สาธุ +++ !!! +++
สาธุ อนุโมทนามิค่ะ
ขอบพระคุณท่านอภิปัญโญภิกขุค่ะ
(ค่อยๆอ่านทำความเข้าใจได้มากเลยค่ะ)
ขอถามท่านอภิปัญโญ ว่า ขอบเขตุ ของกาม ขอบเขตุของ รูป ขอบเขตู ของ อรูป นั้นอยู่ตรงไหนครับ
สมถะและวิปัสสนา เกิดร่วมเกิดพร้อมในจิตดวงเดียวกันไม่แยกจากกัน เพราะจิตเกิดดับได้ทีละดวง ๆ กุศลจิตนี้จึงเป็นฌานจิต
ไม่ว่าจะมีสมถะเป็นเบื้องหน้า หรือวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า สมถะและวิปัสสนาต้องเกิดร่วมกันในจิตดวงเดียวกัน
เมื่อจิตนั้นสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายกุศลจิตนี้เราเรียกว่า...ฌาน..
การเจริญวิปัสสนาจึงปราศจาก ..ฌาน..ไม่ได้ อย่างน้อยต้องบรรลุปฐมฌาน ต่ำกว่าปฐมฌานไม่ได้
จิตนั้นสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายกุศลจิตนี้ เป็นคุณสมบัติของ..ฌานจิต..ทันที
************************************************
ผมทราบมาอย่างนี้นะครับ
....ในการเจริญวิปัสสนาญาณ ๙ ปราศจากสมาธิฌาน...ได้ครับ
....แต่การบรรลุมรรคผล จะปราศจากองค์ฌาน ๕ ....ไม่ได้
ขอถาม...ท่านมีทัศนะ ต่อคัมภีร์อรรถกถา ฏีกา วิสุทธิมรรคอย่างไรครับ....
ผมทราบมาอย่างนี้นะครับ
....ในการเจริญวิปัสสนาญาณ ๙ ปราศจากสมาธิฌาน...ได้ครับ
พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.189.249 [17 มิ.ย. 2551 17:45 น.] คำตอบที่ 4
*********************
ตั้งแต่ติดตามอ่านท่านอภิปัญโญ ภิกขุ มาท่านยึดพระไตรปิฎกเป็นหลักในการอ้างอิงมาตลอด
แต่ท่านมหาประเสริฐกล่าวถึง วิปัสสนาญาณ ๙ ซึ่งไม่มีในพระไตรปิฎก แล้วจะนำมาเปรียบเหมือนกันได้อย่างไร
แต่ก็นั่นแหล่ะครับ ลางเนื้อชอบลางยา
ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะชอบแบบง่ายๆ ก็ได้ครับ
ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)หรือ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
กล่าวไว้ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่านว่า
นำมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค (วิสุทธิ. 3/262-319;)และอ้างว่ามาจาก มหาวรรค ญาณกถา
แต่เท่าที่อ่าน ก็ยังไม่เห็นว่าท่านยกจากพระไตรปิฎกอย่างไร เป็นการอ้างอิงชนิดอ่านแล้วจับความจากความเห็นของท่านมาประมวลมากกว่า
จะยกลิงค์มาเปรียบเทียบให้ดูนะครับ เข้าไปพิจารณากันเองเลยครับ
ผมนำใส่จานให้แล้ว
*********************************
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=311
http://www.84000.org/tipitaka/read/?31/1/1
ขอถามท่านอภิปัญโญ ว่า ขอบเขตุ ของกาม ขอบเขตุของ รูป ขอบเขตู ของ อรูป นั้นอยู่ตรงไหนครับ
เปา - 202.12.117.61 [17 มิ.ย. 2551 16:06 น.] คำตอบที่ 3
ขอบเขตของกาม คือกามสัญญา...ได้แก่กามาวจรกุศลจิตและอกุศลจิตครับ
ขอบเขตของรูป คือรูปสัญญา....ได้แก่รูปาวจรกุศลจิตครับ
และขอบเขตของอรูป คืออรูปสัญญา....ได้แก่อรูปาวจรกุศลจิตครับ
ขออนุโมทนาในรูปาวจรกุศลจิตและอรูปาวจรกุศลจิตของทุกท่านครับ
เจริญในธรรมครับ
อภิปัญโญ ภิกขุ
อภิปัญโญ ภิกขุ
Apipanyo DT05479 [17 มิ.ย. 2551 19:03 น.] คำตอบที่ 6
.....ด้วยความเคารพ ไม่ได้ลองภูมิธรรมท่านนะครับ แต่เห็นแววของปัญญาท่านว่ามีมาก
หลวงพี่ช่วยเอาเจตสิกของจิตอีกสองตัวที่เหลืออยู่คือ
(เวทนา = ความรู้สึก สังขาร = ตัวตบแต่งอารมณ์ (คิด)) มาจับคำถามดูหน่อยซิครับ
แล้วเอา วิญญาณัญจายตนะ (รู้ไม่สิ้นสุด) มาประกบเข้าอีกที ลองดูนะครับท่าน...
แต่บอกก่อนนะครับ ผมไม่ตอบคำถามนี้ แต่เห็นประโยชน์ของการขัดสีกันในวาทะธรรม
จะทำให้เงาปัญญาเกิดได้อย่างกว้างขวาง ได้วิปัสนาไปในตัวด้วยนะครับ ถ้าธรรมวิจยะ
อยู่ในเกนฑ์ที่พระองค์ทรงสอนไว้.....ด้วยความจริงใจครับท่าน....
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาความเกิดและความดับของสังขาร คำว่า สังขาร หมายถึง สิ่งที่เป็นร่างทั้งหมด ทั้งที่มีวิญาณและวัตถุ ท่านให้พยายามพิจารณาใคร่ครวญเสมอ ๆ ว่า สังขารนี้มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นแล้ว ต่อไปก็แตกสลายทำลายไปหมด ไม่มีสังขารประเภทใดเหลืออยู่เลย พยายามหาเหตุผลในคำสอนนี้ให้เห็นชัด ดูตัวอย่างคน ที่เกิดแล้วตาย ของที่มีขึ้นแล้วแตกทำลาย ดูแล้วคิดทบทวนมาหาตน และคนที่รักและไม่รัก ของที่มีชีวิตและไม่มีคิดว่านี่ไม่ช้าก็ต้องตายทำลายอย่างนี้ และพร้อมเสมอที่จะไม่หวั่นไหว ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นอย่างนั้น พิจารณาทบทวนอย่างนี้จนอารมณ์เห็นเป็นปกติ ได้อะไรมา เห็นอะไรก็ตาม แม้แต่เห็นเด็กเกิดใหม่ อารมณ์ใจก็คิดว่านี่ไม่ช้ามันก็พัง ไม่ช้ามันก็ทำลาย แม้แต่ร่างกายเรา ไม่ช้ามันก็สิ้นลมปราณ อะไรที่ไหนที่เราคิดว่ามันจะยั่งยืนถาวรตลอดกาล ไม่มีรักษาอารมณ์ให้เป็นอย่างนี้ จนอารมณ์ไม่กำเริบแล้วจึงค่อยย้ายไปพิจารณาญาณ ที่สอง จงอย่าลืมว่า ก่อนพิจารณาทุกครั้งต้องเข้าฌานก่อน แล้วถอยจากฌานมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณ จึงจะเห็นเหตุเห็นผลง่าย *****ถ้าท่านไม่อาศัยฌานแล้ว วิปัสสนาญาณก็มีผลเป็นวิปัสสนึกเท่านั้นเอง***** ไม่มีอะไรดีไปกว่า นั่งนึกนอนนึก แล้วในที่สุดก็เลิกนึก และหาทางโฆษณาว่าฉันทำมาแล้วหลายปีไม่เห็นได้ อะไรเลย จงจำระเบียบไว้ให้ดี และปฏิบัติตามระเบียบให้เคร่งครัด วิปัสสนาไม่ใช่ต้ม ข้าวต้ม จะได้สุกง่าย ๆ ตามใจนึก
(วิปัสสนาญาณ : หลวงพ่อฤษีลิงดำ)
.....ด้วยความเคารพ ไม่ได้ลองภูมิธรรมท่านนะครับ แต่เห็นแววของปัญญาท่านว่ามีมาก
หลวงพี่ช่วยเอาเจตสิกของจิตอีกสองตัวที่เหลืออยู่คือ
(เวทนา = ความรู้สึก สังขาร = ตัวตบแต่งอารมณ์ (คิด)) มาจับคำถามดูหน่อยซิครับ
แล้วเอา วิญญาณัญจายตนะ (รู้ไม่สิ้นสุด) มาประกบเข้าอีกที ลองดูนะครับท่าน...
แต่บอกก่อนนะครับ ผมไม่ตอบคำถามนี้ แต่เห็นประโยชน์ของการขัดสีกันในวาทะธรรม
จะทำให้เงาปัญญาเกิดได้อย่างกว้างขวาง ได้วิปัสนาไปในตัวด้วยนะครับ ถ้าธรรมวิจยะ
อยู่ในเกนฑ์ที่พระองค์ทรงสอนไว้.....ด้วยความจริงใจครับท่าน....
123... - 117.47.137.88 [17 มิ.ย. 2551 21:14 น.] คำตอบที่ 7
ใช้อภิธรรมในพระไตรปิฎกเป็นที่อ้างอิงในการปฏิบัติธรรมนะครับ
ไม่ใช่อภิธรรมใน 9 ปริเฉทนะครับ ภาษาและสภาวะธรรมบางอย่างจะแตกต่างกันจากที่ท่านผู้อ่านเข้าใจกันมาก่อนนะครับครับ
มารู้จักลักษณะของวิญญานัญจายตนะฌาน.
คือจตุตถฌานอันประกอบด้วยวิญญานัญจายตนะสัญญาและอุเบกขาครับ
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
มารู้จักลักษณะของเจตสิกธรรม.
[๙๔๔] เจตสิกธรรม เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เจตสิกธรรม.
อเจตสิกธรรม เป็นไฉน?
จิต รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อเจตสิกธรรม.
จิต คือวิญญาณขันธ์
จิตวิญญานัญจายตนะฌาน มีขันธ์ 4 ขันธ์ครบ เป็นกุศลจิตหรือกุศลวิบาก.
เวทนาขันธ์ เป็นอุเบกขาเวทนาหรืออสุขมทุกข์เวทนา
สัญญาขันธ์ เป็นวิญญาณัญจายตนะสัญญา
สังขารขันธ์ เป็นอาเนญชาภิสังขาร...คือปรุงแต่งสภาวะแห่งความไม่หวั่นไหว
วิญญาณขันธ์(จิต) เป็นอรูปาวจรกุศลจิต และ/หรืออรูปาวจรกุศลวิบากจิต
อรูปาวจรกุศลจิต
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ
โสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
สังขารเกิดเพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย......( อเนญชาภิสังขารปรุงแต่งอารมณ์ )
นามเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ปสาทะเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย......( เสวยอุเบกขาเวทนาเป็นอารมณ์ )
อธิโมกข์เกิดเพราะปสาทะเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอธิโมกข์เป็นปัจจัย
ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ขอบเขตของอรูป แห่งวิญญานัญจายตนะฌาน มีเพียงเท่านี้ครับ
เจริญในธรรมครับ
อภิปัญโญ ภิกขุ
ขอบเขตของอรูป แห่งวิญญานัญจายตนะฌาน มีเพียงเท่านี้ครับ
เจริญในธรรมครับ
อภิปัญโญ ภิกขุ
Apipanyo DT05479 [17 มิ.ย. 2551 22:14 น.] คำตอบที่ 9
อะ อะ อะ อะ...เท่านี้ก็เท่านี้....ไม่รบกวนแล้วจ้า...
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาความเกิดและความดับของสังขาร คำว่า สังขาร หมายถึง สิ่งที่เป็นร่างทั้งหมด ทั้งที่มีวิญาณและวัตถุ ท่านให้พยายามพิจารณาใคร่ครวญเสมอ ๆ ว่า สังขารนี้มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นแล้ว ต่อไปก็แตกสลายทำลายไปหมด ไม่มีสังขารประเภทใดเหลืออยู่เลย พยายามหาเหตุผลในคำสอนนี้ให้เห็นชัด ดูตัวอย่างคน ที่เกิดแล้วตาย ของที่มีขึ้นแล้วแตกทำลาย ดูแล้วคิดทบทวนมาหาตน และคนที่รักและไม่รัก ของที่มีชีวิตและไม่มีคิดว่านี่ไม่ช้าก็ต้องตายทำลายอย่างนี้ และพร้อมเสมอที่จะไม่หวั่นไหว ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นอย่างนั้น พิจารณาทบทวนอย่างนี้จนอารมณ์เห็นเป็นปกติ ได้อะไรมา เห็นอะไรก็ตาม แม้แต่เห็นเด็กเกิดใหม่ อารมณ์ใจก็คิดว่านี่ไม่ช้ามันก็พัง ไม่ช้ามันก็ทำลาย แม้แต่ร่างกายเรา ไม่ช้ามันก็สิ้นลมปราณ อะไรที่ไหนที่เราคิดว่ามันจะยั่งยืนถาวรตลอดกาล ไม่มีรักษาอารมณ์ให้เป็นอย่างนี้ จนอารมณ์ไม่กำเริบแล้วจึงค่อยย้ายไปพิจารณาญาณ ที่สอง จงอย่าลืมว่า ก่อนพิจารณาทุกครั้งต้องเข้าฌานก่อน แล้วถอยจากฌานมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณ จึงจะเห็นเหตุเห็นผลง่าย *****ถ้าท่านไม่อาศัยฌานแล้ว วิปัสสนาญาณก็มีผลเป็นวิปัสสนึกเท่านั้นเอง***** ไม่มีอะไรดีไปกว่า นั่งนึกนอนนึก แล้วในที่สุดก็เลิกนึก และหาทางโฆษณาว่าฉันทำมาแล้วหลายปีไม่เห็นได้ อะไรเลย จงจำระเบียบไว้ให้ดี และปฏิบัติตามระเบียบให้เคร่งครัด วิปัสสนาไม่ใช่ต้ม ข้าวต้ม จะได้สุกง่าย ๆ ตามใจนึก
(วิปัสสนาญาณ : หลวงพ่อฤษีลิงดำ)
guest - 125.26.142.203 [17 มิ.ย. 2551 21:27 น.] คำตอบที่ 8
อุทยัพพยานุปัสนาญาณตามพระไตรปิฎกเป็นอย่างนี้.
ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบันเป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ [ญาณในการพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม]
รูปที่เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ชาติแห่งรูปที่เกิดแล้วนั้นมีความเกิดเป็นลักษณะ
ความเสื่อมมีความแปรปรวนเป็นลักษณะ
เวทนาเกิดแล้ว สัญญาเกิดแล้ว สังขารเกิดแล้ว วิญญาณเกิดแล้ว จักษุเกิดแล้ว ฯลฯ ภพเกิดแล้วเป็นปัจจุบัน
ชาติแห่งภพที่เกิดแล้วนั้นมีความเกิดเป็นลักษณะ ความเสื่อมมีความแปรปรวนเป็นลักษณะ
การพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า
..
.. เพราะอวิชชาเกิดรูปจึงเกิด
.. เพราะตัณหาเกิดรูปจึงเกิด
.. เพราะกรรมเกิดรูปจึงเกิด
.. เพราะอาหารเกิดรูปจึงเกิด
.. แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความเกิด ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์
การพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์โดยความดับ แห่งปัจจัยดับว่า
..
.. เพราะอวิชชาดับรูปจึงดับ
.. เพราะตัณหาดับรูปจึงดับ
.. เพราะกรรมดับรูปจึงดับ
.. เพราะอาหารดับรูปจึงดับ
..แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความแปรปรวน ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์
การพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า...
.....เพราะอวิชชาเกิดเวทนาจึงเกิด
.....เพราะตัณหาเกิดเวทนาจึงเกิด
.....เพราะกรรมเกิดเวทนาจึงเกิด
.....เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึงเกิด
.....แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งการเกิด ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
การพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับแห่งปัจจัยว่า...
.....เพราะอวิชชาดับเวทนาจึงดับ
.....เพราะตัณหาดับเวทนาจึงดับ
.....เพราะกรรมดับเวทนาจึงดับ
.....เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ
.....แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความแปรปรวน ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเวทนาขันธ์
การพิจารณาเห็นความเกิดแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า
..
.. เพราะอวิชชาเกิดวิญญาณจึงเกิด
.. เพราะตัณหาเกิดวิญญาณจึงเกิด
.. เพราะกรรมเกิดวิญญาณจึงเกิด
.. เพราะนามรูปเกิดวิญญาณจึงเกิด
.. แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความเกิด ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่ง วิญญาณขันธ์
การพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ โดย ความดับแห่งปัจจัยว่า
.. เพราะอวิชชาดับวิญญาณจึงดับ
.. เพราะตัณหาดับวิญญาณจึงดับ
.. เพราะกรรมดับวิญญาณจึงดับ
.. เพราะนามรูปดับวิญญาณจึงดับ
.. แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความแปรปรวน ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป แห่งวิญญาณขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
..เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้
..เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ประการนี้
..เมื่อพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ประการนี้
..เมื่อพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมพิจารณาเห็นลักษณะ ๕๐ ประการนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน เป็น อุทยัพพยานุปัสนาญาณ ฯ
รูปขันธ์เกิดเพราะอาหารเกิด
ขันธ์ที่เหลือ คือ เวทนา สัญญา สังขาร เกิดเพราะผัสสะเกิด
วิญญาณขันธ์เกิดเพราะนามรูปเกิด ฯ
เจริญในธรรมครับ
อภิปัญโญ ภิกขุ
กราบนมัสการท่าน อ.อภิปัญโญ
กราบขอบพระคุณครับ
กราบนมัสการครับ
อนุโมทนาสาธุครับ ท่านอภิปัญโญ
เจริญในธรรมครับ
1.ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร
2.ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร
3.ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร
ทั้ง 3 วิธีการข้างต้นในทางปฏิบัติต้องทำอย่างไร ผลการปฏิบัติเป็นอย่างไรและต่างกันอย่างไรในแต่ละวิธี ขอความคิดเห็นจากทุกท่านครับ
กราบนมัสการเรียนเชิญท่าน อ.อภิปัญโญ กับ ท่าน อ.มหาประเสริฐ แสดงความคิดเห็นด้วยครับ
1.ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร
จิตเจริญสมถะจนกระทั่งมีสมาธิเป็นบาทฐานในการเจริญวิปัสสนา
2.ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร
จิตเจริญวิปัสสนาโดยการพิจารณาธรรมสงเคราะห์ลงในไตรลักษณ์ ฯทำให้จิตรวมหรือสงบทำให้เกิดสมาธิ เมื่อมีสมาธิเป็นบาทเป็นฐานก็เจริญวิปัสสนาต่อไป
3.ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร
จิตมุ่งมีอารมณ์เดียวเหมือนสมถะในธรรมที่นิโรธเป็นโคจร ทำให้เกิดสมาธิ เมื่อมีสมาธิเป็นบาทเป็นฐานก็เจริญวิปัสสนาต่อไป
ผลจากการปฏิบัติไม่ต่างกัน คือ ทำให้เกิดสมาธิเป็นเบื้องแรก เพื่อเป็นบาทเป็นฐานในการเจริญปัญญาวิปัสสนาในลำดับถัดไป
"สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ "
สมาธิ มี ๓ ระดับครับ
1..ขณิก
2. อุปจาระ
3. อัปปนา....
รออ่านคำตอบของท่านอภิปัญโญด้วยคนครับคุณgust
กราบเรียนท่านมหาประเสริฐครับ
คำสอนของพุทธเจ้า ไม่มี ขนิกสมาธินะครับ
ส่วนอุปาจาระสมาธิ ก็เป็นสมาธิที่ยังเป็นกามาวจรกุศล
อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิรูปาวจรกุศล คือ ปฐมฌาน - เนวสัญญานาสัญญายตนะ
(ฌาน1-8)คือฌานสมาบัติ 8 มรรค 4 ผล 4 ครับผม
สมาธิ มี ๓ ระดับครับ
1..ขณิก
2. อุปจาระ
3. อัปปนา....
พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี - 125.25.209.180 [20 มิ.ย. 2551 07:55 น.] คำตอบที่ 16
สาธุ ๆ ๆ ....เหนื่อยไหมครับ...ท่านมหา...อะ อะ อะ อะ รู้สึกว่าที่มาของตำราต่างๆ
มันชักจะเพี้ยนไปจากสมักแรกๆ ที่ผมศึกษาธรรมเมื่อสามสิบกว่าปีก่อนนะครับ
แต่สมาธิสามระดับของท่าน...ถูกต้องดแล้วีครับ....อะ อะ อะ อะ
แต่สมาธิสามระดับของท่าน...ถูกต้องดีแล้วครับ....อะ อะ อะ อะ
123... - 117.47.0.95 [20 มิ.ย. 2551 10:59 น.] คำตอบที่ 18
ถกกันเรื่องอักษรสมัย
ก็ผิดมาตั้งสามสิบปีแล้วอ่ะครับ อิ...อิ...อิ
ปาปํ ปาเปน จินฺติตํ ความชั่ว คนชั่วคิด
สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ อันความดี คนชั่วย่อมทำได้ยาก
แล้วพุทธภาษิตนี้ผิดอ๊ะป่าว....เด็กๆ....อะ อะ อะ อะ
ท่านว่าปริยัติคือการศึกษาเล่าเรียน เป็นแบบแปลนแผนผัง ท่านชี้เข้าไปตรงไหนให้ทำอย่างนั้น ท่านชี้ว่าให้ทำสมาธิ เอ้า ทำสมาธิ นี่เรียนกว่าเป็นภาคปฏิบัติ พอเราปฏิบัติเป็นสมาธิ สมาธิในตำรับตำราท่านบอกว่าความสงบ ความแน่นหนามั่นคงของใจ
ที่เรียกว่าสมาธิ นั้นเป็นชื่อ นั้นเป็นตัวหนังสือ ไม่ใช่ตัวสมาธิแท้ เมื่อเราปฏิบัติตัวของเราเข้าไป จนกระทั่งถึงจุดที่ว่าจิตสงบ ความสงบก็ใจของเราเองสงบ อ๋อ ใจสงบเป็นอย่างนี้ แล้วตำราเป็นอย่างนั้น แต่ใจสงบแท้เป็นอย่างนี้ ตัวจริงเป็นอย่างนี้ ตำราเป็นอย่างนั้นเป็นชื่อเป็นนาม นี้ตัวจริงเป็นอย่างนี้ จากนั้นก็เป็นสมาธิแน่นหนามั่นคงขึ้นไป อ๋อ สมาธิเป็นอย่างนี้ ๆ แน่เข้าไป
นี่ภาคปฏิบัติ รู้ตรงไหนแน่นอนตรงนั้น ๆ ไม่ลูบคลำ ภาคปฏิบัติ เอ้า สมาธิขั้นใดไม่ต้องไปถามใคร เมื่อปรากฎในใจ อ๋อ สมาธิเป็นอย่างนี้ ๆ มีแต่เป็นอย่างนี้ ๆ ไม่มีคำว่าลูบคลำสมาธิในภาคปฏิบัติแล้ว แน่เข้าไป ๆ ถึงขั้นปัญญาก็เหมือนกัน เมื่อสมาธิเต็มภูมิเต็มกำลังความสามารถที่จะคิดจะอ่านไตร่ตรองด้วยปัญญาได้แล้ว เพราะจิตอิ่มตัว ไม่วุ่นวายกับอารมณ์ต่าง ๆ หิวโหยในรูปในเสียงในกลิ่นในรส จิตไม่หิวโหยเพราะจิตมีสมาธิสงบตัวเรียบร้อยแล้ว พอออกจากความสงบตัวแล้ว เอ้า ก้าวทางด้านปัญญา
ในกุศลจิตทุกดวงล้วนมีสมาธิเป็นองค์ประกอบ
การยกจิตเป็นกุศล คือการปฏิบัติ และเป็นวิบากจิตที่ปรากฏ
ปริยัติ เป็นการศึกษาเพื่อให้รู้จักสภาวะจิต เพื่อให้รู้เกี่ยวกับโลกุตตรกุศลจิต
โลกุตตรกุศลวิบากจิต มรรค 4 ผล 4
มิจฉาสมาธิก็มี
สมาธิพัวพันในกามก็มี
โลกุตตรสมาธิก็มี
ใจสงบเพราะอุเบกขาอันประกอบด้วยปัญญาก็มี
ใจสงบเพราะอุเบกขาไม่ประกอบด้วยปัญญาก็มี
ในรูปภูมิ อรูปภูมิ จิตก็ไม่โหยหาในรูปในเสียงในกลิ่นในรส(กามคุณารมณ์) ก็มีแต่ก็ยังไม่เป็นทางพ้นจากความทุกข์
ถ้าทำเหตุถูกต้อง ผลก็ถูกต้อง
ดังนั้นปฏิบัติ ก็คือการปฏิบัติ ในมรรค 4
ปฏิเวธ คือ บรรลุ ผล 4
นอกเหนือจากนี้ ล้วนแล้วไม่ใช่ โลกกุตตรสมาธิเพื่อ มรรค ผล นิพพนาน
สมาธิ...จิตมีสมาธิ...จิตตั้งเรียบร้อยแล้ว... โยนิโสมนสิการดูว่า เพื่อมรรค ผล นิพพานหรือยัง ยังพัวพันกับกามสัญญา รูปสัญญา อรูปสัญญา หรือเปล่า
-------
1..2..3... เด็กเอ๋ยเด็กน้อย
พุทธภาษิต ยกมาน่ะถูกแล้ว พระพุทธองค์ตรัสไว้ไม่มีผิด
แต่เอ เด็กน้อยทำไ้ด้ดังที่ยกมาหรือเปล่าล่ะ อิ...อิ...อิ
666 - 117.47.100.168 [21 มิ.ย. 2551 10:59 น.] คำตอบที่ 24
โม้ไปเรื่อย....อิ อิ อิ....ทำไม่ได้สักอย่าง....อะ อะ อะ อะ
1..2..3...
โม๊มะโม๊ ก็ยกไปเรื่อยๆ อิ...อิ...อิ
น๊ะเด็กน้อย
ในกุศลจิตทุกดวงล้วนมีสมาธิเป็นองค์ประกอบ
การยกจิตเป็นกุศล คือการปฏิบัติ และเป็นวิบากจิตที่ปรากฏ
ปริยัติ เป็นการศึกษาเพื่อให้รู้จักสภาวะจิต เพื่อให้รู้เกี่ยวกับโลกุตตรกุศลจิต
โลกุตตรกุศลวิบากจิต มรรค 4 ผล 4
มิจฉาสมาธิก็มี
สมาธิพัวพันในกามก็มี
โลกุตตรสมาธิก็มี
ใจสงบเพราะอุเบกขาอันประกอบด้วยปัญญาก็มี
ใจสงบเพราะอุเบกขาไม่ประกอบด้วยปัญญาก็มี
ในรูปภูมิ อรูปภูมิ จิตก็ไม่โหยหาในรูปในเสียงในกลิ่นในรส(กามคุณารมณ์) ก็มีแต่ก็ยังไม่เป็นทางพ้นจากความทุกข์
ถ้าทำเหตุถูกต้อง ผลก็ถูกต้อง
ดังนั้นปฏิบัติ ก็คือการปฏิบัติ ในมรรค 4
ปฏิเวธ คือ บรรลุ ผล 4
นอกเหนือจากนี้ ล้วนแล้วไม่ใช่ โลกกุตตรสมาธิเพื่อ มรรค ผล นิพพนาน
สมาธิ...จิตมีสมาธิ...จิตตั้งเรียบร้อยแล้ว... โยนิโสมนสิการดูว่า เพื่อมรรค ผล นิพพานหรือยัง ยังพัวพันกับกามสัญญา รูปสัญญา อรูปสัญญา หรือเปล่า
-------
1..2..3... เด็กเอ๋ยเด็กน้อย
พุทธภาษิต ยกมาน่ะถูกแล้ว พระพุทธองค์ตรัสไว้ไม่มีผิด
แต่เอ เด็กน้อยทำไ้ด้ดังที่ยกมาหรือเปล่าล่ะ อิ...อิ...อิ
666 - 117.47.100.168 [21 มิ.ย. 2551 10:59 น.] คำตอบที่ 24
คุณ 666 แล้วคุณทำสมาธิยังไงครับผมอ่านแล้วไม่ค่อยชัดเจนในวิธีการทำสมาธิของคุณ เผื่อมีผู้สนใจอยากปฏิบัติสมาธิตามที่คุณกล่าวครับ ช่วยอธิบายให้ละเอียดด้วยนะครับ เพื่อผู้สนใจจะปฏิบัติตามให้ได้ถูกต้องครับ
------------ไม่รู้หลอกจ้า------------โม้.....อะ อะ อะ อะ
ขอแสดงความเห็นดังนี้
ผู้ปฏิบัติสมถะกรรมฐาน ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ เพราะเป็นเพียงการข่มกิเลสไว้ด้วยอำนาจสมาธิ ถึงแม้จะเจริญฌานได้ จนถึงสามารถทำอภิญญาจิตให้เกิดขึ้นได้ก็ตาม เพราะฌานและอภิญญาเสื่อมได้ ผู้ที่ปฏิบัติสมถะต้องยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาด้วยการพิจารณาฌานโดยความเป็นไตรลักษณ์อีกทีหนึ่ง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงเป็นเหตุให้บรรลุธรรมได้ เพราะฉะนั้น ถ้าสมถะและวิปัสสนาเกิดร่วมกันในจิตดวงเดียวกัน ทำไมคนที่เจริญสมถะถึงไม่บรรลุธรรม ดูอย่างพระเทวทัตสิ ท่านเจริญสมถะ ทำอภิญญาได้ ทำไมฌานถึงเสื่อมจนตกนรกได้
ผมขอแนะนำว่า .. ท่านควรไปเรียนอภิธรรม อย่าดูถูกการเรียนอภิธรรม 9 ปริจเฉท เพราะคนที่จะอ่านอภิธรรมในพระไตรปิฎกได้โดยไม่เรียนอภิธรรม 9 ปริจเฉทก่อน เป็นไปไม่ได้หรอก ถ้าไม่เรียนก็จะเกิดการตีความในพระไตรปิฎก จนเกิดความผิดพลาดได้ ยิ่งถ้าสอนคนอื่นออกไปผิดๆ จะเป็นการกล่าวตู่พุทธพจน์ และคนที่รับไปก็จะถ่ายทอดออกไปผิดๆ
สมถะ กับวิปัสสนามีจุดแยกกันอยู่นะครับ ถึงแม้ว่าวิปัสสนาก็ประกอบในองค์ฌานเหมือนกัน ( วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา )
.............ด้วยเมตตาธรรมครับ
ขอแสดงความเห็นดังนี้
ผู้ปฏิบัติสมถะกรรมฐาน ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ ........
......ผมขอแนะนำว่า .. ท่านควรไปเรียนอภิธรรม อย่าดูถูกการเรียนอภิธรรม 9 ปริจเฉท เพราะคนที่จะอ่านอภิธรรมในพระไตรปิฎกได้โดยไม่เรียนอภิธรรม 9 ปริจเฉทก่อน เป็นไปไม่ได้หรอก ถ้าไม่เรียนก็จะเกิดการตีความในพระไตรปิฎก จนเกิดความผิดพลาดได้ ยิ่งถ้าสอนคนอื่นออกไปผิดๆ จะเป็นการกล่าวตู่พุทธพจน์ และคนที่รับไปก็จะถ่ายทอดออกไปผิดๆ
สมถะ กับวิปัสสนามีจุดแยกกันอยู่นะครับ ถึงแม้ว่าวิปัสสนาก็ประกอบในองค์ฌานเหมือนกัน ( วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา )
.............ด้วยเมตตาธรรมครับ
หลวงศักดิ์ - 118.175.131.158 [21 มิ.ย. 2551 23:38 น.] คำตอบที่ 29
อ่านคำตอบนี้ก็ทราบได้แล้วผู้ตอบไม่เคยศึกษาอภิธรรมจากพระไตรปิฏกมาก่อน
อภิธรรม 9 ปริจเฉท เนื้อหาสาระบางแห่ง อรรถ ธรรม นิรุติ และปฏิภาณไม่ตรงกันกับพระอภิธรรมในพระไตรปิฎกเจ้าค่ะ
อภิธรรม 9 ปริจเฉท เป็นตำราแต่งมาใหม่โดยพระอนุรุทธาจาย์ ชาวศรีลังกา เมื่อปีพ.ศ. 950 เจ้าค่ะ ใช้เป็นปทัฏฐานในการศึกษาปฏิบัติไม่ได้เจ้าค่ะ
แค่เริ่มต้นท่านก็ผิดเสียแล้วเจ้าค่ะ
พระธรรมเทศนาเรื่องโจรผู้ทำลายปมเป็นอย่างนี้เจ้าค่ะ
โย พาโล มัญญะตี พาละยัง
ปัณฑิโต วาปิ เตนะโส
พาโล จะ ปัณฑิตะ มานี
สะ เว พาโลตะ วุจะติ
บุคคลใดโง่ สำคำความแห่งที่ตนเป็นคนโง่
ก็พอจะเป็นบัณฑิตเพราะเหตุนั้นได้บ้าง
ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่แต่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต
เราเรียกบุคคลนั้นว่า "คนโง่แท้ ....."
เจริญในธรรมเจ้าค่ะ
จ้าแม่คนฉลาด
มีเด็กน้อยอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า "คนที่จะอ่านอภิธรรมในพระไตรปิฎกได้โดยไม่เรียนอภิธรรม 9 ปริจเฉทก่อน เป็นไปไม่ได้หรอก "
อิ..อิ..อิ จริงอ่ีะ เด็กน้อยคลอดแม่ ฮาาาา
อริยมรรค มีองค์ 8 (สมถะวิปัสสนา)
ศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา(สมถะวิปัสสนา)
อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา (สมถะวิปัสสนา)
โพชฌงค์ 7 (สมถะวิปัสสนา)
อินทรีย์ 5 พละ5 (สมถะวิปัสสนา)
ตรงไหนล่ะเด็กน้อย ที่ไม่ได้เกิดขึ้นในขณะจิตเดียว.... หรือเด็กน้อยมีสองใจ ฮาาาาา
หลวงเณร โยนิโสนมสิการ และกัลยาณมิตร เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดทั้งสิ้นทีเดียว
หลวงเณร ยกเทวทัต สงสัยชาติก่อนเป็นศิษย์เทวทัต ง่ะ ฮาาาา
หลวงเณร ฌานเสื่อมวิปัสสนาก็หาย อิ .. อิ.. อิ
อิ..อิ..อิ
..."..อิ..อิ จริงอ่ีะ เด็กน้อยคลอดแม่ ฮาาาา
อริยมรรค มีองค์ 8 (สมถะวิปัสสนา)
ศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา(สมถะวิปัสสนา)
อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา (สมถะวิปัสสนา)
โพชฌงค์ 7 (สมถะวิปัสสนา)
อินทรีย์ 5 พละ5 (สมถะวิปัสสนา)
...ฯ...."
666 - 222.123.202.226 [22 มิ.ย. 2551 11:15 น.] คำตอบที่ 32
*****
get เลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะคุณ 666
......ผมขอแนะนำว่า .. ท่านควรไปเรียนอภิธรรม อย่าดูถูกการเรียนอภิธรรม 9 ปริจเฉท เพราะคนที่จะอ่านอภิธรรมในพระไตรปิฎกได้โดยไม่เรียนอภิธรรม 9 ปริจเฉทก่อน เป็นไปไม่ได้หรอก ถ้าไม่เรียนก็จะเกิดการตีความในพระไตรปิฎก จนเกิดความผิดพลาดได้ ยิ่งถ้าสอนคนอื่นออกไปผิดๆ จะเป็นการกล่าวตู่พุทธพจน์ และคนที่รับไปก็จะถ่ายทอดออกไปผิดๆ
สมถะ กับวิปัสสนามีจุดแยกกันอยู่นะครับ ถึงแม้ว่าวิปัสสนาก็ประกอบในองค์ฌานเหมือนกัน ( วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา )
.............ด้วยเมตตาธรรมครับ
หลวงศักดิ์ - 118.175.131.158 [21 มิ.ย. 2551 23:38 น.] คำตอบที่ 29
****
อ้าว..หลวงศักดิ์ ใครจะเป็นอย่างท่านซะหมดละขอรับ
ถ้าไม่เอาสมถะ(ฌาน) วิปัสสนาก็เป็นได้เพียงวิปัสสนึกครับ นึก นึกเอาเองครับ
นึกว่านี่เป็นปรมัติ นึกว่านี่เป็นญาณ นึก นึกเอาครับ
สมถะวิปัสสนาเกิดในองค์ธรรม(จิต)เดียวกัน
บ่มีจุดแยกครับ
เดี๋ยวนี้เขาสอนแบบเอาตำรา ลูกคลอดแม่กันซะแล้ว โถถัง! ชาวพุทธ(บางส่วน)
ใครกันหนอที่กล่าวตู่ ?
ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรครับ
ประเด็น สมถะ-วิปัสสสนา
มันอยู่ที่ ใช้เกณฑ์อ้างอิงคนล่ะอย่างกัน
การที่ชาวพุทธบางท่าน
"ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่าง สมถะ กับ วิปัสสนา" ก็เป็นปัญหาระดับหนึ่งจริง
แต่ การที่ชาวพุทธบางท่าน
"แยกขาด สมถะ ออกจาก วิปัสสนา โดยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเอาแต่เพียงวิปัสสสนา100%เท่านั้น" กลับ เป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าเสียอีก..... เพราะนั่น หมายถึง ไตรสิกขาข้อสมาธิจะต้องถูกตัดออกข้อหนึ่ง หรือ อริยมรรคที่มีองค์แปดคือ"สัมมาสมาธิ"จะต้องถูกทอนออกจากอริยมรรค ให้เหลืออริยมรรคที่มีองค์เจ็ด.
สัมมาสมาธิ ซึ่งคือ องค์แห่งอริยมรรคข้อสุดท้าย ที่เป็นจุดประชุมรวมของอริยมรรคอีกเจ็ดข้อ.....
สัมมาสมาธิ ที่อยู่ในพระสูตรโดยตรง มีกล่าวถึงคุณสมบัติไว้สำคัญ2ประการ คือ
1. เป็นสมาธิที่มีกำลังแห่งสมาธิในระดับ(หรือ เทียบเท่ากับ) รูปฌาน๑ ถึง รูปฌาน๔
จาก http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=10&start_byte=447351
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ
วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี
อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา
สมาธิ ฯ
2.สัมมาสมาธิในองค์มรรคนี้ เป็นสมาธิที่มีองค์แห่งอริยมรรคอีก7อย่างแวดล้อม(เป็นบริขาร)
เช่น ที่ทรงแสดงใน มหาจัตตารีสกสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิ
ฌานฤาษี (เช่น การเพ่งกสิณ)ถึงแม้นจะมีกำลังแห่งสมาธิในระดับรูปฌาน๑ ถึง รูปฌาน๔ ได้ก็จริง..... แต่ขาด คุณสมบัติข้อ2 ตามมหาจัตตารีสกสูตร. จึงไม่จัดเป็นสัมมาสมาธิในอริยมรรค และ ไม่เป็นประโยชน์ต่อการเห็นธรรม..... เว้นเสียแต่ จะนำฌานนั้นมาเจริญวิปัสสนาดังที่มีพระสูตรแสดงกล่าวเอาไว้
สัมมาสมาธิ เป็นจุดรวมขององค์แห่งอริยมรรคทั้งเจ็ด ก่อนที่จะบังเกิดผลเป็น สัมมาญาณะ และ สัมมาวิมุติ
ถ้า ปฏิบัติถูกตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้.... ต่อให้ปฏิบัติแบบแนวทางที่๑ (คือ เจริญวิปัสสนามีสมถะ เป็นเบื้องหน้า) แบบที่ท่านพระอานนท์กล่าว....สัมมาสมาธิ ก็จะต้องบังเกิดขึ้นแน่นอน.
เพราะ ถ้าหากปราศจาก สัมมาสมาธิ เสียแล้ว มรรคสมังคี ย่อมไม่บังเกิดขึ้น......
ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?
พระอานนท์ตอบ ว่า
....ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป.... มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....
ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)
ตบ. ๒๑ : ๒๑๒ ตท. ๒๑ : ๑๘๓-๑๘๔
ตอ. G.S. II : ๑๖๒
จาก http://www.84000.org/true/220.html
ถ้าพิจารณา จาก ที่ ท่านพระอานนท์กล่าวนี้
จะแยก แนวทาง การเจริญกรรมฐาน(ภาวนา) เป็น 3แบบ คือ
1.เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
2.เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
3.เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
ข้อ1. .เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า.... คือ ใช้ปัญญานำหน้าสมาธิ. แนวทางนี้ ปัญญาเด่น
ข้อ2.เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า..... คือ ใช้ สมาธินำหน้าปัญญา. แนวทางนี้ สมาธิเด่น
ข้อ3.เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป..... คือ เจริญทั้งสมาธิ และ ปัญญา ในระดับพอๆกัน ไม่มีสิ่งใดเด่นกว่าสิ่งใด
สังเกต จาก ที่พระอานนท์ท่านกล่าวไว้.... ทั้ง 3แนวนี้
ไม่มีแนวทางไหน ที่ปราศจากสมถะ100%เลย
เพราะ ทั้ง3แนวทางนี้ ต่างล้วนแต่ ต้องมีส่วนของ สมถะด้วยกันทั้งสิ้น
ที่ท่านพระอานนท์กล่าวนี้ อาจจะไม่ตรงกับที่ทางคัมภีร์ชั้นหลังจัดแบ่ง วิธีการเจริญภาวนา ตามที่เรา-ท่าน คุ้นเคยกัน คือ
1.
สมถะยานิกะ ซึ่งหมายถึงต้องได้ฌานเสียก่อน แล้วยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนาภายหลัง
2.
วิปัสสนายานิกะ ซึ่งหมายถึงการเจริญวิปัสสนาล้วนๆ100% โดยต้องไม่มีส่วนของสมถะเข้ามาเจือปนเลย
ลองเปรียบเทียบที่คัมภีร์ชั้นหลังแบ่ง กับ ในระดับพระสูตรที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้น่ะครับ
1.สมถะยานิกะ ก็คือ ที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ในแนวทางที่2(เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า ). และมีพระพุทธวจนะโดยตรง ในการใช้องค์แห่งฌาน มาเป็นอารมณืแห่งวิปัสสนาดังนี้
ปัญหา การบำเพ็ญสมาธิจนได้ฌาน จะเป็นเหตุละอาสวะได้หรือไม่ ?
พุทธดำรัสตอบ
.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยแนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง....
.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาหร เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้วเธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุ นั้นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละ คือ อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้นย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย....
ฌานสูตร นว. อํ. (๒๐๔)
ตบ. ๒๓ : ๔๓๘-๔๓๙ ตท. ๒๓ : ๓๙๐-๓๙๑
G.S. IV : ๒๘๔-๒๘๕
http://www.84000.org/true/262.html
พระอานนท์ท่านกล่าวถึง การใช้องค์ฌานเป็นอารมณ์แห่งการเจริญวิปัสสนา โดยตรง .ในลักษณะ ได้เจริญสมถะล้วนๆเต็มรูปแบบมาก่อน และ นำองค์ฌานเป็นอารมณ์แห่งการเจริญวิปัสสนา. แบบนี้ จะตรงกับที่ ท่านพระอานนท์กล่าวว่า เป็นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
ลองอ่านน่ะครับ
http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=13&start_byte=23985
รูปฌาน ๔
ขอเสนอ ให้ความสำคัญตรงที่กล่าวว่า
เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า
แม้ปฐมฌาน(....ทุยฌาน.... ตติยฌาน... จตุถฌาน)นี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
เป็น คำบรรยาย ถึงการใช้องค์ฌานเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยตรง ในระดับพระสูตร ที่มีรายละเอียดชัดเจนมาก จุดหนึ่ง
และ ผลที่กล่าวไว้ในที่นี้ คือ หากไม่สิ้นอาสวะ(เป็นพระอรหันต์) ก็จะบรรลุอนาคามีผล
แต่วิธีในแนวทางนี้ คงไม่เหมาะกับฆราวาสทั่วไปที่ไม่ได้ปลีกตัวไปภาวนาในสถานที่อันเหมาะสม.วิธีการนี้ ก็คือ วิธีการที่พระสาวกที่ท่านได้เคยบำเพ็ญสมถะ100%(เช่น กสิณ)มาก่อน ใช้ต่อยอดเจริญวิปัสสนา
2.วิปัสสนายานิกะ ซึ่งถ้าเป็นในความหมายของการปราศจากส่วนของสมถะ(ซึ่งให้ผลเป็นสมาธิ)100%แล้ว ก็ไม่น่าจะตรงกัย วิธีที่1(เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า )ที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้. เพราะท่านพระอานนท์ก็กล่าวไว้ชัดเจนว่า เจริญวิปัสสนา"มีสมถะเป็นเบื้องหน้า"..... คือ ก็ยังคงต้องมีส่วนของสมถะ(ซึ่งมีผลคือสมาธิ)มาประกอบอยู่ดี
ในไตรสิกขา มี ศีล สมาธิ ปัญญา..... ถ้าสมาธิเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือเป็นตัวถ่วงให้เสียเวลาในการเจริญวิปัสสนาจริงๆแล้ว พระพุทธเจ้าจะไปสอนสมาธิไว้ในไตรสิกขา ทำไม
และ
ในอริยมรรคที่มีองค์แปด มี"สัมมาสมาธิ"เป็นองค์แห่งมรรคในข้อสุดท้าย เป็นที่ประชุมรวมลงแห่งองค์แห่งอริยมรรคอีกทั้งเจ็ด. ถ้า สัมมาสมาธิ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือเป็นตัวถ่วงให้เสียเวลาในการเจริญวิปัสสนาจริงๆแล้ว พระพุทธเจ้าจะไปสอนสัมมาสมาธิไว้ในองค์แห่งอริยมรรค ทำไม.....
ลองพิจารณาดูกันน่ะครับ
เรื่อง ของความไม่ตรงกันในเรื่อง สมถะ-วิปัสสสนา.... ระหว่าง พระพุทธพจน์ในพระสูตร กับ คัมภีร์รุ่นหลัง ที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือกรณีของ อานาปานสติกรรมฐาน และ กายคตาสติกรรมฐาน
1.อานาปนสติกรรมฐาน
จาก คัมภีร์รุ่นหลัง บางเล่ม กล่าวไว้ว่า
ว่าด้วยอานาปานสติ
เป็นภูมิมนสิการแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจจกพุทธ พุทธบุตร และผู้เป็นมหาบุรุษเท่านั้น มิใช่กรรมฐานเล็กน้อย และมิใช่สัตว์เล็กน้อย (ผู้มีปัญญาน้อย) จะซ่องเสพได้
จาก คัมภีร์รุ่นหลัง ถ้าถือตามมติแห่งคัมภีร์นี้ ชาวพุทธทั่วไปที่ไม่เข้าข่ายแห่งมหาบุรุษ ก็ไม่ควรเจริญอานาปนสติให้เสียเวลา
แต่ ลองเปรียบเทียบดูกับ อานาปนสติกรรมฐาน จากพระสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด ยังเป็นเสกขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) ยังมิได้บรรลุอรหัตตผล เมื่อปรารถนาธรรมอันยอดเยี่ยม อันปลอดโปร่งจากโยคะ (เครื่องผูกมัด) อยู่ สมาธิที่มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน)."
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๓
จากพระสูตร ตรัสถึงทรงแนะนำให้ภิกขุเสขะทั่วไป(ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นมหาบุรุษ) ควรเจริญอานาปนสติกรรมฐาน
2.กายคตาสติกรรมฐาน
คัมภีร์รุ่นหลังบางเล่ม จัดให้เป็นเพียงอุบายแห่งสมถะกรรมฐานอย่างเดียว หาได้มีส่วนแห่งวิปัสสสนาไม่
อนึ่ง กายคตาสติเป็นการเจริญสติปัฏฐานนั้น มีทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา ในตัว
ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ท่านได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือพุทธธรรม ดังนี้ครับ
การเจริญสติปัฏฐานนี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมา และยกย่อง
นับถือกันอย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะ และวิปัสสนาในตัว
แต่ สติปัฏฐานที่ มีพระสุปฏิปันโนในไทยหลายท่าน พากันปฏิบัติ เช่น กายคตาสติ และ อานาปานสติ ก็ยังคงมีความเห็นจากบางท่าน(ที่อิงกับทางพม่า และ คัมภีร์รุ่นหลัง)จัดให้เป็นเพียง อุบายแห่งสมถะอย่างเดียว มิได้มีส่วนแห่งวิปัสสนากรรมฐานเลย.....และ เหมือนจะกล่าวว่า ไม่ควรเจริญกายคตาสติ ให้เสียเวลาเลยเสียด้วยซ้ำ
ตรงนี้ ผมขอเสนอให้ดูจากหลักฐานระดับพระสูตรโดยตรง.... เช่น กรณีของกายคตาสติกรรมฐาน
จากพระสูตร กายคตาสติ มีอานิสงส์ ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นฌานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนือง ๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ
(๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
(๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วด้วย ฯ
(๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ต่อสัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาก ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้ ฯ
(๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก ฯ
(๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอกภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ ไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ โดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ
(๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่ไกล และที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ
(๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะหรือจิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ
จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่ารู้วาจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น
จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ
(๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้ เป็นอเนกประการ คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้างหลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวักวิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุข และทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น
แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ
(๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ........... ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ
(๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯ กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นฌานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนือง ๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ"
อานิสงส์9ข้อแรกเป็นผลของสมถะโดยตรง
อานิสงส์ข้อ10 คือ ถึงพระอรหัตตผล เป็นผลจากวิปัสสนา
พระมหาสาวก ที่ใช้กายคตาสติเป็นหลักในการภาวนา คือ ท่านพระอานนท์ พุทธอนุชาผู้ทรงพหูสูต
ในพระวินัยปิฎก เล่ม 7 จุลวรรคภาค 2 ขันธกะ
ระบุถึงการบรรลุพระอรหันต์ของท่าน ดังนี้
[617] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุม
ข้อที่เรายังเป็นเสกขบุคคลอยู่จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้น ไม่ควรแก่เรา
จึงยังราตรีเป็นส่วนมากให้ล่วงไปด้วย กายคตาสติ
ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีจึงเอนกายด้วยตั้งใจว่า จักนอน
แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนและเท้ายังไม่ทันพ้นจากพื้น
ในระหว่างนั้น จิตได้หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม ฯ
ท่านพระอานนท์ ตอนที่ตั้งใจเจริญกายคตาสตินั้น ท่านบรรลุเป็นพระโสดาบันมานานแล้ว(ท่านบรรลุโสดาบัน ตั้งแต่ ฟังธรรมจากท่านพระปุณณมันตานีบุตร เมื่อคราวอุปสมบทใหม่ๆ).
ในคืนก่อนวันปฐมสังคายนาที่ท่านพระอานนท์บรรลุอรหัตตผล ท่านเจริญกรรมฐานส่วนใหญ่ด้วยกายคตาสติ.... คือ ท่าน เร่งภาวนาเพื่อให้บรรลุอรหัตตผลในคืนนั้น เพื่อที่จะได้ทันเข้าร่วมปฐมสังคายนา.
กรรมฐานที่พระโสดาบันที่ทรงพหูสูตรที่สุดเลือกในการมุ่งอรหัตตผล ย่อมน่าสนใจมากครับ... และ ไม่น่าจะเป็นเพียงแค่ อุบายแห่งสมถกรรมฐานอย่างเดียว โดยไม่มีส่วนของวิปัสนาอย่างที่บางท่านเข้าใจ.....
ท่านพระอานนท์ ที่เป็นผู้ฟังและทรงจำพระพุทธพจน์มามากที่สุด คงไม่เลือกกรรมฐานที่เป็นแต่เพียงสมถกรรมฐานอย่างเดียว มาใช้ภาวนาให้เสียเวลา ในคืนที่สำคัญขนาดนั้นแน่
ลองพิจารณากันดูน่ะครับ
คุณ ตรงประเด็น DT06651
ขอบคุณครับ
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นครับ
๑.อานาปานสติ เป็นการเจริญสมถะเพื่อให้เกิดสมาธิด้วยการกำหนดดูลมหายใจ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้ใจสงบ เมื่อจิตสงบหลายครั้งหลายหน จะเป็นฐานแห่งสมาธิ แล้วจึงพิจารณาปัญญาวิปัสสนาต่อไป
อานาปานสติ สมถะมีก่อน แล้วจึงเดินปัญญา วิปัสสนาจึงมีภายหลัง
อานาปานสติจึงเข้าลักษณะ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น
๒.กายคตาสติ เป็นการตั้งสติไม่ให้สติออกไปนอกจากวงแห่งร่างกาย เบื้องแรกอาจพิจารณาในส่วนของร่างกายที่เราถนัดใจเช่น โครงกระดูก หรือ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ในชั้นแรกจะยังเป็นวิปัสสนาไม่ได้เพราะกำลังสมาธิยังไม่พอ แต่จะเป็นไปเพื่อสมถะ เช่น การพิจารณาในวงแห่งกาย โดยเฉพาะการเจาะหนังเข้าไปถึงอาการอื่นของร่างกาย เป็นการสอนจิตใจเราให้ยอมรับถึงความไม่งามของร่างกาย เมื่อจิตใจยอมรับความจริงจึงถอนออกจากความเห็นว่าร่างกายเป็นของงาม ทำให้จิตรวมลงเป็นสมาธิ เมื่อจิตรวมลงจาการพิจารณากายคตาสติหลายครั้งหลายหนก็จะเป็นฐานแห่งสมาธิ เมื่อมีฐานของสมาธิจะสามารถทำให้จิตเกิตปฏิภาคนิมิตในอาการต่าง ๆ ของร่างกายเราได้ การเจริญกายคตาสติในชั้นของปฏิภาคนิมิตจึงเป็นชั้นวิปัสสนา
ลักษณะเช่นนี้ท่านจึงกล่าวว่า กายคตาสติ เป็นทั้งสมถะ และวิปัสสนา
กายคตาสติ จึงมีวิปัสสนามาก่อน แล้วสมถะมีภายหลัง
และกายคตาสติจึงเข้าลักษณะ เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
ขออนุญาตเพิ่มเติมครับ
ที่เรียกว่า กายคตาสติ วิปัสสนามาก่อน แล้วสมถะมาภายหลัง
เนื่องจากใช้การพิจารณากายให้จิตสงบเป็นสมถะ
ไม่เหมือนอานาปานสติ ที่ไม่ได้ใช้การพิจารณา แต่เป็นการเพ่งดูลมหายใจจนจิตสงบ
การพิจารณาเป็นลักษณะเดียวกับการเดินปัญญา หรือวิปัสสนา กายคตาสติ จึงเข้าลักษณะวิปัสสนามาก่อน สมถะมาภายหลัง ครูบาอาจารย์ท่านเรียกว่า " ปัญญาอบรมสมาธิ "
ยินดีที่ได้สนทนา แลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น กับทุกท่านน่ะครับ
ขอบคุณ คุณguest เช่นกันครับ
แต่ ผมมองไม่เหมือนคุณguest ตรงจุดของกายคตาสติครับ
กายคตาสติ น่าจะเป็นลักษณะการเดินมรรค ตามแนวทางที่3(เจริญสมถะ คู่กับ วิปัสสนา) ตามแบบในพระสูตร ที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ใน ปฏิปทาวรรค (คนล่ะพระสูตรกับที่ท่าน จขกท.นำมาลงในต้นกระทู้นี้น่ะครับ แต่เนื้อหาไปในทิศทางเดียวกัน) คือ เดินมรรคคู่กันไปพร้อมๆกัน ทั้งส่วนของสมถะ และ วิปัสสนา
การเดินมรรค ในแนวทางที่3นี้ จะมีสมาธิระดับฌานปรากฏไปในตัวอยู่....ดูจากพระสูตร ก็ตรงที่ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯ กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมากเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นฌานแล้ว
ต่างกับ การเดินมรรคในแนวทางที่1 (เจริญวิปัสสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า) ซึ่งแนวทางนี้ไม่จำเป็นต้องมีฌานในขั้นการเดินมรรคแต่อย่างใด. ท่านผู้รู้จึงกล่าวว่า ในขั้นตอนแห่งการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ ฌานไม่ใช่ของที่"ต้องมี"แต่อย่างใด เพราะในแนวทางที่1นี้ ฌานไม่ปรากฏในขั้นเดินมรรค(แต่ สัมมาสมาธิ ซึ่งมีกำลังแห่งสมาธิอยู่ในระดับ หรือ เทียบเท่า รูปฌาน๑ ถึง รูปฌาน๔ จะบังเกิดเองภายหลัง ที่เรียกว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า นั่นเอง)
กายคตาสตินี้ ผมขอเสนอให้ลองอ่านที่ ท่านหลวงปู่มั่น สอนแก่หลวงปู่แหวนไว้ดังนี้ครับ
หลวงปู่แหวนท่านได้เล่าถึงหลักการภาวนาที่หลวงปู่มั่นได้เมตตาแนะนำว่า
"......การแนะนำให้ศิษย์ปฏิบัติภาวนานั้น หลวงปู่มั่นท่านย้ำอยู่เสมอว่า
จะใช้"พุทโธ"เป็นบทบริกรรมสำหรับผูกจิตก็ได้ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้วให้วางบทบริกรรมเสีย.....
แล้วพิจารณาร่างกาย ครั้งแรกให้พิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่เราสามารถจะเพ่งพิจารณาได้อย่างสะดวกในอาการ๓๒ เมื่อพิจารณาจนเกิดความชัดเจน กลับไป-กลับมา หรือที่เรียกว่าอนุโลม-ปฏิโลมแล้ว
เมื่อหายสงสัยในจุดที่พิจารณานั้นแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนเป็นจุดอื่นต่อไป.อย่าพิจารณาเป็นวงกว้างทั้งร่างกาย ความชัดเจนจะไม่ปรากฏ....ต้องค่อยเป็นค่อยไป.....
เมื่อพิจารณาจนเกิดความชำนาญแล้ว เมื่อเราเพ่งปัญญาลงไปจุดใดจุดหนึ่ง ความชัดเจนจากจุดอื่นๆก็จะปรากฏเป็นนัยเดียวกัน.....
เมื่อพิจารณาพอสมควรแล้ว ให้น้อมจิตเข้าพักอยู่ในความสงบ....เมื่อพักอยู่ในความสงบพอสมควรแล้วให้ย้อนกลับออกมาพิจารณาร่างกายอีก
ให้เจริญอยู่อย่างนี้ จึงจะเจริญทางด้านปฏิบัติ....
เมื่อจิตมีความชำนาญเพียงพอแล้ว......... คำบริกรรม"พุทโธ"ก็ไม่จำเป็น เพียงกำหนดจิตก็จะสงบเข้าสู่สมาธิทันที....."
หลวงปู่มั่น ท่านจะสอนให้เดินมรรคสลับกันไปมา ทั้งสมถะ และ วิปัสสสนา ทั้งสองส่วน
ครับ....
ผมจึงเห็นว่า กายคตาสติ ไม่น่าจะจัดเป็น เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า ครับ
เป็นการมองต่างมุมน่ะครับ
จาก ที่ ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ ใน ปฏิปทาวรรคนี้
จะแยก แนวทาง การเจริญกรรมฐาน(ภาวนา) เป็น 3แบบ คือ
1.เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
2.เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
3.เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
วิธีที่2 เป็นวิธีที่กล่าวถึงแล้ว ว่า อาจจะไม่เหมาะกับฆราวาสในยุคสมัยนี้ เพราะต้องได้ฌานก่อน แล้วนำองค์ฌานมาเจริญวิปัสสนาอีกที
วิธที่น่าสนใจ คือ วิธีที่1 และ วิธีที่3 ครับ
ขอ เสนอ แนวทางที่1ก่อนน่ะครับ
วิธีที่1 เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
ก็มีพระสาวกจำนวนมากมายในครั้งพุทธกาล ที่มาในแนวนี้ เช่น ท่านที่ไม่เคยออกบวชบำเพ็ญฌาน หรือ เจริญสติปัฏฐานมาก่อนเลย แต่ฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ของพระศาสดา ส่งจิตตามพระธรรมเทศนา และบรรลุอรหัตผลไปเลย ณ ที่นั้น. แต่ ผมเองมองว่า ท่านเหล่านั้น เป็นบุรุษผู้ยอดเยี่ยม ที่มีพื้นฐานของจิตที่สงบในระดับหนึ่งอยู่แล้ว.... เรียกว่า ไม่จำเป็นต้องมาฝึกสมาธิเลยเสียด้วยซ้ำ .... อาจจะเป็นเพราะ ท่านเหล่านั้นมีบารมีแต่หนหลังอยู่แล้ว หรือ เป็นเพราะ สิ่งแวดล้อมบ้านเมืองในสมัยนั้น ไม่ได้สับสนวุ่นวายเหมือนในสมัยนี้. แต่ในยุคสมัยนี้ สังคมเป็นเช่นนี้ ก็ไม่แน่ใจว่าจะมีบุคคลที่มีจิตสงบอยู่แล้วโดยพื้นฐาน เช่น ท่านเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน.....
แต่ ผมก็เห็นด้วยทุกประการน่ะครับ ถ้าใครจะกล่าวว่า "สามารถเจริญวิปัสสนาได้โดยตรงเลย โดยไม่ต้องได้ฌานเสียก่อน".เพราะ มีหลักฐานปรากฏจริงๆ ให้เห็นในครั้งพุทธกาล
อนึ่ง แนวทางนี้ ในตอนขั้นดำเนินมรรค ก็ยังคงต้องมีสมาธิระดับหนึ่ง(ที่ยังไม่ถึงขั้น สัมมาสมาธิ)อยู่ดี เช่นที่ ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ กล่าวไว้ใน หนังสือพุทธธรรม
"....วิธีการที่มุ่งเฉพาะด้านปัญญา คือการปฏิบัติอย่างที่กล่าวไว้บ้าง
แล้วในเรื่องสัมมาสติ เป็นวิธีปฏิบัติที่สติมีบทบาทสำ คัญ คือ ใช้สมาธิแต่
เพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำ เป็นสำ หรับการปฏิบัติ หรือใช้สมาธิเป็นเพียงตัวช่วย
แต่ใช้สติเป็นหลักสำคัญ สำหรับยึดจับหรือมัดสิ่งที่ต้องการกำ หนดไว้ ให้
ปัญญาตรวจพิจารณา นี้คือวิธีปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนา
แท้จริงนั้น ในการปฏิบัติวิธีที่ ๑ นี้ สมถะก็มีอยู่ คือการใช้สมาธิขั้น
ต้นๆ เท่าที่จำเป็น...."
ท่านผู้รู้ ท่านจัดสมาธิที่จำเป็นต้องใช้ในขั้นการดำเนินมรรคตรงนี้ว่า เป็น สมาธิระดับ ขณิกสมาธิ หรือ อุปจาระสมาธิ เท่านั้น
อนึ่ง ถึงแม้น สัมมาสมาธิ จะมีกำลังแห่งสมาธิ อยู่ในระดับ(หรือเทียบเท่ากับ) รูปฌาน๑ ถึง รูปฌาน๔ ก็จริง..... แต่ ผู้ที่ดำเนินมรรคตามแนวทางที่1นี้ ไม่จำเป็นต้องได้ฌานมาก่อน (ผู้ที่ได้ฌานก่อน แล้วค่อยมาเจริญวิปัสสสนาจะเป็น แนวทางที่2ครับ). ผู้ดำเนินมรรคตามแนวทางที่1นี้ สามารถเจริญวิปัสสสนาได้โดยตรงเลย โดยไม่ต้องไปกังวล เรื่องฌานแต่อย่างใด
ส่วน เมื่อบังเกิดมรรคสมังคีเมื่อใด .....สัมมาสมาธิ จะต้องบังเกิดมีขึ้นเช่นกัน(มีสมถะเป็นเบื้องหน้า)
อิ..อิ..อิ
ตรงประเด็น ก็ตาม ออกนอกรอยไปหน่อยอ่่ะ
"หลวงปู่มั่น ท่านจะสอนให้เดินมรรคสลับกันไปมา ทั้งสมถะ และ วิปัสสสนา ทั้งสองส่วน ครับ...."
ท่านหลวงปู่มั่น สอนให้ หลวงปู่แหวน รู้จักพักในวิหารธรรม ตติยฌาน แล้วออกจากตติยยฌาน มายังปฐมฌาน เพื่อให้เจริญกุศลวิตก วิจาร เพื่อสำเร็จประโยชน์ในการเจริญวิปัสสนา เป็นลำดับๆ ไป ไม่ใช่เป็นการสอนให้เดินมรรคสลับกันไปมาตามที่ ท่านเข้าใจเอาเอง สมาธิที่ใกล้ปฐมฌาน กล่าวว่าเป็นสมาธิระดับต้นๆ ก็ยังเป็นสัมมาสมาธิ เพราะมีเนกขัมะวิตก มีองค์ฌานและวิปัสสนา เพียงแต่ว่า ปัญญาที่เกิดขึ้นยังไม่ถึงกับแทงตลอดอกุศลธรรมทั้งหลาย
อิ..อิ...อิ
เสียดายผู้ที่ไม่ทำความเข้าใจในองค์ธรรมที่เกิดร่วมเกิดพร้อมกับฌานจิต จึงยังหลงประเด็นอยู่ดี
การเจริญกายคตาสติ ต้องอยู่ในองค์ฌาน สาธุครับ
การเจริญสติปัฏฐานสี่ ก็คือการเจริญอริยะมรรคนั้นเองครับ
แต่ถูกตำราหลังๆพาไปตามยึดสัญญากริยาย่างก้าว ยึดเวทนา สังขาร วิญญาณ แล้ว
หาว่านั้นเป็น สติ
จิตที่ปราศจากองค์ฌาน นั้น ก็ปราศจากสติ แต่เป็นการตามรู้ในอดีตซึ่งก็คือ
การตามไล่อดีตนั้นเอง จิตจึงไปยึดสัญญาในอดีต เป็นการเพิ่มพูนสักกายะทิฏฐิ
หากเข้าใจในปฏิจสมุปบาท จะรู้ว่า การตามรู้ ตามดูกริยา เวทนา สัญญาฯเหล่านั้น
ล้วนเป็นการเพิ่มพูนทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้น ล้วนเป็นโมหะ...
กิเลสที่ส่งผลวิบากได้ยาวนานมากที่สุดก็คือ โมหะ(หลง)
ขอให้อ่าน คห.ของเจ้าของกระทู้(อภิปัญโญ ภิกขุ) ได้แสดงไว้อย่างชัดเจนครับ สาธุ
พระธรรมเทศนาเรื่องโจรผู้ทำลายปมเป็นอย่างนี้เจ้าค่ะ
โย พาโล มัญญะตี พาละยัง
ปัณฑิโต วาปิ เตนะโส
พาโล จะ ปัณฑิตะ มานี
สะ เว พาโลตะ วุจะติ
บุคคลใดโง่ สำคำความแห่งที่ตนเป็นคนโง่
ก็พอจะเป็นบัณฑิตเพราะเหตุนั้นได้บ้าง
ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่แต่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต
เราเรียกบุคคลนั้นว่า "คนโง่แท้ ....."
น้ำเค็มใช้พระบาลี ด่าพระท่าน อวดรู้ภูมิสำคัญตนว่าเป็นมาตุคามที่ฉลาดในธรรม ๆลๆ
เหอๆๆๆๆๆๆ
ต้องกลับไปทบทวนหลักธรรม ใหม่แล้ว มาตุคามเอ๋ย
อ๋อ เอาพระบาลีที่ยกมาด่าพระ ท่าน ไปใช้กลับตัวเองทันทีเลยนะ เหอๆๆๆๆๆๆ
เป็นปีๆ ที่ผ่านมา หมอตรง ก็ ยังคงเอาพระสูตรที่ผมเคยโพส มาเสนอแล้วตีความมั่วๆ
เวลาผ่านไป.....หมอตรงก็ยังคงไม่เข้าใจ ซ้ำยัง เสนอแนวคิดออกมหาสมุทร ผสมปนเปไปไกลออกห่างยิ่งกว่าเดิมอีก หมอตรงๆ ไม่พัฒนาเลย
อ่าน ของเก่าดู
โอ้ ยังมีเก็บไว้ อีก ^ ^