เป็นไปได้ไหมที่คนเราจะไม่แต่งงาน???

 bossboyy    

สวัดดีคับ คือผมได้ติดตามบอร์ดนี้มานานพอสมครว จึงอยากจะปรึกษาเรื่องนี้ซะหน่อย

มีทางไหนบ้างคับที่จะสามารถช่วยให้ตัวเรานั้นลดความรู้สึกทางเพศหรือทำให้หายไปเลยก็ได้ฮะ

และตัวผมเองเริ่มมีความรู้สึกนี้มานานแล้วตั้งแต่ ป.4 แต่ตอนนั้นแค่คิดว่าตัวผมเองนั้นโต ขึ้นไม่อยาก

แต่งงาน ไม่อยากจะมีแฟน เพราะผมรู้สึกว่าการมีสิ่งพวกนี้ มันมีความรู้สึกว่าเป็นทุกข์และไม่จำเป็นกับชีวิต

ของผมเอง แต่พอตอนนี้ก็ได้รู้เรื่องทางธรรมมากขึ้น(ตอนนี้อายุ 17)ก็ เริ่มสงสัยตนเองมาคับว่า

1. ที่ผมรู้สึกแบบนี้ที่กล่าวมาตามข้างต้น ผมยังมีสติหรือ จิตปกติดีรึเปล่าครับ หรือผมโรคจิตไปแล้วโดยไม่รู้

ตัวแต่ตัวผมเองก็ยังมีความรู้สึกชอบหรือ สนใจเพศตรงข้ามนะคับ แต่ก็พยายามเลี่ยงตลอดเวลา(ยากมากคับ)

2. และเป็นไปได้ไหมคับที่คนเราจะไม่ต้องแต่งงานเลยหรือ มีแฟนเลย เพราะถ้าผมลองวิเคราะห์ดูตนเอง

แล้ว ผมว่าคงทำสำเร็จยากแน่ๆ

ยังไงก็ช่วยให้คำแนะนำผมด้วยนะคับจะขอบคุณเป็นพิเศษ




เรื่องของกาม มิใช่ของเลว
กาม มีคุณ ก็คือกามคุณ
ติดกาม สิเป็นโทษ
ไม่ต้องคิดมาก
ยังไม่ออกจากเรือน ก็ต้องฉลาดในการใช้ชีวิต ในการหาอยู่หากิน

เป็นผู้ชายถ้าสนใจผู้หญิงก็เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่ตุ๊ดหรือแต๋ว นั่นแหละผิดธรรมดา

ถ้ามีความเห็นเบื่อหน่ายในกาม ก็จะไม่อยากกามนั้นๆ เมื่อถึงเวลา ก็รู้เอง





ขอท้วงนิดนึง หวังว่าคงไม่โกรธกันนะครับ

คำว่า กามคุณ คำว่า คุณ มาจากคำว่า คุณะ แปลว่า องค์ประกอบ
ต้องแปลว่า องค์ประกอบของกาม ไม่ใช่แปลว่า กามมีคุณ อันนี้จะเข้าใจกันผิดว่ามีประโยชน์
กาม มีแต่โทษมากมาย เป็น สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์



กามคุณ ก็คือ องค์ประกอบของกาม ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
ที่มักเรียกว่า กามคุณ ๕ นั่นเองครับ

เจริญในธรรมทุกท่านนะครับ

****************

กามคุณ กามคุณารมณ์

คำว่า กามคุณ นั้นบางทีก็เรียกกันว่า กามคุณารมณ์ อารมณ์ที่เป็นกามคุณ

ซึ่งคำว่า คุณ นั้นมีความหมายเป็น ๒ คือมีความหมายว่า ทับถมกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ ดั่งนี้ก็ได้

หมายถึงเป็น คุณ ที่ตรงกันข้ามกับ โทษ ก็ได้

และคำว่ากามคุณนั้นจึงหมายถึงเป็นกามที่บังเกิดขึ้น ทับถมซับซ้อนกันในจิตใจ

ดั่งวัตถุกามทั้ง ๕ นั้น และก็หมายถึงว่าเป็นรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ อันนับว่าเป็นส่วนคุณ อันตรงกันข้ามกับโทษ


เพราะว่ารูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะนั้น

ก็มี คุณ คือเป็นสิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ จึงให้คุณคือให้ความสุขส่วนหนึ่ง

และกิเลสกามก็บังเกิดขึ้นในวัตถุเหล่านี้ ในส่วนที่เป็นคุณดังกล่าวนั้น

คือในส่วนที่ให้ความสุข ก็เป็นสิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ

ถ้าหากว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีคุณเสียเลยแล้ว กิเลสกามก็ไม่บังเกิดขึ้น

แต่ว่าที่พระพุทธเจ้าตรัสโทษของกามก็เพราะว่า

เป็นสิ่งที่ให้คุณน้อยแต่ว่ามีโทษมาก จึงได้ตรัสยกโทษของกามขึ้นมาสั่งสอน

เพื่อให้ละความติดใจเพลิดเพลินใจอยู่ในกาม


แม้ว่ากิเลสกามจะยกขึ้นแสดงที่เป็นวัตถุเพียง ๕ ข้อ

แต่ข้อ ๖ คือธรรมารมณ์ อารมณ์คือเรื่องราวทางจิตใจโดยตรง

ก็นับว่าเป็นกามด้วย คือนับเข้าในวัตถุกามนั้นด้วย

เพราะว่าทั้งรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ทั้งธรรมารมณ์ ก็เป็นที่ตั้งของกิเลสกาม

เมื่อกิเลสกามบังเกิดขึ้นในสิ่งอันใด สิ่งอันนั้นก็เป็นวัตถุกามขึ้นมาทันที
เช่นเมื่อมีความอยากดิ้นรนใจไปในรูป รูปก็เป็นวัตถุกามขึ้นทันที

ในเสียงในกลิ่นในรสในโผฏฐัพพะสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งเหล่านี้ก็เป็นวัตถุกามขึ้นทันที
ถ้าหากว่ากิเลสกามไม่บังเกิดขึ้น สิ่งเหล่านั้นก็เป็นวัตถุอยู่เฉยๆ ไม่เป็นกาม




น้อง bossboyy ไม่ควรจะวิตกกังวลเรื่องคู่ครองมีหรือไม่มีนะครับ น้องอายุ 17 เอง
ถ้าน้องไม่บวชเอาศีลเป็นเครื่องป้องกัน แล้วน้องมีคู่วาสนาตามมาแต่อดีชาติ พี่ว่ายังไงก็หลบยาก พี่เองก็ไม่เคยคิดจะมีภรรยา หรอกครับ แต่เมื่อถีงเวลามี ก็มาเอง แบบไม่รู้ตัว มันไม่ใช่แค่เรื่องกามอย่างเดียวหรอกนะครับ คฤหัสถ์ ก็มีธรรมะแบบคฤหัสถ์ได้ สรุปก็คือเป็นอะไรก็ได้ แต่ขอให้ทรงธรรมในสภาวะที่เป็นนะครับ

เห็นด้วยกับความหมายของคำว่า กามคุณ ของคุณนาคราชนะครับ


ว่าด้วยกามคุณ คุณของกาม

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

[๑๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นคุณของกามทั้งหลาย? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่า-
*พอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้ง
ด้วยฆานะ ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการ
เหล่านี้แลความสุข ความโสมนัสใดเล่า อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของกามทั้งหลาย.

http://84000.org/tipitaka/read/?12/197/168

เจริญธรรม




http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=29&A=487&Z=1310

กามสุตตนิเทส
ว่าด้วยกาม 2 ประการ
วัตถุกาม และกิเลสกาม

วัตถุกาม เป็นที่ตั้งของกิเลสกาม

เพราะวัตถุกาม มีคุณหรือกามคุณ คือเป็นที่ตั้งของความยินดี ความกำหนัด ความพึงพอใจ อันเป็นกิเลสกาม

ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ปุถุชนพึงละได้โดยยาก
ก็เพราะ กามคุณ มี และยังเป็นกามโภคี จึงต้องมีปัญญาในการเสพกาม คือการขวนขวายอย่างถูกต้องเพื่อให้ได้วัตถุกามนั้นๆ เพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพื่อประโยชน์ในโลกหน้า

การที่กล่าวว่า ติดกามสิเป็นโทษ ก็เพราะ คุณของกามนี่เอง
ดังปรากฏใน กามสุตนิเทศ ว่า

"คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ คือ ความแช่มชื่นในภพอย่างหนึ่ง ได้แก่
สุขเวทนา. ความแช่มชื่นในภพ ๒ อย่าง ได้แก่สุขเวทนา ๑ วัตถุที่ปรารถนา ๑. ความแช่มชื่น
ในภพ ๓ อย่าง ได้แก่ ความเป็นหนุ่มสาว ๑ ความไม่มีโรค ๑ ชีวิต ๑. ความแช่มชื่นในภพ ๔
อย่าง ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข. ความแช่มชื่นในภพ ๕ อย่าง ได้แก่ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ. ความแช่มชื่นในภพ ๖ อย่าง ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่ง
จักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสต ความถึงพร้อมแห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่งชิวหา ความถึง
พร้อมแห่งกาย ความถึงพร้อมแห่งใจ. คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ คือ ติดพัน
ในสุขเวทนา ติดพันในวัตถุที่ปรารถนา ติดพันในความเป็นหนุ่มสาว ติดพันในความไม่มีโรค
ติดพันในชีวิต ติดพันในลาภ ติดพันในยศ ติดพันในสรรเสริญ ติดพันในสุข ติดพันในรูป
ติดพันในเสียง ติดพันในกลิ่นติดพันในรส ติดพันในโผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ติดพันคือ
เกี่ยวพัน ผูกพัน ข้อง เกี่ยว หมกมุ่น ในความถึงพร้อมแห่งจักษุ ในความถึงพร้อม
แห่งโสต ในความถึงพร้อมแห่งฆานะ ในความถึงพร้อมแห่งชิวหา ในความถึงพร้อมแห่งกายในความถึงพร้อมแห่งใจ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา"

เพราะเหตุนี้ พระพุทธองค์ จึงทรงตรัสว่า

" นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อ
ตั้งอยู่ ก็หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ก็เพราะ
กามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของอันนรชนละได้ "

-----------
ถ้าหากว่า เจ้าของกระทู้ยังปราถนากามอยู่ ก็พึงรู้คุณ รู้โทษด้วยประการฉะนี้

เจริญธรรม






กาม มีแต่โทษมากมาย เป็น สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์

กามทั้งหลายไม่ใช่เหตุแห่งทุกข์
เหตุแห่งทุกข์ ที่เรียกว่า สมุทัย คือตัณหา ความติดใจยินดี พอใจ หรือเรียกว่า กิเลสกาม

เจริญธรรม


สวัสดีคับ ขอขอบคุณกับทุกคำแนะนำนะคับ แต่ผมก็ยังสงสัยอยู่อะคับว่า

ผมจะสามารถลด กิเลสกาม หรือกามตัณหาพวกนี้ได้ไหมคับ??? หรือว่าผมจะเป็นเหมือนกับที่

พี่ ใหม่ ๆ ไม่เคยคิดว่าจะเก่า เขาว่าไว้ แต่ผมก็พอเข้าใจและตามรู้สติของตนเองได้คับ

และก็พอเข้าใจว่า ความใคร่ต่างๆที่มีนั้น ที่จริงแล้วมาจากความกำหนัดของตนเอง

ถ้าเราเอาใจไปเกาะเกี่ยวก็จะเกิดความกำหนัดขึ้น ดังนั้น ก็ต้องมีสติตลอดเวลาให้ตามรู้ตนเองได้

ความกำหนัดนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น ผมเข้าใจถูกรึเปล่าผมก็ไม่มั่นใจนะครับ แต่ผมก็จะไม่ล้มตวามตั้งใจ

ของผมหรอกคับที่จะเป็นโสดตลอดชีวิต






การลด ละ กาม ทั้งหลาย
ในพระสูตร ก็ทรงตรัสสอนไว้ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=238&Z=384
สัพพาสวสังวรสูตร

กล่าวคือ อาสวะ หรือกิเลสนั้น สิ้นไปเพราะการเห็นก็มี
การสังวรก็มี การเสพเฉพาะก็มี การอดกลั้นก็มี การเว้นรอบก็มี การบรรเทาก็มี หรือการอบรมก็มี

ซึ่งขึ้นอยู่กับการโยนิโสมนสิการ หรือ อโยนิโสมนสิการ (การคิดถูกพิจารณาเป็น หรือไม่) ถ้าหาก พิจารณาไม่แยบคาย คือ คิดผิดคิดไม่ถูก ก็ไม่อาจจะละอาสวะกิเลสนั้นได้

การลดละกามตัณหา ด้วยการเห็น คือการได้ยินได้ฟังได้คบเพื่อนที่ดีคอยบอกธรรม บอกสิ่งควรคิดสิ่งไม่ควรคิด เป็นต้น

การลด ละกามตัณหา ด้วยการสังวร ก็คือเมื่อคิดพิจารณา โดยแยบคายแล้ว สำรวมระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ไปขลุก หมกมุ่น กับสิ่งล่อต่างๆ

ฯลฯ

เช่นนั้น ก็ลิงค์พระสูตรให้ศึกษาเพื่อความสุขอันเกิดจากกาำรดำริออกจากกามของท่าน แล้ว

เจริญธรรม



อายุ 17 มีความคิดดีแบบนี้ ขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ
เห็นมีแต่อยากเที่ยวเตร่ เฮฮาซะส่วนมาก คิดได้แบบนี้ก็ประเสริฐแล้ว

ปล. ได้วิธีดีๆ บอกพี่มั่งนะ


อาเนญชสัปปายสูตร
พระมีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามไม่เที่ยง เป็น
ของว่างเปล่า เลือนหายไปเป็นธรรมดา ลักษณะของกามดังนี้ ได้ทำความล่อลวง
เป็นที่บ่นถึงของคนพาล กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า และกามสัญญา
ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นแดนแห่ง
มาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นที่หากินของมาร ในกามนี้ ย่อมมีอกุศลลามกเหล่านี้
เกิดที่ใจคือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เป็นไป กามนั่นเอง ย่อม
เกิดเพื่อเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้ ฯ

*************************************
โทษของกาม (กามาทีนพ)
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

“ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย”

คือการต้องประกอบอาชีพต่างๆ เช่น
การพานิชยกรรม การกสิกรรม การรับราชการ ต้องลำบากตรากตรำ
อดทนต่อความหนาว ร้อน หิว กระหาย เป็นต้น

การที่เพียรพยายาม แต่เมื่อไม่ได้ผลต้องโศกเศร้า เสียใจ
เมื่อได้ผลแล้วก็ต้องทุกข์กาย ทุกข์ใจ เนื่องด้วยการอารักขาสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นเพื่อมิให้เป็นอันตราย

เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้นก็โศกเศร้าเสียใจ ทะเลาะวิวาทกับคนทั้งหลาย
แล้วทำร้ายร่างกายกัน ใช้อาวุธทำสงครามฆ่าฟันกัน ก่อสร้างป้อม ถูกลงโทษทรมานต่างๆ
เพราะทำความผิด เช่น ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม เป็นต้น

ที่มีกามเป็นเหตุว่าแต่ละอย่างเหล่านี้เป็นโทษของกาม เป็นกองทุกข์ที่เห็นทันตา
มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล

ผู้ได้รับผลก็เป็นทุกข์ เนื่องจากเหตุแห่งการรักษาคุ้มครอง
ผู้ทำงานแต่ไม่ได้รับผลก็เป็นทุกข์ กลัวภัยต่างๆ จะเกิด เช่น
โจรภัย ราชภัย อุทกภัย วาตภัย เป็นต้น

นอกจากนี้ กามทั้งหลายยังเป็นเหตุให้เกิดโทษต่างๆ เช่น
เกิดการยื้อแย่งแข่งกันในการต้องการคนที่มีรูปสวย นักร้องเสียงดี
เกิดการทะเลาะวิวาทถึงกับฆ่ากันก็มี

ผู้ดีทะเลาะกับผู้ดี นักปกครองทะเลาะกับนักปกครอง
พราหมณ์ทะเลาะกับพราหมณ์ พ่อค้าทะเลาะกับพ่อค้า
แย่งความเป็นเจ้าของในคนงาม คนสวย เห็นกันอยู่ในสังคมทั่วๆ ไป

ตลอดจนการทะเลาะกันภายในครอบครัว สามีไปมีเมียน้อย ภรรยาเล่นชู้ เป็นเหตุให้ประหัตประหารฆ่าฟันกัน ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและถึงแก่ชีวิตก็มี ทั้งหมดนี้ก็เพราะกามเป็นเหตุ

ชนทั้งหลายประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ก็เพราะกามเป็นเหตุ
เห็นผิดเป็นถูก ครั้นประพฤติทุจริตต่างๆ ดังกล่าวแล้ว
หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
นี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษของกาม เป็นกองทุกข์ในสัมปรายภพ
(ม.มู.๑๒/๑๖๙)




เรียนให้ท่านทราบดังนี้

คำว่า กามคุณ ผมหมายเอาตรง คำว่า คุณ ในที่นี่ คือ คุณะ ที่แปลว่าองค์ประกอบ

กามคุณ จึงหมายถึง องค์ประกอบของกาม มีอยู่ ๕ อย่าง

************
คำว่า กามมีโทษมาก ผมเอาความหมายของกามทั้งหมด คือ กามตัณหา
ในข้อ สมุทัย เหตุของทุกข์ ก็มาจาก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

ท่านผู้อ่านบางคน คงอ่านไม่เข้าใจในความหมายที่ผมสื่อนะครับ
กรุณาอย่าคอยจ้องจับผิดกันเลยครับ

ขอเจริญในธรรม


ทุกขสมุทัยอริยสัจ


[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ

[๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้นเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ฯ

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ฯ

จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ฯ

รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ



ท่านผู้อ่านบางคน คงอ่านไม่เข้าใจในความหมายที่ผมสื่อนะครับ
กรุณาอย่าคอยจ้องจับผิดกันเลยครับ

^U^ *
--------------------
ทุกขสมุทัยอริยสัจ

[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน

ตัณหานี้ใด อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ

[๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน

เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน

ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้นเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้

เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ

สหายธรรม นาคราช มีวิริยะในการศึกษาพระสูตร เช่นนั้น อนุโมทนา
เช่นนั้น ก็ได้แสดงวรรคตอน ในการศึกษา เพิ่มเติมเพื่อความเจริญในปัญญาอันยิ่งขึ้นไป

เจริญธรรม




ดั่งวัตถุกามทั้ง ๕ นั้น และก็หมายถึงว่าเป็นรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ อันนับว่าเป็นส่วนคุณ อันตรงกันข้ามกับโทษ


เพราะว่ารูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะนั้น

ก็มี คุณ คือเป็นสิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ จึงให้คุณคือให้ความสุขส่วนหนึ่ง

และกิเลสกามก็บังเกิดขึ้นในวัตถุเหล่านี้ ในส่วนที่เป็นคุณดังกล่าวนั้น

คือในส่วนที่ให้ความสุข ก็เป็นสิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ

ถ้าหากว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีคุณเสียเลยแล้ว กิเลสกามก็ไม่บังเกิดขึ้น
------------------

ดีจัง คุณนาคราช ได้อุตส่าห์ มีวิริยะ มาทำสิ่งที่ถูกต้องยิ่งขึ้นไป
กาม มีคุณน้อย โทษมาก

สาธุ

^U^ **


ขอบคุณมากๆเลยคำ สำหรับทุกคำแนะนำ และทำให้พอเข้าใจเรื่องกามมากขึ้น

และผมไปอ่านเจอมาอะคับเรื่องวิปัสสากรรมฐาน ชื่อ อสุภกรรมฐาน(ได้มาจากบอร์ดนี้ละคับ)

ผมอ่านดูแล้ว ก็พอสรุปว่า คือให้เรามองว่าสิ่งในโลกนี้นั้นไม่มีความสวยงาม ไม่มีกลิ่นหอม

มีแต่กลิ่นเน่าเปื่อย และ สิ่งสกปรก และผมก็ใช้ลองในชีวิตประจำวันอะคับ

แต่ก็ไม่ค่อยดีเท่าไร หรือว่าผมดูภาพคนตายยังน้อยเกินไปรึเปล่า ผมว่าผมก็ดูเยอะนะคับ

ดูไปยิ้มไป(โรคจิตแล้ว!!) ยังไม่ก็ขอคำแนะนำเรื่องอสุภกรรมฐาน ด้วยนะคับว่าจะสามารถ

ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดผมต้องประพฤติตนอย่างไร และผมมีอีกปัญหาคาใจ ดวงน้อยๆของผมมานานแล้วคับ

คือผมเคยได้ยินว่า ใครที่ไม่ได้แต่งงานหรือ หาคู่ครองไม่ได้เนี่ย จะตกนรกขุมที่1 !!!!!!!!!!!!!!

มันเป็นเพราะอะไรเหรอคับ ถ้าเป็นงั้นจริง ผมก็ยอมละคับ ขอบคุณล่วงหน้าคับ






อนุโมทนาครับท่านนาคราชตอบถูกต้องแล้ว มีคนมากมายท่ียังเข้าใจผิดคิดว่า"กามคุณ"แปลว่าคุณของกาม ถ้ากามมีคุณ
พระพุทธองค์คงไม่ทรงเตือนให้เราเพ่งโทษในกามทั้งหลายดอกครับ

พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
032 โทษของกาม

ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงอธิบายเปรียบเทียบความสุข อันเกิดแต่กามไว้อย่างไรบ้าง ?
พุทธดำรัสตอบ "..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนสุนัขอันความเพลียเพราะความหิวเบียดเบียนแล้ว พึงเข้าไปยืนอยู่ใกล้เขียงของนายโคฆาต นายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ฉลาด พึงโยนร่างกระดูที่เชือดชำแหลออกจนหมดเนื้อแล้วเปื้อนแต่เลือดไปยังสุนัข ฉันใด....
"..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง..........(ดูเต็มที่ link ครับ)"

โปตลิยสูตร ม. ม. (๔๘-๕๓)
ตบ. ๑๓ : ๔๑-๔๕ ตท.๑๓ : ๔๐-๔๓
ตอ. MLS. II : ๒๘-๓๑


http://www.84000.org/true/032.html

กามคุณ =ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี ๕ อย่าง
คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่ น่าพอใจ
ที่มา
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
http://84000.org/tipitaka/dic/v_line.php?A=125&Z=125



และก็พอเข้าใจว่า ความใคร่ต่างๆที่มีนั้น ที่จริงแล้วมาจากความกำหนัดของตนเอง
ถ้าเราเอาใจไปเกาะเกี่ยวก็จะเกิดความกำหนัดขึ้น ดังนั้น ก็ต้องมีสติตลอดเวลาให้ตามรู้ตนเองได้


อนุโมทนาครับน้อง bossboy ความคิดที่จะประพฤติพรหมจรรย์เป็นความคิดที่ฉลาดครับ สิ่งที่เราตั้ง
ใจจะทำนั้น ถ้าเรามีฉันทะ และองค์ประกอบของอิทธิบาทสี่ที่เหลือแล้วย่อมสำเร็จในสิ่งนั้นครับ

อิทธิบาท คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณเครื่องสำเร็จประสงค์,
ทางแห่งความสำเร็จ มี ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่สิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพยายามทำสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผลในสิ่งนั้น;
จำง่ายๆ ว่า มีใจรัก พากเพียรทำ เอาจิตต์ฝักใฝ่ ใช้ปัญญาสอบสวน;


พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนว่า บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียรครับ ( วิริเยน ทุกขมท เจติ)



อนุโมทนาครับท่านนาคราชตอบถูกต้องแล้ว มีคนมากมายท่ียังเข้าใจผิดคิดว่า"กามคุณ"แปลว่าคุณของกาม ถ้ากามมีคุณ
พระพุทธองค์คงไม่ทรงเตือนให้เราเพ่งโทษในกามทั้งหลายดอกครับ

-------------------------------------------------------------
ท่าน ddman
ท่านนั้นแหละ เป็นผู้ที่เข้าใจผิด และยกคำแปลของอาจาริยาวาท มาทับซ้อนพระพุทธพจน์

ท่าน ddman จงอ่านให้ดี พิจารณาให้มาก ซึ่งพระสูตร ที่เช่นนั้น ยกมาประกอบใน คห.4
ตามลิงค์นี้
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=2784&Z=3013

ในมหาทุกขักขันธสูตร ว่าด้วยกองทุกข์ใหญ่

[๑๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะ
อย่างนี้ พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็อะไรเล่าเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการถ่ายถอนของกามทั้งหลายคือ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการถ่ายถอนของรูป
ทั้งหลาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการถ่ายถอนของเวทนาทั้งหลาย? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ถูกพวกเธอถามอย่างนี้ จักไม่พอใจเลย และจักต้องคับแค้น
อย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะข้อนั้นมิใช่วิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นผู้ที่จะพึง
ยังจิตให้ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้ ในโลกเป็นไปกับด้วยเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ เป็นไปกับด้วยสมณะ และพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เว้นไว้แต่ตถาคต หรือสาวก
ของตถาคต หรือมิฉะนั้นก็ฟังจากนี้.

[๑๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นคุณของกามทั้งหลาย? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่า-
*พอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้ง
ด้วยฆานะ ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการความสุข ความโสมนัสใดเล่า อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของกาม
เหล่านี้แล
-------------------------------
เช่นนั้นโพสต์ไว้ ว่าด้วย กามคุณ คุณของกาม
กามคุณ มี5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ

คุณของกาม คือเป็นที่อาศัยให้ เกิดความสุข ความโสมนัส เป็นที่ตั้งของความกำหนัด ความปราถนา ควรมใคร่ ความพอใจ ประกอบด้วยกาม

เวลาท่านอ่า่นพุทธพจน์ ก็ต้องอ่านและพิจารณาให้ดี ว่า กามคุณ และ คุณของกาม

--------------
ส่วนโทษของกาม ก็มีแสดงในลำดับถัดมา ใน [198] และการถ่ายถอนกาม ในลำดับต่อไป ที่ [199]

หรือพิจารณา คห.10
-----------------------------------------

เช่นนั้น จำต้องท้วง เป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากพระสูตร

เจริญธรรม





[๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่รู้ชัดคุณของกาม
ทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของกามทั้งหลาย โดยความเป็นโทษ และการถ่ายถอนของกามทั้งหลาย
โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ ตามความเป็นจริง พวกนั้นน่ะหรือ จักรอบรู้กามทั้ง-
*หลายด้วยตนเอง หรือว่าจักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้กามทั้งหลาย
ได้ ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ชัดคุณของกามทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของกามทั้งหลาย โดยความเป็นโทษและการถ่ายถอน
กามทั้งหลาย โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ ตามความเป็นจริง พวกนั้นแหละหนอ
จักรอบรู้กามทั้งหลายด้วยตนเองได้ หรือจักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้
กามทั้งหลายได้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.



เมื่อได้พิจารณาถึงคุณและโทษของกามตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ผมจึงไม่สามารถกล่าวว่ากามมีคุณเลยนะครับท่านเช่นนั้น ดังนั้น ผมจึงไม่สนับสนุนให้ใครเห็น
คุณของกามครับ หากเจ้าของกระทู้มีจิตออกจากกาม ผมก็อนุโมทนาที่เขาสามารถเห็นโทษของ
กามอันเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ได้ในที่สุดครับ คนที่ยังมีจิตโน้มน้าวไปในทางเห็นคุณของ
กาม นอกจากจะไม่คิดออกจากกามแล้วก็ยังไม่สามารถมองเห็นโทษของกามได้อีกด้วยนับว่าเป็นการ ขัดขวางต่อการพ้นทุกข์โดยตรง

ส่วนคำตอบที่ว่าcolor=blue]ถ้ามีความเห็นเบื่อหน่ายในกาม ก็จะไม่อยากกามนั้นๆ เมื่อถึงเวลา ก็รู้เอง นั้น ท่านเช่นนั้น อาจไม่รู้ แต่เจ้าของกระทู้นั้น เขารู้เองแล้วครับ ไม่งั้นคงไม่เข้ามาถามเพราะเขาต้องการคำแนะนำท่ีเขาจะนำไปปฏิบัติได้ครับ

ผมขออภัยที่ทำให้ขุ่นเคืองครับ ผมตอบกระทู้ด้วยเจตนาเกื้อกูลประโยชน์แก่ผู้ถามครับ หากpostของ
ผมขัดใจท่านเช่นนั้นผมกราบขออภัยครับ


เมื่อได้พิจารณาถึงคุณและโทษของกามตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ผมจึงไม่สามารถกล่าวว่ากามมีคุณเลยนะครับท่านเช่นนั้น

^U^**

พิจารณาตามคำสอน ของพระพุทธองค์ แล้วยังไม่เห็น คุณ ของกามตามเป็นจริง
โทษ ของกามตามเป็นจริง

เช่นนั้น ก็คงไม่อาจยกพระสูตรใดๆ นอกจากท่าน ddman คงจะต้อง เห็นโทษโดยส่วนเดียว

เจริญธรรม


สาธุครับ


ท่านพระพุทธทาส ให้หลักการของคำ 4 คำ ว่า มนุษย์เราต้องเข้าใจ คำ 4 คำนี้ แยกให้ออก อย่าเอามาปนกัน คือ

กามารมณ์
สมรส(ธรรม)
สืบพันธุ์
สืบสกุล

หากเราสามารถเข้าใจความหมายของคำเหล่านี้ได้
เราจะรู้ว่า ในชีวิตนี้ ควรจะแต่งงานหรือไม่ค่ะ ^_^


สวัสดีคับ
ผมเองไม่อยากให้เกิดความขัดแย้งกันนะคับ เรื่องพระสูตรนั้น ผมเองก็ไม่ค่อยได้ใส่ใจเท่าไรหรอกคับ

ใช่ว่าทุกคนจะจำพระสูตรได้หมดนะคับ หรือว่าจะเข้าใจมันได้หมดเช่นกัน


"ความอยาก" ในการกำจัดกามนี้
ถ้าไม่ศึกษาความมุ่งหมายให้ชัด เราจะทำหลงทางไปมากทีเดียว


อุปมาเหมือนเรากำลังกินของอร่อย
แต่พยามจะบงการความคิดจิตใจว่าสิ่งเหล่านั้นไม่อร่อย
พยามจะคิดว่าความอร่อยนั่นไม่มีจริง ไม่จริง ไม่ใช่
หาอุบายหลอกตัวเองไปอย่างนั้น ซึ่งไม่ถูกนัก


การสะกดกลั้นกามตันหานั้น เอาไว้กระทำเมื่อ"ความอยาก" มันกำเริบจนเราตกอยู่ใต้อำนาจมัน
เช่นเวลามีอารมณ์ทางเพศฟุ้งขึ้นมามาก
หรือเห็นของอร่อยแล้วอยากกินมาก
หรือกระหายในบุญมากๆ จนอยากจะทำอะไรให้ได้บุญ


ถ้ามันกำเริบมากเกินไป เราก้ต้องข่มมันลง เช่นการพยามพิจารณาให้เห็นความไ่ม่สวยงาม
หรอืการดุศพต่างๆ เพื่อให้ตันหาความอยากเหล่านั้นมันลดกำลังลงมา
จนจิตใจเรามันกลับสู่สมดุลย์ ควรแก่การงาน จิตมีความพอดี
แล้วเอาจิตไปทำอะไรก็ค่อยทำ

แต่มันไม่ใช่ความมุ่งหมายที่แท้ของชาวพุทธ
พุทธ แปลว่า "รู้"
เรามีหน้าที่คอยสังเกตุรู้ ตามรู้ ตามดู บรรดาตันหาต่างๆเหล่านี้
ว่ามันเกหิดขึ้นได้อย่างไร มันตั้งอยู่อย่างไร และมันดับอย่างไร

พูดให้ชัดคือ ถ้ามีอารมณ์ทางเพศ ก้ต้องคอยสังเกตุจิตใจของเรา ว่ามันกำลังกระทำกิจกรรมอย่างไร ถึงได้เกิดอารมณ์เช่นนั้นขึ้น
อารมณ์นั้นดำรงอยู่อย่างไร และอารมณ์นั้นดับลงเพราะอะไร
เราดูอย่างนี้ไปหลายพันหลายหมื่นครั้ง
มันเกิดเมื่อไหร่ก็ดูเมื่อนั้น


ไม่ใช่การพยามหาความคิดต่างๆเพื่อมากดอารมณ์เหล่านั้นลง
เช่น พอมันเกิดทีไรก็หาอุบายให้มันสงบลงอย่างสวดมนต์ ดูพระ ไหว้พระ ดูศพ
ถ้าเราทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ สิ่งที่เราได้ก็จะมีแค่ความสงบเท่านั้น
นานเข้าๆ เราก้ติดแต่ความสงบ ถนัดในการหาความสงบ
แต่มองไม่เห็นอริยะสัจที่เกิดขึ้นในใจ

อริยะสัจ คือ ถ้ามีอารมณ์ทางเพศ ก้ต้องคอยสังเกตุจิตใจของเรา - ว่ามันกำลังกระทำกิจกรรมอย่างไร ถึงได้เกิดอารมณ์เช่นนั้นขึ้น
(จิตชอบทำกิจกรรมดังนั้นอยู่เนืองๆ อันเป็นเหตุแห่งทุกข์)

- อารมณ์นั้นจึงเกิด
(ทุกข์จึงเกิด)

- เมื่ือเรารู้ทันกระบวนการนี้ (สติเกิด) จิตจึงเลิกกระทำกิจกรรมนั้น
(มรรค)

- จึงเกิดความดับทุกข์ขึ้น (นิโรธ)


ถ้าเรามัวแต่จะข่มจิตข่มใจ เราจะไม่มีทางเห็นสิ่งเหล่านี้
เราข่มก็เฉพาะตอนที่มันตึงเกินไป หรือมันหย่อนเกินไป
หงี่จัด ก้คือความตึงเกินไป เลยต้องข่มให้มันสงบด้วยอุบายต่างๆ
หรือสงบเกินไป จนจิตนิ่ง ไม่มีกิจกรรมอะไร ก็เป้นความหย่อน

เราต้องดูจิตใจเราในสถานะการณ์ธรรมชาติไปตามจริง
ไม่ใช่ไปบงการให้มันเป็นคนดี ให้จิตมันเป้นเด็กดี
เราไม่เห้นอะไรในการดูเด็กดี เพราะเด็กดีไม่สร้างปัญหา

เราต้องการดูเด็ก หรือดุจิต ไปตามธรรมชาติของมัน
เราต้องการดูว่าจิตมันกระทำพฤติกรรมอย่างไรจึงเกิดทุกข์
เราหาสมุทัยในจิตใจเราให้เจอ
ตามดุว่ามันพัฒนาไปอย่างไรจนกลายเป้นทุกข์
เราต้องการอย่างนั้น

ถ้ายังมัวแต่คิดจะสะกดกามตันหาให้มันหมดสิ้นไปอยู่
ก้จัดว่าเป้นคนโง่

เพราะเรากำลังพยามทำจิตใจเรา ให้ได้คุณสมบัติอย่างพระอรหันต์
พระอรหันต์ที่ไม่มีตันหา ไม่ใช่ว่าท่านสะกดตันหาได้ แต่เป้นดพราะจิตของท่านไม่เอาตันหา
ท่านฝึกให้จิตของท่านเป็นอิสระจากตันหา

เวลาท่านกินข้าว ท่านก็ได้รสชาดอาหารเหมือนเราๆ
แต่ท่านจิตท่านไม่เอารสชาดเหล่านั้นมปรุงเป็นอารมณ์
ดังนั้น พระอรหันต์จะกินอะไร อร่อยแค่ไหน ก็ได้ทั้งนั้น ยังไงท่านก็ไม่ติด
แต่เราๆท่านๆนี่ต่างหาก ต้องหาอุบายทำให้มันไม่อร่อย จะได้ไม่ติด

ไม่ติดเหมือนกัน แต่คนละวิธี และประสิทธิภาพต่างกัน

คุณจึงควรจะคอยตามรู้ ตามดู ตามสังเกตุ ธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับตัวคุณ มากกว่าจะบงการธรรมชาติเหล่านั้น
สังเกตุให้เห็นธรรม กล่าวคือ ความเกิด ความมี ความดับ ของจิตใจในขณะต่างๆ
เมื่อสังเกตุจนเห็นชาชิน จิตมันจะเกิดความหน่ายคลายอยากขึ้นมาเอง

จิตเป้นประธาน จึงเกิดกายกรรม วจีกรรม
ร่างกายเกิดมีอารมณ์ความกำหนัด เพราะมีจิตเป็นประธาน
หากมัวแต่พยามทำให้ร่างกายสงบ ก็เป็นการแก้ไขปลายเหตุ
ไม่พยามเรียนรู้ว่ากระบวนการของจิต ว่า จิตกระทำพฤติกรรม โดยอาศัยบริการของอายตนะ จึงเกิดอารมณ์ขึ้น
ซึ่งพฤติกรรมนี้แหละ เป็นเหตุแห่งทุกข์ เป็นอริยะสัจจะที่ต้องมองให้ออก





เมื่อกิเลสกามบังเกิดขึ้นในสิ่งอันใด สิ่งอันนั้นก็เป็นวัตถุกามขึ้นมาทันที

เช่นเมื่อมีความอยากดิ้นรนใจไปในรูป รูปก็เป็นวัตถุกามขึ้นทันที

ในเสียงในกลิ่นในรสในโผฏฐัพพะสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งเหล่านี้ก็เป็นวัตถุกามขึ้นทันที

ถ้าหากว่ากิเลสกามไม่บังเกิดขึ้น สิ่งเหล่านั้นก็เป็นวัตถุอยู่เฉยๆ ไม่เป็นกาม



ท่านแสดงวัตถุกามไว้โดยยกที่เป็นวัตถุขึ้นเป็น ๕ คือรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

และก็เรียกกันว่า กามคุณ มีอย่าง ๕ คือว่า ๕ อย่าง เรียกเป็นศัพท์ว่าเบ็ญจพิธกามคุณ


พระพุทธเจ้าตรัสโทษของกามก็เพราะว่า

เป็นสิ่งที่ให้คุณน้อยแต่ว่ามีโทษมาก จึงได้ตรัสยกโทษของกามขึ้นมาสั่งสอน

เพื่อให้ละความติดใจเพลิดเพลินใจอยู่ในกาม


***********************
คำบรรยายโดย สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก




ขอบคุณมากๆเลยคำ สำหรับทุกคำแนะนำ และทำให้พอเข้าใจเรื่องกามมากขึ้นเยอะมากๆเลย

และผมไปอ่านเจอมาอะคับเรื่องวิปัสสากรรมฐาน ชื่อ อสุภกรรมฐาน(ได้มาจากบอร์ดนี้ละคับ)

ผมอ่านดูแล้ว ก็พอสรุปว่า คือให้เรามองว่าสิ่งในโลกนี้นั้นไม่มีความสวยงาม ไม่มีกลิ่นหอม

มีแต่กลิ่นเน่าเปื่อย และ สิ่งสกปรก และผมก็ใช้ลองในชีวิตประจำวันอะคับ

แต่ก็ไม่ค่อยดีเท่าไร หรือว่าผมดูภาพคนตายยังน้อยเกินไปรึเปล่า ผมว่าผมก็ดูเยอะนะคับ

ดูไปยิ้มไป(โรคจิตแล้ว!!) ยังไม่ก็ขอคำแนะนำเรื่องอสุภกรรมฐาน ด้วยนะคับว่าจะสามารถ

ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดผมต้องประพฤติตนอย่างไร และผมมีอีกปัญหาคาใจ ดวงน้อยๆของผมมานานแล้วคับ

คือผมเคยได้ยินว่า ใครที่ไม่ได้แต่งงานหรือ หาคู่ครองไม่ได้เนี่ย จะตกนรกขุมที่1 !!!!!!!!!!!!!!

มันเป็นเพราะอะไรเหรอคับ ถ้าเป็นงั้นจริง ผมก็ยอมละคับ ขอบคุณล่วงหน้าคับ



และผมก็ใช้ลองในชีวิตประจำวันอะคับแต่ก็ไม่ค่อยดีเท่าไร หรือว่าผมดูภาพคนตายยังน้อยเกินไปรึเปล่า ผมว่าผมก็ดูเยอะนะคับดูไปยิ้มไป(โรคจิตแล้ว!!)

ที่ยิ้มนั้นเพราะอะไร ลองถามใจตัวเองดูสิครับ ขำ ดีใจหรือเป็นความรู้สึกอะไร? ถ้าพิจารณา(มาก)แล้วจิตยังมี
ราคะกล้าอยู่ ก็อาจเป็นไปได้ว่าไม่เหมาะกับจริตของตน ต้องหากรรมฐานหรือข้อสำหรับพิจารณา
ใหม่ เช่นให้พิจารณาว่าเขาเป็นมารดาของเรา เป็นน้องสาว พี่สาว ป้า น้า อาฯลฯของเรา การคิดเรื่องกามราคะ
ต่อบุคคลเหล่านี้ย่อมไม่สมควรเป็นต้น

และผมมีอีกปัญหาคาใจ ดวงน้อยๆของผมมานานแล้วคับ
คือผมเคยได้ยินว่า ใครที่ไม่ได้แต่งงานหรือ หาคู่ครองไม่ได้เนี่ย จะตกนรกขุมที่1 !!!!!!!!!!!!!!


ตรงนี้อ่านแล้วขออนุญาต "ย้ิม"ครับ
ไม่ทราบว่าผู้ใดมากล่าวหลอกเด็กๆ สงสัยคนแก่กลัวไม่มีหลานสืบสกุล เลยใช้อุบายหลอกแบบขู่ อันนี้เป็นการล่วง อกุศลกรรมบทข้อมุสาวาท(โกหก) และสัมผัปปลาป(การพูดเพ้อเจ้อ) มีผลที่จะได้ ไปนรกในเบื้องหน้า เพราะพูดในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง 1 และ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เพื่อการพ้นทุกข์ 1


หลักสำหรับพิจารณาเหตุอันจะนำไปสู่นรก คือ การทำ พูด คิดใดๆท่ีเป็นการล่วงอกุศลกรรมบท 10 จะมีผลนำไปสู่อบายวินิบาตนรกโดยถ่ายเดียว

อกุศลกรรมบท 10 ได้แก่

[321] อกุศลกรรมบถ 10 (ทางแห่งอกุศลกรรม, ทางทำความชั่ว, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์ หรือทุคคติ — unwholesome course of action)
ก. กายกรรม 3 (การกระทำทางกาย — bodily action)
1. ปาณาติบาต (การทำชีวิตให้ตกล่วง, ปลงชีวิต — destruction of life; killing)
2. อทินนาทาน (การถือเอาของที่เขามิได้ให้ โดยอาการขโมย, ลักทรัพย์ — taking what is not given; stealing)
3. กาเมสุมิจฉาจาร (ความประพฤติผิดในกาม — sexual misconduct)

ข. วจีกรรม 4 (การกระทำทางวาจา — verbal action)
4. มุสาวาท (การพูดเท็จ — false speech)
5. ปิสุณาวาจา (วาจาส่อเสียด — tale-bearing; malicious speech)
6. ผรุสวาจา (วาจาหยาบ — harsh speech)
7. สัมผัปปลาปะ (คำพูดเพ้อเจ้อ — frivolous talk; vain talk; gossip)

ค. มโนกรรม 3 (การกระทำทางใจ — mental action)
8. อภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา — covetousness; avarice)
9. พยาบาท (คิดร้ายผู้อื่น — illwill)
10. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิดจากคลองธรรม — false view; wrong view)


ที่มา
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CD%A1%D8%C8%C5%A1%C3%C3%C1%BA%B6

ดังนั้นคุณ bossboy คงพอวินิจฉัยได้แล้วว่าคนไม่แต่งงานเป็น "เหตุ"ให้ไปนรกได้หรือไม่ อันที่จริงพระพุทธองค์ได้เคยตรัสถึงการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐเช่นการแสวงหาบุตรภรรยาเป็นต้น เพราะเหตุไร เพราะเราเองก็มีขันธ์5 ที่ต้องเป็นไปกับชาติชรามรณะอยู่เองแล้ว
ทำไมจึงยังแสวงหาขันธ์5 อื่นๆมาเพิ่มทุกข์ให้ตนอีกเล่า

พระองค์ยังทรงสรรเสริญการประพฤติพรหมจรรย์คืิอการออกจากเรือนเพื่อมุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ อีกด้วย ดังนั้น พระที่ออกบวชโดยไม่เคย แต่งงานเลยมิตกนรกกันหมดหรือ? คิดดูว่ามันสมเหตุผลหรือไม่ครับที่จริง

ทางที่จะได้ไปนรกมากกว่าน่าจะเป็นการแต่งงานนี่เอง ไม่เชื่อลองมองไปรอบตัวสิครับ ดูว่าคนแต่งงาน
มีโอกาสที่จิตจะเป็นกุศลยากหรือง่ายครับ?



สวัสดีคับ ขอบคุณมากๆเลยคับ สำหรับคำแนะนำของพี่ddman ทำให้ผมเข้าใจอะไรมาก

ขึ้นเยอะเลยคับ(ผู้ใหญ่โกหกผมหรือเนี้ย)

ส่วนเรื่องไม่แต่งงานแล้วตกนรกนี้ผมเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิมอีกคับ ผมเองก็รู้สึกเหมือนกัน

ว่าถ้าแต่งงานไปทุกข์เยอะกว่าเก่าแน่ๆ แค่นี้ก็ทุกข์เยอะอยู่แล้ว งั้นแสดงว่าที่ผมมี

มีแนวความคิดแบบนี้ก็คงจะไม่โรตจิตสินะคับ

ส่วนที่ดูภาพคนตายและยิ้มไปอะคับคือผมดูจนเกือบนะเกือบชินตาอะคับ

และนึกเสมอว่าคนที่นอนอยู่ในรูปอะคับ คือตัวผมเอง ตายในแบบหลายๆท่า ขาดบ้าง เละบ้าง

ดูไปก็ปลงไปอะคับ


มีแนวความคิดแบบนี้ก็คงจะไม่โรตจิตสินะคับ

อนุโมทนาสาธุครับคุณbossboy บัณฑิตเรียกว่าความคิดของผู้มีสิทธิ
และโอกาสที่จะพ้นทุกข์ครับ ดูประวัติพระอัครสาวกส่วนมากสิครับ ท่านมีความคิดออกจากโลกกันทั้งนั้นแหละครับ บางท่านขนาดพ่อแม่จับแต่งงานกัน แล้วยังสัญญากันว่าจะต่างคนต่างประพฤติพรหมจรรย์ คนที่ได้สั่งสมอุปนิสัยในการเห็นโทษของกามเท่านั้นที่จะสามารถคิดและรู้สึกแบบนี้ได้แม้อายุจะอยู่ในวัยรื่นเริงเช่นนี้ครับ
จะเรียกว่าเป็นผู้มีบุญก็คงไม่ผิด เพราะเป็นความรู้สึกท่ีเป็นธรรมชาติไม่ใช่การเก็บกด



ส่วนที่ดูภาพคนตายและยิ้มไปอะคับคือผมดูจนเกือบนะเกือบชินตาอะคับ
และนึกเสมอว่าคนที่นอนอยู่ในรูปอะคับ คือตัวผมเอง ตายในแบบหลายๆท่า ขาดบ้าง เละบ้าง
ดูไปก็ปลงไปอะคับ


สาธุครับ แล้วที่ยิ้มนั้นเพราะดีใจหรืิอนึกสนุกครับ ? แล้วรู้สึกว่าร่างกายนี้มันน่าเบื่อ หรือเปล่าครับ? เห็นว่ากายนี้เป็นสิ่งสกปรกน่ารังเกียจใหมครับ หรือ ยังเห็นว่าเรายังไงๆก็เท่ห์อยู่ดี?


สวัสดีคับ คืองี้คับที่ ผมดูภาพคนตายเหล่านั้นแล้วยิ้มนี้คือ ผมดีใจอะคับที่ผมดูภาพพวกนี้และไม่รู้สึกอะไรเลยทั้ง กลัว ตกใจ รังเกียจ

แต่เมื่อก่อนนั้นผมดูภาพนี้แล้ว ผมหันหน้าหนีเลยน่ะคับ แต่ก็แปปเดียวเท่านั้นเพราะหลังจากนั้น

ผมก็ดูอย่างปกติเหมือนเป็นภาพๆหนึ่ง แต่ผมก็พิจารณาภาพเหล่านั้นด้วยว่า คนที่ตายนั้นเป็น ชาย หรือหญิง

ตายยังไง เละไหม เน่าไหม ขาดเป็นท่อนๆไหม หรือ นอนปกติเหมือนคนนอนหลับไป

หวังว่าผมคงตอบได้ดีนะคับ ก็ผมรู้สึกอย่างนั้นจริงๆนี้นา

อีกเรื่องอะคับ ที่อยากจะถาม"เรื่องอสุภกรรมฐาน" คือให้ช่วยอธบายให้หน่อยอะคับ

ตอนนี้ผมเข้าใจแค่ว่า สมมุติเวลาเจอคนสวยๆเดินผ่านไป(ผมพึ่ง 17 เองคับ เรื่องแบบนี้ก็มีบ้าง)

ผมก็ตั้งสติมอง คนๆนั้นแต่เห็นแบบ โครงกระดูกบ้าง กล้ามเนื้อสีแดงๆกำลังเคลื่อนไหว

หรือ มองเป็นคนที่กำลังแก่ลงเรื่อยๆ หน้าเริ่มมีตีนกา ผิวหนังหน่อยยาน และเริ่มเน่าไปเลยๆ

ตัวเริ่มพองอะไรประมาณนั้นอะคับ คือผมกำลังมองแบบอสุภกรรมฐานรึเปล่าคับ หรือ

จินตนาการเพ้อไปเอง




หวังว่าผมคงตอบได้ดีนะคับ ก็ผมรู้สึกอย่างนั้นจริงๆนี้นา

ไม่มีคำตอบที่ดี-ไม่ดีดอกครับ ที่ถามเพราะอยากทราบสภาวะจิตที่ทำให้ย้ิมครับ ผมคิดว่าจิตที่ย้ิมนั้นเป็นจิตโสมนัส (ดีใจ) เริ่มมีีปัญญาประกอบ เพราะเกิดการมนัสสิการด้วยการ แต่ผมก็พิจารณาภาพเหล่านั้นด้วยว่า คนที่ตายนั้นเป็น ชาย หรือหญิง
ตายยังไง เละไหม เน่าไหม ขาดเป็นท่อนๆไหม หรือ นอนปกติเหมือนคนนอนหลับไป

จึงไม่ได้เกิดความกลัวหรือแม้แต่รังเกียจที่จะดูต่อไป มิหนำซ้ำ ยังนำเข้ามาพิจารณากับตัวเองให้เป็นศพ ในท่าต่างๆดังเล่ามาใน post ก่อน คนที่ไม่มีอุปนิสัยในการพิจารณาเช่นนี้มาก่อน (สั่งสมมาจากชาติก่อนๆ)
แล้ว ย่อมทำไม่ได้ง่ายๆเลย ขออนุโมทนายิ่งครับ

อีกเรื่องอะคับ ที่อยากจะถาม"เรื่องอสุภกรรมฐาน" คือให้ช่วยอธบายให้หน่อยอะคับ
ตอนนี้ผมเข้าใจแค่ว่า สมมุติเวลาเจอคนสวยๆเดินผ่านไป(ผมพึ่ง 17 เองคับ เรื่องแบบนี้ก็มีบ้าง)


เป็นเรื่องธรรมดาครับ คงหลบเลี่ยงได้ยากตราบเท่าท่ียังเป็นปุถุชน

ผมก็ตั้งสติมอง คนๆนั้นแต่เห็นแบบ โครงกระดูกบ้าง กล้ามเนื้อสีแดงๆกำลังเคลื่อนไหว
หรือ มองเป็นคนที่กำลังแก่ลงเรื่อยๆ หน้าเริ่มมีตีนกา ผิวหนังหน่อยยาน และเริ่มเน่าไปเลยๆ
ตัวเริ่มพองอะไรประมาณนั้นอะคับ คือผมกำลังมองแบบอสุภกรรมฐานรึเปล่าคับ หรือ
จินตนาการเพ้อไปเอง


นี่แหละคือการพิจารณาอสุภกรรมฐานภาคปฏิบัติแล้ว คุณทราบได้อย่างไร?!!!
ขอแสดงความยินดีในความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดของคุณด้วยความจริงใจ!!!
คุณอายุเพียงเท่านี้แต่สามารถคิดเพ่งอสุภะในชีวิตจริงได้ นี่คือความพิเศษ
อย่างยิ่ง เพราะนี่คือการปฏิบัติที่พระสายวัดป่าฝึกเป็นส่วนใหญ่ คุณควร
ได้รับคำแนะนำท่ีถูกต้องจากผู้ท่ีรู้จริงเพื่อความก้าวหน้าในทางธรรมะต่อไป

หากมีโอกาสได้พบพระสุปฏิปัณโน หรือครูอาจารย์ท่ีสอนธรรมะ ขอให้
สอบถามขอคำแนะนำจากท่านครับ

เวลานี้ ก็สามารถเพ่งอสุภะดังท่ีคุณทำอยู่แล้วให้เป็นปรกติ น้อมให้เห็นว่าทั้งเราและเขาก็มีความไม่ต่างกัน
ไม่มีอะไรน่ารักน่าช่ืนชมเลย เพื่อทำลาย "สุภสัญญา" คือความเห็นผิดว่าเราสวยงาม ดูดี สะอาด
อันเป็นสัญญาวิปลาสคือความหมายรู้ท่ีผิดพลาดของปุถุชนผู้ยังมีกิเลสอยู่ครับ



น่าสนใจคะ


 4,106 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย