17 หมวดความโกรธ - ANGER


๑. โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ 
สํโยชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย 
ตํ นามรูปสฺมิมสชฺฒมานํ 
อกิญฺจนธํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา ฯ ๒๒๑ ฯ
 

ควรละความโกรธ และมานะ 
เอาชนะกิเลสเครื่องผูกมัดทุกชนิด 
ผู้ที่ไม่ติดอยู่ในรูปนาม หมดกิเลสแล้ว 
ย่อมคลาดแคล้วจากความทุกข์

One should give up anger and pride, 
One should overcome all fetters. 
Ill never befalls him who is passionless, 
Who clings not to Name and Form.



๒. โย เว อุปฺปติตํ โกธํ 
รถํ ภนฺตํว ธารเย 
ตมหํ สารถึ พฺรูมิ 
รสฺมิคฺคาโห อิตโร ชโน ฯ ๒๒๒ ฯ


ผู้ใดยับยั้งความโกรธที่เกิดขึ้นได้ทันที 
เหมือนสารถีหยุดรถที่กำลังแล่นไว้ได้ 
ผู้นั้นไซร้เราเรียกว่า "สารถี" 
ส่วนคนนอกนี้ได้ชื่อเพียง "ผู้ถือเชือก"

Whoso, as rolling chariot, checks 
His anger which has risen up- 
Him I call charioteer. 
Others merely hold the reins.



๓. อกฺโกเธน ชิเน โกธํ 
อสาธุํ สาธุนา ชิเน 
ชิเน กทริยํ ทาเนน 
สจฺเจนาลิกวาทินํ ฯ ๒๒๓ ฯ


พึงเอาชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ 
พึงเอาชนะความร้าย ด้วยความดี 
พึงเอาชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้ 
พึงเอาชนะคนพูดพล่อย ด้วยคำสัตย์

Conquer anger by love, 
Conquer evil by good, 
Conquie the miser by liberality, 
Conquer the liar by truth.



๔. สจฺจํ ภเณ น กุชฺเฌยฺย 
ทชฺชา อปฺปมฺปิ ยาจิโต 
เอเตหิ ตีหิ ฐาเนหิ 
คจฺเฉ เทวาน สนฺติเก ฯ ๒๒๔ ฯ


ควรพูดคำสัตย์จริง ไม่ควรโกรธ 
แม้เขาขอเล็กๆน้อยๆ ก็ควรให้ 
ด้วยการปฏิบัติทั้งสามนี้ 
เขาก็อาจไปสวรรค์ได้

One should speak the truth. 
One should not give way to anger. 
If asked for little one should give. 
One may go, by these three means, 
To the presence of celestials.



๕. อหึสกา เย มุนโย 
นิจฺจํ กาเยน สํวุตา 
เต ยนฺติ อจฺจุตํ ฐานํ 
ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจเร ฯ ๒๒๕ ฯ


พระมุนี ผู้ไม่เบียดเบียนใคร 
ควบคุมกายอยู่เป็นนิจศีล 
ย่อมไปยังถิ่นที่นิรันดร 
ที่สัญจรไปแล้ว ไม่เศร้าโศก

Those sages who are harmless 
And in body ever controlled 
Go to the Everlasting State 
Where gone they grieve no more.



๖. สทา ชาครมานานํ 
อโหรตฺตานุสิกฺขินํ 
นิพฺพานํ อธิมุตฺตานํ 
อฏฺฐํ คจฺฉนฺติ อาสวา ฯ ๒๒๖ ฯ


สำหรับท่านผู้ตื่นอยู่ตลอดเวลา 
สำเหนียกศึกษาทุกทิพาราตรี 
มีใจน้อมไปสู่พระนิพพาน 
อาสวะย่อมอันตรธานหมดสิ้น

Of those who are wide-awake 
And train themeselves by night and day 
Upon Nibbana ever intent- 
The defilements fade away.


๗. โปราณเมตํ อตุล 
เนตํ อชฺชตนามิว 
นินฺทนฺติ ตุณฺหิมาสีนํ 
นินฺทนฺติ พหุภาณินํ 
มิตภาณิมฺปิ นินฺทนฺติ 
นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต ฯ ๒๒๗ ฯ


อตุลเอย เรื่องอย่างนี้มีมานานแล้ว 
มิใช่เพิ่งจะมีในปัจจุบันนี้ 
อยู่เฉยๆเขาก็นินทา 
พูดมาก เขาก็นินทา 
พูดน้อย เขาก็นินทา 
ไม่มีใครในโลก ที่ไม่ถูกนินทา

Not only today, O Atula, 
From days of old has this been so; 
Sitting silent-him they blame, 
Speaking too much-him they blame, 
Talking little-him they blame, 
There is no one in the world who is not blamed.


๘. น จาหุ น จ ภวิสฺสติ 
น เจตรหิ วิชฺชติ 
เอกนฺตํ นินฺทิโต โปโส 
เอกนฺตํ วา ปสํสิโต ฯ ๒๒๘ ฯ


ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน อนาคต 
คนที่ถูกสรรเสริญ โดยส่วนเดียว 
หรือถูกนินทา โดยส่วนเดียว ไม่มี

There never was, and never will be, 
Nor is there now to be found 
A person who is wholly blamed 
Or wholly praised,



๙. ยญฺเจ วิญฺญู ปสํสนฺติ 
อนุวิจฺจ สุเว สุเว 
อจฺฉิทฺทวุตฺตึ เมธาวึ 
ปญฺญาสีลสมาหิตํ ฯ ๒๒๙ ฯ

๑๐. นิกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว 
โก ตํ นินฺทิตุมรหติ 
เทวาปิ นํ ปสํสนฺติ 
พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโต ฯ ๒๓๐ ฯ


นักปราชญ์พิจารณารอบคอบแล้ว 
จึงสรรเสริญผู้ใด ผู้ดำเนินชีวิตหาที่ติมิได้ 
ฉลาด สมบูรณ์ด้วยปัญญาและศีล 
ผู้นั้น เปรียบเสมือนแท่งทองบริสุทธิ์ 
ใครเล่าจะตำหนิเขาได้ คนเช่นนี้ 
แม้เทวดาก็ชม ถึงพรหม ก็สรรเสริญ

He whom the intelligent praise 
After careful examination, 
He who is of flawless life, wise, 
And endowed with knowledge and virtue- 
Who would dare to blame him 
Who is like refined gold? 
Even the gods praise him, 
By Brahma too he is admired.



๑๑. กายปฺปโกปํ รกฺเขยฺย 
กาเยน สํวุโต สิยา 
กายทุจฺจริตํ หิตฺวา 
กาเยน สุจริตํ จเร ฯ ๒๓๑ ฯ


พึงควบคุม ความคะนองทางกาย 
พึงสำรวม การกระทำทางกาย 
พึงละกายทุจริต 
ประพฤติกายสุจริต

One should guard against bodily hastiness, 
One should be restrained in body. 
Giving up bodily misconduct, 
One should be of good bodily conduct.



๑๒. วจีปโกปํ รกฺเขยฺย 
วาจาย สํวุโต สิยา 
วจีทุจฺจริตํ หิตฺวา 
วาจาย สุจริตํ จเร ฯ ๒๓๒ ฯ


พึงควบคุม ความคนองทางวาจา 
พึงสำรวม คำพูด 
พึงละวจีทุจริต 
ประพฤติวจีสุจริต

One should guard aginst hastiness in words, 
One should be restrained in words. 
Giving up verbal misconduct, 
One should be of good verbal conduct.



๑๓. มโนปโกปํ รกฺเขยฺย 
มนสา สํวุโต สิยา 
มโนทุจฺจริตํ หิตฺวา 
มนสา สุจริตํ จเร ฯ ๒๓๓ ฯ


พึงควบคุม ความคะนองทางใจ 
พึงสำรวม ความคิด 
พึงละมโนทุจริต 
ประพฤติมโนสุจริต

One should guard against hastiness of mind, 
One should be restrained in thought. 
Giving up mental misconduct, 
One should be of good mental conduct.



๑๔. กาเยน สํวุตา ธีรา 
อโถ วาจาย สํวุตา 
มนสา สํวุตา ธีรา 
เต เว สุปริสํวุตา ฯ ๒๓๔ ฯ


ผู้มีปัญญา ย่อมสำรวมกาย วาจา ใจ 
ท่านเหล่านั้น นับว่า ผู้สำรวมดีแท้จริง

The wise are restrained in deed, 
In speech too they are restrained, 
They are restrained in mind as well- 
Verily, they are fully restrained.


ที่มา : หนังสือพุทธวจนในธรรมบท โดย อ.เสถียรพงศ์ วรรณปก


จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย