วัดราชนัดดาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร





วัดราชนัดดาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดเธงเธฃเธงเธดเธซเธฒเธฃ สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2389
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2389


วัดราชนัดดารามวรวิหาร พระเจดีย์ โลหะปราสาท 7 แผ่นดิน สู่ “เอกพุทธศิลป์สถาปัตย์รัตนโกสินทร์” หนึ่งเดียวในโลก

เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้น ณ ริมคลองรอบกรุง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระราชนัดดาพระองค์เดียวที่ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2389 ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางนาฏโสมนัสวัฒนาวดี บรมอัครราชเทวี พระอัครมเหสีพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระเจดีย์ โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร เป็นชื่อดั้งเดิมของอินเดีย เรียกมาแต่ครั้งสมัยพุทธกาล หมายถึง คฤหาสน์ที่มียอดเป็นโลหะ สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีหลายชั้นและใช้ประโยชน์เป็นส่วนสังฆวาส อุบัติขึ้นในโลกเพียง 3 แห่ง
แห่งแรก สร้างขึ้นในประเทศอินเดียเมื่อครั้งพุทธกาล ณ วัดบุพพาราม เมืองสาวัตถีซึ่งสูญสลายไปหมดสิ้นตามกาลเวลา
แห่งที่ 2 สร้างขึ้นในประเทศสรีลังกา ปัจจุบันปรักหักพังเหลือแต่ซากกองอิฐ ราวพุทธศักราช 387
แห่งที่ 3 สร้างขึ้นในประเทศไทย ณ วัดราชนัดดารามวรวิหาร พุทธศักราช 2389 สร้างในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยให้ช่างออกแบบก่อสร้างโลหะปราสาท แทนกาารสร้างเจดีย์ โดยการสร้างตามลักษณะโลหะปราสาทแห่งที่สองคือที่ประเทศศรีลังกา โดยเอาของเดิมมาเป็นแบบ แล้วปรับให้เป็นสถาปัตยกรรม ตามศิลปกรรมแบบไทย ซึ่งเป็นอันอันสะท้อนถึงพระราชศรัทธาอันแรงกล้าที่พระองค์มีต่อพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง

นับว่าเป็นพระเจดีย์ โลหะปราสาทแห่งแรก แห่งเดียว ในประเทศไทย โดยสร้างเป็นอาคาร 7 ชั้น มียอดปราสาท 37 ยอด หมายถึง พระโพธิปักขิยธรรม (ธรรมเป็นไปในทางปัญญาเครื่องตรัสรู้) 37 ประการ ยอดปราสาทชั้น 7 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กลางปราสาทเป็นช่องกลวง มีบันไดเวียน 67 ขั้น ให้เดินขึ้นไปดูทิวทัศน์ข้างบนได้

พระเจดีย์โลหะปราสาท เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อครั้งงานฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2539 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชการที่ 9 ท่านทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐาน ณ พระเจดีย์บุษบก โลหะปราสาท เมื่อวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538

พระอุโบสถ วัดราชนัดดารามวรวิหาร ล้อมรอบด้วยแท่นซุ้มสีมา 8 ซุ้ม หน้าบันประดับด้วยกระจกสีน้ำเงินเข้ม มีช่อฟ้า ลำยอง นาคสะดุ้ง ใบระกา และหางหงส์ ตามแบบสถาปัตยกรรมไทย บานประตูหน้าต่างด้านในและส่วนลึกของช่องประตูเป็นภาพเขียนสีลายทวารบาล ส่วนลึกของบานหน้าต่างเป็นภาพรามเกียรติ์และอดีตชาติของพระพุทธเจ้า บานหน้าต่างด้านในเป็นรูปเทพต่าง ๆ

ภายในประดิษฐาน “พระพุทธเสฏฐุตตมมุนิทร์” พระพุทธรูปปางมารวิชัย เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ให้ขุดแร่ที่อำเภอจันทึก จังหวัดนครราชสีมา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ หล่อพระพุทธปฏิมากร และนำมาประดิษฐานยังวัดราชนัดดารามวรวิหาร

ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถทางด้านหลังพระประธาน เป็นภาพพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ เพื่อทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา ซึ่งต่างจากวัดอื่น ๆ ที่มักนิยมเขียนภาพพุทธประวัติตอนปราบมาร ส่วนผนังด้านข้างของพระอุโบสถ เป็นภาพสวรรค์ โดยมีองค์ประกอบเป็นภาพท้องฟ้า (กลุ่มดาวฤกษ์ต่าง ๆ) พระอาทิตย์ และพระจันทร์ พร้อมด้วยเทวดากำลังเหาะมาเป็นหมู่ ๆ

พระวิหาร วัดราชนัดดารามวรวิหาร เป็นอาคารทรงโรง สูงใหญ่ขนาดไล่เลี่ยกับพระอุโบสถ หน้าบันด้านหน้าและด้านหลังมีลวดลายเหมือนกันคือ ลายดอกพุดตาน ประดับด้วยกระจกสีปิดทอง เช่นเดียวกับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั้นดอกพุดตานปิดทองที่ดอกลาย บานประตูหน้าต่างมีภาพเขียนสี ฐาน 2 ชั้น ภายในมีภาพเขียนที่เพดานและผนัง เพดานมีลายดาวและผีเสื้อ ฝาผนังมีลายเขียนสีดอกไม้ร่วง ฝาผนังด้านหลังพระพุทธรูปเป็นภาพนูนต่ำลายช้างสามเศียรแบกวิมาน ภายในวิมานมีพระพุทธรูป 3 องค์ ปางประทานพร 1 องค์ และปางสมาธิ 2 องค์ ปิดทองที่ลวดลาย ลายวิมานนี้เป็นเครื่องหมายประจำรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น ลวดลายเขียนสีของฝาผนังด้านนี้เป็นลายเครือเถาดอกพุดตาน บริเวณคอสองเป็นลายพวงมาลัย เสาเหลี่ยมลบมุมไม่มีลวดลายที่ลายเสา มีระเบียงรอบพระวิหาร กำแพงรอบพระวิหารประดับด้วยกระเบื้องปรุ เช่น ลายประจำยาม ลายภายในวงกลม เป็นต้น ฐานพระวิหารเป็นฐานสิงห์

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• โลหะปราสาท •


{ โลหะปราสาท }
เป็นโลหะปราสาทองค์แรกและองค์เดียวของไทย และถือเป็นองค์ที่ 3 ของโลก สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ในพื้นที่วัดราชนัดดารามวรวิหาร และอยู่ในบริเวณลานพลับพลามหาเจษฏาบดินทร ยอดปราสาทประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

โลหะปราสาท ได้รับการปรับปรุงหลายครั้ง ภายหลังก่อสร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ภายหลังพระองค์สวรรคตลง โลหะปราสาทก็มิได้ปรับปรุงแล้วเสร็จ จนกระทั่งได้บูรณะครั้งใหญ่จนแล้วเสร็จในสมัยพระราชปัญญาโสภณ (สุข ปุญญรํสี) ปี พ.ศ. 2506 โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ร่วมกันปรับปรุงแล้วเสร็จ เป็นแบบก่อโบกปูนสีแดง มณฑปทาสีขาว

ในปี พ.ศ. 2539 พล.อ.ต.อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรม (ในเวลาต่อมา) ได้ออกแบบวัสดุมุงและเครื่องประดับหลังคาเป็นโลหะและทองแดงรมดำ ทำให้ออกมาเป็นสีดำ และในปี พ.ศ. 2555 กรมศิลปากรได้ร่วมกับทางวัดบูรณะ มณฑปให้เป็นสีทองแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2560


{ โลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม วรวิหาร }


{ ยอดปราสาทชั้น 7 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ }


{ พระอุโบสถ }


{ พระเสฏฐตมมุนี พระประธานในพระอุโบสถ }


ภายในโลหะปราสาท




10,927







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย