วัดหนัง ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร





วัดหนัง ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2260
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2260


วัดหนัง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร สร้างขึ้นประมาณปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏผู้สร้าง วัดนี้เป็นวัดโบราณ เป็นวัดร้างมากว่า 200 ปีแล้ว ตั้งอยู่ ณ ฝั่งขวาหรือนัยหนึ่ง ฝั่งเหนือคลองด่าน แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เลขประจำวัด 200

เดิมเป็นวัดราษฎร์ มีสืบมาแต่โบราณ มีนามว่าวัดหนังมาแต่เดิม และได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2460 เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2367 ในสมัยของพระองค์ท่าน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ทำการฉลองวัดหนัง ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2380 นั่นเอง

การเริ่มสถาปนาคงอยู่ในระหว่าง พ.ศ. 2367 ถึง พ.ศ. 2378 และปรากฏเจ้าอาวาสมาจนถึงปัจจุบันถึง 9 พระองค์ และเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันคือ พระวิเชียรโมลี (ขวัญชัย นิติสาโร) เริ่มดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 สืบต่อจากพระธรรมศีลาจารย์ (สุกรี สุตาคโม)

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• หลวงพ่อสุโข พระประธานในพระอุโบสถ •


{ พระอุโบสถ }
ก่ออิฐถือปูนตามลักษณะศิลปะของยุคนั้นโดยแท้ด้วยฝีมือของช่างหลวง ประดับประดาตกแต่งอย่างสวยงามอลังการ โดยเป็นชนิดมุขอัด ๕ ห้อง เฉลียงรอบมีเสาหารรับ พนักระหว่างเสากรุกระเบื้องปรุหลังคามุขลดชั้นหนึ่ง ปีกลดชั้นคอสอง และชั้นเฉลียงรวม ๒ ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบ (เปลี่ยนตอนหลัง) ช่อฟ้า หน้าบันประดับกระจก พื้นปูหินอ่อน ประตูด้านหน้า ๒ ด้านหลัง ๒ หน้าต่างด้านละ ๕ ช่อง กรอบประตูหน้าต่าง ปั้นลวดลายประกอบ กรอบเช็ดหน้าปิดทองทึบในบาน ด้านนอก เขียนลายรดน้ำ รูปทรงกระทิน ด้านในลงพื้นฝุ่นน้ำมัน เขียนลายทองประเภทช่อพะเนียง ผนังด้านในเขียนลายทองประเภทดอกไม้ร่วง มีลายคอสอง โดยรอบ เพดานลงชาดโรยดาวทอง ชื่อเขียนลายตาสมุก ปลายขื่อ ๒ ข้างเขียนลายกรวยเชิงทับหลังประตูหน้าต่างประกอบกรอบกระจก ไม้จำหลัก ลายปิดทองหมู่ ๓ เขียนลายห้อนักโก้บันไดขึ้นลงต่อกับชาลาด้านข้างด้านละ ๒ บันได ซุ้มสีมารอบพระอุโบสถก่ออิฐถือปูน ประดิษฐานใบสีมาศิลาจำหลักซุ้มละ ๑ คู่ ชุกชีที่ประดิษฐานพระประธานเป็นฐานแว่นฟ้า ๒ ชั้น ฐานพระ ๑ ชั้น แบบชุกชีในพระอุโบสถวัดพระเชตุพนฯแต่ย่อส่วนให้เล็กลงพอเหมาะแก่ขนาดพระอุโบสถก่อย่อไม้๑๒ ปั้น ลายปิดทอง ประดับกระจกชั้นต้นประดิษฐานพระสาวก ๓ องค์ชั้นสอง ๒ องค์


{ พระประธานในพระอุโบสถ }
ชุกชีที่ประดิษฐานพระประธานเป็นฐานแว่นฟ้า ๒ ชั้น ฐานพระ ๑ ชั้น แบบชุกชีในพระอุโบสถวัดพระเชตุพนฯแต่ย่อส่วนให้เล็กลงพอเหมาะแก่ขนาดพระอุโบสถก่อย่อไม้๑๒ ปั้น ลายปิดทอง ประดับกระจกชั้นต้นประดิษฐานพระสาวก ๓ องค์ชั้นสอง ๒ องค์


{ พระวิหาร }
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระอุโบสถ ก่อสร้างด้วยศิลปะตามพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีขนาดทรงจิตรกรรมอย่างเดียวกับพระอุโบสถ ที่ต่างกันคือมีประตูด้านละ ๑ ประตู กับภายในก่อเป็นสายบัวกระเบื้องปรุกั้นกลางเป็น ๒ ห้อง เดินถึงกันไม่ได้ ห้องหน้าก่อชุกชียาวเต็มส่วนกว้าง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยเรียงเป็นแถว ๕ องค์ ส่วนห้องหลังประดิษฐาน “พระพุทธรูปศิลา” พอกปูนลงรักปิดทองปางมารวิชัย สูงสุดพระรัศมี ๒.๖๔ เมตร ขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๑๐เมตรมีพระพุทธรูปขนาดย่อมลงมาอีก ๓ องค์และรูปพระสาวกยืนข้าง ฝ่ายขวา ๑ องค์ เดิมน่าจะมีองค์ฝ่ายซ้ายด้วย แต่คงชำรุดเสียหายแล้วและพระพุทธรูปที่หล่อขึ้นในชั้นหลังแล้วนำเข้ามาประดิษฐานไว้อีกหลายองค์




{ พระพุทธรูปปางมารวิชัยเรียงเป็นแถว ๕ องค์ }


{ “พระพุทธรูปศิลา” }
พอกปูนลงรักปิดทองปางมารวิชัย สูงสุดพระรัศมี ๒.๖๔ เมตร ขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๑๐เมตร


{ พระปรางค์แปดเหลี่ยม }
ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารมีพระปรางค์รูปแปดเหลี่ยมองค์หนึ่ง มีลานประทักษิณ ๓ ชั้น เป็นรูปแปดเหลี่ยม ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ สามารถมากราบสักการะกันได้โดยบริเวณหน้าพระปรางค์นั้น มีแท่นหินประกอบเป็นรูปเก้าอี้จีนอยู่ ๑ แท่น เรือนไฟหิน ๑ คู่ ตุ๊กตาหินนักรบจีนโบราณ ๑ คู่ โดยของเหล่านี้เป็นของพระราชทานจากรัชกาลที่ ๓ นั่นเอง


{ อาคารพิพิธภัณฑ์ }


{ วิหารพระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม สุวณฺณสโร) }
หรือ หลวงปู่เอี่ยม (หลวงปู่เฒ่า) เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๕ ของวัดหนังราชวรวิหาร


วัดหนัง ราชวรวิหาร




10,852







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย