วิปัสสนา

เรื่องที่ ๑๓ : สัมปชัญญะ ( ๔ )
โดย : ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า


ท่านที่เป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด คงจะได้เคยท่องบ่นธรรม จากสติปัฏฐานสูตร มาบ่อยๆ แล้ว ที่ว่า "อาตาปี สติมา สัมปชาโน" เรามาดูกันว่า พระพุทธองค์ทรงหมายความว่าอย่างไร

อาตาปี คือท่านจะต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง ด้วยความเพียรอันแรงกล้า ถ้าท่านเพียงแต่ปฏิบัติ ไปอย่างนั้นเอง ด้วยความศรัทธา หรือด้วยความเห็นจริงจากการตรึกตรอง ด้วยเชาวน์ปัญญา ก็ไม่เรียกว่า อาตาปี เราจะเรียกว่า อาตาปี ก็ต่อเมื่อ เราได้เริ่มปฏิบัติภาวนา อย่างเอาจริงเอาจัง ยิ่งการปฏิบัติภาวนานั้นทำอย่างไร ?

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงชี้ทางไว้ชัดเจน ด้วยคำเพียง ๒ คำ คือ สติมา และ สัมปชาโน ทั้ง ๒ คำนี้ไปด้วยกัน

"สติมา" คือความระลึกได้ ระลึกถึงความเป็นจริงในขณะนี้ อย่างที่กำลังเป็นอยู่ หรือ "ยถา ภูตา"
"สติมา" หมายถึง การที่ไม่ครุ่นคำนึงถึงอดีต และการที่ไม่คิดฟุ้งซ่านไปถึงอนาคต หากแต่ มีสติอยู่กับปัจจุบันทุกขณะ หรือตามสภาวะที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้โดยรู้เท่าทันตามความเป็น จริง นี่คือ สติมา

เช่นท่านกำลังหายใจอยู่ และมีสติรู้เท่าทันถึงการหายใจของตนเอง หายใจเข้าก็รู้ว่ากำลัง หายใจเข้า หายใจออกก็รู้ว่ากำลังหายใจออก นี่คือ สติมา แต่ "สัมปชัญญะ" นั้นแตกต่างไปโดย สิ้นเชิง สัมปชัญญะ คือการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ สัมปชัญญะ เป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ของพระพุทธองค์ เป็นสิ่งที่พระองค์ได้ประทานให้แก่โลก

สัมปชัญญะ คืออะไร ? เราควรมาทำความเข้าใจกันเสียก่อน สัมปชัญญะนั้น มีปัญญาอยู่ ในนั้นซึ่งมิใช่เชาวน์ปัญญา มิใช่ สุตมยปัญญา หรือจินตามย-ปัญญา แต่เป็น ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ส่วนตัวของเราประสบการณ์โดย ตรงของเรา จากความเป็น จริงที่ปรากฏอยู่ภายนอกหรือ สมมติสัจจะ เราจะสามารถเข้าถึงปรมัตถสัจจะ หรือความจริง อันสูงสุดได้ด้วยประสบการณ์โดยตรงของเราเอง เมื่อท่านเพียงมีแต่สติ ระลึกได้ถึงอากัปกิริยา ที่กำลังทำอยู่ กำลังกิน ดื่ม หรือเดิน ซึ่งล้วนเป็นการกระทำกิจโดยทางร่างกาย อากัปกิริยาเหล่า นี้ ล้วนเป็น สมมติสัจจะ

ข้าพเจ้าเดินอย่างนี้ กินอย่างนี้ ดื่มอย่างนี้ หรือกำลังทำสิ่งนี้ หรือสิ่งนั้น เหล่านี้ล้วนเป็นสมมติ สัจจะ ทางด้านโครงสร้างร่างกาย และอิริยาบถเท่านั้นหากทว่าความจริงที่เกี่ยวกับโครงสร้าง ทางร่างกายของเราก็คือ ร่างกายของเรานั้น ประกอบกันขึ้นมาเป็นร่างกาย จากกลุ่มก้อนของ อนุปรมาณู ที่เรียกว่า อัฐกลาปะและลักษณะตามธรรมชาติของ อัฐกลาปะนั้น จะมีการเกิด - ดับ ดับ เกิด - ดับ อยู่ตลอดเวลา ดังคำบาลีที่ว่า อุทย วยํ อุทย วยํ เกิด - ดับ เกิด - ดับ อยู่เรื่อยไปนี้ เป็นลักษณะสำคัญทางด้านร่างกาย" ส่วนทางด้านจิตใจ จะเป็นอย่างไรนั้น ติดตามตอนต่อไป




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย