วัดเศวตฉัตร วรวิหาร กรุงเทพมหานคร





วัดเศวตฉัตร วรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2359
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2360


วัดเศวตฉัตรวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อ วัดบางลำพูล่าง สันนิษฐานว่าก่อสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาอยู่ในสภาพทรุดโทรมและได้รับการบูรณะครั้งใหญ่โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ (ในขณะนั้นพระนามว่าพระเจ้าอัยกาเธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงเป็นต้นราชสกุลฉัตรกุล ในช่วงปี พ.ศ. 2359–2373 ต่อมาได้รับการปฏิสังขรณ์โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่อมาได้พระราชทานชื่อวัดใหม่ว่า วัดเศวตฉัตร

เดิมวัดบางลำภูล่าง มีเพียงพระอุโบสถเก่าซึ่งอยู่ริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งตื้นเขินเต็มที พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์จึงได้ทรงยกวัดออกไปสร้างใหม่ ในตำแหน่งวัดปัจจุบัน โดยโปรดให้รื้อพระตำหนักส่วนพระองค์สร้างเป็นถาวรวัตถุของวัดแทน

ฝั่งตรงข้ามถนนเจริญนครเป็นวัดอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นพระอุโบสถหลังเดิมที่ประดิษฐาน พระพุทธสมาธิคุณสุนทรสมาทานบุราณสุคต หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโบสถ์บน พระพุทธรูปปางสมาธิ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง แต่เชื่อกันว่าสร้างโดยสานไม้ไผ่หล่อปูนตามแบบโบราณ

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระพุทธอังคีรสมุนีนารถอุรคอาสน์อำไพ •


{ พระอุโบสถ }
ภายในพระอุโบสถหลังปัจจุบันประดิษฐาน พระพุทธอังคีรสมุนีนารถอุรคอาสน์อำไพ พระพุทธรูปปางนาคปรก


{ พระพุทธอังคีรสมุนีนารถอุรคอาสน์อำไพ }
พระพุทธรูปปางนาคปรก พระประธานในพระอุโบสถ


พระอุโบสถหลังเดิมที่ประดิษฐาน พระพุทธสมาธิคุณสุนทรสมาทานบุราณสุคต หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโบสถ์บน พระพุทธรูปปางสมาธิ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง แต่เชื่อกันว่าสร้างโดยสานไม้ไผ่หล่อปูนตามแบบโบราณ


{ หลวงพ่อโบสถ์บน พระพุทธรูปปางสมาธิ }


บริเวณลานวัดใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา ประดิษฐาน พระพุทธบัณฑูรมูลประดิษฐ์สถิตไสยาสน์ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สร้างราวปี พ.ศ. 2364 ในอดีตองค์พระถูกน้ำท่วมทุกช่วงน้ำหลาก พระราชวิจิตรการ เจ้าอาวาทในขณะนั้นจึงบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ โดยอัญเชิญยกองค์พระนอนขึ้นให้สูงจากลาน ในปี พ.ศ. 2552


{ พระปรางค์เจดีย์ }


{ ศาลาบูรพาจารย์ }


{ หอพระไตรปิฎก }




10,960







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย