การติดเนื่องในความสุข ดีอย่างไร?

 มหาราชันย์   31 ม.ค. 2554

 ดูกรจุนทะ
การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย
เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับ
เพื่อความสงบระงับ
เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว ๔ ประการเป็นไฉน ??

ดูกรจุนทะ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๑

ดูกรจุนทะ
ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะวิตกวิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๒

ดูกรจุนทะ
ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกายเพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่
ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ข้อที่ ๓

ดูกรจุนทะ
ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๔


ดูกรจุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย
เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับ
เพื่อความสงบระงับ
เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว

ดูกรจุนทะ
ก็ฐานะนี้แลย่อมมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
พวกสมณศากยบุตรเป็นผู้ขวนขวาย ในการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แล ดังนี้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อจะกล่าวกะพวกเธอ พึงกล่าวได้โดยชอบ
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น พึงกล่าวตู่พวกเธอด้วยสิ่งไม่มีจริงไม่เป็นจริงหามิได้ ฯ



เจริญในธรรมครับ. 





ผล และอานิสงส์ของการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข

ดูกรอาวุโส
เมื่อพวกเราประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แลอยู่
ผล ๔ ประการ อานิสงส์ ๔ ประการ อันพวกเราพึงหวังได้
๔ ประการเป็นไฉน


ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้

จะเป็นพระโสดาบัน
มีอันไม่ต้องตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในภายหน้าเพราะสังโยชน์สามสิ้นไป
ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๑ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑

ดูกรอาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก
ภิกษุจะเป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น
แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป
และเพราะความที่ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง
ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๒ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒

ดูกรอาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก
ภิกษุจะเป็นอุปปาติกะ [เป็นพระอนาคามี] ผู้จะปรินิพพานในภพนั้น
เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ทั้ง ๕ สิ้นไป
ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๓ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓

ดูกรอาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก
ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๔ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔

ดูกรอาวุโส
เมื่อพวกเราเป็นผู้ประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แลอยู่
ผล ๔ ประการ อานิสงส์ ๔ ประการเหล่านี้อันพวกเราพึงหวังได้ ดังนี้ ฯ

เจริญในธรรม เจ้าค่ะ









# ขอชมครับ...มหาราชันย์ #

@ หลายครั้งที่ได้อ่านงานธรรมะ
ท่านนำมาชำระสะอาดเอี่ยม
เป็นคำตรัสเอาไว้ไร้คนเทียม
พุทธองค์ทรงเปี่ยมไร้เทียมทาน

@ อ่านสนุกถูกใจได้สาระ
รู้ธรรมะ จริง,แปลก,อย่างแตกฉาน
บางครั้งได้อรรถรส บทกลอนกานท์
พุดเดิลอ่าน ทุกครั้ง อย่างตั้งใจ

@ ขออนุโมทนา...ว่า สาธุ
จะขอมุมานะ วิริยะใหม่
บางครั้งจิต สับสน ปะปนไป
กับความไม่ เข้าท่า ไม่น่าเป็น

@ การติดเนื่อง ในกาม คือความทุกข์
ค้นหาสุข อย่างไร ก็ไม่เห็น
จะติดสุข อย่างไร ให้ติดเย็น
ร้อยเปอร์เซ็นต์ ไร้ทุกข์ เพราะสุขจริง

@ สุขจากจิต สงบ ก็พบสุข
แต่ต้องลุก นั่งนอน ตะลอนวิ่ง
จิตก็วุ่น ตามไป ไวเหมือนลิง
อยากจะนิ่ง แต่งาน บานตะไท

@ อีกกิเลส จรมา ทิศานุทิศ
ทำให้จิต สับสน ปนกันใหญ่
เพียงขั้นต้น ก็ยาก ลำบากใจ
หรือเราใช้ ชีวิต ผิดครรลอง

@ อยากจะปลีก วิเวก เฉกเช่นท่าน
แต่คงนาน เพราะไร้บุญ หนุนสนอง
วิบากกรรม ทำมา นาทีทอง
เขาฉลอง เฉลิมเรา จนเศร้าตรม

@ จึงขอพึ่ง ธรรมะ ประครองจิต
เพียงขอชิด ติดเกาะ พอเหมาะสม
ได้เพียงเศษ ธุลีดิน ก่อนสิ้นลม
ก็ดีถม เถไป ในใจเรา

@ ขอติดตาม ธรรมะ น้อมประโยชน์
ไม่มีโทษ มีปัญญา ดีกว่าเก่า
หากเป็นบท กวี ดีไม่เบา
วันนี้เอา แค่นี้...สวัสดีครับ... พุดเดิล




หากจะให้ต่อบทกวีข้างต้นคงไม่มีความสามารถ แต่ขอร่วมชื่นชมและอนุโมทนาด้วยค่ะ

อังสณา ศิรภูวดล




ว่าด้วยกามคุณ ๕
[๑๘๒] ดูกรอุทายี กามคุณห้าเหล่านี้ กามคุณห้าเป็นไฉน คือรูปอันพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ
ที่สัตว์ปรารถนารักใคร่ชอบใจ เป็นสิ่งที่น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
เสียงอันพึงรู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นอันพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ... รสอันพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ...
โผฏฐัพพะอันพึงรู้แจ้งด้วยกาย ... ที่สัตว์ปรารถนารักใคร่ชอบใจ เป็นสิ่งที่น่ารัก ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. กามคุณห้านี้แล. ดูกรอุทายี ความสุขโสมนัสที่เกิดเพราะอาศัยกามคุณ
ห้านี้ เรากล่าวว่ากามสุข ความสุขไม่สะอาด ความสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะ
อันบุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรให้เกิดมี ไม่ควรทำให้มาก ควรกลัวแต่สุขนั้น.
[๑๘๓] ดูกรอุทายี
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขา
เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ฌานทั้งสี่นี้เรากล่าวว่า
ความสุขเกิดแต่ความออกจากกาม ความสุขเกิดแต่ความสงัด ความสุขเกิดแต่ความสงบ ความสุขเกิดแต่ความสัมโพธิ
อันบุคคลควรเสพ
ควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น ดังนี้.




ควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น ดังนี้.

ควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น ดังนี้.

ควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น ดังนี้.

ควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น ดังนี้.

ควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น ดังนี้.




[๑๘๔] ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. ดูกรอุทายี ปฐมฌานเรากล่าวว่ายัง
หวั่นไหว ก็ในปฐมฌานนั้น ยังมีอะไรหวั่นไหว ข้อที่วิตกและวิจารยังไม่ดับในปฐมฌานนี้ เป็น
ความหวั่นไหวในปฐมฌานนั้น. ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส
แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและ
สุขเกิดแต่สมาธิอยู่. ดูกรอุทายี แม้ทุติยฌานนี้ เราก็กล่าวว่ายังหวั่นไหว ก็ในทุติยฌานนั้น
ยังมีอะไรหวั่นไหว ข้อที่ปีติและสุขยังไม่ดับในทุติยฌานนี้ เป็นความหวั่นไหวในทุติยฌานนั้น.
ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะ
ปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นสุข. ดูกรอุทายี แม้ตติยฌานนี้ เราก็กล่าวว่ายังหวั่นไหว ก็ในตติยฌานนั้นยังมีอะไร
หวั่นไหว ข้อที่อุเบกขาและสุขยังไม่ดับในตติยฌานนี้ เป็นความหวั่นไหวในตติยฌานนั้น. ดูกร
อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และ
ดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. จตุตถฌานนี้ เรากล่าวว่า
ไม่หวั่นไหว.





เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๓๒๕๓ - ๓๕๐๗. หน้าที่ ๑๔๑ - ๑๕๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=3253&Z=3507&pagebreak=0




 เปิดอ่านหน้านี้  5719 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย