วิปัสสนา


ข้อควรจำสำหรับผู้ต้องการพ้นทุกข์

ผู้ที่ปรารถนาความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงควรเตือนใจตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้มีสิ่งเหล่านี้คือ


อาตาปี ( ความเพียรเพื่อเผากิเลส ) - มีความเพียรที่จะตามดูตามรู้ธรรมชาติของรูป/นามหรือกาย/ใจ เพื่อศึกษา ให้เห็นธรรมชาติที่แท้จริงของรูป/นาม เพื่อความคลายความยึดมั่นถือมั่นในรูป/นาม ซึ่งจะทำให้กิเลสทั้งหลายถูกทำลายลงไปในที่สุด


สติมา ( ความระลึกได้) - มีสติระลึกได้อยู่เสมอว่า ขณะนี้รูป/นามหรือกาย/ใจ โดยเฉพาะจิตใจอยู่ในสภาวะอย่างไร


สัมปชาโน ( สัมปชัญญะ - ความรู้ตัวทั่วพร้อม ) - สังเกตให้เห็นอย่างชัดแจ้งถึงสภาวะที่แท้จริง ของรูป/นาม หรือกาย/ใจ ที่ปรากฎในขณะนั้น ( ที่สติระลึกรู้อยู่นั้น ) คือสังเกตรายละเอียดต่าง ๆ ของสภาวะนั้น ๆ ให้เห็นชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ เช่น สภาวะของจิตขณะโกรธมีความเร่าร้อนอย่างไร ทำให้เกิดความทุกข์อย่างไร ทำให้จิตเศร้าหมองอย่างไร มีความพลุ่งพล่านของจิตอย่างไร มีความกระทบกระทั่งภายในใจอย่างไรบ้าง เกิดขึ้นได้อย่างไร บังคับได้หรือไม่ ตั้งอยู่ได้นานหรือไม่ แปรปรวนไปเรื่อย ๆ หรือไม่ ความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นที่บริเวณไหนของร่างกายหรือจิตใจ ฯลฯ


เมื่อจิตอยู่ในสภาวะอื่น ๆ ก็สังเกตทำนองเดียวกันนี้ เรื่องสัมปชัญญะนี้ใหม่ ๆ ก็จะยังเห็นไม่ชัดเจนและเห็นรายละเอียดได้ไม่กี่อย่าง แต่เมื่อปฏิบัตินานขึ้น ก็จะเห็นรายละเอียดชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ เอง และวันหนึ่งข้างหน้า ก็จะสามารถเห็นแจ้งแทงตลอด ในธรรมชาติของรูป/นามได้เอง ซึ่งหมายถึงความพ้นทุกข์ที่อยู่ไม่ไกลเลย



วิปัสสนา
ทุกข์เกิดจากอะไร กิเลสเกิดจากอะไร กิเลสดังได้อย่างไร วิปัสสนาคืออะไร ฐานสำหรับเจริญวิปัสสนา การเจริญวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน ข้อควรจำสำหรับผู้ต้องการพ้นทุกข์ สัญโยชน์ 10 พุทธพจน์เกี่ยวกับวิปัสสนา อริยบุคคล 8 ประเภท อานาปานสติสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร ทำไมไม่พูดถึงวิปัสสนาญาณ อย่าทำวิปัสสนา-เพื่อหวังเกิดเป็นอะไร อริยบุคคล7ประเภท(ตามการบรรลุ) โพชฌงค์ 7 โยนิโสมนสิการ อาจารย์และศีลจำเป็นหรือไม่ รูปนามกำลังแสดงธรรมชาติให้เห็น โทษของกาม ทุกขเวทนากับทุกข์ในไตรลักษณ์ ศีลเป็นฐานของอริยมรรค ดอกไม้อริยะ สมถะกับวิปัสสนา การเจริญสัญญา 10 ประการ สมัยพุทธกาลมีผู้เข้าใจผิดเรื่องมรรคผล พิจารณาแล้วไม่เกิดปัญญาเสียที สุญญตาแนวเถรวาท การฝึกสติในชีวิตประจำวัน ธรรมชาติของชีวิต อริยบุคคลที่ต้องรีบบวช



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย