วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร





วัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ : ธรรมยุติกนิกาย
วันตั้งวัด : ѹ 20 չҤ .. 2484
วันรับวิสุงคามสีมา : ѹ 21 Զع¹ .. 2484


วัดพระศรีมหาธาตุ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๑๘ ตำบลอนุสาวรีย์ (เดิมชื่อตำบลกูบแดง) อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร

ประวัตรการก่อสร้างโดยสังเขป

เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๔๘๓ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้น มียศและบรรดาศักดิ์เป็น พลตรีหลวงพิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้เสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ใคร่จะขออนุมัติเงินสร้างวัดขึ้นสักวัดหนึ่ง เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย และใคร่จะให้แล้วเสร็จทันในงานวันชาติวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๔ สถานที่จะสร้างนั้น ควรจะสร้างใกล้ ๆ กับอนุสาวรีย์หลักสี่ ทั้งนี้มีเหตุผลว่าชาติกับศาสนาเป็นของคู่กัน เป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ เพราะศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและกล่อมเกลาอุปนิสัยและน้ำใจประชาชนให้บำเพ็ญตน และปฏิบัติในสิ่งที่ดีที่ชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเสริฐสุด อันมวลประชาราษฎรชาวไทยและชาติอื่น ๆ อีกหลายประเทศยึดถืออยู่ เป็นศาสนาที่ทันสมัยอยู่เสมอ และยิ่งเป็นประเทศไทย เป็นประเทศประชาธิปไตยด้วยแล้ว

พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่เหมาะสมยิ่งด้วยประการทั้งปวง เพราะเป็นหลักของการปกครองระบอบประชาธิปไตย อีกประการหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ดี งานสร้างชาติซึ่งกระทำภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ดี ที่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีมาแล้วก็โดยอาศัยพุทธานุภาพคุ้มครองป้องกันประเทศชาติราษฎร และอำนวยความสถาพรสำเร็จประโยชน์อย่างดีที่สุดที่จะเป็นได้ จึงสมควรที่จะสร้างวัดขึ้นสักวัดหนึ่ง เพื่อให้เป็นที่เชิดชูพระบวรพุทธศาสนาคู่กันไปกับเกียรติศักดิ์ของประเทศชาติ คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้ว ลงมติเห็นชอบด้วยเป็นเอกฉันท์ให้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งในที่ใกล้อนุสาวรีย์หลักสี่ และให้ชื่อว่า "วัดประชาธิปไตย"

ในขณะที่กำลังดำเนินการพิจารณาจัดสร้างอยู่นี้ ก็เผอิญมีศุภนิมิตอันประเสริฐ โดยที่รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้จัดส่งฑูตพิเศษ อันมีพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งขณะนั้นมียศและบรรดาศักดิ์เป็น นาวาเอกหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหัวหน้า ไปเจริญสันถวไมตรีกับประเทศต่างๆ ในจักรภพอังกฤษภาคเอเชีย

เมื่อคณะฑูตพิเศษเดินทางไปถึงประเทศอินเดีย ก็ได้ติดต่อขอพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และขอให้รัฐบาลอินเดียตอนกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ให้ ๕ กิ่ง จากต้นที่สืบเนื่องมาแต่ต้นเดิมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ พุทธคยา อินเดีย พร้อมทั้งดินจากสังเวชนียสถาน คือ ที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่ทรงแสดงปฐมเทศนา และที่ปรินิพพาน

รัฐบาลอินเดียได้พิจารณาเห็นว่า ประชาชนที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามีอยู่ในนานาประเทศเป็นอันมาก แต่ประเทศเอกราชที่ยกย่องพระพุทธศาสนาเป็นทางราชการ และพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครพุทธศาสนูปถัมภก ก็มีแต่ประเทศไทยประเทศเดียวเท่านั้น จึงได้มอบพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดค้นพบ ณ มหาสถูปธรรมราชิกะ และเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พร้อมทั้งกิ่งพระศรีมหาโพธิ์และดินจากสังเวชนียสถาน ให้ตรงความประสงค์ รัฐบาลจึงได้ตกลงจะอัญเชิญประดิษฐาน ณ วัดที่สร้างใหม่นี้ และเห็นว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์กับพระบรมสารีริกธาตุเป็นสิริมงคลแก่วันที่สร้างใหม่นี้ จึงตกลงตั้งนามวัดว่า "วัดพระศรีมหาธาตุ"


- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระมหาเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ , พระศรีมหาโพธิ์จากอินเดีย •


พระศรีสัมพุทธมุนี พระประธานในพระอุโบสถ


การสร้างวัดพระศรีมหาธาตุนี้ รัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย การสร้างวัดนี้ จึงควรยกให้เป็นงานของชาติ ให้เป็นการกุศลสาธารณะ ซึ่งประชาชนและรัฐบาลได้ร่วมกันทำเพื่อให้บรรลุผลเป็นสุขประโยชน์ทั่วประเทศ รัฐบาลจึงเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการกุศล โดยบริจาคทรัพย์ชวยการสร้างวัดนี้ตามกำลังศรัทธา สาธุชนผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาก็ได้ร่วมการกุศลนี้เป็นสมานฉันท์ โดยการบริจาคที่ดิน เงินและทรัพย์สมบัติอื่น ๆ เป็นอันมาก


โดยเหตุที่วัดนี้เป็นวัดเริ่มแรกในสมัยประชาธิปไตย และประสงค์จะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อเป็นการเชิดชูพระบวรพุทธศาสนาและรักษาศิลปของไทย รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญทางการช่างต่าง ๆ ร่วมมือกันสร้าง ในชั้นแรกได้มอบให้ พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ซึ่งขณะนั้นมียศและบรรดาศักดิ์เป็นพันเอกหลวงเสรีเริงฤทธิ์ กับหลวงวิจิตรวาทการ เป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง กรมศิลปากร โดยหลวงวิจิตรวาทการ กับ พระพรหมพิจิตร เป็นผู้ออกแบบ นายช่างกรมศิลปากร และกรมรถไฟเป็นนายช่างก่อสร้าง และต่อไปก็ได้เชิญผู้มีเกียรติอีกหลายท่านให้ช่วยเหลือร่วมมือจนสำเร็จ กระทำพิธีเปิดและถวายเป็นเสนาสนะแห่งพระภิกษุสงฆ์ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๕..



พระพุทธมงคลมุจลินท์


พระอุโบสถทิศตะวันตก


ต้นพระศรีมหาโพธิ์จากอินเดีย




11,000







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย