วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร กรุงเทพมหานคร





วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 1850
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2400


{ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ }
เดิมเป็นวัดราษฎร์สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านเรียกว่า “วัดสมอแครง”
{ รัชกาลที่ ๔ }
ทรงสถาปนาเป็นพระอารามหลวง
{ เทวราชกุญชร }
“เทวราช” แปลว่า “พระอินทร์” มานำ หน้าพระนามของพระองค์เจ้ากุญชรซึ่งแปลว่า “ช้าง”รวมความแล้วแปลว่า “ช้างพระอินทร์”

วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีชื่อเดิมว่า "วัดสมอแครง" เนื่องจากมีต้นสมอร่องแร่ง บ้างก็สันนิษฐานว่าคำว่าสมอเพี้ยนมาจากคำว่าถมอ (ถะมอ) เป็นภาษาเขมรแปลว่าหิน วัดนี้คงเรียกกันครั้งแรกว่า ถมอแครง ซึ่งแปลว่าหินแกร่งหรือหินแข็ง เป็นวัดเก่าแก่โบราณที่มีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ ได้ทรงสถาปนาใหม่ ผ่านการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้งหลายครา

จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงรับเป็นพระอารามหลวงและพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร" ทรงนำคำว่า เทวราช มานำหน้าพระนามของพระองค์เจ้ากุญชร ซึ่งเป็นพระนามเดิมของ กรมพระพิทักษ์เทเวศร ผู้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้มาก่อน พระอุโบสถของวัดเทวราชกุญชร ถูกสร้างขึ้นใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 มีรูปทรงคล้ายกับ พระอุโบสถวัดพระแก้ว ผนังพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านข้างทั้ง 2 ด้าน เหนือช่องหน้าต่างเขียนภาพ เหตุการณ์ตอนเหล่าเทพยดามาชุมนุมกัน โดยประธานในพระอุโบสถคือ "พระพุทธเทวราชปฏิมากร" เป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อลงรักปิดทองปางมารวิชัย ฝีมือช่างสมัยทวารวดี

สำหรับการกราบนมัสการ และถวายเครื่องสักการะแด่องค์องค์พระพุทธเทวราชปฏิมากร จะนิยมถวาย "ผ้าไตร" แทนดอกไม้ธูปเทียน ตามความเชื่อจะสร้างความศักดิ์สิทธิ์ในการกราบขอพรพระองค์นี้เป็นเท่าทวีคูณ ซึ่งนับเป็นวัดแรก ในประเทศไทยที่นำผ้าไตรมาเป็นเครื่องสักการะ และได้รับความศรัทธาสูงสุดมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ภายในมณฑปจตุรมุขเป็นที่ประดิษฐานของ "หลวงพ่อดำ" พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีความเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และผู้คนนิยมไปกราบไหว้เป็นจำนวนมากเช่น


- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระพุทธเทวราชปฏิมากร •


{ พระอุโบสถ }
ขนาดใหญ่ กว้าง 17 เมตร ยาว 36 เมตร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ ทรงสร้างขึ้น มีกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ ที่มุมกำแพงแก้วมีเจดีย์ทั้ง 4 มุม พระอุโบสถผ่านกาลเวลามายาวนาน กระทั่งในปี 2555 คณะกรรมการอนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนสถาน อันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และการส่งเสริมการเผยแผ่ศาสนา สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เห็นชอบให้การสนับสนุนและดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อปลายปี 2556 พระอุโบสถจึงหวนคืนสู่ความสง่างามเคียงคู่พระอารามแห่งนี้


{ พระอุโบสถ }



{ พระพุทธเทวราชปฏิมากร }
พระประธานประจำพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อ ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 4.35 เมตร ปางมารวิชัย ฝีมือช่างสมัยทวารวดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า “พระพุทธเทวราชปฏิมากร” พระพุทธรูปองค์นี้ มีประวัติว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบว่า กรุงศรีอยุธยาพบพระทององค์ใหญ่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นพระพิทักษ์เทเวศรไปอัญเชิญลงมายังพระนคร โดยทางน้ำ ครั้นถึงปากคลองเทเวศร์ แพที่อัญเชิญพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ฉุดเท่าไรก็ไม่มายังตำหนักแพ จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นที่วัดสมอแครง

การถวายเครื่องสักการะแด่องค์พระพุทธเทวราชปฏิมากร นับว่าแปลกกว่าวัดอื่นๆ เนื่องจากพุทธศาสนิกชนนิยมถวาย “ผ้าไตร” แทนดอกไม้ธูปเทียน นับเป็นวัดแรกในประเทศไทยที่มีการนำผ้าไตรมาเป็นเครื่องสักการะพระพุทธรูปที่เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ให้ผลสัมฤทธิ์ตามที่ปรารถนา มาจนทุกวันนี้


{ จิตรกรรมฝาผนัง }
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ นอกจากภาพชุมนุมเทพยดาแล้ว ยังมีภาพพุทธประวัติตอนโปรดพุทธมารดา ทศชาติชาดก ตอนสุวรรณสามชาดก ภาพเครื่องตั้งบูชาแบบจีน ซึ่งเป็นรูปแบบนิยมมากในสมัยรัชกาลที่ 3 รวมทั้งภาพปริศนาธรรมมากมายที่แปลกไปจากวัดอื่นๆ คือ ภาพพระภิกษุปลงอสุภกรรมฐานกับซากศพในสภาพต่างๆ


{ พระวิหาร }
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยต่างๆ ทำด้วยทองเหลือง ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตัก 19 นิ้ว สูง 43 นิ้ว จำนวน 9 องค์ ซึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานแก่วัดเทวราชกุญชร


{ พระพุทธรูปสมัยต่างๆ }
ทำด้วยทองเหลือง ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตัก 19 นิ้ว สูง 43 นิ้ว จำนวน 9 องค์


{ มณฑปจตุรมุข }
สร้างครอบพระอุโบสถเก่าเมื่อปี พ.ศ. 2536 มีขนาดกว้าง 12.40 เมตรยาว 12.40 เมตร ภายในประดิษฐาน “หลวงพ่อดำ” พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีความเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระมณฑปจัตุรมุขนี้ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงพุทธศิลป์ เช่น พระพุทธรูปเก่าโบราณ รอยพระพุทธบาทไม้ประดับมุกเก่าศักดิ์สิทธิ์สมัยกรุงศรีอยธุยา


{ “หลวงพ่อดำ” }
พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีความเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระประธานในพระมณฑปจตุรมุข


{ หอพระรัตนตรัย }
ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร


{ พิพิธภัณฑ์สักทอง }
อาคารพิพิธภัณฑ์สักทอง ลักษณะทรงปั้นหยาประยุกต์ 2 ชั้น กว้าง 16.75 เมตร ยาว 30.15 เมตร ใช้เสาไม้สักทองทั้งหลัง ขนาดเสา 2 คนโอบ มีอายุประมาณ 479 ปี ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนา อนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติในด้านสถาปัตยกรรมและเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 75 พรรษา พ.ศ. 2550 ภายในจัดแสดงรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งเท่าพระองค์จริงของสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์ และประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา www.goldenteakmuseum.com
เปิดเวลา 10.00 - 17.00 น.


{ เทวราชกุญชร }
“เทวราช” แปลว่า “พระอินทร์” มานำ หน้าพระนามของพระองค์เจ้ากุญชรซึ่งแปลว่า “ช้าง”รวมความแล้วแปลว่า “ช้างพระอินทร์”




ที่มา : http://watdevaraj.org/

10,995







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย