พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก หัวข้อธรรม การปฏิบัติธรรม ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทำเนียบวัดไทย พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
หน้าแรก พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา


พระพุทธศาสนา ตอน ๒

     ทรงแสวงหาโมกขธรรม และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ต่อมาพระสิทธัตถะได้เสด็จออกจากอนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละ แล้วไปยังที่ต่างๆ จนถึงเขตกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อแสวงหาโมกขธรรม (ความพ้นทุกข์) ครั้งเสด็จเข้าไปอบรมศึกษาใน สำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และสำนักอุทกดาบสรามบุตร ทรงเห็นว่าลัทธิของ ๒ สำนักนั้นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ใด จึงทรงอำลาจากสำนักดาบสทั้งสองนั้น เสด็จจารึกแสวงหาโมกขธรรมต่อไปจนถึง ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม อันมีแม่น้ำเนรัญชราไหลผ่าน ได้ประทับอยู่ในป่า ณ ตำบลนี้ ทรงเริ่มบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยประการต่างๆ อย่างเคร่งครัด แต่ก็ไม่ทรงพบทางพ้นทุกข์ได้ ในเวลานั้น พวกปัญจวัคคีย์ คือ ภิกษุ ๕ รูป อันได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ มีความเลื่อมใสในพระสิทธัตถะด้วยเชื่อว่าพระองค์ จนได้สำเร็จ เป็นพระพุทธเจ้า จึงได้พากันมาเฝ้าปฏิบัติพระองค์ด้วยความเคารพ

     ตรัสรู้ นับแต่ปีที่ทรงผนวชถึงปีที่ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างเคร่งครัดนั้น เป็นเวลา ๖ ปี แล้ว พระสิทธัตถะทรงแน่พระทัยว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยานั้นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์แน่ และประกอบกับเวลานั้น ท้าวสักกะได้เสด็จมาเฝ้า ทรงดีดพิณ ๓ สายถวายคือ สายหนึ่งตึงเกินไปมักขาด สายหนึ่งหย่อนเกินไปเสียงไม่เพราะ สายหนึ่งพอดี เสียงไพเราะยิ่งทำให้พระสิทธัตถะแน่พระทัยยิ่งขึ้นว่า การทำความเพียรเคร่งครัดเกินไปนั้นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์อย่างแน่แท้ พระองค์จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรงหันมาบำเพ็ญเพียรทางใจอันได้แก่ สมถะ (ความสงบ) วิปัสสนา (ปัญญา) โดยทรงเริ่มเสวยพระกระยาหาร ตามปกติ พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เห็นดังนั้น จึงคลายศรัทธาเลิกเฝ้าปฏิบัติ แล้วพากันไปอยู่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เป็นเหตุให้พระองค์ประทับอยู่แต่พระองค์เดียว ทำให้ได้รับความวิเวกยิ่งขึ้น ทรงเริ่มบำเพ็ญทางใจ ณ ภายใต้ต้นหว้าใหญ่ต้นหนึ่ง

     ครั้นอยู่ต่อมาถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เวลาเช้า พระองค์เสด็จไปประทับที่โคนต้นไทรต้นหนึ่ง ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา เวลานั้นนางสุชาดา ธิดาสาวของกฎุมพีนายบ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลา ได้จัดข้าวมธุปายาสใส่ถาดทองคำ นำไปบวงสรวงเทวดาที่ต้นไทรนั้นตามลัทธินิยมของตน ครั้นเห็นพระสิทธัตถะประทับนั่งอยู่ก็เข้าใจว่าเป็นเทวดาจึงน้อมถวายข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดทองคำ แล้วหลีกไป พระสิทธัตถะทรงรับข้าวมธุปายาสแล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา ทรงสรงสนานพระวรกาย แล้วเสวยข้าวมธุปายาสแล้วทรงลอยถาดลงในกระแสแม่น้ำเนรัญชรา ครั้นแล้วแล้วจึงเสด็จไปประทับในดงไม้สาละใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรานั้น

     ครั้นย่างเข้ายามเย็น พระสิทธัตถะก็เสด็จจากป่าสาละไปยังต้นอัสสัตถพฤกษ์(มหาโพธิ)ต้นหนึ่ง ซึ่งอยู่ริมฝั่งที่โค้งแม่น้ำเนรัญชราฝั่งตะวันตก ระหว่างทางทรงรับฟ่อนหญ้าคาที่คนหาบหญ้าขายชื่อ โสตถิยะน้อมถวาย ๘ ฟ่อน ทรงนำไปปูลาดเป็นบัลลังก์ที่ควงไม้มหาโพธินั้น แล้วประทับลงบนบัลลังก์นั้น ผินพระพักต์ไปทางทิศตะวันออก ทางแม่น้ำเนรัญชรา ทรงบำเพ็ญเพียรทางใจ คือ ทรงเจริญสมถะและวิปัสสนาได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในยามสุดท้ายแห่งวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี

     ครั้นตรัสรู้แล้ว พระพุทธองค์ได้ประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ ๗ สัปดาห์ ในสถานที่ทั้ง๗ แห่ง แห่งละสัปดาห์คือที่ต้นมหาโพธิ ที่อนิมิสเจดีย์ ที่รัตนจงกรมเจดีย์ ที่รัตนฆรเจดีย์ ที่ต้นอชปาลนิโครธ ที่ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) และ ที่ต้นราชาตนะ (ต้นเกด) ตามลำดับ

     ในสัปดาห์ที่ ๕ ระหว่างเวลาที่ประทับอยู่ที่ต้นอชาปาลนิโครธนั้น พระพุทธองค์ทรงแก้ปัญหาพราหมณ์ผู้หนึ่งซึ่งทูลถามปัญหาเรื่องความเป็นพราหมณ์ และมีพระธิดาพญามารทั้ง ๓ คือ นางตัญหา นางราคา และนางจรตี ได้มาทำการยั่วยวนพระองค์ให้ทรงหันไปลุ่มหลงในทางโลก แต่ไม่เป็นผล ในสัปดาห์ที่ ๖ ระหว่างแวะประทับอยู่ที่ใต้ต้นมุจลินท์นั้น มีฝนตกตลอดสัปดาห์ พญานาคชื่อ มุจลินท์ ได้มาถวายอารักขา ป้องกันพระองค์มิให้เปียกฝน และมิให้กระทบลมหนาว ในสัปดาห์ที่ ๗ ระหว่างเวลาที่ประทับอยู่ใต้ต้นราชายตนะนั้น มีพ่อค้า ๒ คน คือ ตะปุสสะ กับ ภัลลิกะ ได้ถวายข้าวสัตถุก้อนและสัตถุผงแก่พระพุทธองค์ และมีความเลื่อมใสได้ประกาศตน เป็นอุบาสก ถือพระพุทธกับพระธรรมเป็นสรณะ นับเป็นอุบาสกคู่แรกในพระพุทธศาสนา

     ทรงแสดงปฐมเทศนา และได้เป็นปฐมสาวก ครั้นต่อมาถึงตอนเย็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนอาสาฬหะ (เดือน ๘) พระพุทธองค์ได้เสด็จจากตำบลอุรุเวลาเสนานิคมถึงป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันรุ่งขึ้นอันเป็นวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะได้ทรงแสดงพระปฐมเทศนา คือ พระธรรมจักรกับกัปปวัตนะสูตร โปรดภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ อันเป็นเทศนากัณฑ์แรกในพระพุทธศาสนา เมื่อจบเทศนาแล้ว ท่านโกณฑัญญะ (อัญญาโกณฑัญญะ) ได้ธรรมจักษุ คือได้ดวงตาเห็นธรรม อันได้แก่การได้บรรลุพระโสดาปัตติผล และได้ขออุปสัมปทา นับเป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อแต่นั้นมาก็ทรงสั่งสอนท่านทั้ง ๔ จนได้บรรลุโสดาปัตติผล และได้อุปสมบทเป็นพระสงฆ์ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาทุกองค์ ต่อมาถึงวันแรม ๘ ค่ำ เดือนสาวนะ (เดือน ๙) พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตรโปรดท่านทั้ง ๕ ในวันนั้น จึงนับเป็นพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก รวมทั้งพระพุทธ องค์ด้วยเป็น ๖ องค์

ศาสนาคืออะไร ?
พระพุทธศาสนา ตอนที่ ๑
  พระพุทธศาสนา ตอนที่ ๒
  พระพุทธศาสนา ตอนที่ ๓
  พระพุทธศาสนา ตอนที่ ๔
  พระพุทธศาสนา ตอนที่ ๕
ลักษณะเด่นของพุทธศาสนา
ประวัติพระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้า ในสายตานักปราชญ์โลก
พระพุทธประวัติ
พระไตรปิฏก
ประวัติพระพุทธสาวก
นิกายสำคัญ
ทศชาติชาดก
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล

  บอกบุญ ~ ประชาสัมพันธ์
• ✨ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบูรณะห้องผู้มาปฏิบัติธรรม 12 ห้อง ✨
• (บุญด่วน!!ต้องการเจ้าภาพ..)กุลบุตร,ยากไร้ไม่มีเจ้าภาพ ๒ กองฯ...# ร่วมเป็นเจ้าภาพอุปสมบทบวชพระกัมมัฏฐาน ๒ รูป *ไม่ลาสิกขา*
• ร่วมทำบุญบูรณะซ่อมแซมพื้นรอบอุโบสถที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ณ วัดไทยลอสแอลเจลิส
• “ตักบาตรในสวน” วันจักรี (๖ เม.ย. ๒๕๖๗)
• ขอเชิญร่วมบุญบูรณะ วัดป่าปัญญโรจน์ (วัดร้าง) ต.แม่จะเรา อ.แม่ระมาด จังหวัดตาก

  สนทนาธรรม
• ขอเชิญชวนชาวพุทธร่วมเดินทางไปกราบสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล
• พระเจ้านั่งโก๋น เชียงใหม่
• บวชพระ ฟรี 2567 นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ไม่เสียค่าใช้จ่าย สายปฏิบัติ กรรมฐาน พระป่า สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• เปิดรับสมัคร บวชพระ ฟรี 2567 ไม่เสียค่าใช้จ่าย พระป่า พระกรรมฐาน วัดป่า ปฏิบัติธรรม สายหลวงปู่มั่น เน้นปฏิบัติภาวนา
• ประเพณีไทย และวัฒนธรรมไทย


หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย