สัญญา กับ ปัญญา
ความเห็นตามสัญญากับความเห็นด้วยปัญญา
ต่างกันอยู่มากราวฟ้ากับดิน
ความเห็นด้วยสัญญาพาให้ผู้เห็นมีอารมณ์มาก
มักเสกสรรตัวว่ามีความรู้มาก ทั้งที่กำลังหลงมาก
จึงมีทิฏฐิมานะมาก ไม่ยอมลงให้ใครง่ายๆ...
ส่วนความเห็นด้วยปัญญาเป็นความเห็นซึ่งพร้อมที่จะถอดถอน ความสำคัญมั่นหมายต่างๆ อันเป็นตัวกิเลสทิฏฐิมานะน้อยใหญ่ออกไปโดยลำดับที่ปัญญาหยั่งถึง ถ้าปัญญาหยั่งลงโดยทั่วถึงจริงๆ กิเลสทั้งมวลก็พังทลายไปหมด
เจริญธรรม
โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
สัญญา ...ความจำได้หมายรู้
ปัญญา ...ความรู้ชัด ความเห็นชัด เป็นกุศลธรรมเจตสิก เป็นสังขารขันธ์
เมื่อพิจารณาสัญญาด้วยปัญญา จึงหยั่งรู้ลงสู่สัญญาด้วยความเห็นชอบ
มานะ ทิฏฐิ(มิจฉาทิฏฐิ) เป็นกิเลส ทำให้ปัญญามืดบอด
เมื่อพิจารณาสัญญาด้วย กิเลสเต็มจิต ย่อมเป็นความมีดมน เป็นความหลง หยั่งลงสู่สัญญาด้วยความเห็นผิด
สัญญา ไม่มีความตัดสินว่า สัญญาดี หรือไม่ดี ความเห็นความตัดสินต่อสัญญา อันเป็นสังขารขันธ์ นั่นล่ะ เป็นสิ่งที่พึงศึกษาให้ดี
ผัสสะ ...
เป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา
ความดับแห่งสัญญา...
ย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ
วิบาก/ผล แห่งสัญญา ..
คือ คำพูด เพราะคนรู้สึกอย่างไรก็พูดอย่างนั้น
สัญญาในรูปเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในรสเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในธรรมารมณ์เป็นอย่างหนึ่ง
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา....
ได้แก่มรรคมีองค์ ๘
สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น เพราะการศึกษา
สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป เพราะการศึกษา
สัญญาใด
เป็นสัญญาในกาม
เป็นสัญญาในพยาบาท
เป็นสัญญาในการเบียดเบียน
ความดำริเป็นอกุศลมีสัญญานี้เป็นสมุฏฐาน
ความดำริที่เป็นอกุศลนี้ .... ดับได้ด้วยปฐมฌาน
**************************
สัญญาใด
เป็นสัญญาในเนกขัมมะ
เป็นสัญญาในความไม่พยาบาท
เป็นสัญญาในอันไม่เบียดเบียน
ความดำริเป็นกุศลมีสัญญานี้เป็นสมุฏฐาน.
ความดำริที่เป็นกุศลนี้ .... ดับได้ด้วยทุติยฌาน
ปัญญา ...
บุคคลผู้ไม่รู้ชัดว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ตรัสว่าเป็นบุคคลมีปัญญาทราม
บุคคลผู้รู้ชัดว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ตรัสว่าเป็นบุคคลมีปัญญา
ประโยชน์ของปัญญา ....
มีความรู้ยิ่งเป็นประโยชน์
มีความกำหนดรู้เป็นประโยชน์
มีความละเป็นประโยชน์
ปัญญา และ วิญญาณ
ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
เพราะ....
ปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น
วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น
แต่มีกิจที่จะพึงทำต่างกัน
ปัญญา .... เป็นสิ่งที่ควรเจริญ
วิญญาณ .. เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้
เวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น
วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น
เจริญในธรรม เจ้าค่ะ
4,169