หมวดคนพาล - THE FOOL

1. ทีฆา ชาครโต รตฺติ 
ทีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ 
ทีโฆ พาลาน สํสาโร 
สทฺธมฺมํ อวิชานตํ ฯ60ฯ


ราตรีนาน สำหรับคนนอนไม่หลับ 
ระยะทางโยชน์หนึ่งไกล สำหรับผู้ล้าแล้ว 
สังสารวัฎยาวนาน สำหรับคนพาล 
ผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม


Long is the night to the wakeful, 
Long is the Yojana to the weary, 
Long is Samsara to the foolish 
Who know not the true doctrine.



2. จรญฺเจ นาะคจฺเฉยฺย 
เสยฺยํ สทิสมตฺตโน 
เอกจริยํ ทฬฺหํ กยิรา 
นตฺถิ พาเล สหายตา ฯ61ฯ

หากแสวงหาไม่พบเพื่อนที่ดีกว่าตน 
หรือเพื่อนที่เสมอกับตน 
ก็พึงเที่ยวไปคนเดียว 
เพราะมิตรภาพ ไม่มีในหมู่คนพาล

If, as he fares, he finds no companion 
Who is better or equal, 
Let him firmly pursue his solitary course; 
There is no fellowship with the foot.



3. ปุตฺตา นตฺถิ ธน มตฺถิ 
อิติ พาโล วิหญฺญติ 
อตฺตา หิ อตฺตโน นตฺถิ 
กุโต ปุตฺตา กุโต ธนํ ฯ62ฯ


คนโง่มัวคิดวุ่นวายว่า 
เรามีบุตร เรามีทรัพย์ 
เมื่อตัวเขาเองก็ไม่ใช่ของเขา 
บุตรและทรัพย์จะเป็นของเขาได้อย่างไร


'I have some, I have wealth'; 
So thinks the food and is troubled. 
He himeself is not his own. 
How then are sons,how wealth?



4. โย พาดล มญฺญติ พาลยฺยํ 
ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส 
พาโล จ ปณฺฑิตามานี 
ส เว พาโลติ วุจฺจติ ฯ63ฯ

คนโง่ รุ้ตัวว่าโง่ 
ยังมีทางเป็นบัณฑิตได้บ้าง 
แต่โง่แล้ว อวดฉลาด 
นั่นแหละเรียกว่าคนโง่แท้


A fool aware of his stupidity 
Is in so far wise, 
But the fool thinking himself wise 
Is called a fool indeed.


5. ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล 
ปณฺฑิตํ ปฏิรุปาสติ 
น โส ธมฺมํ วิชานาติ 
ทพฺพิ สูปรสํ ยถา ฯ64ฯ


ถึงจะอยุ่ใกล้บัณฑิต 
เป็นเวลานานชั่วชีวิต 
คนโง่ก็หารู้พระธรรมไม่ 
เหมือนจวักไม่รู้รสแกง


Though through all his life 
A fool associates with a wise man, 
He yet understands not the Dhamma, 
As the spoon the flavour of soup.


6. มุหุตฺตมฺปิ เจ วิญฺญู 
ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ 
ขิปฺปํ ธมฺมํ วิชานาติ 
ชิวหา สูปรสํ ยถา ฯ65ฯ


ปัญญาชน คบบัณฑิต 
แม้เพียงครู่เดียว 
ก็พลันรู้แจ้งพระธรรม 
เหมือนลิ้นรู้รสแกง


Though,for a moment only, 
An intelligent man associates with a wise man, 
Quickly he understands the Dhamma, 
As the tougue the flavour of soup.



7. จรนฺติ พาลา ทุมฺเมธา 
อมิตฺเตเนว อติตนา 
กโรนฺตา ปาปกํ กมฺมํ 
ยํ โหติ กฎุกปฺผลํ ฯ66ฯ


เหล่าคนพาล ปัญญาทราม 
ทำตัวเองให้เป็นศัตรูของตัวเอง 
เที่ยวก่อแต่บาปกรรรมที่มีผลเผ็ดร้อน


Fools of little wit 
Behave to themselves as enemies, 
Doing evil deeds 
The fruits wherof are bitter.



8. น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ 
ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ 
ยสฺส อสฺสุมุโข โรทํ 
วิปากํ ปฏิเสวติ ฯ67ฯ


กรรมใดทำแล้วทำให้เดือดร้อนภายหลัง 
อีกทั้งทำให้ร้องไห้น้ำตานอง 
รับสนองผลของการกระทำ 
กรรมนั้นไม่ดี


That deed is not well done, 
After doing which one feels remorse 
And the fruit whereof is received 
With tears and lamentations.



9. ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ 
ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ 
ยส์ส ปตีดต สุมโน 
วิปากํ ปฏิเสวติ ฯ68ฯ


กรรมใดทำแล้ว ไม่เดือดร้อนภายหลัง 
ทั้งผู้กระทำก้เบิกบานสำราญใจ 
ได้เสวยผลของการกระทำ 
กรรมนั้นดี


Well done is thst deed 
which, done, brings no regret; 
The fruit whereof is received 
The fruit whereof is received 
With delight and satisfaction.



10. มธุวา มญฺญตี พาดล 
ยาว ปาปํ น ปจฺจติ 
ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ 
อถ พาโล ทุกฺขํ นิคจฺฉติ ฯ69ฯ


ตลอดระยะเวลาที่บาปยังไม่ให้ผล 
คนพาลสำคัญบาปหวานปานน้ำผึ้ง 
เมื่อใดบาปให้ผล 
เมื่อนั้นเขาย่อมได้รับทุกข์


An evil deed seems sweet to the fool 
so long as it does not bear fruit; 
but when it ripens, 
The fool comes to grief.



11. มาเส มาเส กุสคฺเคน 
พาโล ภุญฺเชถ โภชนํ 
น โส สงฺขาตธมฺมานํ 
กลํ อคฺฆติ โสฬสึ ฯ70ฯ


คนพาล ถึงจะบำเพ็ญตบะ 
โดยเอาปลายหญ้าคาจิ้มอาหารกิน ทุกเดืน 
การปฏิบัติของเขาไม่เท่าหนึ่งในสิบหกส่วน 
ของการปฏิบัติของท่านผู้บรรลุธรรม


Month after month the fool may eat his food 
With the tip of Kusa srass; 
Nonetheless he is not worth the sixteenth part 
Of those who have well understoood the Truth.



12. น หิ ปาปํ กตํ กมฺมํ 
สชฺชุ ขีรํว มุจฺจติ 
ฑหนฺติ พาลมเนฺวติ 
ภสฺมาจฺฉนฺโนว ปาวโก ฯ71ฯ


กรรมชั่วที่ทำแล้ว ยังไม่ให้ผลทันทีทันใด 
เหมือนนมรีดใหม่ ๆ ไม่กลายเป็นนมเปรี้ยวในทันที 
แต่มันจะค่อย ๆ เผาผลาญผู้กระทำในภายหลัง 
หมือนไฟไหม้แกลบ


An evil deed committed 
Does not immediately bear fruit, 
Just as milk curdles not at once; 
Smouldering life covered by ashes, 
It follows the fool.


13. ยาวเทว อนติถาย 
ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ 
หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ 
มุทฺธมสฺส วิปาตยํ ฯ72ฯ


คนพาลได้ความรู้มา 
เพื่อการทำลายถ่ายเดียว 
ความรู้นั้น ทำลายคุณความดีเขาสิ้น 
ทำให้มันสมองของเขาตกต่ำไป


The fool gains knowledge 
Only for his ruin; 
It destroys his good actions 
And cleaves his head.


14. อสนฺตํ ภาวมิจฺเฉยฺย 
ปุเรกฺขารญฺจ ภิกฺขุสุ 
อาวาเสสุ จ อิสฺสริยํ 
ปูชา ปรกุเลสุ จ ฯ73ฯ


ภิกษุพาล ปรารถนาชื่อเสียงเกียรติยศที่ไม่เหมาะ 
อยากเป็นใหญ่กว่าพระภิกษุทั้งหมด 
อยากเป็นเจ้าอาวาส 
อยากได้รับบูชาสักการะจากชาวบ้านทั้งหลาย


A foolish monk desires undue reputation, 
Precedence among monks, 
Authority in the monasterics, 
Honour among other families.


15. มเมว กต มญฺญนฺตุ 
คิหี ปพฺพชิตา อุโภ 
มเมว อติวสา อสฺสุ 
กิจฺจาจฺเจส กิสฺมิจิ 
อิติ พาลสฺส สงฺกปฺโป 
อิจฺฉา มาโน จ วฑฺฒติ ฯ74ฯ


"ขอให้คฤหัสถ์ และบรรพชิต 
จงสำคัญว่า เราเท่านั้นทำกิจนี้ 
ขอให้เขาเหล่านั้นอยู่ในบังคับบัญชาของเรา 
ไม่ว่ากิจการใหญ่หรือเล้ก" 
ภิกษุพาล มักจะคิดใฝ่ฝันเช่นนี้ 
ความทะเยอทะยาน และวามหยิ่งก้พลอยเพิ่มขึ้น


'Let both laymen and monks think, 
By me only was this done; 
In every work,great or small, 
Let them refer to me .' 
Such is the ambitin of the fool; 
His desire and pride increase.

 

16. อญฺญา หิ ลาภูปนิสา 
อญฺญา นิพฺพานคามินี 
เอวเมตํ อภิญฺญาย 
ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก 
สกฺการํ นาภนนฺเทยฺย 
วิเวกมนุพฺรูหเย ฯ75ฯ


ทางหนึ่งแสวงหาลาภ 
ทางหนึ่งไปนิพพาน 
รู้อย่างนี้แล้ว ภิกษุพุทธสาวก 
ไม่ควรไยดีลาภสักการะ 
ควรอยู่อย่างสงบ


One is the way to worldly gain; 
To Nibbana another leads. 
Clearly realizing this, 
The bhikkh,disciple of the Buddha, 
Should not delight in worldly favour, 
But devote himself to solitude. 

 


ที่มา : หนังสือพุทธวจนในธรรมบท โดย อ.เสถียรพงศ์ วรรณปก




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย