สงสัยเรื่องกรรมกับก่อนจิตจะดับ

 asd    

เรื่องนี้สงสัยมากๆ โดยขอกราบเรียนถามท่านผู้รู้ได้เมตตาให้คำตอบที่เข้าใจอย่างง่ายๆให้ด้วยครับ กระผมขอสมมุติเปรียบเทียบระหว่างนายดำกับนายขาวครับ คือ ขอสมมุติว่านายขาวกับนายดำมีทุกอย่างเหมือนๆกัน อายุเท่ากัน ทั้งชาติก่อนและชาตินี้ได้สร้างทั้งกรรมดีและกรรมไม่ดีมาเหมือนๆกันหรือเท่าๆกัน พูดง่ายๆก็คือเท่ากันและเหมือนกันทุกอย่าง และขอสมมุติอีกว่าตายในวันเดียวกัน เวลาเดียวกัน ทุกๆอย่างเหมือนๆกัน จะต่างกันก็ คือ
(1) ก่อนนายขาวจะตายนั้นมีจิตใจสงบ ถ้าตายหรือก่อนจิตจะดับอย่างนายขาวนี้ที่อ่านมาพอทราบว่านายขาวอาจไปเกิดในภพหรือภฒิที่ดีตามแต่กรรมจะเป็นผู้กำหนอ
(2) ส่วนนายดำก่อนจะตายมีญาติมาร้องห่มร้องไห้ทำให้นายดำอาจไม่สงบอาจมีห่วงลูกหลานที่ร้องไห้กัน เมื่อนายดำตายไป และเท่าที่อ่านมาทราบว่านายดำจิตไม่สงบก่อนตายนั้นจะไปเกิดภพหรือภูมิที่ไม่ดี
เท่าที่กระผมได้อ่านมาจะเป็นการอ่านที่เข้าใจผิดเองก็อาจเป็นได้ แต่กระผมคิดว่าที่อ่านมานั้นกระผมเข้าใจอย่างนั้นจริงๆ หากเป็นอย่างที่กระผมเข้าใจจึงเกิดความสงสัยมากๆ จึงขอกราบเรียนถามท่านผู้รู้ว่า ระหว่างนายดำกับนายขาวนั้นได้สร้างทั้งกรรมดีและไม่ดีมาเท่าๆกัน มีอะไรเท่าๆกันตามที่สมมุติมานั้น แต่ทำไมกรณีของนายดำนั้นแค่จิตไม่สงบตอนก่อนจะตายเท่านั้นจึงไปเกิดในที่ไม่ดีซึ่งต่างจากนายขาวมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่าจิตก่อนตายของคนเราสำคัญกว่ากรรมที่เขาทำมาใช่หรือไม่ ขอเมตตาจากท่านู้รู้ได้เมตตาตอบให้กระจ่างแบบเข้าใจง่ายๆให้ด้วยครับ แต่หากคำถามนี้เป็นการเข้าใจผิดของกระผมเองก็กราบขออภัยเป็นอย่างสูงครับ




เป็นคำถามที่ดีมากๆครับ อนุโมทนาด้วยครับ
จิตก่อนตายของคนเราสำคัญกว่ากรรมที่เขาทำมาใช่หรือไม่

ที่จริง ทั้งกรรมที่ทำมาและจิตก่อนตายมีความสำคัญพอๆกันครับ เพราะถ้าจิตก่อนตายดี มันจะหน่วงนึกถึงกรรมดีที่ทำมาไว้แล้วได้ เราก็ได้ไปสุคติภูมิ เปรียบจิตก่อนตายเป็นทัวร์ไกด์ ถ้ามีไกด์ดีเขาพาเราไปเที่ยวที่ ที่ดีๆได้ ส่วนไกด์เลวก็พาเราไปทัวร์ที่ที่ไม่ดี

หรือถ้าจะตอบตามหลักอภิธรรมก็ว่าเมื่อจิตเศร้าหมองย่อมเป็นอกุศล ผลของอกุศลคืออบายครับ
สรุปคือแม้จะทำดีมาทั้งชีวิต ถ้าใกล้ตายจิตเศร้าหมองด้วยโลภะ โทสะหรือโมหะก็ได้ ไปทัวร์อบายภูมิิเท่านั้น ละครับ ในทางกลับกันหากทำชั่วมาตลอดชีวิต แต่ตอนใกล้ตายนึกถึงกุศลที่ทำมาได้ก็ได้เกิดใน สุคติภูมิก่อน



สาธุกับท่าน ddman ด้วยครับ

**********************************

ผมขออนุญาตเสริมนะครับ...

จากข้อสมมุติที่ตั้งไว้ ผมขอเปรียบเทียบดังนี้นะครับ

เปรียบบุญและบาปของนายขาว กับนายดำ ให้เป็นวัวที่อยู่ในคอก...

บุญ = วัวสีขาว ----------- บาป = วัวสีดำ

นั่นก็หมายความว่า คอกของนายขาวและนายดำจะมีวัวตัวสีขาวและตัวสีดำเท่าๆกัน

การตายไปสู่ภพใหม่ เปรียบได้กับการเปิดประตูคอก

เมื่อจิตใกล้จะดับ...ดวงจิตสุดท้ายนั่นแหละจะนำไปสู่ภพใหม่

ดวงจิตที่เป็นกุศล ก็เท่ากับตัวบุญ คือวัวตัวสีขาว

ดวงจิตที่เศร้าหมอง ก็เท่ากับตัวบาป คือวัวตัวสีดำ

วัวตัวไหนอยู่ติดปากประตูคอก แน่นอนที่สุดว่า เมื่อประตูคอกเปิดออก

เจ้าวัวตัวนั้นนั่นแหละจะได้ออกไปก่อน นั่นก็หมายความว่าให้ผลก่อน....

เมื่อนายขาวใกล้จะตายมีจิตสงบไม่เศร้าหมอง นั่นก็เท่ากับจัดระเบียบให้วัวตัวสีขาวอยู่

ติดปากประตูคอก พอตายปุ๊บ ... ประตูคอกเปิด เจ้าวัวตัวสีขาวก็ออกทันที

มีผลให้ไปสู่สุคติตามกำลังแห่งวัว (บุญ) นั้น

ส่วนนายดำเมื่อใกล้จะตายมีจิตเศร้าหมอง นั่นก็เท่ากับจัดระเบียบให้วัวตัวสีดำอยู่

ติดปากประตูคอก พอตายปุ๊บ ... ประตูคอกเปิด เจ้าวัวตัวสีดำก็ออกทันที มีผลให้ไปสู่

ทุคคติตามกำลังแห่งวัว (บาป) นั้นเช่นกัน

เพราฉะนั้น ... คนโบราณจึงมีค่านิยม เอาดอกไม้ธูปเทียนมาใส่ไว้ในมือของคนใกล้ตาย

แล้วแนะนำให้เขานึกคิดแต่สิ่งดีๆ หรือให้ภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ... อะไรก็แล้วแต่

เพื่อให้เขามีจิตไม่เศร้าหมอง พอตายไปจะได้ไปสู่สุคติก่อนนั่นเองครับ

ส่วนเรื่องที่ว่า.......จิตก่อนตายของคนเราสำคัญกว่ากรรมที่เขาทำมาใช่หรือไม่นั้น

จะตอบว่าใช่ ก็ไม่ถูก ......... จะตอบว่าไม่ใช่ ก็ไม่ถูกเช่นเดียวกัน

เพราะอะไรน่ะเหรอครับ ? เพราะว่า คนเราหนีกรรมไม่พ้นไงครับ

ก๋วยเตี๋ยวชามหนึ่ง มีทั้งเส้น ผัก ลูกชิ้น เนื้อสารพัดอย่าง ซึ่งแปลกตรงที่ว่าเราจะต้องได้

กินทุกอย่าง จะชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ก็ต้องได้กินอยู่ดี ฉะนั้นแล้ว พวกเราอย่า

สร้างกรรมชั่วเลยครับ หมั่นประกอบแต่กรรมดีเข้าไว้เถิด จะได้ไม่เจอเส้นบูด ผักเหี่ยว

ลูกชิ้นเน่า ไงล่ะครับ

********************************

คำตอบนี้เป็นความเห็นส่วนตัว + กับความรู้ทางธรรมอันมีอยู่นิดหน่อยน่ะครับ

อย่าเพิ่งเชื่อ และอย่าเพิ่งปฏิเสธโดยส่วนเดียว

พึงใช้สติปัญญาพิจารณาดูให้ดีก่อนนะครับ



สาธุกับท่าน ddman ด้วยครับ

**********************************

ผมขออนุญาตเสริมนะครับ...

จากข้อสมมุติที่ตั้งไว้ ผมขอเปรียบเทียบดังนี้นะครับ

เปรียบบุญและบาปของนายขาว กับนายดำ ให้เป็นวัวที่อยู่ในคอก...

บุญ = วัวสีขาว ----------- บาป = วัวสีดำ

นั่นก็หมายความว่า คอกของนายขาวและนายดำจะมีวัวตัวสีขาวและตัวสีดำเท่าๆกัน

การตายไปสู่ภพใหม่ เปรียบได้กับการเปิดประตูคอก

เมื่อจิตใกล้จะดับ...ดวงจิตสุดท้ายนั่นแหละจะนำไปสู่ภพใหม่

ดวงจิตที่เป็นกุศล ก็เท่ากับตัวบุญ คือวัวตัวสีขาว

ดวงจิตที่เศร้าหมอง ก็เท่ากับตัวบาป คือวัวตัวสีดำ

วัวตัวไหนอยู่ติดปากประตูคอก แน่นอนที่สุดว่า เมื่อประตูคอกเปิดออก

เจ้าวัวตัวนั้นนั่นแหละจะได้ออกไปก่อน นั่นก็หมายความว่าให้ผลก่อน....

เมื่อนายขาวใกล้จะตายมีจิตสงบไม่เศร้าหมอง นั่นก็เท่ากับจัดระเบียบให้วัวตัวสีขาวอยู่

ติดปากประตูคอก พอตายปุ๊บ ... ประตูคอกเปิด เจ้าวัวตัวสีขาวก็ออกทันที

มีผลให้ไปสู่สุคติตามกำลังแห่งวัว (บุญ) นั้น

ส่วนนายดำเมื่อใกล้จะตายมีจิตเศร้าหมอง นั่นก็เท่ากับจัดระเบียบให้วัวตัวสีดำอยู่

ติดปากประตูคอก พอตายปุ๊บ ... ประตูคอกเปิด เจ้าวัวตัวสีดำก็ออกทันที มีผลให้ไปสู่

ทุคคติตามกำลังแห่งวัว (บาป) นั้นเช่นกัน

เพราฉะนั้น ... คนโบราณจึงมีค่านิยม เอาดอกไม้ธูปเทียนมาใส่ไว้ในมือของคนใกล้ตาย

แล้วแนะนำให้เขานึกคิดแต่สิ่งดีๆ หรือให้ภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ... อะไรก็แล้วแต่

เพื่อให้เขามีจิตไม่เศร้าหมอง พอตายไปจะได้ไปสู่สุคติก่อนนั่นเองครับ

ส่วนเรื่องที่ว่า.......จิตก่อนตายของคนเราสำคัญกว่ากรรมที่เขาทำมาใช่หรือไม่นั้น

จะตอบว่าใช่ ก็ไม่ถูก ......... จะตอบว่าไม่ใช่ ก็ไม่ถูกเช่นเดียวกัน

เพราะอะไรน่ะเหรอครับ ? เพราะว่า คนเราหนีกรรมไม่พ้นไงครับ

ก๋วยเตี๋ยวชามหนึ่ง มีทั้งเส้น ผัก ลูกชิ้น เนื้อสารพัดอย่าง ซึ่งแปลกตรงที่ว่าเราจะต้องได้

กินทุกอย่าง จะชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ก็ต้องได้กินอยู่ดี ฉะนั้นแล้ว พวกเราอย่า

สร้างกรรมชั่วเลยครับ หมั่นประกอบแต่กรรมดีเข้าไว้เถิด จะได้ไม่เจอเส้นบูด ผักเหี่ยว

ลูกชิ้นเน่า ไงล่ะครับ

********************************

คำตอบนี้เป็นความเห็นส่วนตัว + กับความรู้ทางธรรมอันมีอยู่นิดหน่อยน่ะครับ

อย่าเพิ่งเชื่อ และอย่าเพิ่งปฏิเสธโดยส่วนเดียว

พึงใช้สติปัญญาพิจารณาดูให้ดีก่อนนะครับ




ขออภัยนะครับ
ผมว่าโจทย์ข้อนี้ไม่ถูกต้องครับ
ข้อมูลที่ให้มาขัดแย้งกันเองครับ
รถสีดำกับรถสีขาวออกจากจุดสตาร์ทพร้อมกัน เล่นคู่กันไปด้วยความเร็วที่เท่ากันย่อมถึงที่หมายพร้อมกันครับ

ขออภัยนะครับ


TOOMAIN ม.1/1


อนุโมทนาครับท่านอรุณ






เรื่องนี้สงสัยมากๆ โดยขอกราบเรียนถามท่านผู้รู้ได้เมตตาให้คำตอบที่เข้าใจอย่างง่ายๆให้ด้วยครับ กระผมขอสมมุติเปรียบเทียบระหว่างนายดำกับนายขาวครับ คือ ขอสมมุติว่านายขาวกับนายดำมีทุกอย่างเหมือนๆกัน อายุเท่ากัน ทั้งชาติก่อนและชาตินี้ได้สร้างทั้งกรรมดีและกรรมไม่ดีมาเหมือนๆกันหรือเท่าๆกัน พูดง่ายๆก็คือเท่ากันและเหมือนกันทุกอย่าง และขอสมมุติอีกว่าตายในวันเดียวกัน เวลาเดียวกัน ทุกๆอย่างเหมือนๆกัน จะต่างกันก็ คือ

1. จากโจทย์ที่กำหนดให้เมื่อคนกระทำกรรมที่เหมือนกันสมบัติที่ได้คือโภคทรัพย์และบริวารย่อมเหมือนกัน

ในเวลาเดียวกันหรือเวลาที่เท่ากันจิตต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกัน
จิตขณะที่เกิดและจิตขณะที่ตายกล่าวว่าทุกอย่างพร้อมกัน จิตต่าง ๆ จึงต้องเสวยผลเหมือนกัน เพราะกระทำเหตุที่เหมือนกัน ผลย่อมเหมือนกัน




(1) ก่อนนายขาวจะตายนั้นมีจิตใจสงบ ถ้าตายหรือก่อนจิตจะดับอย่างนายขาวนี้ที่อ่านมาพอทราบว่านายขาวอาจไปเกิดในภพหรือภฒิที่ดีตามแต่กรรมจะเป็นผู้กำหนอ
(2) ส่วนนายดำก่อนจะตายมีญาติมาร้องห่มร้องไห้ทำให้นายดำอาจไม่สงบอาจมีห่วงลูกหลานที่ร้องไห้กัน เมื่อนายดำตายไป และเท่าที่อ่านมาทราบว่านายดำจิตไม่สงบก่อนตายนั้นจะไปเกิดภพหรือภูมิที่ไม่ดี

ถ้านายขาวทำใจให้สงบได้ นายดำต้องสามารถทำใจให้สงบได้ด้วย
การทำเหตุที่เหมือนกันแต่ให้ผลคือโภคทรัพย์และบริวารไม่เหมือนกันย่อมเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
นายดำมีญาติมานั่งร้องห่มร้องให้ ญาตินายขาวต้องมานั่งร้องให้ด้วย เพราะสมบัติเหมือนกันบริวารเหมือนกัน

จึงกล่าวได้ว่าโจทย์ข้อนี้มีข้อมูลที่ขัดแย้งกัน
ทำเหตุเหมือนกันแต่ได้ผลต่างกัน สิ่งแวดล้อมต่างกัน โภคทรัพย์และบริวารต่างกันย่อมเป็นไปไม่ได้

....ท่านผู้รู้เขาให้ความเห็นมาครับ.




เท่าที่กระผมได้อ่านมาจะเป็นการอ่านที่เข้าใจผิดเองก็อาจเป็นได้ แต่กระผมคิดว่าที่อ่านมานั้นกระผมเข้าใจอย่างนั้นจริงๆ หากเป็นอย่างที่กระผมเข้าใจจึงเกิดความสงสัยมากๆ จึงขอกราบเรียนถามท่านผู้รู้ว่า ระหว่างนายดำกับนายขาวนั้นได้สร้างทั้งกรรมดีและไม่ดีมาเท่าๆกัน มีอะไรเท่าๆกันตามที่สมมุติมานั้น แต่ทำไมกรณีของนายดำนั้นแค่จิตไม่สงบตอนก่อนจะตายเท่านั้นจึงไปเกิดในที่ไม่ดีซึ่งต่างจากนายขาวมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่าจิตก่อนตายของคนเราสำคัญกว่ากรรมที่เขาทำมาใช่หรือไม่ ขอเมตตาจากท่านู้รู้ได้เมตตาตอบให้กระจ่างแบบเข้าใจง่ายๆให้ด้วยครับ แต่หากคำถามนี้เป็นการเข้าใจผิดของกระผมเองก็กราบขออภัยเป็นอย่างสูงครับ


โดย : [DT07489] 5 ต.ค. 2551 21:46 น.

ท่านผู้รู้เขาอธิบายมาว่า จุติจิตและปฏิสนธิเป็นจิตประเภทเดียวกัน คือจิตที่เป็นวิบากคือผลจิต ถ้าทำเหตุมาเหมือนกันและพร้อมกันทุกประการ ตายพร้อมกันในวันเวลาเดียวกัน วิบากจิตต้องเหมือนกันถ้าเป็นกุศลวิบากก็ต้องกุศลวิบากเหมือนกัน ถ้าเป็นอกุศลวิบากก็ต้องเป็นอกุศลวิบากเหมือนกัน ณ เวลาเดียวกัน


สองคนนี้จะไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ต่างกันได้ก็ต่อเมื่อคนทั้งสองกระทำเหตุที่ต่างกันมาตั้งแต่ต้น จึงจะได้วิบากจิตเพื่อจุติและปฏิสนธิในภพภูมิที่ต่างกันครับ


ผู้รู้เขาอธิบายมาอย่างนี้ครับ


ขออภัยนะครับที่มีคำตอบแตกต่างจากท่านทั้งหลาย


TOOMAIN ม.1/1.



ขออภัยนะครับ ผมว่าโจทย์ข้อนี้ไม่ถูกต้องครับ

ขอชื่นชมคุณTOOMAIN DT07619กับความคิดเห็นข้างบนครับ เห็นด้วยว่าโจทย์ ไม่ถูกต้อง เพราะเหตุว่าไม่มีใครเลยที่สามารถทำกุศลและอกุศลได้เท่ากันครับ เพราะเหตุปัจจัยมากมายที่เข้าประกอบ

ข้อมูลที่ให้มาขัดแย้งกันเองครับ รถสีดำกับรถสีขาวออกจากจุดสตาร์ทพร้อมกัน เล่นคู่กันไปด้วยความเร็วที่เท่ากันย่อมถึงที่หมายพร้อมกันครับ

ส่วนความเห็นตรงนี้ผมขออนุญาตเห็นต่างนะครับ กราบขออภัยด้วยครับ
จริงอยู่รถขาวและดำ อาจเป็นรถยี่ห้อเดียวกัน เครื่องยนตร์ขนาดเดียวกัน แถมวิ่งออกจาก จุดสตาร์ทเดียวกัน เวลาเดียวกัน แต่อย่าลืมว่า คนขับคนละคนกัน นะครับ ตรงนี้คือปัจจัยที่ต่างกันที่สำคัญมากๆ เพราะรถวิ่งไปเองไม่ได้แม้มีปัจจัยขับเคลื่อนเดิมอยู่ แต่ต้องอาศัย "เหตุใหม่" คือคนขับมาพาไป คนขับย่อมมีสมรรถภาพทั้งด้านร่างกาย และจิตใจต่างกัน การคำนวณระยะทาง เปลี่ยนเกียร์ etc. ย่อมไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงสามารถนำรถเข้าเส้นชัยต่างกันครับ ดังนั้นเวลาแข่งรถ ผู้ที่รับคำชมว่าเก่งที่ชนะในการแข่งขันคืน "คนขับ" เป็นอันดับแรก ไม่ใช่รถนะครับ หลังจากนั้นจึงคิดถึง
รถทีหลัง..


นอกจากปัจจัยต่างเพราะคนขับแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากเข้าประกอบเช่นแรงลม สภาพถนน แสงแดดหรืิอฝนตก etc..ด้วยเหตุนี้ การที่รถจะถึงจุดกำหนดพร้อมกันจึงเป็นไปได้ยาก ด้วยความต่างดังกล่าวมา

ในทำนองเดียวกัน เมื่อกล่าวถึงเรื่องของสภาพจิต ยิ่งมีความแตกต่างกันตามเหตุปัจจัยมากกว่ารถ
มากมายนักจนแม้พระพุทธยังตรัสว่า..


... พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

...............................ชื่อว่า จิต เพราะทำให้วิจิตร อย่างไร ?

จริงอยู่ ชื่อว่า วิจิตรอื่นยิ่งกว่าจิตรกรรม ไม่มีในโลก ธรรมดาว่า

ลวดลายแม้ในความวิจิตรนั้น ก็เป็นความวิจิตรคือความงดงามยิ่งนัก. พวก

จิตรกรเมื่อกระทำจิตรกรรมนั้นก็เกิดสัญญาอันวิจิตรว่า รูปมีอย่างต่าง ๆ เราควร

ทำอย่างนี้ ในที่นี้ ดังนี้. การทำอันวิจิตร อันสำเร็จแล้วด้วยกิจมีการเขียน

การระบายสี การทำสีให้เรืองรอง และการสลับสีเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นด้วย

สัญญาอันวิจิตร รูปอันวิจิตรอย่างใดอย่างหนึ่ง ในความวิจิตรกล่าวคือลวดลาย

ย่อมสำเร็จแต่จิตรกรรมนั้น. การเกิดขึ้นแห่งศิสปะอันวิจิตรอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในโลกอย่างนี้ ศิลปะทั้งหมดนั้น อันจิตเท่านั้นคิดว่า รูปนี้จงมีข้างบนรูปนี้

รูปนี้จงมีข้างล่างของรูปนี้ รูปนี้จงมีที่ข้างทั้ง ๒ ของรูปนี้แล้วจึงกระทำ จิตร-

กรรมนั้นอันข้างล่างให้วิจิตรแล้ว ฉันใด แม้จิตที่ทำให้สำเร็จความวิจิตร ก็ชื่อว่า

จิต ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะกระทำให้วิจิตรด้วยอาการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง

จิตนั่นแหละ ชื่อว่า วิจิตรกว่าจิตรกรรมนั้น เพราะให้สำเร็จจิตรกรรม

ทุกชนิดตามที่คิด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ชื่อว่า ลวดลายอันวิจิตร พวกเธอเห็นแล้วหรือ พวกภิกษุกราบทูล

ว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ลวดลายอันวิจิตรแม้นั้นแลอันจิตนั่นเองคิดแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตเท่านั้น

วิจิตรกว่าลวดลายอันวิจิตรแม้นั้นแล.

อนึ่ง จิตที่เป็นไปภายในต่างชนิดโดยกรรม เพศ สัญญา และโวหาร

เป็นต้น ในคติทั้งหลาย มีเทวดา มนุษย์และสัตว์เดรัจฉานนี้ใด จิตแม้นั้นก็

กระทำให้วิจิตรแล้วเหมือนกัน.




ตอบคุณTOOMAIN DT07619

1.จากโจทย์ที่กำหนดให้เมื่อคนกระทำกรรมที่เหมือนกันสมบัติที่ได้คือโภคทรัพย์และบริวารย่อมเหมือนกัน

ความเห็นตรงนี้ ถูกครับ

ในเวลาเดียวกันหรือเวลาที่เท่ากันจิตต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกันจิตขณะที่เกิด และจิตขณะที่ตาย กล่าวว่าทุกอย่างพร้อมกัน จิตต่าง ๆ จึงต้องเสวยผลเหมือนกัน เพราะกระทำเหตุที่เหมือนกัน ผลย่อมเหมือนกัน

ตรงนี้ยังไม่ถูกต้อง เพราะเราไม่ได้รับผลที่ได้มาจากเหตุเท่านั้น ทุกๆขณะเราทำเหตุใหม่ ตลอดเวลา (ยกเว้นผู้ที่เป็นพระอรหันต์แล้วเท่านั้นที่ไม่ทำเหตุใหม่เลย)

ถ้านายขาวทำใจให้สงบได้ นายดำต้องสามารถทำใจให้สงบได้ด้วย
การทำเหตุที่เหมือนกันแต่ให้ผลคือโภคทรัพย์และบริวารไม่เหมือนกันย่อมเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
นายดำมีญาติมานั่งร้องห่มร้องให้ ญาตินายขาวต้องมานั่งร้องให้ด้วย เพราะสมบัติเหมือนกันบริวารเหมือนกัน

ตรงนี้เรียกว่าปัจจัยใหม่เป็นเหตุปัจจัยภายนอก
ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยใหม่เลยใครที่ไปสวรรค์ก็คงเที่ยงอยู่อย่างนั้น พวกตกนรกคงอยู่ที่นั่นตลอดไป เช่นกัน เป็นความคิดของพวกที่มีความเห็นผิด ประเภทสัสสตทิฏฐิ ๔ เห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยง (อกริยทิฏฐิ)

ผู้รู้เขาอธิบายมาอย่างนี้ครับ
ผู้รู้มี 2 ชนิดครับ คือรู้จริง กับ รู้ไม่จริง หรือ รู้ถูก กับรู้ผิด
เราพึงมีโยนิโสมนัสสิการใคร่ครวญก่อนเชื่อสิ่งใด ธรรมะของพระพุทธเจ้ามีเหตุผล และเป็นความจริงเสมอ ขอเราเพียร
ศึกษาให้กว้่างขวางและคบหากัลยาณมิตรที่สามารถพาเราให้พ้นจากความ เห็นผิด ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงที่สุดแก่ตนเอง
และผู้อื่นในสังสารวัฏ..

เจริญธรรมครับ



ddman DT07247 [6 ต.ค. 2551 17:44 น.] คำตอบที่ 7

ddman DT07247 [6 ต.ค. 2551 18:22 น.] คำตอบที่ 8


หน้าที่ของจิต (๓๓๑) กิจ หรือ วิญญาณกิจ ๑๔ (กิจของวิญญาณ, หน้าที่ของจิต )


๑๔. ..ทำหน้าที่ในการตาย เรียกว่า จุติ (หน้าที่เคลื่อนจากภพปัจจุบัน ได้แก่ จิต ๑๙ อย่างเดียวกับในปฏิสนธิ )

๑. ทำหน้าที่ในการเกิด เรียกว่า ปฏิสนธิ คือเกิดร่วมเกิดพร้อมกับขันธ์ ๕ ในภพภูมิใหม่ (หน้าที่สืบต่อภพใหม่ ได้แก่จิต ๑๙ คือ อุเบกขาสันติรณะ ๒ มหาวิบาก ๘ รูปวิบาก ๕ อรูปวิบาก ๔ ).


๒.ทำหน้าที่ในการสืบต่ออุปนิสัย เรียกว่า ภวังค ทำอะไรตามที่ชอบตามที่คุ้นเคย และการนอนหลับ(หน้าที่เป็นองค์ของภพ ได้แก่จิต ๑๙ อย่างเดียวกับปฏิสนธิ )

๓.ทำหน้าที่ในการรับการสัมผัสนามรูปในปัจจุบันขณะ เรียกว่า อาวัชชนะ (หน้าที่คำนึงอารมณ์ใหม่ ได้แก่ จิต ๒ คือ ปัญจทวาราวัชชนะ และมโนทวาราวัชชนะ )

๔.ทำหน้าที่ในการเห็นพร้อมกับดวงตา เรียกว่า ทัสสนะ (หน้าที่เห็นรูป ได้แก่ จักขุวิญญาณ ๒ )

๕.ทำหน้าที่ในการได้ยินพร้อมกับหู เรียกว่า สวนะ (หน้าที่ได้ยินเสียง ได้แก่ โสตวิญญาณ ๒ )

๖.ทำหน้าที่ในการดมกลิ่นพร้อมกับจมูก เรียกว่า ฆายนะ (หน้าที่รู้กลิ่น ได้แก่ ฆานวิญญาณ ๒ )

๗.ทำหน้าที่ในการลิ้มรสพร้อมกับลิ้น เรียกว่า สายนะ (หน้าที่ลิ้มรส ได้แก่ ชิวหาวิญญาณ ๒ )

๘.ทำหน้าที่ในการสัมผัสพร้อมกับร่างกาย เรียกว่า ผุสนะ (หน้าที่ถูกต้องโผฏฐัพพะ ได้แก่ กายวิญญาณ ๒ )

๙.ทำหน้าที่ในการคิดนึกพร้อมกับจิตใจ เรียกว่า สัมปฏิจฉนะ (หน้าที่รับอารมณ์ ได้แก่ สัมปฏิจฉนะ ๒ )

๑๐.ทำหน้าที่ในการพินิจพิจารณานามรูป ที่ได้สัมผัสจากอายตนะทั้ง 6 เรียกว่า สันตีรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เข่นเมื่อวานทำอะไรมาบ้าง พรุ่งนี้จะทำอะไรบ้าง ปัจจุบันกำลังประสบกับเรื่องราวใด " ความรู้ของจิตที่มาทำหน้าที่ตรงนี้แหละเจ้าค่ะ ที่เรียกว่า ลางสังหรณ์ " (หน้าที่พิจารณาอารมณ์ ได้แก่ สันตีรณะ ๓ )

๑๑. ทำหน้าที่ในการตัดสินใจเชื่อถือหรือไม่เชื่อถือนามรูปนั้นว่าจริงหรือเท็จ พร้อมกับการทำความเข้าใจเพื่อรู้แจ้งนามรูปนั้นตามภูมปัญญาของจิต เรียกว่า โวฏฐัพพนะ หรือ โวฏฐปนะ (หน้าที่ตัดสินอารมณ์ ได้แก่ มโนทวาราวัชชนะ ๑ )

๑๒..ทำหน้าที่ในการพินิจพิจารณาการกระทำที่ได้สัมผัสจากอายตนะทั้ง 6 ว่าจะตอบสนองต่อนามรูปนั้นอย่างไร เรียกว่า ชวนะ คือจะตัดสินใจจะทำดี หรือทำชั่ว หรือเสพความสุขความทุกข์ดี (หน้าที่แล่นเสพอารมณ์ อันเป็นช่วงที่ทำกรรม ได้แก่ จิต ๕๕ คือ กุศลจิต ๒๑ อกุศลจิต ๑๒ กิริยาจิต๑๘ คือเว้นอาวัชชนะทั้งสอง โลกุตตรผลจิต ๔ )

๑๓...ทำหน้าที่ในการรับรู้อารมณ์ก่อนจิตที่ทำหน้าที่เป็นภวังค์ เรียกว่า ตทาลัมพนะ (หน้าที่อารมณ์ต่อจากชวนะก่อนตกภวังค์ ได้แก่ จิต ๑๑ คือ มหาวิบาก ๘ สันตีรณะ ๓ )

๑๔. ..ทำหน้าที่ในการตาย เรียกว่า จุติ (หน้าที่เคลื่อนจากภพปัจจุบัน ได้แก่ จิต ๑๙ อย่างเดียวกับในปฏิสนธิ )

จัดโดยฐานที่จิตทำกิจ ๑๔ นี้ มี ๑๐ คือ รวมข้อ ๔-๕-๖-๗-๘ เป็นข้อเดียว คือ ปัญจวิญญาณฐาน นอกนั้นคงชื่อเดิม

กิจ ๑๔ นี้ ในวิสุทธิมรรคเรียกว่า วิญญาณปวัตติ หรือ วิญญาณปวัตติอาการ (อาการที่วิญญาณเป็นไป )

ดู (๓๔๒) จิต ๘๙.

Vism.457; Comp 114. วิสุทฺธิ.๓/๒๙; สงฺคห. ๑๕




ตอบคุณTOOMAIN DT07619

1.จากโจทย์ที่กำหนดให้เมื่อคนกระทำกรรมที่เหมือนกันสมบัติที่ได้คือโภคทรัพย์และบริวารย่อมเหมือนกัน

ความเห็นตรงนี้ ถูกครับ.

ในเวลาเดียวกันหรือเวลาที่เท่ากันจิตต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกันจิตขณะที่เกิด และจิตขณะที่ตาย กล่าวว่าทุกอย่างพร้อมกัน จิตต่าง ๆ จึงต้องเสวยผลเหมือนกัน เพราะกระทำเหตุที่เหมือนกัน ผลย่อมเหมือนกัน

ตรงนี้ยังไม่ถูกต้อง เพราะเราไม่ได้รับผลที่ได้มาจากเหตุเท่านั้น ทุกๆขณะเราทำเหตุใหม่ ตลอดเวลา (ยกเว้นผู้ที่เป็นพระอรหันต์แล้วเท่านั้นที่ไม่ทำเหตุใหม่เลย)

ท่านเข้าใจผิดแล้วครับ ท่านลองอ่านหน้าที่ของจิตดูอีกครั้งนะครับ ว่าทุกขณะเราทำเหตุตลอดเวลาจริงหรือไม่
หรือว่าทำเหตุบ้างในบางครั้ง หรือว่าเสวยผลบ้างหรือเสวยผลเป็นเวลานาน
ตอนที่ท่านนอนหลับ 8 ชั่วโมง ตัวท่านทำเหตุหรือไม่
ขณะนอนหลับจิตของท่านเป็นเหตุหรือเป็นผล.



ถ้านายขาวทำใจให้สงบได้ นายดำต้องสามารถทำใจให้สงบได้ด้วย
การทำเหตุที่เหมือนกันแต่ให้ผลคือโภคทรัพย์และบริวารไม่เหมือนกันย่อมเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
นายดำมีญาติมานั่งร้องห่มร้องให้ ญาตินายขาวต้องมานั่งร้องให้ด้วย เพราะสมบัติเหมือนกันบริวารเหมือนกัน
ตรงนี้เรียกว่าปัจจัยใหม่เป็นเหตุปัจจัยภายนอก
ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยใหม่เลยใครที่ไปสวรรค์ก็คงเที่ยงอยู่อย่างนั้น พวกตกนรกคงอยู่ที่นั่นตลอดไป เช่นกัน เป็นความคิดของพวกที่มีความเห็นผิด ประเภทสัสสตทิฏฐิ ๔ เห็นว่า อัตตาและโลกเที่ยง (อกริยทิฏฐิ)

ลองอ่านโจทย์กระทู้ใหม่อีกครั้งนะครับ อะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล โจทย์กำหนดอะไรมาบ้าง ตีโจทย์ให้แตกเสียก่อนนะครับ
แล้วท่านจะทราบว่า ณ เวลานั้น ๆ จิตควรมีลักษณะอย่างไร หวั่นไหวหรือไม่หวั่นไหว เพราะอะไรจึงเป็นอย่างนั้น.



ผู้รู้เขาอธิบายมาอย่างนี้ครับ
ผู้รู้มี 2 ชนิดครับ คือรู้จริง กับ รู้ไม่จริง หรือ รู้ถูก กับรู้ผิด
เราพึงมีโยนิโสมนัสสิการใคร่ครวญก่อนเชื่อสิ่งใด ธรรมะของพระพุทธเจ้ามีเหตุผล และเป็นความจริงเสมอ ขอเราเพียร
ศึกษาให้กว้่างขวางและคบหากัลยาณมิตรที่สามารถพาเราให้พ้นจากความ เห็นผิด ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงที่สุดแก่ตนเอง
และผู้อื่นในสังสารวัฏ..

เจริญธรรมครับ

ddman DT07247 [6 ต.ค. 2551 18:22 น.] คำตอบที่ 8
ข้อนี้ท่านตอบถูกต้องครับ ผู้รู้มี 2 ชนิดครับ คือรู้จริง กับ รู้ไม่จริง หรือ รู้ถูก กับรู้ผิด

และผู้ที่รู้มาผิดคือ ท่าน ddman DT07247 ครับ
เรื่องจิตนี่ท่านรู้มาผิด 100 % ครับ.



ขออภัยนะครับ
คำตอบผมถูกต้อง แต่อาจไม่ถูกใจท่านนะครับ
ขออภัยอีกครั้งนะครับ


TOOMAIN ม.1/1.


กระทู้ที่กระผมตั้งมานั้น กระผมทราบว่าเป็นจริงอย่างนั้นไม่ได้แน่นอน เป็นเพียงสมมุติเพื่อต้องการเปรียบเทียบให้ผู้ตอบใด้ทราบจุดประสงค์ของคำถามต่างหากครับ เพราะคำถามนี้ที่กระผมสงสัยและยังไม่เข้าใจอยากจะรู้มากๆและได้ไปถามหลายที่หลายแห่งก็ได้รับคำตอบคล้ายๆกันว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่คนสองคนจะมีอะไรเหมือนๆกัน และสุดท้ายกระผมก็ไม่ได้คำตอบสักที นี่คือเหตุผลที่กระผมจำต้องสมมุติดังกล่าวเพียงเพื่อต้องการชี้ให้ผู้ตอบทราบถึงจุดประสงของคำถามเท่านั้นครับที่สมมุติว่า สองคนนั้นมีอะไรเหมือนๆกัน และเพียงแต่ก่อนจิตจะดับเท่านั้นทำไมสองคนจึงไปเกิดในที่ต่างกัน จึงสงสัยอีกว่าแสดงว่าตอนจิตจะดับสำคัญกว่ากรรมใช่หรือไม่เท่านั้น และกราบขอบคุณทุกท่านที่เมตตาช่วยตอบให้ อาจเป็นเพราะตัวของกระผมเองยังด้อยด้วยปัญญามีความรู้น้อยหรือเพิ่งศึกษาเรื่องธรรมะจึงขอยอมรับว่าคำตอบที่ท่านผู้รู้ได้เมตตาตอบให้นั้นยังไม่เข้าใจหรือยังสับสนอยู่ครับ และคำตอบตอนหนึ่งที่ว่า
-ทำชั่วมาตลอดชีวิต แต่ตอนใกล้ตายนึกถึงกุศลที่ทำมาได้ก็ได้เกิดใน สุคติภูมิ
ด้วยความด้อยปัญญาของกระผมจึงขอกราบเรียนถามตรงๆและซื่อๆกับคำตอบที่ว่า -ทำชั่วมาตลอดชีวิต แต่ตอนใกล้ตายนึกถึงกุศลที่ทำมาได้ก็ได้เกิดใน สุคติภูมิ ถ้าอย่างนั้นสมมุติชั่วชีวิตของคนคนหนึ่งอาจทำแต่กรรมชั่วมาตลอด ส่วนกรรมดีมีบ้างเพียงน้อยนิด หากคนคนนั้นเขารู้ว่าก่อนจิตจะดับและหากถึงคราวที่เขาจิตจะดับจริงๆหากเขาทำได้เขาก็ต้องทำใจให้จิตสงบก่อนตายเพื่อที่จะไปเกิดในที่ดีๆทำอย่านีมิดีหรือ ก็แสดงว่าก่อนจิตจะดับสำคัญกว่ากรรมถึงแม้จะเป็นกรรมดีก็ตามใช่หรือไม่ ตรงนี้คือคำถามที่ต้องการคำตอบ ขอคำตอบที่เข้าใจง่ายๆด้วย
( กระผมต้องกราบขอโทษท่านผู้รู้มากๆที่ถามซอกแซกและอาจเป็นคำถามที่สับสนสำหรับท่านผู้รู้ แต่สำหรับตัวของกระผมนั้นขอยอมรับตรงๆว่ายังเข้าใจไม่ชัดเจนอาจเป็นเพราะความด้อยปัญญาของกระผมเองก็เป็นได้ หรือจะเรียกตรงๆว่าเพราะความโง่และความไม่รู้และเข้าใจยากของกระผมเองก็เป็นได้ครับ กราบขอบพระคุณทุกท่านที่เมตตาให้คำตอบครับ)



asd DT07489 [6 ต.ค. 2551 22:52 น.] คำตอบที่ 10

สวัสดีครับ

ตอนนี้ดึกแล้ว พรุ่งนี้บ่าย ๆ จะมาตอบให้นะครับ

แฮ่ ๆ ต้องไปถามเขาก่อนครับ


ราตรีสวัสดิ์ครับ


TOOMAIN ม.1/1.




อ้างอิง
ขออภัยนะครับ
คำตอบผมถูกต้อง แต่อาจไม่ถูกใจท่านนะครับ
ขออภัยอีกครั้งนะครับ


ไม่เป็นไรครับคุณTOOMAIN คำตอบของคุณไม่ทำให้ผมไม่ถูกใจเลยครับ กลับทำให้ผมช่ืนชมและดีใจด้วยที่มีคนสนใจพระธรรมอีกคนหนึ่ง ผมเองก็ต้องขออภัยด้วย
ที่ถ้อยคำที่เขียนทำให้เกิดความขุ่นเคืองใจนะครับ
ขออภัยอีกครั้งนะครับ


ผมคงจะรู้น้อยกว่าคุณTOOMAINในบางเรื่องจริงครับ ดังนั้นผมใคร่ขอความกรุณาคุณTOOMAIN สอบถามผู้รู้ ในข้อที่ว่าตอนที่ท่านนอนหลับ 8 ชั่วโมง ตัวท่านทำเหตุหรือไม่
บางทีผู้รู้อาจอธิบายเพิ่มเติมให้ทราบได้ว่าเราทำเหตุใดได้บ้างขณะหลับ

ลองอ่านโจทย์กระทู้ใหม่อีกครั้งนะครับ อะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล โจทย์กำหนดอะไรมาบ้าง ตีโจทย์ให้แตกเสียก่อนนะครับ
คุณTOOMAINครับ ผมขอใช้สมมุติฐานของคุณว่า นายดำมีญาติมานั่งร้องห่มร้องให้ และญาตินายขาวต้องมานั่งร้องให้ด้วย เพราะสมบัติเหมือนกันบริวารเหมือนกันแต่จิตของนายดำกับนายขาว
จะมีความคิดต่อสภาพแวดล้อมเช่นนี้ "เหมือนกัน"ใหมครับ? ตรงนี้คือเหตุใหม่ครับ ไม่ใช่"ผลของกรรมเก่า"จะบอกว่าทำกรรมมาเหมือนกันเวลาตายเลยมีจุติจิตหรือจิตตอนตายเหมือนกัน คงไม่ถูกนะครับ ลองถามผู้รู้ให้แน่ชัดอีกทีนะครับ


ส่วนการตีโจทย์นั้นผมว่าตามโจทย์ที่ให้มาแน่นอน ไม่ทราบว่าผมตีโจทย์ที่ใหนไม่แตกครับ?!? โจทย์มีว่า:
1) ก่อนนายขาวจะตายนั้นมีจิตใจสงบ ถ้าตายหรือก่อนจิตจะดับอย่างนายขาวนี้ที่อ่านมาพอทราบว่านายขาว อาจไปเกิดในภพหรือภฒิที่ดี ตามแต่กรรมจะเป็นผู้กำหนอ
(2) ส่วนนายดำก่อนจะตายมีญาติมาร้องห่มร้องไห้ทำให้นายดำอาจไม่สงบอาจมีห่วงลูกหลานที่ร้องไห้กัน เมื่อนายดำตายไป และเท่าที่อ่านมาทราบว่านายดำจิตไม่สงบก่อนตายนั้นจะไปเกิดภพหรือภูมิที่ไม่ดี

คุณTOOMAIN คงพอทราบนะครับว่า ณ เวลานั้น ๆ จิตนายดำควรมีลักษณะอย่างไร หวั่นไหวหรือไม่หวั่นไหว เพราะอะไรจึงเป็นอย่างนั้น.

กราบขอบพระคุณ และอนุโมทนาครับคุณTOOMAIN
เจริญธรรมครับ

ป.ล. ผมชอบรูปที่คุณTOOMAIN post ไวข้างบนนี้้ จะขออนุญาตcopy ไว้นะครับ


อนุโมทนาครับคุณ asd DT07489กับคำถามใหม่

ก่อนจิตจะดับสำคัญกว่ากรรมถึงแม้จะเป็นกรรมดีก็ตามใช่หรือไม่

ไม่ใช่ครับ กรรมที่ทำมาแล้วนั้นสำคัญกว่าครับ ที่จิตก่อนตายจะเป็นกุศลได้ก็เพราะคิดถึงกุศลที่ทำไว้แล้วแม้เล็กน้อยก็ตามนั่นเอง หากไม่มีกุศลที่ทำไว้แล้ว ก็ย่อมคิดถึงกุศลไม่ได้ เมื่อไม่มีกุศลให้คิด จิตก็ย่อมเป็นไปกับอกุศลล้วนๆ

ที่กล่าวว่าทำอกุศล มาตลอดชีวิตก็ ไม่ได้หมายความว่าไม่เคยทำดีีมาเลย คนทุกคน มีการทำดีและชั่วปะปนกันอยู่เป็นปกติ เพียงแต่อย่่างใดมากกว่าเท่านั้นครับ


หากจิตก่อนตายสำคัญกว่่ากรรมแล้ว พระพุทธเจ้าคงไม่ทรงสอนให้เรา "ละชั่ว ทำดีให้ถึงพร้อม" ดอกครับ แต่คงจะสอนว่า พวกเธอจงสนุกให้เต็มที่ไม่ต้องเพียรทำความดีดอก เอาไว้ใกล้ตายพยายามทำจิตให้ดีเข้าไว้ ก็พอแล้ว




สมมุติหนอ...สมมุติ

สมมุติในเรื่องที่เป็นไปได้...ก็มี สมมุติเรื่องที่เป็นไปไม่ได้...ก็มีเช่นเดียวกัน

เพราะมันเป็นแค่สมมุติ

ข้อความในกระทู้ตั้ง เป็นแค่เรื่องสมุมติน่ะครับ...สิ่งที่ผู้ถามอยากทราบก็คือ.....

" แสดงว่าจิตก่อนตายของคนเราสำคัญกว่ากรรมที่เขาทำมาใช่หรือไม่ " (กระทู้ตั้งต้น)

*******************************************************

กระผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็นอีกครั้งนะครับ.

จะตอบว่าใช่ ก็ไม่ถูก ......... จะตอบว่าไม่ใช่ ก็ไม่ถูกเช่นเดียวกัน

เพราะว่า...ยังไงๆ ก็ต้องได้รับผลกรรมอยู่ดี

ทำชั่วมาทั้งชีวิต ก่อนตายจิตดี แน่นอนครับ ว่าได้ไปที่ดี แต่ก็อยู่ได้ไม่นานหรอกครับ

เดี๋ยวกรรมชั่วก็เข้าแทรก

ทำดีมาทั้งชีวิต ก่อนตายจิตเศร้าหมอง แน่นอนครับ ว่าได้ไปที่ไม่ดี แต่ก็ไม่นานเช่นเดียว

กัน เดี๋ยวอำนาจความเศร้าหมองแห่งจิตดวงที่นำไปเกิดนั้นก็หมด ต่อจากนั้นก็จะได้เสวย

วิบากอันเป็นกุศล

และหาได้น้อยมากๆครับ ที่คนทำดีมาทั้งชีวิต ก่อนตายจิตจะเศร้าหมอง

ในทางกลับกัน คนที่ทำชั่วมาทั้งชีวิต ก่อนตายจิตจะดีได้

เพราะโดยปกติจิตมนุษย์ เมื่อใกล้ต่อความแตกดับ ย่อมคิดพล่านไปถึงกรรมที่ได้ทำไว้

เป็นส่วนมาก ... ทำกรรมดีไว้มาก จิตจะน้อมนึกถึงกรรมดีนั้นๆ มีผลให้ไปสุคติ

หากทำชั่วมาก จิตก็จะน้อมนึกถึงกรรมชั่วนั้นๆเช่นกัน มีผลให้ไปทุคคติ

จะมีบ้างในส่วนที่เป็นข้อแปลกแตกต่าง.....

แต่นั่นก็เป็นส่วนน้อยจึงไม่นับเป็นประมาณในที่นี้ ....

ที่กล่าวมานี้เป็นส่วนใหญ่ซึ่งนับเป็นประมาณน่ะครับ

ฉะนั้น...พวกเราพึงหมั่นประกอบแต่กรรมดีไว้ให้มากๆเถิดครับ ทำความชั่วแต่น้อยๆ หรือ

ไม่ทำเสียเลยเป็นการดีที่สุด ... เพราะสุดท้าย ท้ายสุด คนที่จะต้องเสวยผลกรรมก็คือ

เราเองนี่แหละครับ

______ด้วยความปรารถนาดีเป็นอย่างยิ่ง______

*****************************************

คำตอบนี้เป็นความเห็นส่วนตัว + กับความรู้ทางธรรมอันมีอยู่นิดหน่อยน่ะครับ

อย่าเพิ่งเชื่อ และอย่าเพิ่งปฏิเสธโดยส่วนเดียว

พึงใช้สติปัญญาพิจารณาดูให้ดีก่อนนะครับ



อ้างอิง
ขออภัยนะครับ
คำตอบผมถูกต้อง แต่อาจไม่ถูกใจท่านนะครับ
ขออภัยอีกครั้งนะครับ

ไม่เป็นไรครับคุณTOOMAIN คำตอบของคุณไม่ทำให้ผมไม่ถูกใจเลยครับ กลับทำให้ผมช่ืนชมและดีใจด้วยที่มีคนสนใจพระธรรมอีกคนหนึ่ง ผมเองก็ต้องขออภัยด้วย
ที่ถ้อยคำที่เขียนทำให้เกิดความขุ่นเคืองใจนะครับ
ขออภัยอีกครั้งนะครับ


ไม่ได้มีใจขุ่นเคืองครับ ผมฝึกจิตมาดีพอสมควรแล้วครับ จับแล้ววางได้ครับ ยินดีที่ได้สนทนากับกัลยาณมิตรครับ
ขอขอบคุณที่ชื่นชมครับ.




ผมคงจะรู้น้อยกว่าคุณTOOMAINในบางเรื่องจริงครับ ดังนั้นผมใคร่ขอความกรุณาคุณTOOMAIN สอบถามผู้รู้ ในข้อที่ว่าตอนที่ท่านนอนหลับ 8 ชั่วโมง ตัวท่านทำเหตุหรือไม่
บางทีผู้รู้อาจอธิบายเพิ่มเติมให้ทราบได้ว่าเราทำเหตุใดได้บ้างขณะหลับ

๒.ทำหน้าที่ในการสืบต่ออุปนิสัย เรียกว่า ภวังค ทำอะไรตามที่ชอบตามที่คุ้นเคย และการนอนหลับ(หน้าที่เป็นองค์ของภพ ได้แก่จิต ๑๙ อย่างเดียวกับปฏิสนธิ )
ลองอ่าน TOOMAIN DT07619 [6 ต.ค. 2551 20:07 น.] คำตอบที่ 9 อีกครั้งนะครับ เพราะท่านอาจอ่านไม่ละเอียด ไม่ได้ทำโยนิโสมนสิการให้แยบคาย.

การนอนหลับจิตเป็นผลหรือวิบากครับ ขณะนอนหลับคนทำเหตุได้ด้วยคือขณะฝันครับที่จิตเป็นเหตุ ฝันดีจิตเป็นเหตุเรียกว่ากามาวจรกุศลจิต ฝันร้ายจิตเป็นเหตุเรียกว่าอกุศลจิตครับ .



ลองอ่านโจทย์กระทู้ใหม่อีกครั้งนะครับ อะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล โจทย์กำหนดอะไรมาบ้าง ตีโจทย์ให้แตกเสียก่อนนะครับ
คุณTOOMAINครับ ผมขอใช้สมมุติฐานของคุณว่า นายดำมีญาติมานั่งร้องห่มร้องให้ และญาตินายขาวต้องมานั่งร้องให้ด้วย เพราะสมบัติเหมือนกันบริวารเหมือนกันแต่จิตของนายดำกับนายขาว
จะมีความคิดต่อสภาพแวดล้อมเช่นนี้ "เหมือนกัน"ใหมครับ? ตรงนี้คือเหตุใหม่ครับ ไม่ใช่"ผลของกรรมเก่า"จะบอกว่าทำกรรมมาเหมือนกันเวลาตายเลยมีจุติจิตหรือจิตตอนตายเหมือนกัน คงไม่ถูกนะครับ ลองถามผู้รู้ให้แน่ชัดอีกทีนะครับ

ตรงนี้ไงครับที่ท่านหลงประเด็นตีโจทย์ไม่แตก
ข้อความตรงนี้เป็นผลครับ ไม่ใช่เหตุ
โจทย์กำหนดให้ผลไม่ตรงกับเหตุ
จึงกล่าวว่า โจทย์ข้อนี้ตั้งเอาไว้ผิดตั้งแต่ต้น

โจทย์กำหนดเหตุเอาไว้อย่างนี้ครับ......

.....เรื่องนี้สงสัยมากๆ โดยขอกราบเรียนถามท่านผู้รู้ได้เมตตาให้คำตอบที่เข้าใจอย่างง่ายๆให้ด้วยครับ กระผมขอสมมุติเปรียบเทียบระหว่างนายดำกับนายขาวครับ คือ ขอสมมุติว่านายขาวกับนายดำมีทุกอย่างเหมือนๆกัน อายุเท่ากัน ทั้งชาติก่อนและชาตินี้ได้สร้างทั้งกรรมดีและกรรมไม่ดีมาเหมือนๆกันหรือเท่าๆกัน พูดง่ายๆก็คือเท่ากันและเหมือนกันทุกอย่าง และขอสมมุติอีกว่าตายในวันเดียวกัน เวลาเดียวกัน ทุกๆอย่างเหมือนๆกัน .....
ตรงนี้เป็นเหตุครับ.


ส่วนการตีโจทย์นั้นผมว่าตามโจทย์ที่ให้มาแน่นอน ไม่ทราบว่าผมตีโจทย์ที่ใหนไม่แตกครับ?!? โจทย์มีว่า:
1) ก่อนนายขาวจะตายนั้นมีจิตใจสงบ ถ้าตายหรือก่อนจิตจะดับอย่างนายขาวนี้ที่อ่านมาพอทราบว่านายขาว อาจไปเกิดในภพหรือภฒิที่ดี ตามแต่กรรมจะเป็นผู้กำหนอ
(2) ส่วนนายดำก่อนจะตายมีญาติมาร้องห่มร้องไห้ทำให้นายดำอาจไม่สงบอาจมีห่วงลูกหลานที่ร้องไห้กัน เมื่อนายดำตายไป และเท่าที่อ่านมาทราบว่านายดำจิตไม่สงบก่อนตายนั้นจะไปเกิดภพหรือภูมิที่ไม่ดี
คุณTOOMAIN คงพอทราบนะครับว่า ณ เวลานั้น ๆ จิตนายดำควรมีลักษณะอย่างไร หวั่นไหวหรือไม่หวั่นไหว เพราะอะไรจึงเป็นอย่างนั้น.

ตรงนี้อีกข้อไงครับที่ท่านหลงประเด็น...
ผลย่อมมาจากเหตุ และผลย่อมตรงกับเหตุนั้น ๆ
โจทย์กำหนดเหตุเอาไว้อย่างเดียวกัน แต่พอกล่าวถึงผลกลับกล่าวว่าผลต่างกันเพราะเหตุเดียวกัน.....

ผมจึงกล่าวในคำตอบที่ 4 แล้วว่า ...โจทย์ข้อนี้ไม่ถูกต้องครับ
เพราะโจทย์ที่ดีต้องตั้งผลก่อนแล้วสาวจากผลไปหาเหตุ แต่นี่จะมาเปลี่ยนผลโดยไม่ไปเปลี่ยนที่เหตุ

ถ้าผลไม่ตรงกับเหตุแล้วเราจะกล่าวกันถึงเหตุและผลกันไปทำไมเล่าครับ ?
ไม่ว่าวิทยาศาสตร์หรือพุทธศาสตร์ โลกียะหรือโลกุตตระสำคัญที่เหตุและผลครับ

เยธัมมา เหตุปปะภะวา
เตสัง เหตุง ตถาคโต
เตสะญะจะ โย นิโรโธ จะ
เอวัง วาที มหาสมโณ

ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด
พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้นด้วย
พระมหาสมณะเจ้ามีปกติตรัสอย่างนี้.


ถ้าจะเปลี่ยนแปลงคติภพต้องเปลี่ยนที่เหตุครับไม่ใช่เปลี่ยนที่ผลครับ
เพราะจุติจิต และปฏิสนธิจิต เป็นจิตประเภทผลครับ

ผมจึงกล่าวว่าท่านตีโจทย์ไม่แตกครับ.



กราบขอบพระคุณ และอนุโมทนาครับคุณTOOMAIN
เจริญธรรมครับ

ป.ล. ผมชอบรูปที่คุณTOOMAIN post ไวข้างบนนี้้ จะขออนุญาตcopy ไว้นะครับ

ddman DT07247 [7 ต.ค. 2551 00:18 น.] คำตอบที่ 12



อนุโมทนาสาธุครับ
copy ได้ตามชอบใจครับผมก็ copy เขามาอีกต่อหนึ่งครับ

จริงอยู่เหตุอย่างเดียวอาจให้ผลอย่างเดียวก็ได้
เหตุหลายอย่างอาจให้ผลอย่างเดียวก็ได้
เหตุอย่างเดียวอาจให้ผลหลายย่างก็ได้
เหตุหลายอย่างอาจให้ผลหลายอย่างก็ได้...
แต่นั่นไม่ใช่จะมาตอบโจทย์ในกระทู้นี้ครับ
การรู้จักเหตุและผลมีประโยชน์ครับ
.


ตอนบ่ายพบกันใหม่ครับ

TOOMAIN ม.1/1.


ตามความเห็นของผม
คิดว่าเจ้าของกระทู้ คงเห็นว่าไม่ยุติธรรมสำหรับคนทำดีมาตลอดแต่จิตเศร้าหมองก่อนตาย ทำให้ไปเกิดในทุกข์คติ
ผมว่าคนทำดีมาตลอดโอกาสจะจิตเศร้าหมองน่าจะน้อยนะครับ แม้จะมีโอกาสก็ตาม ขอยืมเรื่องวัวมาแสดงความเห็นนะครับ
ถ้าทำดีตลอด วัวสีขาวก็ย่อมมีมากกว่า วัวดำ ดังนั้นโอกาสไปดีย่อมมีมากกว่า
ดังนั้นที่เราควรทำก็คือ จัดระเบียบให้มีวัวขาวมากๆ แล้วล้อมวัวดำไว้ ด้วยการปฎิบัติธรรม ไม่ต้องมัวแต่สงสัยว่าทำไมทำดีแต่จิตหมองไปทุกคติ
สรุปคือ ไม่ต้องไปสงสัย หรือคิดไรมาก ปฎิบัติธรรมให้ใจปล่อยวางได้ มามุ่งตรงนี้น่าจะดีกว่า
อนุโมทนาสาธุกับทุกความเห็นนะครับ ผมได้ความรู้ขึ้นอีกมากทีเดียว


อนุโมทนาสาธุครับ TOOMAIN ม.1/1.
เจริญธรรมครับ




กระทู้ที่กระผมตั้งมานั้น กระผมทราบว่าเป็นจริงอย่างนั้นไม่ได้แน่นอน เป็นเพียงสมมุติเพื่อต้องการเปรียบเทียบให้ผู้ตอบใด้ทราบจุดประสงค์ของคำถามต่างหากครับ เพราะคำถามนี้ที่กระผมสงสัยและยังไม่เข้าใจอยากจะรู้มากๆและได้ไปถามหลายที่หลายแห่งก็ได้รับคำตอบคล้ายๆกันว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่คนสองคนจะมีอะไรเหมือนๆกัน และสุดท้ายกระผมก็ไม่ได้คำตอบสักที นี่คือเหตุผลที่กระผมจำต้องสมมุติดังกล่าวเพียงเพื่อต้องการชี้ให้ผู้ตอบทราบถึงจุดประสงของคำถามเท่านั้นครับที่สมมุติว่า สองคนนั้นมีอะไรเหมือนๆกัน และเพียงแต่ก่อนจิตจะดับเท่านั้นทำไมสองคนจึงไปเกิดในที่ต่างกัน จึงสงสัยอีกว่าแสดงว่าตอนจิตจะดับสำคัญกว่ากรรมใช่หรือไม่เท่านั้น และกราบขอบคุณทุกท่านที่เมตตาช่วยตอบให้ อาจเป็นเพราะตัวของกระผมเองยังด้อยด้วยปัญญามีความรู้น้อยหรือเพิ่งศึกษาเรื่องธรรมะจึงขอยอมรับว่าคำตอบที่ท่านผู้รู้ได้เมตตาตอบให้นั้นยังไม่เข้าใจหรือยังสับสนอยู่ครับ และคำตอบตอนหนึ่งที่ว่า
-ทำชั่วมาตลอดชีวิต แต่ตอนใกล้ตายนึกถึงกุศลที่ทำมาได้ก็ได้เกิดใน สุคติภูมิ
ด้วยความด้อยปัญญาของกระผมจึงขอกราบเรียนถามตรงๆและซื่อๆกับคำตอบที่ว่า -ทำชั่วมาตลอดชีวิต แต่ตอนใกล้ตายนึกถึงกุศลที่ทำมาได้ก็ได้เกิดใน สุคติภูมิ ถ้าอย่างนั้นสมมุติชั่วชีวิตของคนคนหนึ่งอาจทำแต่กรรมชั่วมาตลอด ส่วนกรรมดีมีบ้างเพียงน้อยนิด หากคนคนนั้นเขารู้ว่าก่อนจิตจะดับและหากถึงคราวที่เขาจิตจะดับจริงๆหากเขาทำได้เขาก็ต้องทำใจให้จิตสงบก่อนตายเพื่อที่จะไปเกิดในที่ดีๆทำอย่านีมิดีหรือ ก็แสดงว่าก่อนจิตจะดับสำคัญกว่ากรรมถึงแม้จะเป็นกรรมดีก็ตามใช่หรือไม่ ตรงนี้คือคำถามที่ต้องการคำตอบ ขอคำตอบที่เข้าใจง่ายๆด้วย
( กระผมต้องกราบขอโทษท่านผู้รู้มากๆที่ถามซอกแซกและอาจเป็นคำถามที่สับสนสำหรับท่านผู้รู้ แต่สำหรับตัวของกระผมนั้นขอยอมรับตรงๆว่ายังเข้าใจไม่ชัดเจนอาจเป็นเพราะความด้อยปัญญาของกระผมเองก็เป็นได้ หรือจะเรียกตรงๆว่าเพราะความโง่และความไม่รู้และเข้าใจยากของกระผมเองก็เป็นได้ครับ กราบขอบพระคุณทุกท่านที่เมตตาให้คำตอบครับ)

asd DT07489 [6 ต.ค. 2551 22:52 น.] คำตอบที่ 10


สวัสดีครับ
1.ถ้าจะถามเกี่ยวกับผลกรรมหรือวิบากกรรมของเรา ท่านต้องถามเอาผลกรรมของเราขึ้นก่อน
2.ถ้าเราจะเปลี่ยนแปลงผลกรรมหรือจะเปลี่ยนแปลงวิบากกรรมของเรา ที่เคยกระทำมานั้นเราจะกระทำเหตุใหม่อย่างไร ?



โจรเคราแดงร่วมกับกลุ่มโจร 500 คนปล้นฆ่าคนมามาก ต่อมาถูกจับได้พวกราชบุรุษเห็นโจรเคราแดงเป็นคนแข็งแรงบึกบึน รูปร่างน่ากลัว จึงแต่งตั้งให้โจรเคราแดงเป็นเพ็ชฆาต ฆ่าพวกโจรด้วยกัน โดยวิธีเอาขวานฟันสับคอ และแต่งตั้งให้เป็นเพ็ชฆาตประจำคุกหลวง

จนอายุ 70 ปี ฟันคอนักโทษไม่ขาดในคราวเดียวทำให้นักโทษประหารเจ็บปวดทรมานก่อนจะตาย พวกราชบุรุษจึงให้โจรเคราแดงเกษียณอายุ ให้ผ้าใหม่แก่เขาและข้าวปายาสถาดหนึ่ง ด้วยเหตุแห่งอกุศลวิบากกรรมเหล่านี้ ย่อมแน่นอนว่าโจรเคราแดงตายไปย่อมไปสู่อเวจีมหานรก

แต่โจรเคราแดงโชคดีใด้พระสารีบุตรเป็นสหาย พระสารีบุตรออกจากวิโมกข์ 8 ตรวจดูด้วยญาณแล้ว โจรเคราแดงเข้ามาในญาณ ว่ามีสัทธาถวายข้าวปายาสแด่พระสารีบุตร ถวายข้าวปายาสเป็นทานทำเหตุที่เป็นโลกียะกุศลใหม่ พระสารีบุตรเป็นกัลยาณมิตรของโจรเคราแดงแสดงอริยสัจ 4 ให้ฟัง โจรเคราแดงตั้งใจฟังแทงตลอดธรรมเทศนา เจริญโสดาปัตติมัคคเป็นเหตุ บรรลุโสดาปัตติผลเมื่อจบพระธรรมเทศนา

ต่อมาถูกวัวแม่ลูกอ่อนขวิดตายได้รับความเจ็บปวดก่อนจะตาย
แต่โสดาปัตติผลทำหน้าที่เป็นจุติจิตและปฏิสนธิจิต อุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต

อกุศลวิบากที่ทำไว้เดิมให้ผลไม่ได้ เพราะทำเหตุใหม่ได้ผลใหม่ เป็นกรรมหนักให้ผลก่อน



พระเทวทัตก่อนธรณีสูบระลึกถึงพุทธคุณ แต่กรรมเก่าเป็นอนันตริยกรรมคือทำพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต และทำให้สงห์แตกสามัคคีกัน อกุศลวิบากเป็นกรรมหนักให้ผลก่อน จึงไปสู่อเวจีมหานรก พุทธคุณในจิตยังให้ผลไม่ได้

ถ้าทำบาปมามากแม้จะนึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เวลาก่อนจะตาย อย่าเพิ่งคิดว่าจะได้ไปดีไปสุคติภพนะครับ มัน บ่ แน่เด้อครับ


การกระทำกรรมในเวลาจวนเจียนก่อนจะตาย นอกจากพิจารณาถึงกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมแล้ว ต้องพิจารณาว่ากรรมใดเป็นครุกรรมคือกรรมหนักให้ผลก่อน
กุศลกรรมฌานสมาบัติ 8 มัคค 4 ผล 4 ให้ผลก่อน เพราะเป็นจิตที่ใหญ่
อกุศลกรรมคืออนันตริยกรรม 5 เป็นกรรมหนักให้ผลก่อน เพราะเป็นจิตที่ใหญ่

มนุษย์ธรรมดา ๆ มีจิตมาเกี่ยวข้องคือกามจิต ได้แก่
1.อกุศลจิตและอกุศลวิบากจิต
2.กามาวจรกุศลและกามาวจรกุศลวิบาก
จิตทั้ง 2 ประเภทนี้เป็นจิตที่เล็กให้ผลทีหลัง


การระลึกถึงพุทธคุณที่ไม่บรรลุฌานสมาบัติของพระเทวทัตจึงเป็นจิตที่เล็กให้ผลทีหลัง
อีก 1 แสนกัปข้างหน้าพระเทวทัตจึงจะบรรลุอรหัตตผลบรรลุเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า


ผู้รู้เขาแนะนำมาอย่างนี้ครับ

กราบสวัสดีทุก ๆ ท่านพบกันยามบ่ายครับ

TOOMAIN ม.1/1.



"อจินไตย ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑.... อจินไตย ๔ ประการนี้แล ไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน”
อจินติตสูตร จ. อํ. (๗๗)



"อจินไตย ๔ ประการเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑

พระโพธิสัตว์ผู้มีบารมีเต็มแล้วบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณในกาลใด ในกาลนั้นย่อมรู้แจ้งแทงตลอดในพุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย .



ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ๑

บัณฑิตเหล่าใดผู้บรรลุฌานสมาบัติ 8 กสิณ 8 มีวสี 5 ประการ เจริญอิทธิบาท 4 อันประกอบด้วยสมาธิและประธานสังขาร จิตนั้นบริสุทธิขาวรอบ เป็นจิตที่ตั้งมั่น เป็นจิตที่มีอำอาจ อ่อน ควรแก่การงาน ไม่ฟุบลงด้วยอำนาจของความเกียจคร้าน บรรลุจตุตถฌานอันเป็นที่ตั้งควรแก่อภิญญา บัณฑิตเหล่านั้นย่อมรู้แจ้งอำนาจแห่งฌานวิสัย.



วิบากแห่งกรรม ๑

บัณฑิตเหล่าใดผู้บรรลุฌานสมาบัติ 8 กสิณ 8 มีวสี 5 ประการ เจริญอิทธิบาท 4 อันประกอบด้วยสมาธิและประธานสังขาร จิตนั้นบริสุทธิขาวรอบ เป็นจิตที่ตั้งมั่น เป็นจิตที่มีอำอาจ อ่อน ควรแก่การงาน ไม่ฟุบลงด้วยอำนาจของความเกียจคร้าน บรรลุจตุตถฌานอันเป็นที่ตั้งควรแก่อภิญญา

บรรลุจตูปปาตญาณรู้จักจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย บัณฑิตเหล่านั้นย่อมรู้แจ้งวิบากแห่งกรรมทั้งหลายไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ.





ความคิดเรื่องโลก ๑....


โลกวิฑูของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผุ้บรรลุสัพพัญญุตตาญาณ ย่อมรู้แจ้งโลกทั้งปวงโดยไม่มีขีดกั้น บัณฑิตใดต้องการรู้แจ้งโลก ต้องปรารถนาพุทธภูมิบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศน์.


อจินไตย ๔ ประการนี้แล ไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน”
อจินติตสูตร จ. อํ. (๗๗)

ariyachon DT07655 [7 ต.ค. 2551 20:25 น.] คำตอบที่ 19


อจินไตย ๔ ประการนี้แล เป็นเรื่องของบัณฑิตที่จะรู้แจ้งได้
มุนีผุ้สงบระงับแล้ว รู้ธรรมใดแล้วเขาย่อมไม่เป็นบ้า เขาย่อมไม่เดือดร้อน.




กราบสวัสดีครับทุก ๆ ท่าน


TOOMAIN ม.1/1



กระผมต้องกราบขอบพระคุณทุกๆท่านที่เมตตาช่วยให้คำตอบให้แก่กระผม กระผมเชื่อว่าแต่ละท่านให้คำตอบที่ถูกต้องทุกท่าน เพียงแต่ว่าบางคำตอบนั้นสำหรับคนความรู้น้อยนิดและเพิ่งศึกษาธรรมอย่างกระผม จึงขอยอมรับว่าทึบเองและเข้าใจยากเองต่างหาก ต้องกราบขอบพระคุณทุกๆท่านครับที่เมตตา
แต่คำตอบจากกระทู้นี้ที่ทำให้กระผมเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งก็คือคำตอบของท่านอรุณที่ว่า " ทำชั่วมาทั้งชีวิต ก่อนตายจิตดี แน่นอนครับ ว่าได้ไปที่ดี แต่ก็อยู่ได้ไม่นานหรอกครับ

เดี๋ยวกรรมชั่วก็เข้าแทรก

ทำดีมาทั้งชีวิต ก่อนตายจิตเศร้าหมอง แน่นอนครับ ว่าได้ไปที่ไม่ดี แต่ก็ไม่นานเช่นเดียว

กัน เดี๋ยวอำนาจความเศร้าหมองแห่งจิตดวงที่นำไปเกิดนั้นก็หมด ต่อจากนั้นก็จะได้เสวย

วิบากอันเป็นกุศล "

คำตอบที่ใช้ภาษาง่ายๆอย่างนี้ทำให้กระผมเข้าใจชัดเจนแล้วครับ เหตุที่ใช้คำว่าใช้ภาษาง่ายๆก็เพราะศัพท์ทางธรรมะสำหรับตัวของกระผมขอยอมรับว่าเข้าใจยากครับ

กราบขอบพระคุณทุกๆท่านที่เมตตาให้คำตอบ ถึงแม้คำถามของกระผมจะวนเวียนอยู่แต่เรื่องการเกิด แก่ เจ็บ ตายเท่านั้นก็ตามอย่างที่กระผมเคยพูดไว้ เมื่อได้รับเมตตาจากหลายท่านช่วยให้คำตอบอย่างนี้ทำให้กระผมมีความรู้มากขึ้น และรู้สึกว่าการศึกษาธรรมะไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออะไร กราบขอบพระคุณทุกๆท่านอีกครั้งครับ


คำตอบที่ใช้ภาษาง่ายๆอย่างนี้ทำให้กระผมเข้าใจชัดเจนแล้วครับ

อนุโมทนาครับคุณasd DT07489


มีเรื่องในสมัยพุทธกาล
พระเจ้าปเสนทิโกศล มีพระอัครมเหสี คือ พระนางมัลลิกา ทั้งสองพระองค์เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้สร้างกองบุญกองกุศลไว้มากมาย
แต่มีอยู่วันหนึ่งในเวลาเย็น พระนางมัลลิกาพาสุนัขตัวโปรดเข้าไปอาบน้ำด้วย พอดีพระราชาทอดพระเนตรมาจากข้างบนเห็นเข้า จึงกลายเป็นเรื่อง
พระนางมัลลิกา กลัวว่าพระราชาจะโกรธและประหารชีวิตสุนัขตัวโปรดเสีย จึงโกหกไปว่า พระราชาคงตาฝาด เห็นเงาต้นไม้เป็นสุนัข และอุบายให้พระราชาเข้าไปอาบน้ำบ้าง แล้วพระนางก็ทอดพระเนตรจากตำแหน่งเดิมที่พระราชายืน แล้วก็แกล้งโกหกว่า เห็นพระราชาอาบน้ำกับนางแพะตัวหนึ่ง พระราชาจึงยอมเชื่อว่า คงเป็นเงาต้นไม้แถวๆนั้นทำให้ตาฝาด
ต่อมาไม่นานนักพระนางก็ได้สิ้นพระชนม์ ก่อนตายได้คิดถึงเรื่องที่ตนพูดเท็จในซุ้มอาบน้ำ
จึงทำให้ไปเกิดในนรกเป็นเวลา 7 วัน เพราะแทนที่จะคิดถึงบุญกุศล กลับกังวลคิดถึงความผิดที่ตนทำ พระราชาทรงโศกเศร้าคิดถึงพระเทวี จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อจะทูลถามว่าพระนางมัลลิกาตายแล้วไปเกิดที่ไหน
พระพุทธเจ้าทรงดำริว่าถ้าบอกความจริงตอนนี้ว่าอยู่ในนรก พระราชาจะเข้าใจผิดในหลักการของศาสนา และจะกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ จึงทรงใช้ฤทธิ์ทำให้พระราชาลืมธุระที่ตนจะมาถาม พอกลับไปวังจึงนึกได้ เป็นอย่างนี้ถึงเจ็ดวัน พอครบ7วัน พระนางมัลลิกาก็ได้ไปเกิดในสวรรค์เพราะอำนาจบุญกุศลที่ทำไว้มากมาย พระราชาไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลถามปัญหาอีก พระพุทธเจ้าจึงตอบว่าพระนางไปเกิดบนสวรรค์แล้ว พระราชาก็ดีใจและตรัสว่าคนทำความดีมากมายเช่นมเหสีของพระองค์ ถ้าไม่ได้ไปเกิดบนสวรรค์แล้วใครจะได้เกิดเล่า

นำมาให้พิจารณา


ขอขอบคุณคำถามและคำตอบของทุกท่านนะคะ จากความคิดเห็นของแต่ละท่านมีประเด็นที่น่าสนใจและได้มองอีกหลายมุมที่ไม่เคยรู้มาก่อนค่ะ มีโอกาสได้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่โรงพยาบาลอยู่หลายราย ประเด็นนี้เป็นแรงศรัทธาที่ทำให้อยากช่วยเหลือผู้ป่วยก่อนตาย มีความเห็นว่าสุคติหรือทุคติของจิตก่อนตายมีความสำคัญและมีความเกี่ยวเนื่องกับกรรมหรือการกระทำที่ผ่านมาของแต่ละคน(ทำดีระลึกได้แต่สิ่งดี ทำชั่วจิตก็เกาะเกี่ยวกับสิ่งที่เศราหมอง) จิตเองมีความเป็นอนัตตา การเสวยผลของจิตหลังความตายก็มีความเป็นอนันตาเช่นเดียวกันค่ะ (เป็นความเห็นส่วนตัว นำมาแลกเปลี่ยนนะคะ) สาธุกับกัลยาณมิตรที่คิดดี พูดดี ทำดี ค่ะ /ต้นข้าว


เป็นคำถามที่ ตอบยากนะครับว่าอันไหนถูกผิด
แต่ถ้าคิดง่ายนะครับ
เมื่อทั้งสอง มี กุศล และอกุกลที่เสมอเหมือนกัน
แต่ที่ต่างกันคือสภาพจิตก่อนดับ
มีความเห็นได้สองแบบครับ
คือ1. เป็นไปไม่ได้ที่ ทั้งสองจะมีสภาพจิตก่อนตายต่างกัน เพราะทั้งสอง มี กุศล และอกุกลที่เสมอเหมือนกัน
2. ถ้าคิดในแง่ที่เน้นหนักไปที่ สภาพจิตก่อนดับนะครับ ไม่สนใจว่าจะมี กุศล และ อกุศลเท่ากันหรือไม่
เปรียบเทียบได้ดังนั้ครับ
สภาพจิตเหมือนตั๋วรถ จิตกุศล = การจองเข้าห้องพักสู่สุคติภูมิ
จิตอกุศล = การจองห้องพักสู่อบายภูมิ
กุศลและอกุศล ที่ตนมี = ค่าเข้าอยู่ที่ภูมินั้น
ตามหลักของพุทธศาสนา บาปและบุญมิอาจนำมาลบล้างกันได้ เพียงแต่ เลือกที่จะสะสมได้ เมื่อใช้ก็หมดไป ต้องมีการสร้างใหม่ สะสมตลอดเวลา
หมายความว่า เมื่อเราเปลี่ยนภพภูมิ ไปที่ภูมิใดนั้น ถ้าจิตเป็นกุศลก่อนตาย จะได้ไปภพภูมิสุคติภุมิ ตามกำลังกุศลที่ได้สะสมไว้
ในทำนองเดียวกัน เมื่อจิตเป็นอกุศลก่อนตายย่อมพาสู่อบายภูมิ และเสวยทุกข์ ตามบาปที่ได้ก่อสะสมไว้
เมื่อ บุญ หรือบาป อย่างใดอย่างหนึ่งหมดไป ไม่มีการสร้างใหม่หรือสะสมเพิ่มย่อมมีการเปลี่ยภพภูมิต่อไป


เช่น เมื่อบุญหมดลง จากที่เป็นเทวดา จะต้องจุติเปลี่ยนภพภูมิตามกรรมที่เหลือต่อไปอากเกิดเป็นมนุษย์ หรือลงสู่อบายภูมิ ตามแต่ กรรมที่เหลืออยู่




ครับผมก็ไม่มีความรู้มากนะครับ แต่อยากที่ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ

ขอเป็นกำลังใจให้มีการ ปรึกษา ธรรมกันเยอะๆครับ

สาธุด้วยคนนะครับ ได้ความรู้ใหม่ และมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นครับ

สาธุ


ผมอ่านแล้วคิดแบบรู้น้อยว่า จิตหรือคนที่ทำกรรมบ่อย ๆ อย่างไร ตอนตายจิตย่อมเป็นไปตามความเคยชินอย่างนั้น น้อมไปอย่างนั้น จิตก่อนตายก็ถือเป็นกรรมใหม่ ก็น่าจะเป็นเหมือนเรื่องวัวขาว วัวดำออกจากคอก
แต่เป็นการยากไม่ใช่หรือ ที่คนทำดีมาทั้งชีวิตก่อนตายคิดชั่ว หรือคนที่ทำชั่วมาทั้งชีวิตก่อนตายดันคิดดี โอกาสมีแต่คงเป็นไปได้ยาก แต่อะไรมันก็คงไม่แน่ใช่ไหมครับ

ควรทำความเคยชินก่ะเรื่องดี ๆ ทุกขณะจิตสำคัญกว่ามั้งครับ
เรื่องสมมติที่ว่า นายดำ นายขาวต่างมีกรรมเหมือนกันก่อนตาย มาต่างกันที่ภาวะจิตก่อนตาย นี่คงเป็นไปได้ยากมาก ๆ เท่ากับเรื่องที่คนเราจะมีกรรมทุกอย่างเหมือนๆกัน
แต่ถ้าภาวะจิตก่อนตายเกิดบังเอิญต่าง ก็ถือว่ากรรมต่างแล้วย่อมส่งผลต่างกัน มันก็แค่นั้นไม่ใช่เหรอครับ จิตตกมากก็มีโอกาสไปอบายภูมิมากก็แค่นั้น
ถ้าอ่านโจทย์ตามที่ผมเข้าใจก็ควรตอบว่า กรรมที่ทำมาทั้งชีวิตก่อนตายก่ะภาวะจิตก่อนตายมันสัมพันธ์กัน สำคัญเท่ากันแยกกันไม่ขาดมั้งครับ ทำดีมาทั้งชีวิตจะคิดเรื่องชั่วก่อนตายได้ไง เป็นไปได้แต่คงยาก..

อนุโมทนาก่ะทุกท่านครับ



ตอนกำลังจะตาย แค่คิดดีเราก้จะได้ไปเกิดดี อันนี้ตามทฤษฏี
แต่ความเป้นจริง เราเอาไม่อยู่หรอกครับ

ทดลองเดี๋ยวนี้ก็ได้ ลองเห็นอะไรที่ชอบ หรือเกลียด ลองดู
แล้วสังเกตุว่าเราไม่สุขไม่ทุกข์ได้หรือไม่
หยุดคิดหยุดปรุงได้หรือไม่ หรือมันปรุงไปแล้ว
อย่างเห็นหนังโป๊ ตัวอย่างง่ายๆเลย
มันโด่ไปแล้ว ห้ามไม่อยู่ นี่แหละสังขารจิต จิตมันปรุงไปแล้ว เราแทบไม่รู้ตัว
สั่งให้ไม่คิด ไม่อยาก ไม่สนใจ ก้ไม่ได้เลย เราบงการไม่ได้เลย
อย่างมากแค่ข่มๆ แต่ถึงเวลาเชื้อมันหมด หมายถึงไม่มีหนังโป๊ ปรากฏว่าจิต x นั้นก็สลายไปได้


จิตที่รู้ตัวว่ากำลังจะตาย มันจะฟุ้งซ่านปั่นป่วน
คนที่ไม่เคยฝึกจิตก็เหมือนลูกเต๋าที่กำลังหมุนอยู่ พอตายปั๊บ ก็แล้วแต่ว่ามันจะออกหน้าไหน
ออกหน้ากุศลก็ดีไป ออกหน้าอกุศลก็ซวยไป

ตอนกำลังจะตาย ถ้าเรามีกรรมหนัก มันจะให้ผลก่อน .... ครุกกรรม
ตามมาด้วยกรรมที่ทำประจำเนืองๆ ...อาจิณกรรม
ผมยกมาให้ดูด้านล่างแล้ว ลองดูเอานะคับ


เหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงให้ฝึกสติ เหตุนี้พระอรหันต์จึงต้องฝึกสติให้เท่าทันจิตใจ
ไม่ให้มันปรุงแต่งกุศลหรืออกุศลใดๆ มีแต่ความว่าง
เมื่อความตายมาเยือน จิตจึงไม่มีเชื้อกำเนิด คือไม่รู้จะเอากรรมดีหรือชั่วอะไรมาเป้นเชื้อไปเกิดในชาติต่อไป
เหตุนั้นท่านเหล่านั้นจึงหลุดไปจากวัฏฏะสงสาร ไม่เวียนว่ายกับเราอีก



........................................................................................................

การให้ผลของกรรม

http://th.wikipedia.org/ ค้นคำว่า กรรม


จำแนกลำดับการให้ผลของกรรม

กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม(ปากทานปริยายจตุกะ) จำแนกตามความยักเยื้อง หรือ ลำดับความแรงในการให้ผล 4 อย่าง

1. ครุกกรรม (หนังสือพุทธธรรมสะกดครุกกรรม หนังสือกรรมทีปนีสะกดครุกรรม) หมายถึง กรรมหนัก ให้ผลก่อน เช่น ฌานสมาบัติ 8 หรือ อนันตริยกรรม
2. พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม หมายถึง กรรมที่ทำมาก หรือ ทำจนเคยชิน ให้ผลรองจากครุกรรม
3. อาสันนกรรม หมายถึง กรรมจวนเจียน หรือ กรรมใกล้ตาย คือกรรมที่ทำเมื่อจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มีสองข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น
4. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม หมายถึง กรรมสักแต่ว่าทำ กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอันอื่นให้ผลแล้ว กรรมนี้จึงจะให้ผล


จำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม

การกระทำทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นฝ่ายดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมตอบสนองแก่ผู้กระทำ ไม่เร็วก็ช้า เวลาใดเวลาหนึ่ง กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) แสดงกำหนดเวลา แห่งการให้ผลของกรรม มี 4 อย่าง คือ

1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
2. อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
3. อปราปริเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆไป
4. อโหสิกรรม หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก




ทีนี้มีคำถามว่า ถ้าตายตอนนั่งสมาธิล่ะ คือจิตสงบ
ทำไม่ไม่นิพพานล่ะก็ในเมื่อจิตไม่มีบุญไม่มีบาป สงบๆอย่างนั้น
เมื่อสงบแล้วจะเอาอะไรไปเป็นเชื้อเกิดล่ะ มันต้องดับไปจากวงจรสิ

เท่าที่ผมทราบ เลาๆ ไม่ยืนยัน คือเป็นการที่เราหลงอยู่ในจิต
คือยึดถือยึดหลงความนิ่งอันนั้น
ไม่ใช่ความว่าง

ลองค้นคำว่า พรหมลูกฟัก แล้วลองศึกษาดูครับ


ขอมีส่วนร่วมด้วนคนนะครับผมก็เคยมีปัญหาคาใจเหมือนคุณนั้นแหละ
- ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบฟังธรรมะ แต่ไม่ได้ปฏิบัติอะไรจริงๆ แต่ชอบปรัชญาทางพระพุทธศาสนา
- ลองมาฟังผมสรูปตามความคิดของผมนะ
- สมัยก่อนวิทยาศาสตร์ยังไม่เจริญ การอธิบายธรรม ก็จะมีรูปแบบต่างๆ เช่นบุคคลาอธิฐานมีการอธิบายที่มีบุคคลมาเกี่ยวข้องเช่นนิทานชาดก, ปรมัตถธรรม ไม่มีบุคคลมาเกี่ยวข้องเช่นพระอภิธรรมเป็นต้น แล้วแต่ความมีปัญญาของบุคคลที่ฟัง
- แต่ในยุคปัจจุบันเป็นยุควิทยาศาสตร์ ผมจะลองอธิบายเรื่องจิตในแนวทางวิทยาศาสตร์มันจะถูกหรือไม่ดังนี้นะครับ
- ก่อนอื่นต้องเข้าใจธรรมชาติของจิตก่อน
1. จิตเป็นอนัตตา คือไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตน ไม่สามารถบังคับได้ เป็นอนิจจัง ทุกขัง
2. จิต มีนามเป็นดวง
3. จิต มีการเกิดดับรวดเร็วมาก
4. จิต เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต คือในชีวิตหนึ่งจะประกอบด้วย จิต เจตสิก รูป นิพพาน
5. เมื่อชีวิตตายลงไป จิตจะออกจากร่างไปจุติใหม่ทันที
เอาละลองมาจินตนาการในรูปแบบวิทยาศาสตร์ (อันนี้ผมว่าตามเหตุผลข้างบนนะ)
ท จิตเป็น ธาตุ กลุ่มก้อนพลังงานอะไรสักอย่าง เพราะมีนามเป็นดวง มีลักษณะเป็นคลื่นคล้ายๆ กับแสง เพราะตามแสงเพราะแสงเป็นก้อนโฟตอน จึงมีการติดดับอยู่ตลอดเวลา เพราะจิตเป็นอนัตตา ก้อนนี้ก็ไม่เป็นสัตว์หรือบุคคล
ท เจตสิกคือระบบไฟฟ้าที่วิ่งในระบบประสาท ส่วนประสาทเป็นส่วนหนึ่งของรูป เจตสิกจะเชื่อมต่อกับเจตสิก จนจิตแยกไม่ออกว่าจิตกับเจตสิกเป็นอันเดียวกัน จิตจะสั่งงาน นึกคิด และรับอารมณ์ ผ่านทางเจตสิก จนกระทั่งจิตเข้าใจว่าตนเองเป็นตัวเป็นตน อารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์ (เช่น โลภ โกรธ หลงฯ) จะเป็นอารมณ์ของจิต ส่วนความรู้สึกนึกคิด(คิดฆ่าคน เป็นต้น)เป็นของเจตสิก
ท เมื่อจิตที่มีกิเลสมากๆ จะมีความเร็วในการเดินทางช้ามาก ร่างกายดับ เจตสิกก็ดับตาม ส่วนจิตจะมีกิเลสติดตัวมันอยู่ ในจิตพระอรหันต์ ซึ่งว่างจากกิเลส จะวิ่งเร็วมาก ตามทฤษฎีสัมพันธภาพกล่าวว่าเมื่อเรามีความเร็วเท่ากับแสง เวลาจะหยุดเดิน เวลาเรามีความเร็วมากว่าแสง เราจะย้อนอดีตได้ จึงทำให้พระอรหันต์สามารถย้อนอดีตได้ เมือจิตมีกิเลสน้อย ก็จะมีความเร็วสุงกว่า จะเห็นว่า ในโลกสวรรค์มีเวลาที่ยาวนานกว่าบนโลกมนุษย์
ท คำกล่าวที่ว่าเมื่อเราตายเราจะไปเกิดตามจิต เป็นความมิจฉาทิฐิ ก็ถูกต้อง เพราะมันไม่มีเรา จิตมันคิดเอาเองว่ามันเป็นอัตตา ตัวมันเองเป็นแค่ธาตุชนิดหนึ่งเท่านั้นเอง เมื่อนาย ก. เป็นคนอยู่จิตของนาย ก. ก็จะยึดเอาเจตสิกที่เป็นคน คิดว่าตัวเองเป็นคน เมื่อนาย ก.ตาย สมมุติ จิตดวงนี้ไปจุติเป็นหมา จิตก็จะไปยึดเอาเจตสิกของหมาคิดว่าตัวเองเป็นหมา ไปเกิดเป็นควายก็ไปยึดเอาเจตสิกของควาย คิดว่าตัวเองเป็นควาย ถ้าไปจุติเป็นสัตว์ที่มีระบบประสาทไม่สมบูรณ์ เช่นเกิดเป็นหนอน จิตก็จะรับแต่เวทนาว่าเป็นของตนเอง ที่เราคิดว่าจิตของเรา มันไม่มีเรา จิตไม่ใช่เรา ลำพังจิตมันคิดเองไม่ได้ มันเป็นเพียงธาตุชนิดหนึ่งที่มีความพิเศษกว่าทุกก้อนพลังงานมันเป็นอนัตตา บังคับไม่ได้ เมื่อมันร่วมกับเจตสิกมัน จะเป็นเจ้านาย เจตสิก
ท จิตพระอรหันต์เป็นอย่างไร – จิตที่ปราศจากกิเลส สามารถจะเดินหน้าถอยหลังอย่างไรก็ได้เพราะมีความเร็วไม่จำกัด เป็นนิรันดร์ ไม่ต้องเวียนวายในระบบวัฏสงสาร ดีกว่าสวรรค์ เพราะจิตที่อยู่ในสวรรค์ความเร็วของจิตมากกว่ามนุษย์ แต่ก็น้อยกว่าพระอรหันต์ พระอรหันต์สามารถ อยู่ในสวรรค์ก็ได้ เหมือนคนถูกหวยที่หนึ่ง จะขี่จักรยาน มันกระจอก เขามีที่อยู่ในที่ดีกว่านั้น ความเร็วที่ผมกล่าวเพราะอยากให้เปรียบเทียบกับทฤษฎีสัมพันธภาพ ว่าคุณสมบัติเมื่อเทียบกับแสง จิตพระอรหันต์ ไม่ได้ดับสูญ แต่ยังอยู่ในจักรวาล แต่อยู่อย่างมีอิสระภาพ อยู่นอกอิทธิพลของแสง อยู่เหนือกาลเวลา
ท พระพุทธเจ้า ได้แสดงทางจิตหลุดพ้นจากกิเลส มีทางสายเอกสายเดียว ไม่มีทางสายอื่นคือ สติปัฏฐาน 4 เป็นประตูสู่ นิพพาน
ท ตามทฤษฏี จิตจะบังคับไม่ได้เพราะเป็นอนัตตา ดังนั้นจึงต้องให้จิตรู้เองว่าตัวจิตเองเป็นเพียงธาตุไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงให้จิตคลายยึดหมั้นว่าเป็นตัวตน คลายความยึดหมั้นในรูป ในเจตสิก เราบังคับจิตไม่ได้ถ้าบังคับได้ก็เป็นพระอรหันต์ไปแล้ว จิตรู้ด้วยตัวเอง ดังนั้นการหลุดพ้นจึงมีทางเดียว คือการทำวิปัสสนากรรมฐาน ตามวิธีของพระพุทธเจ้าคือ สติปัฏฐาน 4
ท ทำไมจึงต้องเชื่อพระพุทธเจ้า ไอสตาย บอกว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งจักรวาล และยังกล่าวว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้า สั่งสอนล้วนมาจากปัญญาที่เป็นวิปัสสาญาน เป็นภาวนาปัญญา ยากที่จะเข้าใจด้วยสมองมนุษย์ ถ้าเราเชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริงก็ต้องเชื่อในปัญญาญาณ
ท คำสอนอันไหนละที่เป็นของจริง ในปัจจุบันยากที่จะแยกแยะหลายสำนักก็บอกว่าของตนตรงกับพระไตรปิฏก ไม่มีการเน้นสติปัฏฐาน 4 ทั้งๆ เป็นทางสายเอก ในพระไตรปิฏกว่า ทางอันเอก จะมาอ่านพระไตรปิฏกเอง ก็ปัญญาไม่ถึง
ท การที่จิตมีกิเลสน้อยโอกาสที่ไปเกิดในภพภูมิต่ำก็ไม่มี ขอให้ศึกษาสติปัฏฐาน 4 เลือกอาจารย์เอาเอง เช่น พระอาจารย์ปราโมทย์ ก็ได้



คุณ Prasit5000

ในโลกของพุทธศาสนา์ เราแบ่งโลกทั้งโลกเป้น 2 อย่าง
คือ รูป และ นาม

รูปคือ (tangible things) ทุกสิ่งทุกอย่างที่รับรู้ได้ด้วย ผัสสะ 5 - หู ตา จมูก ปาก ลิ้น กายสัมผัส
นาม (intangible) คือทุกสิ่งทุกอย่าง ที่รับรู้ได้ด้วยใจ

จิต เป้น นาม หาที่ตั้งไม่ได้ ไม่กินที่ ไม่กินเวลา
แต่โลกวิทยาศาสตร์ ปฏิเสธนาม
เช่น โลกวิทยาศาสตร์ไม่สนใจเรื่องความรัก
หากชั่ง ตวง วัด ไม่ได้ จะไม่ถือว่ามีอยู่
อย่างเช่น ความรัก ความดี ความซื่ิสัตว์
โลกวิทยาศาสตร์ไม่มีการอธิบายไว้ ว่ามีคุณสมบัติอย่างไร

จิตไม่เป้นวัตถุ ไม่มีมวล ไม่กินที่ ไม่กินเวลา ไม่มีพลังงาน
เจตสิกคืออาการทั้งหลายของจิต คือ เช่นโกรธ สุข ทุกข์ โลภ อยาก

เรารู้ว่ามีจิตอยู่ เพราะเรารับรู้ได้ถึงเจตสิก

ส่วนระบบประสาทรับรู้นั้น เป็นเพียงช่องทางรับข้อมูล
เด็กในครรภืมารดาก็มีจิต แต่เป้นภวังค์จิต คือไม่มีประตูรับข้อมูลทั้ง 5
ระบบประสาทไม่เจริญเพียงพอ จิตจึงเหมือนอยู่ห้องมืด

คำว่าธาตุ ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์นั้น คือ อะตอม
เป้นวัตุที่มีมวล กินที่ กินเวลา
คำว่าธาตุในวิทยาศาสตร์คือคำเรียกวัตถุ (รูป)

แต่คำว่าจิตเป้นธาตุรู้นั้น
คำว่าธาตุตัวนี้ เป้นคำเรียก ...."นาม"
จิตคือนาม เช่นเดียวกับความโกรธ ความดี ความสนุก



ความจริงคุณเข้าใจผิดมากเหลือเกิน
ทั้งนี้เนื่องจากว่า เราพยามจะเข้าใจสภาวะต่างๆด้วยภาษา

ผมจะยกตัวอย่างว่า
ถ้าผมไม่เคยกินสาคูไส้หมู
แล้วมีคนมาบอกผมต่างๆนาๆว่าสาคูไส้หมูรสชาดอย่างนั้น อย่างนี้

แต่ผมก็ไม่เคยกินเลย
ผมพยามจะเข้าใจรสชาดสาคูนี้ด้วยการอ่าน การคิด ผมคิดมากทีเดียวล่ะ
เรียกว่ารู้เรื่องสาคูขนาดที่ว่าเป้นแฟนพันธุ์แท้เลย

แต่ถ้าเพียงแต่เราลงมือกินสาคูเสีย
เราก้จะได้รู้ว่ารสชาติมันเป็นอย่างไร
แล้วก็รับรู้เข้าใจอย่างถูกต้องไม่ผิดเพี้ยนไปจากความเป้นจริง โดยไม่ต้องพึ่งพาภาษาเลย
ไม่ต้องอ่าน ไม่ต้องฟังใครสาธยายว่ารสชาดเป้นอย่างไร
ขอแค่เราชิมเข้าไปสักคำเถิด
เราจะเข้าใจได้อย่างสิ้นสงสัย
ว่าอะไรถูก อะไรผิด ใครพูดผิดเรื่องสาคู ใครพูดถูกเรื่องสาคู
เราจะเข้าใจลึกซึ้งเหนือกว่าการอ่านและคิด


นี่คือตัวอย่างง่ายๆของการศึกษาพระธรรม
เราต้องลงมือปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงสภาวะนั้นๆ
เราจึงจะเรียกว่า เขาใจอย่างแท้จริง

เลยอยากจะชวนอย่างนี้ว่า
ลงมือนั่งสมาธิ เจริญสติ หรืออะไรก้ได้ที่ชอบที่ถูกจริต
ลงมือทำไปสักหน่อยนึง

เหมือนเรากำลังจะทำอาหาร อย่ามัวแต่อ่านตำรา แล้วคิดๆไปต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆยังไง อุปกรร์มีชื่อเรียกว่าอะไร แต่ละอันมันทำงานยังไง
ยิ่งคิดมันก็ยิ่งหลง ยิ่งงง

แต่ให้อ่านตำราพอเข้าใจ พอประมาณ แล้วพอเราลงมือทำไปอย่างตำราบอก
เราจะพบความจริงเองว่า อะไรมันมีหน้าที่ยังไง มันจะแสดงหน้าที่ออกมาเอง
มันจะแสดงความหมายของมันออกมาเอง โดยที่ไม่ต้องวุ่นวายกับภาษาเลย

ในท้ายที่สุด เมื่อเรากลับมาอ่านตำราอีกครั้ง เราจะพบว่า ที่ตำราว่าไว้นั้นไม่ผิด แต่เราเข้าใจผิดไปเอง
เพราะเราตีความไปตามมีตามเกิด
แล้วเราจะเข้าใจศัพท์ต่างๆอย่างไม่คลาดเลคื่อน


การเข้าใจเรื่องจิตนี้ คิดเฉยๆไม่ได้
มันจะเข้าใจคลาดเลคื่อน


ผมไม่ได้ตั้งใจกล่าวบิดเบือนคำสอน เพราะสิ่งที่ผมกล่าวก็บอกว่าเป็นสิ่งที่ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น

ลองคิดดูสิ จิตเป็น นามธรรม ความหมายมันจิตนาการไม่ออก มันเป็นอย่างไร สมมุติว่ากระแสไฟฟ้าที่วิ่งในตัว CPU ของ computor เออเราก็ยังจะมองว่ามันเป็นการวิ่งไปมาของอิเลคตรอนแต่มันก็ เป็นนามธรรม แต่เมื่อปิดเครื่องมันก็หายไปส่วนจิตมันไม่หายไปใหน เมื่อตายแล้วจิตก็ต้องไปจุติทันที ตามหลักพระอภิธรรม จิตนำบุญนำบาปไปด้วย

-อย่างทฤษฏีแสง นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าเป็นอนุภาค เป็นโฟตรอน แสงในความหมายคนแต่ก่อนก็อาจจะนับว่าเป็นนามธรรมก็ได้

- จิตมันต้องเป็นอะไรสักอย่าง เพราะในคำว่านามธรรมนั้นมันรวมเอาหลายๆสิ่งที่เราไม่สามารถจับต้องได้ เหมือนแสงนั้นแหละ

- ผมก็ปฏิบัติอยู่ แต่ไมถึงกับนั่งสมาธิ กำลังปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ตามดูกาย และจิตอยู่ เวลาจิตมีโลภก็ไห้รุ้ว่าโลภ จิตมีราคะก็ไห้มีราคะ แต่มันยากนะ เวลาอยู่กับภรรยา มันจะบอกอัตโนมัติว่าจิตมีราคะ (อันนี้ไม่ไช่ตลกนะมันเป็นปัญหา) ปัจจุบันจิตผมค่อนข้างจะเป็นอัตโนมัติพอสมควรแต่ก็ไม่วิเศษหรอกครับ

-ครับก็เป็นความเห็นนะครับ ถ้าจิตโกรธจากการอ่านข้อความที่ผมกล่าวนี้ ก็ศึกษาไปนะครับว่าจิตกำลังโกรธ จิดบังคับไม่ได้เป็นอนัตตา


จิต บังคับบัญชาไม่ได้เมื่อมีเหตุให้เกิดมันก็ต้องเกิด
จิต ที่ให้ผลให้ไปเกิดในภพอื่นไม่สามารถบังคับได้
คนที่จะระลึกถึงกรรมดีแล้วไปเกิดในสุคติได้ต้องเคยสะสม
กุศลจิตเป็นนิสัย(ตลอดชีวิต) ไม่ใช่มาบอกว่านรกข้างๆหูแค่ก่อนตายแล้วจะไปนรก
บอกว่า พุทโธๆ แค่ก่อนตายแล้วจะไปสวรรค์ ถ้าบอกพุทโธ แล้วจะได้ถึงสวรรค์ก็ต่อเมื่อบอกพุทโธแล้ว คนที่ใกล้จะตายมีสติอยู่บ้าง มีปกติเป็นคนดี เมื่อระลึกตามเสียงว่าพุทโธ
ก็เกิดความปิติถึงพระพุทธเจ้า ถึงความดีที่ได้ทำไว้ เค้าก็จะได้ไปสู่สุคติ
จะเห็นได้ชัดว่า การจะไปนรกหรือสวรรค์ หรือการบอกคำมงคลในขณะที่จะสิ้นลม
ก็จะใช้ได้กับคนที่เป็นคนดีอยู่แล้ว ก็เคยมีเรื่องราวที่มีคนเล่าอยู่ว่า แม่ค้าหอยขม หอยโขง
ก่อนตาย มีคนบอกพุทโธๆๆ กับได้ยินเป็น หอยขมๆๆ เหมือนกัน
ดังนั้นอย่าประมาทในการทำกุศล และการละเว้นอกุศล จะดีกว่า



ผมไม่ได้ตั้งใจกล่าวบิดเบือนคำสอน เพราะสิ่งที่ผมกล่าวก็บอกว่าเป็นสิ่งที่ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น
- ขออภัยด้วยครับผมไม่ได้มีเจตนาจะกล่าวหาคุณอย่างนั้นเลย ไม่ได้กล่วาว่าคุณบิดเบือนคำสอนแต่ประการใด
เพียงแต่ผมมีเจตนาจะแนะนำในสิง่ที่ผมช่วยได้ ผมก้ช่วยไปครับ



ลองคิดดูสิ จิตเป็น นามธรรม ความหมายมันจิตนาการไม่ออก มันเป็นอย่างไร

- สิ่งเหล่านี้เป็นนามธรรม ... สนุก ยินดี โกรธ ความคิด ความเชื่อ ความจริง ความรัก ความซื่อสัตย์ ควางาม ความเจริญ ความชั่ว ความเลว ความน่ารังเกียง ความสกปรก ความหลง
ซึ่งจะสังเกตุอย่างหนึ่งได้ว่า สิ่งที่ผมพูดมานี้
เราจะหาหาปริมาณไม่ได้ หามวลไม่พบ หาพื้นที่ไม่ได้ ไม่มีน้ำหนัก แต่มันมีอยู่จริง
นี่คือความหมายอย่างง่ายของคำว่านาม

สิ่งต่อไปนี้เป็นรูป - วัตถทั้งปวง สสาร พลังงาน อะตอม แสง อนุภาค ภูเขา ร่างกาย กรวดหิน ดินทราย



สมมุติว่ากระแสไฟฟ้าที่วิ่งในตัว CPU ของ computor เออเราก็ยังจะมองว่ามันเป็นการวิ่งไปมาของอิเลคตรอนแต่มันก็ เป็นนามธรรม

- พลังงานไฟฟ้าเป็นรูปครับ มันมีที่ตั้ง มีมวล มีปริมาณ มีน้ำหนัก มีการชั่งตวงวัดก้ทราบได้
พลังงานไฟฟ้าเคลื่อนโดยอาศัยสื่อเช่นทองแดง

แต่ในทางตรงกันข้าม เช่น ความรัก มันไม่เป้นทั้งอนุภาค ไม่เปน้ทั้งพลังงาน ไม่เป้นสสาร ไม่มีคุณสมบัติของวัตถุเลยอะไรเลย
มันเคลื่อนไหวแตกต่างจากไฟฟ้าโดยสิ้นเชิง

ที่คุณเข้าใจว่าไฟฟ้าวิ่งในคอมนี้เป็นนามธรรมนั้น
เราต้องมองว่า เราใช้อะไรเป้นเครื่องวัด

อย่างผมมองไม่เห็นไวรัสแบคทีเรีย ผมก็เลยปฏิเสธว่าไม่มีไวรัส
มองว่าไวรัสเป้นนามธรรม เพราะเรามองไม่เห้น เลยคิดว่าไม่มี
ทั้งที่ความจริกล้องจุลทรรศน์พิสูจน์ได้ว่ามีอยู่



แต่เมื่อปิดเครื่องมันก็หายไป

- ไฟฟ้ามันก็อออยู่ในระบบปลั๊ก จ่ออยู่ตรงสวิทช์คอม
เพียงแต่เราไม่สับสวิทช์ให้สื่อนำไฟฟ้ามันแตะกัน เพื่อไฟฟ้าจะไหลไปหากันได้



ส่วนจิตมันไม่หายไปใหน เมื่อตายแล้วจิตก็ต้องไปจุติทันที ตามหลักพระอภิธรรม
- ถูกต้องครับ

จิตนำบุญนำบาปไปด้วย
ผมไม่แน่ใจนะ แต่เชื่อว่าอย่างนั้น



อย่างทฤษฏีแสง นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าเป็นอนุภาค เป็นโฟตรอน แสงในความหมายคนแต่ก่อนก็อาจจะนับว่าเป็นนามธรรมก็ได้
- ถูกครับ คนสมัยก่อนไม่มีเครื่องมือ เลยไม่เห็น ว่าอะไรคือโฟตอน อะไรคืออิเล้คตอรน

แต่ความเป็นรูปของแสง มันก้เป้นของมันมาเนินนานแล้ว ธรรมชาติที่แท้ของมันเป้นรูป
เป้นมาก่อนมีมนุษย์เสียอีก
เราต่างหาก เข้าใจมันผิด
เรายุคก่อนแค่ไม่มีความสามารถเพียงพอจะรู้ได้


ดังนั้น " แสง "เป็นรูปครับ
"ความเข้าใจเรื่องแสง" เป้นนาม


จิตมันต้องเป็นอะไรสักอย่าง เพราะในคำว่านามธรรมนั้นมันรวมเอาหลายๆสิ่งที่เราไม่สามารถจับต้องได้
เหมือนแสงนั้นแหละ

- จิตเป็นนามครับ ถามอาจารย์ที่ท่านนับถือได้
- "แสง"เป้นรูปครับ
"ความคิดว่าแสงเป้นอย่างนั้นอย่างนี้" คือนาม


ผมก็ปฏิบัติอยู่ แต่ไมถึงกับนั่งสมาธิ กำลังปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ตามดูกาย และจิตอยู่ เวลาจิตมีโลภก็ไห้รุ้ว่าโลภ จิตมีราคะก็ไห้มีราคะ แต่มันยากนะ เวลาอยู่กับภรรยา มันจะบอกอัตโนมัติว่าจิตมีราคะ (อันนี้ไม่ไช่ตลกนะมันเป็นปัญหา) ปัจจุบันจิตผมค่อนข้างจะเป็นอัตโนมัติพอสมควรแต่ก็ไม่วิเศษหรอกครับ

- ดีแล้วครับ แนวหลวงพ่อปราโมช ผมก้ทำอยู่ ผมก็ไม่ได้นั่งสมาธิแต่อย่างใด


-ครับก็เป็นความเห็นนะครับ ถ้าจิตโกรธจากการอ่านข้อความที่ผมกล่าวนี้ ก็ศึกษาไปนะครับว่าจิตกำลังโกรธ จิดบังคับไม่ได้เป็นอนัตตา

- เปล่าเลยครับ ผมไม่มีความโกรธเลย
แต่คุณคิดไปเอง ปรุงไปเองว่าผมต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนี้แน่ๆ
แล้วเชื่อความคิดนั้นๆ
นี่คือการสร้างสังขาร แล้วเข้าไปยึดถือว่าต้องเป้นจริงแน่ๆ


การที่คุณเข้าใจว่า .."จิดเป็นอนัตตา"
แต่ไม่เข้าใจเรื่องรูปนาม นี่ก้เป็นเครื่องแสดงความขัดกัน

เหมือนทำโจทย์แคลคุลัสได้
แต่บวกลบไม่เป้น ซึ่งผิดปกติ

การศึกษาธรรมะน้น ต้องไม่ยึดถืออะไรว่าเป้นที่สุดของความรู้
ต้องเปิดใจศึกษาไปเรื่อยๆ
ไม่ลงหลักปักฐานกับความรู้อะไรว่าเป้นสรณะ เป้นที่สุด
ที่เราทำๆกันอยู่นี้ เป้นแค่ปริยัติเท่านั้น ยังเรียกว่า"เข้าถึงธรรม-เห็นธรรม" ไม่ได้
มากที่สุดแค่คำว่า "ได้ยินธรรม"
----------------------

ผมก็รู้สึกว่าเป้นทุกข์นะ
เวลาแสดงความคิดเห็นแล้วเจอคนที่เขาชอบคิดไปว่าผมต่อว่าเขา
เบียดเบียนเขา

ทำให้นึกถึงธรรมะที่สมเด้จพระสังฆราชท่านอธิบายในเรื่องวจีทุจริต
ท่านกล่าวโดยอรรถว่า
ถึงแม้จะพูดในสิ่งที่เป้นประโยชน์ แต่ถ้าเขาเดือดร้อน ก้จัดว่าเป้นวจีทุจริต
ก็สมควรจะวางเฉย ไม่ควรพูด

ผมอาจจะใช้ภาษาบกพร่อง ไม่ดีเพียงพอ
ผมก้จะไม่พูดอีกละกันนะครับ ผมไม่พูด คุณก็จะได้ไม่ขุ่นเคือง
จะได้ไม่สร้างเวรสร้างกรรม




ดูความจริงจังของท่านแล้วผมไม่ค่อยสบายใจเลยครับถ้าเห็นหน้ากันจังๆ ผมคงไม่กล้าพูดไม่กล้าสบตาท่านแน่นอนครับ ขนาดอ่านคำสอนของท่านจิตผมยังสั่นๆเลยครับ (จิตสั่นก็ให้รู้ว่าจิตสั่น)

ผมพูดไปนั้นก็ไม่ได้คิดจะบาดหมางกับไครเพียงเป็นเศษธุลีความคิดที่ไครก็มีสิทธิ์จะเข้ามาพูดคุยได้ (จิตไม่คิดบางหมางก็ให้รู้)

ไม่ต้องตอบผมก็ได้ถ้าคิคว่าผมไม่มีความรู้คู่ควรกับท่าน ผมไม่มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่หรอกครับ คนกระจอกแท้ๆนี่แหละครับ(จิตคิดว่าตัวเองต่ำต้อย)

ทำไมจิตจึงมี ลักษณะนามเป็นดวง
นามธรรมส่วนใหญ่มีลักษณะนามเป็นครั้ง เช่น เวทนา,สัญญา ก็มีลักษณะนามเป็นครั้ง แต่จิตมีลักษณะนามเป็นดวง
และจิตก็ไม่ได้อยู่ใน ขันธ์ 5 ด้วย จิตเป็นลักษณะพิเศษ คำว่าดวงมักจะใช้กับสิ่งที่เป็นลักษณะกลุ่มก้อนพลังงานอะไรสักอย่าง เช่นไฟเป็นต้น

เท่าที่ฟ้งๆมานะไม่มีอะไรที่กล่าวใด้ตรงๆ สามารถอธิบายเหตุผลเหล่านี้ได้ จิตที่เข้าใจว่าเป็นนามธรรมก็เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แน่นอนตาคนเราไม่สามรถมองอะไรได้ทั้งหมด

ทำไมธรรมมีแต่ปริศนาธรรม
ธรรมไม่สามารถอธิบายด้วยหลักวิทยาศาสตร์หรือครับ
ธรรมเป็นแต่เรื่องอัศจรรย์หรือ
เอาแค่นี้แหละครับ


เช่นนั้น ได้มีโอกาสอ่าน กระทู้ปัญหานี้ ก็ขออนุโมทนา ต่อผู้แสดง ผู้สาธยาย ทุกท่าน

มนุษย์ ก็อย่างนี้ มีรูป และ นาม หรือ กล่าวอีกประการหนึ่ง ก็คือ มีร่างกายอันเป็นที่อาศัยของจิต

จิต เกิดขึ้น มีความเสื่อมปรากฏ ขณะตั้งอยู่ก็มีความแปรปรวน อันเป็นอนัตตลักษณะ ของธรรมทั้งหลาย

จิต เรียกมีอย่างว่า วิญญาณ เช่น จิตที่ซ่านไปทางตา ก็คือ จักขุวิญญาณ
จิตที่ซ่านไปทางหู ก็เรียกว่า โสตวิญญาณ เป็นต้น ดังนั้น ใน พระอภิธรรม สังคณีปกรณ์ ได้แสดงไว้ว่า

[943] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า จิต

ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=8195&Z=8270

สังขารขันธ์ มีเวทนาขันธ์ และ สัญญาขันธ์ เป็นปัจจัย
จิตตสังขาร จึงมีเวทนาขันธ์ และสัญญาขันธ์ เป็นธรรม เกิดร่วมเกิดพร้อม กับจิต(วิญญาณขันธ์)

เป็นการดีอีกประการหนึ่งสำหรับผู้ที่ศึกษาธรรมอันเป็นนามธรรม โดยมีความเพียรพยายาม อธิบายเป็นรูปธรรม โดยเอาทฤษฏีต่างๆ ที่มีนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงอันเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน เพื่อให้เข้าใจธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ แต่ศาสตร์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็เป็นเพียงแค่ ทฤษฏีบท ที่พยายามอธิบายเท่านั้น
ดังนั้น ผู้ศึกษาธรรม พึงประกอบ ด้วย ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ เป็นพหูสูตร ปรารภความเพียร มีสติ และปัญญา ก็เพียงพอแล้วสำหรับการศึกษาเพื่อความหลุดพ้น โดยไม่จำเป็นต้องไปหาทฤษฏีอันไม่มีผู้ใดรับรอง ให้วุ่นวายเพื่อความฟุ้งซ่าน อีกต่อไป

เพราะธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงประกาศ นั้น แจ่มแจ้งไม่ได้เป็นปริศนาแต่อย่างใด

เจริญธรรม


 4,119 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย