24 หมวดตัณหา - CRAVING

๑. มนุชสฺส ปมตฺตจาริโน 
ตณฺหา วฑฺฒติ มาลุวา วิย 
โส ปริปฺลวติ หุราหุรํ 
ผลมิจฺฉํว วนสฺมึ วานโร ฯ ๓๓๔ ฯ


สำหรับคนที่มีชีวิตอยู่อย่างประมาท 
ตัณหามีแต่จะเจริญเหมือนเถาวัลย์ 
เขาย่อมกระโดดจากภพนี้ไปสู่ภพอื่น 
เหมือนวานรโลภผลไม้ โลดแล่นอยู่ในป่า


Of the person addicted to heedless living 
Craving grows like a creeping. 
Such a man jumps from life to life 
Like a monkey craving fruit in the wilds.


๒. ยํ เอสา สหเต ชมฺมี 
ตณฺหา โลเก วิสตฺติกา 
โสกา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ 
อภิวุฏฺฐํว วีรณํ ฯ ๓๓๕ ฯ


ตัณหาอันลามก มีพิษร้าย 
ครอบงำบุคคลใด ในโลก 
เขาย่อมมีแต่โศกเศร้าสลด 
เหมือนหญ้าถูกฝนรด ย่อมงอกงาม

Whoso in the world is overcome 
By this craving poisonous and base, 
For him all sorrow increases 
As Virana grass that is watered well.



๓. โย เจตํ สหเต ชมฺมึ 
ตณฺหํ โลเก ทุรจฺจยํ 
โสกา ตมฺหา ปปตนฺติ 
อุทวินฺทุว โปกฺชรา ฯ ๓๓๖ ฯ


ผู้ใดเอาชนะตัณหาลามก 
ที่ยากจะเอาชนะได้นี้ 
ความโศกย่อมตกไปจากผู้นั้น 
เหมือนหยาดน้ำ ตกจากใบบัว


But whoso in the world overcomes 
This base craving, difficult to overcome- 
His sorrow falls away from him 
As water drops from a lotus leaf.



๔. ตํ โว วทามิ ภทฺทํ โว 
ยาวนฺเตตฺถ สมาคตา 
ตณฺหาย มูลํ ขนถ 
อุสีรตฺโถว วีรณํ 
มา โว นฬํว โสโตว 
มาโร ภญฺชิ ปุนปฺปุนํ ฯ ๓๓๗ ฯ


เราขอบอกความนี้แก่พวกเธอ 
ขอให้พวกเธอผู้มาชุมนุมกัน ณ ที่นี้ มีความเจริญ 
ขอให้พวกเธอขุดรากตัณหา เหมือนถอนรากหญ้ารก 
พวกเธออย่าปล่อยให้มารรังควาญบ่อยๆ 
เหมือนกระแสน้ำค่อยๆเซาะต้อนอ้อล้ม


This I say unto you: 
Good luck to you all who have assembled here. 
As one roots out fragrant Virana grass, 
So do you dig up craving by its root. 
Let not Mara crush you again and again 
As the river flood crushing a reed.



๕. ยถาปิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห 
ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปูนเรว รูหติ 
เอวมฺปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต 
นิพฺพตฺตตี ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุนํ ฯ ๓๓๘ ฯ


เมื่อรากยังแข็งแรง ไม่ถูกทำลาย 
ต้นไม้แม้ที่ถูกตัดแล้ว ก็งอกได้ใหม่ฉันใด 
เมื่อยังทำลายเชื้อตัณหาไม่ได้หมด 
ความทุกข์นี้ก็ย่อมเกิดขึ้นได้เรื่อยไปฉันนั้น


As a tree cut down sprouts forth again 
If its roots remain undamaged and firm, 
Even so, while latent craving is not removed, 
This sorrow springs up again and again.



๖. ยสฺส ฉตฺตึสตี โสตา 
มนาปสฺสวนา ภุสา 
มหา วหนฺติ ทุทฺทิฏฺฐึ 
สงฺกปฺปา ราคนิสฺสิตา ฯ ๓๓๙ ฯ


กระแสตัณหา ๓๖ สายอันเชี่ยวกราก 
ที่ไหลไปยังอารมณ์อันน่าปรารถนา 
ไหลบ่าท่วมท้นจิตใจใคร 
ความครุ่นคิดคำนึงที่แฝงราคะ 
ย่อมจะชักนำให้เขาเห็นผิดคิดไข้วเขว


In whom are strong the thirth-six torrents 
Of craving flowing towards pleasurable objects- 
Then the great flood of lustful thoughts 
Carries off that misunderstanding man.



๗. สวนฺติ สพฺพธี โสตา 
ลตา อุพฺภิชฺช ติฏฺฐติ 
ตญฺจ ทิสฺวา ลตํ ชาตํ 
มูลํ ปญฺญาย ฉินฺทถ ฯ ๓๔๐ ฯ


กระแสน้ำคือตัณหา ไหลไปทุกหนทุกแห่ง 
เถาวัลย์คือกิเลส ก็ขึ้นรกไปทั่ว 
เมื่อเห็น เถาวัลย์นั้นงอกงามแล้ว 
พวกเธอจงตัดรากมันด้วยมีดคือปัญญา


Everywhere flow the craving-streams, 
Everywhere the creepers sprout and stand. 
Seeing the creepers that have sprung high 
Do you cut their roots with your wisdom-knife.



๘. สริตานิ สิเนหิตานิ จ 
โสมนสฺสานิ ภวนฺติ ชนฺตุโน 
เต สาตสิตา สุเขสิโน 
เต เว ชาติชรูปคา นรา ฯ ๓๔๑ ฯ


สัตว์ทั้งหลาย มีแต่โสมนัส 
ชุ่มชื้นไปด้วยรักเสน่หา 
ซาบซ่านในกามารมณ์ทั้งปวง 
พวกเขาใฝ่แสวงแต่ความสุขสันต์หรรษา 
ก็ต้องเกิดต้องแก่อยู่ร่ำไป


To beings there arise wide-ranging pleasures 
That are moistened with lustful desires. 
Bent on pleasures, seeking after sexual joys, 
They, verily, fall prey to birth-and decay.



๙. ตสิณาย ปุรกฺขตา ปชา 
ปริสปฺปนฺติ สโสว พาธิโต 
สํโยชนสงฺคสตฺตา 
ทุกฺขมุเปนฺติ ปุนปฺปุนํ จิราย ฯ ๓๔๒ ฯ


เหล่าสัตว์ ติดกับตัณหา 
การเสือกกระสน ดุจกระต่ายติดบ่วง 
สัตว์ทั้งหลายติดอยู่ในกิเลสเครื่องผูกมัด 
ย่อมประสบทุกข์บ่อยๆ ตลอดกาลนาน


Enwrapped in lust, beings run about, 
Now here now there like a captive hare. 
Held fast by fetters they suffer 
Again and again for long.



๑๐. ตสิณาย ปุรกฺขตา ปชา 
ปริสปฺปนฺติ สโสว พาธิโต 
ตสฺมา ตสิณํ วิโนทเย 
ภิกฺขุ อากงฺชํ วิราคมตฺตโน ฯ ๓๔๓ ฯ


เหล่าสัตว์ ติดกับตัณหา 
กระเสือกกระสน ดุจกระต่ายติดบ่วง 
ฉะนั้นภิกษุ เมื่อหวังให้กิเลสจางคลาย 
ก็พึงทำลายตัณหาเสีย


Enwrapped in lust, beings run about, 
Now here now there like a captive hare. 
So let a bhikkhu shake off craving 
If he wishes his own passionlessness.


๑๑. โย นิพฺพนฏฺโฐ วนาธิมุตฺโต 
วนมุตฺโต วนเมว ธาวติ 
ตํ ปุคฺคลเมว ปสฺสถ 
มุตฺโต พนฺธนเมว ธาวติ ฯ ๓๔๔ ฯ


บุคคลใดสละเพศผู้ครองเรือน 
ถือเพศบรรพชิตปราศจากเรือน 
พ้นจากป่ากิเลสแล้วยังวิ่งกลับไปหาป่านั้นอีก 
พวกเธอจงดูบุคคลนั้นเถิด 
เขาออกจากที่คุมขังแล้วยังวิ่งกลับเข้าที่คุมขังอีก


Released from jungle of the household life, 
He turns to the bhikkhu jungle-life. 
Though freed from the household wilds 
He runs back to that very wilds again. 
Come indeed and behold such a man. 
Freed he turns to that bondage again.



๑๒. น ตํ ทฬฺหํ พนฺธนมาหุ ธีรา 
ยทายสํ ทารุชปพฺพฃญฺจ 
สารตฺตรตฺตา มณิกุณฺฑเลสุ 
ปุตฺเตสุ ทาเรสุ จ ยา อเปกฺขา ฯ๓๔๕ ฯ


เครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็ก ไม้ และปอป่าน 
ท่านผู้รู้กล่าวว่า ยังไม่ใช่เครื่องจองจำที่มั่นคง 
แต่ความกำหนัดยินดีในเครื่องเพชร บุตร ภริยา 
เป็นเครื่องจองจำที่มั่นคงยิ่งนัก


Not strong are bonds made of iron, 
Or wood, or hemp, thus say the wise. 
But attachment to jewelled ornaments, 
Children and wives is a strong tie.



๑๓. เอตํ ทฬฺหํ พนฺธนมาหุ ธีรา 
โอหารินํ สิถิลทุปฺปมุญฺจํ 
เอตํปิ เฉตฺวาน ปริพฺพชนฺติ 
อนเปกฺขิโน กามสุขํ ปหาย ฯ ๓๔๖ ฯ


ท่านผู้รู้กล่าวว่า เครื่องจองจำชนิดนี้มั่นคง 
มักฉุดลากลงที่ต่ำ คล้ายผูกไว้หลวมๆแต่แก้ยากนัก 
ผู้รู้ทั้งหลายจึงทำลายเครื่องจองจำนี้เสีย 
ละกามสุขออกบวชโดยไม่ไยดี

This is a strong bond, says the wise, 
Down-hurling, loose but hard to untie. 
This too they cut off and leave the world, 
With no longing, renouncing the sense-pleasures.



๑๔. เย ราครตฺตานุปตนฺติ โสตํ 
สยํ กตํ มกฺกฏโกว ชาลฺ 
เอตํปิ เฉตฺวาน วชนฺติ ธีรา 
อนเปกฺขิโน สพฺพทุกฺขํ ปหาย ฯ ๓๔๗ ฯ


ผู้ถูกราคะครอบงำ ย่อมถลำลงสู่กระแสตัณหา 
เหมือนแมลงมุมตกลงไปยังใยที่ตนถักไว้เอง 
ผู้ฉลาดทั้งหลาย จึงทำลายเครื่องจองจำนี้ 
ละทุกข์ทั้งปวง ออกบวชโดยไม่ไยดี


They who are attached to lust fall back 
To (craving's) streams as a spider self-spun web; 
This too the wise cut off and 'go forth', 
With no longing, leaving all sorrow behind.



๑๕. มุญฺจ ปุเร มุญฺจ ปจฺฉโต 
มชฺเฌ มุญฺจ ภวสฺส ปารคู 
สพฺพตฺถ วิมุตฺตมานโส 
น ปุน ชาติชรํ อุเปหิสิ ฯ ๓๔๘ ฯ


จงปล่อยวางทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน 
และอยู่เหนือความมีความเป็น 
เมื่อใจหลุดพ้นจากทุกอย่างแล้ว 
พวกเธอจักไม่เกิดไม่แก่อีกต่อไป


Let go the past, let go the future too, 
Let go the present and go beyond becoming. 
With mind released from everything, 
To birth-and-decay you shall come no more.



๑๖. วิตกฺกมถิตสฺส ชนฺตุโน 
ติพฺพราคสฺส สุภานุปสฺสิโน 
ภิยฺโย ตณฺหา ปวฑฺฒติ 
เอส โข ทฬฺหํ กโรติ พนฺธนํ ฯ ๓๔๙ ฯ


ผู้เป็นทาสวิตกจริต มีจิตกำหนัดยินดี 
ติดอยู่ในสิ่งที่สวยงาม 
มีแต่จะพอกความอยากให้หนา 
กระชับเครื่องพันธนาการให้แน่นเข้า


For him who is of restless mind, 
Who is of powerful passions, 
Who sees but the pleasurable, 
Craving increases all the more. 
Indeed he makes the bond strong.



๑๗. วิตกฺกูปสเม จ โย รโต 
อสุภํ ภาวยตี สทา สโต 
เอส โข พฺยนฺติกาหติ 
เอสจฺฉินฺทติ มารพนฺธนํ ฯ ๓๕๐ ฯ


ผู้ตั้งใจระงับความคิดฟุ้งซ่าน 
เจริญอสุภกรรมฐานวิธี มีสติทุกเวลา 
จักขจัดตัณหาหมดสิ้นไป 
ทำลายเครื่องผูกของมาร


He who delights in subduing thoughts, 
He who meditates on impurities of things, 
He who is ever full of mindfulness- 
It is he who will make an end of suffering 
And destroy the Mara's bond.



๑๘. นิฏฺฐงฺคโต อสนฺตาสี 
วีตตณฺโห อนงฺคโณ 
อจฺฉินฺทิ ภวสลฺลานิ 
อนฺติโมยํ สมุสฺสโย ฯ ๓๕๑ ฯ


พระอรหันตฺผู้ลุถึงจุดหมายปลายทางแล้ว 
หมดความสุดุ้ง หมดกิเลสตัณหาแล้ว 
หักลูกศรคือกิเลสประจำภพแล้ว 
ร่างกายนี้เป็นร่างสุดท้ายของท่าน


He has reached the final goal, 
He is fearless, without lust, without passions. 
He has broken the shafts of existence. 
Of such an arahant this body is his last.


๑๙. วีตตณฺโห อนาทาโน 
นิรุตฺติปทโกวิโท 
อกฺชรานํ สนฺนิปาตํ 
ชญฺญา ปุพฺพาปรานิ จ 
สเว อนฺติมสารีโร 
มหาปญฺโญ มหาปุรโสติ วุจฺจติ ฯ ๓๕๒ ฯ


หมดตัณหา ไม่ยึดมั่น ฉลาดในนิรุกติ 
รู้กลุ่มอักษรและรู้ลำดับหน้าหลัง 
ท่านผู้มีสรีระสุดท้ายนี้แล 
เรียกว่า มหาปราชญ์ และ มหาบุรุษ


Free from craving and grasping, 
Well-versed in analytical knowledge, 
Knowing the texual orders and their sequence, 
He of his last body is, indeed, called 
One of great wisdom and a great man.



๒๐. สพฺพาภิภู สพฺพวิทูหมสฺมิ 
สพฺเพสุ ธมฺเมสุ อนูปลิตฺโต 
สพฺพญฺชโห ตณฺหกฺขเย วิมุตฺโต 
สยํ อภิญฺญาย กมุทฺทิเสยฺยํ ฯ ๓๕๓ ฯ


เราเอาชนะทุกอย่าง เราตรัสรู้ทุกอย่าง 
เรามิได้ติดในทุกอย่าง เราละได้ทุกอย่าง 
เราเป็นอิสระเพราะสิ้นตัณหา เราตรัสรู้ด้วยตนเอง 
และจะอ้างใคร เป็นครูเราเล่า


All have I overcome, 
All do I know, 
From all am I detached, 
All have I removed, 
Thorougly freed am I 
Through the destruction of craving, 
Having realized all by myself, 
Whom shall I call my teacher?


๒๑. สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ 
สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ 
สพฺพํ รตึ ธมฺมรตี ชินาติ 
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ ฯ ๓๕๔ ฯ


ธรรมทาน ชนะทานทุกอย่าง 
รสพระธรรม ชนะรสทุกอย่าง 
ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทุกอย่าง 
ความสิ้นตัณหา ชนะทุกข์ทุกอย่าง


All gifts the gift of Truth excels. 
All tastes the taste of Truth excels. 
All delights the delight in Truth excels. 
All sorrows the end of craving excels.



๒๒. หนนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ 
โน จ ปารคเวสิโน 
โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ 
หนฺติ อญฺเญว อตฺตนํ ฯ ๓๕๕ ฯ


โภคทรัพย์ ทำลายคนโง่ 
แต่ทำลายคนที่ใฝ่แสวงนิพพานไม่ได้ 
เพราะโลภในโภคทรัพย์ คนโง่ย่อมทำลายคนอื่น 
และ (ผลที่สุดก็ทำลาย) ตนเอง


Riches ruin the fool 
But not those seeking Nibbana. 
Craving for wealth, the foolish man 
Ruins himself by destroying others.



๒๓. ติณโทสานิ เขตฺตานิ 
ราคโทสา อยํ ปชา 
ตสฺมา หิ วีตราเคสุ 
ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ ฯ ๓๕๖ ฯ


หญ้า ทำให้ที่นาเสียหาย 
ราคะ ทำให้คนเสียหาย 
ฉะนั้น ทานที่ถวายแก่ผู้ปราศจากราคะ 
จึงมีผลมหาศาล


Weeds are the bane of fields, 
Lust is the bane of mankind. 
Hence offerings made to lustless ones 
Yield abundant fruit.



๒๔. ติณโทสานิ เขตฺตานิ 
โทสโทสา อยํ ปชา 
ตสฺมา หิ วีตโทเสสุ 
ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ ฯ ๓๕๗ ฯ


หญ้า ทำให้ที่นาเสียหาย 
โทสะ ทำให้คนเสียหาย 
ฉะนั้น ทานที่ถวายแก่ผู้ปราศจากโทสะ 
จึงมีผลมหาศาล


Weeds are the bane of fields, 
Hate is the bane of mankind. 
Hence offerings made to hateless ones 
Yield abundant fruit.


๒๕. ติณโทสานิ เขตฺตานิ 
โมหโทสา อยํ ปชา 
ตสฺมา หิ วีตโมเหสุ 
ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ
ฯ ๓๕๘ ฯ


หญ้า ทำให้ที่นาเสียหาย 
โมหะ ทำให้คนเสียหาย 
ฉะนั้น ทานที่ถวายแก่ผู้ปราศจากโมหะ 
จึงมีผลมหาศาล


Weeds are the bane of fields, 
Delusion is the bane of mankind. 
Hence offerings made to delusionless ones 
Yield abundant fruit.



๒๖. ติณโทสานิ เขตฺตานิ 
อิจฺฉาโทสา อยํ ปชา 
ตสฺมา หิ วิคติจฺเฉสุ 
ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ ฯ ๓๕๙ ฯ


หญ้า ทำให้ที่นาเสียหาย 
ความอยาก ทำให้คนเสียหาย 
ทานที่ถวายแก่ผู้ปราศจากความอยาก 
จึงมีผลมหาศาล


Weeds are the bane of fields, 
Thirst is the bane of mankind. 
Hence offerings made to thirstless ones 
Yield abundant fruit.


ที่มา : หนังสือพุทธวจนในธรรมบท โดย อ.เสถียรพงศ์ วรรณปก




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย