ถาสเรื่องการกราวน้ำ

     

กระผมเคยไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปก็บ่อย ตอนที่พระให้พรนั้นบางครั้งเราเองก็เป็นผู้กราวดน้ำเอง แต่บางครั้งพระท่านบอกกว่าท่านจะเป็นผู้กราวน้ำให้ เรากราดน้ำเองและพระกรวดน้ำให้มีผลต่างกันหรือไม่ครับ โปรดเมตตาช่วยตอบให้หายข้องใจด้วยครับ กราบขอบพระคุณมากๆ




เรื่องการกรวดน้ำ แสดงโดย ว.วชิรเมธี (พระมหาวุฒิชัย)


ความหมาย .-
คำว่า "กรวดน้ำ" นี้ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้คำจำกัดความไว้ว่า
"แผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งน้ำ" การกรวดน้ำแผ่สว่นบุญนั้น สรุปแล้วมีอยู่ ๔ ประการ คือ
๑.กรวดน้ำตัดขาดจากกัน
๒.กรวดน้ำยกกรรมสิทธิ์ให้
๓.กรวดน้ำตั้งความปรารถนา
๔.กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศล

.๑. การหลั่งน้ำเพื่อตัดขาดจากกัน เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์ไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา
เป็นราชธานี ทรงตัดขาดไมตรีกับพม่า เพื่อประกาศอิสรภาพเมื่อเมืองแครง เมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๗ โดยวิธีหลั่งน้ำลง เหนือแผ่นดิน

๒.การหลั่งน้ำยกกรรมสิทธิ์ให้ครอบครอง เช่น เมื่อคราวที่สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้พระอนุตตร
สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จไปสู่กรุงราชคฤห์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยราชบริพาร
ให้เลื่อมใสและได้ถวายวัดเวฬุวันเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดาเพราะ
ทรงเห็นว่าป่าไม้ไผ่ ที่เรียกว่า "พระราชอุทยานเวฬุวัน" เป็นที่ไม่ใกล้ ไม่ไกลจากชุมชนนัก สมควรเป็นที่อยู่ของสมณะได้

๓.การหลั่งน้ำตั้งความปรารถนา เพื่อให้สำเร็จผลที่ประสงค์ พึงเห็นตัวอย่างในมหาเวสสันดรชาดก
๔.การหลั่งน้ำแผ่กุศล พึงเห้นอุทาหรณ์ เช่น พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธาน เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้บรรดาเปรตซึ่งเป็นพระญาติในชาติก่อนปรากฏ ในมังคลัตถทีปนีคัมภีร์ในพระพุทธ
ศาสนาว่า "เมื่อพระราชาทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก ทรงอุทิศส่วนกุศลว่า อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ ขอทานนี้(บุญนี้) จงสำเร็จ
แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า" วิธีนี้เป็นการแผ่ส่วนกุศลให้แก่ญาติทั้ง มิตรและสรรพสัตว์ได้ ชื่อว่าเป็นปัตติทานมัย
บุญสำเร็จด้วยการแผ่ส่วนบุญ

ปัญหาชวนคิด .-
๑.ทำไมจึงต้องกรวดน้ำหลังเวลาทำบุญ แล้วจะกรวดก่อนไม่ได้หรือ ?
ตอบ.-ปัจจุบันนิยมกรวดน้ำหลังจากทำบุญถวายทานเสร็จแล้ว เพื่อประสงค์จะทำเจตนาของตนให้บริสุทธิ์ทั้ง ๓
กาล คือ ๑.ในกาลก่อนให้ ซึ่งเรียกว่า ปุพพเจตนา เจตนาก่อนให้ ๒.ในกาลที่กำลังให้ เรียบกว่า มุญจนเจตนา เจตนาขณะให้ ๓.อปราปรเจตนา เจตนาต่อ ๆ ไปหลังจากให้ทานแล้ว

๒.จะหลั่งน้ำกรวด เวลาไหน ? หยุดเวลาไหน ?
ตอบ.-การหลั่งน้ำกรวด ควรหลั่งในเวลาที่พระเถระผู้เป็นประธานเริ่มอนุโมทนาว่า "ยถา วาริวหา..." ก็เริ่ม
หลั่งน้ำลงในภาชนะคือขันน้ำ หรือแก้วน้ำ ที่เตรียมไว้ พอพระรูปที่ ๒ รับว่า "สัพพีติโย" ก็หยุดหลั่งน้ำกรวด แล้วเทน้ำ
กรวดที่ยังเหลืออยู่นั้นลงในภาชนะที่รองรับน้ำให้หมด แล้วประณมมือรับพร

๓.ทำไมจึงต้องเทน้ำกรวดให้หมดในเวลาพระว่า ยถา จบลงและเริ่มรับสัพพี ?
ตอบ.-เพราะถือว่าเมื่อน่ำไหลไปมหาสมุทรสาครเต็มแล้ว ก็ไม่ไหลอีกต่อไป ความปรารถนาที่ตั้งไว้ก็บริบูรณ์
แล้ว ลำดับต่อไปก็ประณมมือรับพรจากพระ

๔.ทำไมจึงเทน้ำกรวดให้ไหลติดต่อกัน ไม่ให้ขาดสาย ?
ตอบ.-ความประสงค์เพื่อให้กุศลที่อุทิศไปให้ผู้ล่วงลับไปแล้วได้รับไม่ขาดระยะ ให้ติดต่อกันไป และความ
ปรารถนาก็จะได้ไม่ขาดระยะ เป็นไปโดยราบรื่น เหมือนกระแสน้ำที่ไหลไปสู่มหาสมุทรสาคร ย่อมไหลเป็นสายไม่ขาด
ระยะ หากเทน้ำให้หยดติ๋ง ๆ ขาดระยะ เปรียบเหมือนบุญกุศลที่จะได้ก็จะขาดระยะ ความปรารถนาก็จะขาดระยะ จึง
ให้เทน้ำหรือหลั่งน้ำเป็นสายเหมือนสายน้ำที่ไหลไปสู่มหาสมุมร หรือสายน้ำที่ไหลไปสู่แม่น้ำน้อยใหญ่ ฉะนั้น

๕.ทำไมจึงต้องกรวดน้ำ จะไม่กรวดได้หรือไม่ ?
ตอบ.-การ กรวดน้ำ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามเอาไว้ อีกทั้งเป็นการแสดงถึงความยินดีในการบำเพ็ญกุศลที่ได้ทำไว้แล้ว และเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น เพื่อแสดงเจตนา
ของผู้กรวดน้ำ

๖.ทำไมจึงเทน้ำกรวดที่กลางแจ้ง ที่โคนต้นไม้ หรือในที่ไม่มีวัตถุสิ่งใดปกคลุม ?
ตอบ.-เพราะถือกันว่า การเทน้ำที่กรวดแล้วลงที่กลางแจ้ง เป็นที่สะอาด หรือโคนต้นไม้นั้น เพื่อต้องการ
ปลูกฝังนิสัยให้รักต้นไม้

๗.ทำไมต้องใช้น้ำกรวด จะกรวดแห้งไม่ได้หรือ ?
ตอบ.-การใช้น้ำกรวด เพราะถือตามประเพณีนิยมที่ได้ประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราษกาล และให้สม
กับคำอนุโมทนาของพระที่ว่า "ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนติ สาคะรัง เหมือนห้วงน้ำที่ยังมหาสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยมฉะนั้น"
จะกรวดน้ำโดยไม่ใช้น้ำหรือที่เรียกกันว่ากรวดแห้งก็ได้ เรียกว่าปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการแผ่ส่วนบุญ ฯ

๘.ทำบุญแล้วไม่กรวดน้ำจะได้อานิสงส์หรือไม่ ?
ตอบ.-ได้ เพราะผู้ทำบุญก็ต้องได้บุญ ทำความดีก็ต้องได้ดี บุญต้องเป็นของผู้ทำบุญตลอดไป ไม่ไปไหนเสีย

๙.เวลากรวดน้ำใช้มือขวาหรือมือซ้ายกรวดน้ำ ?
ตอบ.-ควรใช้มือขวา เพราะมือขวาเป็นมือที่แสดงถึงความเคารพ เป็นการเคารพในทานที่ตนให้
และเคารพในปฏิคคาหกคือผู้รับทานจากเราด้วย การเคารพกันเขาใช้มือขวาแสดงความเคารพกันทั่วโลก เป็นสากลนิยม

๑๐.เวลาหลั่งน้ำกรวด ต้องใช้มือซ้ายรองรับน้ำหรือไม่ ?
ตอบ.-ไม่จำเป็นต้องใช้มือซ้ายรองรับน้ำกรวด เพียงแต่ใช้มือซ้ายจับภาชนะเปล่าไว้ จะจับที่ขอบปากหรือที่ตัวภาชนะ
ก็ได้ ไม่ต้องจับเลยก็ได้ ใช้แต่มือขวาจับที่กรวดน้ำ เช่น แก้วน้ำ คณโฑน้ำ หรือถ้วยน้ำอย่างเดียวก็ได้

๑๑.การกรวดน้ำจะกรวดด้วยภาษาไทยได้หรือไม่ ?
ตอบ.-การกรวดน้ำด้วยภาษาไทยเห็นว่าใช้ได้ ไม่มีอะไรขัดข้อง หรือข้อห้ามแต่ประการใดการกรวดน้ำด้วย
ภาษาอะไรนั้น ไม่สำคัญ แต่จุดสำคัญอยู่ที่การตั้งใจ ตั้งความปรารถนาดี คนเราจะได้ดีก็เพราะการตั้งจิตไว้ให้ดีเท่านั้น



วิธีกรวดน้ำ โดยธรรมรักษา

กรวดน้ำ คือ การตั้งใจอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่เราได้ทำไว้แล้วไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว พร้อมทั้งรินน้ำให้ไหลลงไปที่พื้นดินหรือที่รองรับ แล้วเอาไปเทที่พื้นดินอีกต่อหนึ่งหรือรดที่โคนต้นไม้ก็ได้ เพื่อให้จำง่ายไม่สับสน จึงขอแยกเป็นข้อๆ ดังนี้
1. การกรวดน้ำมี 2 วิธี คือ กรวดน้ำเปียก คือ ใช้น้ำเป็นสื่อ รินน้ำลงไปพร้อมกับอุทิศผลบุญกุศลไปด้วย กรวดน้ำแห้ง คือ ไม่ใช้น้ำ ใช้แต่สิบนิ้วพนมอธิษฐาน แล้วอุทิศผลบุญกุศลไปให้

2. การอุทิศผลบุญมี 2 วิธี คือ อุทิศเจาะจง ได้แก่ การออกชื่อผู้ที่เราจะให้ท่านรับ เช่น ชื่อพ่อ แม่ ลูก หรือใครก็ได้ อุทิศไม่เจาะจง ได้แก่ การกล่าวรวมๆกันไป เช่น ญาติทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น ทางที่ถูกควรทำทั้งสองวิธี คือผู้ที่มีคุณหรือมีเวรต่อกันมาก เราก็ควรอุทิศเจาะจง ที่เหลือก็อุทิศรวมๆ

3. น้ำกรวด ควรเป็นน้ำที่สะอาด ไม่มีสีและกลิ่น และเมื่อกรวดก็ควรรินลงในที่สะอาดและไปเทในที่สะอาด อย่ารินลงกระโถนหรือที่สกปรก

4. น้ำเป็นสื่อดินเป็นพยาน การกรวดน้ำมิใช่จะอุทิศไปให้ผู้ตายกินน้ำ แต่ใช้น้ำเป็นสื่อและใช้แผ่นดินเป็นพยาน ให้รับรู้ในการอุทิศส่วนบุญ

5. ควรกรวดน้ำตอนไหนดี ? ควรกรวดน้ำทันทีในขณะที่พระอนุโมทนาหรือหลังทำบุญเสร็จ แต่ถ้าไม่สะดวกจะทำตอนหลังก็ได้ แต่ทำในขณะนั้นดีกว่า ด้วยเหตุผล 2ประการ คือ - ถ้ามีเปรตญาติมารอรับส่วนบุญ ท่านก็ย่อมได้รับในทันที - การรอไปกรวดที่บ้านหรือกรวดภายหลัง บางครั้งก็อาจลืมไป ผู้ที่เขาตั้งใจรับก็อด ผู้ที่เราตั้งใจจะให้ก็ชวดไปด้วย

6. ควรรินน้ำตอนไหน ? ควรเริ่มรินน้ำพร้อมกับตั้งใจอุทิศ ในขณะที่พระผู้นำเริ่มสวดว่า "ยะถาวาริวะหาปูรา..." และรินให้หมดเมือ่พระว่ามาถึง "มะณิโชติระโส ยะถา..." พอพระทั้งหมดรับพร้อมกันว่า "สัพพีติโย วิวัชชันตุ..." เราก็พนมมือรับพรท่านไปจนจบ จึงจะถือว่าถูกต้อง

7. ถ้ายังว่าบทกรวดน้ำไม่เสร็จ จะทำอย่างไร ? ก็ควรใช้บทกรวดน้ำที่สั้นๆหรือใช้บทกรวดน้ำย่อก็ได้ เช่น "อิทัง โน ญาตีนังไหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขออุทิศส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่...(ออกชื่อผู้ล่วงลับ) และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด" หรือจะใช้แต่ภาษาไทยอย่างเดียวก็ได้ว่า "ขออุทิศส่วนบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้วนี้ จงสำเร็จแก่ พ่อ แม่ ญาติ ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงได้รับส่วนบุญกุศลครั้งนี้โดยเร็วพลัน และโดยทั่วถึงกันเทอญ" ส่วนบทยาวๆ เราควรเอาไว้กรวดส่วนตัว หรือกรวดในขณะทำวัตรสวดมนต์รวมกันก็ได้ ข้อสำคัญ ถ้าเป็นภาษาพระ ควรจะรู้คำแปลหรือความหมายด้วย ถ้าไม่รู้ความหมาย ก็ควรใช้คำไทยอย่างเดียวดีกว่า เพราะป้องกันความโง่งมงายได้

8. อย่าทำน้ำสกปรกด้วยการเอานิ้วไปรอไว้ ควรรินให้ไหลเป็นสายไม่ขาดระยะ และไม่ควรใช้วิธี เกาะตัวกันเป็นกลุ่มหรือเป็นทางเหมือนเล่นงูกินหาง ถ้าเป็นในงานพิธีต่างๆ ให้เจ้าภาพหรือประธาน รินน้ำกรวดเพียงคนเดียวหรือคู่เดียวก็พอ คนนอกนั้นก็พนมมือตั้งใจอุทิศไปให้

9. การทำบุญและอุทิศส่วนบุญ ควรสำรวมจิตใจ อย่าให้จิตฟุ้งซ่าน ปลูกศรัทธา ความเชื่อ และความเลื่อมใสให้มั่นคงในจิตใจ ผลของบุญและการอุทิศส่วนบุญย่อมมีอานิสงค์มาก ผลบุญที่เราอุทิศไปให้ ถ้าไม่มีใครมารับก็ยังคงเป็นของเราอยู่ครบถ้วน ไม่มีผู้ใดจะมาโกงหรือแย่งชิงไปได้เลย

10. บุญเป็นของกายสิทธิ์ ยิ่งให้ยิ่งมาก ยิ่งตระหนี่ยิ่งน้อย ยิ่งอุทิศให้คนอื่นหมดเลยเราก็ยิ่งจะได้บุญหมดเลย



อนุโมทนาครับ


สาธุ (อันว่าดีล่ะ)


 4,030 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย