พระโสดาบัน และ บารมี

 เซนทฺ    

ปัจจุบันนี้การเป็นพระโสดาบัน สามารถเป็นได้ไหม และรู้อย่างไรว่าเป็นถึงขั้นพระโสดาบันแล้วครับ


พระโสดาบัน ใช่ ธรรมจักษุ หรือเปล่าครับ


การสร้างบารมี เขาทำกันอย่างไรครับ ทั้งในทางพระ และบุคคลทั่วไปครับ ได้ยินเขาพูดกันบ่อยๆ สงสัยครับ




ปัจจุบันนี้การเป็นพระโสดาบัน สามารถเป็นได้ไหม และรู้อย่างไรว่าเป็นถึงขั้นพระโสดาบันแล้วครับ

ไม่ว่าหญิงหรือชาย รวยหรือจน เด็กหรือผู้ใหญ่ นับถือศาสนาใดก็ตาม
ถ้าปฏิบัติตามแนวทางแห่งมรรคมีองค์ 8 แล้วล่ะก็ ทุกคนสมารถเป็นพระโสดาบันได้เจ้าค่ะ

[๒๔๑] องค์แห่งพระโสดาบัน ๔ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ฯ

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรรับของบูชา เป็นผู้ควรรับของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นบุญเขตของชาวโลก ไม่มีเขตอื่นยิ่งกว่า ฯ

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้ารักใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิ ไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ ฯ



หน้าที่ของชาวพุทธคือการทำกิจ ๔ ประการนี้เจ้าค่ะ
คำว่า ศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ฯ คืออย่างนี้เจ้าค่ะ


โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑ ( โสดาปัตติมัคค )
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ( โสดาปัตติมัคค )



( โสดาปัตติผล ) [๔๓๔] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้นบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด

ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ฯลฯ ชนิดอนิมิตตะเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

ดังนี้ กุศล ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ดังนี้ วิบาก ผัสสะ ฯลฯ ชนิดอัปปณิหิตะ ฯลฯอวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต. ( โสดาปัตติผล )

พระโสดาบันเริ่มต้นด้วยเหตุคือปฐมฌานในโสดาปัตติมัคค
โสดาปัตติผลย่อมมีผลเป็นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน หรือปฐมฌาน-ปัญจมฌาน



รู้อย่างไรว่าเป็นถึงขั้นพระโสดาบันแล้ว ?


ปีติ สุข และอุเบกขาจากโลกุตตระฌานในโสดาปัตติผลเป็นองค์ธรรมชี้วัดการบรรลุธรรมเจ้าค่ะ เริ่มด้วยโลกุตตระฌาน ผลย่อมเป็นโลกุตตระฌาน มีฌานเป็นปทัฏฐานของการบรรลุมัคคผลเจ้าค่ะ.


พระโสดาบัน ใช่ ธรรมจักษุ หรือเปล่าครับ ?

ธรรมจักษุ คือลักษณะอย่างนี้เจ้าค่ะ

[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็หลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


อย่างนี้เรียกว่า ธรรมจักษุ เจ้าค่ะ





การสร้างบารมี เขาทำกันอย่างไรครับ ทั้งในทางพระ และบุคคลทั่วไปครับ ได้ยินเขาพูดกันบ่อยๆ สงสัยครับ


โดย : เซนทฺ [DT08728] 13 ม.ค. 2552 23:03 น.



1. เป็นพระภิกษุ การรับของจากโยมแต่น้อยพอดีพอใช้คือการให้เป็นทานบารมี การแสดงธรรมคืออริยะสัจ 4 แก่โยมเป็นธรรมทาน ก็เป็นทานบารมีเจ้าค่ะ

2.การสำรวมกาย วาจา ใจ คือศีลบารมีเจ้าค่ะ

3.การบรรลุฌานสมาบัติ 8 การบรรลุมัคค 4 ผล 4 เป็นเนกขัมมะบารมีเจ้าค่ะ

4.การกำจัดนิวรณ์ 5 และกามสัญญาทั้งหลายด้วยฌานสมาบัติ 8 การกำจัดกิเลสสังโยชน์ด้วยอริยะมัคค 4 เรียกว่าปัญญาบารมีเจ้าค่ะ

5.การยังกุศลจิตคือฌานสมาบัติ 8 และอริยะมัคค 4 ที่ไม่เกิดขึ้นให้บังเกิดขึ้น ที่เกิดแล้วให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ เรียกว่า วิริยะบารมีคือความเพียรเจ้าค่ะ

6.การข่มนิวรณ์ 5 ด้วยฌานสมาบัติ 8 และกำจัดกิเลสสังโยชน์ให้หมดสิ้นด้วยอริยะมัคค 4 จิตนั้นไม่ฟุบลงด้วยอำนาจของความเกียจคร้าน ไม่ฟูขึ้นด้วยอำนาจยั่วยวนของกิเลส เรียกว่า ขันติบารมีเจ้าค่ะ

7.การเจริญสมถะวิปัสสนาในอริยะสัจ 4 โดยมีฌาน 4 เป็นบาทเพื่อทำเหตุให้ตรงกับผล เพื่อบรรลุโลกียะฌาน 8 หรือบรรลุโลกุตตระฌาน 4 เรียกว่า สัจจะบารมีเจ้าค่ะ

8.การตั้งความปรารถนาอันแน่วแน่มั่นคงอย่างแรงกล้า เพื่ออบรมจิตด้วยปัญญาเครื่องเผากิเลส ให้บรรลุฌานสมาบัติ 8 ให้บรรลุมัคค 4 ผล 4 ที่ยังไม่บรรลุให้บรรลุให้ได้สำเร็จ เรียกว่า อธิษฐานบารมีเจ้าค่ะ

9.การเจริญฌานสมาบัติ 8 อันประกอบด้วยพรหมวิหาร 4 เรียกว่า เมตตาบารมีเจ้าค่ะ

10.การเข้าฌานสมาบัติ 8 บ่อย ๆ การเข้าผลสมาบัติ 4 บ่อย ๆ การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ่อย ๆ เพื่อให้จิตนั้นสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เรียกว่า อุเบกขาบารมีเจ้าค่ะ



เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.


สาธุ อนุโมทนาบุญครับ ขอบคุณครับ


พระโสดาบัน คือพระอริยะ ท่านละสังโยชน์เบื้องต้นได้ ๓ ข้อ ใน ๑๐ ข้อ คือ

ข้อที่ ๑ เรียกว่า สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่า กายของตน, ไม่ใช่ของตน
ข้อที่ ๒ เรียกว่า วิจิกิจฉา ความลังเล ไม่แน่ใจ ตัดสินใจไม่ได้ในเรื่องต่าง ๆ
ข้อที่ ๓ สีลัพพตปรามาส ลูบคลำศีล คือ รักษาศีล แบบขาด ๆ ไม่จริงจัง

รู้ได้อย่างไรว่า บรรลุโสดาบัน เรื่องนี้ ท่านว่า

สันทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติ รู้เอง เห็นเอง
ปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน

“เหมือนกินข้าวอิ่มก็รู้ ไม่ต้องถามใคร”

ธรรมจักษุ แปลว่า ผู้มีดวงตาเห็นธรรม ท่านใช้เรียก พระอริยะตั้งแต่ชั้นต้น คือ พระโสดาบันขึ้นไปถึง พระอรหันต์

บารมีท่านแบ่งเป็น

บารมีต้นเรียก บารมี ๑๐
บารมีระดับกลางเรียก อุปบารมี ๑๐
บารมีระดับสูงสุดเรียก ปรมัตถบารมี ๑๐

รวมแล้วท่านเรียก บารมี ๓๐ ทัศ (สำหรับท่านผู้ปรารถนาพระโพธิญาณ)
สำหรับเรา ๆ ท่าน ๆ ก็คงอยู่แค่ บารมี ๑๐ นี้เท่านั้น

บารมี ๑๐ สำหรับ ผู้ต้องการบำเพ็ญ ไม่ว่าพระ หรือ ฆารวาส ทำได้ทั้งสิ้น ก็มีดังนี้ :---

• ทาน
• ศีล
• เนกขัมมะ
• ปัญญา
• วิริยะ
• ขันติ
• สัจจะ
• อธิษฐาน
• เมตตา
• อุเบกขา

แต่จะอธิบายแค่ บารมีเดียว คือ ศีล หรือ สีลบารมี เพราะนอกนั้นคล้ายกันหมด

ศีลบารมี หรือ สีลบารมีนี้ ยังแบ่งออกไปเป็น ๓ ชั้น คือ

- สีลบารมี ได้แก่ ศีลที่บำเพ็ญ “ด้วยรักศีลยิ่งกว่าบุคคลที่รักทรัพย์สิน” คือ เสียทรัพย์ไปดีกว่าศีลขาด ดังภาษิตว่า “ผู้รักษาศีลพึงรักศีล เคารพในศีล เหมือนนกต้อยตีวิดรักษาไข่ เหมือนจามรีรักษาขนหางเหมือนมารดารักษาลูกที่รัก หรือเหมือนคนตาบอดข้างหนึ่งรักษานัยต์ตาอีกข้างหนึ่งที่เหลืออยู่”

- สีลอุปบารมี ได้แก่ ศีลที่บำเพ็ญ “ด้วยรักศีลยิ่งกว่าอวัยวะร่างกายของตน” เสียอวัยวะ เช่น แขน ขา ฯลฯ ไปดีกว่าศีลขาด ดังคำของ จัมเปยยกนาค ว่า “ร่างกายของเราจงแตกกระจัดกระจายอยู่ในที่นี้ เหมือนแกลบที่เขาโปรยกระจัดกระจายอยู่ก็ตามที เราจะไม่ทำลายศีล”

- สีลปรมัตถบารมี ได้แก่ ศีลที่บำพ็ญ “ด้วยรักศีลยิ่งกว่าชีวืตของตน” เสียชีวิตไปก็ไม่เสียดาย ดีกว่าทำศีลขาด ดังคำของ ภูริทัตนาคราช ว่า “ความสละชีวิตของตนเบายิ่งกว่าหญ้าในเรา ความละเมิดศีลสำหรับเราเหมือนพลิกแผ่นดิน” และดังภาษิตว่า “นรชนพึงสละทรัพย์เพราะเหตุแห่งอวัยวะเมื่อจะรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ เมื่อระลึกถึงธรรม พึงสละทุกอย่างทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต”

สรุปว่า การบำเพ็ญบารมีแบ่งเป็น ๓ ขั้น คือ

- รักบารมีที่บำเพ็ญ ยิ่งกว่าทรัพย์ สิ่งของ
- รักบารมีที่บำเพ็ญ ยิ่งกว่า อวัยวะในร่างกาย
- รักบารมีที่บำเพ็ญ ยิ่งกว่า ชีวิตของตน

ทีนี้ท่านใดต้องการบำเพ็ญบารมีขั้นใดก็เลือกเอาตามใจแล....

เจริญธรรม





พระโสดาบัน ท่านปิดอบายภูมิได้แล้ว

นั่นคือว่า การกระทำใดๆที่จะพาให้ตกไปยังอบายภูมิ ท่านละการกระทำนั้นๆได้เด็ดขาด

ขอเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกท่าน ๛


พระเถรีทั้งหมดนั้น ชื่อว่ามีประเภทเดียวโดยเป็นสาวิกาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฉันใด มีประเภทเดียวโดยเป็นพระอเสขะ โดยถอนกิเลสดุจกลอนเหล็กได้แล้ว โดยกลบกิเลสดุจคูเสียแล้ว โดยเพิกถอนกิเลสเสียแล้ว โดยไม่มีกิเลสดุจลิ่มสลัก โดยปลงภาระลงแล้ว โดยไม่มีสังโยชน์แล้ว และโดยอยู่จบธรรมเครื่องอยู่ในอริยวาส ๑๐ แล้วก็ฉันนั้น.
จริงอย่างนั้น พระเถรีเหล่านั้น ชื่อว่ามีประเภทเดียวโดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ คือ ผู้ละองค์ ๕ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ผู้มีเครื่องอารักขา ๑ ผู้มีอปัสเสนธรรม ๔ ผู้เป็นปณุนนปัจเจกสัจจะ (บรรเทาสัจจะเฉพาะอย่าง) ผู้เป็นสมวยสัฏเฐสนะ ผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว ผู้มีกายสังขารอันระงับแล้ว ผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยดี และผู้มีปัญญาหลุดพ้นด้วยดี
ชื่อว่ามี ๒ ประเภทต่างโดยเป็นสาวิกาต่อหน้าและเป็นสาวิกาลับหลัง.
จริงอยู่ พระเถรีเหล่าใดเกิดในอริยชาติ [เป็นพระอริยะ] เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ มีพระมหาปชาบดีโคตมีเป็นต้น พระเถรีเหล่านั้น ชื่อว่าสาวิกาต่อหน้า.
ส่วนพระเถรีเหล่าใดได้บรรลุคุณวิเศษ ภายหลังแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระเถรีเหล่านั้น แม้เมื่อพระธรรมสรีระของพระศาสดายังประจักษ์อยู่ ก็ชื่อว่าสาวิกาลับหลัง เพราะพระสรีระของพระศาสดา ไม่ประจักษ์แล้ว.
..........................
บรรลุคุณวิเศษ ภายหลังแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
สาวิกาลับหลัง
***มีอยู่***


สุเมธาเถรีคาถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26.0&i=474&p=3
.........


เมื่อสมัยพระพุทธองค์ หรือสมัยประมาณ 500ปี หลังปรินิพาน ยังมี พระอรหันต์ อยู่ คำแนะนำ ของท่าน เหล่านั้น เปรียบ เหมือน สพานทางด่วน ข้ามฝั่งไปยังแดน โสดา ไม่ตกต่ำอีก เกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ
......

แต่ปรากฎว่า พระนาคเสน สมัยยังเป็นพระ เยาว์วัย ยังไม่ บรรลุธรรม ได้แสดงอภิธรรม ให้ยายท่านหนึ่ง ขณะเดินทาง คุณยายนั้น ได้ โสดา. พระนาคเสนเองกลับมาพิจารณา ธรรมนั้น ได้ อรหันตผล. แต่อาจารย์ของพระนาคเสน นะเป็นพระ อรหันต์

....

สมัยนี้ ไม่มีสพานทางด่วนแล้ว...
เราท่าน ต้อง ว่ายน้ำข้ามไปเอง ในน้ำ ก็ มี จรเข้ มาก
แต่ตำราว่ายน้ำ ยังมีอยู่ แผนที่ ว่า ฝั่งอยู่ไหน ยังมี อยู่
............







อนุโมทนาคุณน้ำเค็ม และทุกท่าน

สาริปุตตสูตรที่ ๑
เป็นพระโสดาบันเพราะมีธรรม ๔ ประการ


[๑๔๒๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรกับท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระอานนท์ออกจากที่เร้นเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า

ดูกรท่านสารีบุตร เพราะเหตุที่ประกอบด้วยธรรมเท่าไร หมู่สัตว์นี้พระผู้มีพระภาคจึงจะทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้
ในเบื้องหน้า?

[๑๔๒๖] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ เพราะเหตุที่ประกอบด้วยธรรม ๔ประการ หมู่สัตว์นี้พระผู้มีพระภาคจึงจะทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็น
ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า ฯลฯ
ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ เพราะเหตุที่ประกอบ
ด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล หมู่สัตว์นี้พระผู้มีพระภาคจึงจะทรงพยากรณ์ว่า เป็นโสดาบัน
มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.


สาริปุตตสูตรที่ ๒
ว่าด้วยองค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา


[๑๔๒๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระ-*สารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร ที่เรียกว่า โสตาปัตติยังคะ (องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา)ดังนี้
โสตาปัตติยังคะเป็นไฉน?

[๑๔๒๘] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ คือ

สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ ๑
สัทธรรมสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่าน ๑
โยนิโสมนสิการกระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ ๑
ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.


[๑๔๒๙] พระพุทธเจ้า : ถูกละๆ สารีบุตร โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริสสังเสวะ ๑ สัทธรรม-*สวนะ ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑.

[๑๔๓๐] ดูกรสารีบุตร ก็ที่เรียกว่า ธรรมเพียงดังกระแสๆ ดังนี้ ก็ธรรมเพียงดัง
กระแสเป็นไฉน?

ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยมรรคประกอบด้วย
องค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมกัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ชื่อว่า ธรรมเพียงดังกระแส.


[๑๔๓๑] พระพุทธเจ้า : ถูกละๆ สารีบุตร อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมา-
*ทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ชื่อว่า ธรรมเพียงดังกระแส.


[๑๔๓๒] ดูกรสารีบุตร ที่เรียกว่า โสดาบันๆ ดังนี้ โสดาบันเป็นไฉน?
สารีบุตร : ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ใดประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ผู้นี้เรียกว่า
พระโสดาบัน ท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้.

[๑๔๓๓] พระพุทธเจ้า : ถูกละๆ สารีบุตร ผู้ซึ่งประกอบด้วยอริยมรรค ๘ นี้ เรียกว่า โสดาบันท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้.



อุบาสิกาบรรลุมรรค ๓ ผล ๓ ก่อนภิกษุ

อุบาสิกา. พ่อคุณทั้งหลาย ชื่อว่าสมณธรรมนั้นคืออะไร?
ภิกษุ. มหาอุบาสิกา พวกฉันทำการสาธยายอาการ ๓๒ เริ่มตั้ง ซึ่งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพอยู่.
อุบาสิกา. ท่านเจ้าขา การทำการสาธยายอาการ ๓๒#- และการเริ่มตั้งความสิ้นความเสื่อมในอัตภาพ ย่อมสมควรแก่พวกท่านเท่านั้น หรือย่อมสมควรแก่พวกดิฉันด้วยเล่า?
____________________________
#- คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ถ้าเติมมัตถลุงคัง มันสมองเข้าด้วย เป็น ๓๒ ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

ภิกษุ. มหาอุบาสิกา ธรรมนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงห้ามแก่ใครๆ.
อุบาสิกา. ถ้าอย่างนั้น ขอพวกท่านจงให้อาการ ๓๒ และขอจงบอกการเริ่มตั้ง ซึ่งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพ แก่ดิฉันบ้าง.
ภิกษุ. มหาอุบาสิกา ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียนเอา. แล้วให้เรียนเอาทั้งหมด.

อุบาสิกาบรรลุมรรค ๓ ผล ๓ ก่อนภิกษุ
จำเดิมแต่นั้น อุบาสิกานั้นก็ได้ทำการสาธยายซึ่งอาการ ๓๒ (และ) เริ่มตั้งไว้ซึ่งความสิ้นไปและความเสื่อมไปในตน ได้บรรลุมรรค ๓ ผล ๓ ก่อนกว่าภิกษุเหล่านั้นทีเดียว. ปฏิสัมภิทา ๔ และโลกิยอภิญญา ได้มาถึงแก่อุบาสิกานั้นโดยมรรคนั่นแล.
นางออกจากสุขอันเกิดแต่มรรคและผลแล้ว ตรวจดูด้วยทิพยจักษุใคร่ครวญอยู่ว่า “เมื่อไรหนอแล? พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นบุตรของเราจึงจักบรรลุธรรมนี้” แล้วรำพึง (ต่อไป) ว่า “พระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้ทั้งหมด ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ, พระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นมิได้มีคุณธรรมแม้สักว่าฌานและวิปัสสนาเลย อุปนิสัยแห่งพระอรหัตของพระผู้เป็นเจ้าผู้บุตรของเรา มีอยู่หรือไม่หนอ?” เห็นว่า “มี” ดังนี้แล้ว จึงรำพึง (ต่อไป) ว่า “เสนาสนะเป็นที่สบาย จะมีหรือไม่มีหนอ?” เห็นแม้เสนาสนะเป็นที่สบายแล้ว จึงรำพึง (ต่อไปอีก) ว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายของเรายังไม่ได้บุคคลเป็นที่สบายหรือหนอ? เห็นแม้บุคคลเป็นที่สบายแล้ว จึงใคร่ครวญอยู่ว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายยังไม่ได้อาหารเป็นที่สบายหรือหนอ?” ก็ได้เห็นว่า “อาหารเป็นที่สบายยังไม่มีแก่พวกเธอ.”
จำเดิมแต่นั้นมา ก็จัดแจงข้าวยาคู๑- อันมีอย่างต่างๆ และของขบเคี้ยวเป็นอเนกประการ และโภชนะมีรสต่างๆ อันเลิศแล้ว นิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้นั่งแล้ว จึงถวายน้ำทักษิโณทก๒- แล้ว มอบถวายด้วยคำว่า “ท่านผู้เจริญ พวกท่านชอบใจสิ่งใดๆ ขอจงถือเอาสิ่งนั้นๆ ฉันเถิด.”
ภิกษุเหล่านั้น รับเอาวัตถุทั้งหลายมีข้าวยาคูเป็นต้นแล้ว บริโภคตามความชอบใจ.
____________________________
๑- แปลตามพยัญชนะว่า …ยังข้าวยาคูมีอย่างต่างๆ ด้วย ยังของเคี้ยวมีประการมิใช่น้อยด้วย ยังโภชนะมีรสอันเลิศต่างๆ ด้วย ให้ถึงพร้อมแล้ว.
๒- แปลว่า น้ำเพื่อทักษิณา.

ภิกษุ ๖๐ รูปบรรลุพระอรหัต
เมื่อภิกษุเหล่านั้นได้อาหารอันเป็นที่สบาย จิตก็เป็นธรรมชาติ มีอารมณ์เดียว (แน่วแน่). พวกเธอมีจิตแน่วแน่เจริญวิปัสสนา ต่อกาลไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย แล้วคิดว่า
“น่าขอบคุณ! มหาอุบาสิกาเป็นที่พึ่งของพวกเรา; ถ้าพวกเราไม่ได้อาหารอันเป็นที่สบายแล้วไซร้, การแทงตลอดมรรคและผล คงจักไม่ได้มีแก่พวกเรา (เป็นแน่), บัดนี้ พวกเราอยู่จำพรรษาปวารณาแล้ว จักไปสู่สำนักของพระศาสดา”

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13&p=2




 4,144 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย