ฝึกนั่งสมาธิ แล้วเกิดเหตุการณ์ดั่งนี้คืออะไรคะ

 buary    

เคยนั่งแล้วเห็นแสงจ้าๆ ค่แล้วก็ต่นขึ้นมาเพราะกลัววิญญาณจะหลุดจาร่าง

ก็เลยเลิกนั่งไปพักใหญ่

จนมานั่งใหม่ คราวนี้ได้ยินเสียงว่า เอาส่วนบุญให้ผมด้วย ผมเป็นผีตายโหง

ดิฉันก็ลืมตาตื่นขึ้นมา

ไทราบว่าดิฉันคิดไปเองรึป่าวคะ




เด๋วคงมีคำตอบจากผู้ทรงพระไตรปีฎก


การทำสมาธิจนเห็นแสงสว่างนี้ เป็นบุญเป็นกุศลมากค่ะ
ดีกว่าหลับหนอ ง่วงหนอมากค่ะ
เขาก็เลยมาขอส่วนบุญ ก็นึกแผ่ส่วนกุศลให้เขามีความสุขซิคะ



พาหิยสูตร
[๑๑๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระพาหิยะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้
มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีก
ออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อยู่เถิด ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง ท่านพระพาหิยะกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็น
สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิด
ขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควรหรือหนอที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรพาหิยะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ
ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข
เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้ง
ในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด
ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุด
พ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้ มี ฯ
[๑๑๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระพาหิยะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจาก
อาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไปครั้งนั้นแล ท่านพระพาหิยะ
เป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุด
แห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วย
ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควร ทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มีได้มี ก็แหละท่านพระพาหิยะได้ เป็น
พระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ


มาแล้ว ตอบได้ตรงกับที่ถามเด๊ะ




ศัพท์ว่า มาร มาจาก มรฺ ธาตุ
แปลว่า ตาย, มาร แปลว่าผู้ให้ตาย
หมายความว่าผู้ฆ่า, คนเราไม่สามารถ
ทำทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ก็เพราะมาร
จึงตั้งตัวไม่ได้, คนไม่สามารถปฏิบัติ
สัมปรายิกัตถประโยชน์ก็เพราะมาร จึง
ไม่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบต่อกัน, คนไม่ได้
ปฏิบัติในปรมัตถประโยชน์ก็เพราะมาร,
มารเป็นผู้คอยทำลายล้าง เป็นผู้ฆ่าคุณ
ความดี ตามภูมิตามชั้น. มารนั้นท่าน
แจกเป็น ๕ คือ :-
ขันธ เรียกว่าขันธมาร ได้แก่กาย
อันนี้ที่แยกออกโดยอาการเป็นขันธ์ ๕,
เป็นมารอย่างไร ? คนมุ่งที่จะทำดีทำ
ชอบและจะทำได้ก็ต้องอาศัยกายอันนี้
กายอันนี้ถ้าเจ็บไข้ได้พยาธิอย่างใดอย่าง
หนึ่ง ก็ทำไม่ได้ เช่นคนเจ็บอยู่ จะ
ทำกิจการอย่างใด ในทิฏฐธัมมิกัตถะ
หรือสัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ ก็
ทำไม่ได้ หรือได้บ้างก็ไม่สะดวก, เพราะ
ฉะนั้น ขันธ์ ๕ อันรวมเข้าเป็นกายอันนี้
จึงเรียกว่ามาร, อีกอย่างหนึ่งขันธ์ ๕
เป็นที่ยึดถือของสัตว์ ที่ยังข้องอยู่, เมื่อ
สัตว์ยึดถือข้องอยู่ในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕
ก็เป็นมาร ทำลายล้างคุณงามความดี
เรียกว่าขันธมาร มารคือขันธ์ อย่าง ๑.
อภิสังขาร ความคิดนึกอันประกอบกับ
อารมณ์ ท่านแยกเป็น ๓ คือ อปุญญา-
ภิสังขาร คิดนึกเรื่องที่ชั่วอันปรุงแต่งจิต
ให้ชั่วอย่างหนึ่ง, ปุญญาภิสังขาร คิดนึก
เรื่องที่ดี อันปรุงแต่งจิตให้ดีอย่างหนึ่ง,
อเนญชาภิสังขาร คิดนึกอยู่ในอารมณ์อัน
เดียวจนจิตแน่วแน่ไม่หวั่นไหวอีกอย่าง
หนึ่ง; อปุญญาภิสังขาร เป็นมารของ
ปุญญาภิสังขาร, ปุญญาภิสังขารก็เป็นมาร
ของอเนญชาภิสังขาร, อเนญชาภิสังขาร
ก็เป็นมารของความตรัสรู้ เป็นมารกันเป็น
ชั้น ๆ, รวมเข้าก็เรียกว่าอภิสังขารมาร
มาร คือ อภิสังขาร, นี่อย่าง ๑.
มัจจุ แปลว่า ความตาย ความตายมี
แก่อะไร ? มีแก่ร่างกายอันนี้ที่แยกออก
เป็นขันธ์ ๕, กายอันนี้ยังมีอยู่ ก็สามารถ
จะช่วยให้ทำกิจการงานได้ ถ้ากายอันนี้
สลาย แม้จะตั้งใจทำกิจการงานก็ไม่สำเร็จ
เพราะไม่มีกายที่เป็นเครื่องมือ, มัจจุความ
ตายของกายอันนี้จึงเป็นมาร เรียกว่ามัจจุ-
มาร มารคือความตาย อย่าง ๑.
เทวปุตตมาร มารคือเทวบุตร, แต่
ก่อนท่านแสดงกันว่าได้แก่พระยามาร ที่
มาผจญพระพุทธเจ้า ขี่ช้างนาฬาคีรี สูง
๑๕๐ โยชน์ เท้าหน้ายันบัลลังก์ เท้าหลัง
ยันขอบจักรวาล, แต่เมื่อพิจารณาแล้ว
อาจสำเร็จสันนิษฐานว่า อารมณ์ คือ รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี่เอง, รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เป็นสำคัญ
ก็รวมลงที่คนหรือตลอดถึงสัตว์ด้วย, รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ของคนตลอด
จนถึงของสัตว์ ควรจัดเข้าว่าเป็นเทว-
ปุตตมาร เพราะมีรูปร่างมีเสียงมีกลิ่นมีรส
มีโผฏฐัพพะ, คนมุ่งจะทำดีทำชอบ แต่
ถ้ามี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่
ชอบใจเข้ามาประสบ ก็ไปยินดี ใน รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบ เพราะ
ฉะนั้น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่
ชอบที่เป็นที่ตั้งของราคะ จึงเป็นมาร, ถ้า
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นที่ตั้ง
ของความยินร้าย คือโกรธแค้นขัดเคือง
คนก็ไปโกรธแค้นขัดเคืองต่อ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่รวมเข้าเป็นรูป
เป็นร่างเป็นคนเป็นสัตว์ นี้ก็ป้องกันหรือ
ทำลายความดี, ถ้ารูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ เป็นที่ตั้งของความหลง คน
ก็หลงต่อ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
เช่น หลงกลัวผี กลัวสัตว์ร้าย กลัวอะไร
ต่าง ๆ ตลอดถึงกลัว แต่ เจ็บ ตาย นี้ก็
ป้องกันหรือทำลายความดี, รวมความว่า
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เป็นที่ตั้ง
แห่งความยินดี ก็ยั่วให้เกิดความยินดี ที่
เป็นที่ตั้งแห่งความยินร้าย ก็ยั่วให้เกิดความ
ยินร้าย เป็นที่ตั้งแห่งความหลง ก็ยั่วให้
เกิดความหลงงมงาย ไม่กล้าทำคุณความดี
ได้ จึงเป็นมาร เรียกว่า เทวปุตตมาร
มารคือเทพบุตร อย่าง ๑.
อีกอย่างหนึ่งที่เป็นสำคัญก็คือกิเลส
เครื่องเศร้าหมองใจ หรือเครื่องที่ทำใจ
ให้เศร้าหมอง เคยแสดงกันมาแล้ว, เมื่อ
กล่าวโดยย่อ กิเลสอย่างละเอียดอย่างกลาง
อย่างต่ำเป็นมารของกันและกันเป็นชั้น ๆ :
กิเลสอย่างต่ำ เป็นมารของกิเลสอย่างกลาง,
กิเลสอย่างกลาง เป็นมารของกิเลสอย่างสูง,
กิเลสอย่างสูง เป็นมารของการตรัสรู้, แต่
ว่าโดยนัย ตามพระพุทธภาษิตที่แสดงถึง
กิเลสมีอาการต่าง ๆ ท่านแยกเป็น ๔
คือ :-
กามะ ความใคร่ที่นอนเนื่องอยู่กับจิต
เมื่อมีอารมณ์มาประสบ ก็ออกมาใคร่
อารมณ์ นี่อย่างหนึ่ง.
ภวะ ความเป็นที่นอนเนื่องอยู่กับจิต
เมื่อได้รู้ความเป็นอะไรต่าง ๆ ก็ออกมา
เป็นนั่นเป็นนี่ อีกอย่างหนึ่ง.
ทิฏฐิ ความเห็นที่มีอยู่ในจิต มุ่งเอา
ความเห็นผิดอยู่, แต่ถ้ามีอารมณ์มาประสบ
ความเห็นที่มีอยู่ก็ออกมาเห็นอารมณ์ แล้ว
ก็เห็นผิดจากความจริงไป นี่อีกอย่างหนึ่ง.
อวิชชา ตามศัพท์ แปลว่า ความไม่รู้
จะพึงแยกออกได้เป็น ๒ คือ อวิชชาเดิม
ได้แก่ความไม่รู้ คือไม่รู้อะไร ๆ ออกไป
เหมือนดังคนอยู่ในห้องมืด ไม่รู้ว่าในห้อง
นั้นมีอะไร มืด ท่านจึงเรียกว่า ตโม หรือ
ตมะ แปลว่า มืด, เมื่อมีอารมณ์มาประสบ
อวิชชานั้นออกไปรู้จักอารมณ์ อวิชชาก็มี
อาการคือรู้ผิดจากความจริง, ความจริง
เป็นอย่างหนึ่ง แต่รู้ผิดจากความจริงไป
เป็นอีกอย่างหนึ่ง, นี่เป็นอวิชชามีอาการ
หรืออาการของอวิชชา, เหมือนดังคนอยู่
ในห้องมืด ไม่รู้ว่าในห้องมีอะไร เมื่อมี
แสงสว่างเข้าไปในช่องหนึ่ง ก็เห็นสิ่งที่อยู่
ในห้องนั้นช่องหนึ่ง ก็นึกว่ามีเท่านี้แหละ,
ครั้นมีแสงสว่างเข้าไปอีกช่องหนึ่ง ก็เห็น
ว่ามีเท่านี้แหละ ไม่เห็นตลอด, เช่นเห็น
เกิดแล้วก็ดีใจ เห็นตายก็เสียใจ สำหรับ
คนที่รักใคร่กัน แต่ถ้าคนที่เกลียดกัน เกิด
ขึ้นก็ไม่ชอบใจ ตายไปก็ยินดี.
กาม ภพ ( ภวะ ) ทิฏฐิ อวิชชา ทั้ง ๔ นี้
ที่นอนเนื่องครอบงำจิตอยู่ ยังไม่แสดง
ออกมาให้ปรากฏ ท่านเรียกว่า อัณณวะ
อัณณพ แปลว่า ทะเล เหมือนดังน้ำใน
ทะเลที่นอนอยู่ไม่ไหลก็ท่วมปกปิดของที่
อยู่ภายใต้ไว้, เรียกว่า โอฆะ บ้าง, โอฆะ
แปลว่ากระแส หมายความว่า กระแสน้ำ
ที่ไหลไปพัดพานท่วมทับสิ่งที่อยู่ในกระแส
นั้น, กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา ที่แสดง
อาการออกไป ก็ท่วมทับไหลพัดพานใจ
สัตว์ จึงเรียกว่า โอฆะ ; กาม ภพ ทิฏฐิ
อวิชชานี้ ที่มีอาการผูกใจสัตว์ไว้ให้ติดอยู่
ในอารมณ์ต่าง ๆ หรือในภพ เรียกว่า
โยคะ ; แปลว่า เครื่องประกอบร้อยรัดใจ
สัตว์ไว้ เรียกว่าคันถะ ; แต่ก็ ๔ อาการ
นี้แหละ : ถ้ามีอาการที่ท่วมทับให้จมอยู่
ก็เปรียบด้วยทะเล เรียกว่าอัณณพ, ที่ไหล
พัดพานท่วมทับใจเรียกว่า โอฆะ, ที่ผูกใจ
ไว้ เรียกว่า โยคะ, ที่ร้อยรัดใจไว้ก็เรียก
ว่า คันถะ. สังโยชน์ก็ศัพท์เดียวกับโยคะ
แปลว่าประกอบพร้อม, แม้พระอริยบุคคล
ชั้นต้นก็ละได้เพียงสังโยชน์บางอย่าง ต่อ
ขั้นสูงสุดจึงละสังโยชน์ได้หมด, เหล่านี้
แหละเป็นกิเลส เป็นมารทำลายล้างคุณ
ความดีที่ไม่ให้คนทำถูกต้องตามคลอง
ธรรม จึงเรียกว่า กิเลสมาร มาร คือ กิเลส.
เมื่อคนอยู่ในอำนาจของมาร มารทำลาย
ล้างความดี ใช้ไปให้ทำชั่วต่าง ๆ, คน
หรือสัตว์ก็ทำตามอำนาจมาร นี่แหละมัน
จึงเกิดยุ่งกันขึ้น, คนตั้งตัวไม่ได้ก็เพราะ
มาร อยู่ด้วยกันไม่เป็นสุขก็เพราะมาร
ไม่รู้ตามเป็นจริงก็เพราะมาร, แม้เราจะยัง
ละมารกำจัดมารไม่ได้ แต่ก็ควรจะรู้จัก
หน้าตาของมารไว้, เมื่อมารอะไรเกิดขึ้น
ครอบงำใจ ก็มีสติระลึกได้และรู้ตัว.
ท่านแสดงว่าพระพุทธเจ้าชนะมารก็ด้วย
ผจญมาร ผจญก็ต่อสู้มาร, ต่อสู้มารด้วย
อะไร ? ด้วยบารมี คือ ทานบารมี สีล
บารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี นี่เป็น
ข้อปฏิบัติโดยตรง, วิริยะ ขันติ สัจจะ
อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา เป็นอุปการะ
ช่วยอุดหนุน, ชนะมารชั้นต้นก็เป็นด้วย
บารมีสามัญ, ชนะมารชั้นกลางก็ด้วยอุป-
บารมี บารมีที่จวนใกล้, ชนะมารสูงสุด
ก็ด้วยปรมัตถบารมี จึงได้เป็นพระพุทธเจ้า.
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าชนะขันธ์
เพราะท่านไม่ยึดถือขันธ์ ไม่อยู่ในอำนาจ
ของขันธ์, ชนะอภิสังขารเพราะท่านไม่อยู่
ในอำนาจของความนึกคิด, ชนะมัจจุมาร
คือความตาย เพราะท่านอยู่เหนือความ
ตาย ความตายไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับท่าน
ชนะเทวปุตตมาร คือ ชนะ รูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ, ชนะกิเลสมาร มารคือ
กิเลส เพราะฉะนั้น จึงได้ชื่อว่ามารชิโน
ผู้ชนะมาร หรือ ชิตมาโร มีมารอันพระองค์
ชนะแล้ว.
เรายังตกอยู่ในอำนาจหรือวิสัยของมาร
เพราะบำเพ็ญบารมียังไม่เต็มที่ แต่ถึง
เช่นนี้ เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระ-
พุทธเจ้าแล้ว ก็ควรจะนำคำสั่งสอนของ
่พระพุทธเจ้าเข้ามาบำเพ็ญให้เป็นบารมีไป,
ชั้นต้นก็ปฏิบัติทิฏฐธัมมิกัตถะ ชั้นที่ ๒ ก็
ปฏิบัติสัมปรายิกัตถะ, ส่วนปรมัตถะแม้จะ
ยังไม่เห็นทาง หรือเห็นว่าไม่สามารถจะ
ปฏิบัติได้ ก็พึงรู้ไว้ตามเรื่องตามราว และ
ก็ควรปฏิบัติในข้อที่พอสามารถปฏิบัติได้
ถึงยังจะไม่ได้บรรลุปรมัตถะในชาตินี้ ก็จัก
เป็นบุญกุศลให้ผลดีทั้งในชาตินี้และต่อไป
กว่าจะถึงที่สุด. เพราะคนเราเกิดมาแล้ว
ก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย เมื่อไม่มีที่
ยึดเหนี่ยวของใจ ใจก็ว้าเหว่, ถ้ามีที่
ยึดเหนี่ยวของใจแล้ว ใจก็อุ่นหนาฝาคั่ง
ตายไปด้วยใจที่อุ่นหนาฝาคั่งก็เป็นสุข ตาย
ด้วยใจที่ว้าเหว่ก็เปล่าเปลี่ยวไม่เป็นสุข.
( โอ. ๑/๒๑๓-๒๑๙ ).
อีกนัยหนึ่ง มาร คือ ผู้ทำลายล้าง
ความดี ได้แก่โลภะ คือความอยากได้
หรือราคะ คือความยินดี ติดอยู่ในอารมณ์
ที่ชอบ ๑, โทสะ ความประทุษร้ายใจ
เพราะโกรธในอารมณ์ที่ไม่ชอบ ๑, โมหะ
ความหลงเพราะไม่พิจารณาดูให้รู้อารมณ์
ตามเป็นจริง ๑, เกิดขึ้นที่จิต ทำจิต
ให้กระวนกระวาย จนถึงให้ทำชั่วทางกาย
บ้าง ทางวาจาบ้าง เพราะความจงใจ,
โลภะ หรือ ราคะ โทสะ โมหะ จึงเป็น
อกุศลมูล ที่ตั้งแห่งอกุศลด้วย เป็น
อกุศลด้วย และเป็นมารผู้ทำลายล้าง
ความดี. ( วชิร. ๒๑๕ ).





อารมณ์ สิ่งที่ประสบพบเห็นทั้งหมด ที่
ให้เกิดความยินดีบ้าง ให้เกิดความยิน-
ร้ายบ้าง รวมเรียกว่าอารมณ์, หมาย
ความว่า ที่ยึดที่หน่วง มีมากเหลือที่จะ
แสดง แต่รวมลงก็คงเป็นรูป ที่ประสบ
ตา ๑ เสียงที่กระทบหู ๑ กลิ่นที่ประสบ
จมูก ๑ รสที่ประสบลิ้น ๑ โผฏฐัพพะ
ที่ประสบกาย ๑ แล้วรวมเข้าเป็นเรื่อง
ประสบมนะ ที่มนะนึกคิดเรียกว่า ธรรม
หรือธรรมารมณ์ ๑. อารมณ์เหล่านี้ ใคร
จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ก็คงมีอยู่เป็นธรรมดา
( ๑ ), ทั้งมีขึ้นแล้ว ก็แปรปรวนไป เสื่อม
ไป ทนอยู่คงที่ไม่ได้ ใครจะบังคับให้ผิด
ธรรมดาก็ไม่ประสงค์ คงเป็นอยู่อย่างนี้
เสมอเป็นธรรมดาอีก ( ๒ ), บุคคลรู้
อารมณ์นั้น ๆ เข้า ก็เพราะตาได้เห็น หูได้
ยิน จมูกได้สูบ ลิ้นได้ลิ้ม กายได้ถูกต้อง
ครั้นแล้วมนะก็นึกคิดไปต่าง ๆ ตาหูจมูก
ลิ้นกายมนะ ( ที่รวมเป็นเป็นก้อนรูป หรือ
ก้อนกายนี้คือที่ตัวเอง ) นั้นเล่าก็ทำหน้าที่
ของตน ๆ ชั่วขณะ ๆ แล้วก็ล่วงไป และ
เกิดขึ้นใหม่แล้วก็ล่วงไป ทั้งต้องแก่ด้วย
ต้องเจ็บด้วย ต้องตายด้วย เพราะมีชาติ
เป็นต้นเป็นเหตุ นี้ก็เป็นไปตามธรรมดา
( ๓ ), เพราะตาเห็นรูปเป็นต้น จนถึง
มนะนึกคิดเรื่องจึงเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
รู้สึกขึ้น ถ้าวิญญาณรู้สึกอารมณ์เป็นที่ตั้ง
แห่งความยินดี เป็นที่ตั้งแห่งสุข ก็เกิดสุข
เวทนา ถ้าวิญญาณรู้สึกอารมณ์เป็นที่ตั้ง
แห่งความยินร้าย ( โกรธ เกลียด กลัว )
เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ก็เกิดทุกขเวทนา ถ้า
วิญญาณรู้สึกอารมณ์ที่เป็นกลาง ๆ ก็เกิด
เวทนาไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข สัญญาก็จำหมาย
กำหนดไปตาม เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
คือการปรุงแต่งจิต ได้แก่ความคิดนึก
พร้อมกับเรื่องประสบกันนั่นเอง ถ้าคิด
ปรุงแต่งในทางชั่วก็เป็นบาป คิดปรุงแต่ง
ในทางดีก็เป็นบุญ คิดปรุงแต่งในทางไม่
ใช่ดีไม่ใช่ชั่ว ถ้ามีก็เป็นพัพพยากฤต ถึง
รูป ( ซึ่งรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย มนะ )
วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร เหล่านี้
เล่า เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป และเกิดขึ้น
ใหม่ แล้วก็ดับไปอีก จึงชื่อว่าแปรปรวน
อยู่เสมอ ทนอยู่คงที่อย่างเดียวไม่ได้
บังคับให้เป็นไปตามใจหวัง ( คือให้คงที่
ไม่แปรปรวน ) ก็ไม่ได้เป็นธรรมดาอีก
( ๔ ), แต่ถ้าจิตพรากออกไปจากรูปเสีย
แล้วเช่นคนตาย อารมณ์ภายนอกเหล่านั้น
จักมีมากเท่าไร ก็ไม่ปรากฏแก่ตนเลย ตาก็
ไม่เห็น หูก็ไม่ได้ยิน จมูกก็ไม่สูบ ลิ้นก็ไม่
ลิ้ม กายก็ไม่รู้สึกถูกต้อง มนะก็ไม่เกิด วิญ-
ญาณ เวทนา สัญญา สังขาร ก็ไม่เป็นไป
คงเหลือแต่รูปอันเป็นส่วนโลกแท้ เป็นอยู่
อย่างนี้เป็นธรรมดา ( ๕ ), บุคคลได้รู้สิ่ง
นั้น ๆ เข้าคือรู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏ-
ฐัพพะ ธรรม คือเรื่อง, และรู้จักตา หู
จมูก ลิ้น กาย มนะ, ตลอดถึงรู้รูปตนเอง
และวิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร
และรู้จักด้วยอำนาจ อวิชชา คือความ
เข้าใจผิดรู้ผิด จึงยึดสิ่งรู้นั้น ๆ ( อัน
เป็นส่วนผล ) ว่าเป็นของเราบ้าง เรา
เป็นสิ่งนั้น ๆ บ้าง สิ่งนั้น ๆ เป็นจริงจัง
ของเราบ้าง ก็เป็นอันถือเอาสิ่งที่ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์และบังคับไม่ได้ ( อนัตตา ) ว่า
เป็นของเราบ้าง เราเป็นสิ่งนั้น ๆ บ้าง
สิ่งนั้นเป็นจริง ๆ ของเราบ้าง และพลอย
เป็นเกิดเป็นแก่ เป็นเจ็บ เป็นตาย เป็น
ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไปตามสิ่งที่รู้ จึงไม่พ้น
จากทุกข์ร้อน, ส่วนผู้รู้ด้วยปัญญาชอบ
ตามเป็นจริงแล้ว ย่อมเบื่อหน่าย เมื่อ
เบื่อหน่าย ย่อมปล่อยวางไว้ไม่ยึดถือ
เพราะปล่อยวางไม่ยึดถือ จึงหลุดพ้นจาก
ความยึดถือคงเป็นผู้รู้อยู่ ไม่พลอยเกิด
ไม่พลอดแก่ ไม่พลอยเจ็บ ไม่พลอยตาย
ไม่พลอยไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไปตามที่รู้ ก็
พ้นจากทุกข์ร้อนด้วยประการฉะนี้. ท่าน
ผู้พ้นด้วยความรู้จริงนั้น ถึงอารมณ์ภาย
นอกจะมีมากสักเท่าไร ตา หู จมูก ลิ้น
กาย มนะ จะได้ประสบอย่างไร วิญญาณ
เวทนา สัญญา สังขาร จะเป็นไปอย่างไร
ท่านก็ไม่หวั่นไหวไปตาม คงเป็นผู้รู้
และพ้นอยู่เสมอและอาศัยทำประโยชน์
ไปกว่าจะถึงที่สุดดังนี้. ( วชิร. ๑๗-๑๙ ).




ถ้าเกิดอีกคราวหน้าก็ไม่ต้องกลัวครับ เกิดบ่อย ๆ ยิ่งดีครับในตอนนี้

เวลาทำบุญก็อุทิศให้เค้าด้วยครับ หรือหลังจากนั่งสมาธิเสร็จก็แผ่เมตตาและอุทิศผลบุญจากการทำสมาธิให้เค้าด้วยครับ และยิ่งอุทิศและแผ่ไปอย่างไม่มีประมาณยิ่งดีครับ

ไม่ต้องสนใจว่าคิดไปเองหรือเปล่าครับ เพราะของอย่างนี้คนเห็นคนได้ยินเค้าก็เห็นก็ได้ยินของเค้า ไม่ได้เป็นสาธารณะสำหรับทุกคนครับ


สุขเวทนา ทุกขเวทนา เกิดที่มโนทวาร หรือ มโนสัมผัส..

แปลง่ายว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สัมผัส กับ กุศล ก็ เกิด สุข โสมนัส
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สัมผัส กับ อกุศล ก็ เกิด ทุกข โทมนัส

หมายความว่า บางคนนั่งสมาธิ แล้วเห็น ผีเสื้อ เห็น ดอกไม้ เรีกยกว่า เกิด สัมผัสทางใจ แล้วก็เกิด สุข
ส่วนบางคน นั่ง สมาธิแล้ว เห็นสัตว์ร้าย จรเข้บ้าง เสือบ้าง ภูติผี บ้าง ให้ สะดุ้งกลัว เกิด สัมผัสทางใจ แล้วก็เกิด ทุกข โทสนัส

แต่เป้าหมายของสมาธิ คือความสงบ หรือมัถยัส คือไม่ได้ มุ่งไปทางสุข
แต่แน่นอน เราต้องเริ่มจากทางสุขก่อน...

เช่นถ้านั่งสมาธิแล้วเห็นสัตว์ร้ายเช่นเสือ เราก็ลองเพ่งจิตระลึกถึงสัตว์ที่เราชอบก่อน เช่นสุนัขตัวโปรดของเรากำลังเค้าเคลียกับเรา ภาพของสัตว์ร้ายก็จะหายไป เมื่อสมาธิเพ่งด้านสุขอยู่คงทน แล้ว เราจึงเลิกจากความฟุ้งซ่าน มากำหนดลมหายใจเช่น เดิม เช่น ต้น-กลาง-ปลาย หายใจ เข้า ต้น กลาง-ปลาย-หายใจออก จิตก็จะเป็มัถยัต ไม่สุขไม่ทุข สู่ความสงลนิ่งไม่ฟุ้งซ่าน.



 4,129 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย