*****บุคคลผู้ระลึกถึงขันธ์ในอดีตของตนได้ มี ๖ ประเภท *****

 anutra    

บุคคลผู้ระลึกถึงขันธ์ในอดีตของตนได้ มี ๖ ประเภท

๑. เดียรถีย์ระลึกได้เพียง ๔๐ กัป

๒. พระปกติสาวกทั้งหลาย ระลึกได้ ๑๐๐ กัป ก็มี ๑๐๐๐ กัปก็มี

๓. พระมหาสาวกทั้งหลาย ระลึกได้แสนกัป

๔. พระอัครสาวกทั้งสององค์(พระสารีบุตร และพระโมคคัลลา)ระลึกได้ ๑ อสงไขยกับแสนกัป

๕. พระปัจเจกพุทธระลึกได้ ๒ อสงไขยกับแสนกัป

๖. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระลึกได้ตลอด ไม่มีที่สุด หากำหนดกาลไม่ได้.

ความสามารถในการระลึกต่างกัน

๑. เดียรถีย์ทั้งหลาย ระลึกได้แต่ลำดับขันธ์ ไม่อาจปล่อยลำดับมาระลึกโดยจุติ ปฏิสนธิได้

๒. พระปกติสาวก ระลึกโดยลำดับขันธ์บ้าง ระลึกก้าวไปโดยจุติ ปฏิสนธิบ้าง

๓. พระมหาสาวก เช่นเดียวกับพระปกติสาวก

๔. พระอัครสาวก กิจด้วยการระลึกตามลำดับขันธ์หามีไม่ ระลึกก้าวไปในจุติ ปฏิสนธิทีเดียว เห็นจุติอัตภาพหนึ่ง เห็นปฏิสนธิในอัตภาพอื่น

๕. พระปัจเจกพุทธทั้งหลาย ก็เช่นเดียวกับพระอัครสาวก

๖. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระประสงค์จะทรงทราบ ตรงที่ใด ในกาลใด แม้หลายโกฏิกัป ในที่นั้นๆ ก็ปรากฏแก่พระองค์โดยแท้

(ที่มา - คู่มือการศึกษา วิสุทธิมัค [สังเขป] รวบรวมโดยอาจารย์วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี)



--------------------------------------------------------------------------------




ผู้สนใจศึกษาในพุทธธรรม กรุณาคลิกไปที่...

http://www.oknation.net/blog/pierra

และที่...

http://www.oknation.net/blog/boy-girl


ขันธ์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น อดีตก็ล่วงไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่มา ทำไมถึงต้องเวียนอยู่กับเรื่องนี้อีก สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงฝากไว้ก่อนดับขันธ์ จงทำความไม่ประมาท แค่นี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับการมีธรรมะ ศึกษามากก็ยิ่งฟุ้งซ่านมากนะคะ เอาแค่ดับทุกข์ได้ ก็มากเพียงพออยู่แล้ว การระลึกถึงขันธ์ไม่ควรแต่ถ้าเพื่อระลึกถึงความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ให้เห็นเป็นอนิจจัง แล้วให้จิตใจนิ่งสงบ เย็น และมีประโยชน์ก็น่าจะดีนะคะ


วิช.ชา อุป.ปตตํ เสฏฐา

( วิชชา อุปปะตะตัง เสฏฐา )

บรรดาสิ่งที่งอกงาามขึ้นมา วิชชาประเสริฐสุด


พระสุตตันตปิฏก
เล่ม ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


[๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์
ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีต
ทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ
๖๒ ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิ
ว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการพวกที่มีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง ... พวกที่มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ... พวกที่มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว ...
พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ... พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต ... พวกที่มีทิฏฐิว่า
อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ... พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มี
สัญญา ... พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ...
พวกที่มีทิฏฐิว่าขาดสูญ ... พวกที่มีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบัน ... พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต ...
พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วน
อนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วน
อนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๖๒ ประการ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก
ถูกต้องๆ แล้วด้วยผัสสายตนะทั้ง ๖ ย่อมเสวยเวทนา เพราะเวทนาของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ
โทมนัส อุปายาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ
คุณและโทษ แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือ
พราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์
ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์
ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
ถูกทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้แหละเป็นดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้
ติดอยู่ในข่ายนี้ถูกข่ายปกคลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ เปรียบเหมือนชาวประมงหรือลูกมือ
ชาวประมงผู้ฉลาด ใช้แหตาถี่ทอดลงยังหนองน้ำอันเล็ก เขาคิดอย่างนี้ว่า บรรดาสัตว์ตัวใหญ่ๆ
ในหนองนี้ทั้งหมด ถูกแหครอบไว้ อยู่ในแห เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ติดอยู่ในแห ถูกแหครอบไว้
เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย. สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้น
ที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
ก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้แหละเป็น
ดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายปกคลุมไว้
เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต เปรียบเหมือนพวงมะม่วง เมื่อขาดจากขั้วแล้ว
ผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ
ขาดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตได้ก็ชั่วเวลา
ที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ว่า อรรถชาละก็ได้
ว่าธรรมชาละก็ได้ ว่าพรหมชาละก็ได้ ว่าทิฏฐิชาละก็ได้ ว่าพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมก็ได้.
ครั้นพระผู้มีพระภาค ตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น มีใจชื่นชม
เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็และเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ หมื่น
โลกธาตุได้หวั่นไหวแล้วแล.
จบพรหมชาลสูตรที่ ๑.
เมื่อศึกษาด้วยโยนิโสมนสิการจากพระไตรปิฎกดูแล้ว พระพุทธองค์ให้เราละอดีตขันธ์นะคะ มิใช่ให้ยึดมั่นถือมั่นในอดีตขันธ์ค่ะ ใช้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิต
ดำรงค์สติและจิตให้มั่น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เพื่อดับขันธ์มิดีกว่าหรือคะ?
นั่นเป็นผลพลอยได้ของผู้ที่ปฏิบัติที่เห็นแล้ว ก็สักแต่ว่าเห็น ดั่งที่ดิฉันได้นำพระสูตรนี้มาแสดงค่ะ




สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้น
ที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
ก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้แหละเป็น
ดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายปกคลุมไว้
เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต เปรียบเหมือนพวงมะม่วง เมื่อขาดจากขั้วแล้ว
ผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ
ขาดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตได้ก็ชั่วเวลา
ที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว


นี่คือหลักฐานที่อ้างอิงและเห็นได้แน่นอนว่า การดับขันธ์ทั้ง 5 ได้เท่านั้นเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติควรศึกษาและควรนำมาปฏิบัติค่ะ


 3,853 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย