เพื่อนกำลังจะจากไปจากโรคเนื้องอกในสมอง ซึ่งอาการทีเป็นเร็วมาก จนสามีเค้าก็แทบตั้งตัวไม่ทัน สองคนอยู่ที่เมืองนอก เป็นคนดีทั้งคู่ ดูแลใกล้ชิดกันตลอดเวลา
สงสารสามีที่จะต้องเสียคนที่ตัวเองรักมาก ไม่รู้จะปลอบ จะใช้คำพูดแบบไหน ขอคำแนะนำด้วยค่ะ
(ทั้งสองคนนับถือศาสนาคริสต์ค่ะ) ขอบคุณมากๆๆค่ะ
ต้องให้เค้าทำใจให้ได้หล่ะคับ
คนเราเกิดมาก็ต้องมีวันจากไปด้วยกัน ช้าเร็วยังไงก็ต้องจากกัน
ก็บอกเค้าไปว่า คนที่จากไป ได้ หมดสิ้นกรรมเวรแล้ว ต่อไป
ส่วนสามีที่เหลืออยู่ก็หมันทำความดี หมัน่ส่งผลบุญไปให้ภรรยา
จะเป้นกำลังใจให้คุณสามีได้ สู้ต่อไปนะคับ
ถาม " อ่านจากที่คุณดังตฤณเคยเขียนไว้ในหนังสือ "เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน"ว่าการส่งคนตายให้ได้ไปดี คือการทำให้เขามีจิตใจปลอดโปร่ง ตัดห่วงตัดอาลัยในโลกมนุษย์ และถ้าเป็นไปได้ก็ควรให้ตัดห่วงตัดอาลัยในภพภูมิทั้งหลายไม่ว่าสูงหรือต่ำ ด้วย
อย่าง นี้ถ้าญาติมิตรอันเป็นที่รักมีโอกาสไปรุมล้อมและฟังคำสั่งเสียของคนใกล้ตาย แล้วพวกเขาห้ามใจกันไม่ได้ ต้องร้องห่มร้องไห้ ส่งเสียงวิงวอนให้คนใกล้ตายอยู่ต่อ ทำให้คนใกล้ตายจิตใจเศร้าหมอง มิเป็นการทำบาปต่อผู้ตายหรือ? หากเป็นบาป ก็น่าคิดว่าแล้วจะทำอย่างไรกันล่ะ? เพราะตามธรรมเนียมแล้ว ถ้าทำได้ก็ควรได้ไปล่ำลา ไปดูใจกันเป็นครั้งสุดท้ายมิใช่หรือ? แต่ไปแล้วห้ามปากห้ามใจไม่อยู่ ก็เท่ากับผิดหลักการส่งคนตายที่ดีอีก ในความเห็นของคุณดังตฤณควรให้เป็นเช่นไร?
ตอบ - ก่อน อื่นต้องออกตัวว่าหลักการส่งคนตายที่ผมเขียนไว้ในหนังสือก็อย่างที่ระบุไว้ แล้วว่าเป็นแนวอุบายของพระพุทธเจ้าท่านนะครับผมไม่ได้คิดเองเพียงนำมาบอก คุณๆเท่านั้นถ้าอยากได้วิธีส่งคนตายที่ดีที่สุดในโลกก็ขอให้เชื่อพระ พุทธองค์ซึ่งทรงหยั่งทราบอุบายธรรมอันสว่างดีกว่าใครทั้งหมดนั่นคือ ให้ซักถามคนใกล้ตายว่ายังห่วงอะไร ก็หาทางพูดให้เขาคลายห่วงคลายพะวง เช่นถ้ายังห่วงลูกเมียก็บอกเขาว่าลูกเมียจะไม่อยู่ในโลกนี้ตลอดไป วันหนึ่งก็ต้องตายตามเขาเหมือนกัน
นอกจากนั้นก็ควรชักจูงให้คิด ถึงโลกสวรรค์ที่ดีกว่าโลกมนุษย์กับทั้งลงท้ายเหนี่ยวนำให้เห็นการเกิดในภพ ใดๆไม่เป็นสุขต้องจากตายหายสูญจากโลกนั้นๆกันถ้วนหน้าคลายจิตจากความยึดมั่น ถือมั่นในกายใจนี้และกายใจอื่นๆเสียเป็นดีที่สุด
สรุปคือพูด เหนี่ยวนำให้คนใกล้ตายตัดความอยากอยู่ต่อและตัดความอยากเกิดใหม่ได้นับว่า ประเสริฐแท้เพราะจิตที่คลายความยึดมั่นในความมีความเป็นทั้งหลายคือจิตที่ สว่างพ้นจากทุคติแน่นอนและแม้ยังมีกำลังส่งไม่ถึงนิพพานอย่างน้อยก็เที่ยง ที่จะไปดีมีสุคติเป็นที่หวังได้กับทั้งจะเป็นสัญญาณนำร่องไปสู่ความเป็นผู้ เห็นถูกเห็นชอบแสวงทางพ้นทุกข์อย่างถูกทางในกาลต่อๆไปอาจกล่าวได้ว่าวาระ แห่งการส่งคนตายคือวาระอันเหมาะควรแก่การให้ที่พึ่งสำคัญสูงสุดกับบุคคลอัน เป็นที่รักของเรา
ที่นี้มาดูความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในโลกทุกวันมีคนตายและคน ตายจำนวนหนึ่งก็มีโอกาสพบญาติในวาระสุดท้ายก่อนลมหายใจสิ้นจากร่างบรรดาญาติ มิตรอันเป็นที่รักเขาทำอะไรกัน? พวกเขาพากันร้องไห้ ระงมเป็นจักจั่นนั่นเท่ากับสร้างภพแห่งความอาลัยขึ้นในจิตของผู้ตายชัดยิ่ง ถ้าคนใกล้ตายซวยหน่อยเจอญาติวิกลจริตส่งเสียงปี๊ดๆพร่ำแต่ร้องว่าอย่าตายๆก็ จะยิ่งใจไม่ดีเหมือนโดนห้ามไม่ให้โดดลงเหวการที่คนเราใจไม่ดีตอนสายตากำลัง พร่าพรายนี่หูหาเรื่องง่ายนะครับเสียงปี๊ดๆอาจฟังคล้ายเปรตเป่านกหวีดเรียก ให้ไปเป็นพวกเร็วๆก็ได้
คนกำลังจะตายฝ่ายคนเป็นก็มารั้งแข้งรั้งขาหน่วงเหนี่ยวไว้จน จิตเขาดิ้นรนอยากอยู่ต่อจิตที่ดิ้นรนนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? แล้วจิตที่เป็นทุกข์มีความเศร้าหมองมีความยึดติดอาลัยในภพเดิมจะมีกำลัง อ่อนแอหรือแข็งแรงเล่า? แล้วจิตอ่อนแอที่ไหนจะระลึกนึกถึงบุญกุศลอันน่าเบิกบานปีติยินดีได้?
สรุปคือส่วนหนึ่งที่คนตายไม่ค่อยได้ไปดีก็เห็นทีจะ ต้องโทษบรรดาญาติๆที่ไม่ค่อยเห็นใจคนตายไม่รู้วิธีทำให้คนตายสบายใจนี่แหละ นี่ยังไม่นับพวกที่ไปตีกันในห้องคนไข้นะครับเห็นพ่อแม่ร่อแร่เจียนอยู่เจียน ไปไม่ทันไรก็ทวงถามกันต่อหน้าทำพินัยกรรมไว้หรือยัง? จ้างทนายที่ไหนทำ? ที่ดินตรงโน้นกับรถคันนั้นเป็นของน้องหรือของหนู? ฯลฯยิ่งถ้าได้รู้ความจริงว่าตัวเองได้น้อยคำถามระคายโสตจะยิ่งโถมเข้ากระแทก แก้วหูคนใกล้ตายอย่างไม่ปรานีปราศรัยนั่นคือธรรมดากิเลสมนุษย์รู้ๆกันอยู่ แต่ที่ไม่ค่อยจะรู้กันก็คือเรื่องร้อนรุมเร้าคนใกล้ตายอาจเป็นมหันตภัยใหญ่ กับเขาได้อย่างสมบูรณ์แบบสูงสุดทีเดียว!
หากถามถึงความเหมาะสมหรือแนวปฏิบัติว่าควรทำเช่นไรผม คงบอกได้เป็นกลางๆแค่ว่าการมีญาติมิตรลูกหลานห้อมล้อมพร้อมหน้าพร้อมตานั้น ยังเป็นสิ่งสมควรหากขาดไปจะเป็นการละเลยและดูดายแต่ถ้าเห็นแก่คนตายจริงๆก็ ขอให้หลีกเลี่ยงคำพูดสะเทือนใจทั้งหลายเถิด ร้องไห้น่ะไม่เป็นไรนะครับดีเหมือนกันคนตายจะได้รู้ว่ามีคน อาลัยแต่เตรียมๆคำพูดไว้หน่อยอย่าพร่ำเพ้อแบบนึกอยากพูดอะไรก็พูดหรือขออะไร ที่คนตายให้กับเราเป็นครั้งสุดท้ายไม่ได้เช่น " อย่าเพิ่งตายนะครับ "หรือ " อยู่กับหนูต่อเถอะได้โปรด " ขอให้อดกลั้นไว้หันมาพูดแสดงความอาลัยในแบบที่ก่อความรู้สึกด้านดีเช่น" รอผมบนสวรรค์นะครับ" หรือ " แล้วหนูจะพยายามทำบุญตามไปข้างบนนะคะ " คำสั้นๆที่ออกมาจากใจจริงจะมีผลใหญ่เกินกว่าที่คุณคิดขนาดที่จิตคนตายอาจยึดไว้เป็นเข็มทิศนำทางทีเดียวแต่ที่ประเสริฐกว่านั้นคือคุณข่มความอาลัยไว้ได้สะกดก้อนสะอื้นไม่ให้เจือในน้ำเสียงพูดอย่างอบอุ่นคงเส้นคงวาเช่น " ไม่ต้องห่วงผมแล้วอย่ายึดอะไรไว้อีกเลยวันหนึ่งผมก็จะจากโลกนี้ไปอย่างไม่ อาลัยเหมือนกัน" หรือ "ตามพระพุทธเจ้าไปถึงนิพพานอันไม่เกิดไม่ตายนะคะ" ถ้า ได้อย่างนี้หรือประมาณนี้เสียงของคุณอาจปรุงแต่งจิตให้คนตายคลายความยึดติด ทั้งหลายและกลายเป็นผู้ที่มีความสุขหลังความตายในระดับที่คุณนึกไม่ถึง
จาก"เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน"ของ คุณดังตฤณ
แนะนำคนใกล้ตาย โดยหลวงพ่อวัดท่าซุง
วิธีแนะนำคนใกล้จะตาย
ผู้ถาม หลวงพ่อเจ้าขา คนที่ใกล้จะตายมีหลายคน ควรจะแนะนำให้วางอารมณ์แบบจับนิมิตแบบใด จึงจะเหมาะสมและเข้านิพพานได้ดีเจ้าคะ.?
หลวงพ่อ ถ้า คนป่วย ถ้าป่วยมากมีทุกขเวทนามาก ไม่ควรแนะนำอย่างอื่น ควรแนะนำสั้นๆให้นึกถึงพระพุทธเจ้าหรืออย่างใดอย่างหนึ่งดีกว่านะ ถ้าไปแนะนำยาวๆจะเกิดอาการกลุ้ม กลุ้มแทนที่จะไปนิพพานก็จะดันไปนรกไป
ถ้า เราต้องการให้เขาไปนิพพานมันก็ยากอยู่นะ ให้นึกว่า ”นิพพานะ สุขัง” บอกสั้นๆอย่าบอกยาวนะ ถ้าคิดว่าป้องกัน ไม่ลงนรกให้ภาวนาว่า “พุทโธ” ถ้าเขาภาวนาไม่ไหวให้นึกถึงพระพุทธรูปองค์หนึ่งองค์ใดก็ได้ นึกถึงพระไว้ นึกถึงพระสงฆ์ก็ได้ อย่าไปแนะนำยาวๆ คือว่าเวลานั้นทุกเวทนามากจะกลุ้ม
แนะนำให้ดีนะ..ถ้าแนะไม่ดีจะลงไป ดีไม่ดีจิตใจเขาดีอยู่แล้วเราพูดมากไป เขากลุ้มจะลงนรกไป
ผู้ถาม ก็ต้องดูตาม้าตาเรือ
หลวงพ่อ ดูตาคน ถ้าตาลอยๆ ตาปรือๆ อย่าไปพูดมาก
"อย่างไร คือ การตายดี"
ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในภาวะใกล้ตายจะทำให้ญาติและ ผู้ให้การรักษาสามารถดูแลคนใกล้ตายได้ถูกต้องเหมาะสมขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีกับ ผู้ป่วยอย่างยิ่ง เพราะทำให้สามารถลดการรักษาที่นอกจากไม่จำเป็นแล้วยังทำให้ต้องทนทุกข์ทรมาน มากขึ้น และไม่เป็นประโยชน์ ด ๆ แก่ใครทั้งสิ้น โดยเฉพาะแก่คนใกล้ตาย
"เมื่อใกล้ตาย ความอ่อนเพลีย เป็นสิ่งที่ควรยอมรับ และไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใด ๆ สำหรับความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้น เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ควรให้ผู้ป่วยในระยะนี้ได้พักผ่อนให้เต็มที่"
คนใกล้ตายจะเบื่ออาหาร และกินอาหารน้อยลง จากการศึกษาพบว่าความเบื่ออาหารที่เกิดขึ้นเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะทำให้มีสารคีโตนในร่างกายเพิ่มขึ้น สารคีโตนจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น และบรรเทาอาการเจ็บปวดได้
"คนใกล้ตายจะดื่มน้ำน้อยลง หรืองดดื่มเลย ภาวะขาดน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อใกล้ตายไม่ทำให้ผู้ป่วยทรมานมากขึ้นตรงกันข้าม กับกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น หากปาก ริมฝีปากแห้ง จมูกแห้ง และตาแห้ง ให้หมั่นทำความสะอาด และรักษาความชื้นไว้ โดยอาจใช้สำลีหรือผ้าสะอาดชุบน้ำแตะที่ปาก ริมฝีปาก หรือใช้สีผึ้งทาริมฝีปาก สำหรับตาก็ให้หยอดน้ำตาเทียม"
คนที่ใกล้ตายจะรู้สึกง่วงและอาจนอนหลับตลอดเวลา ผู้ดูแลควรให้ผู้ป่วยหลับ ไม่ควรพยายามปลุกให้ตื่น
"เมื่อคนใกล้ตายไม่รู้สึกตัว ไม่ควรคิดว่าเขาไม่สามารถรับรู้หรือได้ยินสิ่งที่มีคนพูดกันอยู่ข้าง ๆ เพราะเขาอาจจะยังได้ยินและรับรู้ได้แต่ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นทราบได้ จึงไม่ควรพูดคุยกันในสิ่งที่จะทำให้เขาไม่สบายใจหรือเป็นกังวล
"การร้องครวญคราง หรือมีหน้าตาบิดเบี้ยวอาจไม่ได้เกิดความเจ็บปวดเสมอไป แต่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสมอง ซึ่งแพทย์สามารถให้ยาระงับอาการเหล่านี้ได้"
คนใกล้ตายอาจมีเสมหะมากควรให้ยาลดเสมหะแทนการดูดเสมหะซึ่งนอกจากไม่ได้ผล แล้วยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทรมานเพิ่มขึ้นด้วย (ทั้งนี้หมายถึง เฉพาะคนที่ใกล้ตายเท่านั้น มิได้รวมถึงผู้ป่วยอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการดูดเสมหะ)
ความเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
โดยทั่วไปเมื่อกายป่วยใจจะป่วยด้วยเสมอ ยิ่งคนที่ป่วยหนักใกล้ตายแล้วก็ยิ่งต้องการการดูแลประคับประคองใจอย่างมาก
การศึกษาต่างๆ พบตรงกันว่าสิ่งที่คนใกล้ตายกลัวที่สุดคือ การถูกทอดทิ้ง การอยู่โดดเดี่ยว และสิ่งที่คนใกล้ตายต้องการคือ ใครสักคนที่เข้าใจและอยู่ข้างๆ เขาเมื่อเขาต้องการ แต่ละคนก็อาจมีความรู้สึกและความต้องการต่างกันไป
ฉะนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดก็ควรให้โอกาสคนใกล้ตายได้แสดงความรู้สึกและความ ต้องการโดยการพูดคุยและเป็นผู้รับฟังที่ดี และควรปฏิบัติตามความต้องการของคนใกล้ตาย ซึ่งหมายรวมถึงความต้องการในด้านการรักษา
ทั้งนี้ควรต้องประเมินก่อนว่า ความต้องการนั้นเกิดจากการตัดสินใจบนพื้นฐานใด หากเป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานของอารมณ์ ไม่ใช้ความต้องการที่แท้จริง ก็ควรชะละการปฏิบัติไว้ก่อน และควรให้การประคับประคองใจจนสบายใจขึ้น กับทั้งให้โอกาสผู้ใกล้ตายเปลี่ยนความต้องการและความตั้งใจได้เสมอ
ความรู้เกี่ยวกับการตาย
"การตายดี"ในแง่พุทธศาสนานั้น ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้เขียนไว้ในหนังสือการแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์ เรื่องช่วยให้ตายเร็ว หรือช่วยให้ตายช้า ว่า "ในคัมภีร์พุทธศาสนา พูดถึงเสมอว่า อย่างไรเป็นการตายที่ดี ท่านมักใช้คำสั่นๆ ว่า "มีสติไม่หลงตาย" และที่ว่าตายดีนั้น ไม่ใช่เฉพาะตายแล้วจะไปสู่สุคติเท่านั้น แต่ขณะที่ตายก็เป็นจุดสำคัญ ที่ว่าต้องมีจิตใจที่ดี คือมีสติ ไม่หลงตาย”
ที่ว่าไม่หลงตาย คือมีจิตใจไม่ฟั่นเฟือน ไม่เศร้าหมอง ไม่ขุ่นมัว จิตใจดีงาม ผ่องใส เบิกบาน จิตใจนึกถึงหรือเกาะเกี่ยวอยู่กับสิ่งที่ดี จึงมีประเพณีที่ว่าจะให้ผู้ตายได้ยินได้ฟังสิ่งที่ดีงาม เช่น บทสวดมนต์ หรือคำกล่าวเกี่ยวกับพุทธคุณ อย่างที่ใช้คำว่า "บอกอรหัง" ก็เป็นคติที่ให้รู้ว่าเป็นการบอกสิ่งสำหรับยึดเหนี่ยวในทางใจให้แก่ผู้ที่ กำลังป่วยหนักในขั้นสุดท้าย ให้จิตใจเกาะเกี่ยวยึดเหนี่ยวอยู่กับพระรัตนตรัย เรื่องบุญกุศลหรือเรื่องที่ได้ทำความดีมา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีการตายที่ดีกว่านั้นอีก คือให้เป็นการตายที่ใจมีความรู้ หมายถึงความรู้เท่าทันชีวิต จนกระทั่งยอมรับความจริงของความตายหรือความเป็นอนิจจังได้ เพียงแค่ว่าคนที่จะตายมีจิตยึดเหนี่ยวอยู่กับบุญกุศล ความดี ก็นับว่าดีแล้ว แต่ถ้าเป็นจิตใจที่มีความรู้เท่าทัน จิตใจนั้นก็จะมีความสว่าง ไม่เกาะเกี่ยว ไม่มีความยึดติด เป็นจิตใจที่โปร่งโล่งเป็นอิสระแท้จริง ขั้นขี้แหละถือว่าดีที่สุด นอกจากนั้นท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎกยังได้แทรกคติทางพระเกี่ยวกับจิตตอนที่จะตายว่า "เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ก็เป็นอันหวังทุคติได้ และเมื่อใจไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้" จากความหมายของการตายดีและคติทางพุทธเกี่ยวกับจิตตอนที่จะตาย ทำให้เห็นความสำคัญของการทำจิตให้ผ่องใสในเวลาที่จะตาย ความรู้นี้เป็นประโยชน์ในการที่เราจะให้การดูแลและช่วยเหลือผู้ใกล้ตายด้าน จิตใจ ซึ่งศาสนาอื่นทุกศาสนานั้นมาเยี่ยมและปลอบขวัญผู้ป่วยที่โรงพยาบาล เพื่อช่วยให้คนใกล้ตายได้ตายด้วยจิตอันสงบ ตายกับสติไม่หลงตายซึ่งถือว่าเป็นการตายที่ดี จะเห็นว่าความหมายของการตายดีในแง่มุมของศาสนาต่าง ๆ นั้นมีความลุ่มลึก และลึกซึ้งกว่าความหมายด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ทางตะวันตก และกำลังได้รับความสนใจจากวงการแพทย์ และคนทั่วไป นอกจากนั้นทางพุทธศาสนาถือว่า ชีวิตคนมีโอกาสตลอดเวลาจนถึงวาระสุดท้ายกล่าวคือ แม้ถึงว่าวาระสุดท้ายของมนุษย์ก็ยังไม่หมดโอกาสที่จะได้สิ่งดีที่สุดของ ชีวิต หากบุคคลผู้นั้นมีปัญญารู้เท่าทันชีวิตและบรรลุธรรมในขณะจิตสุดท้ายตอนจะดับ
แนวทางการช่วยเหลือคนใกล้ตาย
เมื่อมีความรู้ความเข้าใจด้านร่างกายและจิตใจของคนใกล้ตายและความตายดังกล่าวแล้ว ก็สามารถช่วยเหลือคนใกล้ตายได้โดย
"มีจิตใจที่อยากช่วยเหลือ"
จิตใจที่อยากช่วยเหลือเป็นคุณสมบัติแรกที่ควรต้องมี เพราะจิตใจนั้นจะแสดงออกทางกาย วาจาที่คนใกล้ตายสามารถสัมผัสและรับรู้ได้เอื้อให้สิ่งที่จะทำเพื่อช่วย เหลือต่อไปได้ผลดี
• รู้เข้ารู้เรา
คนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในความรู้สึกนึกคิด ความต้องการและทัศนคติ คนใกล้ตายก็เช่นเดียวกันแม้จะเหมือนและคล้ายกันในบางเรื่องแต่ก็มีความต่าง กันด้วย ในการให้ความช่วยเหลือจึงต้องรู้จักคนใกล้ตายในด้านความเจ็บป่วยทางกาย ซึ่งทราบได้จากแพทย์ที่ให้การรักษา และรู้จักสภาพจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ความเชื่อ วัฒนธรรม และเศรษฐฐานะซึ่งจะรู้ได้ไม่ยาก ด้วยการให้คนใกล้ตายได้มีโอกาสระบายความรู้สึก บอกความต้องการ โดยผู้ให้ความช่วยเหลือใส่ใจรับฟังและใช้ความสังเกต
เมื่อ "รู้เขา" แล้วก็สามารถช่วยเหลือได้ถูกต้องและเหมาะสมโดยปรับใช้วิธีการให้เข้าสภาพและ ภูมิหลังของคนใกล้ตาย โดยเฉพาะในด้านจิตใจและความรู้สึก เช่น เรื่องที่จะทำให้จิตใจสบายของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ก็ต้องเลือกพูดและเลือกทำให้เหมาะสม ในกรณีที่ผู้ใกล้ตายเป็นผู้ปฏิบัติธรรมก็ควรเปิดโอกาสให้ได้เจริญสติโดยไม่ รบกวน และช่วยให้คนใกล้ตายได้ใช้พลังในตัวเขาเองเผชิญกับความตายที่จะมาถึง
สำหรับการ "รู้เรา" คือการรู้จักความสามารถและสภาพจิตใจของตนเองก็มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในด้านจิตใจ ผู้ให้ความช่วยเหลือ ต้องมีจิตใจหนักแน่นมั่นคงและสติตั้งมั่นซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนให้เกิด ขึ้นได้ และเมื่อเกิดขึ้นแล้วนอกจากเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว ยังเกิดประโยชน์ต่อตนเองด้วย ผู้ที่เคยช่วยเหลือคนใกล้ตายมีประสบการณ์ตรงกันว่าเกิดพลังขึ้นในตนเอง เมื่อการช่วยเหลือนั้นประกอบด้วยเมตตา กรุณา และอุเบกขา
"เอาใจเขามาใส่ใจเรา"
การเอาใจเขามาใส่ใจเรา จะทำให้สามารถช่วยเหลือคนใกล้ตายได้ดีขึ้น เพราะสิ่งที่เขาต้องการคือใครสักคนที่พยายามเข้าใจเขา และให้ความเอาใจใส่เขา แม้เมื่อเขาไม่สามารถโต้ตอบได้ การสัมผัส การจับมือ ก็สามารถช่วยให้เขารู้สึกดีและสงบได้
"ไม่มีสิ่งประเสริฐใด ๆ ที่คุณสามารถจะให้ได้ นอกเหนือจากการช่วยให้บุคคลตายด้วยดี" เมื่อการดูแลช่วยเหลือผู้ใกล้ตายมีความสำคัญถึงเพียงนี้ ถึงเวลาหรือยังที่เราไม่ว่าจะเป็นใครควรที่จะใช้ความสนใจศึกษาและฝึกฝนตนเอง ให้สามารถเผชิญกับความตายของผู้อื่นและของตนเองได้ โดยช่วยให้ผู้อื่น และตนเองตายดี ตายกับสติ ไม่หลงตาย คือมีศิลปะในการตาย ซึ่งเท่ากับมีศิลปะในการดำเนินชีวิตนั่นเอง เพราะคนเราอยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น เป็นสัจธรรมอยู่แล้ว หากเราช่วยเหลือกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเรียนรู้จากกันและกัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการตาย สิ่งที่จะได้ก่อนคือ ศิลปะในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะช่วยให้สังคมนุษย์เป็นสังคมที่มีคุณภาพและเกิดความสงบสุขโดยทั่วกัน
จาก link :
http://board.palungjit.com/showthread.php?t=138287
509 พุทโธวาทสำหรับคนใกล้ตาย
ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทแก่คนป่วยใกล้ต่อความตายไว้อย่างไรบ้าง ?
พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนทีฆาวุ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่าเราจักมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า....ในพระธรรม...ในพระสงฆ์....จักประกอบด้วยศีลอันเป็นที่รัก ของพระอริยเจ้า... ท่านตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นองค์ประกอบแห่งพระโสดาบัน ๔ เหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการให้ยิ่งขึ้น... คือ ท่านจงพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยง มีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ มีความหมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา มีความหมายรู้ในการละ...ในการคลายความกำหนัดยินดี...ในความดับทุกข์ ดูก่อนทีฆาวุ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แหละ...."
ทีฆาวุสูตร มหา. สํ. (๑๔๑๙-๑๔๒๑ )
ตบ. ๑๙ : ๔๓๑-๔๓๒ ตท. ๑๙ : ๓๙๓-๓๙๔
ตอ. K.S. ๕ : ๒๙๙-๓๐๐
กอดเพื่อนแล้วหอมแก้มเยยแล้วบอกว่าโชคดีนะโอกาสหน้าเราต้องกลับมาเจอกันอยู่แล้วไม่ต้องเป็นห่วงดูแลตัวเองดีๆน๊า แค่นี้เพื่อนก็ซึ้งแย้ว อิอิ
บอกความจริงให้เขารู้ ดูเขาอย่างเข้าใจ ใส่ความห่วงใยจากหัวใจ บอกว่าถึงจากไปใจใกล้กันค่ะ เป็นกำลังใจให้นะ /ต้นข้าว
ใช้เวลาที่มีอยู่ให้มค่าที่สุด
ชักชวนกันไปทำในสิ่งที่ดีงาม
สร้างประโยชน์ให้ผู้อื่น
จะได้มีความสุข
บอกเขาว่า ความตายเป็นของคู่ โลก
เมื่อมีการเกิดย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา
ไม่มีวันใดที่โลกเว้นว่างจากความตาย การลาจากของอันเป็นที่รัก เป็นธรรมดา
ไม่มีวันใดที่ไม่มีการลาจาก ไม่มีสิ่งใดถงทนถาวร ไปได้ตลอด
ทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปเป็นธรรมดา ไม่มีทางที่จะเป็นอมตะ
โลกนี้ก็เหมือนเรือนจำอันกว้างใหญ่ เราทุกคนเหมือนนักโทษประหาร
รอวันที่ มัจจุราช จะปลิดชีวิตเรา
ระหว่างรอ เราจะทำความดีอะไรบ้างหรือยัง ถ้ายังทำไมเราไม่ทำ
ในเมื่อคนที่เรารักตายจากเราไปแล้ว ไม่มีทางอีกที่จะฟื้นขึ้นมาใหม่
ทำไมเราไม่ ทำความดี ให้เป็นประโยชน์แก่โลก แก่ตัวเรา แก่ผู้อื่น
ให้ได้มากที่สุดเล่า
การมานั่งทนทุกข์เสียใจไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย นอกจากทำให้เราเสียใจเอง
คนเราเมื่อเกิดมาก็ต้องตาย สิ่งที่เขาเป็น เรากำหนดไม่ได้ เขาทำบุญมาแค่นี้ค่ะ ไม่จากกันวันนี้ก็ต้องจากกันวันหน้าอยู่ดีค่ะ