"นี่เรียกว่า นักภาวนา"

 วิริยะ12  

  "นี่เรียกว่า นักภาวนา"

" .. "การภาวนา คือการดูความคิดปรุงของใจด้วยสติ" จะเดินจะเหินจะนั่งจะไปจะมา ประกอบหน้าที่การงานอะไร "สติกับจิตจ่อกัน ดูความเคลื่อนไหวของจิตอยู่เสมอ นี่เรียกว่านักภาวนา" พากันจำเอานะพวกพระลูกพระหลาน

"สติกับจิตนี้จ่อตลอด" ไม่ใช่ว่าเวลานี้ทำงานนั้น เวลานั้นทำงานนั้น ปล่อยสติ ไม่เป็นท่า "สติกับจิตต้องจับกันตลอดเวลา นี่คือนักภาวนา" ไม่ว่ายืน ว่าเดิน ว่านั่ง ว่านอน สติจับอยู่กับผู้รู้

"ถ้าผู้ไม่มีหลักใจ ก็ให้เอาคำบริกรรม" จับไว้กับคำบริกรรมเช่น "พุทโธ" ไปไหน "ไม่เผลอพุทโธเลย ให้ติดอยู่กับคำว่าพุทโธ" คำใดก็ตามที่เรานำมาบริกรรม ให้จิตติดอยู่นั้น บริกรรมคำนั้นติดแล้ว "มีสติอยู่กับคำบริกรรมนั้น" ทำงานอะไร ๆ ก็ตาม

เช่น "เราจับกระโถนนี้ คำว่าพุทโธก็ติดไม่ให้เผลอกับนี้" จับก็จับแต่อันนี้ก็ไม่เผลอ "นั่นเรียกว่า ผู้ทำงานผู้ภาวนา ถ้าเผลอนั้นเผลอนี้ ไม่เรียกว่ามีความเพียร" เดินจงกรมอยู่ก็ตาม ถ้าสติกับคำบริกรรมในขั้นบริกรรมเผลอกันไม่ได้นะ "นี่หมายถึงนักภาวนา" คือพระ ไม่มีงานอะไรมีแต่งานภาวนาล้วน ๆ ให้ปฏิบัติอย่างที่กล่าวมานี้ .. "

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน 

5,559







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย