วัดราชคฤห์ วรวิหาร (วัดมอญ) กรุงเทพมหานคร





วัดราชคฤห์ วรวิหาร (วัดมอญ) กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2300
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2320


วัดราชคฤห์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ระหว่างริมคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา บนถนนเทอดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 17 ไร่ วัดราชคฤห์ยังเคยเป็นที่ตั้งทัพของพระยาพิชัยดาบหักที่พระเจ้าตากสินให้มาดักซุ่มยิงโจมตีทัพพม่า พระปรางค์ด้านหน้าพระวิหารใหญ่ เป็นที่บรรจุอัฎฐิของ พระยาพิชัย มีพระบรมรูปของพระเจ้าตากสินอยู่ในวัด

เดิมชื่อ วัดวังน้ำวน เพราะวัดตั้งอยู่ติดคลองน้ำ 2 สาย คือ คลองบางกอกใหญ่ คลองบางน้ำชน และ คลองท่าพระ มักเกิดน้ำหมุนเวียนเป็นวังวน เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีชาวมอญอพยพโดยทางเรือจากกาญจนบุรีมาอาศัยอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ มีนายกองชาติรามัญ (มอญ) เป็นประธานสร้างวัดอยู่ใกล้กัน 3 วัด ตามตำบล วัดนี้ตั้งอยู่ทางเหนือน้ำไหลจึงเรียกว่า วัดบางยี่เรือเหนือ (วัดราชคฤห์) วัดบางยี่เรือกลาง (วัดจันทารามวรวิหาร) วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) แต่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า วัดมอญ สันนิษฐานว่าคนมอญช่วยกันสร้างและพระมอญอยู่จำพรรษาประจำอยู่วัดนี้มาก จึงเรียกชื่อว่าวัดมอญ

สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้กู้ชาติไทยได้เสร็จแล้ว จึงได้สร้างใหม่ให้เป็นราชธานี ชื่อว่ากรุงธนบุรี และได้ขึ้นครองราชย์ จากนั้น พระองค์พร้อมด้วยทหารคู่ใจ คือพระยาสีหราชเดโช (พระยาพิชัยดาบหัก) ได้ทำการปูรณปฏิสังขรณ์วัดบางยี่เรือเหนือ มีสร้างพระอุโบสถสร้างพระปรางค์เหลี่ยมย่อไม้ยี่สิบ อยู่ทั้ง ๔ ด้านของพระอุโบสถ สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่นำมาจากกรุงราชคฤห์แห่งประเทศอินเดียสร้างพระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง และสร้างภูเขาจำลอง (ภูเขามอ) พร้อมทั้งสถูปนำเอาพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ เพื่อให้เป็นที่สักการบูชาแก่พุทธศาสนิกชนสืบมา ต่อมา พระเจ้าตากสินมหาราชได้สวรรณคต ส่วนพระยาสีหราชเดโช ได้สินชีวิตลงตามพระเจ้าตากสิน ได้นำเอาศพบรรจุไว้ที่วัดบางยี่เรือ

สมัยรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาขึ้นเป็นวัดพระอารามหลวงชื่อว่า วัดราชคฤห์ (สัณนิฐานว่า พระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุไว้นำมาจากกรุงราชคฤห์) จึงได้ขนานนามเช่นนั้น พ.ศ. ๒๓๓๔ สร้างสถูปไว้บนยอดเขามอ

สมัยราชกาลที่ ๓ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ ได้มีพระกรุณาโปรดให้พระบรมวงษานุวงค์ ช่วยกันปูรณปฏิสังขรณ์พระอารามหลวง สมเด็จกรมพระเดชาดิศร ได้ปูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ เช่นสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น ส่วนพระอุโบสถหลังเก่าใช้เป็นวิหารใหญ่ ได้ปูรณสังขรณ์ภูเขามอซึ่งบรรจุพระบรมธาตุ กับสร้างมณฑปขึ้นบนยอดเขามอซึ่งเป็นลานสำหรับพุทธสาสนิกชนได้มากราบนมัสการพระบรมธาตุที่บรรจุไว้

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง (พระบรรทมหงาย), พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ •


{ พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ }


{ พระวิหารเล็ก (พระนอนหงาย) }
สร้างวิหารเล็กเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง (พระบรรทมหงาย) พระยาพิชัยดาบหักได้สร้างพระปางนอนนี้ขึ้น เพื่อเป็นการบำเพ็ญบุญอุทิศกุศลให้ผู้ที่ตนไปฆ่าทหารชาวบ้านล้มตายไปเป็นจำนวนมาก (เป็นเหมือนชดใช้กรรมที่ฆ่าคนตายไป)


{ พระพุทธรูปปางนอนหงาย }
เป็นพระปางถวายพระเพลิง หลังจากพระพุทธธเจ้าดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้นำผ้าไหมซับด้วยสำลีแล้วห่อพระพุทธสรีรสังขารด้วยผ้าห้าร้อยคู่ แล้วเชิญพระพุทธสรีรสังขารลงประดิษฐาน ณ รางเหล็กอันเต็มด้วยน้ำมันแล้วปิดครอบด้วยฝารางเหล็กเสร็จ แล้วนำไปตั้งพระพุทธสรีรสังขารโดยลักษณะนอนหงายไว้บนจิตกาธารที่ทำด้วยไม้หอมล้วนๆ ที่มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา เพื่อทำฌาปนกิจถวายพระเพลิง แล้วจึงได้ทำการประชุมพระเพลิงแต่ปรากฏว่าไฟไม่ติด รอจนพระมหากัสสปเถระเดินทางมาถึงแล้วได้กราบพระพุทธสรีรสังขาร พอกราบครบ ๓ ครั้ง ปรากฏว่าไฟติดขึ้นมาอย่างหน้าอัศจรรย์ ดังนั้นจึงเรียกพระปางนี้ว่า ปางถวายพระเพลิง มีแห่งเดียวในประเทศไทย ชาวบ้านเคารพกันมากจึงมากราบไหว้ขอพรกันทุกวันไม่ขาด


{ พระอุโบสถ }


{ พระพุทธรูปปางมารวิชัย }
พระประธานในพระอุโบสถ


{ พระวิหารใหญ่ที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตสมปรารถนา }
พระวิหารใหญ่ เป็นอาคารก่ออิฐ ถือปูน ขนาด ๕ ห้อง กว้าง ๘ เมตร มีมุขด้านหน้าและด้านหลัง กว้าง ๗.๕๐ เมตร รวมยาว ๒๔ เมตร ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย ทรงสูงโปร่ง ฐานหย่อนโค้งท้องสำเภา หลังคาประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ หน้าบันและหน้าอุดปีกนกเป็นไม้แกะสลัดลวดลายเครือเถา มีสาหร่ายรวงผึ้งห้อยลงใต้หน้าบันระหว่างเสา ซึ่งเป็นเสารูปแปดเหลี่ยมมีบัวหัวเสาเป็นรูปบัวตูม ด้านหน้ามีประตูตรงกลาง ๑ ประตู ซุ้มประตูทรงมณฑปประดับลวดลายบานเขียนภาพทวารบาล ด้านข้างไม่มีเรียบไม่มีหน้าต่าง มีเพียงประตูขนาดเล็กตรงกลางด้านละ ๑ ประตูซุ้มประตูทรงมงกุฎเรียบไม่มีลวดลาย และด้านหลัง มีประตูขนาดเล็ก ๒ ประตู ซุ้มเรือนแก้ว ปูนปั้น ภายในพระวิหารมีภาพเขียนฝาผนังเป็นลายดอกไม้ร่วง และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ มากมาย ที่ฝาผนังมีซุ้มคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปโดยรอบ และมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานเป็นประธาน ภายนอก ๔ มุม ของพระวิหาร มีเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อไม้ยี่สิบประดิษฐานอยู่ พระวิหารนี้ หลังจากที่สมเด็จพระพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ได้ทรงสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนพระอุโบสถเดิมจึงใช้เป็นพระวิหารเรียกกันว่า “พระวิหารใหญ่ พิชัยดาบหัก” ในปัจจุบัน


{ พระมณฑปบนเขามอ }
ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดบางยี่เรือ (มอญ) ขึ้นเป็นวัดราชคฤห์ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เสนาบดีกรมท่า ได้บูรณปฏิสังขรณ์ภูเขาด้วยหินทะเล จึงเรียกชื่อว่า เขามอ แล้วสร้างมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง สร้างสถูปบรรจุพระบรมธาตุพระอรหันต์ และพระศรีอารย์ผู้บำเพ็ญบารมี ไว้บนยอดเขา


{ พระพุทธบาทจำลองในมณฑปเขามอ }


{ พระปรางค์พระยาพิชัยดาบหัก }




ที่มา : http://www.watrajkrueh.com/

11,125







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย