รับสมัครชายเเท้ ใจกล้า ศรัทธาในการปฏิบัติธุดงค์วัตร สมัครอุปสมบทนาคหมู่ -เเละเป็นเจ้าภาพอุปถัมป์บวชพระ 1 รูป (โครงการอุปสมบทหมู่เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา) รุ่นพระธุดงค์กรรมฐาน ๓

 พระไทย    25 ก.ค. 2554

 ขอเชิญชายไทยเเท้ เเละมีศรัทธาอย่างมุ่งมั่นในการออกบวช
เเละปฏิบัติธรรมเเบบอุกกฤษเเบบวิเวก
สมัครเข้ารับการอบรมเเละอุปสมบทนาคหมู่เฉลิมพระเกียรติ
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเเด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ร.9) 84 พรรษา ในปี 2554 นี้
 
/สักครั้งได้บวชเเทนพระคุณพ่อ-เเม่/
/สักครั้งได้บวชปฏิบัติธรรม รักษาใจให้สะอาด /
/สักครั้งได้อุปถัมป์ สนับสนุนพระธุดงค์กรรมฐาน/
สร้างศาสนทายาท-สร้างพระผู้เผยเเผ่ธรรม-สร้างบุญบารมีสูงล้ำ
((หลังจบโครงการรูปที่ไม่สึก จะไปเป็นเนื้อนาบุญประจำตามศูนย์อบรมพระกรรมฐาน เพื่อเเนะนำกรรมฐานเบื้องต้นกับสาธุชน))

โครงการอุปสมบทหมู่เฉลิมพระเกียรติ รุ่น พระธุดงค์กรรมฐาน (ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวก)
จัดโดย เครือข่ายพระผู้นำคุณธรรมเชิงบูรณาการ เเละมูลนิธิพิจิตรกตัญญู
**-ครั้งหนึ่งในชีวิตได้บวช ..สักครั้งได้เข้าถึงพุทธธรรมด้วยการบวช... บุญนี้เเด่ผู้มีพระคุณ... -**
(บวชฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย)
<<รับจำนวนจำกัด>>


ด้วยการสมัครเข้ารับการอบรมก่อนบวช 3 วัน ณ พุทธอุทยานมหาราชหยกขาว ต.เนินปอ อ.สามง่าม จ.พิจิตร (มูลนิธิพิจิตรกตัญญู)
เเละอุปสมบท เป็นเวลา จำนวน 1 เดือน
(((ผู้ผ่านการอบรม ทุกรูปจะได้รับใบเกียรติบัตร รับรองการผ่านการอบรม)))
โดยโครงการมีการอบรมพระกรรมฐาน เเละความรู้ทางธรรมโดยพระอาจารย์ที่คอยให้ความรู้ความเข้าใจด้านพระกรรมฐาน เเละความรู้ทางพระธรรมวินัย เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการเข้ารับการอบรม


 กำหนดการอุปสมบทหมู่เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 25 รูป 

สมัครเข้ารับการอุปสมบทได้
ตั้งเเต่วันที่ 1 กรกฏาคม - 13 ตุุลาคม 2554

ลงทะเบียนเเละเขียนใบสมัครจริง ที่ มูลนิธิพิตรกตัญญู ถ.กรุงเทพ-นนทบุรี ซ.สไวสุวรรณ ข้างเซเว่น (ใกล้ พระราม 7)
เข้ารับการอบรมก่อนบวช 3 วัน
ตั้งเเต่วันที่ 13 -15 ตุลาคม 2554

พิธีอุปสมบทนาคหมู่
วันอาทิตย์ ที่ 16 ตุลาคม 2554
เวลา 10.00 น. พิธีโกนผมนาค โดยคณะเจ้าภาพ เเละสาธุชน ณ มูลนิธิพิจิตรกตัญญู ถ.กรุงเทพ-นนทบุรี ซ.สไวสุวรรณ (ใกล้พระราม 7)
เวลา 11.00 น. พิธีมอบเครื่องอัฐบริขารบวชโดยคณะเจ้าภาพผู้อุปถัมป์ เเละสาธุชนที่เข้าร่วมงาน
เวลา 17.00 น. พิธีอุปสมบทนาคหมู่ ณ วัดเจ็ดหาบ ต.หนองโสน อ.สามง่าม จ.พิจิตร



((อบรมปฏิบัติพระกรรมฐานพื้นฐานเบื้องต้น)) (3วัน)
ตั้งเเต่วันที่ 16-22 ตุลาคม 2554 ณ สวนป่าพุทธอุทยาน จ.พิจิตร
((เข้าธุดงค์ปลักกลดที่ จ.กาญจนบุรี)) เป็นเวลา (7 วัน)
ตั้งเเต่วันที่ 23-29 ตุลาคม 2554 ณ สวนป่าเมืองกาญ (ศูนย์อบรมพระธุดงค์กรรมฐาน(วิเวก) (7 วัน)

เเละเข้าอบรมถือธุดงค์วัตรที่ จังหวัดลพบุรี จนครบ 1 เดือน

หลักจากการอบรมพระภิกษุจะเข้าประจำตามศูนย์อบรมปฏิบัติธรรมศูนย์สาขา ต่างๆ
เพื่ออบรมสมณะธรรมต่อไป เเละเป็นเนื้อนาบุญอุบาสก-อุบาสิกา ต่อไป

 คุณสมบัติอุปสมบท  

1.เป็นเพศชายเเท้บริบูรณ์
2.ไม่ติดยาเสพติด
3.ไม่ต้องโทษอาญาเเผ่นดิน
4.ไม่หลบหนีงานราชการ(ราชการต้องลางานก่อน)
5.มีร่างกายสมบูรณ์เเข็งเเรง ไม่มีโรคร้ายเเรง
6.มีความตั้งใจจริงศรัทธาจริงในการออกบวช
7.สามารถรับการอบรมภาวนาของศูนย์ได้
8.สามารถเลิกบุหรี่ได้ในขณะเข้าอบรม




 เอกสารในการสมัคร 

1.กรอกใบสมัครขอบวช( จากผู้ปกครอง)
2.เอกสารใบทะเบียนบ้าน(ถ่ายเอกสาร)
3.เอกสารบัตรประจำตัวประชาชน(ถ่ายเอกสาร)
4.ในลางานราชการ(ถ้าทำงานราชกาล)
5.ใบตรวจสุขภาพจากโรงยาบาล


 ตารางกิจกรรม(พิเศษ)
ในโครงการในการเข้ารับการอุปสมบท
 
(((รีบโทรศัพท์ด่วน)

1.กิจกรรมปฏิบัติธรรมพระกรรมฐาน (เช้า-สาย-บ่าย-เย็น) ตลอดโครงการ
2.กิจกรรมสวดมนต์เช้า-เย็นเเปล
3.กิจกรรมปลักกลดธุดงค์
4.กิจกรรมเดินธุดงค์
5.เรียนธรรมะวิชานวโกวาท
6.กิจกรรมปลูกต้นไม้/บวชต้นไม้ จำนวน 84 ต้น ถวายในหลวง
7. พระทุกรูปจะได้ปฏิบัติธรรมในป่า ฉันมื้อเดียว นอนในกลด
ที่สำคัญพระภิกษุทุกรูปจะต้องเข้าฝึกอบรมพระกรรมฐาน เพื่อปฏิบัติธุดงค์กรรมฐาน


 ตารางฝึกอบรมพระกรรมฐานเบื้องต้น 
(ฝึกอบรม 16-22 ตุ.ค. 54)

เวลา ๐๔.๐๐ - ๐๖.๐๐ น. ปฏิบัติธรรม เจริญสติ ภาวนา (ช่วงเช้า)
เวลา ๐๖.๐๐ น. - ๐๗.๐๐ น. รักษาความสะอาดบริเวณที่พักอาศัย
เวลา ๐๗.๓๐ น. รับประทานอาหารเช้า อย่างมีสติ
เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๑.๐๐ น. ปฏิบัติกรรมฐานเบื้องต้น (ช่วงสาย)
เวลา ๑๒.๐๐ น. (พักผ่อนตามอัธยาศัย อย่างมีสติ)
เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. ปฎิบัติธรรม เจริญสติ (ช่วงบ่าย)
เวลา ๑๕.๓๐ น. เรียนพระธรรมวินัย/ข้อปฏิบัติตนในการถือธุดงค์

เวลา ๑๖.๓๐ น. ทำความสะอาด/ชำระร่างกาย
เวลา ๑๗.๓๐ น. สวดมนต์ทำวัตรเย็น /ปฏิบัติภาวนา (ช่วงเย็น)
เวลา ๒๐.๐๐ น. ฝึกอบรมพระธรรมวินัย/พักผ่อน


 ตารางฝึกอบรมพระกรรมฐานวิเวกถือธุดงค์วัตร 
(ฝึกอบรม 23-29 ตุลาคม 54)

เวลา ๐๔.๐๐ - ๐๖.๐๐ น................ ปฏิบัติธรรม เจริญสติ ภาวนา (ช่วงเช้า)

เวลา ๐๖.๐๐ น. - ๐๗.๐๐ น........... รักษาความสะอาดบริเวณที่พักอาศัย

เวลา ๐๗.๓๐ น........................... ฉันเช้า (ฉันมื้อเดียว)
เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๑.๐๐ น.............. ปฏิบัติกรรมฐานในป่าวิเวก (ช่วงสาย)

เวลา ๑๒.๐๐ น......................... (พักผ่อนตามอัธยาศัย อย่างมีสติ)

เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น............. ปฏิบัติกรรมฐานในป่าวิเวก (ช่วงบ่าย)
เวลา ๑๖.๓๐ น......................... ทำความสะอาด/ชำระร่างกาย
เวลา ๑๗.๓๐ น....................... สวดมนต์ทำวัตรเย็นรวมกัน /
เวลา ๑๙.๐๐ น......................... ปฏิบัติภาวนา สอบอารมณ์ / ฟังข้อปฏิบัติ /ปฏิบัติภาวนา (ช่วงเย็น)/ปลักกลดในป่า

สามารถ ดูสถานที่ เข้ารับการฝึกอบรมเเละทำกิจกรรมได้ ที่
http://www.dhammathai.org/meditationguide/dbview.php?No=71

หมายเหตุ. ตารางเวลาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม



 สาธุชนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในบุญครั้งนี้ได้ ดังนี้คือ 
เป็นเจ้าภาพอุปสมบทหมู่พระกรรมฐาน จำนวน 25 เจ้าภาพบุญ (รับจำนวนจำกัด)

1. เป็นเจ้าภาพบวชพระธุงดงค์กรรมฐานหมู่ 1 รูป
(คณะเจ้าภาพทุกท่านสามารถร่วมอธิฐานจิต เเละมอบบริขารต่างๆเเก่นาคที่จะเข้าอุปสมบท
ได้ที่ ซอย ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี 13. ซอยสไวสุวรรณ (ที่มีเซเว่น) เข้าไปเกือบสุดซอย จะมีบริษัทจาเป่ากรุ๊ป
ในวันที่ 16 ตุลาคม 2554.....

กำหนดเวลา
เวลา 10.00 น. โกนผมนาค โดยคณะเจ้าภาพ เเละบิดามารดาญาตินาค
เวลา 11.00 น.คณะเจ้าภาพถวายผ้าไตรบวช เเละบริขารบวชเเก่นาค


เเละวันที่ 29 ตุลาคม 2554
สามารถ ตักบาตรพระกรรมฐานที่บวชในโครงการได้
ที่สวนป่าโพธิธรรม ต.ดอนเเสลบ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี เวลา 07.30 น.
สร้างศาสนทายาทเเก่พระศาสนา เป็นเนื้อนาบุญเเก่อุบาสก-อุบาสิกา
สามารถ ดูสถานที่จริง ณ สวนป่าโพธิธรรม
สำหรับผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมเเละทำกิจกรรมได้ ที่ http://www.dhammathai.org/meditationguide/dbview.php?No=71

2. เป็นเจ้าภาพน้ำปาน่ะ หรือ อาหาร (1วัน)
(เจ้าภาพบุญทุกท่านขอเชิญร่วมกิจกรรมในโครงการในวันอุปสมบทหมู่เฉลิมพระเกียรติ หรือร่วมถวายบริขาร เเละตักบาตรพระธุงดงค์กรรมฐานได้ทุกท่าน)


3.เจ้าภาพอุปถัมป์ร่วมสนับสนุน ตามกำลังเเรงทรัพย์ศรัทธา
((สักครั้งได้มีโอกาศได้สนับสนุน อุปถัมป์พระธุดงค์กรรมฐานเฉกเช่นในสมัยพระพุทธกาล สมได้เป็นยอดเเห่ง อุบาสก-อุบาสิกา ที่เเท้จริง))


 สามารถเข้าร่วมพิธีอุปสมบทนาคหมู่พระธุดงค์กรรมฐานได้ เวลา 17.00 น. . 
ณ วัดเจ็ดหาบ ต.หนองโสน อ.สามง่าม จ.พิจิตร
-*-สร้างคนให้เป็นมนุษย์ สร้างมนุษย์ให้เป็นพระ สร้างพระให้เป็นพระที่ประเสริญสุด ร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน การสร้างศาสนทายาทได้-*-



<<เจ้าภาพทุกท่านจะได้ ของที่ระลึกเป็นเสื้อโครงการ คนล่ะ 2 ตัว>>
<<เเละหลวงพ่อเงิน เมืองพิจิตร ท่านล่ะ 1 องค์ ไว้สักการะบูชา>>



 ติดต่อสอบถาม หรือสมัครอุปสมบทด่วนหมู่ได้ที่
ศูนย์ประสานงานโครงการอุปสมบทหมู่เฉลิมพระเกียรติ
 
ติดต่อสอบถามโครงการ. หรือ สมัครบวช หรือ ประสงค์อุปถัมภ์บวชพระ 1 รูป หรือมากกว่า โทรติดต่อ 087-007-8607

หรือส่งรายล่ะเอียดสมัครเบื้องต้น (ที่อยู่,ชื่อ,อายุ,เบอร์ติดต่อ,อาชีพ) ที่อีเมล์รอการตอบรับ
e-mail dhammaprathai@hotmail.com


ดำเนินโครงการโดย. "มูลนิธิพิจิตรกตัญญู"
เเละ"คณะพระผู้นำการเผยเเผ่คุณธรรมเชิงบูรณาการ" "ชมรมพุทธบุตรบารมี"

ที่ปรึกษาโครงการ นายกสมาคมชาวพิจิตร พลโทเสนิท ไพรทอง
ประธานมูลนิธิพิจิตรกตัญญู
www.dhammadee.com





 อานิสงส์ของการออกบวช 



พระเจ้าอชาตศัตรูทูลถามพระพุทธเจ้าว่า :


"บุคคลในโลกนี้เขามีอาชีพแตกต่างกัน เป็นทหาร เป็นข้าราชการ เป็นคหบดี มีอาชีพเป็นช่างต่างๆเป็นชาวนา เป็นชาวไร่ ชาวสวน หรืออาชีพช่างไม้ต่างๆบุคคลที่ประกอบอาชีพเหล่านี้ เมื่อประกอบอาชีพแล้วก็สามารถจะสร้างตัวได้ เลี้ยงตัวได้ในปัจจุบันแล้วก็มีเงินทองเลี้ยงดูบุตรภรรยาของตน และก็ทำบุญ ทำทาน ก็มีโอกาสไปเกิดบนสวรรค์ อยากจะถามว่า ในพระพุทธศาสนานี้ พระองค์ตรัสความเป็นสามัญผล คือ
ผลที่จะได้จากการบวช ของกุลบุตรในศาสนานี้ไว้อย่างไรบ้าง? "



พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า : "ผู้ที่บวชเข้ามาในศาสนานี้ย่อมได้อานิสงส์ถึง ๑๔ ประการ"
สามัญญผล ๓ หมวด

สามัญญผล หรือ ผลของความเป็นสมณะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นี้ สามารถจัด
ออกได้เป็น ๓ หมวด คือ หมวดที่ ๑ ทำให้พ้นจากฐานะเดิม คือ พ้นจากความเป็นทาส เป็นกรรมกร เป็นชาวนา ได้รับการปฏิบัติดีแม้จากพระมหากษัตริย์ นี้ คือ ผลข้อที ๑ และข้อที่ ๒ หมวดที่ ๒ เมื่ออบรมจิตใจเป็นสมาธิ เป็นเหตุให้ได้ฌานที่ ๑ ถึงที่๔ อันทำให้กิเลสอย่างกลางสงบลงได้ คือ ผลข้อที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖

หมวดที่ ๓ ทำให้ได้วิชชา ๘ เริ่มตั้งแต่ข้อที่ ๗ คือ ได้วิปัสสนาญาน จนถึงข้อที่ ๑๔ คือ อาสวักขยญาณ


ในข้อแรก
พระพุทธองค์ตรัสถามพระเจ้าอชาตศัตรูว่า :


"ก็คนที่เป็นทาสกรรมกรของพระองค์ เคยรับใช้พระองค์อยู่ ตื่นก่อนนอนทีหลังทาสกรรมกรเหล่านั้นมาพิจารณาว่า พระมหากษัติย์เจ้านายของเรานี้ทรงมีบุญญาธิการ มีบุคคลแวดล้อม มีทรัพย์สินนานัปการ มีอำนาจยิ่งใหญ่ พระองค์ก็เป็นมนุษย์ เราก็เป็นมนุษย์ เพราฉะนั้น เราจะต้องออกบวชเสียดีกว่า เมื่อออกบวชแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ ต่อมาพระองค์ได้พบทาสกรรมกรของพระองค์นั้น พระองค์จะเรียกบุคคลนั้นให้มาทำงานรับใช้พระองค์ ให้ตื่นก่อนนอนทีหลังอีกหรือเปล่า? "

พระเจ้าอชาตศัตรูทูลตอบว่า :
"ไม่อย่างนั้น แต่ข้าพระองค์จะเคารพกราบไหว้ผู้นั้น ให้ความคุ้มครองตามธรรม"


พระพุทธองค์ตรัสว่า : นี่แหละคืออานิสงส์ของการบวชข้อที่ ๑ ที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน ต่อจากนั้น

พระพุทธองค์ตรัสว่า : "มีคนที่ทำนาของพระองค์ มาพิจารณาว่า พระเจ้าแผ่นดินของเรามีอำนาจวาสนามีบุญใหญ่ พระองค์ก็เป็นมนุษย์ เราก็เป็นมนุษย์ ไฉนหนอ เราจึงจะได้ออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ และในที่สุด ท่านผู้นั้นก็ได้ออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อพระองค์ทรงพบภิกษุที่เคยเป็นชาวนานั้นเข้า จะตรัสเรียกท่านผู้นั้นให้

มาทำนาให้แก่พระองค์อีกหรือ ?"

พระเจ้าอชาตศัตรูทูลตอบว่า :"ไม่อย่างนั้น แต่ข้าพระองค์จะเคารพกราบไหว้ ให้ความคุ้มครอง ถวายปัจจัย ๔ ให้การคุ้มครองด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้นั้น"

พระพุทธองค์ตรัสว่า : นี่เป็นสามัญญผล คือ ผลที่เห็นได้ชัดจากการบวชข้อที่ ๒

พระพุทธเจ้าจึงตรัสต่อไปว่า : คหบดีหรือ กุลบุตรในแว่นแคว้นของพระองค์นี้ มาพิจารณาเห็นว่า พระเจ้าแผ่นดินของเรานั้นเพียบพร้อมไปด้วยความสุข มีความรุ่งเรือง ก็เรานี้เห็นว่าการครองเรือนเต็มไปด้วยความทุกข์ เป็นที่คับแคบ ส่วนบรรพชาเป็นช่องว่าง การที่อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์สะอาดดุจดั่งสังข์ขัดนั้นทำได้ยาก เพราะฉะนั้น เขาจึงออกบวช ประพฤติพรหมจรรย์ สมบูรณ์ไปด้วยศีล

คือ จุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล (คือ ศีลขนาดเล็ก ขนาดกลาง และศีลมาก) ต่อจากนั้นภิกษุนั้นสำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีสติสัมปชัญญะ ละบาปอกุศล มีสันโดษ ยินดีด้วยปัจจัย ๔ ออกป่าบำเพ็ญสมาธิ ละนิวรณ์ ๕ ได้ ในที่สุดก็ได้

บรรลุฌานที่ ๑ ได้ประสบความสุขอันเกิดจากฌานนี้ คืออานิสงส์ของการบวช หรือสามัญญผล ข้อที่ ๓ต่อจากนั้น ท่านผู้นั้นก็บำเพ็ญสมาธิจน
บรรลุฌานที่ ๒ ก็เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔บรรลุฌานที่ ๓ ก็เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕บรรลุฌานที่ ๔ ก็เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๖

ต่อจากนั้น ท่านก็น้อมจิตไปเพื่อเจริญวิปัสสนา โดยพิจารณาพระไตรลักษณ์ จนจิตของตนเข้าถึงวิปัสนาญาน แยกรูปแยกนาม พิจารณานามรูป เห็นตามความเป็นจริง ก็เป็นเหตุให้ท่านผู้นั้นสามารถบรรลุญาณทัสสนะ อันเป็นวิปัสสนาญาน

พระพุทธเจ้าตรัสว่า : นี้คือ อานิสงส์ของการบวชข้อที่ ๗
ต่อจากนั้นก็สามารถบรรลุ มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์ทางใจ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ได้

เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๘ ต่อจากนั้น ก็ได้บรรลุ อิทธิวิธิ คือ แสดงฤทธิ์ เช่น น้อยคนทำให้เป็นมากคน ดำไปในดิน ดำไปใน

น้ำได้ก็เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๙เมื่อปฏิบัติต่อไปก็สามารถได้ ทิพโสต คือ หูทิพย์ ได้ยินเสียงจากที่ไกลเกินวิสัยของหูมนุษย์ธรรมดา

เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑oเมื่อปฏิบัติต่อไป

ก็สามารถได้ เจโตปริยญาน คือ รู้ใจคนอื่น คือ สามารถทายใจคนอื่นได้ (แม้ในปัจจุบันก็มีพระบางรูปที่สามารถรู้ใจคนอื่นได้ เรียกว่า เจโตปริยญาน) การได้เจโตปริยญาณ

เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑๑
บางท่านก็ระลึกชาติได้ ที่เรียกว่า บุพเพนิวาสานุสสติญาน คือ ระลึกชาติหนหลังได้เป็นจำนวนมาก อาจจะเป็นจำนวนหลายๆชาติ หรือชาติจำนวนมากที่ผ่านมาในอดีต การระลึกชาติหนหลังได้นี้

เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑๒ บางท่านก็ได้ทิพจักษุ หรือ จุตูปปาตญาณ คือ ญาณรู้จุติกำเนิดของสัตว์ทั้งหลาย คือ สามารถรู้เห็นสัตว์ทั้งหลายที่เกิดและที่ตายด้วยตาทิพย์ การได้ทิพจักษุนี้ เป็นอานิสงส์ของการบวชข้อที่ ๑๓ในที่สุดก็ได้บรรลุอาสวักขยญาณ คือ ทำกิเลสให้สิ้นไป

ก็เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑๔พระพุทธองค์ทรงสรุป ในที่สุดแห่งทุกข้อว่า เป็นผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นได้ในปัจจุบันว่าสูงกว่ากันไปตามลำดับ คือ ตั้งแต่ขั้นแรกแล้วบรรลุสูงขึ้นๆ ไปตามลำดับ ซึ่งเป็นอานิสงส์ของการบวช ที่เห็นได้ชัดเช่น ผู้ที่ได้บรรลุฌานที่ ๒ ก็ประเสริฐกว่าฌานที่ ๑ ได้บรรลุฌานที่ ๓ ประเสริฐกว่าฌานที่ ๒ ได้บรรลุฌานที่ ๔ ประเสริฐกว่าฌานที่ ๓ และการบรรลุต่อๆ ไป ก็สูงขึ้นตามลำดับ

วิชชา ๘ คืออะไร?

วิชชา ๘ ก็คือ
๑. วิปัสสนาญาณ ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา
๒. มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ
๓. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้
๔. ทิพโสต หูทิพย์
๕. เจโตปริยญาณ รู้ใจคนอื่น
๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้
๗. ทิพจักขุ ตาทิพย์
๘. อาสวักขยญาณ ทำอาสวะ คือ กิเลสให้สิ้นไปได้


ผู้บวชย่อมได้อานิสงส์แห่งบุญจากการบวช ได้ฝึกฝน อบรมตนเองตามพุทธวิธี แม้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็สามารถ นำพาชีวิตให้พบกับเป้าหมายอันสูงส่ง และย่อมได้อานิสงส์ มากมาย ยากที่จะนับจะประมาณได้เพราะความตั้งใจอัน มั่นคงที่จะบวช

ฝึกฝนตนเอง ถ้าตั้งใจประพฤติปฏิบัติอย่าง เคร่งครัด ย่อมได้อานิสงส์ ดังนี้
๑.) เป็นผู้รู้จักบริหารเวลา คือรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เรียกว่า ความเป็นผู้รู้กาลซึ่งเป็นคุณธรรมข้อหนึ่งที่ทำให้ เป็นสัปบุรุษ
๒.) แม้ช่วงเวลาจะสั้น แต่ถ้าลงปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะได้ ลิ้มรสความสุข จากความสงบตั้งแต่ยังเยาว์
๓) มีโอกาสได้ศึกษาหลักธรรมไว้กำกับความรู้ จะได้ใช้ ความรู้ ไปในทางที่ถูกที่ควร
๔.) ได้ฝึกวินัยและเข้าใจวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะถ้าบรรพชาแล้วตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเอง อย่างจริงจัง ต่อไปจะเป็นคนรักระเบียบวินัย
๕.) ได้ฝึกสมาธิ ทำจิตให้สงบ ซึ่งเป็นผลดีต่อการเรียน
๖.) เกิดความปลื้มปิติยินดีที่ได้ทำความดีตั้งแต่ยังเยาว์ความปิตินี้เองที่จะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหัวใจอยู่เสมอ
๗.) ทำให้มีความอดทน ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆ
๘.) ทำให้รู้จักตนเองนั่นคือรู้ว่าตนเองมีความรู้ความสามารถคุณธรรมแค่ไหนเพียงใด เพื่อที่จะได้พัฒนาปรับปรุง ตนเองให้ดียิ่งขึ้น
๙.)ได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มถากถางหนทางไปพระนิพพาน


 https://cdn.jsdelivr.net/gh/tatikers/san/dhamma.js">   


ที่มา : รับสมัครชายผู้มีศรัทธาเเรงกล้า เเละเจ้าภาพอุปถัมป์บวชพระ1รูปใน (โครงการอุปสมบทหมู่เฉลิมพระเกียรติถวายในหลวง) รุ่นพระธุดงค์กรรมฐาน ๒<<สักครั้งได้มีโอกาสบวชเเล้วได้ปฏิบัติธุดงค์วัตร>>สร้างบุญอุทิศเเด่พ่อหลวงเเละบิดา-มารดา‏


ความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย สันโดน สงบ สงัด ของพระธุดงค์


• การ์ตูน เรื่อง "นรก สวรรค์ ของพ่อแม่อยู่ที่ลูก" - หลวงพ่อปัญญานันทะ

• วัดภคินีนาถ วรวิหาร

• เกมภาวนา เกมชีวิต 2

• ๔๔.ปางห้ามแก่นจันทร์

• "เราจะไม่ยอมแพ้กรรม" (สมเด็จพระญาณสังวร)

• ทำอย่างไรถ้าหน่วยงานที่เราทำงานอยู่ ผู้บริหารไม่มีความเป็นธรรม

RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย