วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร





วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดเธงเธฃเธกเธซเธฒเธงเธดเธซเธฒเธฃ สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2200
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2370


สร้างตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระประธานยิ้มรับฟ้า เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระราชาคณะในสมัยรัชกาลที่ 4

วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร หรือวัดระฆัง เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1 เป็นวัดโบราณที่สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ และยกเป็นพระอารามหลวง เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ และยังเป็นที่ประชุมสังคายนาพระไตรปิฎก ซึ่งอัญเชิญมาจากนครศรีธรรมราชอีกด้วย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด จึงทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดระฆังโฆสิตาราม" นับจากนั้นเป็นต้นมา

สถาปัตยกรรมที่สวยงามภายในวัด มีหอพระไตรปิฎก ในอดีตเคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี อีกทั้งยังมีพระอุโบสถที่เป็นทรงแบบรัชกาลที่ 1 คือมีหลังคาลด 3 ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวยสลักเสลาอย่างสวยงาม ภายในประดิษฐานพระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ 4 ศอกเศษ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก 3 องค์ ปัจจุบันเปิดให้เข้าไปเยี่ยมชมและสักการะได้ทุกวัน

เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 8.00-17.00 น.

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• หลวงพ่อยิ้มรับฟ้า พระประธานในพระอุโบสถ , สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) อดีตเจ้าอาวาส •


{ พระอุโบสถ }
พระอุโบสถที่เป็นทรงแบบรัชกาลที่ 1 คือมีหลังคาลด 3 ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวยสลักเสลาอย่างสวยงาม ภายในประดิษฐานพระประธานยิ้มรับฟ้า


{ พระประธานยิ้มรับฟ้า}
เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ 4 ศอกเศษ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก 3 องค์


{ หอพระไตรปิฎก }
เป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระพระไตรปิฎก​


{ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) }
อดีตเจ้าอาวาส (พ.ศ.2395 - พ.ศ.2415) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ซึ่งรู้จักกันดีในนาม “สมเด็จโต” หรือ “หลวงพ่อโต” พระเถระผู้แตกฉานในพระไตรปิฎก และทรงคุณทางวิปัสสนาธุระ


{ ระฆัง ๕ ใบ สัญลักษณ์วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร }


{ ศาลาธรรม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา }


{ พระปรางค์ }


{ ภาพมุมสูงวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา }




11,493







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย