กายทิพย์ คืออะไร มีจริงหรือไม่

     

กายทิพย์ คืออะไร มีจริงหรือไม่

คำตอบ คือ กายทิพย์มีจริง หมายความว่ามนุษย์ (ในที่นี้กล่าวถึงเฉพาะมนุษย์เท่านั้น) ทุกคนสามารถมีกายทิพย์ได้

กายทิพย์คืออะไร กายทิพย์ คืออะตอมหรือนิวเคลียสภายในสรีระร่างกายของมนุษย์ที่แยกตัวออกจากเซลล์ของสรีระร่างกาย เพราะภายในสรีระร่างกายของมนุษย์นั้นจะประกอบไปด้วยเซลล์ต่างๆ เซลล์เหล่านั้นก็จะมีอะตอมหรือนิวเคลียสอยู่ เมื่อบุคคลใดฝึกตนถูกหลักวิธี อีกทั้งมีความรู้ที่ถูกต้อง ฝึกตนถึงระดับหนึ่ง ก็จะสามารถแยกอะตอมอันประกอบด้วยนิวเคลียสภายในร่างกายของตัวเองได้ ซึ่งอะตอมและนิวเคลียสที่แยกตัวนั้น อาจจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ หรืออาจสามารถบังคับแยกอะตอมหรือนิวเคลียสได้

กายทิพย์มีลักษณะเช่นใด กายทิพย์เป็นอะตอมหรือนิวเคลียส ดังนั้นจึงโปร่งแสง แต่ก็ยังสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และ/หรือ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า กายทิพย์จะคงรูปอยู่ครบถ้วนหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการฝึกตน ในที่นี้หมายถึงมองเห็นเป็นรูปร่างครบถ้วน

กายทิพย์สามารถเคลื่อนที่เคลื่อนย้ายได้ กล่าวคือ กายทิพย์สามารถเคลื่อนย้ายหรือเคลื่อนที่ไปได้ตามใจนึก ซึ่งก็ย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจและวิธีการฝึกตนที่ถูกต้อง ดังนั้นผู้มีกายทิพย์ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ที่ฝึกตนดีแล้วมีสมาธิที่ดีแล้ว

กายทิพย์เกิดขึ้นได้เมื่อใด สำหรับผู้ที่ฝึกตนดีแล้วมีความรู้ถูกต้องแล้วจึงจะสามารถมีกายทิพย์ได้ ดังนั้นกายทิพย์จะเกิดได้ทุกเวลาที่ต้องการ บางครั้งจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ บางครั้งสามารถกำหนดให้เกิดได้ตามใจของบุคคลนั้นๆ

ที่กล่าวไปทั้งหมดเป็นลักษณะ ของกายทิพย์ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริงมีจริง
ข้าพเจ้าเคยได้เขียนกระทู้ไปแล้วเกี่ยวกับเรื่องนิวเคลียส ในร่างกายของคนเรานั้น มีการเคลื่อนที่ ที่ไม่เหมือนกับที่ได้เรียนมา
นั้นก็หมายความว่า
จากการทดลองตามหลักการเคลื่อนที่ของนิวเคลียส ของหลักวิทยาศาสตร์ทั่วไปแล้ว ปรากฏว่า ไม่ถูกต้อง (อาจจะเป็นเฉพาะภายในร่างกายของคนเรา) และเมื่อ การเคลื่อนที่ของนิวเคลียส ในร่างกาย ไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดอาการทางโรคจิตประสาท มีอารมณ์รุนแรงผิดปกติ หรือมีอารมณ์ ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
แต่ถ้าหาก การเคลื่อนที่ของนิวเคลียส ของอะตอม เคลื่อนที่ได้ถูกต้อง อาการเหล่านั้นก็จะหายไป (จุดนี้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งหลาย หรือเหล่าแพทย์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ หรือนิสิต นักศึกษา ควรได้ศึกษา และพิจารณาให้ดี)

ดังนั้นสิ่งที่ข้าพเจ้าบอกจึงไม่ใช่ความเชื่อ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง มีจริง
อันร่างกายของมนุษย์ ประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ อวัยวะแต่ละอวัยวะประกอบไปด้วยเซลล์ต่างๆ เซลล์ต่างๆ ประกอบไปด้วยอะตอม และอะตอม ประกอบไปด้วยนิวเคลียส
นิวเคลียส ประกอบไปด้วย โปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน
อะตอม เป็นตัวทำปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งก็ย่อมเกิดจาก นิวเคลียส ภายในอะตอมนั่นเอง

เมื่ออะตอม เป็นส่วนที่เล็กที่สุดรวมกันหรืออยู่ในเซลล์ ดังนั้น เมื่ออะตอม ทำปฏิกิริยาทางเคมี จึงทำให้อะตอม สามารถแยกตัว จากอะตอมเดิมได้ โดยอาจแยกตัวพร้อมกัน หลายๆอะตอมทั่วร่างกาย หรือ แยกเพียงบางส่วน บางอวัยวะ ขึ้นอยู่กับปัจจัย ในด้านความรู้ และวิธีการปฏิบัติหรือดำเนินการ

อะตอมที่แสดงปฏิกิริยานั้น เมื่อแยกตัวจากอะตอมเดิมพร้อมกันทั่วร่างกาย หรือเกือบพร้อมกัน แต่อาจจะไม่ทั่วร่างกาย ก็คือ กายทิพย์
ที่ข้าพเจ้าอธิบายนี้ เป็นการอ้างอิงเอาหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ในการเกิดหรือการมีกายทิพย์
ซึ่งที่ได้กล่าวไปทั้งหมด ไม่ใช่ความเชื่อ แต่เป็นเรื่องจริง มีจริง เป็นจริง


   




ทุก ๆ คนมีความรู้ หรือมีธาตุรู้
อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ถ้าไม่มีความรู้ หรือ
ไม่มีธาตุรู้ ก็จะเป็นคนไม่ได้ เพราะ
ฉะนั้น จึงมีพระพุทธภาษิตแสดงไว้ว่า
ฉธาตุโร อยํ ปุริโส คนนี้มีธาตุ ๖
คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
ธาตุอากาศและธาตุรู้ เหล่านี้เป็นต้น.
รูปกายคือกายที่เป็นส่วนรูป แต่ถ้าไม่มี
ธาตุรู้ก็เป็นหุ่น หรือเป็นร่างกายของ
คนตาย ไม่สามารถจะทำกิจการงาน
ทั้งหลายให้สำเร็จไปได้, ต่อเมื่อมี
วิญญาณธาตุ ธาตุรู้ประกอบกันไปอาศัย
กันและกันเป็นไป นั่นแหละธาตุรู้จึง
จะใช้ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ ที่เป็น
ธาตุไม่รู้อันเป็นรูปกายนั้น ให้ทำกิจการ
งานเพื่อสำเร็จกิจ สำเร็จประโยชน์แก่
ตน เพื่อสำเร็จประโยชน์ต่อบุคคลผู้อื่น,
ลำพังแต่ธาตุรู้เดิมที่มีอยู่ในบุคคล ก็ประ-
มวลกันอยู่ ไม่มีอาการที่แสดงออกมาว่า
เป็นอย่างไร เช่นเด็กที่อยู่ในครรภ์มารดา
หรือคนนอนหลับหรือคนสลบ เพราะมี
ธาตุรู้อยู่แต่ประมวลกันอยู่ ไม่แสดง
อาการออกมา จึงไม่รู้ยิ่งขึ้นไป, ต่อเมื่อ
เด็กนั้นคลอดจากครรภ์มารดาออกมา
และได้อาศัยความเจริญที่มีอยู่ตามธรรมดา
อุปถัมภ์ ก็ให้เจริญยิ่งขึ้นโดยลำดับ หรือ
คนนอนหลับคนสลบ ฟื้นตื่นจากหลับ
จากสลบ ธาตุรู้นั่นแหละ จึงแสดงออก
มาทางทวาร: คือออกมาทางตาให้เห็นรูป
ก็เกิดความรู้สึกขึ้น เรียกว่าจักขุวิญญาณ,
ออกมาทางหูได้ประสบเสียง เกิดความ
รู้สึกขึ้น เรียกว่าโสตวิญญาณ, ออกมาทาง
ฆานะคือจมูก เกิดความรู้สึกขึ้น เรียกว่า
ฆานวิญญาณ, ออกมาทางสิ้นและรู้รส
เกิดความรู้สึกขึ้น เรียกว่าชิวหาวิญญาณ,
ออกมาทางกายมาประสบโผฏฐัพพะ คือ
สิ่งที่กายถูกต้อง เกิดความรู้สึกขึ้น เรียกว่า
กายวิญญาณ, ออกมาทางมนะ คือมนะนึก
คิดอารมณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ เกิดความ
รู้สึกขึ้น เรียกว่ามโนวิญญาณ. วิญญาณ
ของธาตุรู้อาศัยกับกาย ซึ่งเป็นธาตุไม่รู้
จัดเป็นวิญญาณขันธ์ คือกองวิญญาณใน
ขันธ์ห้า, นี้ธาตุรู้ตื่นขึ้นมา. แต่ว่าธาตุรู้นั้น
ก็รู้เพียงที่จะปกครอง บริหารตนให้เป็นไป
ได้ ป้องกันอันตรายที่พึงมีมาตามสามารถ
ที่จะพึงป้องกันได้ รู้เช่นนี้เสมอกันไปใน
คนและในสัตว์ เพราะสัตว์ดิรัจฉาน ก็มี
ความรู้เช่นนี้ นี้ได้ชื่อว่ารู้ ตื่นจากไม่รู้
หรือจากหลับ จากสลบมาชั้นหนึ่ง, แต่ยัง
ไม่วิเศษอะไร เพราะว่า ถ้าปล่อยให้ธาตุรู้
นั้นเป็นไปตามอารมณ์ที่ได้ประสบ กิเลส
ที่มีภายใน คือโลภะ ความต้องการได้
โทสะ ความโกรธแค้น โมหะ ความหลง
ก็ออกไปเกี่ยวข้องพัวพันกับอารมณ์ที่รู้นั้น
และอยากได้ โกรธแค้น หลงไปตามอารมณ์
เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็นเหตุให้ประพฤติปฏิบัติ
ทางกายด้วยทำ ทางวาจาด้วยพูด ทางใจ
ด้วยคิด ผิดบ้างถูกบ้าง ไม่รู้สึกดีชั่วอย่าง
ไร, ต่อเมื่อธาตุรู้นั้นแหละ ได้รู้ยิ่งขึ้นไป
จนถึงรู้ว่าใครเป็นคนดี ใครเป็นคนชั่ว
เมื่อรู้จักว่า ใครเป็นคนดี ใครเป็นคนชั่ว
ดังนี้แล้ว สืบเข้าไปว่า เขาดีเพราะอะไร
หรือชั่วเพราะอะไร ก็จะเห็นได้ด้วยความ
รู้ของตนเองว่า คนที่ทำดี ก็เพราะเขารู้ดี
รู้ชั่ว และตั้งใจเว้นชั่วตั้งใจทำดี คนที่เป็น
คนชั่ว ก็เพราะรู้ชั่วรู้ผิด แต่ไม่รู้ดีรู้ชอบ
จึงทำแต่ชั่วแต่ผิดออกไป. คนที่รู้ดีรู้ชั่วและ
ตั้งใจเว้นชั่วทำแต่ดีเช่นนี้ อยู่ที่ไหนตนก็
เป็นคนดี ทำหมู่ที่อยู่ด้วยกันให้เป็นสุข คน
ที่รู้ชั่วอยู่ที่ไหนก็ทำชั่ว ทำผู้ที่อยู่ด้วยกันให้
เดือดร้อน พิจารณาเห็นได้ในปัจจุบันนี้,
บุคคลที่รู้ดีรู้ชั่วแล้ว ตั้งใจเว้นชั่ว ตั้งใจ
ทำดีนี้ ก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วย
สุจริต คือความประพฤติดี ไม่เป็นผู้
ประกอบด้วยทุจริต. ความประพฤติชั่ว
เมื่อเป็นเช่นนี้ ตัวเองก็เป็นคนดี ผู้ที่
เกี่ยวข้องด้วยก็ไม่เป็นทุกข์ มีแต่จะเป็นสุข
ความเป็นเช่นนี้ ก็เพราะธาตุรู้นั้นแหละ
ที่มีอยู่ด้วยกันทุก ๆ คน. แต่ถ้าใช้ธาตุรู้
หรือความรู้ออกไปพิจารณาดูบุคคลอื่น ให้
เห็นตามเป็นจริงตามเหตุและผล และ
น้อมความรู้ดีรู้ชอบเข้ามาในตน มาฝึก
ตนทำตนให้เป็นคนตื่น เพราะรู้ตามเป็น
จริง, นี้ก็จะเป็นทางทำให้เป็นคนดี หรือ
เป็นคนประกอบด้วยสุจริต เป็นกัลยาณชน
คนงาม. ( วชิร. ๔๓๓-๔๓๖ ).
อีกนัยหนึ่ง ทุก ๆ คน มีธาตุรู้อยู่
ในตนด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครไม่มีธาตุรู้
เพราะมีธาตุรู้เป็นพื้นเพเดิมอยู่นั่นแหละ
เมื่อธาตุรู้ผสมกับดิน น้ำ ไฟ ลม และ
อากาศคือช่องว่างอันเป็นรูปกาย กายที่
เป็นส่วนรูป, ธาตุรู้ก็ออกมาทางอายตนะ
คือ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มนะ
ออกมารู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
และธรรมคือเรื่อง, เพราะธาตุรู้ออกมา
ทางอายตนะภายใน มาประสบอารมณ์
หรืออายตนะภายนอกเช่นนี้ จึงเป็นปัจจัย
ให้ธาตุรู้เดิมนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากพื้นเพ
เดิม แต่ว่าเปลี่ยนเป็นดีขึ้นก็ได้ เปลี่ยน
เป็นชั่วลงก็ได้. พึงพิจารณาดูคนทั้งหลาย
เมื่อยังไม่ได้ทำอะไรทางกาย ทางวาจาให้
ปรากฏ แม้จะเกิดในสกุลสูง กลาง ต่ำ
ต่างกันอย่างไร, ธาตุรู้ที่มีอยู่เดิมนั้นก็
คงมี ประจำอยู่ด้วยกัน แต่ยังไม่แสดง
อาการออกมาให้ปรากฏว่าเป็นคนดีหรือ
คนชั่ว แต่เพราะธาตุรู้ออกมาทาง
อายตนะ มารู้อารมณ์ทั้งหลาย และด้วย
ความรู้ผิดจากความเป็นจริง, อารมณ์
ทั้งหลายที่มาประสบ จึงยั่วให้เกิดความ
ยินดีบ้าง ให้เกิดความยินร้ายบ้าง ให้
เกิดหลงงมงายบ้าง, เมื่อบุคคลไม่รู้จัก
ความยินดี ความยินร้าย ความหลงงม-
งายที่มีอยู่ในตนอันเป็นภายในและแสดง
อาการออกไปยินดียินร้าย และหลงงม-
งายในอารมณ์ที่มาประสบ จึงปล่อยให้
ความยินดีความยินร้ายความหลงงมงาย
ในอารมณ์ที่มาประสบนั้น ฉุดชักไปให้
ทำกิจการงานทางกาย ทางวาจา ทางใจ
เป็นไปในทางชั่ว, บุคคลก็เป็นคนชั่ว
ปรากฏอยู่, แต่ถ้าบุคคลรู้จักพิจารณาดู
รู้จักยินดี ยินร้าย ความหลงมงายที่มี
อยู่ภายใน และออกไปยินดี ยินร้าย
หลงงมงายในอารมณ์ เป็นภายในอันมา
ประสบ รู้เช่นนี้แล้วไม่ยอมเป็นไปตาม
อำนาจของความยินดี ยินร้ายและความ
หลงงมงาย, เมื่อจะทำอะไรทางกาย ก็
เลือกทำแต่ที่ถูกต้อง เมื่อจะพูดอะไร
ทางวาจา ก็เลือกพูดแต่ที่ถูกต้อง เมื่อ
จะคิดอะไรด้วยใจ ก็เลือกคิดแต่ที่ถูก
ต้อง หรือที่ดี, เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลก็
เป็นคนดียิ่งขึ้นโดยลำดับ. ( วชิร. ๓๒-๓๓ ).
ดู จิต ( ๒ ) ด้วย.


@ ศัพท์ว่า จิต นั้น ในบาลี
พุทธภาษิตแห่งหนึ่ง แสดงว่า จิตเป็น
ธรรมชาติประภัสสร คือผ่องใส แต่
เศร้าหมองไปได้เพราะอุปกิเลสที่จรมา
และก็อาจจะพ้นจากอุปกิเลสได้ ( ปภสฺ-
สรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตฺจโม อาคนฺ-
ตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกิลิฏ€ํ-------
อาคนฺตุเกหิ อุปกิเสเลสหิ วิปฺปมุตฺตํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ เป็นธรรมชาติ
ประภัสสร จิตนั้นแล เศร้าหมองแล้ว
เพราะกิเลสทั้งหลายที่จรมา------ หลุด
พ้นแล้วจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา ).
ในคาถาธรรมบทขุททกนิกายแสดง
อาการไว้ว่า จิตเป็นธรรมชาติไปได้
ไกล ไปดวงเดียว หรือผู้เดียว ( ไม่
รอใคร ) ไม่มีสรีระ มีคูหา ( คือรูป
กายนี้ ) เป็นที่อาศัย. ในจิตตานุปัสสนา
สติปัฏฐาน ให้พิจารณาดูจิตที่ประกอบ
ด้วยอาการที่ชั่วหรือดี. ในธาตุวิภังค-
สูตรที่แสดงถึงธาตุ ๖ แสดงว่า " ฉ-
ธาตุโร อยํ ปุริโส คนนี้มีธาตุ ๖
คือ ปฐวีธาติ อาโปธาติ เตโชธาตุ
วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาธาตุ
( ธาตุรู้ ). " สูตรนี้ จิตน่าจะได้แก่
วิญญาณธาตุ ธาตุรู้ แต่ไม่ใช่วิญญาณ
ขันธ์ในขันธ์ ๕. เมื่อถือเอาเนื้อความ
ก็ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นตัวคิดตัวรู้, หรือมี
หน้าที่คิด หน้าที่รู้, แม้เมื่อคนนอนหลับ
ก็มีจิตวิญญาณธาตุ แต่ไม่มีวิญญาณขันธ์,
ถ้าไม่มีก็เป็นร่างของตาย. ( วชิร. ๙๖-๙๗ ).
จิต แม้จะเป็นธาตุรู้ ก็ไม่อาจจะรู้
อะไรได้โดยลำพังจิตเอง ต้องอาศัยรู้ทาง
รูปกายที่เรียกว่าผัสสายตนะ แปลว่า ที่
เกิดผัสสะ มี ๖ คือ จักขุ ตา, โสตะ หู
ฆานะ จมูก, ชิวหา ลิ้น, กายะ กาย,
มนะ ใจ ( มนะ เดิมเข้าใจว่าอยู่ที่หทัย
คือรูปหัวใจ บัดนี้ บางท่านเห็นว่าอยู่ที่
มันสมอง ), คือ อาศัยจักษุ รู้รูป, อาศัย
โสตะ รู้เสียง, อาศัยฆานะ รู้กลิ่น, อาศัย
ชิวหา รู้รส, อาศัยกาย รู้โผฏฐัพพะ คือ
สิ่งที่กายถูกต้อง, อาศัยมนะ รู้ธรรม คือ
เรื่องต่าง ๆ มีเรื่องรูปเป็นต้น ที่ประสบ
มาแล้ว รวมเป็น ๖ ดังพระบาลีว่า ฉ
ผสฺสายตโน มีผัสสายตนะ ที่เกิดผัสสะ ๖
หรือเรียกว่า อายตนะภายใน ๖.
เรื่องที่รู้ทางผัสสายตนะ ( ที่เกิดผัสสะ )
ดังกล่าวข้างต้น คือ รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ และธรรม เรียกว่า มโน-
ปวิจาร แปลว่า ที่เที่ยวไปของใจ, หรือ
เรียกว่าอายตนะภายนอก ๖ เป็นที่ตั้งของ
โสมนัส ( ความยินดี ) ก็มี เป็นที่ตั้งของ
โทมนัส ( ความยินร้าย ) ก็มี เป็นที่ตั้ง
ของอุเบกขา ( ความมัธยัสถ์ เป็นกลาง )
ก็มี จึงรวมเป็น ๑๘ ดังพระบาลีว่า
อฏฺ€ารสมโนปวิจาโร มีมโนปวิจาร ที่
เที่ยวไปของใจ ๑๘.
วิถีแห่งความรู้ของธาตุรู้ ตามทาง
เหล่านี้ ทานแสดงไว้โดยลำดับ คือ :-
๑. วิญญาณ ความรู้สึกทีแรก มี
อธิบายในอรรถกถาอภิธรรมว่า
เมื่อรูปกระทบจักษุ ก็ล่วงเข้าไปถึงมนะ
จึงเกิดจักขุวิญญาณ ( ความรู้สึกเห็นรูป
ทางจักษุ ).
เมื่อเสียงกระทบโสตะ ก็ล่วงเข้าไปถึง
มนะ จึงเกิดโสตวิญญาณ ( ความรู้สึกได้
ยินเสียงทางโสตะ ).
เมื่อกลิ่นกระทบฆานะ ก็ล่วงเข้าไปถึง
มนะ จึงเกิดฆานวิญญาณ ( ความรู้สึกได้
สูดกลิ่นทางฆานะ ).
เมื่อรสกระทบชิวหา ก็ล่วงเข้าไปถึง
มนะ จึงเกิดชิวหาวิญญาณ ( ความรู้สึกได้
ลิ้มรสทางชิวหา ).
เมื่อโผฏฐัพพะได้กระทบกาย ก็ล่วง
เข้าถึงมนะ จึงเกิดกายวิญญาณ ( ความ
รู้สึกถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ).
ความกระทบทั้ง ๕ ทางดังกล่าว ต้อง
เป็นความกระทบคู่ คือ ประสาทแต่ละ
ประสาท กับ มนะ จึงเกิดวิญญาณขึ้นตาม
ประเภท, ท่านแสดงว่า เกิดขึ้นรวดเร็ว
เหมือนอย่างนกบินมาจับที่กิ่งต้นไม้ เงา
ของนกก็ทอดลงไปถึงแผ่นดินในขณะนั้น,
รูปเป็นต้นก็ฉันนั้น เมื่อกระทบจักษุเป็น
ต้น ก็ล่วงไปถึงมนะ ในทันใด จึงเกิด
วิญญาณขึ้นตามประเภท.
ส่วนธรรม คือเรื่องของรูปเป็นต้น จน
ถึงเรื่องของธรรมนั้นเอง ที่เคยเห็นมาแล้ว
เป็นต้น มากระทบมนะได้โดยตรง เกิด
มโนวิญญาณ ( ความรู้สึกเรื่องทางมนะ ).
ส่วนในพระสูตรแสดงโดยหลักว่า
อาศัยจักษุและอาศัยรูป เกิดจักขุวิญญาณ
เป็นต้น. ต่อจากนี้เกิดความรู้แรงขึ้นโดย
ลำดับ คือ :-
๒. สัมผัสสะหรือผัสสะ[๑. ความรู้ขั้นผัสสะนี้แฝงอยู่และเข้าใจยาก เพราะมีปัญหาว่า
เมื่ออายตะภายในและอายตนะภายนอก
กระทบกัน เกิดเป็นวิญญาณขึ้นแล้ว ทำไมจึงต้องมารวมกันเป็นผัสสะเข้าอีก จึงเกิดเป็นเวทนา ? ปัญหานี้
เคยตอบกันว่า เพียงวิญญาณยังอ่อน ต้องผสมกันเป็นผัสสะก่อน จึงมีกำลังแรงให้เกิดเวทนา. ได้มีผู้เทียบ
กับหลัก The 3-F ( ๓ เอฟ ) ซึ่งเป็นคำเรียก H-bomb ดังนี้ : หลักระเบิดของวัตถุระเบิดชนิด
นั้น ทีแรกมีอาการที่เรียกว่า fission คือระเบิดภายใน เทียบกับวิญญาณ, แล้วมีอาการ fusion คือ
ผสมตัว เทียบกับผัสสะ, แล้วจึงมีอาการ fission คือระเบิดวินาศ เทียบกับเวทนา, ผลระเบิด ๓ ขั้นนี้
เร็วมาก, วินาทีหนึ่งแบ่งเป็นล้านส่วน, กินเวลาเพียงส่วนทั้งหลายของล้านส่วนนั้น. หลักปรากฏการณ์ของ
ธาตุรู้ และของธาตุที่ไม่มีความรู้ในตัวเทียบกันได้ดังนี้.] ความประ-
จวบแห่งองค์ ๓ คือ อายตนะภายใน ๑
อายตนะภายนอก ๑ วิญญาณ ๑, คำว่า
ผัสสายตนะ ที่เกิดผัสสะ เรียกด้วยยกผัสสะ
นี้เป็นที่ตั้ง.
๓. เวทนา ความรู้เสวยสุข ทุกข์
หรือกลาง ๆ มิใช่ทุกข์มิใช่สุขตามสัมผัส.
๔. สัญญา ความรู้จำหมายตามเวทนา.
๕. สังขาร ความปรุงคิด หรืออภิสัญ
เจตนา ความคิดปรุง รวมทั้งวิตกวิจาร
ความตรึก ความตรองเป็นต้นตามสัญญา.
ทั้ง ๕ นี้ ยกสัมผัสซึ่งเป็นอาการผสม
ออกเสีย ก็เป็น ๔ คือ วิญญาณ เวทนา
สัญญา สังขาร เรียกรวมว่า นาม หรือ
นามกาย คืออาการที่จิตน้อมไปรู้ รวม
รูปกายเข้าด้วยก็เป็น ๕, เรียงวิญญาณไว้
ท้าย ดังนี้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ เรียกว่า ปัญจขันธ์ แปลว่า
กองทั้ง ๕, ปัญจขันธ์นี้ เป็นที่ยึดถือ
ด้วยอุปาทาน ( ความยึดถือ ) ของคนว่า
เอตํ มม นี่ของเรา, เอโสหมสฺมิ เรา
เป็นนี่, เอโส เม อตฺตา นี่เป็นตัวตน
ของเรา, จึงเรียกว่า อุปาทานขันธ์ แปล
ว่า ขันธ์เป็นที่ยึดถือแล.
อุปาทานขันธ์ ( ขันธ์เป็นที่ยึดถือ
ทั้ง ๕ ดังกล่าวนั้น รูปขันธ์เป็นคูหาที่
อาศัยของธาตุรู้หรือจิต, นามขันธ์เป็น
อาการที่น้อมไปรู้ของธาตุรู้ และธาตุรู้นี้
เมื่อยังไม่มีอาการน้อมไปรู้ ท่านเรียกว่า
ตกภวังค์,[๑. ภวังคะ แปลว่า องค์แห่งภพ ท่านอธิบายว่าได้แก่ปกติจิต, เห็นแปลกันในภาษายุโรปว่า
subconscious-
ness ( จิตใต้สำนึก ) หรือ passive state of mind ( ภาวะปกติแห่งจิต ), คำนี้เป็นภาษาใช้ใน
อภิธรรม, ส่วนในพระสูตร พบคำที่แสดงภาวะปกติแห่งจิตของผู้ปฏิบัติธรรมอย่างสูงว่า อุเบกขา ซึ่งมี
ลักษณะทั้งวางเฉยทั้งรู้. นักธรรมบางท่านเห็นว่าภาวะปกติแห่งจิตของพระอรหันต์ คือวิชชาวิมุตติ ตามพระ
บาลีว่า วิชฺวาวิมุตฺติผลานิสํโส โข...ตถาคโต วิหรติ ( ๑๙/๑๐๕ ) แปลว่า ตถาคตอยู่ มีวิชชาวิมุตติเป็น
ผลานิสงส์แล] เมื่อรูปเป็นต้น มากระทบจักษุ
เป็นต้น ก็ออกจากภวังค์ น้อมไปรู้เรื่อง
ที่มากระทบนั้น ๆ แล้วก็กลับตกภวังค์เป็น
คราว ๆ, เป็นด.ังนี้ โดยปกติธรรมดาตั้ง
แต่เกิดจนตาย.
อาการที่น้อมไปรู้ ที่เรียกว่านามของ
ธาตุรู้ ต้องอาศัยรูปกายหรือรูปขันธ์,
ฉะนั้น เมื่อรูปกายอ่อน ความรู้ก็อ่อน
เมื่อรูปกายเจริญ ความรู้ก็เจริญขึ้นโดย
ลำดับ, เปรียบเหมือนแสงไปตะเกียง เมื่อ
จุดทีแรกแสงไฟก็อ่อน เมื่อจุดติดทั่ว
แสงไฟก็แรงขึ้น, หรือเมื่อหรี่ไส้ แสง
ไฟก็อ่อน เมื่อไขไส้ขึ้น แสงก็แรงขึ้น.
เมื่อกล่าวโดยสามัญ อาจแบ่งขั้นของความ
รู้ตามชั้นความเติบเจริญของรูปกายได้
ดังนี้ :-
๑. ขั้นความรู้อ่อนที่สุด สมมติเรียก
ว่า พาลกพุทธิ ( ความรู้เด็กอ่อน ) ได้แก่
ความรู้อย่างเด็กอ่อน, อาการของเด็ก
อ่อนแสดงให้ทราบว่ามีความรู้จักสุขทุกข์
ของร่างกาย เช่นเมื่อได้บริโภค ได้หลับ
นอนและไม่ไข้เจ็บ เด็กก็แสดงอาการว่า
สบาย, เมื่อไข้เจ็บก็แสดงอาการว่าไม่
สบาย, เมื่อหิวจะบริโภค ก็ร้องจะบริโภค,
เมื่อปวดจะถ่าย ก็ถ่าย, อาการเหล่านี้
แสดงว่า มีความรู้ชั้นเวทนาโดยมาก เริ่มมี
ความรู้ชั้นสัญญาบ้าง; แต่ความรู้ชั้นสังขาร
( ปรุงคิด ) นั้น น่าจะมีตรง ๆ ตามเวทนา
หรือตามต้องการของร่างกาย ยังไม่รู้จัก
ปรุงคิดยิ่งขึ้นไป จึงไม่มีมายา ไม่มีการ
ปกปิดซ่อนเร้น ไม่มีความคิดเทียบเคียง
ตบแต่งแก้ไข.
๒. ขั้นความรู้อย่างเด็ก สมมติเรียก
ว่าทารกพุทธิ ( ความรู้เด็ก ), ในชั้นนี้
มีความรู้มากขึ้น แต่ก็เป็นความรู้อย่าง
เด็ก: รู้จักเล่นของเล่น รู้จักสงสัยทดลอง
รู้จักอยากรู้อยากเห็น รู้จักเทียบเคียง
ตบแต่งแก้ไขบ้าง แต่ก็ยังน้อย, จึงแสดง
อาการตรง ๆ เช่นคิดอย่างไร ก็พูดอย่าง
นั้น, บางทีคำพูดของเด็กเช่นนี้เป็นเครื่อง
เตือนผู้ใหญ่ก็มี เช่นมีเรื่องเล่าว่า บิดา
พาเด็กผู้เป็นบุตรไปยิงนก นกถูกยิงตกลงมา
มาแสดงอาการเจ็บปวดน่าสงสาร, เด็กก็
ถามขึ้นว่า มันทำอะไรให้พ่อ ( จึงยิงมัน ),
ฝ่ายบิดาได้ฟังก็ได้คิด จึงเลิกยิงสัตว์แต่
นั้นมา.
๓. ขั้นความรู้อย่างหนุ่มสาว สมมติ
เรียกว่า ยุวพุทธิ ( ความรู้หนุ่มสาว ),
ในขั้นนี้ ความรู้เปลี่ยนไปจากความรู้อย่าง
เด็ก เป็นรู้จักรักสวยรักงาม รู้จักเทียบ
เคียง ตบแต่ง แก้ไข รู้จักสร้างสรรค์
เป็นความรู้ที่แล่นเร็ว เห็นแต่ในด้าน
วัฒนะ ( เจริญ ) โดยมาก.
๔. ขั้นความรู้อย่างผู้ใหญ่ สมมติเรียก
ว่า วุฑฒพุทธิ ( ความรู้ผู้ใหญ่ ), ในขั้นนี้
ความรู้เปลี่ยนไปเป็นหนักแน่นแน่นอนยิ่ง
ขึ้น เพราะได้ผ่านเหตุและผลต่าง ๆ มา
มากขึ้น จึงรู้จักเทียบเคียงยับยั้ง มองเห็น
ทั้งด้ายวัฒนะ ( เจริญ ) ทั้งด้านหายนะ
( เสื่อม ) มากขึ้น, บางทีมองเห็นทาง
หายนะมากกว่าทางวัฒนะ.
ขั้นความรู้เหล่านี้มีแก่บุคคลทุกคน
แต่อาจมาเร็วหรือช้ากว่ากัน, เช่นบางคน
มีอายุเป็นเด็กหรือเป็นหนุ่ม แต่มีความ
คิดความรู้อย่างผู้ใหญ่, บางคนมีอายุเป็น
ผู้ใหญ่ แต่มีความคิดความรู้อย่างเด็ก หรือ
อย่างหนุ่มสาว, และอาจมีน้อยหรือมาก
กว่ากัน ตามพื้นปัญญาเฉพาะตน และ
ตามการศึกษาอบรม, เปรียบเหมือนแสง
ไฟจะสว่างมากหรือน้อย ก็สุดแต่ชนิด
ของตะเกียง หรือสุดแต่ชนิดของหลอด
ไฟ. แต่เมื่อความรู้เลื่อนชั้นขึ้นไป ก็พ้น
( วิมุตติ ) จากความรู้เดิม เลื่อนขึ้นไป
โดยลำดับ, เมื่อความรู้เลื่อนขึ้นไปแล้ว
จะทำเหมือนอย่างเก่าย่อมไม่ได้ และจะ
ทำให้ยิ่งขึ้นไปก็ไม่ได้, เช่นเด็กในวัยเล่น
ไม่ยอมนอนเบาะวันยังค่ำหรือเด็กแดง,
หนุ่มสาวไม่ประพฤติและเล่นอย่างเด็ก ๆ,
ผู้ใหญ่ก็ไม่ทำอย่างหนุ่มสาว, ลักษณะที่รู้
และพ้นจากขั้นต่ำเลื่อนขึ้นไปสู่ขึ้นสูงโดย
ลำดับนี้ เป็นลักษณะของวิชชา ( ความรู้ )
และวิมุตติ ( ความหลุดพ้น ) โดยสามัญ
ทั่วไป.
ต้นเดิมของความรู้ขั้นต่าง ๆ ดังกล่าว
คือธาตุรู้ ธาตุรู้นี้แม้อาศัยร่างกาย แต่
ก็มิใช่ร่างกาย ( จึงมิใช่มันสมอง แต่ก็
อาศัยร่างกายรวมทั้งมันสมองด้วยสำหรับ
รู้ ), เปรียบเหมือนไฟฟ้าอาศัยหลอดไฟ,
แต่ก็มิใช่หลอดไฟ และเพราะเป็นธาตุรู้
จึงดำเนินไปเพื่อรู้อยู่เสมอ ดังจะสังเกต
ได้ว่าคนอยากรู้อะไร ๆ ตั้งแต่พอรู้เดียงสา,
เมื่ออยากรู้ ก็ทำให้ใฝ่ศึกษาสำเหนียกเพื่อ
จะรู้. ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า คนเกิดมา
เพื่อศึกษาสำเหนียกให้รู้ เพราะคนมี
ธาตุรู้ที่ทำให้อยากรู้ ทำให้ใฝ่ศึกษา
สำเหนียกเพื่อรู้นั้นเอง.
โดยปกติ ธาตุรู้ย่อมรู้ได้ตามชั้น เช่น
รู้ตามชั้นดังกล่าวแล้ว, รู้เช่นนี้มีเท่าใด
ก็เกี่ยวเกาะอยู่เท่านั้น เช่น เด็กรู้จักเล่น
ก็เกี่ยวอยู่ในการเล่น, แม้ความรู้ของผู้
ใหญ่ โดยปกติก็เป็นเช่นนี้, ต่างแต่รู้
มากออกไป เกี่ยวเกาะมากออกไป, สิ่งที่
เกี่ยวเกาะนั้น ตั้งต้นแต่กายตนตลอดถึง
กายผู้อื่น และสิ่งอื่น ๆ นอกกาย ( ขันธ์
๕ เป็นอุปาทานขันธ์ขึ้นก็ด้วยเหตุนี้ ) จึง
มีทุกข์ร้อนมากขึ้นตามส่วน. นี้เป็นความรู้
ของสามัญชนทั่วไป เป็นความรู้ในชั้น
ไม่เป็นเหตุให้ล่วงชั้น เว้นไว้แต่จะรู้สูงขึ้น
ไป, และเพราะรู้อย่างนี้ จึงมียินดียินร้าย
มีเพลินมีติด, ดังที่ท่านแสดงไว้ในมหา-
ตัณหาสังขยสูตรตอน ๑ มีใจความว่า เด็ก
โตขึ้นย่อมเล่นด้วยเครื่องเล่นของเด็กชนิด
ต่าง ๆ. โตขึ้นอีก ก็เปลี่ยนไปยินดีบำรุง
บำเรอด้วยกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา
รักใคร่พอใจ, เห็นรูปด้วยตา ได้ยินเสียง
ด้วยหู ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก ได้ลิ้มรสด้วย
ลิ้น ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ได้รู้
เรื่องทั้งหลายด้วยใจแล้ว ย่อมยินดีใน
ส่วนที่น่ารัก ย่อมยินร้ายในส่วนที่ไม่น่ารัก,
ไม่ตั้งสติในกาย มีใจอ่อนไหว ย่อมไม่รู้
ทั่วถึงวิมุตติ ซึ่งเป็นที่ดับของอกุศลบาป
ธรรมโดยไม่เหลือ ตามเป็นจริง, จึงถึง
ความยินดียินร้าย เสวยเวทนาอย่างใด
อย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
เป็นกลาง ๆ มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ย่อม
ยินดีเพลิดเพลิน ( นันทิ ) ยึดถือ ( อุปา-
ทาน ) เวทนานั้น เป็นเหตุให้เกิดภพชาติ
สืบไปถึงชรามรณะและทุกข์ต่าง ๆ มี
โศกะ เป็นต้น, เกิดเป็นทุกขสมุทัย ความ
เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ ฉะนี้. ผลเหล่านี้
เกิดขึ้นเพราะรู้ทางอายตนะ ซึ่งเป็นรู้ใน
ชั้นตามธรรมดาสามัญ ซึ่งทุกคนมีอยู่, ถ้า
ไม่รู้ก็ไม่เกิดผลดังกล่าว เช่น เมื่อมีผู้พูด
สรรเสริญหรือนินทา ถ้าไม่ได้ยินไม่รู้ ก็
ไม่เกิดยินดียินร้าย, แต่ถ้าได้ยินได้รู้ ก็
เกิดยินดียินร้ายเป็นต้น, จึงมีความเกี่ยว
เกาะอยู่ในรู้ หรือตามที่รู้นั้นเอง ไม่ล่วง
ชั้นของความรู้นั้นขึ้นไปได้. ( พุทธ. ).
ตามพระพุทธภาษิตแสดงไว้ว่า จิต
ตั้งอยู่ในภูมิ ๓ คือ : ตั้งอยู่ในกามเป็น
กามาวจรจิตอย่าง ๑, ตั้งอยู่ในรูปนิมิต
เป็นรูปาวจรจิตอย่าง ๑, ตั้งอยู่ในอรูป-
นิมิต เป็นอรูปาวจรจิตอย่าง ๑, รวมเป็น
๓ ภูมิ, ส่วนจิตที่ประกอบด้วยอริยมรรค
ไม่อยู่ในภูมิเหล่านั้น เพราะอริยมรรค
เป็นเครื่องทำลาย ไม่ใช่ก่อ; กามาวจร
เกิดขึ้นในจิต ก็ก่อให้เกิดภูมิชั้นที่เป็นกาม,
รูปาวจรเกิดขึ้นในจิต ก็ก่อให้เกิดรูปภพ
หรือรูปภูมิ, อรูปาวจรเกิดขึ้นในจิต ก็ก่อ
ให้เกิดอรูปภาพ หรืออรูปภูมิ, ล้วนก่อ
ล้วนสร้างทั้งนั้น. แต่กามาวจรจิต ยัง
เป็นไปต่างกัน: บางคนมีกามาวจรจิตเป็น
ไปในส่วนชั่ว ซึ่งเรียกว่า บาป ก็ปรุงแต่ง
ภพหรือภูมิ ให้เป็นภพภูมิที่ชั่ว, ถ้ากามา-
วจรจิตเป็นกุศล ก็ปรุงแต่ส่วนที่ดี ที่
ชอบ ให้เป็นภูมิหรือภพที่ดี, พิจารณาดู
คนหรือตนเอง ก็จะเห็นได้ว่า ในคราว
ใด ที่ปล่อยให้ความชั่วเกิดขึ้นพอกพูน
ในคราวนั้นตนเอง ก็ตกอยู่ในกามภูมิ
หรือกามภพที่ชั่ว, ในคราวใด ปรุงแต่ง
ส่วนที่ดีที่ชอบ ซึ่งเป็นบุญเป็นกุศล ใน
คราวนั้น ตนเอง ก็ตกอยู่ในกามภพหรือ
กามภูมิเป็นส่วนดีส่วนชอบ, พิจารณาที่ตน
จะเห็นได้. ส่วนสูงขึ้นไปเช่นรูปาวจรภพ
หรือภูมิ เมื่อพิจารณาดูตนได้ถึงแค่ไหน
ก็จะได้รู้ตามเป็นจริง, แต่อริยมรรค ย่อม
ทำลายภพ ทำลายภูมิ เพราะว่าภพเกิด
จากอุปาทานความยึดถือ เมื่อมีภพก็มีชาติ
ก็มีชรา พยาธิ มรณะ, อริยมรรค ทำลาย
ภพ ก็เป็นอันทำลายชาติ เมื่อไม่มีชาติ
ก็ไม่มีชรา พยาธิ มรณะ. ท่านผู้ปฏิบัติ
เช่นนั้นก็เป็นผู้รู้ รู้ตื่นจากความหลง รู้
ตามเป็นจริง. เพราะฉะนั้น พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า จึงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น คือพ้นจาก
ความแก่ ความเจ็บ ความตาย จนถึง
ความเกิด. จะเป็นเช่นนี้ได้ก็ต้องอาศัย
การรักษาจิต. ตัวจิตเอง คนสามัญรู้
ไม่ได้ เหมือนดังคนเกิดในตระกูลต่าง ๆ
ถ้ายังไม่ได้ทำ ไม่ได้พูด ไม่ได้คิดอะไร
จัดว่าเป็นคนดีคนชั่วไม่ได้, ต่อเมื่อทำ
เมื่อพูด เมื่อคิด นั่นแหละ ถ้าทำ พูด
คิดชั่ว ก็เป็นคนชั่ว ถ้าทำ พูด คิดดี ก็
เป็นคนดี. จิตก็เป็นเช่นนั้น เมื่อยังไม่
ได้ทำอะไร ยังไม่ได้คิดอะไร ก็ยังไม่จัด
ว่าเป็นคนดีคนชั่ว, แต่เมื่อยังไม่รู้ถูกตาม
เป็นจริง จะไม่ให้จิตทำการงาน คือคิด
หาได้ไม่. พิจารณาดูจิตของตนว่าเป็น
อย่างไร ก็จะเห็นได้ว่าคิดอยู่เสมอ แต่
คิดชั่วบ้าง คิดดีบ้าง. ผู้มีจิตที่คิดเช่นนั้น
ก็เพราะไม่รู้ตามเป็นจริง ตนไม่อยากจะ
โลภ ก็โลภ ตนไม่อยากจะโกรธ ก็โกรธ
ตนไม่อยากจะหลง ก็หลง เช่นนี้เพราะ
อะไร. ความอยากเป็นไปอย่าง ๑ การ
ประพฤติหรือการกระทำเป็นไปอย่าง ๑
การทำนั้นแหละ เป็นเหตุที่จะให้ผล. เพื่อ
จะรักษาจิตของตน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงทรงแสดงว่า สจิตฺตมนุรกฺขถ พึงตาม
รักษาจิตของตน ดังนี้. แสดงตามนัย
แห่งสติปัฏฐาน, พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้
กำหนดที่ดูจิตที่ประกอบด้วยอาการ คือ
จิตที่ประกอบด้วยราคะ หรือโทสะ หรือ
โมหะ ก็ให้รู้ จิตสงบ จากราคะ จาก
โทสะ หรือจากโมหะ ก็ให้รู้. จิตประกอบ
ด้วยราคะก็เพราะมีกามฉันท์ ความพอใจ
ในกามเข้ามาครอบงำอันเป็นนิวรณ์, จิต
ประกอบด้วยโทสะ ก็เพราะมีโกรธเกิดขึ้น
หรือโทสะเป็นเหตุให้เกิดพยาบาทต่อเนื่อง
กัน. วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาท ถีนมิทธะ
อุทธัจจกุกุจจะ เหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้นที่จิต
ก็ทำให้จิตประกอบด้วยโมหะ ความหลง,
ความหลงนั้นแหละ แสดงออกไปให้เป็น
ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจะ วิจิกิจฉา.
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแนะนำ
ให้พิจารณาดูจิตว่า ประกอบด้วยราคะ
โทสะ โมหะ หรือสงบจากราคะ โทสะ
โมหะ ก็ให้รู้, เมื่อรู้ตามเป็นจริงอย่างไร
แล้ว ก็ดูไป, เมื่อจิตประกอบด้วยราคะ
โทสะ โมหะ ตนดูไป ดูให้เห็นตามเป็น
จริง, ราคะ โทสะ โมหะ เป็นส่วนชั่ว
ทนปัญญาที่พิจารณาดูไม่ได้ ก็สงบไป,
กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจ-
กุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นส่วนชั่ว เป็น
นิวรณ์, เมื่อปัญญาได้พิจารณาเห็นตาม
เป็นจริง นิวรณ์เหล่านั้นก็ทนปัญญาที่
พิจารณาอยู่ไม่ได้ ก็สงบไป, เมื่อโลภะ
โทสะ โมหะ กามฉันท์ พยาบาท ถีน-
มิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา สงบ
ไปจากจิต จิตก็ถึงความผ่องใส, ดูจิตที่
สงบผ่องใสเช่นนั้นไป ความสงบก็จะเกิด
มีขึ้นโดยลำดับ, เมื่อสงบยิ่งขึ้นโดยลำดับ
แล้ว ความอิ่มเอิบใจซึ่งเรียกว่าปีติ ก็
ย่อมเกิดขึ้น, เมื่อปีติเกิดขึ้น ปัสสัทธิก็
เกิดขึ้น ผสมรวมกัน, สมาธิ ความตั้งใจ
มั่น ก็บังเกิด, อุเบกขา ความวางใจเป็น
กลาง ก็เกิดขึ้น, เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ชื่อ
ว่ารักษาจิตของตน. ( วชิร. ๓๖๐-๓๖๓ ).
การรักษาจิต ทางพระพุทธศาสนา
ท่านแสดงไว้โดยนัยหนึ่ง คือ มุ่งอยู่ใน
อารมณ์ที่ดี ที่ควรเป็นที่ตั้งของจิตให้แน่ว
แน่มั่นคง ไม่ฟุ้งซ่านไปกับอารมณ์ต่าง ๆ
นี้เป็นส่วนสมถะ; ให้พิจารณาอารมณ์ที่
เป็นไปอยู่อย่างไร คืออารมณ์ทั้งหลาย
แม้จักมีมากเท่าไรก็คงเป็นไปตามลักษณะ
ของสังขารหรือสังขตธรรมคือเกิดขึ้นแล้ว
ก็แปรปรวนไป และดับไปเป็นธรรมดา,
เมื่อพิจารณาเห็นตามเป็นจริงแล้ว จิตก็
ปล่อยวางไม่ยึดถือ ตลอดถึงการพิจารณา
กายอันเป็นอารมณ์อย่างหนึ่ง เป็นส่วน
ภายใน อันเกิดขึ้นแล้ว ก็แปรไป แล้ว
ก็ดับไป แล้วก็เกิดขึ้นใหม่ แปรไปดับไป
เช่นนี้เหมือนกัน, เมื่อพิจารณาเห็นตาม
ความเป็นจริงอย่างนั้น ก็ปล่อยวางไม่ยึดถือ
ไม่เกี่ยวข้องไม่ติดอยู่ นี้เป็นส่วนวิปัสสนา.
เมื่อรักษาจิตด้วยดีเช่นนี้ ก็จะถอนตนคือ
ภพความเป็นอยู่ของตน ให้พ้นจากหล่ม
ที่ติดที่ขึ้นได้โดยยาก ตามภูมิตามชั้น.
การที่จะถอนตนขึ้นจากหล่ม ที่ข้าม
ขึ้นได้โดยยากนั้น ก็ต้องรู้จักตนว่าเป็น
ไปอยู่อย่างไรเสียก่อน, ถ้าไม่รู้ว่าตนเอง
เป็นไปอย่างไรเสียก่อน ก็ไม่สามารถที่
จะถอนตนขึ้นจากหล่มคือความชั่วตามภูมิ
ตามชั้นนั้น ๆ ได้. แสดงโดยกระแสทาง
พระพุทธศาสนา ความเป็นไปของบุคคล
สามัญ ที่ติดอยู่ข้องอยู่เกี่ยวอยู่ในกายนี้
เพราะมีกิเลสซึ่งยื่นออกมายึดถือ, กิเลส
อันเป็นต้นเดิมเป็นประดุจพระยามาร,
กิเลสที่ยื่นออกมาเป็นประดุจแขนพระยา-
มาร, เมื่อบุคคลไม่รู้จักมาร อันเป็นตัว
กิเลสต้นเดิม ไม่รู้จักกิเลสที่ยื่นออกไปยึด
ถืออารมณ์ อันเป็นดุจแขนของมาร ไม่รู้จัก
อารมณ์อันเป็นประดุจศัสตราวุธของมาร,
มารก็ผจญ คืออารมณ์ที่กิเลสยึดถือนั้น ๆ
ก็เข้ามาประหัตประหารทิ่มแทงจิตของ
บุคคลให้เป็นไปต่าง ๆ: เป็นไปในทางที่ไม่
ชอบใจอันได้ชื่อว่าโกรธบ้าง, เป็นไปใน
ความยึดถือ ซึ่งเรียกว่ามานะบ้าง, เป็นไป
ในความพัวพัน ด้วยอำนาจความพอใจ
เรียกว่าสัญโญชน์บ้าง, เพราะฉะนั้น พระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อทรงแสดงคำสั่งสอน
จึงทรงแสดงแนะนำให้ละกิเลสนั้น ๆ เสีย
แต่จะละได้ก็ต้องรู้จักพิจารณาดูกิเลสที่เป็น
ไปอยู่ในภายใน ตั้งแต่ส่วนหยาบขึ้นไปถึง
ส่วนปานกลางและส่วนละเอียด ให้เห็น
ตามเป็นจริง, เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริง
แล้วกิเลสก็ย่อมสงบ. เพราะกิเลสเหมือน
ดังโจรผู้ร้ายที่แอบเข้ามาจะลักทรัพย์, เมื่อ
เจ้าของไม่เห็น โจรนั้นก็ลักทรัพย์ไปได้,
แต่ถ้าเจ้าของคอยระวังดูอยู่ โจรก็ไม่กล้า
จะลักทรัพย์ จะต้องหนีไป ข้อนี้ฉันใด;
กิเลสที่เกิดขึ้นได้ก็เพราะไม่รู้ ยังไม่รู้เพียง
ไร, กิเลสก็ยังเกิดขึ้นได้มาเพียงนั้น.
ถ้าบุคคลรู้จักพิจารณาให้รู้จักหน้าตาของ
กิเลส กิเลสก็สงบไป. เมื่อละกิเลสเสีย
ได้ ทุกข์ก็ย่อมไม่ตกถึง ดังพระพุทธ-
ภาษิตที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นเบื้องต้นว่า " โกธํ
ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ " บุคคลพึงละ
ความโกรธ พึงละมานะ. " สฺโชนํ
สพฺพมติกฺกเมยฺย " พึงก้าวล่วงสัญโญชน์
ทั้งปวง. นี้เป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้น, ต่อไป
ทรงแสดงถึงผลว่า " ตนฺนามรูปสฺมึ
อสชฺชมานํ อกิฺจนํ มานุปตนฺติ
ทุกฺขา " ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกถึงบุคคล
นั้น ถ้าไม่ข้องอยู่ในนามรูป ผู้ไม่มี
กังวล ดังนี้. ( วชิร. ๒๘๕-๒๘๖ ).
อนึ่ง การรักษาจิต ก็คือการพิจารณา
ดูจิตให้รู้ว่ามีอาการเป็นอย่างไร เหมือน
คนรักษาของ ก็ต้องดูอาการของของนั้น
ให้รู้ว่าเป็นอย่างไรก่อน, เมื่อรู้อาการของ
จิตที่เป็นไป หรือดำเนินไปอย่างไรแล้ว
ต้องรักษา คือควบคุมไว้ ไม่ยอมปล่อยให้
เที่ยวเพ่นพ่านไปในทางที่ชั่วร้าย เหมือน
คนรักษาเด็ก ก็ต้องควบคุมเด็กไว้ให้อยู่
ในที่ควบคุม ไม่ปล่อยให้เที่ยวไปในที่มี
อันตราย.
การรักษาจิตกับผลที่เกิดขึ้นเพราะการ
รักษาจิตนั้น ย่อมต่อเนื่องกัน เพราะ
เป็นเหตุกับผล, เหมือนคนกินอาหาร ถ้า
กินอาการถูก ก็ให้คุณแก่ร่างกาย, ถ้า
กินอาหารผิด ก็ให้โทษแก่ร่างกาย, การ
รักษาจิตก็เพื่อผลคือถอนตนจากความชั่ว
ร้ายเสียหาย. ( วชิร. ๙๗ ).
แสดงตามนัยแห่งสติปัฏฐาน พระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าให้กำหนดดูจิตที่ประกอบ
ด้วยอาการ คือ จิตประกอบด้วยราคะ
หรือโทสะ หรือโมหะ ก็ให้รู้, จิตสงบ
จากราคะ จากโทสะ หรือจากโมหะ ก็ให้
รู้, จิตประกอบด้วยราคะ ก็เพราะมี
กามฉันท์ ความพอใจในการเข้ามาครอบ
งำอันเป็นนิวรณ์ จิตก็ประกอบด้วยราคะ,
จิตประกอบด้วยโทสะ ก็เพราะมีพยาบาท
เกิดขึ้นหรือโทสะเป็นเหตุให้เกิดพยาบาท
ต่อเนื่องกัน, วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ เหล่านี้ เมื่อ
เกิดขึ้นที่จิต ก็ทำให้จิตประกอบด้วยโมหะ
ความหลง, ความหลงนั้นแหละ แสดง
ออกไปให้เป็นถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
วิจิกิจฉา. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรง
แนะนำให้พิจารณาดูจิตว่า ประกอบด้วย
ราคะ โทสะ โมหะ โมหะ หรือสงบจากราคะ,
โทสะ โมหะ, มีกามฉันท์ พยาบาทเข้ามา
ประกอบกับจิตหรือไม่ ก็รู้, เมื่อรู้ตาม
เป็นจริงอย่างไรแล้ว ก็ดูไป, เมื่อจิตประ-
กอบด้วยราคะ โทสะ โมหะ ตนดูไป ดู
ให้เห็นตามเป็นจริง, ราคะ โทสะ โมหะ
เป็นส่วนชั่ว ทนปัญญาที่พิจารณาดูไม่ได้
ก็สงบไป. กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ
อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นส่วนชั่ว
เป็นนิวรณ์ เมื่อปัญญาได้พิจารณาเห็น
ตามเป็นจริง, นิวรณ์เหล่านั้น ก็ทน
ปัญญาที่จะพิจารณาอยู่ไม่ได้ ก็สงบไป.
เมื่อโลภะ โทสะ โมหะ กามฉันท์ พยา-
บาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
สงบไปจากจิต จิตก็ถึงความสงบผ่องใส,
ดูจิตที่สงบผ่องใสเช่นนั้นไป ความสงบก็
จะเกิดมีขึ้นโดยลำดับ, เมื่อสงบยิ่งขึ้นโดย
ลำดับแล้ว ความเอิบอิ่มใจซึ่งเรียกว่าปีติ
ก็ย่อมเกิดขึ้น, เมื่อปีติเกิดขึ้น ปัสสัทธิก็
เกิดขึ้น ผสมรวมกัน สมาธิ ความตั้งใจ
มั่น ก็บังเกิด, อุเบกขา ความวางใจเป็น
กลางก็เกิด. เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ชื่อว่ารักษา
จิตของตน เมื่อรักษาจิตของตนอยู่ ก็ชื่อ
ว่าพยุงตนให้พ้นจากพื้นเพ หรือภูมิภพ
ที่ชั่วขึ้นมาโดยลำดับ จนถึงสงบจากภูมิ
สงบจากภพ เพราะปัญญาที่พิจารณา, เมื่อ
เป็นเช่นนี้ ตนเองก็เป็นคนดี เป็นผู้
หลุดพ้นจากหล่ม, เมื่อแผ่ความดีเช่นนั้น
ไปถึงผู้อื่น ๆ ก็เป็นสุข เช่นพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าทรงแผ่ความจริงของพระองค์
ไปถึงผู้อื่น ๆ ก็เป็นสุขไปด้วยดังนี้. ( วชิร.
๑๓๑-๑๓๒ ).
อนึ่ง บุคคลจะเป็นมนุษย์ได้โดย
สมบูรณ์จนเลื่อนชั้นให้สูงขึ้นไป เมื่อ
พิจารณาดูตนเองจะรู้ได้ด้วยตนเอง.
บุคคลจะปฏิบัติตนให้ดีได้ ก็เพราะ
การฝึกฝน อบรมจิต. เพราะฉะนั้น พระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงสอนให้อบรม
ฝึกหัดดัดจิต ข่มจิต มีพระพุทธภาษิต
แสดงถึงอานิสงส์การฝึกจิตไว้ว่า
ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน
ยถฺถกามนิปาติโน
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
แปลว่า การฝึกจิตที่ข่มได้ยาก เร็ว มัก
ตกไปในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามใคร่
เป็นการดี, จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้.
การฝึกจิตนั้น ก็ต้องพิจารณาดูอาการ
ของจิตให้รู้ว่าเป็นอย่างไรก่อน. เมื่อเห็น
ว่าจิตเกี่ยวเกาะในวัตถุกาม จนถึงมุ่งให้
ได้ถ่ายเดียว ไม่เลือกว่าผิดหรือชอบ ก็
พิจารณาเห็นว่าเป็นโทษทั้งแก่ตนทั้งแก่
คนอื่นแล้ว เจริญจาคเจตนาความคิด
ปล่อยวาง อย่างสูงจนไม่คิดพัวพัน, เมื่อ
เห็นว่าจิตมีอาการคิดมุ่งทำและพูดชั่ว ก็
พิจารณาให้เห็นว่าเป็นโทษทั้งแก่ตัวทั้งแก่
ผู้อื่นแล้ว ตั้งใจงดเว้นอย่างสูงจนไม่คิด
ล่วง, เมื่อเห็นว่าจิตมีอาการฟุ้งซ่าน ก็
พิจารณาให้เห็นว่าเป็นโทษแล้ว ตั้งจิต
ไว้ในอารมณ์ที่ดีอย่างเดียว จนแน่แน่ว
ตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน, ครั้นแล้วใช้จิตนั้น
พิจารณาสัจจธรรมให้เห็นตามเป็นจริง จน
ความรู้นั้นดับความดิ้นรน เพื่อจะให้ได้
เพื่อจะให้เป็น เพื่อจะให้เสีย แม้ครู่หนึ่ง
ก็เป็นการดี, เพราะมีสุขที่เกิดแต่ความ
สงบปรากฏเป็นสุขอย่างประณีตละเอียดที่
คนสามัญไม่ได้ประสบ. มีพระพุทธภาษิต
สั่งสอนภิกษุ ให้บำเพ็ญสมาธิ การตั้งใจ
มั่น และแสดงคุณไว้ว่า สมาธึ ภิกฺขเว
ภาเวถ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจง
บำเพ็ญสมาธิเถิด, สมาหิโต ยถาภูตํ
ปชานาติ ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตาม
เป็นจริง ดังนี้. และทรงแสดงว่า บัณฑิตผู้
ประกอบกิจด้วยปัญญา ย่อมสามารถฝึก
ตนได้. ( วชิร. ๑๒๐-๑๒๑ ).
การชำระจิตนั้น ถ้าแยกออกตามหลัก
พระพุทธศาสนา ท่านแสดงไว้ ๒ อย่าง
อย่างหนึ่งเรียกว่า สมถะ แปลว่าสงบ, คือ
เมื่อพิจารณาดูว่าการปล่อยจิตให้ฟุ้งออกไป
รับอารมณ์ต่าง ๆ ไปนึกถึงรูปบ้าง เสียง
บ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง โผฏฐัพพะบ้าง
เรื่องราวต่าง ๆ บ้างแล้ว จิตก็กระวนกระ
วายด้วยยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง หลงงมงาย
บ้าง, พิจารณาเห็นเช่นนั้นแล้ว มุ่งทำ
จิตให้สงบระงับ ด้วยนึกถึงอารมณ์อะไร
ที่ดีที่ชอบ เช่นนึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
แล้วก็นำเข้าบริกรรมนึกอยู่ในใจ หรือ
อ่านดูในหนังสือเรื่องตายเกิดตายสูญที่
แนะให้ปฏิบัติทางสมถะ อย่างใดอย่าง
หนึ่งก็ได้ ทำให้จิตแน่วแน่ มีอารมณ์คือ
ที่ยึดเหนี่ยวเป็นอันเดียว ไม่ฟุ้งออกไป
รับอารมณ์ต่าง ๆ, จิตก็ย่อมสงบอยู่ใน
อารมณ์เดียว เป็นทางสมถะ คือสงบ
ระงับจิต. ท่านแสดงว่าจิตที่ตั้งมั่นแน่วแน่
อยู่ในอารมณ์อันเดียว ย่อมผ่องใสรุ่งเรือง
สว่างเหมือนดังเปลวไฟที่ไม่ถูกลมพัด ก็
มีรัศมีสว่างรุ่งเรือง. รสของความสงบจิต
จะปรากฏได้ด้วยตัวเอง รู้ได้ด้วยตัวเอง
ยิ่งสงบประณีตเพียงไร, ความสุขที่เกิด
จากความสงบก็ปรากฏเพียงนั้น ที่คนอื่น
บอกกันไม่ได้ ได้แต่ตัวเองที่ทำแล้ว ก็
รู้ด้วยตัวเอง รู้เฉพาะตัว, หรือเรียก
ว่าสมาธิ การตั้งจิตมั่นก็ได้ อย่างหนึ่ง.
อีกอย่างหนึ่ง ชำระจิตทางปัญญา คือ
พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง, ผู้รู้ไม่ไป
เกี่ยวข้องไม่ไปยึดถือ คงเป็นผู้พิจารณา
ผู้รู้ เมื่อรู้จริงเห็นจริงขึ้น, รสของความรู้
ก็จะปรากฏขึ้นแก่ผู้พิจารณาผู้รู้, คนอื่น
บอกให้ไม่ได้เหมือนกัน, ใครพิจารณาเห็น
แค่ไหน ก็ปรากฏผลแค่นั้น, ว่าสั้น ๆ
พิจารณารูปคือร่างกายของเราให้เห็นว่า
เป็นของที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นด้วยชาติแล้ว
ก็แปรปรวนไปด้วยอำนาจชรา เจ็บไข้
ไปด้วยอำนาจพยาธิ และแตกสลายไป
ด้วยอำนาจมรณะ, พิจารณาให้เห็นตาม
เป็นจริง, จนผู้พิจารณาก็เป็นผู้พิจารณา,
รูปคือร่างกายก็เป็นรูป เป็นส่วนร่างกาย
ที่พิจารณาเห็น นี้อย่างหนึ่ง. เวทนา
กิริยาที่เสวยคือเสวยสุข เรียกว่า สุขเวทนา
เสวยทุกข์ เรียกว่า ทุกขเวทนา. เสวย
ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข เรียกว่า อทุกขม-
ุขเวทนา, พิจารณาเวทนาที่มีเราอยู่
เสมอ ในบัดนี้ก็มี บางคราวเสวยสุข ก็
เรียกว่าสุขเวทนา บางคราวเสวยทุกข์
ก็เรียกว่าทุกขเวทนา บางคราวเสวยไม่ใช่
ทุกข์ไม่ใช่สุข ก็เรียกว่าอทุกขมสุขเวทนา.
เวทนาที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับแล้วก็เกิดใหม่
แล้วก็ดับไป ตั้งแต่เล่าเรื่องมาจนบัดนี้
เกิดดับมาจนนับไม่ถ้วนแล้ว เป็นอยู่เช่น
นี้ตามเป็นจริง, แต่เพาะไม่พิจารณาก็
ไม่รู้ว่าเวทนาเกิดดับ ๆ มาจนนับไม่ถ้วน
แล้ว. สัญญา กิริยาที่จำหมาย คือจำหมาย
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และจำ
หมายธรรมคือเรื่องราว เราจำกันมาแล้ว
ก็ดับไป แล้วจำมาเล่าใหม่แล้วก็ดับไปนับ
ไม่ถ้วน, เราได้เห็นรูปก็จำรูป พอได้ยิน
เสียงทิ้งจำรูปแล้วมาจำเสียง พอได้กลิ่น
ทิ้งจำเสียงมาจำกลิ่น พอลิ้นลิ้มรส ทิ้ง
จำกลิ่นมาจำรส พอมาถูกโผฏฐัพพะคือ
สิ่งที่มาถูกต้องกาย ก็ทิ้งจำรสมาจำโผฏ-
ฐัพพะ พอไปนึกถึงเรื่องราวอะไรต่าง ๆ
ก็ทิ้งโผฏฐัพพะมาจำเรื่องราวเหล่านั้น
แล้วก็ดับไป แล้วก็เกิดใหม่ แล้วก็ดับ
ไป จนนับไม่ถ้วนว่าเท่าใดแล้ว. สังขาร
คือความนึกคิด : ความนึกคิดเป็นภายใน
เรื่องที่นึกคิดเป็นภายนอก ความนึกคิด
กับเรื่องผสมกันเข้าเป็นสังขาร, ถ้าเรื่อง
ที่มาผสมกับความนึกคิดเป็นชั่ว สังขาร
ก็เป็นบาป, ถ้าเรื่องที่มาผสมกับความนึก
คิดเป็นส่วนดี ก็เป็นบุญ, ถ้าเรื่องที่ผสม
กับความนึกคิดไม่ดีไม่ชั่ว ก็เป็นกลาง ๆ,
ความนึกคิดเรื่องเหล่านี้เกิดดับ ๆ มากี่มาก
น้อยจนนับไม่ถ้วนแล้ว, นึกดูเถอะ ตรวจ
ดูเราเอง เราเคยนึกคิดเรื่องมาเท่าไรแล้ว
และดับไปแล้วเท่าไร. วิญญาณ ความ
รู้สึก : ความรู้สึกทางตา ความรู้สึกทาง
หู ความรู้สึกทางจมูก ความรู้สึกทางลิ้น
ลิ้มรส ความรู้สึกทางกายถูกต้องโผฏ-
ฐัพพะ ความรู้สึกทางใจที่นึกคิดเรื่อง
เกิดมีขึ้นแล้วก็ดับไป แล้วก็เกิดใหม่ แล้ว
ก็ดับไป, ตรวจที่เราอาจจะเห็นได้, แต่
เมื่อไม่ดูไม่พิจารณาก็ไม่รู้. พระพุทธเจ้า
สอนให้รู้จักหน้าตาของ รูป เวทนา
สัญญา วิญญาณ ที่เรียกว่า ขันธ์ ๔, ให้รู้
ตามเป็นจริงว่าเป็นอาการของคนและสัตว์
มีประจำอยู่ เกิดแล้วก็ดับไป และเกิดขึ้น
ใหม่แล้วก็ดับไปอยู่เสมอ ไม่ให้หลง,
เพราะตามธรรมดาคนมักจะยึดหลงรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น
ตัวเป็นตน, เมื่อยึดว่าเป็นตัวเป็นตน เรา
ก็พลอยเป็นไปตาม รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ, เมื่อรูปแก่ก็ว่าตัวแก่
เมื่อรูปเจ็บก็ว่าตัวเจ็บ เมื่อรูปตายก็ว่าตัว
ตาย, เมื่อเวทนาเจ็บเป็นทุกขเวทนา
เข้าใจว่าเราเจ็บ, เมื่อเวทนาเป็นสุข เป็น
สุขเวทนา ก็ว่าเราสบาย, เมื่อเวทนาไม่ใช่
ทุกข์ไม่ใช่สุข ก็เข้าใจว่าเราไม่ใช่ทุกข์ไม่
ใช่สุข, เมื่อจำอะไร ก็เข้าใจว่าเราเป็น
ผู้จำ, ในสังขารและวิญญาณ ก็จงนึก
เทียบตามนัยนี้. แต่ความจริงรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ เขาเกิดขึ้นแล้ว
ก็ดับ แล้วก็เกิดใหม่ แล้วก็ดับอยู่เสมอ,
ส่วนเราเองแม้เมื่อยังยึดถืออยู่ว่าเป็นเรา
ก็เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่ตัวรูป ไม่
ใช่ตัวเวทนา ไม่ใช่ตัวสัญญา ไม่ใช่ตัว
สังขาร ไม่ใช่ตัววิญญาณ. ท่านสอนให้
พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริงเช่นนั้น เพื่อ
ไม่ยึดถือ ให้คงเป็นผู้พิจารณา คงเป็น
ผู้รู้, นี่เป็นทางปัญญา เรียกว่า วิปัสสนา
คือปัญญาที่พิจารณาเห็นแจ้ง, นี่ก็เป็น
เครื่องชำระจิต ทำจิตให้ผ่องใสปลอด
โปร่งจากความไม่รู้และยึดถืออย่างหนึ่ง.
เพราะฉะนั้น การชำระจิตจึงแยกเป็นสอง
คือชำระจิตที่ฟุ้งซ่านไปรับอารมณ์ต่าง ๆ
ทำให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เป็น
สมถะหรือสมาธิ อย่างหนึ่ง, ชำระด้วย
พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริงและไม่หลง
ไปยึดสิ่งที่รู้หรือที่เป็นอาการต่าง ๆ แต่
ให้เป็นผู้พิจารณา เป็นผู้รู้, เป็นทาง
วิปัสสนา อีกอย่างหนึ่ง. ( โอ. ๑/๕๑-๕๕ ).



• ภูมิแพ้ แก้ที่ต้นเหตุด้วย พลูพลัส

• "ศีลเป็นเกราะป้องกันชีวิต" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

• (บทกลอนธรรม..เเห่งรัก)

• พระอาจารย์ต้น ท่องธาตุกัมมัฏฐาน๔

• "รักษาศีล รักษาที่ใจ" (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

• ทำบุญทำทานเพื่อเป็นกุศลกับชีวิต

RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย