอริยเจ้ากล่าวถึงผู้เข้าฌานนี้ว่าเป็นผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุข. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๓) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนพระอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้น."


"ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขละทุกข์ได้ (ละสุขกายทุกข์กายได้) เพราะสุขใจ (โสมนัส) ทุกข์ใจ (โทมนัส) ดับไปในกาลก่อน๑ จึงเข้าถึงฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีความบริสุทธิ์แห่งสติ. อันเกิดขึ้นเพราะอุเบกขา (ความวางเฉย). นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้น. คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๔) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๔) นั้น."


"ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๔) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินนัยนี้ เพราะก้าวล่วงความกำหนดหมายในรูป (รูปสัญญา) ด้วยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งความกำหนดหมาย ความกระทบกระทั่ง (ปฏิฆสัญญา ได้แก่ความกำหนดหมายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เมื่ออารมณ์ทั้งห้านี้ ผ่านมาทางตา หู เป็นต้น) เพราะไม่ทำไว้ในใจซึ่งสัญญาต่าง ๆ (นานัตตสัญญา-หมายความได้ ๒ อย่าง คือสัญญาที่เป็นไปในอารมณ์ต่าง ๆ และสัญญาต่าง ๆ ๔๔ ชนิด-ดูคำอธิบายในวิสุทธิมรรค อารุปปนิทเทส) ทำไว้ในใจว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" เข้าสู่อรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ (มีอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในเนที่ ๔) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้น."


"ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วทำไว้ในใจว่า "วิญญาณหาที่สุดมิได้" เข้าสู่อรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ (มีวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่ววว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนันเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้น.


"ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วทำไว้ในใจว่า "อะไร ๆ ก็ไม่มี" เข้าสู่อรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ (มีความกำหนดหมายว่าไม่มีอะไรเป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข ผในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (ความสุขในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้น.


"ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปเนชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วเข้าสู่อรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ๒ (มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (ความสุขในอรูปฌาน ชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้น.
๑๐

"ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา- เป็นสมาบัติสูงสุดที่พระอนาคามีกับพระอรหันต์เท่านั้นทำให้เกิดได้) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้น.

สรุปความ

"ดูก่อนอานนท์ มีฐานะอยู่ที่นักบวชเจ้าลัทธิอื่นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมบัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธในความสุข ข้อนั้นคืออะไรกัน ? ข้อนั้นจะเป็นไปได้อย่างไรกัน ? (คือสัญญาเวทยิตนิโรธ ดับความจำ ดับความรู้สึก แล้วจะว่ามีความสุขได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีความรู้สึก) ดูก่อนอานนท์ นักบวชเจ้าลัทธิอื่น ผู้กล่าวอย่างนี้พึงเป็นผู้อันท่านชี้แจง "ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาค ย่อมไม่ทรงบัญญัติในความสุขหมายเอาเฉพาะสุขเวทนาอย่างเดียว ในที่ใด ๆ ย่อมหาความสุขได้ ในฐานะใด ๆ มีความสุข พระผู้มีพระภาคย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ในความสุข."

สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๗๘

เอาตำราไปอ่า่นก่อนละักัน...ภ้าปฏิบัติจริงก็อีกเรื่อง มีความสลับซับซ้อนอยู่มิใช่น้อย

หมายความว่า....ระดับจิตผู้ปฏิบัติต้องมีอายุการเกิดของจิตแก่หน่อย จึงจะเข้าถึง เข้าใจในการปฏิบัตนี้ได้ องค์ประกอบการเข้าถึงการปฏิบัตนี้ มีเยอะมากเกินบรรยาย

ไปลองค้นคว้าต่อเอาเองละกันนะ.....ภูมธรรมผมไม่พอที่จะทำให้ท่านเข้าใจภาษาจิตได้
อธิบายรสชาติไม่ถูกจริงๆ ....ขออภัยด้วย กลัวพระธรรมจะผิดเพี้ยนไปจ้า....


สวัสดีท่าน 123


พอดีเปิดพบพระสูตรฉบับ อ. ที. ม. 2/1 หน้า181
ทรงตรัสเรื่องวิญญาณฐิติ

ได้ข้อสรุปว่าเป็นเป็นวิญญาณฐิติ
ที่สำคัญ รายการนี้เป็นสมถะ แยกให้ออก

ขอบคุณที่ร่วมสนทนาครับ


อ. อภิ. วิ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย.

แต่ไม่ได้สนทนาวิญญาณแบบนี้
สนทนาเฉพาะกลุ่มวิญญาณัญจายตนะเท่านั้น
เป็นกรณีศึกษาเท่านั้น ไม่ได้แปลเป็นอย่างอื่นครับ


คุณเปารอรับได้เลย...อะ อะ อะ อะ

123... - 117.47.165.99 [24 พ.ค. 2551 14:32 น.] คำตอบที่ 32

123... - 222.123.238.50 [9 มิ.ย. 2551 16:34 น.] คำตอบที่ 12

ส่งนิยายให้ใหม่แล้วจ้า...ลองไปโหลดดู....ยังโหลดได้จ้า...


วิญญาณมีมากอย่างนะ วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท เป็นวิญญาณที่นำเอาขันธ์๕ มาปฏิสนธิ คือวิญญาณตัวนั้นต้องมีขันธ์๕พร้อมมูลมาในตัวจึงจะมาอุบัติในขันธ์๕ ได้ ถ้ามีขันธ์ ๔ ขันธ์ ก็ไปอุบัติในภูมิขันธ์ ๔ คือ มีแต่นาม ไม่มีรูป ถ้ามีหนึ่งขันธ์คือมีแต่เฉพาะวิญญาณตัวเดียว ก็ไปอุบัติในโอปปาติกะ คือมีแต่รูปจิตอย่างเดียว

วิญญาณทำหน้าที่เป็นอายตนะก็ได้ ได้แก่ ความรู้สึกในขั้นแรกของอายตนะทั้งสองมากระทบกัน แต่ยังไม่ถึงกับเสวยอารมณ์นั้นๆ การจำอารมณ์เป็นหน้าที่ของสัญญา การเสวยอารมณ์เป็นหน้าที่ของเวทนา วิญญาณชนิดนี้จะเรียกว่า วิญญาณธาตุก็ได้

ส่วนวิญญาณในขันธ์๕ เป็นวิญญาณในนามบัญญัติล้วนๆ ยังไม่ได้ทำหน้าที่ใดๆ เหมือนกับขันธ์อื่นๆ ขันธ์๕ ก็เหมือนกัน ธาตุ๔ คือไม่ใช่ตัวกิเลส แต่ท่านจัดเป็นประเภทแห่งรูปนามธรรมเป็นกองๆ ไว้ ก็เพื่อให้รู้ว่านั่นรูป นั่นนาม เท่านั้น กิเลสจะเกิดขึ้น เพราะผู้มาหลงสมมติแล้วเข้าไปยึดเอาขันธ์ว่าเป็นของตน หรือตนเป็นขันธ์บ้าง จึงเข้าไปยึดถือ จนเกิดกิเลสขึ้นเป็นทุกข์ ในเมื่อขันธ์เหล่านั้นเป็นไปตามปรารถนาแล้วก็ชอบใจเพลิดเพลินหลงระเริงลืมตัวมัวเมาประมาท จนเป็นเหตุให้เกิดอกุศลกรรมด้วยประการต่างๆ หากขันธ์เหล่านั้นไม่เป็นไปตามปรารถนาก็ไม่ชอบใจ เป็นทุกข์โทมนัสด้วยประการต่างๆ ไม่เห็นสภาพตามความเป็นจริงซึ่งมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันอยู่อย่างนั้น

วิญญาณ เปรียบเหมือนมายา มายาเป็นเรื่องของความหลอกลวงผู้อื่นให้เข้าใจผิด ติดตามไม่ทันในเรื่องของตัวเท่านั้น พอตาเห็นรูปก็เกิดความรู้สึก ยังไม่ทันอะไร เดี๋ยวเดียวก็ไปเกิดความรู้สึกขึ้นทางอื่นต่อๆ ไปอีก


 3,995 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย