อยากทราบเทคนิคในการเดินจงกรมครับ

 kasem_a    

ท่านใดพอมีเทคนิคในการเดินจงกรม ช่วยอธิบายทีครับ

ว่าสติอยู่ที่ลมหายใจ หรือ อยู่ที่เท้าที่กำลังย่างก้าวครับ หรือ ผิดทั้งคู่

ช่วยแนะนำด้วยนะครับ จะนำไปปฏิบัติครับ







ท่านใดพอมีเทคนิคในการเดินจงกรม ช่วยอธิบายทีครับ

ว่าสติอยู่ที่ลมหายใจ หรือ อยู่ที่เท้าที่กำลังย่างก้าวครับ หรือ ผิดทั้งคู่

ช่วยแนะนำด้วยนะครับ จะนำไปปฏิบัติครับ


โดย : [DT0333] 3 เม.ย. 2551 09:53 น.



1.เดินจงกรมแบบทรงฌานเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร
ในอริยาบททั้ง 4 นั่ง นอน ยืน เดิน ให้เพียรยังจิตให้เป็นกุศล เป็นจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

.....ยืนเข้าสู่ทุติยฌานพอให้เกิดปีติสุขก่อนแล้วก้าวเดิน ไปกลับในที่จงกรม
ให้ละกามสัญญาทั้งหลาย สนใจแต่ปีติสุขในฌาน
ถ้าปีติสุขหายไปให้เจริญฌาน 2 ขึ้นมาใหม่แล้วก้าวเดินต่อไป


2.เดินจงกรมแบบทรงญาณเพื่อทิพยจักษุญาณและเพื่อสัมมาสติที่บริสุทธิ์
ในอริยาบททั้ง 4 นั่ง นอน ยืน เดิน ให้เพียรยังจิตให้เป็นกุศล เป็นจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายเหมือนข้อ 1.

ยืน...แล้วยังแสงสว่างให้ปรากฏในจิตในใจ อธิษฐานให้มีแสงสว่างปรากฏรอบตัวเองในขณะเดินไปและเดินกลับในที่จงกรม


เมื่อทรงฌานหรือทรงญาณ สติของผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายจึงจะเกิดร่วมเกิดพร้อมในกุศลจิตนั้น และเป็นสติที่บริสุทธิ์ได้ในขณะแห่งจตุตถฌานเท่านั้นครับ


เจริญพรครับ



อยู่ที่ลมหายใจ

กายเป็นเรื่องของกาย จิตเท่านั้นที่ต้องกำหนด

ถามสั้น - ก็ตอบสั้น

อยากรู่อีกไหมว่า เมื่อจิตอยู่ที่ลมหายใจ แล้วเราต้องทำอย่างไร

รู้แล้วก็แล้วไป ไม่รู้ก็ถามมา


ในขณะที่ก้าวขา สติอยู่ที่ท้าวกำลังย่าง จิตก็รับรู้ กำหนดทุกอิริยาบถ


ขอขอบพระคุณ พระอาจารย์อภิปัญโย, ท่านทิพย์อักษร และท่านKongrot ด้วยครับ

ขณะที่ผมกำหนดอยู่ที่ลมหายใจ สติผมก็จะระลึกรู้อยู่ที่กองลม ผมก็จะไม่เห็นก้าวย่างของเท้า
แต่ถ้าผมระลึกรู้สติอยู่ที่การก้าวย่างของเท้า ผมก็จะไม่เห็นลมหายใจ

ขณะเดินจงกรม เมื่อสติเผลอ ก็รู้เท่าทันความเผลอ แล้วสติสมควรกลับมาเริ่มที่ลมหายใจที่ปลายจมูก รึสติควรกลับมาเริ่มที่การก้าวย่างครับ

รบกวนท่านผู้รู้อธิบายต่อด้วยครับ



ขณะที่ผมกำหนดอยู่ที่ลมหายใจ สติผมก็จะระลึกรู้อยู่ที่กองลม ผมก็จะไม่เห็นก้าวย่างของเท้า
แต่ถ้าผมระลึกรู้สติอยู่ที่การก้าวย่างของเท้า ผมก็จะไม่เห็นลมหายใจ

ขณะเดินจงกรม เมื่อสติเผลอ ก็รู้เท่าทันความเผลอ แล้วสติสมควรกลับมาเริ่มที่ลมหายใจที่ปลายจมูก รึสติควรกลับมาเริ่มที่การก้าวย่างครับ

รบกวนท่านผู้รู้อธิบายต่อด้วยครับ

kasem_a DT0333 [4 เม.ย. 2551 07:48 น.] ความคิดเห็นที่ 4


ลมหายใจและการย่างก้าวของเท้าจัดเป็นรูป
ความที่จิตพัวพันอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมมผัส และธัมมารมณ์
ความที่จิตพัวพันอยู่ในรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
สัญญาเหล่านี้เรียกว่า กามสัญญา เป็นโลกียะธรรมอันหยาบ

จิตอันเกิดจากกามสัญญานั้นคุณภาพจิตเป็น อกุศลจิต หรือ กามาวจรกุศลนั่เอง
จิตมนุษย์อย่างนี้เป็นจิตด้อยคุณภาพ เป็นจิตที่ไม่ใหญ่ เป็นจิตที่มีจิตอื่นยิ่งกว่า เป็นจิตที่ไม่หลุดพ้น ไม่หลุดพ้นด้วยองค์ฌานและองค์ธรรม การตามพัวพันในกายและลมหายใจจัดเป็นจิตที่ฟุ้งซ่านเป็นโมหะ จิตที่ได้จึงเป็นอกุศลจิตที่มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมมผัส และธัมมารมณ์ เป็นอารมณ์ หรือมีรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์เป็นอารมณ์ จิตที่ได้เป็นอกุศลมากกว่ากามาวจรกุศล เป็นการปฏิบัติที่ผิดวิธีครับ ไม่อาจเกิดมัคค ผล นิพพานได้ครับ เป็นการปฏิบัติที่สูญเปล่าครับ


การปฏิบัติธรรมต้องยังจิตให้ตั้งอยู่ในโลกุตตระกุศลจิต คือมัคค 4 ผล 4 เป็นจิตที่มีคุณภาพ ท่านต้องละกามสัญญานั้นเสีย ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา และนานัตตสัญญา
1.เข้าสู่อนิจจสัญญา เพื่อบรรลุอนิมิตตสมาธิที่เป็นโลกุตตระฌาน
2.เข้าสู่ทุกขังสัญญา เพื่อบรรลุอัปปณิหิตตสมาธิที่เป็นโลกุตตระฌาน
3.เข้าสู่อนัตตาสัญญา เพื่อบรรลุสุญญตสมาธิที่เป็นโลกุตตระฌาน


สรุปคือ
ท่านต้องละกามสัญญานั้นเสีย ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา และนานัตตสัญญา
แล้วเจริญฌานเป็นโลกุตตระขณะเดินจงกรม.....ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                       โลกุตตรกุศลจิต
                       มรรคจิตดวงที่ ๑
     [๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
     โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น ( เพื่อละสักกายะทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลพตปรามาส )สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน เป็น ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
     สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล


     ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
     โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิดสุญญตะ ฯลฯ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ ชนิดสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

     สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
                       สุญญตมูลกปฏิปทา จบ.




ที่กล่าวว่า....
การตามพัวพันในกายและลมหายใจจัดเป็นจิตที่ฟุ้งซ่านเป็นโมหะ จิตที่ได้จึงเป็นอกุศลจิตที่มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมมผัส และธัมมารมณ์ เป็นอารมณ์ หรือมีรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์เป็นอารมณ์ จิตที่ได้เป็นอกุศลมากกว่ากามาวจรกุศล เป็นการปฏิบัติที่ผิดวิธีครับ ไม่อาจเกิดมัคค ผล นิพพานได้ครับ เป็นการปฏิบัติที่สูญเปล่าครับ....ก่อให้เกิดสักกายทิฏฐิตลอดไปไม่รู้จักจบจักสิ้น....

เพราะเหตุดังนี้ครับ


[๕๐๗] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สักกายทิฏฐิมีได้อย่างไร?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมตามเห็นเวทนา ... ย่อมตามเห็นสัญญา ... ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงมีได้.

ย่อมตามเห็นรูป .... สักกายทิฏฐิจึงมีได้...
ย่อมตามเห็นรูป .... สักกายทิฏฐิจึงมีได้...
ย่อมตามเห็นรูป .... สักกายทิฏฐิจึงมีได้...


วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อย่างไรสักกายทิฏฐิจึงจะไม่มีฯ
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ไม่ตามเห็นรูปในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นเวทนา ... ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา ... ย่อมไม่ตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความ
เป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงจะไม่มี..

ย่อมไม่ตามเห็นรูป... สักกายทิฏฐิจึงจะไม่มี..
ย่อมไม่ตามเห็นรูป... สักกายทิฏฐิจึงจะไม่มี..
ย่อมไม่ตามเห็นรูป... สักกายทิฏฐิจึงจะไม่มี..



      วิสาขอุบาสกสรรเสริญธรรมทินนาภิกษุณี

     [๕๑๓] ลำดับนั้น วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณีแล้ว ลุกจากอาสนะ อภิวาทธรรมทินนาภิกษุณี ทำประทักษิณแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบ ทูลเรื่องที่ตนสนทนาธรรมกถากับธรรมทินนาภิกษุณีให้ทรงทราบทุกประการ.
เมื่อวิสาขาอุบาสกกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ดูกรวิสาขะ ธรรม
ทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หาก ท่านพึงสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา แม้เราก็พึงพยากรณ์เนื้อความนั้น เหมือนที่ธรรมทินนาภิกษุณี พยากรณ์แล้ว เนื้อความแห่งพยากรณ์นั้นเป็นดังนั้นนั่นแล ท่านพึงจำทรงไว้อย่างนั้นเถิด.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพจน์นี้แล้ว วิสาขอุบาสก ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนั้นแล.

จบ จูฬเวทัทลสูตร ที่ ๔



อภิปัญโญ ภิกขุ


ขอขอบพระคุณท่านพระอาจารย์ อภิปัญโญ ครับ

สรุปคือ
ท่านต้องละกามสัญญานั้นเสีย ละรูปสัญญา ละปฏิฆะสัญญา และนานัตตสัญญา
แล้วเจริญฌานเป็นโลกุตตระขณะเดินจงกรม.....ดังตัวอย่างต่อไปนี้

แต่ผมว่ามันยากจังเลยครับ เพราะผมไม่มีญาณสมาบัติ ไม่เข้าใจจิตที่เป็นญาณโลกุตตระ
ผมนั่งสมาธิให้ได้ญาณสมาบัตก่อนดีกว่า (ยังไม่รู้เลยครับว่าจะต้องใช้เวลาอีกกี่กัป)


การเดินจงกรมจะต้องประกอบไปด้วยองค์3 คือ
1. อาตาปี มีความเพียรเผากิเลสให้ร้อน คอยจ้อง
2. คอยจด มีสติ
3.คอยจับ ปัฏชาโน รู้อยู่ว่าทำอะไร

เมื่อสติเผลอ เมื่อรู้แล้วว่าเผลอให้กลับมาจับอารมณ์ปัจจุบันขณะที่เกิดขึ้น รวมทุกอิริยาบท กาย เวทนา จิต ธรรม ยืน เดิน นั่ง นอน แม้กระทั่งจะถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ



อิ...อิ...(หัวเราะครับ)
เมื่อถามต่อก็จะตอบต่อ

ที่ผมหัวเราะ..ผมหัวเราะเยาะตัวเองหรอกนะครับ รู้สึกตัวว่าตัวเองโง่มากๆ

อ่านข้อเขียนของหลายๆท่านเกี่ยวกับปริยัติแล้ว ผมก็งงเป็นไก่ตาแตกจนตาบอดไปเลย
ยอมรับว่าตัวเองโง่จริงๆ อ่านแล้วไม่เข้าใจ ผมคงยิ่งกว่าคุณ kasem เพราะผมคงต้องใช้เวลาเป็นอสงไขยโน่นแหละ จึงจะเข้าใจ

ที่ผมปฏิบัติอยู่ มีดังต่อไปนี้
การปฏิบัติธรรมนั้นไม่หนีจากสี่อิริยาบท ที่ไม่หนีจากสี่อิริยาบาท เพราะคนเราก็มีอิริยาบทที่จะปฏิบัติเพียงเท่านี้ คือ นั่ง ยืน เดืน นอน ถ้าจะวิ่งและคลาน หรือยืนยกขา ยกแขน ยกมือ ก็คงจะมากกว่าสีอิริยาบท ซึ่งไม่ใช่ธรรมชาติของมนุษย์ที่พึงกระทำ

และการปฏิบัติจริงๆ ก็เพียงสามอิริยาบทเท่านั้น คือ นั่ง เดิน และยืน การนอนนั้นเอาไว้พักผ่อนไปกับพุทโธเพื่อให้หลับในสมาธิของการนอนเท่านั้น

ในทุกอิริยาบท เราพิจารณาอะไร เราก็พิจารณาอันนั้นต่อไปให้ต่อเนื่อง เพียงเป็นการเปลี่ยนอิริยาบทของร่างกายเท่านั้น เพื่อให้ร่างกายได้สับเปลี่ยนอากัปกิริยาเท่านั้นเอง เช่น..ผมกำลังพิจารณาเส้นผมอยู่ในท่านั่ง เมื่อผมลุกขึ้นยืน หรือลุกขึ้นเข้าทางจงกรม ผมก็พิจารณาเส้นผมอยู่เหมือนเดิม เพียงผมเปลี่ยนอากัปกิริยาอาการของร่างกายเท่านั้นเอง
การปฏิบัติของผมไม่มีภาษาบาลี มีแต่พุทโธตัวเดียวของการเริ่มเท่านั้น ผมทำของผมอย่างนี้แหละ ใครจะทำอย่างไรก็ อัตตาหิ อัตตะโนนาโถ (แปลเป็นภาษาตลาดว่า.."ตัวใคร ตัวมัน" )

สมาธิอย่างหนึ่งนะ นี่เป็นการปฏิบัติในการพิจารณากรรมฐานห้า(เรียกโก้ๆว่าวิปัสสนา)

สงสัยอะไร ถามอีกได้ จะตอบให้ตรงจุดเลยละครับ




kasem_a DT0333 [4 เม.ย. 2551 14:01 น.] ความคิดเห็นที่ 6


พระพุทธศาสนาไม่มีของง่ายเจ้าค่ะ

ถ้าง่ายไม่ใช่พระพุทธศาสนาเจ้าค่ะ



เจริญในธรรมเจ้าค่ะ.



พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า เวลาเดืนก็มีสติรู้ว่าเดิน เวลายืนก็มีสติรู้ว่ายืน เวลานั่งก็มีสติรู้ว้านั่ง เวลานอนก็มีสติรู้ว่านอน เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติจึงต้องกำหนดรู้เหตุปัจจัยของรูปนาม ในการยืน เดิน นั่ง นอน นั้น ต่างจากสัตว์ทั้งหลายคือ ๑ใครเดิน ๒. การเดินของใคร ๓. เดินเพราะอะไร เมื่อจิตคิดจะไปยืน เดิน นั่ง นอน มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายของตน อริยสัจ ๔ ก็อยู่ในกายของเรานี้แหละ




คุณน้ำเค็ม

คุณหาโอกาสเข้าทางจงกรมบ้างนะ แล้วคุณจะรู้เองนั่นแหละ
ฉันเคยพบกับคำว่า"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต"บนทางจงกรมเจ้าค่ะ
ไม่ใช่เห็นในหนังสือนะเจ้าคะ น่าสงสารคนฉลาดจังงงง

กุหลาบไร้หนาม - 124.121.18.36 [5 เม.ย. 2551 23:49 น.] ความคิดเห็นที่ 6



     น้ำเค็มนั้น      เดินจงกรม      อยู่เป็นนิจ
มีดวงจิต      ทรงฌานไว้      ไม่เหินห่าง
โลกุตตระ      กุศลตั้ง      ยังเส้นทาง
ทุกก้าวย่าง      เกิดญาณ      บนฌานใจ

     ปฏิบัติ      ตามหนังสือ      คือทางตรง
พระพุทธองค์      ทรงตรัส      บอกทางไว้
อันมัคคสี่      ผลสี่      อยู่ที่ใจ
ประคองให้      จิตหลุดพ้น      บนบาทฌาน

     รักษาฌาน      เป็นบาทตั้ง      ยังญาณเกิด
จิตแพรวเพริด      สุกสว่าง      สร้างรากฐาน
ญาณและฌาน      รวมเป็นหนึ่ง      ในดวงมาลย์
นี่คือการ      เดินจงกรม      น้ำเค็มมี

     ปฏิบัติ      ปริยัติ      ต้องตรงกัน
มิฉะนั้น      เรียกผิดทาง      ค่ะคุณพี่
ประมาทธรรม      พระสัมมา      ผู้มุนี
ย่อมมิมี      ดวงตาเห็น      เป็นองค์ธรรม

     ณ สำนัก      ของน้ำเค็ม      เข้มปฏิบัติ
ปริยัติ      ปฏิสัมภิทา      มาทางสัมม์
กสิณแปด      สมาบัติแปด      เป็นฐานนำ
อุปถัมภ์      แด่มัคคสี่      ที่เป็นฌาน

     แปดชั่วโมง      ต่อวัน      นั้นปฏิบัติ
ปริยัติ      อีกแปด      สร้างแก่นสาร
ตบะมั่น      ตามถ้อยคำ      พระอาจารย์
สุขสำราญ      จิตสดใส      ในป่าดง

     ณ สำนัก      ของน้ำเค็ม      เข้มตบะ
เป็นผู้ละ      เหย้าเรือน      เคลื่อนความหลง
มาสู่ป่า      อาศรมน้อย      ดอยไพรพง
สิบเอ็ดองค์      สมันน้อย      เป็นมุนี

     ณ สำนัก      ของน้ำเค็ม      เข้มโลกุตตระ
ฌานตบะ      นั้นบำเพ็ญ      เป็นวสี
โลกุตตระฌาน      เพื่อละออก      จากโลกีย์
จงกรมนี้      มีแต่ฌาน      มัคคผลธรรม


ขอขอบพระคุณที่กรุณาสงสาร..กุหลาบมีหนาม..อย่างน้ำเค็มเจ้าค่ะ


เจริญในธรรมเจ้าค่ะ

น้ำเค็ม DT02176 [6 เม.ย. 2551 18:29 น.] คำตอบที่ 8





ขออนุญาต พ่วงคำถาม...

ทวาร ๖ มีพักผ่อนมั้ย

แวะผ่านมา บ้านล่าง หน้าต่างเปิด
ขอละเมิด มองเข้ามา อย่าถือสา
เห็น( ท่าน )น้ำเค็ม เขียนกลอนเอ่ย เผยวาจา
ถึงชายคา สำนัก ที่พักพิง

แปดชั่วโมง ต่อวัน นั้นปฏิบัติ
เป็นกิจวัตร ณ ที่นี้ ดีแท้ยิ่ง
ใช้หนังสือ แทนบันได ไว้อ้างอิง
ฝึกจิตนิ่ง เพื่อให้ถึง ซึ่งมรรคา

ไม่อ้อมค้อม ด้วยสงสัย จึงใคร่ถาม
ช่วงสองยาม หลับพลัน ฝันไปว่า
ชิมอาหาร กลิ่นรสรสรื่น ชื่นชีวา
เสียงนกกา เมื่อฝันต่อ ก็ได้ยิน

เห็นคนงาม ฉันตามไป ในที่แจ้ง
เลือดสูบแรง ด้วยความใคร่ ใจถวิล
เข้ากอดรัด ล่วงละเมิด เกิดราคิน
จิตโบยบิน หลงโหยคิด ติดใจพลัน

จึงสงสัย ว่าทำไม ในคราหลับ
จิตยังรับ ทุกอย่างได้ ในความฝัน
ทวารหก ใยจึงตื่น ทั้งคืนวัน
ช่วยตอบฉัน ให้หายงง สงสัยที...เฟื่องฟ้า


สวัสดีกัลยาณมิตรทุกท่าน สวัสดีท่านน้ำเค็ม แม่หิ่งห้อยหนีไปไหนไม่รู้ จึงขออนุญาตมาถามธรรมบ้านล่างบ้าง...


การเดินจงกรม นั่งสมาธิ แท้แล้วก็ต้องการสติ เพียงระลึกรู้ตัว ดูกาย ดูใจ ดูข้างในคิด ข้างนอกกำลังทำ แค่นั้นเอง ไม่ต้องคิดมาก ยึดระเบียบวิธีการมาก จิตจะไม่เป็นธรรมชาติ สัญญาจะทำงานสุดโต่ง ซึ่งแท้จริงแล้ว การเจริญสติ ต้องไม่ผูกพัน รึงรัด ด้วยขันธ์ 5 เพราะถ้ายังติดในขันธ์อยู่ ก็จะไม่สามารถละสักกายทิฏฐิได้ ดูกาย ดูใจ คือเทคนิคที่ลุดสั้นที่สุด เป็นกุญแจดอกแรกที่จะเปิดประตูสู่ มหาสติ ที่มาของมหาปัญญา

หากผิดพลาดประการใด ผู้รู้โปรดชี้แนะ
ผู้ปฏิบัติใหม่



ขณะที่ผมกำหนดอยู่ที่ลมหายใจ สติผมก็จะระลึกรู้อยู่ที่กองลม ผมก็จะไม่เห็นก้าวย่างของเท้า แต่ถ้าผมระลึกรู้สติอยู่ที่การก้าวย่างของเท้า ผมก็จะไม่เห็นลมหายใจ
ขณะเดินจงกรม เมื่อสติเผลอ ก็รู้เท่าทันความเผลอ แล้วสติสมควรกลับมาเริ่มที่ลมหายใจที่ปลายจมูก รึสติควรกลับมาเริ่มที่การก้าวย่างครับ รบกวนท่านผู้รู้อธิบายต่อด้วยครับ

สงสัยรู้ว่าสงสัย สับสนรู้ว่าสับสน คิดที่ไหนฐานจิตอยู่ที่นั่น มองกายว่าเราควบคุมได้หรือไม่ มองใจว่าเราควบคุมได้หรือไม่ แล้วจะเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์

เราตอบจากการดูของเราไม่ได้อิงคัมภีร์ หากผิดอรรถ ผิดธรรม โปรดชี้แนะ


กราบนมัสการ อนุโมทนาท่านอภิปัญโญ ภิกขุ
และ....

อนุโมทนาน้ำเค็ม เข้มธรรมรส
ธรรมบท เบิกบาน ผลาญตัณหา
นำสัทธรรม ฉ่ำชื่น ฟื้นชีวา
ไม่สรรหา สัทธรรมปฏิรูป แค่ลูบคลำ

ฌานมา ปัญญาเกิด ไม่เพียงแค่คิด
ญาณสถิตย์ ไม่ก่อเวร ไม่หวลถลำ
"สักแต่ว่า" ผุดดวงจิต วิมุติธรรม
สัจจาค้ำ ย้ำเห็นกรรม หยุดย่ำวัฏฏา

(หาก)ตามอริยบท จิตปรากฎ ย้ำสังสาร
เพราะดวงมาล มีเวทนา- สัญญาหนา
สังขารรับ ปรับแต่ง แหล่งกามา (จิตขณะนั้นยังมีกามตัณหา วิภาวะตัณหา)
ดวงจิตรา จึงก่อวัฏฏา พาวนไป

จึงไม่อาจ พ้นไปได้ ทุกข์เกิดอีก
ไม่อาจหลีก หากทบทวน โยนิโสฯไว้
ในพุทธพจน์ มีปรากฎ ยกมาให้
โปรดอ่านได้ ไตรปิฎก มีจดจาร...

เพราะไม่เอา ตำรา(ไตรปิฎก) จึงหลงคิด (ปรุงแต่งด้วยความไม่รู้)
รับรู้เพียง สภาวะผิด ปรุงแต่งสาน
แม่ปูเดิน บิดเบี้ยว เลี้ยวหลงทาง
พาลูกปู ตกหลุ่มพราง สังสารไป

ผู้สอนธรรม ควรศึกษา จากพุทธพจน์
อย่าจารจด เพียงสัญญา สังขารไข
ทั้งนิรุติ อรรถธรรม ปฏิภาณไว (ปฏิสัมภิทา๔)
ปฏิบัติได้ ด้วยตนจึง ประสพญาณ

พระธรรม วินัย(คำสอน) ใช่ของง่าย
ขอเดินสาย ตามมรรค(มีองค์๘) สั่งสมสาน
เหมือนหยอดกระปุ๊ก เต็มสักวัน ไม่เนินนาน
เพียงอย่าพาล เดินผิดทาง(มรรค)...คลานหัวโต (เวียนทุกข์อสงไขยหานับถ้วน)


สวัสดีค่ะคุณเฟื่องฟ้า นานๆได้เข้ามาสักที
เลยขอแต่งกลอน(ประตู)ด้วยคนนะคะ..@^_^@..

เจริญในธรรมค่ะ



ต้องขอขอบพระคุณทุกๆ ท่านครับ
ผมรู้สึกดีใจ ปลื้มใจจริงๆ กับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ตลอดจนสาธุชนทั้งหลายที่ได้แสดงข้อธรรมไว้ดีแล้ว

หนทางยังอีกยาวไกล ยังไงๆ ก็ต้องเดินไปให้ถึง

รู้ลงที่กาย รู้ลงที่ใจเป็นปัจจุบัน เส้นทางลัดสูดแล้ว สาธุ ครับ

สุดท้ายนี้ผมขอฝากตัวเป็นศิษย์หลองพ่อปราโมทย์ ปราโมชฺโช ด้วยครับ (ท่านจะรับรึไม่รับผมไม่รู้แล้วครับ แต่ก็ขอเป็นศิษย์ปฏิบัติตามคำสั่งสอนครับ)


อ้อมค้อมเสียนานสองนานที่แท้ก็มาโฆษณา พระสายพม่าที่สอนให้ทิ้งพระไตรปิฎก
ไม่เอาปริยัติมาปฏิบัติ แล้วจะมีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์กันไว้ทำไม
ไม่เอาปริยัติมาปฏิบัติ อย่างนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิตั้งแต่เริ่มต้นแล้วครับ

ความจริงแท้ของศาสนานี้ อยู่ที่ การเกิด การอยู่ และตาย คือกายกับใจที่สอดผสานกันอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก การรู้กาย รู้ใจ ย่อมรู้ธรรมไปด้วย ลมหายใจเป็นธาตุภายนอกที่บำรุงธาตุที่ก่อเป็นกาย และจิตใจศัยอยู่ในกายนี้ ที่เรียกว่าจิต ถ้าไม่รู้กาย ไม่รู้ใจ ก็ไม่รู้ตัว ถ้าไม่รู้ตัวก็ไม่มีสติ เมื่อไม่มีสติ ก็ไกลกับศาสนามากแล้ว

คำว่า คน ไม่มีแบ่งแยกศาสนา ไม่มีคำว่า พม่า มอญ ไทย ลาว เพราะพระพุทธองค์ทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานที่ชมพูทวีป ถ้าแบ่งแยกแต่แรก คงไม่มีคำว่าพุทธะในไทย

ขอให้เปิดใจ รู้กาย รู้ใจ รู้ตัว เพื่อตัวเองนะ

ขอให้คุณลองปฏิบัติก่อน เรารู้ดีว่าหน้านี้ไม่ใช่หน้าโฆษณา

แต่เป็นหน้าที่เอาความเป็นกัลยาณมิตรมาสู่กัน ถ้าผิดแล้วไม่แก้ไขให้ ก็ยากจะเรียกว่ากัลยาณมิตร

ขออภัยถ้าอาจทำให้จิตขุ่น แต่อยากให้มองว่าที่ขุ่นเป็นคุณ เป็นตัวเป็นตนของคุณหรือไม่ ถ้าใช่ก็ต้องควบคุมได้ ถ้าไม่ใช่ก็เป็นไตรลักษณ์นะ

ขอเจริญในธรรม คารวะทุกท่านด้วยใจจริง


เป็นข้อความที่คุณลูกโป่ง ได้โพสไว้ และ เป็นข้อความของครูบาอาจารย์หลายท่าน
ที่ได้ปฏิบัติจนรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว เป็นสวากขาตธรรม
ขออนุโมทนากับคุณลูกโป่ง และ ขอให้การปฏิบัติเจริญก้าวหน้าโดยลำดับ


.. โอวาทพระอาจารย์...
--------------------------------------------------------------------------------


ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต
วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ

คนเราเมื่อมีลาภก็เสื่อมลาภ
เมื่อมียศก็เสื่อมยศ
เมื่อมีสุขก็มีทุกข์
เมื่อมีสรรเสริญก็มีนินทา
เป็นของคู่กันมาเช่นนี้ จะไปถืออะไรกับปากมนุษย์
ถึงจะดีแสนดีก็มีที่ติ ถึงจะชั่วแสนชั่วมันก็ชม
นับประสาอะไร พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลิศดีกว่ามนุษย์และเทวดา
ยังมีมารผจญ ยังมีคนนินทาติเตียน
ปุถุชนอย่างเราจะหลุดพ้นจากโลกะธรรมดังกล่าวแล้วไม่ได้
ต้องคิดเสียว่าเขาจะติก็ช่าง จะชมก็ช่าง
เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเดือดเนื้อร้อนใจ
ก่อนที่เราจะทำอะไรเราคิดแล้วว่า
ไม่เดือดร้อนแก่ตัวเราแลคนอื่น เราจึงทำ
เขาจะนินทาว่าร้ายอย่างไรก็ช่างเขา
บุญเราทำกรรมเราไม่สร้าง
พยายามสงบกาย สงบวาจา สงบใจ
จะต้องไปกังวลกลัวใครติเตียนทำไม
ไม่เห็นมีประโยชน์ เปลืองความคิดเปล่าๆ



หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี

ธรรมะมีอยู่ในกาย เพราะกายมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ท่านได้เสียสละ
เช่น ความสุขอันเป็นไปด้วยราชสมบัตินั้น
พระองค์ท่านผู้มีคนยกย่องสรรเสริญ คอยปฎิบัติวัฎฐาก
แล้วได้เสียสละมานอนกับดินกินกับหญ้า ใต้โคนต้นไม้
ถึงกับอดอาหาร เป็นต้น
การเสียสละเหล่านี้เพื่อประโยชน์อะไร
ก็เพื่อให้ได้ถึงซึ่งวิโมกขธรรม
คือ ธรรมะ เป็นเครื่องพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย
และเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ ก็ทรงนั่งสมาธิใต้ร่มไม้
อันเป็นสถานที่เงียบสงัด
และได้ทรงพิจารณาถึงความจริง
คือ อริยะสัจ 4 นี้ เป็นมูลเหตุอันเป็นเบื้องต้นของพระพุทธเจ้า



หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ
วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร

สิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรไปทำความผูกพัน
เพราะเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง
แม้ทำความผูกพันและมั่นใจในสิ่งนั้น
กลับมาปัจจุบัน ก็เป็นไปไม่ได้
ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้นเป็นทุกข์แต่ผู้เดียว
โดยไม่มีความสมหวังตลอดไป
อนาคตที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดเหนี่ยวเช่นกัน
อดีตควรปล่อยไว้ตามอดีต
อนาคตควรปล่อยไว้ตามกาลของมัน
ปัจจุบันเท่านั้นที่สำเร็จเป็นประโยชน์ได้
เพราะอยู่ในฐานะที่ทำได้ไม่สุดวิสัย



หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์

แม้จะจบพระไตรปิฎกหมดแล้ว
จำพระธรรมได้มากมาย มีคนเคารพมาก
ทำการก่อสร้างวัตถุได้มากมาย
หรือสามารถอธิบายได้ถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ได้อย่างละเอียดแค่ไหนก็ตาม
ถ้ายังประมาทอยู่
ก็ยังว่าไม่ได้รสชาดของพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด
เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของภายนอกเท่านั้น
เมื่อพูดถึงประโยชน์ก็ประโยชน์ภายนอก
คือ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์สังคม เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น
เพื่ออนุชนรุ่นหลัง หรือเพื่อสัญญลักษณ์ของพระศาสนวัตถุ
ส่วนประโยชน์ของตนที่แท้นั้นก็คือ ความพ้นทุกข์
จะพ้นทุกข์ได้ก็ต่อเมื่อรู้จิตหนึ่ง
- จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
- ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
- จิตเห็นจิต เป็นมรรค
- ผลอันเกิดจากจิตที่เห็น เป็นนิโรธ



หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย

ใจ คือ ผู้ที่อยู่เฉยๆ และรู้ตัวว่าเฉย
ไม่คิด ไม่นึก อันนั้นแหละเรียกว่าใจ
จิต คือ ผู้ที่คิดนึก มันคิด มันนึก มันปรุง มันแต่ง
สัญญา อารมณ์ทั้งปวงหมด อันนั้นเรียกว่า จิต

เรื่องเรียนพระพุทธศาสนา ไม่ต้องเรียนอื่นไกล
เรียนเข้ามาหาใจเสียก่อนแล้วหมดเรื่อง
พระพุทธเจ้าทรงสอนสาวกทั้งหลาย ก็สอนถึงใจทั้งนั้น
ถึงที่สุดก็คือ ใจ เรียกว่า พระศาสดาสอนถึงที่สุดก็คือ ใจ เท่านั้น
แต่เรายังทำไม่ถึง เราจะต้องพยายามฝึกหัดอบรมใจของตนนี้
ให้มันถึงที่สุด มันจึงจะเข้าถึงที่สุดของพระพุทธศาสนา
หมดพุทธศาสนาได้ ผู้ใดทำใจให้เป็นกลาง
ผู้นั้นจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

ที่มา : บ้านจอมยุทธ.คอม...http://www.baanjomyut.com



ยังคัดลอกของเขามาไม่หมด ขอต่ออีกนิดนะครับ เพราะมีประโยชน์มาก


หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
วัดป่าสัมมานุสรณ์ จังหวัดเลย

ให้พิจารณาความตาย
นั่งก็ตาย นอนก็ตาย ยืนก็ตาย เดินก็ตาย



พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ

ในพวกเราชาวสยามนี้ ควรได้เห็นว่า เป็นคนมีบุญมาก
เกิดมาได้พบพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว
ด้วยบุรพบรรพรุษพาถือกันมานานแล้วกว่า 2000 ปี
อย่าพากันมีความประมาท
พึงตั้งใจปฎิบัติกันให้เห็นผลจนรู้สึกตัวว่า เรามีที่พึ่งอันใดแล้ว
จึงจะเป็นคนที่ไม่เสียทีที่ได้พบพระพุทธศาสนา

อะไรเป็นปัจจัยของอวิชชา
เรานั่นแหละเป็นปัจจัยของอวิชชา
อะไรเป็นปัจจัยของเรา อวิชชานั่นแหละเป็นปัจจัยของเรา
ถ้ามีอวิชชาก็มีเรา ถ้ามีเราก็มีอวิชชา
ตำราแบบแผนมิใช่ยา ยามิใช่ตำราแบบแผน
ความไข้ไม่ได้หายด้วยยาอย่างเดียว
ต้องอาศัยกินยานั้นด้วยไข้จึงหาย



หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร

ไม่มีตัวตน สัตว์บุคคลเราเขาอะไรสักอย่าง
เพ่งดูสิมันไม่เป็นแก่นสารอะไรเลย
ถ้าเป็นแก่นสาร ทำไมคนเราต้องล้มหายตายจาก
ถ้าเป็นแก่นสารตัวเรา ทำไม่ต้องเป็นหวัด เป็นไอ เป็นไข้
ทำไมต้องหนาวร้อน เพราะเหตุนี้จึงเห็นได้ว่า ไม่ใช่ตัวตน

ตาสำหรับเห็น รูป
ใจ เป็นผู้รู้ว่า รูปดี รูปชั่ว รูปไม่ดี รูปไม่ชั่ว
แท้ที่จริง รูปทั้งหลายเขาไม่ได้ว่า รูปเขาดีเขาไม่ได้ว่าเขาชั่ว
เราเป็นผู้ไปว่าเอา สมมุติเอา
- พระสติ หมายถึง ลมเข้า
- พระวินัย หมายถึง ลมออก
- พระปรมัตถ์ หมายถึง ผู้รู้ลมเข้าลมออก
เป็นอันจบพระไตรปิฎก นอกนั้นเป็นสิ่งกิ่งก้านสาขา เท่านั้น



หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่

อันว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์ และเทวดา
ได้ถูกไฟ 11 กอง เผาอยู่เสมอ
เป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์นานาประการ 11 กอง คือ
1.) ราคะ ความกำหนัดชอบใจ อยากได้กามคุณ 5 มีรูปเป็นต้น
2.) ไฟโทสะ คือ ความโกรธ มีความไม่พอใจเป็นลักษณะ
3.) ไฟโมหะ ได้แก่ ความลุ่มหลงในรูป รส กลิ่น เสียง
โผฎฐัพพะ ลังเล ใจฟุ้งซ่าน ไปตามอารมณ์
4.) ชาติ คือ ไฟแห่งความเกิดอันเป็นทุกข์
5.) ชรา คือ ไฟแห่งความแก่อันเป็นทุกข์
6.) มรณธ คือ ไฟแห่งความตายอันเป็นทุกข์
7.) โสกะ คือ ไฟแห่งความเศร้าโศก
8.) ปริเทวะ คือ ไฟบ่นเพ้อร่ำไร รำพัน
9.) ทุกขัง คือ ไฟแห่งความทุกข์ลำบากกายใจ
10.) โทมนัส คือ ไฟแห่งความเสียใจ
11.) อุปายโส คือ ไฟแห่งความคับแค้นใจ
ไฟทั้ง 11 กองนี้แหละเผาลนสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ให้ต้องพากันงมงาย เวียนว่ายตายเกิด ได้รับทุกข์ต่างๆ



หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
วัดถ้ำผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่

พระพุทธเจ้าท่านจึงให้ปล่อยวาง
อย่าไปยึดถือ ตัวกูของกู ตัวเราของเรา มันเป็นเพียงสมมุติ
ให้เป็นตัวเราของเราเท่านั้นแหละ
ธาตุแท้มันไม่ได้เป็นของใคร
เมื่อมีเหตุปัจจัยเกิดขึ้น มันก็เกิดขึ้นอย่างนี้
เมื่อหมดเหตุปัจจัย มันหายไปไหน
ก็ละลายลงสู่พื้นดิน ธาตุดินก็ไปสู่ธาตุดิน
ธาตุน้ำก็ไหลไปสู่ธาตุน้ำ ไหลไปในอากาศ
ธาตุลมก็ไปกับลม ธาตุไฟความร้อนความอบอุ่น มันก็ไปกับธาตุไฟ
ธาตุเหล่านี้เมื่อไหลไปสู่สภาพของเขา
เขาก็ไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อนอย่างไร
เพราะธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นธรรมชาติประจำโลก
ประจำวัฎฎสงสาร อันนี้มานับไม่ถ้วนแล้ว
มาถึงพวกเราภาวนา จะต้องให้รู้ให้เข้าใจ
จิตมายึดมาถือความทุกข์ความเวทนานี้ เป็นความหลง

--------------------------------------------------------------------------------
ลูกโป่ง [กรุงเทพฯ] [124.120.0.230] [ 13 มิ.ย. 2550 เวลา 16:43 น. ] [ 1 ]



ท่านพ่อลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ

คนบางคนที่มีปัญญาฉลาดหลักแหลม
สามารถจะอธิบายข้ออรรถข้อธรรมได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง
แต่กิเลสเพียงหยาบๆ อันเป็นคู่ปรับแห่งศีล
แค่นี้ยังละกันไม่ค่อยจะออก
เป็นเพราะขาดความสมบูรณ์ แห่งศีล สมาธิ ปัญญากระมัง
จึงได้เป็นอย่างนี้ ศีลก็คงเป็นศีลอย่างเปลือกๆ
ปัญญาก็คงเป็นปัญญาอย่างเลอะเลือน
เคลือบเอาเสมอเหมือนดวงกระจกทาด้วยปรอท
ฉะนั้นจึงไม่สามรถเป็นเหตุให้สำเร็จด้วยความมุ่งหวังของพุทธบริษัทได้
ตกอยู่ในลักษณะมีดที่คมอยู่นอกฝัก
คือฉลาดในเชิงพูด เชิงคิด
แต่ดวงจิตไม่มีสมาธิ นี้เรียกว่า คมนอกฝัก



หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี

การปฎิบัติธรรมนั้นไม่มีโทษมีแต่คุณ
คือ จิตไม่ขุ่นมัว จิตผ่องใส จิตเบิกบาน
จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ก็มีความสุข ไม่มีทุกข์
จะเข้าสู่สังคมใดๆ ก็องอาจหาญกล้า
การทำความเพียร เมื่อสมาธิมีขึ้นแล้วจะไม่มีความหวั่นไหว
ไม่มีความเกียจคร้านต่อการงาน ทั้งทางโลกและทางธรรม
จากนั้นก็จะเป็นปัญญาที่จะมาเป็นกำลัง
เมื่อปัญญาเกิดขึ้นแล้วรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์
จะเรียนทางโลกก็สำเร็จ จะเรียนทางธรรมก็สำเร็จ
พระพุทธเจ้าท่านสั่งสอนอบรมให้เกิด
ให้มีขึ้นมาเบื้องต้นตั้งแต่ศีล ศีลเป็นที่ตั้งของสมาธิ
สมาธิเป็นที่ตั้งของปัญญา ไม่ว่าศีล สมาธิ ปัญญา
เป็นทางมาแห่งวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยกัน



หลวงปู่หลุย จันทสาโร
วัดถ้าผาบิ้ง จังหวัดเลย

นี้แหละ...จิตของปุถุชนมันดื้อมันด้าน ดื้อด้าน มันไม่ลงรอย
จิตชนิดนี้ต้องทรมานด้วยกำลังศีลหนึ่ง กำลังทานหนึ่ง
ทานของอวัยวะ นะ ไม่ใช่ทานอามิสนี่
ทาน...ขี้เกียจมาเอาทานมันให้ขยันนั่น
คิดอดีตมาเอ้า ! ทานมันนะบริจาคนั้น
ง่วงเหงาหาวนอน ทานมันนะ...ไม่ต้องนอนนั่น
หัดมันนะนั่น ทานละ ไอ้ความชั่วนะนั่น
นี้แหละฉันใดก็ดีให้ตั้งอกตั้งใจ



หลวงปู่คำดี ปภาโส
วัดถ้ำผาปู่นิมิต จังหวัดเลย

การปฎิบัติศีล ธรรม ต้องมีเหตุมีผล เหตุดีผลก็ดี
ถ้าเหตุร้ายผลก็ร้าย เปรียบเหมือนของภายนอก
อย่างผลไม้ต่างๆ มันก็เกิดจากต้นของมัน
ถ้าไม่มีต้นก็ไม่มีผล
จะเป็นต้นกล้าผลไม้ในไร่สวนก็เช่นกัน
ดอกหรือผลของมัน พวกชาวไร่ชาวสวนทั้งหลาย
เขาก็ปฎิบัติตกแต่งแต่ลำต้นของมันเท่านั้น
คือ เขาต้องใส่ปุ๋ยดายหญ้า รดน้ำ
และรักษาสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ต้นไม้ของเขาเท่านั้น
เมื่อเขาปฎิบัติลำต้นของมันดังกล่าว
เรื่องของดอกและผล มันก็เป็นของมันเอง

ทีนี้การปฎิบัติทางพุทธศาสนาก็คล้ายคลึงกัน
ถ้าเราอยากเป็นคนมีเงินมีทอง อยากร่ำรวยเหมือนเขา
อยากมีร่างกายสวยเหมือนเขา อยากมีลาภมียศอย่างเขา
เราจะไปปฎิบัติตรงไหน
พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ปฎิบัติ กาย วาจา ใจ
ถ้ากายของเราดี วาจาของเราดี จิตใจของเราดี
ได้ลาภมาก็มากและใหญ่ได้ ยศก็ใหญ่ได้ อะไรมาก็มีแต่ดีทั้งนั้น
ถ้ากาย วาจา ใจ ดีแล้ว
เมื่อกาย วาจา ใจ ของเราเป็นบาปแล้ว
ได้อะไรมาก็เหมือนก็เหมือนของที่ไม่ดีทั้งนั้น



หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต จังหวัดหนองคาย

เรือที่นายช่างต่อดีแล้วอย่างเข้มแข็ง
เมื่อถูกคลื่นกระทบ ไม่เสียหายฉันใด
จิตของบุคคลใดเมื่อฝึกฝนให้ดีแล้ว
คลื่นของกิเลสกระทบเข้า ย่อมไม่หวั่นไหว ก็ฉันนั้น

อธิบายว่า เมื่อบุคคลใดฝึกจิตนี้ให้มั่นอยู่ในศีลในสมาธิ
อยู่ในปัญญาเต็มที่แล้ว
ย่อมไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม 8 ประการ ฉันนั้น
คือ เมื่อมีลาภ มียศ มีสรรเสริญ
และมีความสุขกาย สบายใจ
ก็ไม่เพลิดเพลินเมามัวในลาภ เป็นต้น
เมื่อลาภเสื่อมยศเสื่อม ถูกนินทา
ถูกทุกข์ครอบงำกายและจิต ก็ไม่หวั่นไหว
คือ ไม่เศร้าโศกเสียใจ
ทั้งนี้เพราะปัญญาเห็นแจ้งในความจริงว่า
สิ่งเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไรเลย
มีเกิดขึ้นแล้วแปรปรวน แตกดับไปเป็นธรรมดา
เหมือนกับเรือที่นายช่างต่อดีแล้ว
ย่อมไม่หวั่นไหวต่อคลื่นฉันนั้น

--------------------------------------------------------------------------------
ลูกโป่ง [กรุงเทพฯ] [124.120.0.230] [ 13 มิ.ย. 2550 เวลา 16:43 น. ] [ 2 ]



หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี

พระพุทธเจ้าองค์เอก สอนธรรมชั้นเอกทั้งนั้นๆ
ให้เราประพฤติปฎิบัติ นำเข้าไปต่อกรกับกิเลส
เมื่อถึงขั้นเอกจิตแห่งการปฎิบัติแล้ว
ทำไมจะไม่เป็นเอกธรรม
สำหรับจิตดวงที่พ้นจากสมมุติโดยประการทั้งปวงแล้ง
ต้องเป็นเอกจิต เอกธรรม
นั่นละความเลิศความประเสริฐอยู่ตรงนั้น
พระพุทธเจ้าพ้นจากทุกข์ก็พ้นจากตรงนั้น
เลิศก็เลิศจากตรงนั้น ไม่มีใครบอกว่าเลิศก็เลิศที่ตรงนั้น
เป็นของมหัศจรรย์ที่ตรงนั้น
นอกนั้นไม่ปรากฎว่าสิ่งใดเป็นสิ่งมหัศจรรย์
และเป็นคู่แข่งแห่งธรรมอันเอกของพระพุทธเจ้าที่หลุดพ้นแล้ว
หรือบริสุทธิ์แล้วนั้นเลย



พระอาจารย์วัน อุตตโม
วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จังหวัดสกลนคร

เพราะฉะนั้นตัณหานี้เราต้องเพียรพยายามละ
คือ ตั้งความเพียรของเราไว้
ปหานปธาน เพียรละความชั่วของเรา
สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น
ภาวนาปธาน เพียรให้ความดีเกิดขึ้น
อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาความดีของเราไว้
นี้เรียกว่า หลักของความเพียร จะต้องเพียรพยายาม
ที่เราจะละความชั่วของเราได้
การบำเพ็ญปหาปธานนี้ เราจะต้องทบทวนเข้ามา
คือ ทบทวนเข้ามาภายใน มาดูที่จิตใจของเรา
ดูที่กายของเรา ดูที่วาจาของเรา
ต้องให้ดูกิริยามารยาทของเราที่แสดงออก
ที่เราปฎิบัตินั้นดีหรือชั่ว
แม้เรามาตรวจค้นดู ทบทวนดู หรือส่องดู เงาของเจ้าของ
การภาวนา นี้แหละเท่ากับว่าเป็นการส่องดู
เป็นแว่นธรรมเป็นกระจกสำหรับส่องดูตัวของเรา
ให้รู้ให้เห็นว่าเป็นอย่างไรดีชั่ว สะอาดหรือเศร้าหมอง
เราจะได้รู้จะได้เห็นด้วยอาศัยการภาวนานี้แหละ



พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ
วัดเจติยาคีรีวิหาร จังหวัดหนองคาย

อย่าพากันไว้ใจในชีวิตตน
ชีวิตเป็นของไม่เที่ยงไม่แน่นอน
วันนี้เรามีชีวิตอยู่ ยังหายใจอยู่
วันหลังมาชีวิตจะเป็นอย่างไร ดีหรือไม่
ชีวิตของเรานั้นวันหลังจะเป็นอย่างไร
ในพรรษานี้พวกเราทั้งหลายเชื่อหรือว่า ชีวิตจะตลอดพรรษา
เพราะความตายเป็นของไม่มีกาลเวลา
จิตมันจะตายเวลาไหนก็ไม่รู้
เพราะชีวิตเป็นของไม่เที่ยง สุดแท้แต่จะเป็นไป
เมื่อเรามีชีวิตอยู่ อย่าพากันประมาท
จงพากันบำเพ็ญความดี ให้เกิดให้มีขึ้นในดวงจิต ความคิดของเรา
รู้อื่นหมื่นแสน ยังไม่แม้เท่ารู้ตน
รู้อื่นหมื่นล้าน ยังไม่พ้นพาลเหมือนดีตน
ชนะอื่นหมื่นโกฎิ ยังไม่พ้นโทษเหมือนชนะตน
รู้ตนดี ตนชนะตน นั้นย่อมคนผู้ชนะดี



พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร
วัดป่าแก้ว จังหวัดสกลนคร

สุขได้สบายได้ แต่สุขสบายเพราะความหลงของใจ
ถ้าเกิดโรคภัยเจ็บป่วยขึ้น
เขาจะมาเต้นรำขนาดไหนให้มันดู ก็ไม่เพลิน
จะเอาเงินจะเอาทองมาวางกองเทินไว้ใหญ่โตขนาดไหน
มันก็ไม่มีความสุข
เพราะใจมันเป็นทุกข์มันห่วง มันหวงในชีวิต
คนที่ไม่มีความสุขของใจ โดยส่วนใหญ่ไปสถานที่ใด
ใครเข้ามาหาก็บ่นทุกข์อย่างนั้น บ่นทุกข์อย่างนี้
ทั้งๆที่มีสมบูรณ์ทุกอย่าง
บ้านช่องห้องหออะไรก็ใหญ่โต
เงินทองข้าวของอะไรก็เยอะแยะ
แต่ก็บ่นว่าทุกข์ ทุกข์ มันทุกข์อะไร มันทุกข์ใจ



หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต
วัดอุดมคงาคีรีเขต จังหวัดขอนแก่น

เป็นครูสอนคนอื่นก็ดีอยู่ หากสอนตัวเองด้วยก็จะดีมากขึ้น
เราตรวจคะแนนให้คนอื่น ข้อนี้ถูก ข้อนั้นผิด
เราเคยตรวจดูตัวเองบ้างหรือเปล่า
วันเวลาผ่านไปตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
คะแนนฝ่ายดีกับฝ่ายชั่วนั้น ข้างไหนมากน้อยกว่ากัน
กับไปตรวจดูตัวเองบ้างก็ดี

ศีลมีหลายข้อ ไม่ต้องรักษาหมดทุกข้อหรอก
รักษาแต่ใจให้ดีอย่างเดียว ให้ดี
กาย วาจา ก็จะดีไปด้วยกันนั่นแหละ



หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
วัดบรรพตคีรี จังหวัดมกดาหาร

การได้พิจารณาไตรลักษณ์ ให้เห็นชัดประจักษ์แจ้งนี้
ไม่หวังว่าจะหอบใส่รถไปพระนิพพานด้วยหรอก
อนิจจาเอ๋ย พิจารณาเพื่อถอนความหลงของเจ้า
ตัวที่เข้าใจผิดว่าเป็นของเที่ยง เป็นของสุข
เป็นตัวเรา เขา สัตว์ บุคคลต่างหาก
เพื่อให้หน่ายความหลงของเจ้า
ตัวที่เคยหลงมา อวิชชาก็ว่า ปัญญา
เป็นหัวหน้าของสมาธิ และศีลตอนนี้มีพละกำลังมาก



หลวงปู่สี มหาวีโร
วัดประชาคมวนาราม จังหวัดร้อยเอ็ด

ในเรื่องของจิตคล้ายๆกับว่า นิวรณ์
มันเคลื่อนหรือไหลหนีทำนองนั้นแหละ
เพราะสติเราตั้งจดจ่ออยู่
แต่ยังเข้าไม่ถึงจิต พออย่างนี้เคลื่อนไป
ก็รู้เรื่องจิตแล้วไปกำหนดเกี่ยวกับธรรมชาติรู้
อันนี้พวกนิวรณ์ทั้ง 5 มาแสดงท่าทางขึ้นอยู่อย่างนั้น
เราก็พยายามทดสอบลองดู
คือ มันถอยๆ ออกพอถอยออกไปหน่อย ก็หุบ
... พอสติเข้าไปถึงก็ถอนออกทันที
รู้เรื่องของกันและกันอยู่อย่างนี้
...แต่ว่า จำพวกนิวรณ์ทั้ง 4 อย่างมาแรงๆอย่าง
(งผาง เรารู้จักดี ไอ้...ตัว " ถีนมิทธะ "
คือ ความง่วงเหงาหาวนอน มันมาอย่างละเอียดอ่อนที่สุด)



หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา

การปฎิบัติ สำคัญที่การรวมจิตเป็นใหญ่
เพราะพื้นฐานแห่งความดี ความชั่วย่อมเกิดที่จิต
ถ้าจิตตัวนี้ ปราศจากสติ
เป็นเครื่องคุ้มครองหรือประคับประคองเมื่อใด
เมื่อนั้นดวงจิตดวงนี้ ก็จะต้องมีความเผลอไป
นึกสร้างบาปกรรมใส่ตัวเลย
เพราะฉะนั้นการอบรมจิตให้มีสติ จึงเป็นสิ่งจำเป็น
ความทุกข์ทั้งหลายเกิดจากกิเลส โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ
ถ้าต้องการมีความสุข ต้องกำจัดกิเลสของตน
กิเลสในใจตนเอง ไม่ใช่ไปตั้งหน้ากำจัดคนอื่น

--------------------------------------------------------------------------------
ลูกโป่ง [กรุงเทพฯ] [124.120.0.230] [ 13 มิ.ย. 2550 เวลา 16:44 น. ] [ 3 ]





คุณ..scikhuan....

อนุโมทนากับ คำสอนที่ท่านยกมาด้วยเห็นประโยชน์ ในคำสอนของพระสงฆ์รูปต่างๆนั้น

แล้ว คำสอนในพระไตรปิฏก บทใดหนอที่ ท่าน scikhuan เห็นว่ามีประโยชน์ และประทับใจ ท่านมากที่สุด ละครับ ........

เจริญธรรม


อนุโมทนา ในความปรารถนาดีในการตั้งคำถามที่ตอบยากมากคำถามหนึ่ง
ความจริงแล้ว ที่ข้าพเจ้ามองเห็นความสำคัญของศาสนานั้น มาจากความสงสัยในการเกิด ความเสียใจในการสูญเสีย และความอาลัยในการจากกัน นั้นคือ ความรู้สึกในใจนั่นเอง ข้าพเจ้าเริ่มจากการเห็นสิ่งต่าง ๆ ในโลกไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ตามคำสอนของพระศาสดา ด้วยการพิสูจน์จากการที่ข้าพเจ้ามีความทุกข์อยู่นั้น จึงได้พิจารณาอริยสัจจ์ 4 ของพระศาสดา จึงเห็นว่า แท้จริงแล้วจึงเห็นสมุทัยของโลก ว่ามาจากความรู้สึก นึก คิด ภายในใจของเรานั้นเอง ที่ก่อให้เกิดทุข์ต่าง ๆ นา เป็นปัญหาโลก ก็คือเป็นปัญหาที่มาจากใจเราทั้งหมด จึงเริ่มเดินหาทางธรรมด้วยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งพระศาสดาได้ชี้แนะแนวทางไว้แล้ว

จึงเป็นการปฏิบัติเพื่อการเข้าถึงทางดับทุกข์ภายในใจ ของข้าพเจ้าเอง

ธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้ง 84000 พระธรรมขันธ์ เป็นเลิศทั้งสิ้น น่าประทับใจทั้งหมด

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ปฏิบัติจนรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว จึงได้นำสวากขาตธรรมที่ปฏิบัติ จนรู้แจ้งเห็นจริงมาประกาศต่อโลก เพื่อเป็นมหากรุณิโกณาโถ

รอยทางแห่งการปฏิบัติของท่านมีให้เห็น เป็นการชี้แนะแนวทางเพื่อให้ปฏิบัติตามจะมัวช้าอยู่ใยเล่า เร่งปฏิบัติกันเถิด ก่อนสายลมแห่งกาลเวลา จะพัดพาไปให้ลืมเลือน....



ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ


http://casino-onlinexx.weebly.com


 3,979 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย