วิปัสสนา


สุญญตาแนวเถรวาท


พระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๑ ขุททกนิกาย
มหานิทเทส อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕


[๘๖๕] .....

สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรโมฆราช ท่านจงมีสติพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ถอนอัตตานุทิฏฐิ (ความเห็นว่าสิ่งต่างๆ ในโลกเป็นอัตตา ตัวตน - ธัมมโชติ) เสียแล้ว พึงเป็นผู้ข้ามพ้นมัจจุ (ความตาย - ธัมมโชติ) ได้ด้วยอาการอย่างนี้ มัจจุราชย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้.

(คือเมื่อเห็นว่าโลกว่างเปล่าจากตัวตน หรือของๆ ตน ก็ย่อมพ้นจากความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง จึงพ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไปได้ เพราะไม่มีกิเลสคอยดึงจิตให้ต้องเกิดอีก ดูเรื่องปฏิจจสมุปบาท ในหมวดธรรมทั่วไป ประกอบ - ธัมมโชติ)


แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.


ว่าด้วยโลกสูญ

ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่าโลกสูญ โลกสูญ ดังนี้. ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล พระองค์จึงตรัสว่าโลกสูญ โลกสูญ.

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ เพราะสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่าโลกสูญ. ดูกรอานนท์ ก็สิ่งอะไรที่สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูกรอานนท์ จักษุสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน รูปก็สูญ ... จักษุวิญญาณ ... จักษุสัมผัส ... สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนา (เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข - ธัมมโชติ) ก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็สูญ

หู ... เสียง ... จมูก ... กลิ่น ... ลิ้น ... รส ... กาย ... โผฏฐัพพะ ... ใจ ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน

ดูกรอานนท์ เพราะโลกสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า โลกสูญ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่าความกังวล อะไรๆ ว่าสิ่งนี้ของเรา หรือว่าสิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.



วิปัสสนา
ทุกข์เกิดจากอะไร กิเลสเกิดจากอะไร กิเลสดังได้อย่างไร วิปัสสนาคืออะไร ฐานสำหรับเจริญวิปัสสนา การเจริญวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน ข้อควรจำสำหรับผู้ต้องการพ้นทุกข์ สัญโยชน์ 10 พุทธพจน์เกี่ยวกับวิปัสสนา อริยบุคคล 8 ประเภท อานาปานสติสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร ทำไมไม่พูดถึงวิปัสสนาญาณ อย่าทำวิปัสสนา-เพื่อหวังเกิดเป็นอะไร อริยบุคคล7ประเภท(ตามการบรรลุ) โพชฌงค์ 7 โยนิโสมนสิการ อาจารย์และศีลจำเป็นหรือไม่ รูปนามกำลังแสดงธรรมชาติให้เห็น โทษของกาม ทุกขเวทนากับทุกข์ในไตรลักษณ์ ศีลเป็นฐานของอริยมรรค ดอกไม้อริยะ สมถะกับวิปัสสนา การเจริญสัญญา 10 ประการ สมัยพุทธกาลมีผู้เข้าใจผิดเรื่องมรรคผล พิจารณาแล้วไม่เกิดปัญญาเสียที สุญญตาแนวเถรวาท การฝึกสติในชีวิตประจำวัน ธรรมชาติของชีวิต อริยบุคคลที่ต้องรีบบวช



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย