รู้สึกมั้ยคะว่าภาษาธรรมะบางทีเข้าใจยาก

 iggy    

เป็นคนที่สนใจชอบอ่านหนังสือหรืออะไรเกี่ยวกับธรรมะ แต่บางทีอ่านแล้วก็ไม่รู้เรื่องจนทำให้เกิดความเบื่อเพราะศัพท์นั้นแหละค่ะ น่าจะแปลให้ด้วยว่าแปลว่าอะไร แทบทุกคำที่เป็นศัพท์ธรรมะจะไม่รู้เรื่องเลย เช่น
1.อุปัฐฐาก
2.อนุโมทนา
3.ผัสสะ
4.มิจฉาทิฐิ
5.สุญยตา
เกือบทุกคำเลยนะคะที่ไม่เข้าใจแต่ยกตัวอย่างแค่นี้ก่อน บางทีวัยรุ่นบางคนก็สนใจธรรมะแต่เหนื่อยหน่ายกับคำศัพท์ที่ไม่รู้เรื่องนะคะ อย่างเช่น มีหนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า รู้ทันทวารทั้ง6 ในความคิดตอนแรกดิฉันเข้าใจว่า ทวารคือส่วนตรงนั้นที่ไว้ปลดทุกข์นะคะก็เลยไม่ค่อยกล้าหยิบดูว่าคืออะไรนะคะ




สาธุ สาธุที่สนใจอ่านธรรมะ อย่าเพิ่งเบื่อกับศัพท์ต่างๆเลยครับ ค่อยๆเีีรียนรู้ไปนะครับ ไม่มีใครรู้อะไรมาตั้งแต่แรกดอกครับ แม้วิชาทางโลกเรายังอดทนเรียนกันได้ ธรรมะเป็นวิชาที่เกี่ยวกับชีวิตเรามากที่สุด ก็ควรต้องเรียนให้รู้ครับ เพราะเมื่อรู้แล้วจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง ถึงที่สุดคือพ้นทุกข์ทั้งมวลนะครับ ก็เืมื่อสงสัยพึงถามผู้รู้อันเป็นกัลยาณมิตร เช่นในที่นี้ ก็มีผู้รู้หลายท่านที่มีเมตตาคอยตอบให้นะครับ

การสนทนาธรรม การถามปัญหาธรรมล้วนเป็นมงคลครับ ต่อไปนี้เป็นความหมายของศัพท์ที่ถามมานะครับ หากยังมีคำถามอีกก็อย่าลังเลถามครับ ผมจะพยายามตอบและท่านผู้รู้อื่นคงเข้ามาช่วยตอบครับ

1.อุปัฐฐาก = ดูแล ปรนนิบัติ รับใช้
2.อนุโมทนา = พลอยยินดีด้วยเมื่อทราบว่าผู้อื่นทำดี
3.ผัสสะ = ความกระทบ, การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก
4.มิจฉาทิฐิ = เห็นผิด, ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม เช่นเห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
5. สุญญตา = "ความเป็นสภาพสูญ";, ความว่าง
1. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ
2. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน
3. โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน)เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และ เพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์
4. ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย; สุญตา ก็เขียน



บางทีวัยรุ่นบางคนก็สนใจธรรมะแต่เหนื่อยหน่ายกับคำศัพท์ที่ไม่รู้เรื่องนะคะ
ตรงนี้ผมเห็นใจและเข้าใจครับ

อย่างเช่น มีหนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า รู้ทันทวารทั้ง6 ในความคิดตอนแรกดิฉันเข้าใจว่า ทวารคือส่วนตรงนั้นที่ไว้ปลดทุกข์นะคะก็เลยไม่ค่อยกล้าหยิบดูว่าคืออะไรนะคะ โดย : [DT07341] 5 ก.ย. 2551 11:55 น.

เรื่องทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจครับ โดยคำแปลคือ
ทวาร= ประตู, ทาง, ช่องตามร่างกาย

1. ทางรับรู้อารมณ์ มี ๖ คือ

๑. จักษุทวาร ทางตา ๒. โสตทวาร ทางหู ๓. ฆานทวาร ทางจมูก ๔. ชิวหาทวาร ทางลิ้น ๕. กายทวาร ทางกาย ๖. มโนทวาร ทางใจ

2. ทางทำกรรม มี ๓ คือ

๑. กายทวาร ทางกาย ๒. วจีทวาร ทางวาจา ๓. มโนทวาร ทางใจ


อ่านได้เลยครับไม่ต้องกลัว อนุโมทนาด้วยครับ และขอให้เจริญในธรรมครับ


สาธุ อนุโมทามิ ฯ


พระที่พูดง่ายๆก็มีนะ สอนง่ายๆก็มี
แต่พอพูดง่ายๆ สอนง่ายๆ คนกลับคิดว่ามันไม่ยากพอ
ดูแล้วไม่น่าเชื่อถือ ต้องอ้างต้องยกอะไรมากมาย
ต้องภาษาแขกเยอะๆถึงจะดูดี น่าเชื่อถือ

ซึ่งธรรมะไม่ใช่เรื่องต้องเชื่อ
แต่ฟังแล้วต้องเอาไปปฏิบัติ จนเห้นจริงเอง เกิดประสบการณืตรงเอง
ก้จะเป้นการตรวจคำตอบสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา

ลองศึกษางานของท่านต่อไปนี้ ท่านพูดง่ายมาก ไม่ต้องพึ่งศัพท์แสงมากมาย
อย่างที่จะแนะนำให้นี้ มีพระฝรั่งด้วย คนก็แหยงว่าจะไปรู้เรื่องอะไร
เป้นความคิดไปเองของเราๆท่านๆ ที่ตีตนไปก่อนไข้
ความจริงท่านฝรั่งนี่แหละ ท่านไต่เต้ามาจากการพุดภาษาไทยไม่เป้นสักคำ
ท่านรู้ดีกว่าใครว่ามันยากยังไงในการเข้าใจธรรมะด้วยภาษาไทย+บาลี
ท่านจึงแสดงธรรมะได้เรียบง่ายที่สุด เพราะหัวอกเดียวกัน

พระอาจารย์ สุเมโธ
พระอาจารย์ มิตซูโอะ เควสโก
พระอาจารย์ ชยสาโร
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช


ทีนี้ระดับอาจารย์ของพระอีกที ยังอ่านง่ายฟังง่ายอยู่
- พระอาจารย์ชา สุภัทโท
- หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ
- หลวงปู่ดุลย์ อตุโล


www.wimutti.net
www.baanaree.net

แนะของง่ายให้แล้ว ก็อย่าไปคิดว่ามันง่ายจนไม่มีความน่าเชื่อถือนะครับ
ที่ผมแนะมานี้ ระดับแถวหน้าทั้งนั้นเลย


 3,964 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย