วัดไชโย วรวิหาร (วัดเกษไชโย) อ่างทอง





วัดไชโย วรวิหาร (วัดเกษไชโย) อ่างทอง พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2300
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2433


วัดไชโยวรวิหาร
เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นโท เดิมเป็นวัดราษฎร์เก่าแก่ มีนามว่า วัดไชโย ครั้นเมื่อสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตารามได้เลือกวัดนี้เป็นที่สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ตั้งอยู่กลางแจ้ง กล่าวว่าการก่อสร้างพระพุทธรูปนี้ใช้เวลานานเกือบ 3 ปี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงเสร็จ แล้วสมเด็จพุฒาจารย์ได้ถวายวัดไชโยเป็นวัดหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเกษไชโย”

ใน พ.ศ.2430 มีการปฏิสังขรณ์วัดเกษไชโยทั้งพระอาราม ทำให้พระพุทธรูปได้รับแรงกระเทือนจากการก่อสร้างพระวิหารก็พังทลายลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ทดแทนโดยโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการเป็นแม่กองช่าง โดยรื้อองค์พระเดิมออกหมด วางรากฐานก่อสร้างใหม่ใช้โครงเหล็กรัดอิฐปูนไว้ภายในลดขนาดจากองค์เดิมลงพระพุทธรูปองค์นี้ได้รับพระราชทานนาม “พระมหาพุทธพิมพ์” ขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว สูง 11 วา ศอก 7 นิ้ว และโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดไชโยให้เป็นพระอารามหลวง นอกจากนี้ยังมีการก่อ พระวิหาร สร้างพระอุโบสถเป็นมุขลดยื่นออกมาทางด้านหน้า มีศาลาราย กำแพงแก้ว ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ หอระฆัง ศาลารายกลางวัด ศาลาท่าน้ำ รวมเวลาการปฏิสังขรณ์นานถึง 8 ปี

วัดไชโยวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลไชโย อำเภอไชโย จากอ่างทองใช้ทางหลวงหมายเลข 309 (อ่างทอง-สิงห์บุรี) ประมาณ 17 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาบริเวณสถานีตำรวจภูธรตำบลไชโยอีกประมาณ 300 เมตร จะถึงจุดหมาย

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระมหาพุทธพิมพ์ (หลวงพ่อโต) •


{ พระวิหาร }
มีความสูงใหญ่มากแห่งหนึ่ง รูปทรงแปลกตา ด้านนอกมีรูปทวารบาลลายรดน้ำ เป็นรูปเสี้ยวกวาง เสาหารด้านหน้า-หลังพระวิหารมีขนาดใหญ่โตมาก


{ ภายในพระอุโบสถ }
พระประธานเป็นพระพุทธรูปปั้นปางสมาธิ ผนังทุกด้านมีภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเรื่องพุทธประวัติ ภาพเหล่าทวยเทพที่วิจิตรงดงาม ยังอยู่ในสภาพที่ดี บานประตูแกะสลักอย่างประณีต


{ พระมหาพุทธพิมพ์ หรือที่เรียกว่า หลวงพ่อโต }
เป็นฝีพระหัตถ์ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีพุทธลักษณะที่โดดเด่นกว่ายุคสมัยที่ไม่ยึดแนวอุดมคติตายตัว พระพักตร์และพระกรรณจึงเหมือนคนธรรมดามากกว่า มีริ้วรอยย่นของ สบง จีวร ชัดเจน


{ วิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) }



{ หลวงพ่อชนะมาร(ชัยชนะ) }
ภายในโบสถ์ตาโห้หลังพระวิหารหลวง




10,948







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย