กระผมรู้ตัวเองดีว่าเป็นคนใจร้อน บางครั้งใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจฟุ้งซ่านใจไม่ค่อยอยู่กับร่องกับรอย จึงเริ่มฝึกทำสมาธิฝึกมาเป็นปีไม่เห็นมีอะไรดีขึ้นเลยทั้งๆที่ก็พยายามเต็มที่อยู่แล้วทุกอย่างยังเหมือนเดิม กระผมพยายามอ่านวิธีฝึกทำสมาธิจากหนังสือ และระยะนี้ได้ศึกษาจากเว็บนี้จากทุกกระทู้โดยเฉพาะกระทู้ที่ตั้งเกี่ยวกับเรื่องสมาธิกระผมจะเข้าไปดูเพื่อศึกษาทุกครั้ง และกระผมก็พยายามทำตามที่มีผู้ตอบในกระทู้เกี่ยวกับการทำสมาธิ ฝึกทำตามนั้นแล้วแต่ก็ยังเหมือนเดิม จึงขอเรียนถามว่ามันเป็นเพราะอะไร และจะมีวิธีไหนที่จะทำได้หรือทำให้จิตใจสงบขึ้นมาบ้าง ขอท่านผู้รู้ได้เมตตาตอบให้ด้วย ขอกราบขอบพระคุณล่วงหน้าเป็นอย่างสูงครับ
จึงขอเรียนถามว่ามันเป็นเพราะอะไร และจะมีวิธีไหนที่จะทำได้หรือทำให้จิตใจสงบขึ้นมาบ้าง ขอท่านผู้รู้ได้เมตตาตอบให้ด้วย ขอกราบขอบพระคุณล่วงหน้าเป็นอย่างสูงครับ
โดย : asd [DT07489] 30 พ.ย. 2551 00:21 น.
1.หาสถานที่เหมาะ ๆ แก่การเจริญสมาธินะครับ เช่นในห้องนอนที่ไม่มีคนรบกวน ห้องพระ ร่มไม้ในสวนหลังบ้าน
2.นั่งขัดสมาด นั่งพับเพียบ นั่งห้อยเท้าบนเตียง หรือนั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้ หรือนั่งขัดสมาธิก็ได้ ให้พอสบาย ๆ ตัว
3.นั่งตัวตรงหลับตา หายใจแรง ๆ เต็มปอดให้สม่ำเสมอต่อเนื่องกัน พร้อมกับอบรมจิตของเราว่าไม่มีอะไร ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ คือไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา
4.อะไรมากระทบจับแล้วก็วาง ไม่ต้องใส่ใจ เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา ตอนแรก ๆ จิตยังแล่นไปโน่นบ้างนี่บ้างก็ไม่เป็นไร อย่าไปทุกข์ร้อน อย่าไปรำคาญ
5.ทำใจให้ชอบการหายใจแรง ๆ และการอบรมว่า ไม่มีอะไร ๆ ๆ ๆ นี้กว่าสิ่งอื่นใดในโลก เหมือนเรารักใครเราก็นึกถึงแต่คนคนนั้น
6. หายใจแรง ๆ ต่อเนื่อง อบรมจิตว่าไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา ได้ต่อเนื่อง เมื่อมีอาการเย็นซาบซ่าน ขนลุก น้ำตาไหล ตัวสูง ตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวโยก ตัวโคลง ตัวสั่น ตัวแน่นตัวคับเหมือนใครจับมัด หมุน หรือลอยปรากฏ ก็ไม่ต้องหวั่นไหวตกใจ กำหนดจดจำเอาไว้แต่เพียงว่า ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเราเอาไว้เท่านั้น อะไรจะเกิดก็ปล่อยให้เกิด อะไรจะดับก็ปล่อยให้ดับ น้อมจิตน้อมใจไปเพื่อการละการดับเท่านั้น
7.อาการเหล่านี้เรียกว่าอาการปีติ คนคนหนึ่งอาจเกิดอย่างเดียวหรือเกิดหลายอย่างพร้อมกันก็ได้ นอกจากนี้ยังรู้สึกเบาสบายในร่างกาย อิ่มใจมีความสุขมาก ๆ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ลองปฏิบัติตามอย่างนี้ก่อนนะครับ ติดขัดประการใดก็ถามมาใหม่นะครับ
ที่กล่าวว่า ......กระผมรู้ตัวเองดีว่าเป็นคนใจร้อน บางครั้งใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจฟุ้งซ่านใจไม่ค่อยอยู่กับร่องกับรอย ....
ความจริงแล้วจิตอย่างนี้เป็นจิตที่ดีครับ เป็นจิตที่มีกำลังมาก มีความเพียรจัด เหมาะแก่การเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นอย่างยิ่งครับ ถ้าปฏิบัติได้ถูกทางก็จะบรรลุธรรมได้เร็วพลันครับ
ขออนุโมทนาในกุศลผลบุญที่ท่านใฝ่ในธรรมในครั้งนี้ด้วยนะครับ
เจริญในธรรมครับ .
แหม..เพียงแต่หัวข้อถามว่าอยากทำให้จิตใจสงบก็เห็นแล้วอ่ะค่ะ ว่าเป็นคนใจร้อนจริง ๆ ^0^..
ใจเป็นสภาพบังคับได้ยากอยู่แล้วนะคะ จะฝึกใจได้ต้องใช้เวลาพอควรทีเดียวค่ะ ฝึกความสงบก็ทำอย่างที่ท่านเหล่าซือว่าเลยซิคะ เห็นด้วยค่ะ ^-^ ขอเพิ่มสวดมนต์อีกหน่อยได้มั๊ยคะ ออกเสียง เปล่งเสียงมาเลยนะคะ ทำไปยาว ๆ หลาย ๆ บทเลยค่ะ แปลด้วยก็ยิ่งดี คนฟุ้งมาก ๆ มีสติดูไปอย่างเดียวอาจไม่อยู่ค่ะ ต้องข่มกันไปเลย ใช้เสียงช่วย แล้วจะค่อย ๆ นิ่งขึ้นไปตามลำดับ จากนั้นจะค่อย ๆ เจริญสติตามสะดวกค่ะ
เรื่องใจร้อนนี่ ถ้าเป็นเอามากจริง ๆ ลองแบบนี้ดูนะคะ ให้ลองตั้งใจไว้เป็นเรื่อง ๆ ค่ะ อย่าไปหวังทีเดียวแล้วเลิกใจร้อนเสียทุกเรื่องเลย ทำได้ยากนะคะ ยกตัวอย่าง สมมติว่ารู้สึกว่าตัวเองเป็นคนโกรธง่ายนะคะ ต้องลองสังเกตตัวเองดูด้วยค่ะ ว่าเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่มักทำให้เราโกรธ อย่างถ้าตัวอย่างในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ก็เป็นเรื่องงานกับครอบครัวแหละค่ะ สมมติว่าเป็นครอบครัว เช่นแม่บ้านมักทำให้ขัดใจ เห็นแบบนี้ เราก็จะทำใจไว้ก่อนเลยค่ะ ว่าต่อไปนี้เราจะไม่โกรธ และพูดจาดี ๆ กับแม่บ้าน ย้ำ ๆ เอาไว้ในใจ ทุกครั้งเมื่อเริ่มมีปฏิสัมพันธ์เกี่ยวกับแม่บ้าน เราจะท่องไว้ในใจก่อนเลยนะคะ พอถึงตอนนั้น ใจมันจะถูกข่มไว้ ๆ บ้างในช่วงแรก ๆ อ่ะค่ะ ซึ่งอุปนิสัยมันจะค่อย ๆ ถูกปรับเปลี่ยนไปเองเลยนะคะ จนบางครั้งสุดท้ายจิตมันถอดถอนไปแล้วปุ๊บ เค้าทำอะไรไม่ถูกใจ ไม่ได้ดั่งใจ จิตมันรู้สึกไปเองเลยว่า เออ..เค้าเป็นแบบนี้แหละ เป็นมาตั้งนานแล้ว เอาเถอะ...นี่แค่ยกตัวอย่างให้เห็นภาพนะคะ
ตามธรรมดาเมื่อเราลองพยามพิจารณาตนเองจริง ๆ แล้ว สิ่งแรก ๆ ที่เราเห็นก่อนว่าจะต้องแก้ไขเนี่ย มันจะเป็นเรื่องหลัก ๆ ในชีวิตเลยค่ะ ทำได้เพียงหนึ่งข้อนะคะ คุณจะรู้สึกเลย ว่าชีวิตคุณมันวูบไปเลย มันเบา มันเงียบ มันสงบขึ้นเยอะเลยนะคะ กระนั้นก็อย่าพึ่งท้อถอยนะคะ ดูไปเรื่อย ๆ จิตจะค่อย ๆ ละเอียดขึ้นในการมอง รวมทั้งอุบายในการแก้ปัญหาก็จะค่อย ๆ คมขึ้นเรื่อย ๆ อ่ะค่ะ บางทีแค่ตั้งใจว่าจะทำ จิตมันก็สั่งแล้วทำได้เลย เพราะเป็นจิตที่ฝึกมาดีแล้ว พอถึงเวลาที่จะถอดถอนอุปาทานตัวใหญ่ ๆ มันเป็นทีเดียว ออกหมดเลย ไม่กลับมาเป็นแบบนั้นอีกแล้วค่ะ สบายไปเลย..
ลองดูนะคะ ต้องพิจารณาอุบายไปทีละข้อ สุดท้ายก็จะลงที่ไตรลักษณ์น่ะค่ะ สิ่งสมมติเป็นเช่นนี้เอง
เจริญในธรรมนะคะ..
ขออนุโมทนาทุกท่าน
กราบขอบพระคุณทั้งสองท่านมากๆครับที่ให้คำแนะนำ ยิ่งเห็นภาพเด็กที่นั่งสมาธิแล้วภาพมันบอกถึงความตั้งใจจริงของเด็ก ผมจะพยายามทำให้ได้ครับ
โดยส่วนตัวเรา ชอบฝึกสติ ตามลมหายใจค่ะ คิดอะไรก็รู้ ทำอะไรก็รู้ตัว แล้วก็ปล่อยวาง ปรุงแต่งน้อยที่สุดน่ะค่ะ
การวาดรูป หรือหางานที่ชอบทำ แล้วมุ่งมั่นก็ช่วยฝึกสมาธิได้นะคะ
เอาเรื่องกวนใจออกไป มองปัจจุบันและทำปัจจุบันให้ดีที่สุดคะ
สู้ๆๆนะคะ ^^
เราต้องทำใจให้สบาย นิ่ง