ไม่สมควรอย่างยิ่งค่ะ
ผิดพระวินัยสงฆ์ ต้องอาบัติ
ไปแจ้งพฤติกรรมนี้แก่พระผู้ใหญ่ที่ปกครองวัดอยู่ให้ตักเตือนได้ค่ะ
เข้าใจว่าคงเป็น "พระภิกษุ"(นักบวชผู้ศึกษาพระธรรมวินัย)เป็นธรรมดาขอรับ (วินัยสงฆ์ถ้ายังไม่ถึงโสดาบันก็ผิดวินัยทุกท่านและขอรับ)
ท่านต้องทำความเข้าใจ คำว่า "พระสงฆ์" กับคำว่า "ภิกษุ" เสียให้ถ้องแท้เสียก่อนขอรับ
เดียวนี้มีมาก เห็น ภิกษุห่มผ้าเหลือง เรียกว่า "พระสงฆ์" หากพระสงฆ์มีมากก็ดีสิขอรับ
"พระสงฆ"์ ในความหมายของพุทธศาสนานี้ คือ โสดาบันขึ้นไปขอรับ ท่านไม่คดในข้อไม่งอในกระดูกของท่านง่ายๆดอกขอรับ
http://www.dhammathai.org/monk/phrasong.php
การศึกษาพระธรรมเป็นสิ่งที่ดีขอรับ แต่ต้องศึกษาบาลี หากไม่ศึกษาบาลีก็ศึกษาอรรถที่ให้ใว้คู่กับหัวข้อธรรมนั้นๆ
ตัวอย่างเช่น
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/sutta01.php
แก้คำตกขอรับ
เป็นธรรมดาขอรับเป็นภิกษุหากไม่ "สำรวม" "ประมาท" (วินัยสงฆ์ถ้ายังไม่ถึงโสดาบันก็ผิดวินัยทุกท่านและขอรับ)
http://webboard.news.sanook.com/forum/index.php?topic=2199431
http://webboard.news.sanook.com/forum/index.php?topic=2186568
เมื่อตอนเข้ามาบวชอย่ในพระพุทธศาสนา ห่มผ้ากาสาวพัตรแล้ว
ได้ปาวณาตนรับอยู่ในพระธรรมวินัย 227 ข้อแล้ว หากคิดว่าการผิดพระธรรมวินัยอวดอุตริ ทำตนเป็นผู้มีมนต์ขลังครอบขันธ์ อันเป็นวิชาคุณไสย์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตำหนิ และจัดผิดพระธรรมวินัยถึงอาบัติ์ แล้วยิ่งเป็นการครอบครูเศียรฤาษีซึ่งไม่ใช่สิ่งที่พระสงฆ์พึ่งปฏิบัตินอกศาสนา แต่ปัจจุบันกลับเลี่ยงบาลี เล่นคำพระสงฆ์ กับภิกษุ
เห็นการปฏิบัติผิดพระธรรมวินัยเรื่องธรรมดา...อนาคตกาล ที่กล่าวกันว่า
การแสดงฐานะตนเป็นพระสงฆ์ มีเพียรผ้าเหลืองแหน็บหู เสพกามเหมือนชาวบ้าน
ก็ไม่น่าจะเกินความนักหรอกนะคะ
ก็ในปัจจุบัน วงการในพระพุทธศาสนา ทั้งพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนวางใจ
เห็นเป็นของธรรมดาไปเสียแล้ว พระธรรมวินัยคงจะค่อยๆจางหายไปจากความศรัทธา
ตรงต่อพระรัตนไตร นี่หระ การเริ่มต้นแห่งความเสื่อมของชาวพุทธหระ
.. ปลงซะเถิดแม่จำเนียร!!
การมีศรัทธาเป็นสิ่งที่ถูกขอรับหากการศรัทธานั้นชอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา
ศรัทธา แปลตรง ๆ ก็แปลว่า ความ
เชื่อ แต่จะว่าตามหลักในพระบาลี
ที่ปรากฏเป็นพระพุทธภาษิตแสดงไว้
อย่างเดียว คือ ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อ
พระปัญญาตรัสรู้ของตถาคต อันหมาย
ความถึงพระพุทธเจ้า, แต่ว่าพระอาจารย์
ท่านแสดงออกไปอีก ๓ คือ :-
กัมมสัทธา เชื่อกรรม คือ กิจการ
งานที่บุคคลทำว่า ทำดีก็ให้ผลดี ทำชั่ว
ก็ให้ผลชั่วอย่างหนึ่ง.
วิปากสัทธา เชื่อวิบาก คือ เชื่อ
ผลที่สุกมาจากกรรม เช่น ผลที่ดีก็สุก
มาจากกรรมที่ดี ผลที่ชั่วก็สุกมาจาก
กรรมที่ชั่ว ศัพท์ว่า วิบาก นี้ ภาษา
บาลีแปลว่า สุก หรือ สุกวิเศษ หมาย
ถึงว่า ต่อเนื่องมาจากเหตุ เป็นส่วนผล
หรือ ผล, ที่เราเรียกว่าผลไม้ เพราะ
เป็นส่วนที่ผลิตออกมา, วิบากหรือผล
หมายความอย่างเดียวกัน. แต่คนไทย
เข้าใจอีกอย่างหนึ่งก็มี คือ วิบากหมาย-
ถึงลำบาก ลำบากยากเข็ญอย่างไร เรา
ก็เรียกว่าวิบาก นี่ผิดเรื่องผิดราว แต่ก็
นิยมใช้กันไป ในที่นี้วิบาก หมายถึงผล
ที่สุกมาจากกรรม, วิปากสัทธา เชื่อผล
ที่สุกมาจากกรรม ว่าผลที่ดีมาจากรรม
ที่ดี ผลที่ชั่วมาจากกรรมที่ชั่ว นี่อีก
อย่างหนึ่ง.
กัมมัสสกตาสัทธา, กัมม ก็กรรม
กัมมัสสกะ มีกรรมเป็นของ ๆ ตน กัม-
มัสสกตา ความที่สัตว์ที่กรรมเป็นของ ๆ ตน
รวมกันเข้าเป็น กัมมัสสกตาสัทธา, เชื่อ
ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน หมาย
ความว่า ทั้งเหตุ ทั้งผล รวมลง ที่คน,
เมื่อคนทำเหตุคือกรรมดี ก็เผล็ดผลดี
กรรมและผลที่ดีก็รวมลงอยู่ที่บุคคล, เมื่อ
บุคคลทำกรรมที่ชั่ว เผล็ดผลที่ชั่ว เหตุผล
ที่ชั่วก็รวมลงที่บุคคล, จึงเรียกว่า กัมมัส-
สกตา ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน,
เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน ชื่อ
ว่า กัมมัสสกตาสัทธา อีกอย่างหนึ่ง.
รวมเป็น ๓, เป็น ๔, ทั้ง ตถาคต-
โพธิสัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระ
ตถาคต. นี้ท่านแยกออกไปเป็น ๔, แต่
เมื่อพิจารราแล้วจะเห็นว่ารวมกันได้ คือ
เมื่อเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต
ก็ต้องเชื่อคำสั่งสอนของพระตถาคต. คำสั่ง
สอนของพระตถาคตก็แสดงกรรมแสดง
วิบาก คือ ผล และแสดงว่าทั้งกรรมทั้ง
วิบากก็รวมลงที่บุคคล. เพราะฉะนั้น เชื่อ
กรรม เชื่อวิบาก เชื่อความที่สัตว์มีกรรม
เป็นของตน ก็รวมอยู่ในตถาคตโพธิสัทธา
เชื่อพระปัญญาตรัสรู้และพระตถาคตนั่น
เอง. และความเชื่อนั้นท่านก็แยกออกเป็น
ชนิด แล้วแต่เหตุ:
เชื่อตามคำเขาบอกเล่า ได้ฟังเกิดความ
รู้ขึ้น ความรู้นั้นเรียกว่า สุตามยปัญญา
ปัญญาที่เกิดแต่การฟัง, ความเชื่อที่เกิด
เพราะปัญญาที่สำเร็จมาแต่การฟัง ไม่ได้
พิจารณาสอบสวนเลือกฟั้นให้แน่นอน
ท่านจัดว่าเป็น อธิโมกข์ คือน้อมใจเชื่อ
ไปตาม เช่นเขาบอกว่ากาขาวมีที่นี่ที่นั่น
ก็เชื่อ หรือเขาบอกว่านกยางดำก็เชื่อ
เช่นนี้ไม่เป็นสัทธาแท้. แต่ " เชื่อ " ตาม
ศัพท์ก็ว่า สัทธา สัทธาเช่นนี้ท่านเรียนว่า
อธิโมกข์ คือน้อมใจเชื่อไป นี่อย่างหนึ่ง.
พิจารณาด้วยตัวเอง จับเหตุจับผลมา
พิจารณาจนเห็นจริงเกิดความรู้ขึ้น ความรู้
นั้นเรียกว่า จินตามยปัญญา ปัญญาที่
สำเร็จด้วยความคิด. ความเชื่อที่สืบเนื่อง
มาจากจินตามยปัญญา เป็นสัทธาความเชื่อ
แต่ว่าไม่แน่ ไม่มั่นคง เพราะบางคราวคิด
พิจารณาสอบสวน เห็นอย่างหนึ่งก็เชื่อ
ไปอย่างหนึ่ง ต่อมาพิจารณาสอบสวน
เห็นเปลี่ยนแปลงไปแล้วก็เชื่อไปอีกอย่าง
หนึ่ง, เพราะฉะนั้น สัทธาความเชื่อเช่นนี้
จึงเป็น จลสัทธา ความเชื่อที่หวั่นไหวได้.
ภาวนา การทำให้มี ให้เป็น ให้เกิด
ขึ้น และเกิดความรู้ขึ้นตามที่ทำให้มี ให้
เป็น เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ปัญญา
ที่สำเร็จเพราะภาวนา, สัทธา ความเชื่อที่
สืบเนื่องมาจากภาวนามยปัญญานี้เป็น
อจลสัทธา เชื่อแน่นอนไม่หวั่นไหว,
เทียบตัวอย่างได้เช่น เขาบอกว่าไฟร้อน
เราได้ยินเกิดความรู้ขึ้น ความรู้นั้นเป็น
สุตามยปัญญา เชื่อตามนั้นไม่ได้พิจารณา
จึงเป็นอธิโมกข์, พิจารณาดูอาการของไฟ
ที่เผาเชื้อ ร้อน ไหม้ อะไรต่าง ๆ ทำให้
เป็นถ่านเป็นเถ้า แล้วก็มอดหมดไป,
พิจารณาจับเหตุจับผลเช่นนี้ ก็ดูท่าว่าจะ
ร้อนจริง ๆ จึงทำให้เป็นเช่นนี้. ความรู้
ที่เกิดจากพิจารณาเช่นนี้ เป็นจินตามย-
ปัญญา, เชื่อที่สืบเนื่องมาจากจินตามย-
ปัญญาจึงเป็นจลสัทธา เพราะไม่แน่เป็น
แต่พิจารณาจับเหตุจับผลเท่านั้น, ต่อเมื่อ
เอามือทิ่มไฟเข้า หรือไฟลนมือเข้า เป็น
ภาวนา, ปัญญาความรู้ที่เกิดขึ้นเรียกว่า
ภาวนามยปัญญา. ความเชื่อที่สืบมาจาก
ภาวนามยปัญญา จึงจัดเป็นอจลสัทธา
เชื่อที่แน่นอนไม่หวั่นไหว นี่อย่างหนึ่ง.
( โอ. ๑/๑๔๓-๑๔๖ ).
อนึ่ง ศรัทธานั้น ได้แก่ความเชื่อการณ์
ที่ควรเชื่อ อันประกอบด้วยเหตุผล คือ
ไตร่ตรองด้วยปัญญา หาเหตุหาผลให้เห็น
จริงแก่ใจจึงเชื่อ. ความเชื่อที่เป็นศรัทธานี้
เป็นไปแต่ในส่วนข้างดีอย่างเดียว เพราะ
ฉะนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงทรง
สรรเสริญว่า เป็นกำลังอย่าง ๑ คือ สทฺธา-
พลํ, เป็นอินทรีย์อย่างหนึ่ง คือ สทฺธินฺ-
ทฺรียํ, เป็นทรัพย์อย่างหนึ่ง คือ สทฺ-
ธาธานํ. และว่า สทฺธาย ตรติ โอฆํ
บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยสัทธา, สทฺธีธ
วิตฺตํ ปุริสสฺส เสฏฺ€ํ ศรัทธาเป็นทรัพย์
อันประเสริฐของบุรุษเป็นต้น. ศรัทธา
ความเชื่อ ที่ประกอบด้วยเหตุผลนี้ ท่าน
จำแนกไว้หลายประการ คือ กัมมสัทธา
เชื่อต่อกรรม คือ เชื่อว่ากรรมดีที่เป็น
กุศล เป็นเหตุแห่งสุขโสมนัส กรรมชั่ว
เป็นอกุศล เป็นเหตุแห่งทุกข์โทมนัส ดังนี้
ชื่อกัมมสัทธา ๑, วิปากสัทธา เชื่อต่อผล
ของกรรม คือ เชื่อว่าสุขโสมนัสเป็นผล
ของกุศลกรรม, ทุกข์โทมนัสเป็นผลของ
อกุศลกรรม, ดังนี้ ชื่อว่า วิปากสัทธา ๑,
กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าความที่สัตว์มี
กรรมเป็นของตน คือ เชื่อว่าสัตว์เมื่อทำ
อะไรลงไปดีหรือชั่วก็ตาม ก็จะได้รับผล
ของกรรมนั้น สัตว์ที่ได้ดีมีสุขสบายต่าง ๆ
ก็เพราะได้ทำกรรมดีไว้ สัตว์ที่มีความ
ทุกข์ยากไม่สบายต่าง ๆ ก็เพราะได้ทำ
กรรมชั่วไว้ สัตว์จะได้ดีหรือชั่วก็เพราะ
กรรมที่ตนได้ทำไว้นั่นเองให้ผล ดังนี้ ชื่อ
กัมมัสสกตาสัทธา ๑ ตถาคตโพธิสัทธา
เชื่อต่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต ๑,
เมื่อบุคคลมีสัทธาความเชื่ออยู่ในสันดาน ก็
จะละกรรมชั่วต่าง ๆ ด้วย กาย วาจา ใจ ให้
เจริญมาก กุศลวิบาก คือ ผลอันดีก็จะเกิด
มีแก่ผู้นั้นมิได้ขาดสาย ทั้งเป็นเหตุให้ประ
กอบด้วยธรรม ๔ ประการ คือ สัจจะ ทมะ
ธิติหรือขันติ และจาคะ ก็จะได้ประสบสุข
ยิ่ง ๆ ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า. ( วชิร.
๑๗๙ ).
อนึ่ง ถ้อยคำที่สดับฟังนั้นก็มีเป็นอัน
มาก เป็นถ้อยคำที่เป็นสุภาษิตคือกล่าวดี
ก็มี เป็นถ้อยคำที่เป็นทุพภาษิต คือ กล่าว
ชั่วก็มี, และผู้พูดให้ฟัง ก็มีความประสงค์
ต่าง ๆ กัน ที่ประสงค์ดีก็มี ที่ประสงค์ร้าย
ก็มี. เหตุฉะนี้ ผู้ฟังจึงควรใช้ปัญญาใคร่
ครวญให้รู้ทั่วถึงถ้อยคำนั้น ๆ ว่าเป็นเช่น
ไร, และผู้พูดมีความประสงค์อย่างไร
เพราะการสดับฟังนี้แล เป็นเหตุให้เกิด
สัทธาความเชื่อ ความเชื่อเป็นเหตุให้ได้
สมาทานคือถือตาม, สัทธาและสมาทาน
รวมเรียกว่าเชื่อถือ เนื่องมาจากสุตะการ
สดับฟัง เป็นเบื้องต้น ถ้าฟังแล้วเชื่อ
ด้วยไม่ใช้ปัญญาใคร่ครวญก่อน ความเชื่อ
ก็เป็นสัทธาญาณวิปปยุต คือความเชื่อที่
ไร้ปรีชาหยั่งรู้, ข้อนี้เป็นเหตุให้ถือผิด
เป็นเครื่องชักนำผลร้ายทุกอย่างมาสู่ตน
และผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยโดยไม่มีประมาณ. แต่
ถ้าฟังแล้ว ใช้ปัญญาใคร่ครวญก่อนแล้ว
จึงเลือกเชื่อแต่สิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อก็
เป็นสัทธาญาณสัมปยุต คือความเชื่อที่
ประกอบด้วยปรีชาหยั่งรู้, ข้อนี้เป็นเหตุ
ให้ถือชอบเป็นเครื่องชักนำผลดีทุกอย่าง
มาให้โดยไม่มีประมาณดุจเดียวกัน. ในทาง
พระพุทธศาสนา สมเด็จพระบรมศาสดา
ทรงสอนให้เชื่อด้วยปัญญา คือใคร่ครวญ
ก่อนแล้วจึงเชื่อ มิให้เชื่อโดยงมงาย. แม้
ธรรมเทศนาของพระองค์ก็ทรงมุ่งให้เชื่อ
ด้วยปัญญาของตนดุจเดียวกัน. ความข้อนี้
ปรากฏในกาลามสูตร อันมีเรื่องเล่าว่า.
พวกกาลาม ชนชาวเกสปุตตนิคม
กราบทูลสมเด็จพระบรมศาสดาผู้เสด็จมา
ถึงว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมาถึงเกส-
ปุตติคมนี้ พูดแสดงถ้อยคำของตนเชิดชู
ให้เห็นว่าดีว่าชอบ ควรจะถือตามฝ่าย
เดียว, พูดคัดค้านถ้อยคำของผู้อื่น ดูหมิ่น
ว่าไม่ดี ไม่ชอบ ไม่ควรจะถือตาม, ทำถ้อย
คำของตนให้เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้อื่น. ครั้น
สมณพราหมณ์พวกอื่นมาถึงอีก ก็พูด
เหมือนสมณพราหมณ์พวกก่อน. เป็นอยู่
อย่างนี้, จนพวกข้าพเจ้ามีความสงสัย ไม่
ทราบว่าท่านสมณพราหมณ์เหล่านี้ใครพูด
จริง ใครพูดเท็จ ดังนี้. พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสตอบว่า ท่านควรจะสงสัย. ความ
สงสัยของท่านเกิดขึ้นในเหตุควรสงสัย ต่อ
แต่นั้น ก็ตรัสสอนพวกกาลามชน ไม่ให้
ถือโดยอาการ ๑๐ อย่าง คือ
มา อนุสฺสเวน อย่าได้ถือด้วยการได้
ฟังตามกันมา.
มา ปรมฺปราย อย่าได้ถือโดยลำดับ
สืบ ๆ กันมา.
มา อิติกิราย อย่าได้ถือโดยความตื่น
ว่า ได้ยินว่าอย่างนี้ ๆ.
มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าได้ถือโดย
อ้างตำรา.
มา ตกฺกเหตุ อย่าได้ถือโดยเหตุนึก
เดาเอา.
มา นยเหตุ อย่าได้ถือโดยนัยคือคาด-
คะเน.
มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าได้ถือ
โดยความตรึกตามอาการ.
มา ทิฏฺ€ินิชฌานกฺขนฺติยา อย่าได้
ถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับลัทธิของตน
( หรือควรแก่การเพ่งออกไปด้วยความเห็น ).
มา ภพฺพรูปตาย อย่าได้ถือโดยเชื่อ
ว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้.
มา สมโณ โน ครุ อย่าได้ถือโดย
ความนับถือว่า สมณะผู้นี้เป็นครูของเรา.
เมื่อใด ท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรม
เหล่านี้เป็นอกุศลมีโทษท่านผู้รู้ติเตียน,
ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อ
ผลอันไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์,
ท่านควรละธรรมเหล่านั้นเสียเมื่อนั้น,
อนึ่ง เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรม
เหล่านี้เป็นกุศล ไม่มีโทษ ท่านผู้รู้สรร-
เสริญ ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็น
ไปเพื่อผลอันเป็นประโยชน์สุข, ท่านควร
ถึงพร้อมด้วยธรรมเหล่านั้นอยู่ทุกเมื่อ
ดังนี้.
ข้อความที่กล่าวมานี้ แสดงว่า ทาง
พระพุทธศาสนานิยมว่า แม้บุคคลจักต้อง
อาศัยการสดับฟังจากผู้อื่น หรืออ่านตำ-
รับตำราก็ตาม, แต่ก็ให้ใคร่ครวญแล้ว
จึงเชื่อถือด้วยปัญญาของตนเอง มิใช่ด้วย
ถ้อยคำของผู้อ่น หรือตำรับตำรานั้น ๆ
อย่างเดียว. ผู้เชื่อง่ายขาดปัญญาใคร่ครวญ
เรียกกันว่า คนหูเบา, ถ้าเชื่อถือในทาง
ที่ดี ก็พอเป็นไปได้ แต่ไม่มีหลัก. แต่ถ้า
เชื่อถือในทางที่ผิด ก็จักได้รับความเสื่อม
เสียไม่ใช่น้อยเลย. ถ้าเกี่ยวข้องด้วยผู้อื่น
ก็อาจเกิดความเสื่อมเสียถึงผู้อื่น มากหรือ
น้อยตามฐานะ. ความเป็นคนหูเขา ย่อม
นำให้ลุอำนาจอคติ โดยไม่รู้สึก. เหตุฉะนี้
จึงไม่เป็นที่ปรารถนาทั้งทางโลกและทาง
ธรรม ผู้ที่จักเป็นพลเมืองดีในฝ่ายอา-
ณาจักร และเป็นพุทธศาสนิกที่ดีในฝ่าย
พุทธจักร สมควรเว้นเสียให้ห่างไกล,
เมื่อได้ฟังถ้อยคำของใคร ๆ พึงใคร่-
ครวญให้รอบคอบก่อนแล้วจึงเชื่อถือ.
อันผู้พูด ตามปกติย่อมมีความประสงค์
อย่างใดอย่างหนึ่งในการพูดนั้น. ถ้ามี
ความประสงค์ในทางไม่ดี เขาก็ปกปิด
ด้วยคำพูดตรงกันข้าม แสดงให้เห็นว่า
เป็นการมุ่งดี. เหตุฉะนี้ จึงต้องใคร่-
ครวญให้รู้ถึงความประสงค์ของผู้อื่นด้วย.
ความใคร่ครวญนั้น อาศัยการเทียบ
เคียงด้วยเหตุและผล และพิจารณา
คาดคั้นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง. ถ้าใคร่-
ครวญจริง ๆ แล้ว ไม่ด่วนเชื่อเสียก่อน
ก็จักทราบได้ตามเป็นจริง, เพราะเมื่อ
ใคร่ครวญเพ่งพินิจ ความจริงเป็นอย่าง
ไร ย่อมปรากฏให้เห็นได้ง ( วชิร. ๕๓๓-
๕๓๖ ).
เจริญในธรรมขอรับ
ชาวพุทธจึงต้องศึกษาพระธรรม เพื่อให้รู้จักจุดมุ่งหมายที่แท้จริงและหลักปฏิบัติที่ถูกต้องของพระศาสนา จะได้ไม่ตกเป้นเหยื่อของมิจฉาชีพ